Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือองค์ประกอบกราฟิก

คู่มือองค์ประกอบกราฟิก

Published by จันทร์จิรา เก่งนอก, 2022-11-14 04:17:18

Description: Blue Modern Financial Workshop (Poster) (1)

Search

Read the Text Version

คู่มือองค์ประกอบของ ภาพกราฟิก

ความหมายของ กราฟิก 1.ความหมายของกราฟิ ก กราฟิก(Graphic) มักเขียนผิดเป็น กราฟิกส์ กราฟฟิกส์ กราฟฟิก คำว่า “กราฟิก” มาจาก ภาษากรีก ซึ่งหมายถึง การวาดเขียน (Graphikos) และการเขียน (Graphein) ต่อมามี ผู้ให้ ความหมายของคำว่า “กราฟิก” ไว้หลาย ประการซึ่งสรุปได้ ดังนี้ \"กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อ ความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อ ความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสาร ต้องการ\"

ประเภทของภาพ กราฟิก 2.ประเภทของภาพกราฟิก การสร้างเว็บเพจแต่ละนั้นถ้ามีการใส่ข้อความหรือตัวอักษรเพียง อย่างเดียวจะทำให้เว็บเพจนั้นไม่เป็นที่สนใจของผู้เข้าชม จึงต้องมีการ แทรกรูปภาพเพื่อให้เว็บเพจสวยงามมากยิ่งขั้นและสื่อความหมายของ เนื้ อหาในเว็บเพจได้ดียิ่งขึ้ น ภาพกราฟิกในคอมพิวเตอร์นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ภาพเวคเตอร์ (Vector) จะเป็นภาพที่ประกอบด้วยเส้นลักษณะต่างๆ เช่น เส้นตรง โค้ง และรูปทรงของเลขาคณิต จะถูกจัดเก็บในคำสั่งของ โปรแกรมและค่าตัวเลข การแสดงผลจะมีการคำนวณทุกๆ ครั้ง ส่งผลให้ ภาพลักษณะเช่นนี้มีความคมชัดและไม่แตกเมื่อมีการขยายให้ภาพมีขนาด ใหญ่ขึ้น 2. ภาพบิตแมป (Bitmap) จะเป็นภาพที่ประกอบจากจุดสีขนาด เล็กๆจำนวนมากเรียงเรียงตัวกันในลักษณะรูปแบบตาราง เรียกว่า พิกเซล(pixel) แต่ละภาพจะมีค่าและขนาดที่แน่นอน ถ้ามีการขยายเพิ่ม มากขึ้นจากขนาดเดิมจะทำให้มองเห็นเป็ นภาพหยาบหรือรูปภาพแตกอย่าง ชัดเจน

โหมดสีภาพกราฟิก 3.โหมดสีภาพกราฟิ ก 1. ระบบสี RGB ตามหลักการแสดงสีของทีวีสีหรือจอมอนิเตอร์ 2. ระบบสี CMYK ตามหลักการแสดงสีของเครื่องพิมพ์ 3. ระบบสี HSB ตามหลักการมองเห็นสีของสายตามนุษย์ 4. ระบบสี LAB ตามหลักการแสดงสีที่ไม่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ใดๆ สามารถใช้กับสีที่เกิดจาก อุปกรณ์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็ นจอคอมพิวเตอร์หรือเครื่ องพิมพ์ ระบบสี RGB ย่อมาจากคำว่า Red Green และ Blue เป็นระบบสีที่เกิดจากการ รวมกันของแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน เมื่อมีการใช้สัดส่วนของ 3 สีนี้ต่างกัน จะทำให้เกิดสีต่างๆ ได้อีกมากมายถึง 16.7 ล้านสี ซึ่ง ใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติ โดยสีที่ได้จากการผสมสีขึ้นอยู่กับ ความเข้มของสี ถ้าหากสีมีความเข้มมากเมื่อนำมาผสมกันจะทำให้ เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสีนี้ว่า Additive หรือการผสมสีแบบบวก หลักการแสดงสีของจอคอมพิวเตอร์นั้นจะแสดงสี

ระบบสี CMYK ย่อมาจากคำว่า Cyan Magenta Yellow และ Black เป็นระบบสี มาตรฐานที่เหมาะกับงานพิมพ์ พิมพ์ออกทางกระดาษหรือวัสดุผิวเรียบ อื่น ๆ โดยทำการแก้ไขจุดบกพร่องของระบบสี RGB ที่เครื่องพิมพ์ ไม่ สามารถพิมพ์สีบางสีออกไปได้ ซึ่งประกอบด้วยสีหลัก 4 สี ได้แก่ สีฟ้ า สีชมพูม่วง สีเหลือง และสีดำ เมื่อนำสีทั้งหมดมาผสมกันจะเกิดเป็นสี ดำ จึงเรียกระบบสีนี้ว่า Subtractive Color หลักการเกิดสีของระบบ

ระบบสี HSB เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ Hue เป็นสีต่าง ๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตา ทำให้เรา สามารถมองเห็นวัตถุเป็นสีต่าง ๆ ได้ ซึ่งแต่ละสีจะแตกต่างกันตาม ความยาวของคลื่นแสงที่มากระทบวัตถุและสะท้อนกลับมาที่สายตา ค่า Hue ถูกวัดโดยตำแหน่งการแสดงสีบนมาตรฐานวงล้อของสี (Standard Color Wheel) ซึ่งถูกแทนค่าสีด้วยองศา 0 ถึง 360 องศา แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้วมักจะเรียกการแสดงสีนั้น ๆ เป็นชื่อของสีเลย เช่น สีแดง สีม่วง สีเหลือง

ระบบสี LAB เป็ นมาตรฐานสำหรับการวัดค่าแบบครอบคลุมทุกสีในระบบสี RGB และ CMYK สามารถใช้กับสีที่ เกิดจากอุปกรณ์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ รวมทั้งอุ ปกรณ์อื่นๆ ส่วนประกอบของระบบสีนี้ ได้แก่ L (Luminance) เป็นค่าความสว่าง จะมีค่าตั้งแต่ 0 (สีดำ) ไป จนถึงค่า 100 (สีขาว) A แสดงการไล่สีจากสีเขียวไปยังสีแดง B แสดงการไล่สีจากสีน้ำเงินไปยังสีเหลือง

คอมพิวเตอร์กราฟิ กกับการประยุกต์ ใช้ในงานต่างๆ งานด้านกราฟิ กมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและแพร่หลาย คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ ใช้ในงานด้านต่าง ๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์กราฟิ กกับงานออกแบบ คอมพิวเตอร์กราฟิ กกับงานนำเสนอ

คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานบันเทิง คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานเว็บไซต์

อมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านการศึกษา และฝึกอบรม


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook