Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บันทึกการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา (ผ้าไหม)

บันทึกการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา (ผ้าไหม)

Published by Doungkamol Fhooboonma, 2022-01-24 06:43:35

Description: บันทึกการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา (ผ้าไหม)

Search

Read the Text Version

บันทึกการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา “ผ้าไหม” วิชา ส32104 ประวัติศาสตร์ไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายชื่อสมาชิก 1.นางสาวกมลวรรณ สุดสงวน เลขที่ 11 2.นางสาวณัติฐกาล จาดประทุม เลขที่ 13 3.นางสาวณิศากร ทองเเฉล้ม เลขที่ 14 4.นางสาวดวงกมล ฟูบุญมา เลขที่ 15 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนภาชี “สุนทรวิทยานุกูล” อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา

1.)จัดเป็นภูมิปัญญาใด -หัตถกรรม 2.)ลักษณะเด่นของภูมิปัญญา -เส้นใยเหนียวมาก ดูดความชื้นได้ดี ทนทาน แต่ดูแลรักษายาก -สวมใส่สบาย เหมาะกับทุกสภาพอากาศ (อากาศไม่หนาวมากหรือร้อนจนเกินไป) -เนื้อผ้ามีความหนาแน่นน้อย (น้ำหนักเบา) -ใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ เช่น ทำผ้าปู โต๊ะ กระเป๋า

3.)ความสำคัญของ ภูมิปัญญา\"ผ้าไหม\" ต่อชุมชน คือ การนำเส้นใยจากธรรมชาติ จำพวกหนอนไหม นำมาทอ เป็นผืนผ้าและผ่านการย้อมสี จนเกิดความสวยงาม น่าสวม ใส่ และยังสามารถนำไปเป็น สินค้าจำหน่ายเพื่อนำรายได้ กลับสู่ชุมชน

4.แนวทางการอนุรักษ์ ภูมิปัญญา \"ผ้าไหม” 1) ควรมีการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมกลุ่มทอผ้าไหมให้มีความยั่งยืนและควรมีการ สนับสนุนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 2) จัดหลักสูตรการทอผ้าให้กับสถาบันการศึกษาเพื่อให้สถาบันที่ เกี่ยวข้องช่วยสื บสานและสื บทอดเพื่อบรรจุเป็นหนึ่ งในหลักสูตรการ เรียนการสอน 3) ควรส่งเสริมการบันทึกลวดลายผ้าไหม เพื่อเป็นหลัก ฐานและถ่ายทอดภูมิปัญญาอันล้ำค่าของบรรพบุรุ ษ

ภาคผนวก

1. การเตรียมเส้นไหม จะต้องนำเส้นมาคัดเส้นไหม ที่มีขนาดเส้นสม่ำเสมอ ขั้นตอนที่ 1

2. การลอกกาวเส้นไหมทั้งเส้นพุ่งเส้น ยืน โดยวิธีการใช้สารธรรมชาติ นำกาบต้นกล้วยมาทำการเผาไฟจน กระทั่งเป็นขี้เถ้า นำขี้เถ้าไปแช่น้ำใช้ไม้ คนให้ทั่ว ปล่อยทิ้งไว้ให้ขี้เถ้าตกตะกอน แบ่งชั้นน้ำและตะกอน ทำการกรองน้ำ ใสที่อยู่ส่วนบนชั้นตะกอนด้วยผ้าบาง คือสารลอกกาวธรรมชาติ นำเส้นไหมที่ ได้เตรียมไว้แล้วมาทำการต้มลอกกาว ด้วยสารลอกกาวธรรมชาติ ขั้นตอนที่ 2

3. การเตรียมฟืมทอผ้า ทำการค้นเส้นด้ายลักษณะ เดียวกับการค้นเส้นยืน จากนั้นนำ เส้นด้ายมาร้อยเข้ากับฟืม โดยการ ร้อยผ่านช่องฟันหวีแต่ละช่องทุกช่ องๆละ2เส้น แล้วใช้ท่อนไม้ไผ่ เล็กๆสอดเข้าในห่วงเส้นด้ายที่ร้อย เข้าช่องฟันหวีเพื่อทำการขึงเส้น ด้ายให้ตรึงและจัดเรียงเส้นด้ายให้ เรียบร้อย ขั้นตอนที่ 3

4. การย้อมเส้นไหมยืน เตรียมน้ำย้อมสีเส้นไหม โดยทั่วไปผ้าแพรวาในสมัย โบราณเส้นยืนจะใช้สีแดง ที่มาจากครั่ง นำครั่งมาตำให้ ละเอียด จากนั้นนำไปแช่น้ำ นานประมาณ 1 คืน ทำการ กรองน้ำย้อมสีด้วยผ้าบาง ขั้นตอนที่ 4

5. การเตรียมเส้นยืน นำเส้นไหมยืนที่ทำการย้อมสีด้วยสี แดงเข้มของครั่ง มาทำการค้นเครือหูก หรือที่เรียกว่าการค้นเส้นยืน โดยใช้หลัก เฝือเป็นอุปกรณ์ในการค้นเส้นยืน การเตรียมค้นเส้นยืนจะเริ่มต้นโดย การนำเส้นไหมไปสวมเข้าในกง เพื่อ ทำการกรอเส้นไหมเข้าอัก ขั้นตอนที่ 5

6. การต่อเส้นยืน การต่อเส้นยืนคือการนำ เส้นไหมเส้นยืนมาผูกต่อกับ เส้นด้ายในซี่ฟันหวีโดย ทำการต่อที่ละเส้นจนหมด จำนวนเส้นยืน ขั้นตอนที่ 6

7. การเตรียมเส้นพุ่งที่ทำการ ย้อมสีต่างๆ การเตรียมน้ำย้อมสีเส้นไหม โดยทั่วไปผ้าไหมจะมีจำนวนสีห ลากหลายสีในแต่ละลายหลัก ซึ่ง สีที่นิยมใช้กันมากก็จะเป็นสีเข้ม เช่น สีเหลือง สีน้ำเงินเข้ม สี เขียว สีแดง เป็นต้น ขั้นตอนที่ 7

8. การกรอเส้นพุ่งเข้าหลอด การกรอเส้นพุ่งเข้าหลอด นำเส้นไหมที่ย้อมสีต่างๆแล้ว มาเข้ากง แล้วทำการกรอเส้น ไหมเข้าหลอด เพื่อเตรียมเป็น เส้นพุ่งเพื่อใช้ในการเกาะลาย และใส่กระสวยในการทอขัด ขั้นตอนที่8

9. การเก็บเขาลาย / การเก็บตะกอลายขัด ผ้าแพรวาในแต่ละผืนจะมีจำนวนลายหลัก แต่ผืนไม่เท่ากัน อย่างผ้าแพรวาที่กำลังทอ ผืนนี้จะมีหลายหลักอยู่ 10 ลายหลัก ประ ด้วยไม้ลายหรือตะกอกว่า1,000 เขา / ตะกอ ซึ่งการทำลายบนผืนผ้าแพรวา โบราณจะทำโดยใช้ไม้เก็บขิดลายเก็บลาย ก่อน แล้วใช้ไม้ยกลายหรือไม้เผ่าสอดเข้า จนหมดหน้าฟืม ขั้นตอนที่ 9

10. การทอผ้าแพรวาแบบประยุกต์ ปัจจุบันการทอผ้าแพรวาได้มีการ ประยุกต์เพื่อให้เหมาะกับสภาพการของ เศรษฐกิจและความต้องการของตลาด เช่น ผ้าแพรวาชนิดแพรวาล่วง คือ ใช้ กระสวยพุ่งตามลายที่ได้เก็บขิดลายไว้ ลวดลายบนผืนผ้าหรือหากจะมีการเพิ่ม สีสันก็จะมีการเติมลายเล็กๆหรือลายที่ เป็นลายเกสรเล็กๆเพื่อเพิ่มสีสันให้มี ความสวยงาม ขั้นตอนที่ 10

ผ้าไหม


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook