Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก

นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก

Published by Aikokohaho2548, 2022-07-14 14:14:35

Description: นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก
(ประวัติ ผลงาน )

Search

Read the Text Version

หม่อมครูต่วน ศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก จัดทำโดย น.ส.นภัสสร วงษ์มั่น เลขที่ 10 ห้อง ม.5/1

ศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก หม่อมครูต่วน อัตชีวประวัติ นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก ชื่อเดิม ต่วน เกิดวันพฤหัสบดีขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๕ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ ณ บ้านเหนือ วัดทองธรรมชาติอำเภอคลองสาน ฝั่งธนบุรี บิดาชื่อนายกลั่น ภัทรนาวิก ซึ่งเป็นบุตรพระยา ภักดีภัทรากร (จ๋อง ภัทรนาวิก) มารดาชื่อลำไย เป็น ชาวพระนครศรีอยุธยา นางศุภลักษณ์ภัทรนาวิก มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา ๕ คน หม่อมครูต่วน มีความสนใจในด้านละครและเข้ารับการฝึกหัดตั้งแต่อายุ ๙ ขวบ ฝึกหัด เป็นตัวนางโดยรับการฝึกหัดจากหม่อมวัน มารดาของพระยาวชิตชลธาร (ม.ล.เวศน์ กุญชร) หม่อมครูต่วน มีความพยายามในการฝึกฝนจนสามารถ แสดงเป็นตัวนางได้อย่างดีและเป็นที่เมตตาปราณีของท่านเจ้าพระยา เทเวศน์วงศ์วิวัฒน์มาก ต่อมาเมื่ออายุ ๑๖ ปี ก็ได้เป็นหม่อมของท่านเจ้า พระยาเทเวศน์วงศ์วิวัฒน์ นางรจนา (ศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก) เจ้าเงาะ(มัลลี คงประภัศร์)

อัตชีวประวัติ หม่อมต่วนรับบทบาทเป็นตัวนางเอกหลายเรื่องเคยแสดงถวายหน้า พระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับการฝึกหัดให้ แสดงละครดึกดำบรรพ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัตติวงศ์ หม่อมต่วนมีความเชี่ยวชาญในบทบาทตัวนางเป็นอย่าง ดีเยี่ยมเคยแสดงมาแล้วแทบทุบทบาท ในสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้มีการจัดตั้งกองมหรสพก็ได้รับมอบหน้าที่เป็นผู้ฝึกหัดละคดึกดำบรรพ์ ตัวนาง เมื่อมีการยุบกระทรวงวังก็ออกจากราชการแต่เมื่อมีการจัดตั้งโรงเรียน นาฏดุริยางคศาสตร์ (วิทยาลัยนาฏศิลป์ในปัจจุบัน) กรมศิลปากร หม่อม ต่วนก็ได้ถูกเชิญให้เข้ามารับราชการครูตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๘ ได้รับความ เคารพรักจากบรรดาศิษย์มากมายจนได้รับการยกย่องด้วยความนับถือว่า “หม่อมครูต่วน” ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ หม่อมครูต่วนได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ศุภลักษณ์” เนื่องจากเคยรับบทเป็นนางศุภลักษณ์ในละครเรื่องอุณรุท หม่อมครูต่วนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายนพ.ศ. ๒๔๙๙ สิริรวมอายุได้ ๗๓ ปี ๔ เดือน ๑๔ วัน

ผลงานด้านนาฏศิลป์ไทย นางรจนา (ศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก) รับบทนางสีดา ในการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ รับบทนางศุภลักษณ์ ในการแสดงละคร เรื่องอุณรุท รับบทนางรจนา ในการแสดงละครนอก เรื่องสังข์ทอง ตอนเลือกคู่และหาปลา ประดิษฐ์ท่ารำการแสดงชุดฉุยฉายนาฏดุริยางค์ ร่วมกันประดิษฐ์ท่าเชื่อมรำแม่บทใหญ่จากหนังสือตำราฟ้อนรำของ สำเด็จกำรงราชานุภาพขึ้นเป็นครั้งแรกในการแสดงละครเรื่อง สุริยะคุปต์ ซึ่งเป็นบทประพันธ์ของหลวงวิจิตวาทการ และใช้เป็น แบบเรียนนาฏศิลป์ไทยมาจนถึงปัจจุบัน ร่วมประดิษฐ์ท่ารำการแสดงชุดรำเชิดฉิ่งออกเชิดจีน ร่วมกับคุณครู ลมุล ยมะคุปต์ และผลงานอื่นๆอีกมากมาย

คุณูปการที่มีต่อวงการนาฏศิลป์ เป็นครูผู้ถ่ายทอดบทบาทกระบวนท่ารำตัวนางและกลวิธีการแสดงละคร ดึกดำบรรพ์ให้กับศิลปินในกรมมหรสพในรัชกาลที่ 7 และกรมศิลปากรเป็น ผู้วางรากฐานแบบแผนการฝึกหัดตัวนางให้กับโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นโรงเรียนศิลปากรนาฏดุริยางค์ โรงเรียนนาฏศิลป์วิทยาลัย นาฏศิลป์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ในที่สุด

บรรณานุกรม which do youหม่อมครูต่วน หรือ นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก. (2561). [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 14 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/114636613323831/posts/122733229180836/ ประวัติบุคคลสำคัญของวงการนาฏศิลป์ไทย. (ม.ป.ป). [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 14 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงได้จาก preferhttps://sobphrae1.files.wordpress.com/2014/10/e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8 a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b89ae0b8b8e0b884e0b884e0b8a5e0b8aae0b8b 3e0b884e0b8b1e0b88de0b882e0b8ade0b887e0b8a7e0b887.pdf ลักษณะของตัวละคอนในนาฏกรรมบางเรื่อง. (2563). [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 14 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/media/set/? set=a.2864866860234102&type=3&comment_id=2981806101873510 ปรมาจารย์ด้านนาฏศิลป์ไทย : หม่อมครูต่วน ศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก. (2563). [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 14 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงได้จาก city lifehttps://www.youtube.com/watch?v=vCMpKd2FKm8 or country life?


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook