Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ระบบหายใจ

ระบบหายใจ

Published by Guset User, 2023-03-01 13:48:52

Description: ระบบหายใจ

Search

Read the Text Version

รายงาน เรื่อง ระบบหายใจ ชื่อผู้จัดทำ นายอนรรฆ ทรัพย์สัตย์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 เสนอ อาจารย์จันทร์แจ่ม นาดี รายงานเล่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาชีววิทยา โรงเรียนบางไทรวิทยา

ระ บบ หาย ใจ

คำนำ รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา ชีววิทยา เพื่อให้ได้ ศึกษาหาความรู้ในเรื่อง ระบบหายใจ ได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประ โยชน์กับการเรียน ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องระบบหัวใจ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิด พลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้

สารบัญ เรื่อง หน้า ระบบหายใจ 1 จมูก 1 หลอดคอ 2 หลอดเสียง 3 หลอดลม 4 ปอด 5 เยื่อหุ้มปอด 6 กระบวนการหายใจ 7 การแลกเปลี่ยนก๊าซและการใช้ออกซิเจน 8 กระบวนการหายใจ 9 การหายใจเข้าและหายใจออก

ระบบหายใจ 1 ระบบหายใจ มนุษย์ทุกคนต้องหายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ การหายใจเข้า อากาศผ่านไป ตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้ จมูก (Nose ) รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูป สามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง รูจมูกทำหน้าที่เป็น ทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย

หลอดคอ (Pharynx) 2 เมื่ออากาศผ่านรูจมูกแล้วก็ผ่านเข้าสู่หลอดคอ หลอด คอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอ ส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็น ตัวแยกสองส่วนนี้ออกจากกัน โครงของหลอดคอประกอบ ด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน

หลอดเสียง (Larynx) 3 ยาวประมาณ 4.5 cm หลอดเสียงเจริญเติยโตขึ้น ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็ว เกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิด จากฮอร์โมนของเพศชาย

หลอดลม (Trachea) 4 เป็นส่วนที่ต่ออกมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปใน ทรวงอก ลักษณะรูปร่างของหลอดลมเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U ซึ่งมีอยู่ 20 ชิ้น เมื่อเข้าสู่ปอดก็แตกแขนงเป็นหลอดลมเล็กใน ปอดหรือที่เรียกว่า หลอดลมฝอย (Bronchiole) และไป สุดที่ถุงลม (Aveolus) ซึ่งเป็นการที่อากาศอยู่ ใกล้กับเลือด ในปอดมากที่สุด จึงเป็นบริเวณแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน กับคาร์บอนไดออกไซด์

ปอด (Lung) 5 ปอดมีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้าย กรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนช่องเปิดแคบๆของ ทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบขึ้นด้วยซี่โครงบน ของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลัง วางแนบสนิทกับกระ บังลม หน้าที่ของปอดคือ การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด มีรูปร่างใหญ่ ลักษณะ ยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ

6 เยื่อหุ้มปอด (Pleura) เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็น มันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุม ปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก หรือ กล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เยื่อหุ้มปอดซึ่งมี 2 ชั้น ระหว่าง 2 ชั้นนี้มี ของเหลวอยู่นิดหน่อย เพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่าง เรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้ม ปอด

กระบวนการหายใจ 7 ในการหายใจ กล้ามเนื้อบริเวณอกเป็นตัวช่วยขณะ หายใจเข้า กล้าม เนื้อหลายมัดหดตัวทำให้ทรวงอกขยายออก ไปข้างหน้า และยกขึ้นบน ในเวลาเดียวกันกะบังลมจะลดต่ำ ลง การกระทำนี้ทำให้โพรงของทรวงอกขยาย ใหญ่มากขึ้น เมื่อกล้ามเนึ้อหยุดทำงานและหย่อนตัวลง ทรวงอกยุบลงและ ความดันในช่องท้องจะดันกะบังลม กลับขึ้นมาอยู่ในลักษณะ เดิม

การแลกเปลี่ยนก๊าซและการใช้ออกซิเจน 8 เมื่อเราหายใจเข้า อากาศภายนอกเข้าสู่อวัยวะ ของ ระบบหายใจไปยังถุงลมในปอด ที่ผนังของถุงลมมี หลอดเลือดแดงฝอยติดอยู่ ดังนั้นอากาศจึงมีโอกาสใกล้ ชิดกับเม็ดเลือดแดงมากออกชิเจนก็จะผ่านผนังนี้เข้าสู่ เม็ดเลือดแดง และคาร์บอนไดออกไชด์ก็จะออกจากเม็ด เลือดผ่านผนังออกมาสู่ถุงลม ปกติในอากาศมีออกชิเจน ร้อยละ 20 แต่อากาศที่เราหายใจมีออกขิเจนร้อยละ 13

กระบวนการหายใจ 9 การหายใจเข้าและหายใจออก • การหายใจเข้า กล้ามเนื้อกะบังลมหดตัวและกล้าม เนื้อยึดกระดูกซี่โครงดึงกระดูกซี่โครงให้ยกตัวขึ้น ปริมาตรของช่อง อกที่เพิ่มขึ้น • การหายใจออก กล้ามเนื้อกะบังลมคลายตัวจะยกตัวสูง ขึ้น เป็นจังหวะเดียวกับกระดูกซี่โครงลดต่ำลง

บรรณานุกรม http://www.bwc.ac.th/WebBw/e-learning/virachai02/haijai.htm

ระ บบ หาย ใจ

ผู้จัดทำ นางสาวปนัดดา ธีราธรรม


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook