วันวิสาขบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ วันประสูติ ประวัติ วันตรัสรู้ วันปรินิพพาน
ประวัติวันวิสาขบูชาในประเทศไทย วันวิสาขบูชา ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่ง สันนิษฐานว่าได้รับแบบแผนมาจากลังกาเมื่อประมาณ พ.ศ. 420 โดยพระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกาได้เป็นผู้ประกอบพิธี วิสาขบูชาขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา นับจากนั้นกษัตริย์แห่งลังกา พระองค์อื่น ๆ ก็ได้ถือปฏิบัติประเพณีวิสาขบูชานี้สืบต่อกันมา ส่วน การเผยแพร่เข้ามาในประเทศไทยนั้นอาจเป็นเพราะเมื่อครั้งสมัย สุโขทัย ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนากับประเทศ ลังกาอย่างใกล้ชิด จะเห็นได้ว่ามีพระสงฆ์จากเมืองลังกาหลายรูปเดิน ทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาและนำการประกอบพิธีวิสาขบูชาเข้า มาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย
ประวัติวันวิสาขบูชาในประเทศไทย ต่อมาภายหลังจากสมัยสุโขทัย ประเทศไทยได้รับอิทธิพลของศาสนา พราหมณ์เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และ รัตนโกสินทร์ตอนต้นไม่มีปรากฏหลักฐานการประกอบพิธีวิสาขบูชา จนกระทั่ง มาถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2360) พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดยสมเด็จพระ สังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้นครั้งแรกในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 โดยให้จัดทำตามแบบอย่าง ประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อให้ประชาชนได้ทำบุญ ทำกุศลทั่วหน้ากัน อีกทั้ง การรื้อฟื้นพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาในครานี้ถือว่าเป็นแบบอย่างปฏิบัติในการประกอบ พิธีวิสาขบูชาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
วันวิสาขบูชามีความสำคัญอย่างไร ? วันวิสาขบูชา เป็นวันที่ระลึกถึงวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือนวิสาขมาส (เดือน 6) บรรจบกันทั้ง 3 คราว ได้แก่ วันประสูติ เช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อน พุทธศักราช 80 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงประสูติที่ พระราชอุทยานลุมพินีวัน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิล พัสดุ์กับเทวทหะ วันตรัสรู้ เช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ริม ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ภายหลังจากการ ออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย วันปรินิพพาน ภายหลังจากการตรัสรู้ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงออก ประกาศพระธรรมวินัย และโปรดเวไนยสัตว์เป็นเวลา 45 ปี เมื่อมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา พระองค์ก็เสด็จดับขันธ ปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ปัจจุบันอยู่ในเมืองกุสีนคระ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศ อินเดีย
วันวิสาขบูชากิจกรรมที่สำคัญเนื่องใน ๑.ทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทานที่วัดใกล้บ้าน พร้อมตั้งใจฟังธรรมเทศนา กรวดน้ำอุทิศบุญกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับและเจ้ากรรม นายเวร ๒.ร่วมพิธีเวียนเทียนรอบอุโบสถ เป็นการบูชาพระรัตนตรัยด้วยอามิสบูชาและปฏิบัติบูชา เป็นการเดินเวียนรอบอุโบสถ ซึ่งจะเวียนขวา 3 รอบ ๓.จัดแสดงนิทรรศการ เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของวันวิสาขบูชาเพื่อให้ ความรู้ และร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา
Search
Read the Text Version
- 1 - 6
Pages: