1 0 เ รื่ อ ง น่ า รู้ วิทยาศาสตร์ ในชีวิตประจำวัน นลินทิพย์ จำนงเพียร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (โครงงาน) นักเรียนโรงเรียนฐานปั ญญา
บ ท นำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง 10 เรื่องน่ารู้วิทยาศาสตร์ในชีวิต ประจำวัน จัดทำขึ้นเพื่อถ่ายทอดข้อมูลความรู้ในเรื่องราวเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ที่เราสามารถพบเห็นรับรู้ได้ในชีวิตประจำวันเราสามารถ นำมาใช้และปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการและชีวิตประจำวันของ เราให้สะดวกสบายและง่ายมากขึ้นได้ ผู้จัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็น ประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการหาความรู้รวมทั้งนักเรียน นักศึกษา จะ สามารถนำข้อมูลไปใช้ต่อยอด และใช้ความรู้ในหนังสือเล่มนี้ไปปรับใช้ ในชีวิตประจำวันได้อย่างดี
ส า ร บั ญ หน้า เรื่อง ก ข บทนำ 1 สารบัญ 2 สารคาร์นิทีนในส้มแขกช่วยสลายไขมันได้ 3 โคเอนไซม์คิวเทนช่วยให้ผิวหนังกระชับขึ้น 4 ร้อนอบอ้าวก่อนฝนตกเกิดจากการคายความร้อน 5 มนุพลังงานกับกระแสไฟฟ้าในร่างกายมนุษย์ 6 เสียงกรนที่ทำให้เรารำคาญใจ 7 ทำไมนะ?เราถึงได้ฝัน 8 ทำไมคนเราถึงขนลุก 9 ดื่มแอลกอฮอล์แล้วเมา 10 บรรยากาศของโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร 11 ทำไมใบไม้เป็นสีเขียว บรรณานุกรม
ส า ร ค า ร์ นิ ที น ใ น ส้ ม แ ข ก ช่ ว ย ส ล า ย ไ ข มั น ไ ด้ ส้มแขก มีสารสำคัญที่มีชื่อว่า Hydroxycitric Acid หรือเรียกสั้น ๆ ว่า“HCA”ช่วยยับยั้งเอนไซม์ในการสร้างไขมัน นอกจากนี้ยังมีกรดอินทรีย์อื่นๆ อีกด้วยไม่ว่าจะเป็น กรดซิตริก กรดโดดีคาโนอิค กรดออคตาดีคาโนอิคและ กรดเพนตาดีคาโนอิค HCA จะออกฤทธิ์โดยไปยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ ATP Citrate Lyaseในวงจรการย่อยสลายกลูโคสของร่างกายเป็นเอนไซม์ที่ ทำหน้าที่เปลี่ยนCitrateไปเปลี่ยนacetylCoAนำไปใช้สร้างกรดไขมันนำ น้ำตาลไปสะสมเป็นglycogenที่ตับเพื่อใช้เป็นพลังงานสำรองและยับยั้ง กระบวนการสร้างกรดไขมันของร่างกายนำไปสู่การลดเนื้อเยื่อไขมันและการ ลดน้ำหนักได้ ในปัจจุบัน
โ ค เ อ น ไ ซ ม์ Q 1 0 ช่ ว ย ใ ห้ ผิ ว ห นั ง ก ร ะ ชั บ ขึ้ น 'โคเอนไซม์ คิวเทน' พบได้ในทุกเซลล์ของร่างกายที่มีชีวิต และมีความจำเป็น ต่อร่างกาย โดยโคเอนไซม์คิวเทนเป็นสารที่มีคุณสมบัติละลายในไขมัน โดยจะอยู่ที่ ส่วนเยื่อหุ้ม(membrane)ของไมโตคอนเดรียที่ทำหน้าที่ในการผลิตพลังงานพื้น ฐานของเซลล์และมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของ ร่างกายมีการนำ โคเอนไซม์ Q10 มาใช้เป็นเครื่องสำอางค์สำหรับลดการเกิดริ้ว รอย ชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนังจากแสงแดดช่วยเพิ่มการสังเคราะห์คอลลา เจนในเซลล์ผิวทำให้ผิวแน่น ยืดหยุ่นได้ดี ช่วยให้แผลหายได้เร็วขึ้นได้อีกด้วย
ร้ อ น อ บ อ้ า ว ก่ อ น ฝ น ต ก เ กิ ด จ า ก ก า ร ค า ย ค ว า ม ร้ อ น เนื่องจากเวลาก่อนที่ฝนจะตกกลุ่มของเมฆฝนที่มารวมตัวกันนั้นมันทำให้ ปริมาณไอน้ำในอากาศสูงพอไอน้ำในอากาศมากทำให้ความชื้นในอากาศเพิ่มขึ้นหรือมี ความชื้นสัมพัทธ์สูงคือค่าปริมาณไอน้ำในอากาศเทียบกับปริมาณที่จะรองรับได้ซึ่ง หากค่านี้มาก แสดงว่าอากาศรองรับไอน้ำได้อีกไม่มาก น้ำจะระเหยเป็นไอน้ำได้ยาก พอน้ำมันระเหยได้ยาก เหงื่อเราซึ่งปกติมักจะระเหยและคายความร้อนออกไป มันก็ ระเหยยากขึ้นทีนี้พอเหงื่อไม่ระเหยมันก็ไม่เกิดการระบายความร้อนหรือคายความ ร้อนทำให้ร่างกายเรารู้สึกอึดอัด และไม่สบายตัว หรือที่เรียกว่าร้อนอบอ้าวนอกจาก ความชื้นแล้ว ก็มีพลังงานความร้อนเนื่องจากการที่เมฆฝน ที่มีสถานะเป็นไอน้ำ จะ กลายเป็นน้ำฝนได้ เมฆฝนจะต้องคายความร้อนออกมาเมื่อความร้อนที่คายออกมา ปะทะกับพื้นดินก็จะถูกมวลอากาศยกให้ลอยตัวขึ้นไปอีกทำให้เกิดความร้อนสะสม บริเวณเมฆกับพื้นดิน บวกกับที่เหงื่อไม่ระเหยคายความร้อนไม่ได้ จึงทำให้ร้อนอบอ้าว
ม นุ ษ ย์ พ ลั ง ง า น กั บ ก ร ะ แ ส ไ ฟ ฟ้ า ใ น ร่ า ง ก า ย ม นุ ษ ย์ เวลาที่แตะหรือสัมผัสอะไรที่เป็นโลหะ เช่น รั้วบ้าน ประตูรถ ฯลฯจะรู้สึกเหมือน โดนไฟช็อตเพราะร่างกายสะสมไฟฟ้าสถิตไว้มากเกินไปเมื่อใดก็ตามที่บังเอิญไปสัมผัส กับกระแสไฟฟ้าเราจะถูกกระตุกการกระตุกเกิดจากผลกระทบของการไหลของกระแส ไฟฟ้าที่เข้ามาในร่างกายมนุษย์และถ้าแรงดันไฟฟ้าที่ทำงานอยู่ในร่างกายมนุษย์มีน้อย กว่าหรืออ่อนแอกว่าไฟฟ้าที่เข้ามาปะทะมนุษย์ก็จะทรุดตัวลงและอาจหมดสติได้แต่ถ้า ไฟฟ้านั้นถูกควบคุมให้กระแสวิ่งผ่านร่างกายลงพื้นดินก็จะปลอดภัยจากการกระตุกได้ ผิวหนังเป็นตัวควบคุมปริมาณของกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านเข้าได้มากหรือน้อยร่างกาย ของคนเรานั้นสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้โดยเฉลี่ย 100 วัตต์ ใน 1 วัน กระแสไฟฟ้าใน ร่างกายของมนุษย์นั้นเกิดจากพลังงานความร้อนในร่างกายที่เราได้มาจากการทาน อาหารยิ่งเรากินอาหารและเกิดการเผาผลาญในร่างกายมากเท่าไหร่ ความร้อนที่เกิด ในร่างกายนั้นก็จะผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากยิ่งขึ้นขึ้นเท่านั้น
เ สี ย ง ก ร น ที่ ทำ ใ ห้ เ ร า รำ ค า ญ ใ จ ช่องปากหย่อนคลาย ปิดกลั้นทางเดินหายใจ การนอนกรนเกิดจากระบบทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบกล่าวคือในขณะที่ คนเรานอนหลับสนิทนั้น กล้ามเนื้อต่างๆ ในช่องปากจะผ่อนคลายและหย่อนลงมา ปิดกั้นทางเดินหายใจทำให้ลมหายใจไม่สามารถผ่านไปยังหลอดลมและปอดได้ อย่างสะดวกส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอและเนื่องจากช่องลมถูก ปิดกั้นจนเล็กลงจึงทำให้เกิดเป็นเสียงกรนขึ้นเสียงกรนที่เกิดขึ้นนี้อาจแตกต่างกัน ไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งของอวัยวะที่เกิดการสั่น เช่น ถ้าเกิดการสั่นที่เพดานอ่อน หรือ ลิ้นไก่ก็จะทำให้เกิดเสียงกรนในลำคอหรือถ้าเกิดการสั่นที่เนื้อเยื่ออ่อนด้านหลัง โพรงจมูก ก็จะทำให้เกิดเสียงกรนแบบขึ้นจมูก เป็นต้น
ทำ ไ ม น ะ ? เ ร า ถึ ง ไ ด้ ฝั น ความฝันเกิดขึ้นขณะที่สมองส่วนต่างๆ โดยเฉพาะนีโอคอร์เท็กซ์ ฮิปโปแคมปัส และบริเวณข้างเคียงถูกกระตุ้นส่งผ่านชุดความจำและทำงานร่วมกันความฝันคือ กระบวนการทำงานของสมองที่ใช้ลบข้อมูลที่ไม่จำเป็นในแต่ละวันทิ้งไป และเลือก ชุดข้อมูลที่เป็นประโยชน์ซึ่งจะถูกจัดเก็บในคลังของหน่วยความจำระยะยาวสมอง ส่วนนีโอคอร์เท็กซ์สามารถทำงานได้ดีในขณะที่นอนหลับซึ่งจะส่งกระแสประสาท ไปกระตุ้นสมองส่วนฮิปโปแคมปัสให้ประมวลผลและเก็บข้อมูลระยะสั้น โดยสมอง ส่วนนีโอคอร์เท็กซ์นี้จะเป็นตัวตัดสินใจว่าข้อมูลความทรงจำชุดใดที่จะถูกส่งไปจัด เก็บเป็นข้อมูลระยะยาวและความทรงจำใดควรจะถูกลบและถูกลืมในที่สุด ซึ่งภาพ ความฝันเสมือนจริงที่เราเห็นขณะที่หลับจึงเกิดขึ้นจากความทรงจำบางชุดถูกสุ่ม และตรวจจับได้เป็นพิเศษขณะที่ถูกส่งผ่าน
ทำ ไ ม ค น เ ร า ถึ ง ข น ลุ ก ร่างกายปล่อยสารที่มีชื่อว่า อะดรีนาลีน (Adrenaline)ฮอร์โมนนี้จะถูก ปล่อยออกมาเมื่อร่างกายสัมผัสกับความเย็นหรืออากาศเย็นหรือกำลังตกอยู่ใน สถานการณ์ที่ตึงเครียดน่าหวาดกลัวเมื่ออากาศเย็นร่างกายจะส่งสัญญาณเตือน ไปยังสมองของเราว่าได้เวลาที่ควรจะทำให้ร่างกายอบอุ่นนั่นก็คืออาการขนลุกการ แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนที่ทำให้กล้ามเนื้อ เล็กๆที่อยู่ใต้ชั้นผิวหนังกระชับและทำให้เส้นขนตั้งขึ้นและถ้าร่างกายมีเคราตินที่ มากเกินไปก็จะมีอาการที่เรียกว่า ขนคุด (Keratosis pilaris) และขนคุดนี้จะไป อุดตันรูขุมขน ทำให้ขนไม่สามารถงอกออกมาได้ จึงเกิดแรงกระแทกเล็กๆ จากขนที่ ต้องการจะงอกออกมา และเกิดเป็นอาการขนลุก
ดื่ ม แ อ ล ก อ ฮ อ ล์ แ ล้ ว เ ม า เมื่อเราดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปในร่างกายแอลกอฮอล์จะไปกดการทำงานของ สมองส่วนหน้า(Frontal lobe)ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมความคิด ความจำ สติปัญญาบุคลิก ความรู้สึก ทำให้ผู้ที่ดื่มมีบุคลิกและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจาก เดิม รวมถึงความสามารถในการประมวลผลและการตัดสินใจยังลดลงจากเดิมอีก ด้วยจากนั้นแอลกอฮอล์จะไปออกฤทธิ์ต่อสมองส่วนกลาง(Midbrain)ทำให้การ เคลื่อนไหวของร่างกายช้าลงและไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ยังส่งผลต่อสมองส่วนซีรีเบลลัม(Cerebellum)เป็นส่วนที่ควบคุม การทรงตัวของร่างกายเมื่อแอลกอฮอล์ในเลือดมีปริมาณสูงมากๆและเข้าสู่สมอง ส่วนนี้จะทำให้ระบบกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ เกิดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ และ อาเจียน รวมถึงสูญเสียการทรงตัว ทำให้การยืนและการเดินไม่มั่นคง หรือเกิด อาการเมา นั่นเอง
บรรยากาศของโลก เ กิ ด ขึ้ น ไ ด้ อ ย่ า ง ไ ร น ะ ? บรรยากาศในระยะแรกของโลกประกอบด้วยก๊าซไนโตรเจนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และละอองไอน้ำเมื่อโมเลกุลของน้ำสลายตัวในบรรยากาศอันเนื่องมาจากการกระทำ ของรังสีอัลตราไวโอเลตจะเกิดอนุภาคของก๊าซไฮโดรเจนและอนุภาคของออกซิเจน ไฮโดรเจนเป็นก๊าซที่เบากว่าออกซิเจนจึงสามารถลอยสูงขึ้นและหลุดหายไปจาก บรรยากาศได้ต่างจากก๊าซออกซิเจนซึ่งมีมวลมากกว่าจึงยังคงตัวอยู่ในบรรยากาศต่อ ไปหรืออาจเกิดได้จากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช
ทำ ไ ม ใ บ ไ ม้ เ ป็ น สี เ ขี ย ว สีเขียวของใบไม้นั้นคือสิ่งที่เรียกว่าคลอโรฟิลล์(chlorophyll)ซึ่งเป็น สารประกอบของพืชที่ทำหน้าที่ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างสาร อินทรีย์เพื่อการดำรงชีวิตในคลอโรฟิลล์จะมีรงควัตถุที่พืชใช้ในการสังเคราะห์แสง และสะท้อนแสงสีเขียวออกมาคลอโรฟิลล์มีการดูดกลืนแสงได้ดีที่ช่วงคลื่นของแสง สีฟ้าและสีแดง แต่ดูดกลืนช่วงแสงสีเหลืองและเขียวได้น้อยมากจึงสะท้อนออกมา ทำให้เห็นคลอโรฟิลล์มีสีเขียว
บ ร ร ณ า นุ ก ร ม The global. สืบค้นจากhttps://www.blockdit.com บรรยากาศของโลกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร. สืบค้นจากhttp://www.rmutphysics.com องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติิ. สืบค้นจากhttps://www.nsm.or.th Hello Health Group,ขนลุกเกิดจากอะไร. สืบค้นจากhttps://hellokhunmor.com Meiko,เกร็ดความรู้วิทยาศาสตร์. สืบค้นจากhttps://variety.teenee.com
Search
Read the Text Version
- 1 - 15
Pages: