Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เอกสารประกอบการสอน-พัฒนาวรรณกรรมไทย

เอกสารประกอบการสอน-พัฒนาวรรณกรรมไทย

Published by สวพร จันทรสกุล, 2023-06-07 06:53:55

Description: เอกสารประกอบการสอน-พัฒนาวรรณกรรมไทย

Search

Read the Text Version

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา พัฒนาการวรรณกรรมไทย ซูไรดา เจะนิ คณะมนษุ ยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ๒๕๖๐

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา พัฒนาการวรรณกรรมไทย ซูไรดา เจะนิ กศ.ม. (ภาษาไทย) คณะมนษุ ยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ๒๕๖๐

(๑) คานา เอกสารประกอบการสอน รายวิชา พัฒนาการวรรณกรรมไทย รหัส ๒๑๐๔๒๐๗ น้ี ได้แบ่ง เน้อื หาในการเรียนการสอนไว้ ๖ หัวข้อเร่ือง แต่ละหัวข้อเรื่องใช้เวลาในการจัดการเรียนการสอนเป็น อย่างน้อย ๒ สัปดาห์ แตกต่างกนั ไปตามรายละเอียดเนื้อหาของหวั ข้อเรื่องนนั้ ๆ มีจดุ มุ่งหมายเพ่ือให้ ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเก่ียวกับวิวัฒนาการของวรรณคดีและวรรณกรรมไทยในยุคสมัยต่าง ๆ รูปแบบและลักษณะของวรรณคดี วรรณกรรม คุณค่าของวรรณคดี วรรณกรรม เพื่อให้นักศึกษามี ความรู้ดา้ นวรรณกรรมในแตล่ ะชว่ งตอนของสังคมไทย มีความรู้เกี่ยวกับลักษณะท่ัวไปของวรรณกรรม ในแต่ละยุคสมัย สามารถเช่ือมความรู้ความคิดจากวรรณกรรมกับสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละยุค สมัย มคี วามสานึก และเห็นคุณค่าของวรรณกรรมไทย ตลอดจนเป็นพื้นฐานในการเรียนรายวิชาอื่นๆ และนามาประยุกตใ์ ช้กบั ชีวติ จรงิ เอกสารประกอบการสอนเล่มน้ี ผู้จัดทาได้ยึดแนวทางของรายละเอียดเนื้อหาจากคาอธิบาย รายวิชาและเอกสารการสอนชุดวิชาวรรณคดีไทย หน่วยที่ ๑-๗ และหน่วยท่ี ๘-๑๖ ท่ีจัดทาโดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศิลปศาสตร์ เป็นแนวทางสาคัญในการจัดทาเอกสาร ประกอบการสอนรายวิชานี้ และหากผู้อ่านพบข้อผิดพลาด ผู้จัดทาขอน้อมรับด้วยความยินดีและจะ นาไปปรบั ปรงุ เพ่อื ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาต่อไป ซูไรดา เจะนิ ๒๐ กนั ยายน ๒๕๖๐

(๒) สารบญั คานา …………………………………………………………………………………………………………………. หน้า สารบญั …………………………………………………………………………………………………………….... (๑) แผนบริหารการสอนประจาวิชา ……………………………………………………………………………... (๒) (๕) แผนบริหารการสอนประจาบทท่ี ๑ ................................................................................... ๑ บทที่ ๑ ความรทู้ วั่ ไปเก่ียวกับวรรณคดี และวรรณกรรมไทย........................................... ๒ ๒ บทนา ........................................................................................................................ ๒ ความหมายของวรรณคดี วรรณกรรม และวรรณศลิ ป์ .............................................. ๕ ความหมายของร้อยกรองและร้อยแกว้ ..................................................................... ๗ ประเภทของวรรณคดีและวรรณกรรมไทย ................................................................ ๑๐ คณุ คา่ ของวรรณคดีและวรรณกรรมไทย ................................................................... ๑๕ บทสรุป ..................................................................................................................... ๑๖ คาถามทา้ ยบท ...…………………………………………………………………………………………… ๑๗ เอกสารอา้ งอิง ........................................................................................................... ๑๘ แผนบริหารการสอนประจาบทท่ี ๒ .................................................................................. ๑๙ บทที่ ๒ วรรณคดีสมยั สุโขทยั -อยุธยา พ.ศ. ๒๑๗๒ ....................................................... ๑๙ บทนา ........................................................................................................................ ๑๙ วรรณคดีสมัยสโุ ขทัย ................................................................................................. ๒๓ วรรณคดีสมยั อยธุ ยาตอนตน้ พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๑๗๒ ................................................... ๒๔ สงั คมและการปกครองสมัยอยธุ ยา ........................................................................... ๒๕ กวแี ละวรรณคดสี มัยอยุธยาตอนตน้ ......................................................................... ๒๗ ลักษณะวรรณคดสี มัยอยุธยาตอนต้น ........................................................................ ๒๙ บทสรปุ ..................................................................................................................... ๓๑ คาถามทา้ ยบท ...…………………………………………………………………………………………… ๓๒ เอกสารอ้างองิ ........................................................................................................... ๓๓ แผนบริหารการสอนประจาบทท่ี ๓ ................................................................................... ๓๔ บทที่ ๓ วรรณคดสี มยั อยธุ ยา พ.ศ. ๒๑๗๒ – ๒๓๑๐ ..................................................... ๓๔ บทนา ....................................................................................................................... ๓๔ สภาพเหตุการณบ์ ้านเมืองทีม่ ีอิทธิผลต่อวรรณคดีสมัยอยธุ ยาตอนกลาง ....................... ๓๕ กวีและวรรณคดสี มัยอยุธยาตอนกลาง ...................................................................... ๓๘ ลกั ษณะวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง .................................................................... ๔๐ วรรณคดีสมัยอยธุ ยาตอนปลาย พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๓๑๐ ............................................... ๔๒ ลักษณะวรรณคดสี มยั อยุธยาตอนปลาย ................................................................... ๔๔ บทสรุป .....................................................................................................................

(๓) สารบัญ (ต่อ) หน้า คาถามทา้ ยบท ...…………………………………………………………………………………………… ๔๖ เอกสารอา้ งอิง ........................................................................................................... ๔๗ แผนบรหิ ารการสอนประจาบทท่ี ๔ .................................................................................. ๔๘ บทท่ี ๔ วรรณคดสี มัยกรุงธนบรุ ี-กรงุ รตั นโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๙๔ .................................... ๔๙ บทนา ....................................................................................................................... ๔๙ วรรณคดสี มัยกรงุ ธนบุรี ............................................................................................ ๔๙ สภาพเหตกุ ารณ์บ้านเมืองในสมยั ต้นรตั นโกสินทร์ (รัชกาลท่ี ๑ – รชั กาลท่ี ๓) ....... ๕๒ วรรณคดีสมยั รชั กาลท่ี ๑ .......................................................................................... ๕๖ กวี และวรรณคดสี มัยรชั กาลท่ี ๑ ............................................................................. ๕๖ วรรณคดีสมัยรัชกาลท่ี ๒ ........................................................................................ ๖๔ กวี และวรรณคดสี มัยรัชกาลที่ ๒ ............................................................................. ๖๔ วรรณคดสี มยั รชั กาลท่ี ๓ ........................................................................................ ๖๙ กวี และวรรณคดีสมัยรัชกาลที่ ๓ ............................................................................. ๖๙ บทสรปุ ..................................................................................................................... ๗๘ คาถามทา้ ยบท .......................................................................................................... ๘๐ เอกสารอ้างองิ .......................................................................................................... ๘๑ แผนบรหิ ารการสอนประจาบทท่ี ๕ .................................................................................. ๘๒ บทท่ี ๕ วรรณคดสี มยั รตั นโกสนิ ทร์ พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๗๕ ............................................... ๘๓ บทนา ....................................................................................................................... ๘๓ สภาพสังคมที่มีอิทธิผลต่อวรรณคดีสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอย่หู วั .......... ๘๓ ลกั ษณะของวรรณคดีสมยั รัชกาลที่ ๔ ...................................................................... ๘๕ วรรณคดสี าคัญสมยั รชั กาลท่ี ๔ ................................................................................ ๘๗ วรรณคดีสมยั รชั กาลท่ี ๕ .......................................................................................... ๘๙ ลกั ษณะของวรรณคดีสมยั รัชกาลท่ี ๕ ...................................................................... ๙๑ วรรณคดสี าคญั สมัยรชั กาลท่ี ๕ ................................................................................ ๙๖ วรรณคดสี มัยรชั กาลที่ ๖ .......................................................................................... ๑๐๐ ลักษณะของวรรณคดีสมยั รชั กาลท่ี ๖ ...................................................................... ๑๐๔ วรรณคดีสาคญั สมยั รัชกาลที่ ๖ ................................................................................ ๑๑๑

(๔) สารบัญ (ตอ่ ) หน้า วรรณคดสี มัยรชั กาลท่ี ๗ - ก่อนการเปลีย่ นแปลงการปกครอง ................................ ๑๑๓ ลักษณะของวรรณคดสี มยั รัชกาลท่ี ๗ ก่อนการเปล่ียนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕.... ๑๑๕ วรรณคดสี าคญั สมัยรัชกาลที่ ๗ ก่อนการเปลีย่ นแปลงการปกครอง ๒๔๗๕............. ๑๑๙ บทสรุป .................................................................................................................... ๑๒๒ คาถามทา้ ยบท ......................................................................................................... ๑๒๔ เอกสารอา้ งองิ .......................................................................................................... ๑๒๕ แผนบริหารการสอนประจาบทที่ ๖ .................................................................................. ๑๒๖ บทท่ี ๖ วรรณกรรมปัจจุบนั .......................................................................................... ๑๒๗ บทนา ....................................................................................................................... ๑๒๗ ความรทู้ ั่วไปเกีย่ วกบั วรรณกรรมปัจจุบัน ................................................................. ๑๒๗ ววิ ัฒนาการวรรณกรรมปจั จบุ ัน ................................................................................ ๑๓๑ บทสรุป .................................................................................................................... ๑๔๒ คาถามทา้ ยบท ......................................................................................................... ๑๔๓ เอกสารอา้ งองิ .......................................................................................................... ๑๔๔

(๕) แผนบริหารการสอนประจาวชิ า รหสั วชิ า ๒๑๐๔๒๐๗ ๓(๓-๐-๖) รายวิชา พฒั นาการวรรณกรรมไทย (Development of Thai Literature) คาอธบิ ายรายวชิ า ศึกษาพัฒนาการของวรรณคดีไทยต้ังแต่สมัยสุโขทัยถึงปัจจุบัน ในด้านรูปแบบ เนื้อหา แนวคิด กลวิธีการประพันธ์ จาแนกประเภทของวรรณกรรมไทย ลักษณะเฉพาะของวรรณคดี คุณค่า ความเช่ือ และค่านิยมตลอดจนสภาพสังคมและการเมืองที่มีผลต่อวรรณกรรมไทย ศึกษาวรรณกรรม ประเภทสารัตถคดี(Non- Fiction) บันเทิงคดี(Fiction) โดยเน้นลักษณะท่ีเป็นนวกรรมในทาง วรรณศิลป์ ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งการเปลยี่ นแปลงทางสงั คมกับววิ ฒั นาการของวรรณกรรม จุดประสงคก์ ารเรียนรู้ ๑. มคี วามร้คู วามเขา้ ใจเกี่ยวกับความร้ทู ่วั ไปของวรรณคดแี ละวรรณกรรมไทย ๒. มีความร้คู วามเข้าใจเกีย่ วกบั ประเภทของวรรณกรรมไทย ๓. มีความรู้ความเข้าใจและสามารถอธิบายรูปแบบ เนื้อหา แนวคิด และกลวิธีการ ประพนั ธ์ของวรรณกรรมไทยในแตล่ ะยคุ สมยั ๔. มีความรู้ความเข้าใจและสามารถอธิบายลักษณะเฉพาะ คุณค่า ความเช่ือ และ ค่านิยมของวรรณกรรมไทยสมยั ต่าง ๆ ๕. อธิบายความสัมพนั ธ์ระหว่างวรรณกรรมกับการเปล่ียนแปลงของสังคมวัฒนธรรมใน สมยั ตา่ ง ๆ ๖. วิเคราะหค์ ุณค่าทางวรรณศิลป์ทป่ี รากฏในวรรณกรรมได้

เน้อื หา (๖) ๖ ชว่ั โมง แผนบริหารการสอนประจาบทที่ ๑ ๖ ชวั่ โมง บทที่ ๑ ความรู้ทว่ั ไปเก่ียวกับวรรณคดี และวรรณกรรมไทย ๙ ชว่ั โมง บทนา ความหมายของวรรณคดี วรรณกรรม และวรรณศิลป์ ความหมายของร้อยกรองและรอ้ ยแกว้ ประเภทของวรรณคดีและวรรณกรรมไทย คณุ คา่ ของวรรณคดแี ละวรรณกรรมไทย บทสรุป คาถามทา้ ยบท เอกสารอ้างอิง แผนบรหิ ารการสอนประจาบทท่ี ๒ บทท่ี ๒ วรรณคดสี มยั สุโขทัย-อยุธยา พ.ศ. ๒๑๗๒ บทนา วรรณคดสี มัยสุโขทยั วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนตน้ พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๑๗๒ สังคมและการปกครองสมัยอยุธยา กวีและวรรณคดสี มยั อยธุ ยาตอนต้น ลกั ษณะวรรณคดีสมยั อยธุ ยาตอนต้น บทสรปุ คาถามท้ายบท เอกสารอา้ งองิ แผนบรหิ ารการสอนประจาบทท่ี ๓ บทท่ี ๓ วรรณคดีสมยั อยธุ ยา พ.ศ. ๒๑๗๒ – ๒๓๑๐ บทนา สภาพเหตกุ ารณบ์ ้านเมืองทีม่ ีอิทธิผลตอ่ วรรณคดีสมัยอยธุ ยาตอนกลาง กวีและวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง ลักษณะวรรณคดสี มยั อยธุ ยาตอนกลาง วรรณคดีสมัยอยธุ ยาตอนปลาย พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๓๑๐ ลกั ษณะวรรณคดีสมัยอยธุ ยาตอนปลาย บทสรุป คาถามท้ายบท เอกสารอ้างอิง

(๗) เนื้อหา (ต่อ) แผนบรหิ ารการสอนประจาบทท่ี ๔ ๙ ชวั่ โมง บทที่ ๔ วรรณคดสี มัยกรุงธนบุรี-กรงุ รัตนโกสนิ ทร์ พ.ศ. ๒๓๙๔ บทนา วรรณคดีสมยั กรงุ ธนบรุ ี สภาพเหตุการณบ์ ้านเมืองในสมยั ตน้ รตั นโกสนิ ทร์ (รชั กาลที่ ๑ – รัชกาลท่ี ๓) วรรณคดสี มยั รัชกาลท่ี ๑ กวี และวรรณคดสี มยั รชั กาลท่ี ๑ วรรณคดสี มยั รัชกาลที่ ๒ กวี และวรรณคดสี มัยรัชกาลที่ ๒ วรรณคดีสมยั รชั กาลท่ี ๓ กวี และวรรณคดสี มยั รัชกาลที่ ๓ บทสรุป คาถามท้ายบท เอกสารอ้างอิง แผนบรหิ ารการสอนประจาบทท่ี ๕ บทที่ ๕ วรรณคดีสมยั รัตนโกสนิ ทร์ พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๗๕ ๙ ชว่ั โมง บทนา สภาพสังคมท่ีมีอิทธผิ ลต่อวรรณคดีสมยั พระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจ้าอยูห่ ัว ลกั ษณะของวรรณคดีสมัยรชั กาลที่ ๔ วรรณคดสี าคัญสมยั รชั กาลที่ ๔ วรรณคดสี มัยรชั กาลท่ี ๕ ลักษณะของวรรณคดีสมัยรชั กาลที่ ๕ วรรณคดีสาคญั สมยั รัชกาลที่ ๕ วรรณคดีสมัยรชั กาลท่ี ๖ ลักษณะของวรรณคดสี มยั รัชกาลท่ี ๖ วรรณคดีสาคัญสมยั รชั กาลที่ ๖ วรรณคดีสมยั รัชกาลท่ี ๗ - ก่อนการเปล่ียนแปลงการปกครอง ลักษณะของวรรณคดีสมัยรชั กาลที่ ๗ กอ่ นการเปลย่ี นแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ วรรณคดีสาคญั สมยั รัชกาลที่ ๗ กอ่ นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ บทสรปุ คาถามทา้ ยบท เอกสารอ้างอิง

เนือ้ หา (ต่อ) (๘) ๖ ชั่วโมง แผนบรหิ ารการสอนประจาบทท่ี ๖ บทท่ี ๖ วรรณกรรมปัจจุบนั บทนา ความรู้ทัว่ ไปเกีย่ วกับวรรณกรรมปัจจบุ ัน ววิ ัฒนาการวรรณกรรมปจั จุบัน บทสรุป คาถามท้ายบท เอกสารอา้ งองิ

(๙) วธิ สี อนและกจิ กรรม ๑. ศึกษาเอกสารประกอบการสอน และชี้แจงจดุ ประสงค์การเรียนรู้ ๒. ผู้สอนบรรยายเนอ้ื หาประจาบท โดยการนาเสนอด้วยโปรแกรม Power Point ๓. แบง่ กลุ่มศึกษาวรรณกรรมในยุคสมยั ตา่ ง ๆ ๔. นาเสนอและรว่ มอภิปรายกลุ่มย่อย ซักถาม ตอบคาถาม ๕. ทาแบบฝกึ หัดท้ายบท ๖. มอบหมายงานให้ศกึ ษาค้นว้าเพิ่มเตมิ ๗. นาเสนองานทมี่ อบหมายในช้นั เรยี น สอ่ื การเรียนการสอน ๑. เอกสารประกอบการสอนวชิ า พฒั นาการวรรณกรรมไทย ๒. power point ประจาบท ๓. กิจกรรมกลุม่ ๔. Internet และ Web-site การวดั ผลและประเมนิ ผล การวดั ผล ๑. คะแนนระหว่างภาคเรียน ๔๐ % ๑.๑ การมสี ่วนร่วมในกิจกรรมการเรยี นรู้ ๑๐ % ๑.๒ การตอบคาถามในคาถามท้ายบท ๑๐ % ๑.๓ ความรบั ผิดชอบการมาเรียน ๑๐ % ๑.๔ การนาเสนองานท่มี อบหมาย ๑๐ % ๒. คะแนนสอบระหวา่ งภาค ๒๐ % ๓. คะแนนสอบปลายภาค ๔๐ % การประเมนิ ผลการเรยี น ตามระเบยี บการวดั ผลประเมินผลของมหาวทิ ยาลยั ราชภัฏยะลา คะแนน ๙๐-๑๐๐ ระดบั A คะแนน ๘๕-๘๙ ระดับ B+ คะแนน ๘๐-๘๔ ระดับ B คะแนน ๗๐-๗๙ ระดบั C+ คะแนน ๖๐-๖๙ ระดับ C คะแนน ๕๕-๕๙ ระดบั D+ คะแนน ๕๐-๕๔ ระดับ D คะแนน ๐-๔๙ ระดับ E

๑ แผนบริหารการสอนประจาบทท่ี ๑ ความรู้เก่ียวกับวรรณคดไี ทย และวรรณกรรมไทย หวั ขอ้ เนอ้ื หาประจาบท ๑. ความหมายและประเภทของวรรณคดี วรรณกรรมไทย ๒. ความหมายของร้อยกรองและรอ้ ยแกว้ ๓. ประเภทของวรรณคดีและวรรณกรรมไทย ๔. คุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมไทย วตั ถปุ ระสงค์เชิงพฤติกรรม เพือ่ ใหน้ กั ศึกษาสามารถ ๑. อธิบายความหมายของวรรณคดี วรรณกรรม และวรรณศลิ ปไ์ ด้ ๒. อธิบายความหมายของรอ้ ยกรอง และร้อยแกว้ ได้ ๓. อธบิ ายและจาแนกประเภทของวรรณกรรมไทยได้ ๔. อธิบายคณุ คา่ ของวรรณคดไี ทยได้ กิจกรรมการเรยี นการสอนประจาบท ๑. การบรรยายประกอบส่ือบรรยาย ๒. การศึกษาเอกสารประกอบการสอน ๓. ตอบคาถามท้ายบทและแสดงความคดิ เห็นในประเด็นทเี่ ก่ยี วข้อง ส่อื การสอน ๑. เอกสารประกอบการสอน ๒. Power Point เรือ่ งความรู้เก่ียวกบั วรรณคดไี ทย และวรรณกรรมไทย การประเมนิ ผล ๑. สงั เกตความสนใจ และความต้งั ใจเรียน ๒. การมีส่วนรว่ มในช้ันเรียน ๓. ประเมนิ ผลจากกจิ กรรมและการตอบคาถามทา้ ยบท

๒ บทท่ี ๑ ความรู้ทวั่ ไปเกยี่ วกับวรรณคดีและวรรณกรรมไทย บทนา วรรณคดี และวรรณกรรมเป็นสิ่งสร้างสรรค์อันล้าค่าของมนุษย์ มนุษย์สร้างและสื่อสาร เรือ่ งราวของชวี ิต วัฒนธรรมและอารมณ์ความรู้สึกหรือแม้แต่การสะท้อนความเป็นมนุษย์ออกมาด้วย กลวิธีการใช้ถ้อยคา สานวนภาษาที่ดี สละสลวย ซึ่งมีความเหมือนหรือแตกต่างกันไปในแต่ละยุค สมยั วรรณคดี วรรณกรรมถือเป็นงานเขียนที่นามาซึ่งความดีงาม ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน ทาให้ผู้อ่าน ไดแ้ ง่คดิ ท่ีดีงาม และเห็นคุณคา่ ของศิลปะและวรรณคดี วรรณกรรม วรรณคดี และวรรณกรรมมีความสาคัญทางด้านการใช้ภาษาที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคน การสืบทอดและอนุรักษ์วัฒนธรรม คาสอน และเป็นเคร่ืองมือสร้างความสามัคคีให้เกิดในกลุ่มชน สร้างความจรรโลงใจ นอกจากจะให้คุณค่าในด้านอรรถรสของถ้อยคาที่ทาให้ผู้อ่านเห็นความงดงาม ของภาษาแล้วยังมีคุณค่าทางสติปัญญาและศีลธรรมอีกด้วย วรรณคดีจึงมีคุณค่าแก่ผู้อ่านทั้งในด้าน สุนทรียภาพหรือความงาม สุนทรียภาพหรือความงามทางภาษาเป็นหัวใจของวรรณคดี เช่น ศิลปะ ของการแตง่ ทงั้ การบรรยาย การเปรียบเทียบ การเลือกสรรถ้อยคาให้มีความหมายเหมาะสม กระทบ อารมณ์ผู้อ่าน มีสัมผัสให้เกิดเสียงไพเราะเป็นต้น และคุณค่าทางสารประโยชน์ เป็นคุณค่าทาง สติปัญญาและสังคมตามปกติวรรณคดีจะเขียนตามความเป็นจริงของชีวิต ให้คติสอนใจแก่ผู้อ่าน สอดแทรกสภาพสังคม วฒั นธรรมประเพณี ทาให้ผู้อา่ นมีโลกทศั น์ทเี่ ขา้ ใจโลกได้กวา้ งข้ึน ความหมายของวรรณคดี วรรณกรรม และวรรณศิลป์ ความหมายของวรรณคดี ชลธิรา กลัดอยู่ (อ้างถึงใน สนิท ต้ังทวี. ๒๕๑๖ : ๑) อธิบายว่า วรรณคดี มีความหมายที่ใช้ กันทั่วไปสองประการ คือ ความหมายประการแรกได้แก่ หนังสือท่ีเรียบเรียงออกมาเป็นตัวหนังสือ หรือนยั หน่งึ หมายถงึ หนังสือทั่วไปนัน่ เอง แตม่ ีเงาความหมายว่าเป็นหนังสือเก่าถือเป็นมรดกที่สืบทอด กนั มาแต่โบราณ ส่วนความหมายที่สอง มีความหมายคลา้ ยคลงึ กับคา \"กวนี พิ นธ์\" คอื ถือว่าเป็นหนังสือ ที่ได้รับการยกย่องแล้วจากกลุ่มคนท่ีนับว่าเป็นคนช้ันนาในวงการหนังสือ มีนัยลึกลงไปอีกว่ามีคุณค่า สงู ส่งเขา้ ข้ันวรรณศิลป์ คือเปน็ แบบอย่างท่ยี กย่องเชดิ ชกู นั ต่อไป เจือ สตะเวทิน (๒๕๑๘ : ๘) กล่าวว่า วรรณคดี คือหนังสือหรือบันทึกความคิดท่ีดีที่สุดด้วย ท่วงทานองเขียน (Style) ท่ีประณีตบรรจงครบองค์แห่งศิลปะของการเขียน สามารถดลใจให้ผู้อ่าน ผู้ฟังเกิดความปิติเพลิดเพลิน มีความรู้สึกร่วมกับผู้แต่ง เห็นจริงเห็นจังกับผู้แต่ง เรียกกันเป็นสามัญว่า มคี วามสะเทือนอารมณ์ ทัง้ ต้องประกอบไปด้วยคณุ คา่ สาระอีกด้วย ส่วน วิทย์ ศิวะศริยานนท์ (๒๕๔๑ : ๕) อธิบายว่า บทประพันธ์ท่ีเป็นวรรณคดี คือ บท ประพันธท์ ่มี ่งุ ใหค้ วามเพลดิ เพลินใหเ้ กดิ ความสานึกคดิ (Imagination) และอารมณ์ต่าง ๆ ตามผู้เขียน นอกจากน้ีบทประพนั ธ์ทเี่ ป็นวรรณคดีจะต้องมีรปู ศิลปะ (Form) และรูปศิลปะน้ีเองท่ีทาให้วรรณคดีมี ความงาม

๓ วสันต์ รัตนโภคา (๒๕๕๕ , หน้า ๑–๕ – ๑–๖) ได้อธิบายเสริมว่า วรรณคดีเป็นคาท่ีบัญญัติ ข้ึนเพื่อให้มีความหมายตรงกับคาว่า Literature ในภาษาอังกฤษ ตามรูปศัพท์แล้วคาว่า วรรณคดี ประกอบขึ้นด้วยคา ๒ คา คือ วรรณ แปลว่าหนังสือ และ คดี ซึ่งแปลว่า ทาง ดังน้ันวรรณคดีจึงแปล ได้ตามรปู ศัพทท์ ่ีวา่ “ทางแห่งหนังสอื ” นอกจากน้ีได้กล่าวถึงความหมายของวรรณคดีท่ีปรากฏในมาตราที่ ๘ ของพระราชกฤษฎีกา ทไี่ ด้กาหนดเนอื้ หาสาระของหนังสอื ทเ่ี ป็นวรรณคดีต้องมีลกั ษณะดังน้ี ๑. เป็นหนังสือดี กล่าวคือ เป็นเรื่องราวที่สาธารณชนสมควรอ่านได้โดยไม่เสียประโยชน์ คือ ไมเ่ ปน็ เร่ืองทภุ าษติ หรือเปน็ เรือ่ งทีช่ ักจงู ความคิดผู้อ่านไปในทางอันไม่เป็นแก่นสาร หรือซึ่งจะชวนให้ คิดวุ่นวายไปในทางการเมือง อันจะเป็นเรื่องราคาญแก่รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นตน้ ๒. เป็นหนงั สือแตง่ ดี ใช้วิธกี ารเรยี งเรียงอย่างใดๆ กต็ าม แต่ต้องให้เปน็ ภาษาไทยอันดี ถูกต้องตามเยี่ยงที่ใช้ในโบราณกาล หรือใช้ในปัจจุบันกาลก็ได้ ไม่ใช่ใช่ภาษาซึ่งเลียนแบบ ภาษาตา่ งประเทศ หรือใชว้ ธิ ีผูกประโยคประธานตามภาษาตา่ งประเทศ มาตราที่ ๘ ข้างต้นนี้ มีการกาหนดลักษณะเน้ือหาของวรรณคดีไทยให้จากัดความหมาย เฉพาะวา่ เป็นหนงั สือทีด่ ีมีประโยชน์ และมกี ารเรียบเรยี งดว้ ยถอ้ ยคาทีถ่ กู ตอ้ งเหมาะสม จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า วรรณคดีเป็นงานเขียนที่เขียนข้ึนเป็นร้อยกรองหรือร้อยแก้ว และมี เนื้อหาเป็นบันเทิงคดีหรือสารคดี ท่ีมีกลวิธีการนาเสนอที่ดี และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ หรือกล่าวได้ ในอีกลักษณะหนงึ่ วา่ วรรณคดเี ปน็ วรรณกรรมท่ีไดร้ บั การยกยอ่ งวา่ แตง่ ดมี ีคณุ คา่ เชงิ วรรณศิลป์ ความหมายของวรรณกรรม สมพร มนั ตะสตู ร (๒๕๒๕ : ๑๐-๑๑) อธิบายว่า วรรณกรรม หมายถึง งานเขียนทุกชนิด ทุก ชิ้นท่ีสามารถสื่อสารได้น่าจะเป็นวรรณกรรม ซ่ึงหมายความว่า เม่ือผู้แต่งส่งสารไปยังผู้รับ ผู้รับ สามารถสอื่ ความเข้าใจจากสารที่ผู้แต่งส่งมาได้ ก็ถือว่ามีการส่ือสารกันขึ้นแล้วงานเขียนน้ันนับว่าเป็น วรรณกรรม ขณะที่ กหุ ลาบ มัลลกิ ะมาส (๒๕๓๓ : ๗) กลา่ ววา่ คาว่า \"วรรณกรรม\" มาจากการสร้างศัพท์ ใหม่ แทนคาวา่ \"Literature\" โดยวธิ ีสมาส หรอื รวมคา จากคาวา่ วรรณ หรือ บรรณ ซึ่งหมายถึงใบไม้ หรอื หนังสือ รวมกับคาว่า กรรม ซ่ึงหมายถึงการกระทา ดังนั้นวรรณกรรม จึงหมายถึง การกระทาที่ เก่ยี วกับหนงั สือ โดยความหมายของวรรณกรรม หมายถึง สิ่งซ่ึงเขียนข้ึนท้ังหมด ไม่ว่าจะเป็นไปในรูป ใด หรือเพอื่ ความมงุ่ หมายใด ซึง่ อาจจะเปน็ ใบปลิวหนังสือพิมพ์ นวนิยาย คาอธิบาย ฉลากยา เป็นต้น กไ็ ด้ วสันต์ รัตนโภคา (๒๕๕๕ : ๑–๒ – ๑–๔) ได้อธิบายความหมายของวรรณกรรม โดย กล่าวถึง เอกสารวัฒนธรรมฉบับท่ี ๖ พ.ศ. ๒๔๙๙ ท่ีกาหนดลักษณะงานเขียนท่ีมีลักษณะเป็น วรรณกรรมไวว้ ่า “หนังสอื ท่จี ัดเปน็ วรรณกรรมน้ันคือหนังสือช้ันดีท่ีมีลักษณะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านและ มีแก่สารที่จะยึดถือเอามาอ้างอิงได้ หนังสือช้ันดีน้ัน เขายังเอามาคัดเลือกจัดเป็นประเภทดีเยี่ยมอีก ชนั้ หนง่ึ ซ่ึงเรียกวา่ หนงั สอื ประเภทวรรณคดี”

๔ ส่วนพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ (๒๕๕๔ : ๑๑๐๐) อธิบายว่า วรรณกรรม หมายถึง งานหนังสือ งานประพันธ์ บทประพันธ์ทุกชนิดทั้งท่ีเป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง เช่นวรรณกรมสมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมของเสถียรโกเศศ วรรณกรรมฝรั่งเศส วรรณกรรม ประเภทสื่อสารมวลชน กล่าวได้ว่า วรรณกรรมคืองานเขียนท่ีเขียนขึ้นอย่างมีจุดมุ่งหมาย เป็นการใช้ภาษาเรียบ เรียงความคิดให้เป็นเนื้อเรื่อง โดยแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก จินตนาการและความเข้าใจด้วย ภาษาทถี่ ูกตอ้ ง สละสลวย ความหมายของวรรณศิลป์ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ (๒๕๕๔ : ๑๑๐๐) อธิบายว่า วรรณศิลป์ หมายถงึ ศิลปะในการประพันธ์หนงั สอื เช่นลลิ ติ พระลอ ถอื เปน็ วรรณคดที ีม่ ีวรรณศิลปส์ งู สง่ ขณะท่ี วสนั ต์ รัตนโภคา (๒๕๕๕ : ๑–๖ – ๑–๗) อธิบายว่า วรรณศิลป์ หมายถึงศิลปะของ การเรียบเรียงถ้อยคา หรือศิลปะแห่งการแต่งหนังสือ วรรณศิลป์เป็นคุณสมบัติให้วรรณกรรมเป็น วรรณคดี ซง่ึ องคป์ ระกอบของวรรณศิลปม์ ี ๖ องค์ประกอบ ไดแ้ ก่ ๑. อารมณ์สะเทือนใจ เช่น อารมณ์สะเทือนใจเพราะความรัก ทาให้เกิดเพลงยาวต่างๆ เพราะความเศร้าอันเกิดจากการพลัดพรากจากคนรัก ทาให้เกิดเป็นบทนิราศ ความภาคภูมิใจใน เกยี รตแิ ละชาติภมู ิของนกั รบ ทาใหเ้ กิดวรรณกรรมยอพระเกียรติตา่ งๆ ๒. ความนึกคิดและจินตนาการ กวีอาจแสดงออกโดยการให้ภาพท่ีตรงไปตรงมา หรือให้ ภาพเชงิ เปรียบเทียบเพือ่ ให้ผอู้ า่ นเกิดจินตภาพหรอื ภาพความคดิ ชดั เจนมากข้นึ ๓. การแสดงออกคือการใช้ภาษาของกวี ซึง่ เปน็ หัวใจสาคัญของงานประพันธ์ เพราะหากกวี มอี ารมณ์สะเทอื นใจทร่ี ุนแรง มีจินตนาการความคดิ ดี แตก่ ลบั ใชภ้ าษาไมด่ ี คุณค่าของงานประพันธ์น้ัน กจ็ ะลดลง ๓.๔ สไตล์ (ท่วงทานองแต่ง) มักปรากฏในเรื่องการเลือกใช้คาและลีลาการเขียนอันเป็น ลักษณะเฉพาะของกวีทา่ นตา่ งๆ ๓.๕ เทคนิค (กลวิธี) เป็นการแสดงฝีมือของผู้แต่งในการผูกเรื่องให้น่าติดตามและมีความ น่าสนใจ ๓.๖ องค์ประกอบ คือการสร้างความสมดุลให้จุดเด่นและรายละเอียดปลีกย่อยประสานกัน อยา่ งสมบรู ณ์ เช่น การเลือกใช้คาประพนั ธใ์ ห้เหมาะสมแกเ่ นือ้ หาของเรื่อง กล่าวโดยสรุปได้ว่า วรรณศิลป์เป็นศิลปะการประพันธ์หนังสือที่เรียบเรียงความนึกคิดของ ผู้เขียนเป็นเรื่องราว โดยใช้วิธีการเขียน ลีลาการเขียน ตลอดจนการเลือกสรรภาษาที่สละสลวย มีผล ของการสื่อสารทีก่ ระทบหรือสรา้ งความประทับใจแก่ผู้อ่านได้

๕ ความหมายของร้อยกรองและร้อยแก้ว ความหมายของร้อยกรอง ประทปี เหมอื นนลิ (๒๕๔๒ : ๒๒-๒๓) อธิบายความหมายของร้อยกรองว่า เปน็ วรรณกรรมที่ เขียนขึ้นโดยมีรูปแบบของฉันทลักษณ์ต่างๆ กากับอยู่ เช่น การบังคับคณะ บังคับคา และแบบ แผนการส่งสัมผัสต่าง ๆ บางครั้งเรียกงานเขียนประเภทน้ีว่า กวีนิพนธ์ หรือ คาประพันธ์ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลติ เปน็ ตน้ นอกจากน้ี ประทีป เหมือนนิล (๒๕๔๒ : ๒๒-๒๓) ได้แบ่งประเภทของวรรณกรรมร้อยกรอง ตามลกั ษณะการเขียน ดังน้ี ๑. วรรณกรรมประเภทบรรยาย (Narrative) คอื วรรณกรรมรอ้ ยกรองท่มี ีโครงเรื่อง ตัวละคร และเหตุการณต์ ่าง ๆ ผูกเป็นเรอ่ื งราวต่อเนือ่ งกันไป เชน่ ขุนชา้ งขุนแผน พระอภยั มณี อเิ หนา เป็นต้น ๒. วรรณกรรมประเภทพรรณา หรือ ราพึงราพัน ( Descriptive or Lyrical) มักเป็นบทร้อย กรองท่ีผู้แต่งมุ่งแสดงอารมณ์ส่วนตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่มีโครงเร่ือง เช่น นิราศ และเพลงยาว เป็น ต้น ๓. วรรณกรรมประเภทบทละคร (Dramatic) เป็นบทร้อยกรองสาหรับการอ่านและใช้เป็น บทสาหรบั การแสดงดว้ ย เช่น บทพากย์โขน บทละครรอ้ ง บทละครรา เป็นต้น กล่าวได้ว่า ร้อยกรอง หมายถึง คาประพันธ์ท่ีมีลักษณะการประพันธ์ตามฉันทลักษณ์ ได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย เช่น คาประพันธ์ประเภทโคลงจะมีการกาหนดตาแหน่งคาเอกและโท คา ประพนั ธป์ ระเภทฉนั ท์จะมีการกาหนดตาแหนง่ คาครุ-ลหุ เป็นต้น นอกจากน้ี ร้อยกรองยังถูกกาหนดให้มี การสง่ สัมผัสกันในบทและระหวา่ งบทเพื่อให้เกิดเสียงที่คล้องจองกัน ความหมายของร้อยแก้ว ประทีป เหมือนนิล (๒๕๔๒ : ๒๒-๒๓.) อธิบายความหมายของวรรณกรรมร้อยแก้ว คือ วรรณกรรมที่ไม่กาหนดบังคับคาหรือฉันทลักษณ์ เป็นความเรียงท่ัว ไป การเขียนในลักษณะนี้ยัง แบ่งย่อยออกเป็น ๑. บันเทิงคดี (Fiction) คือ วรรณกรรมท่ีมุ่งให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านเป็นประการสาคัญ และให้ข้อคิด คตินิยม หรือ สอนใจ แก่ผู้อ่านเป็นวัตถุประสงค์รอง ดังท่ี ม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ (๒๕๒๒ : ๙) กล่าวว่า บันเทิงคดี เป็นวรรณกรรมท่ีผู้ประพันธ์มีจุดประสงค์ท่ีให้ความเพลิดเพลิน แต่ ท้ังนี้มิได้หมายความว่าบันเทิงคดีเป็นวรรณกรรมท่ีไร้สาระ บันเทิงคดีอาจมีสาระในด้านปรัชญา ด้าน ความเข้าใจการเมือง หรือประวัติศาสตร์ดีกว่าหนังสือสารคดีบางเร่ืองก็ได้ วรรณกรรม ประเภทนี้ ผู้ประพันธม์ ่งุ หมายให้ความบันเทิง ต้องกระทบอารมณ์ผู้อ่าน มิใช่สาหรับให้ผู้อ่านได้ความรู้หรือความ คิดเห็น บนั เทิงคดสี ามารถจาแนกย่อยได้ดงั น้ี ๑.๑ นวนิยาย (Novel) คือ การเขียนผูกเรื่องราวของชีวิตอันมีพฤติกรรมร่วมกัน มี ความสัมพนั ธ์กนั ในลกั ษณะจาลองสภาพชีวิตของสังคมส่วนหน่ึงส่วนใด โดยมีความมุ่งหมายให้ความ บนั เทงิ ใจแกผ่ ู้อา่ น คือให้ผอู้ า่ นเกิดสะเทือนอารมณ์ไปกบั เน้ือเรื่องอย่างมศี ลิ ปะ ๑.๒ เร่ืองสั้น (Short Story) คือ การเขียนเรื่องจาลองสภาพชีวิตในช่วงส้ัน คือมุมหนึ่ง ของชีวิต หรือเหตุการณ์หนึ่ง หรือช่วงระยะหนึ่งของชีวิต เพ่ือให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจผู้อ่าน หรือ

๖ นิยามอีกอย่างหนึ่ง ว่า เร่ืองส้ัน คือ วิกฤตการณ์ชุดหนึ่ง มีความสัมพันธ์สืบเนื่องกัน และนาไปสู่จุด ยอดหนง่ึ (Climax) ( ธวชั บณุ โณทก ๒๕๒๗ : ๑๒) ๑.๓ บทละคร (Drama) คือการเขียนที่ใช้ประกอบการแสดงเพ่ือให้เกิดความบันเทิง เช่น บทละครวิทยุ บทละครพดู และบทละครโทรทศั น์ เปน็ ตน้ ๒. สารคดี (Non-Fiction) คือ วรรณกรรมท่ีมุ่งให้ความรู้ หรือ ความคิด เป็นคุณประโยชน์ สาคัญ อาจจะเขียนเชิงอธิบายเชิงวิจารณ์ เชิงพรรณนาส่ังสอน โดยอธิบายเรื่องใดเร่ืองหน่ึง อย่างมี ระบบมีศิลปะในการถ่ายทอดความรู้ เพ่ือมุ่งตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นให้แก่ผู้อ่าน และ กอ่ ให้เกดิ คุณค่าทางปญั ญาแก่ผู้อ่าน ซึง่ ธวชั ปณุ โณทก ( ๒๕๒๗ : ๑๑ ) ไดจ้ าแนกดงั น้ี ๒.๑ ความเรียง (Essay) คอื การถ่ายทอดความรู้ อาจจะได้มาจากการประสบ หรือตารา วิชาการ มาเป็นถ้อยความตามลาดับข้ันตอนเพ่ือให้ผู้อ่านเข้าใจตามความรู้ ความคิดที่ผู้เขียนเสนอมา บางครั้งมีผู้เรยี กวา่ \"สารคดวี ิชาการ\" ๒.๒ บทความ ( Article) คือความคิดเห็นของผู้เขียนต่อเร่ืองราวที่ประสบมาหรือต่อ ข้อเขียนของผู้อื่น หรือต่อเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใด ในการเขียนบทความผู้เขียนมุ่งท่ีจะบอกถึง ความเห็น ความรู้สึกนึกคิดมากกว่าทจ่ี ะถ่ายถอดความรเู้ หมอื นความเรยี ง ๒.๓ สารคดีท่องเที่ยว ( Travelogue) คือ การบันทึกการท่องเท่ียวและเรื่องราวต่าง ๆ ท่ปี ระสบพบเห็นขณะที่ท่องเท่ียวไป โดยมุ่งที่จะให้ความรู้แก่ผ้อู ่านและใหค้ วามเพลิดเพลินดว้ ย ๒.๔ สารคดีชีวประวตั ิ (Biography) คอื การบันทึกพฤติกรรมต่าง ๆ ของบคุ ลิกภาพหนึ่ง มุ่งท่ีจะให้เห็นสภาพชีวิตประสบการณ์ของบุคลิกภาพน้ันทุกแง่ทุกมุม แต่ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ และ นิยาย ๒.๕ อนุทิน (Diary) คือการบันทึกประจาวันที่เกิดขึ้นแก่ตนเอง จะเป็นการบันทึก ความร้สู กึ นึกคิดของตนเองในประจาวนั หรืออาจจะบันทึกประสบการณ์ในชีวิตประจาวัน หรือบันทึก เหตุการณ์ในชวี ิตประจาวนั โดยมีจดุ มุ่งหมายเพอ่ื เตือนความจา ๒.๖ จดหมายเหตุ ( Archive) คือ การบันทึกเหตุการณ์สาคัญ ๆ ของทางราชการ หรือ บันทึกเหตุการณ์สาคัญ ๆ ของสถาบัน หน่วยงานหรือตระกูล โดยมีความมุ่งหมายเพ่ือเก็บไว้เป็น หลกั ฐานเชิงประวัตเิ หตุการณ์ของชาติ หรือของสถาบัน หรือหน่วยงานราชการ หรือของตระกูล สรุปได้ว่าร้อยแก้วหมายถึงความเรียงท่ีมีการเรียบเรียงความคิดโดยใช้ภาษาที่ถูกต้อง และ สละสลวย ไพเราะ กล่าวว่าเหตุที่เรียกว่าร้อยแก้วน้ัน สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงรา ชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าแต่เดิมใช้ในการเรียกหนังสือท่ีแต่งเนื่องในศาสนา เป็นทานองร่ายยาว กลายๆ ท่ียกเอาคาบาลีซ่ึงเป็นตัวอรรถมาวางไว้ต้นวรรคหรือต้นประโยคเรื่อยไป เพราะฉะนั้นคาว่า แก้วน้ี จึงตรงกับรัตนะในภาษาบาลี ในปัจจุบันได้นับรวมงานเขียนประเภทนวนิยายเร่ืองส้ัน และ บทความต่างๆ ด้วย

๗ ประเภทของวรรณคดีและวรรณกรรมไทย วสันต์ รัตนโภคา (๒๕๕๕ : ๑–๙ – ๑–๑๒) กล่าวว่า วรรณคดีไทยมีรูปแบบและเนื้อหาที่ หลากหลาย จงึ มีวธิ ีการจาแนกประเภทของวรรณคดีไทย ๒ ลกั ษณะดังนี้ ๑. การจาแนกตามรูปแบบคาประพนั ธ์ วรรณคดีไทยสามารถจาแนกตามรูปแบบคาประพันธ์ออกเป็น ๒ รูปแบบ ได้แก่ วรรณคดีร้อย กรองและวรรณคดรี ้อยแกว้ ๑.๑ วรรณคดีร้อยกรอง วรรณคดีไทยมีวรรณคดีร้อยกรองในรูปแบบต่างๆ ๕ ชนิด คือ โคลง กาพย์ ฉันท์ ร่าย และกลอน ดงั น้ี ๑.๑.๑ โคลง เป็นรูปแบบคาประพันธ์ท่ีนิยมใช้ในการแต่งวรรณคดีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตอนต้น โดยปรากฏหลักฐานทางวรรณคดีที่สาคัญหลายเร่ือง เช่น โคลงกำสรวล โคลงยวนพ่ำย ซึ่ง ประพันธ์ข้ึนด้วยโคลงด้ันบาทกุญชร และโคลงทวำทศมำส ซ่ึงประพันธ์ขึ้นด้วยโครงด้ันวิวิธมาลี ใน สมัยต่อมา กวีนยิ มใช้โคลงสุภาพมากขึน้ เชน่ โคลงนริ ำศนครสวรรค์ ของพระศรีมโหสถในสมัยอยุธยา ตอนกลาง นิรำศนรินทร์ ขอนายนรินทร์ธิเบศ (อิน) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย โคลงโลกนิติ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว โคลงสุภำษิต พระราชนพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจา้ อยหู่ วั โคลงนริ ำศแมเ่ มำะ ของก้องภพ รนื่ ศริ ิ เป็นตน้ ๑.๑.๒ กำพย์ เป็นรูปแบบคาประพันธ์ท่ีนิยมใช้ในการแต่งวรรณคดีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรี อยธุ ยาตอนกลางโดยปรากฏหลักฐานทางวรรณคดวี ่าแต่งข้ึนผสมกบั โคลง โดยวางโคลงสลับกับกาพย์ ไปตลอดทั้งเร่ืองในกำพย์ห่อโคลงของพระศรีมโหสถ ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนปลาย เจ้าฟ้าธรรมธิ เบศร์ไดน้ ากาพย์กาพย์หอ่ โคลงไปนิพนธ์วรรณคดีสาคัญ ๒ เร่ือง คือ กำพย์ห่อโคลงนิรำศธำรทองแดง และกำพย์ห่อโคลงนริ ำศธำรโศก นอกจากนี้ เจา้ ฟา้ ธรรมธิเบศร์ยังได้ทรงพัฒนากาพย์ห่อโคลงข้ึน โดย วางโลงไว้ขา้ งตน้ เพียงบทเดียว แล้ววางกาพย์หลายบทตามมาในกำพย์เห่เรือ อีกด้วย ส่วนวรรณคดีท่ี ประพันธ์ด้วยกาพย์ท้ังหมดพบอยู่ไม่มากนัก เช่น กำพย์พระไชยสุริยำ ของสุนทรภู่ พรรณพฤกษำ สัตวำภิธำน ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เพื่อนแก้วคำกำพย์ ของศิวกานท์ ปทุม สูติ เปน็ ต้น ๑.๑.๓ กลอน เป็นรูปแบบคาประพันธ์ท่ีนิยมใช้ในการแต่งวรรณคดีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตอนกลาง โดยปรากฏหลักฐานทางวรรณคดีท่ีสาคัญคือเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา และ นับตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายเป็นต้นมา กลอนเป็นรูปแบบคาประพันธ์ท่ีได้รับความนิยมเป็นอย่าง มากและปรากฏงานวรรณคดีท่ีประพันธ์ด้วยกลอนเป็นจานวนมาก เช่น บทละครเร่ืองอิเหนำคร้ังกรุง เก่ำ พระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าหญิงกุณฑล บทละครนอก ๑๔ เรื่อง เพลงยำวเจ้ำฟ้ำธรรมธิเบศร์ เพลงยำว รบพม่ำท่ีท่ำดินแดง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กำกีกลอน สภุ ำพ และสมบตั อิ มรนิ ทรค์ ำกลอน ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เสภำเร่ืองขุนช้ำงขุนแผน นิทำนคำ กลอนและนิรำศของสุนทรภู่ เงำะป่ำ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพียงควำมเคลือ่ นไหว ของเนาวรัตน์ พงษไ์ พบูลย์ เปน็ ตน้ ๑.๑.๔ ฉนั ท์ เปน็ รูปแบบคาประพนั ธ์ท่ีนิยมใช้ในการแต่งวรรณคดีมาต้ังแต่สมัยอยุธยา โดย กวีมักจะประพันธ์กาพย์ผสมรวมเข้าไปด้วย ปรากฏหลักฐานทางวรรณคดีท่ีสาคัญ คือ สมุทรโฆษคำ

๘ ฉันท์และอนิรุทธคำฉันท์ เสือโคคำฉันท์ รำชำพิลำปคำฉันท์ หรือ นิรำศษีดำ ในสมัยธนบุรีปรากฏ หลกั ฐานคือ เรื่องอิเหนำคำฉันท์ ของหลวงสรวิชิต (หน) และกฤษณำสอนน้องคำฉันท์ ฉบับพระภิกษุ อินท์ และในสมัยรัตนโกสินทร์ปรากฏหลักฐาน เช่น สรรพสิทธ์ิคำฉันท์และกฤษณำสอนน้องคำฉันท์ พระนพิ นธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสสุธนคำฉันท์ สุธนูคำฉันท์ และอุเทนคำ ฉันท์ ของพระยาอิศรานุภาพ (อ้น) พระนลคำฉันท์ พระนิพนธ์ในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลง กรณ์ อิลรำชคำฉันท์ ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ์) สำมัคคีเภทคำฉันท์ ของชิต บุรทัต บำรมีพระรม่ เกล้ำ : คำฉันท์เฉลิมพระเกียรติพระบำทสมเด็จพระปรมินทรมหำภูมิพลอดุลยเดช มหำรำช ของวรรณคดี สรรพจติ เปน็ ตน้ ๑.๑.๕ ร่ำย เป็นรูปแบบคะประพันธ์ที่นิยมใช้ในวรรณคดีมาต้ังแต่สมัยอยุธยาตอนต้น โดย ปรากฏหลักฐานทางวรรณคดีที่สาคัญ คือ มหำชำติคำหลวง ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยปรากฏร่วมกับคาประพันธ์ประเภทหนึ่ง ทั้งโคลง ฉันท์ และกาพย์ กาพย์มหาชาติในสมัยพระเจ้า ทรงธรรม รำ่ ยยำวมหำเวสสันดรชำดก นันโทปนันทสูตรคำหลวง และ พระมำลัยคำหลวง พระนิพนธ์ ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เป็นต้น นอกจากนี้ กวียังได้นาร่ายไปใช้ในการแต่งร่วมกับคาประพันธ์ประเภท โคลง ทาให้เกิดเป็นคาประพันธ์ประเภทลิลิต ลิลิตอาจมีลักษณะเฉพาะย่อยลงไปเป็นลิลิตสุภาพและ ลลิ ติ ดั้น โดยท่ลี ลิ ิตสุภาพเป็นการนาคาประพันธป์ ระเภทโคลงสุภาพและร่ายสุภาพมาใช้ควบคู่กัน เช่น ลลิ ติ พระลอ ในสมยั อยุธยา ลลิ ิตตะเลงพำ่ ย พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ลิลิตนิทรำชำคริต พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลิลิตหล้ำ กำสรวล ของกานติ ณ ศรัทธา เป็นต้น ส่วนลิลิตดั้นนั้นเป็นการนาคาประเภทโคลงด้ันและร่ายดั้นมา ใช้ควบคู่กัน ปรากฏพบไม่มากนัก เช่น ลิลิตนำรำยณ์สิบปำง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจา้ อย่หู วั เป็นต้น ๑.๒ วรรณคดีร้อยแก้ว วรรณคดีร้อยแก้วที่สาคัญของไทย เช่น ศิลำจำรึกหลักที่ ๑ ของพ่อ ขนุ รำมคำแหง มหำรำช ไตรภูมิกถำ ของพระยำลิไท สำมก๊ก และรำชำธิรำช ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ประกาศและพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระรำชพิธีสอบสอง เดือนและไกลบ้ำน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เทศนำเสือป่ำ และ โคลนติดล้อ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น นอกจากนี้ ยังหมาย รวมนวนิยายและเรื่องสั้นต่าง ๆอีกด้วย เช่น นวนิยายเรื่อง ควำมพยำบำทของแม่วัน (พระยาสุรินทร ราชา) นวนิยายร่ืองข้างหลังภาพ ของศรีบูรพา รวมเรื่องส้ันชุด จับตาย ของมนัส จรรยงค์และรวม เร่ืองสน้ั ชดุ เพ่อื นนอน ของหม่อมราชวงศศ์ กึ ฤทธิ์ ปราโมช เปน็ ตน้ ๒. การจาแนกตามลกั ษณะเนอ้ื หาของวรรณคดี การจาแนกวรรณคดีตามลักษณะเน้ือหาอาจจาแนกออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ บันเทิงคดีและสารคดี โดย บันเทิงคดีจะเน้นให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินใจแก่ผู้อ่านเป็นหลัก ในขณะที่สารคดีน้ันจะเน้นให้สาระ ความรแู้ ก่ผูอ้ ่านเปน็ หลัก บันเทิงคดีท่สี าคัญ เช่น ลิลิตพระลอ พระอภัยมณี เสภำเร่ืองขุนช้ำงขุนแผน ตลอด จนนวนิยายและเร่ืองส้ันต่างๆ เป็นต้น งานสารคดีที่สาคัญ เช่น พระรำชพิธีสิบสองเดือน หนังสือ ประเภทอตั ชวี ประวัตหรือชีวประวตั ิของบคุ คลสาคัญต่างๆ เป็น ๒.๑ วรรณคดีบทละคร คืองานเขียนที่แต่งขึ้นเพื่อใช้แสดงละคร ส่วนใหญ่ประพันธ์ด้วย กลอน มีการกากับเพลงหน้าพาทย์ประกอบด้วย วรรณคดีบทละครท่ีสาคัญ เช่น รำมเกียรติ์ อิเหนำ

๙ และบทละครนอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นต้น ต่อมาเมื่อเกิดการละคร สมัยใหม่ขึ้น จึงได้มีการนาวรรณคดีท่ีเคยมีอยู่เดิมแล้วมาสร้างเป็นบทละคร เช่น บทละครเร่ือง พระ ลอนรลักษณ์ พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ บทละครดึกดำบรรพ์เร่ือง อิเหนำพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และบทละคร พนั ทางเรือ่ งรำชำธิรำช ของหลวงพัฒนพงศภ์ ักดี (ทิม สขุ ยางค)์ เป็นตน้ ๒.๒ วรรณคดีนิทานนิยาย คืองานเขียนท่ีแต่งข้ึนเป็นเรื่องราว มีการดาเนินเรื่อง ตัวละคร ฉาก และบทสนทนา ส่วนใหญ่กวีจะนาเน้ือหามาจากเร่ืองที่เล่าสืบกันมาจากอดีต เช่น นิทานชาดก มหากาพย์ของอินเดีย แล้วใส่จินตนาการของกวีผู้ประพันธ์ลงไป เพื่อให้เร่ืองราวมีความสนุกสนาน มากขน้ึ วรรณคดีนิทานนิยายอาจแต่งเป็นร้อยกรองหรือร้อยแก้วก็ได้ วรรณคดีนิทานนิยายร้อยกรอง ทีส่ าคัญ เช่น เสือโคคำฉนั ท์ในสมัยอยุธยา ลิลติ เพชรมงกุฎ ของเจา้ พระยาพระคลัง (หน) พระอภัยมณี ของสุนทรภู่ ลิลิตนิทรำชำคริต พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และอิล รำชคำฉันท์ ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ์) เป็นต้น ส่วนวรรณคดีนิทานนิยายร้อยแก้วท่ี สาคัญ เช่น รำชำธิรำช สำมก๊ก ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) นิทำนอิหร่ำนรำชธรรม พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช นิทำนเวตำล พระนิพนธ์ในพระวรวงศ์เธอ กรม หมน่ื พทิ ยาลงกรณ์และนวนยิ ายเรอื่ งสั้นตา่ งๆ เปน็ ตน้ ๒.๓ วรรณคดีแสดงอารมณ์ คืองานเขียนท่ีมุ่งแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ของกวี ผู้ประพันธ์ โดยมากแล้วจะเป็นอารมณ์ความรู้สึกเศร้าเสียใจท่ีต้องพลัดพรากจากนางอันเป็นที่รัก ลักษณะเช่นนี้อาจเรียกได้ว่าวรรณคดีนิราศ เช่น โคลงกำสรวล โคลงทวำทศมำส นิรำศหริภุญไชย นิรำศของสุนทรภู่ เป็นตน้ การแสดงอารมณค์ วามรูส้ ึกรกั ท่ีมีต่อนาง เชน่ เพลงยาวโต้ตอบระหว่างชาย หญิง และการแสดงทัศนะของกวีเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ เช่น กวีนิพนธ์ของอังคาร กัลป์ยาณพงศ์ ซ่ึง วพิ ากษส์ ังคมในสมยั ทีแ่ ต่งได้อยา่ งน่าสนใจ ๒.๔ วรรณคดีศาสนา คืองานท่ีเขียนเก่ียวกับเรื่องราวในพระพุทธศาสนา เช่น เรื่องท่ี กล่าวถึงพระพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าใน ปฐมสมโพธิกถำ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เร่ืองท่ีกล่าวถึงแนวคิดเรื่องการทาความดี ละเว้นความช่ัวและทาจิตใจให้ บริสุทธ์ิอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาในไตรภูมิกถาพระราชนิพนธ์ในพระมหาธรรมราชาท่ี ๑ (พญาลิไทย) และพระมำลยั คำหลวง เป็นต้น ๒.๕ วรรณคดีคาสอน คืองานเขียนที่มีเนื้อหาแสดงหลักจริยธรรมคุณธรรมต่างๆ เพ่ือกล่อม เกลาให้ผู้อ่านได้พัฒนาตนให้สมบูรณ์มากข้ึน เนื้อหาในวรรณคดีคาสอนของไทยนั้นมีท้ังการสอน หลกั การปกครองของพระเจ้าแผ่นดินในโคลงพำลีสอนน้อง การสอนเร่ืองการปฏิบัติหน้าท่ีของข้าราช สานัก ใน โคลงทศรถ สอนพระรำมและโคลงรำชสวัสด์ิ การสอนการปฏิบัติตนของสตรีที่งามพร้อมใน กฤษณำสอนน้องคำฉนั ท์และ สุภำษติ สอนหญงิ เปน็ ต้น ๒.๖ วรรณคดียอพระเกียรติ คืองานเขียนที่มีเนื้อหาสดุดีสรรเสริญพระมหากษัตริย์ในแง่มุม ต่างๆ เช่น ในฐานะท่ีทรงเป็นจอมทัพและสามารถพิชิตอริราชศัตรูได้ เช่น โคลงยวนพ่ำย ในสมัย อยุธยำ ลิลิตตะเลงพ่ำย พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นต้น นอกจากน้ี ยงั อาจเปน็ การสรรเสริญพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงเป็นผู้ปกครองท่ีดี สร้างความเจริญ

๑๐ ให้แกบ่ า้ นเมอื ง เช่น โคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระนำรำยณ์มหำรำชของพระศรีมโหสถ โคลงยอพระ เกียรติพระเจำ้ กรงุ ธนบุรี ของในสวน มหาดเลก็ เปน็ ต้น ๒.๗ วรรณคดีประเพณีพิธีกรรม คืองานท่ีเขียนข้ึนเพื่อใช้ประกอบในประเพณีและ พฤติกรรมต่างๆ ทั้งของหลวงและของราษฎร์ เช่น โองกำรแช่งน้ำ แต่งข้ึนเพื่อใช้ในพระราชพิธีศรีสัจ จปานกาล หรือพระราชพธิ ถี อื น้าพระพพิ ฒั น์สตั ยา ฉนั ทส์ งั เวยดุษฎกี ลอ่ มชำ้ ง แตง่ ขน้ึ เพื่อใช้กล่อมช้าง ป่าทจี่ บั มาได้ กำพยเ์ หเ่ รือ ใช้ประกอบการเสด็จพยุหยาตราทางชลมารคของพระมหากษัตริย์ และร่ำย ยำวมหำเวสสนั ดรชำดก แตง่ ขึ้นเพอ่ื ใช้ในการเทศนม์ หาราช เป็นต้น ๒.๘ วรรณคดีอื่นๆ นอกจากวรรณคดีทั้ง ๗ ประเภทข้างต้นแล้ว ลักษณะเน้ือหาของ วรรณคดีไทย ยังอาจสามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีก เช่น วรรณคดีกฎหมาย เช่น กฎหมำยตรำ สำมดวง วรรณคดีพงศาวดาร และจดหมายเหตุ เช่น พระรำชพงศำวดำรฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ พระรำชพงศำวดำรฉบับพระรำชหัตถเลขำ จดหมำยเหตุควำมทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี วรรณคดี ตาราวิชาการ เช่น จินดำมณี ปฐมมำลำ ของพระเทพโมลี (ผ้ึง) มูลบลบรรพกิจ ของพระยาศรีสุนทร โวหาร (น้อย อาจารยางกูร) วรรณคดียั่วล้อ เช่น ระเด่นลันได ของพระมหามนตรี (ทรัพย์) พระมะ เหลเถไถ ของคณุ สวุ รรณ เปน็ ต้น คุณคา่ ของวรรณคดี และวรรณกรรมไทย คุณค่าของวรรณคดี และวรรณกรรม ได้มีนักเขียนหลายคนท่ีได้แสดงความคิดเห็น ด้าน คุณค่าของวรรณกรรมได้อย่างสอดคล้องกัน ไม่ว่าจะเป็น สิทธา พินิจภูวดล (๒๕๒๐ : ๑๔) สนิท ตั้ง ทวี (๒๕๒๘ : ๒๔๒ – ๒๔๔) และวันเนาว์ ยูเด็น (๒๕๓๗ : ๑๔) ซ่งึ ไดก้ ล่าวถงึ คณุ ค่าของวรรณกรรมไว้ ดงั นี้ ๑. คุณคา่ ทางอารมณ์ หมายถึง แรงบันดาลใจท่เี กิดขนึ้ จากผู้ประพันธ์แล้วถ่ายโยงมายังผู้อ่าน ซึ่งผู้อ่านจะตีความวรรณกรรมน้ัน ๆ ออกมาซ่ึงอาจจะตรงหรือคล้ายกับผู้ประพันธ์ก็ได้ เช่น อารมณ์ โศก อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ เคียดแค้น เป็นต้น โดยวรรณกรรมจะเป็นเคร่ืองขัดเกลาอัธยาศัย และ กล่อมเกลาอารมณ์ใหห้ ายความหมักหมม คลายความกังวล และความหมกมุ่น หนุนจิตใจให้เกิดความ ผ่องแผ้วทาให้รู้สึกช่ืนบาน และร่าเริงในชีวิต ทาให้หายจากความมีจิตใจที่คับแคบรู้ค่าความงามของ ธรรมชาติ ความมีระเบียบเรียบร้อย ความดี ความงาม และความจริงหรือสัจธรรม ท่ีแฝงอยู่กับความ รื่นเริงบันเทิงใจ หรือการได้ร้องให้กับตัวเอกของเรื่องในหนังสือหรือหัวเราะกับคาพูดในหนังสือน้ันมี ผลดีทางด้านอารมณ์ ดังที่เจตนา นาควัชระ (๒๕๔๒ : ๘๒) กล่าวว่า เราจะต้องไม่ลืมว่า วรรณกรรม มใิ ชก่ ารสง่ั สอนโดยตรง มใิ ช่การการโฆษณาชวนเชื่อ การปลุกสานักเชิงสังคม อาจจะทาได้ดีที่สุดด้วย วิธีการของศิลปะก็ได้ เพราะการเปล่ียนใจของมนุษย์น้ัน คงไม่มีวิธีใดดีกว่าจับใจเขาเสียก่อนด้วย สุนทรียอารมณ์ ๒. คุณค่าทางปญั ญา วรรณกรรมแทบทุกเรื่องผู้อ่านจะได้รับความคิด ความรู้เพ่ิมข้ึนไม่มากก็ น้อย มีผลให้สติปัญญาแตกฉานทั้งทางด้านวิทยาการ ความรู้รอบตัว ความรู้เท่าทันคน ความเห็นอก เห็นใจตอ่ เพอื่ นมนษุ ย์ดว้ ยกัน เหตุการณ์ท่เี กิดขึน้ กบั ตวั ละครในเรอ่ื งใหข้ ้อคดิ ตอ่ ผอู้ ่านขยายทัศนคติให้ กว้างข้ึน บางครั้งก็ทาให้ทัศนคติท่ีเคยผิดพลาดกลับกลายเป็นถูกต้องหรือผู้อ่านได้อ่านวรรณกรรม เรื่องสามก๊กและราชาธิราช จะให้รู้จักกลยุทรในการสงคราม กลอุบายต่าง ๆ เล่ห์เหล่ียม นิสัยใจคอ

๑๑ ของคน และความคิดอันปราดเปร่อื งของตวั ละครบางตัว พร้อมกันนี้วรรณกรรมแทบทุกเร่ืองจะแทรก สัจธรรมท่ีผู้อ่านสามารถนามาใช้ประโยชน์ทาให้จิตใจสูงขึ้น หรือนามาใช้ประพฤติปฏิบัติใน ชีวิตประจาวัน เช่น คาโคลงโลกนิติ ของกรมพระยาเดชาดิศร หรือเพลงยาวถวายโอวาท และสวัสดิ ศกึ ษา ของสุนทรภู่ เป็นต้น ดังคากลา่ วของเจตนา นาควชั ระ (๒๕๔๒ : ๘๘) กล่าวว่า หน้าท่ีทางสังคม ของวรรณกรรม อาจจะมิใช่การแก้ปัญหาทางสังคมในเชิงปฏิบัติ หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มนุษย์ในระยะส้นั แต่เปน็ หนา้ ท่ขี องการใหแ้ สงสว่างทางปญั ญา ๓. คุณค่าทางศีลธรรม วรรณกรรมเรื่องหน่ึง ๆ อาจจะมีคติหรือแง่คิดอย่างหนึ่งแทรกไว้ อาจจะเปน็ เนอื้ เร่ืองหรือเป็นคติคาสอนระหว่างบรรทดั ซง่ึ วรรณกรรมแต่ละเรื่องให้แง่คิดไม่เหมือนกัน บางที่ผู้อ่านท่ีอ่านอย่างผิวเผิน จะตาหนิตัวละครในเร่ืองนั้นว่า กระทาผิดศีลธรรมไม่ส่งเสริมให้คนมี ศีลธรรม แต่ถ้าพิจารณาและติดตามต่อไปผู้อ่านก็จะพบว่า ใครก็ตามท่ีไม่อยู่ในศีลธรรมก็จะต้อง ประสบความทุกขย์ าก ความล้มเหลว และความเกลียดชงั จากสังคม อาจจะเป็นเพราะกรรมของแต่ละ คน บางคนประกอบกรรมมา ต่างกรรมต่างวาระแต่อาจจะพบจุดจบในกรรมอันเดียวกันก็ได้ เช่น เรื่องพระลอเปน็ วรรณกรรมสะเทือนอารมณ์ ซ่ึงได้แทรกข้อคิดเกี่ยวกับความรัก และความรับผิดชอบ ในหนา้ ที่ ให้ผอู้ ่านได้พิจารณา ถ้าบงั เอญิ มีเหตุการณ์ในชีวิตเกิดข้ึนพร้อม ๆ กันท้ังความรัก และความ รับผิดชอบจะเลือกทางไหนพระลอได้เลือกความรักและประสบกับความยุ่งยากจนสิ้นชีวิต เป็น ตัวอย่างท่ีไม่ต้องการให้ใครเอาอย่าง ซ่ึงตามหลักการของวรรณกรรมนั้นในเรื่องของศีลธรรม ส่ิงท่ี ผู้อา่ นต้องนามาคิดกค็ อื เปน็ ศีลธรรมของคนกลุ่มใด ของใคร และสมัยใด เพราะศีลธรรมก็ต่างกันตาม วาระยุคและสมัยของแต่ละสังคมด้วย เช่นผู้อ่านอาจจะโทษว่า พระลอ พระเพื่อน พระแพง ไม่ตั้งอยู่ ในศีลธรรม ผู้อ่านก็ต้องพิจารณาหลาย ๆ ด้าน ทั้งในเรื่องของสังคม ค่านิยม บุคคล ฐานะ และทาง แนวคดิ และจุดประสงค์ของผูแ้ ตง่ ว่าเพ่อื อะไร ส่วนวรรณกรรมที่ให้คุณค่าทางศีลธรรมแก่ผู้อ่านที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ วรรณกรรมศาสนา ได้แก่ เร่ืองชาดกตา่ ง ๆ เช่น เวสสนั ดรชาดก สุวรรณสามชาดก นอกจากนนั้ ก็มีนิทานนิยายต่าง ๆ เช่น นิทานอีสป นวนิยายทีม่ ุ่งสอนศลี ธรรม เชน่ กองทพั ธรรม ใต้ร่มกาสาวพสั ตร์ เป็นต้น หรอื เร่ือง ไตรภูมิ พระรว่ ง ของพระเจา้ ลิไท พระปฐมสมโพธิกถา ของสมเดจ็ พระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นตน้ ๔. คุณค่าทางวัฒนธรรม วรรณกรรมทาหน้าที่ผู้สืบต่อวัฒนธรรมของชาติจากคนรุ่นหน่ึงไปสู่ คนอีกรุ่นหนึ่ง เปน็ สายใยเช่ือมโยงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ ในวรรณกรรมมักจะบ่ง บอกคติของคนในชาติไว้ เช่น วรรณกรรมสมัยสุโขทัยจะทาให้เราทราบว่าคติของคนไทยสมัยสุโขทัย นิยมการทาบุญให้ทาน การสาปแช่งคนบาปคนผิด มักจะสาปแช่งมิให้พระสงฆ์รับบิณฑบาตรจาก บุคคลผู้นั้น ดังนี้เป็นต้น วรรณกรรมของชาติมักจะเล่าถึงประเพณีนิยม คติชีวิต การใช้ถ้อยคาภาษา การดารงชีวิตประจาวัน การแก้ปัญหาสังคม อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า เป็นต้น เพ่ือให้คนรุ่น หลังมีความรู้เกี่ยวกับคนรุ่นก่อนๆและเข้าใจวิถีชีวิตของคนรุ่นก่อน เข้าใจเหตุผลว่าทาไมคนรุ่นก่อนๆ จึงคิดเช่นนั้น ทาเช่นน้ัน ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน ดังเช่น วรรณกรรมเรื่องอิเหนา พระราช นิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ ช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบถึงพระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ เป็นต้น หรือ เร่อื งขุนชา้ งขุนแผน ทาให้ผู้อา่ นเข้าใจประเพณีการเกิด การโกนจุก การบวช การแต่งงาน การเผาศพ เป็นต้น อย่างไรก็ตามคุณค่าทางวัฒนธรรมน้ีเป็นเร่ืองเฉพาะของแต่ละสังคม ถ้าสามารถสร้างให้เกิด

๑๒ ความรู้สึกท่ีเป็นสากล คือมีอุดมคติเป็นกลาง สามารถเป็นท่ียึดถือของทุกสังคม ก็นับเป็นคุณค่าทาง วัฒนธรรมท่ีถือเปน็ ความสามารถอย่างย่ิง และที่สาคัญวัฒนธรรมอยู่ได้ส่วนหน่ึงก็เพราะมีวรรณกรรม บันทึกไว้เป็นหลักฐาน กล่าวอีกนัยหนึ่ง จะโดยรู้สึกตนหรือไม่ก็ตาม นักประพันธ์ย่อมจะแต่งเรื่องท่ี กล่าวถึงวัฒนธรรมของตน และในบางคร้ังบางคราว เม่ือแปลหรือเรียบเรียงหรือเอาเค้าเดิมมาจาก วรรณกรรมต่างประเทศ ก็จะกล่าวถึงวัฒนธรรมของต่างประเทศเท่าที่ตนรู้และเข้าใจด้วย ผู้อ่านก็จะ เกดิ ความรนื่ รมยแ์ ละชนื่ ชมหรือแปลกประหลาดไปกบั วฒั นธรรมน้ัน ๆ ดว้ ย ๕. คณุ ค่าทางประวตั ิศาสตร์ การบันทกึ ทางประวัตศิ าสตรท์ ม่ี ุ่งจดแต่ข้อเท็จจริงไม่ช้าก็อาจจะ เบ่ือหน่ายหลงลืมได้ เช่น เร่ืองราวเกี่ยวกับสงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับพระมหา อุปราช ในประวัติศาสตร์อาจจะจดบันทึกไว้เพียงไม่กี่บรรทัด ผู้อ่านก็อาจจะอ่านข้าม ๆไปโดยไม่ทัน สังเกตและจดจา ถ้าได้อ่านลิลิตตะเลงพ่ายจะจาเร่ืองยุทธหัตถีได้ดีข้ึนและยังเห็นความสาคัญของ เหตุการณ์บ้านเมืองในตอนนั้นอีกด้วย ทั้งน้ีเพราะผู้อ่านได้รับรสแห่งความสุขบันเทิงใจในขณะที่อ่าน ลลิ ติ ตะเลงพา่ ย หรอื วรรณกรรมประวตั ิศาสตรอ์ ่นื ๆ ทีน่ าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาใช้เป็นวัตถุดิบ ในการแต่งดว้ ย อยา่ งไรก็ตามวรรณกรรมดังกลา่ วมิใช้เอกสารวชิ าการสาหรับอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ ตรงข้ามประวัติศาสตร์ต่างหากท่ีเป็นเอกสารอ้างอิงของวรรณกรรม ดังน้ัน การใช้วรรณกรรมเป็น เอกสารอ้างอิงทางประวัติประวัติศาสตร์จึงอาจคลาดเคล่ือนได้ อย่างไรก็ตาม วรรณกรรมถือเป็น กระจกเงาสะท้อนภาพในอดีตของแต่ละชาติได้อย่างดีที่สุด เร่ืองราวที่เป็นประวัติศาสตร์หลายเร่ือง ศึกษาได้จากวรรณกรรมไม่มากก็น้อย เช่นเร่ืองสี่แผ่นดิน ของ ม.ร.ว. ศึกฤทธ์ิ ปราโมช ซึ่งเป็น วรรณกรรมทใ่ี ช้เหตกุ ารณ์ของไทย ตัง้ แตส่ มัยพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยูห่ ัวลงมาจนถึงส้ิน แผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล พร้อมกันน้ีผู้เขียนยังให้ภาพที่ผู้อ่านเข้าใจถึง เรื่องราวของ พระบรมมหาราชวงั เริม่ ตั้งแตป่ ระตชู ั้นนอก ช้ันกลาง ชัน้ ใน ตาหนักเจ้านาย ท่ีอยู่ของข้าหลวง จนกระ ทั้งถึงพระราชมณเฑียร ชีวิตของชาววังนับต้ังแต่พระบรมวงศ์ถึงคนสามัญ การแต่งกาย ความเป็นอยู่ ธรรมเนียม การศึกษาอบรม ความสนุกสนาน และการละเล่น นอกจากน้ันได้กล่าวถึงชีวิตชนช้ันสูง นอกราชสานักด้วย ๖. คุณค่าทางจิตนาการ เป็นการสร้างความรู้สึกนึกคิดที่ลึกซ้ึง จิตนาการต่างกับอารมณ์ เพราะอารมณ์คือ ความรู้สึก ส่วนจิตนาการ คือ ความคิด เป็นการลับสมอง ทาให้เกิดความคิดริเร่ิม ประดิษฐกรรมใหม่ ขน้ึ มาก็ได้ จิตนาการจะทาใหผ้ อู้ ่านเป็นผู้มองเหน็ การณไ์ กล จะทาส่ิงใดก็ได้ทาด้วย ความรอบคอบ โอกาสจะผิดพลาดมีน้อย นอกจากนั้นจิตนาการเป็นความคิด ฝันไปไกลจากสภาพที่ เป็นอยใู่ นขณะน้ัน อาจจะเป็นความคดิ ถึงสงิ่ ท่ีลว่ งเลยมานานแล้วในอดตี หรอื ส่งิ ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นเลย โดยหวังว่าอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตก็ได้ เช่น วรรณกรรมพระอภัยมณี สุนทรภู่เป็นผู้แต่งที่มี จินตนาการกว้างไกล ได้ใฝ่ฝันเห็นภาพการนาฟางมาผูกเป็นเรือสาเภาใช้ในการเดินทางในมหาสมุทร บนยอดคลนื่ เปน็ ต้น ซ่ึงในปัจจุบันนี้เรือท่ีทาด้วยวัสดุน้าหนักเบาอย่างฟางได้เกิดมีจริงขึ้นแล้วรวมท้ัง เรอื เร็วท่แี ลน่ ได้บนยอดคล่นื หรือบนผิวน้าด้วย ขณะทธี่ วชั ปุณโณทก (๒๕๒๗ : ๑๐-๑๑) ไดก้ ลา่ วถงึ คุณคา่ ของวรรณกรรม โดยแบ่งออกเป็น ๒ ประเดน็ ใหญ่ ๆ ดังนี้ ๑. คุณค่าของวรรณกรรมต่อปัจเจกบุคคล คือวรรณกรรมให้สารประโยชน์ต่อบุคคลอันเป็น หนว่ ยหนึง่ ของสงั คม

๑๓ ๒. คุณคา่ วรรณกรรมต่อการสร้างสรรค์สังคม วรรณกรรมมสี ว่ นให้ความสานึกของสังคม หรือ มโนทศั นร์ ่วมของสังคม โดยวธิ ีเสนอแนวคดิ ตอ่ ผ้อู ่านโดยส่วนรวม เป็นการปลูกฝังทัศนคติต่อสังคมแก่ ผูอ้ ่าน และมีกลวิธใี นการนาเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เพ่ือให้ผู้อ่านเห็นพ้องกับแนวคิดท่ีผู้ประพันธ์เสนอ มาในรปู วรรณกรรม หรอื ให้ผู้อ่านเลือกรปู แบบของสงั คมตามทศั นะของตนเองรวมมากับการบันเทิงใจ ในวรรณกรรมด้วย ซ่ึงเป็นตัวเร่งเร้า ส่งเสริมให้ผู้อ่านอันเป็นหน่วยหน่ึงของสังคมยอมรับแนวคิด เหล่านน้ั และมมี โนทัศนร์ ่วมต่อสงั คม ดังนั้นวรรณกรรมจึงเป็นมรดกของสังคม เป็นส่วนหน่ึงของวัฒนธรรมท่ีแสดงเอกลักษณ์ของ ความเปน็ ชาติ และเป็นเครอ่ื งบ่งชีค้ วามเป็นอารยะชองชนในชาติเชน่ กัน นอกจากนี้ วสันต์ รัตนโภคา (๒๕๕๕ : ๑–๓๙) กล่าวว่า วรรณคดีเป็นงานเขียนที่สร้าง อารมณ์สะเทือนใจแก่ผู้อ่าน ผ่านการเรียงร้อยถ้อยคาที่สละสลวย ไพเราะคล้องจอง และภาพท่ีกวี เขียนสร้างขึ้นในใจผู้อ่าน ทาให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินใจ ดังนั้นคุณค่าทางอารมณ์ท่ีผู้อ่านได้รับ จากการอา่ นวรรณคดีอาจเกดิ ขน้ึ จากรสทางวรรณคดี ซ่ึงเป็นปฏิกิริยาทางอารมณ์ท่ีเกิดข้ึนในใจผู้อ่าน เมอื่ ได้รบั รู้อารมณท์ ก่ี วีไดถ้ ่ายทอดไว้ในวรรณคดี รสทางวรรณคดีสามารถ จาแนกตามทฤษฎวี รรณคดีสันสกฤตได้ ๙ รส ได้แก่ ศฤงคารรส (รส แหง่ ความรกั ) หาสยรส (รสแหง่ ความขบขนั ) กรณุ ารส (รสแห่งความเมตตากรุณาท่ีเกิดภายหลังความ เศร้าโศก) รทุ รรส/เราทรรส (รสแห่งความโกรธเคือง) วีรรส (รสแห่งความกล้าหาญ) ภยานกรส (รส แห่งความกลัว ตื่นเต้นตกใจ) พีภัตสรส (รสแห่งความชัง ความรังเกียจ) อัพภูตรส (รสแห่งความ พิศวงประหลาดใจ) และศานติรส (รสแห่งความสงบ) แต่ในที่น้ีจะขอกล่าวถึงเฉพาะรสที่ปรากฏ เด่นชัดในวรรณคดีไทย ดงั ท่ี วสนั ต์ รัตนโภคา (๒๕๕๕ : ๑–๓๙ – ๑–๔๔) ไดอ้ ธบิ ายราะละเอยี ดดงั น้ี ๑. รสแห่งความรกั (ศฤงคารรส) เปน็ การแสดงภาพของความรกั เชน่ ความรักของหนุ่มสาว ความรักของมารดาที่มีต่อบุตร รสแห่งความรักเป็นรสที่ทาให้ผู้อ่านเกิดความซาบซึ้งในความรักมาก ยิ่งข้ึน ๒. รสแห่งความตลกขบขัน (หาสยรส) เป็นรสทางวรรณคดีท่ีทาให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึก ขบขนั และสนกุ สนาน ๓. รสแหง่ ความเวทนาสงสาร (กรณุ ารส) เป็นการแสดงภาพอันน่าเศร้าใจ เช่น การสูญเสีย การพลัดพราก การไม่สมหวงั เป็นรสทางวรรณคดที ีท่ าใหผ้ อู้ ่านรูส้ กึ หดหู่ สลดใจ เกดิ ความเห็นใจ ๔. รสแห่งความโกรธแคน้ (รุทรรส) เป็นการแสดงภาพความโกรธแคน้ ความฉุนเฉียว ความ รุนแรงของอารมณ์ เป็นรสทางวรรณคดีที่ทาให้ผู้อ่านรู้สึกโกรธ ขัดเคืองใจ หรือมองเห็นอารมณ์โกรธ เกรีย้ วของตัวละคร นอกจากรสแห่งวรรณคดีตามทฤษฎีข้างต้นแล้ว ยังสามารถแบ่งรสวรรณคดีไทยตามรสแห่ง กาพย์กลอนไทยเป็น ๔ ลักษณะ ได้แก่ เสาวรจนี นารีปราโมทย์ พิโรธวาทัง สัลลาปังคพิสัย ดัง รายละเอียดต่อไปน้ี ๑. เสาวรจนี เป็นการกล่าวชมความงามของส่ิงต่างๆ ในวรรณคดี ท้ังบุคคล สถานท่ี และ สงิ่ ของเปน็ สว่ นสาคัญที่ทาใหผ้ ู้อ่านเกดิ จินตภาพในความงามของสง่ิ ทก่ี วีบรรยายถึง ๒. นารีปราโมทย์ เป็นการกล่าวถ้อยคาเก้ียวพาราสีเพื่อแสดงความรักระหว่างชายและหญิง ในวรรณคดีซึ่งเป็นส่วนสาคัญท่ีทาให้ผู้อ่านมองเห็นอานุภาพของความรักที่ปรากฏในวรรณคดีไทย

๑๔ ลักษณะลีลาการประพันธ์ดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกับรสแห่งความรัก (ศฤงคารรส) ตามทฤษฎี วรรณคดสี ันสกฤต แต่นารีปราโมทย์จะเน้นเพยี งเฉพาะความรกั ระหวา่ งครู่ ักเท่านนั้ ๓. พิโรธวาทัง เป็นการกล่าวถ้อยคาท่ีแสดงอารมณ์ไม่พอใจ โกรธแค้น แค้นเคือง และการ เสียดสีต่างๆ เป็นส่วนสาคัญท่ีทาให้เกิดอารมณ์ไม่พอใจหรือขัดใจในวรรณคดีเร่ืองน้ัน ลักษณะลีลา การประพันธ์ดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกับรสแห่งความโกรธแค้น (รุทธรส) ตามทฤษฎีวรรณคดี สันสกฤต ๔. สัลปังคพิสัย เป็นการกล่าวถ้อยคาท่ีแสดงอารมณ์โศกเศร้า อาลัยรัก เป็นส่วนสาคัญที่ทา ให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกเศร้าใจไปกับตัวละครในวรรณคดีน้ันๆ ลักษณะลีลาการประพันธ์ดังกล่าวมี ความคลา้ ยคลงึ กับรสแห่งเวทนาสงสาร (กรุณารส) ตามทฤษฎวี รรณคดสี นั สกฤต กล่าวโดยสรุปแล้ว วรรณคดีเป็นงานเขียนท่ีสร้างอารมณ์สะเทือนใจ กระทบใจผู้อ่าน ทาให้ ผู้อ่านเกิดอารมณส์ ะเทือนใจ คล้อยตาม และไดร้ ับร้คู ณุ คา่ ทางอารมณ์ ซ่ึงเป็นการผ่อนคลายจิตใจของ ผูอ้ า่ น รวมถงึ สามารถจรรโลงใจผู้อ่านได้เป็นอย่างดี วรรณคดีท่ีดีจึงควรประกอบด้วยรสทางวรรณคดี ทกี่ ระทบใจผอู้ า่ นได้ เพ่ือที่ผอู้ ่านจะไดเ้ ข้าถึงการรับรคู้ ุณคา่ ในวรรณคดีอย่างชัดเจนย่ิงข้ึน วรรณคดีไทยเปน็ มรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ซึ่งหากพินิจสารในวรรณคดีโดยละเอียด แล้ว จะพบว่าผู้อ่านจะสามารถซึมซับคุณค่าด้านความรู้จากวรรณคดีเรื่องต่างๆ ได้ โดยเฉพาะทาให้ ผู้อา่ นเข้าใจชีวิตของมนุษย์ได้กระจ่างข้ึน เพราะวรรณคดีเป็นงานเขียนท่ีบันทึกภาพเรื่องราวชีวิตของ คนในสังคม วถิ ชี วี ติ ของคนในอดีตจนถึงปัจจุบันในแงม่ มุ ทหี่ ลากหลาย การอา่ นวรรณคดีจึงสามารถทา ให้ผู้อ่านได้สัมผัสกับบางส่วนของมุมมองชีวิตท่ีอาจไม่เคยสัมผัสมาก่อน ขณะเดียวกันการอ่าน วรรณคดยี งั เป็นการทบทวนประสบการณข์ องชวี ติ ผอู้ า่ น รวมถงึ การให้บทเรียนหรืออุทาหรณ์แก่ผู้อ่าน วรรณคดีบางเร่ือง ผู้เขียนได้แสดงโลกทัศน์ของตนเองที่มีต่อเร่ืองใดเรื่องหนึ่ง และสอดแทรกมุมมอง ความคิดที่แปลกใหม่ ทาให้ผู้อ่านได้เรียนรู้โลกทัศน์ใหม่ ๆ นอกจากน้ี วรรณคดียังสามารถสะท้อน ภาพของคนในยุคสมัยต่างๆ ทาให้ผู้อ่านได้รับความรู้เก่ียวกับก ารเมือง เศรษฐกิจ สังคม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ค่านิยม และวิถีชีวิตของคนในอดีตได้ เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษาการใช้ ภาษาที่ไพเราะ สวยงาม การใช้ภาษาโบราณ และภาษาถ่ิน ถือเป็นการเพิ่มพูนความรู้ทางภาษาไทย ให้แก่ผู้อ่านท้ังสิ้น โดยเฉพาะการเรียนรู้วงศัพท์ และวรรณคดียังเป็นสื่อท่ีสามารถจรรโลงจิตใจคนใน สงั คมให้รูจ้ กั ใช้ชวี ติ โดยยดึ หลกั ธรรม แนวคิด และคาสอนทปี่ รากฏในวรรณคดี ซึ่งหากคนในสังคมต่าง นอ้ มนาแนวคิดมมุ มองต่างๆ ที่ปรากฏ ในวรรณคดีมาปรับใช้ในการดาเนินชีวิตแล้ว สังคมไทยก็น่าจะ มีความสุขสงบและน่าอยู่อาศัยมากยง่ิ ข้นึ

๑๕ บทสรุป วรรณคดีคืองานเขียนที่มีเนื้อหาและการนาเสนอท่ีดี มีคุณค่า และมีวรรณศิลป์ วรรณคดี สามารถจาแนกได้ตามลักษณะการประพันธ์เป็นวรรณคดีร้อยกรอง วรรณคดีร้อยแก้ว และจาแนก ตามลักษณะเน้ือหาเป็นงานบันเทิงคดีและงานสารคดี และเป็นงานเขียนท่ีประกอบไปด้วยคุณค่าทาง อารมณแ์ ละคุณคา่ ทางความรแู้ ละสงั คม วรรณคดใี นความหมายกว้าง คืองานเขียนโดยท่ัวไป ท่ีเขียนข้ึนเป็นร้อยกรองหรือร้อยแก้ว มี เน้อื หาเป็นบนั เทงิ คดีหรอื สารคดี ส่วนความหมายอย่างแคบของวรรณคดีคือ งานเขียนท่ีมีเน้ือหาและ การนาเสนอท่ดี แี ละมคี ุณค่าทางวรรณศิลป์ สว่ นวรรณกรรมคืองานที่เขียนขึ้นหรือประพันธ์ขึ้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด เพ่ือจุดมุ่งหมายใด ไม่เน้นการแสดงออกว่ามีคุณค่าทางอารมณ์หรือไม่ และ วรรณศลิ ป์หมายถึงศลิ ปะของการเรียบเรยี งถ้อยคา หรือศลิ ปะแห่งการแต่งหนงั สือ ร้อยกรองคือการเรียบเรียงถ้อยคาโดยมีฉันทลักษณ์ในการประพันธ์ที่เป็นแบบฉบับตาม รูปแบบคาประพันธ์นั้น ๆ ท่ีกาหนดไว้ ส่วนร้อยแก้วหมายถึงความเรียงที่ใช้ภาษาสละสลวย อาจ ประพนั ธข์ นึ้ ตามรูปแบบการเขยี นประเภทต่าง ๆ การจาแนกประเภทของวรรณคดจี าแนกได้สองรปู แบบ คือ จาแนกตามรูปแบบคาประพันธ์ท่ี เป็นรอ้ ยกรองและรอ้ ยแก้ว และจาแนกตามลกั ษณะเนื้อหาของวรรณคดี วรรณคดีให้คุณค่าทางความรู้และสังคมแก่ผู้อ่าน เพราะวรรณคดีทาให้เข้าใจชีวิต ช่วยให้ เข้าใจอดีต ให้ความรู้ด้านภาษาแก่ผู้อ่าน และจรรโลงสังคมให้อยู่อย่างสงบสุข นอกจากนี้วรรณคดี ยังให้คุณค่าทางอารมณ์แก่ผู้อ่านด้วยรสและลีลาการประพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นรสแห่งวรรณคดีสันสกฤต ซ่ึงประกอบด้วย ๙ รส คือ ศฤงคารรส หาสยรส กรุณารส รุทรรส วีรรส ภยานกรส พีภัตสรส อัพภูต รส และศานติรส หรอื รสแห่งวรรณคดีไทยที่มีอยู่ ๔ ลักษณะ คือ เสาวรจนี นารีปราโมทย์ พิโรธวาทัง และสลั ลาปังคพไิ สย

๑๖ คาถามทา้ ยบท ๑. วรรณคดี หมายถงึ ๒. วรรณกรรม หมายถงึ ๓. วรรณศลิ ป์ หมายถึง ๔. ร้อยกรอง หมายถึง ๕. รอ้ ยแก้ว หมายถึง ๖. การจาแนกประเภทของวรรณคดีสามารถใชเ้ กณฑใ์ ดในการจาแนกไดบ้ ้าง ๗. หากจาแนกวรรณคดีตามลักษณะเน้ือหาโดยละเอียดแล้ว อาจจาแนกวรรณคดีได้เป็น ประเภทใดบ้าง จงยกตัวอย่าง ๘. รสแหง่ วรรณคดีท่ีปรากฏเดน่ ชดั ในวรรณคดไี ทยมีท้งั สิ้นกี่รส อะไรบา้ ง ๙. วรรณคดีให้คณุ ค่าทางความรู้และสังคมแกผ่ ู้อา่ นอย่างไรบ้าง

๑๗ เอกสารอา้ งอิง กุหลาบ มัลลิกะมาส. ๒๕๓๓. ความรู้ทั่วไปทางวรรณคดี. พิมพ์คร้ังท่ี ๙. กรุงเทพมหานคร : มหาวทิ ยาลัยรามคาแหง. เจือ สตะเวทิน. ๒๕๑๘. วรรณคดวี จิ ารณ์. กรงุ เทพฯ : โรงพิมพ์สทุ ธสิ าร. เจตนา นาควัชระ. ๒๕๔๒. ทฤษฏเี บือ้ งต้นแหง่ วรรณคดี. พิมพค์ รั้งที่ ๒. กรงุ เทพฯ : ศยาม. ชลธิรา กลัดอย่.ู ๒๕๑๖. ภาษาและวรรณกรรม. กรงุ เทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั . ธวัช ปุณโณทก. ๒๕๒๗. แนวทางศกึ ษาวรรณกรรมปจั จบุ นั . กรงุ เทพฯ : ไทยวัฒนาพานชิ . บุญเหลอื เทพยสวุ รรณ. ๒๕๒๒. วเิ คราะหร์ สวรรณคดไี ทย. กรงุ เทพฯ : ไทยวัฒนาพานชิ . ประทปี เหมอื นนิล. ๒๕๔๒. หนึ่งร้อยนักประพนั ธ์ไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเดก็ . ราชบัณฑิตยสถาน. ๒๕๕๔. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธนั วาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑติ ยสถาน. หน้า ๑๑๐๐ วรเวทย์พสิ ฐิ พระ. ๒๕๐๒. วรรณคดไี ทย. พิมพ์ครัง้ ท่ี ๒. พระนคร : จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย. วรรณคดีและวรรณกรรม. http://www.eduzones.com/knowledge-2-1-1921.html. สืบค้น เมื่อวันท่ี ๒๓ กนั ยายน ๒๕๖๐. (ออนไลน)์ . วสนั ต์ รตั นโภคา. ๒๕๕๕. เอกสารการสอนชุดวิชาวรรณคดีไทย หน่วยที่ ๑ – ๗ (ฉบับปรับปรุง ครงั้ ท่ี ๑). พมิ พค์ รงั้ ท่ี ๒. กรงุ เทพฯ : มหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช. หน้า ๑–๑–๑–๔๙. วิทย์ ศิวะศริยานนท์. ๒๕๔๑. วรรณคดแี ละวรรณคดีวจิ ารณ์. กรงุ เทพฯ: ธรรมชาต.ิ วันเนาว์ ยูเด็น. ๒๕๓๗. วรรณคดีเบือ้ งตน้ . กรงุ เทพฯ : อักษรเจริญทัศน.์ สนทิ ตั้งทว.ี ๒๕๒๘. ความรแู้ ละทักษะทางภาษา. กรงุ เทพฯ : โอเดียนสโตร์. สมพร มนั ตะสูตร. ๒๕๒๕. วรรณกรรมไทย. กรงุ เทพฯ : โอเดียนสโตร.์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ๒๕๕๕. เอกสารการสอนชุดวิชา วรรณคดีไทย หน่วยที่ ๑ – ๗ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๑).พิมพ์คร้ังที่ ๒. กรุงเทพฯ : มหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธริ าช. สิทธา พินิจภูวดล และนิตยา กาญจนะวรรณ. ๒๕๒๐. ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ : ดวงกมล.

๑๘ แผนบรหิ ารการสอนประจาบทที่ ๒ วรรณคดีสมยั สุโขทยั – อยุธยา พ.ศ. ๒๑๗๒ หวั ขอ้ เน้ือหาประจาบท ๑. วรรณคดีสมยั สโุ ขทยั ๒. วรรณคดีสมยั อยุธยาตอนต้น พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๒๑๗๒ วัตถุประสงค์เชงิ พฤตกิ รรม เพื่อให้นกั ศึกษาสามารถ ๑. อธบิ ายลกั ษณะของวรรณคดสี มัยสุโขทยั ได้ ๒. อธิบายลักษณะสาคัญของวรรณคดสี มัยอยธุ ยาตอนตน้ ท่ีกาหนดได้ ๓. แสดงความคดิ เห็นเกยี่ วกบั วรรณคดสี มยั อยุธยาตอนต้นทีก่ าหนดได้ กจิ กรรมการเรยี นการสอนประจาบท ๑. การบรรยายประกอบส่ือบรรยาย ๒. การศกึ ษาเอกสารประกอบการสอน ๓. ตอบคาถามทา้ ยบทและแสดงความคดิ เห็นในประเด็นที่เก่ียวข้อง ๔. แบ่งกล่มุ ศกึ ษาค้นควา้ เพิ่มเติมและมอบหมายงาน ส่ือการสอน ๑. เอกสารประกอบการสอน ๒. Power Point เร่อื งวรรณคดสี มยั สโุ ขทยั – อยุธยา พ.ศ. ๒๑๗๒ การประเมนิ ผล ๑. สงั เกตความสนใจ และความตงั้ ใจเรยี น ๒. การมสี ่วนรว่ มในชน้ั เรียน ๓. ประเมินผลจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเร่ือง

๑๙ บทท่ี ๒ วรรณคดีสมัยสุโขทยั – อยธุ ยา พ.ศ. ๒๑๗๒ บทนา สุโขทัย เป็นอาณาจักรท่ีตั้งอยู่บนท่ีราบลุ่มแม่น้ายม สถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ใน ฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี ๑๘๐๐ พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ ร่วมกันกระทาการยึดอานาจจาก “ขอมสบาดโขลญลาพง” ซึ่งทาการเป็นผลสาเร็จและได้สถาปนา เอกราชใหส้ ุโขทยั เป็นรัฐอิสระ และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลาดับโดยเฉพาะในสมัยพ่อขุนรามคาแหง มหาราช ก่อนจะประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหน่ึงของ อาณาจักรอยุธยาไปในทสี่ ุด สิทธา พินิจภูวดล และปรียา หิรัญประดิษฐ์ (๒๕๕๕ : หน้า ๒–๕) ได้กล่าว ว่า หลักฐานสาคัญทางประวัติศาสตร์ท่ีทาให้เช่ือได้ว่าคนไทยสมัยสุโขทัยมีภาระหนักย่ิงในการต้ัง อาณาจกั รสโุ ขทยั เม่ือตอนต้นพุทธศตวรรษท่ี ๑๘ เน่ืองจากหลายชาติที่อยู่ในแถบลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา ขณะน้ันมีวัฒนธรรมและระบบสังคมท่ีมีระเบียบแบบแผน มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดี โดยเฉพาะมอญ และขอม มอญมีอานาจรุ่งเรืองอยู่ในอาณาจักรหริภุญไชยซ่ึงมีอาณาเขตอยู่ในบริเวณตอนเหนือของ แม่น้าเจ้าพระยา คือ แม่น้าปิง วัง ยม และน่าน ส่วนขอมมีอาณาจักรท่ียิ่งใหญ่ มีนครวัดเป็นเมือง หลวง มีอาณาเขตขยายกว้างครอบคลุมดนิ แดนภาคอีสานของไทยในปัจจุบัน ตลอดจนถึงดินแดนทาง ทศิ ตะวนั ตกและลุ่มแมน่ า้ เจ้าพระยาตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรมอญแห่งหริภุญไชยและอาณาจักขอม แห่งละโว้ได้เส่ือมอานาจลง จึงเป็นโอกาสให้คนไทยกับมอญ และขอมได้รวมกาลังกันต้ังตนเป็นอิสระ จนสามารถยดึ เมอื งหน้าดา่ นของขอมไว้ได้ ถอื เปน็ จดุ เร่ิมตน้ ของการกอ่ ตงั้ อาณาจกั รสุโขทัย ลกั ษณะของวรรณคดีสมัยสุโขทยั ๑. เนอื้ หาและจุดมุง่ หมาย สิทธา พินิจภูวดล และปรียา หิรัญประดิษฐ์ (๒๕๕๕ : หน้า ๒–๗) กล่าวว่าสังคมไทยสมัย สุโขทัยอยู่ในยุค “บุกเบิก” ความเป็นชาติไทย พระมหากษัตริย์จึงทรงเผชิญกับปัญหาการสร้างความ ม่ันคงแก่ชาติ และทรงประสบความสาเร็จ โดยเฉพาะในสมัยพ่อขุนรามคาแหงมหาราชอาณาจักร สุโขทัยมีความมั่นคง มีอานาจแผ่ไพศาลจนมีประเทศราชอยู่ในเขตพม่าและลาว พ่อขุนรามคาแหง มหาราชทรงประดิษฐอ์ กั ษรไทยและทรงแถลงข้อความตอนแรกบนหลักศิลาซ่ึงคือ ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ประวัติวรรณคดีสมัยสุโขทัยเร่ิมข้ึน ณ จุดน้ี ในสมัยนี้นิยมสร้างศิลาจารึกโดยมีจุดมุ่งหมายเพ่ือบันทึก เหตุการณ์สาคัญ เช่น เหตุการณ์ทางการสงคราม การสร้างศาสนสถาน เป็นต้น และยังทรงริเร่ิม สร้างสรรค์พ้ืนฐานอารยธรรมไทยอีกหลากหลายประการ เหล่านี้ถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ของไทย นอกจากนสี้ ังคมไทยในสมัยนั้นยังต้องมีการจัดระเบียบการดาเนินชีวิตแก่คนในบ้านเมือง จึง ต้องการแนวคิดและแนวทางอันจะนาสังคมไปสู่ความสงบเรียบร้อยได้ จึงเกิดวรรณกรรมที่มีเนื้อหา เป็นหลกั ปรัชญา คาสอน คาเทศน์ และวรรณคดีสุโขทัยในสมัยสุโขทัยมีลักษณะสาคัญอีกประการคือ วรรณกรรมสัตยาธิษฐาน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการแต่งเพ่ือผูกใจบรรดาข้าราชการในราชสานักและเจ้า

๒๐ เมืองอ่ืนๆ ไว้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ลักษณะของวรรณคดีสุโขทัยจึงมีรายละเอียดดังท่ี สิทธา พินิจ ภวู ดล และปรยี า หิรัญประดิษฐ์ (๒๕๕๕ : หน้า ๒–๗ – ๒-๙) ได้อธบิ ายไว้ดังต่อไปน้ี ๑.๑ วรรณคดีประวัติศาสตร์ เป็นวรรณคดีที่บันทึกเหตุการณ์เร่ืองราวทางประวัติศาสตร์ และสังคมในสมัยนี้ ได้แก่วรรณกรรมศิลาจารึก ที่มีการจารึกลงบนแผ่นหิน เสาหิน กรอบประตู ผนัง ฯลฯ และท่จี ารลงในใบลาน แผ่นโลหะอ่ืนๆ รวมท้ังที่ฐานพระพุทธรูปและฐานเทวรูปต่าง ๆ ข้อความ จากศลิ าจารกึ สะท้อนให้เห็นเหตกุ ารณท์ างประวตั ิศาสตร์และสังคมไทย ดังน้ี ๑.๑.๑ สะท้อนประวัติการก่อต้ังอาณาจักรสุโขทัย ศิลาจารึกหลักที่บันทึกเหตุการณ์การ ต่อสู้กับขอมเพ่ืออิสรภาพของคนไทยที่สาคัญที่สุด คือ ศิลาจารึกหลักท่ี ๒ ศิลาจารึกวัดศรีชุม จารึก ประมาณ พ.ศ. ๑๘๙๑-๑๙๓๑ มีเนื้อความกล่าวถึง พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด และพ่อขุนบางกลาง หาว เจ้าเมืองบางยาง ได้สู้รบกับข้าหลวงขอมจนได้รับชัยชนะ และตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมี พอ่ ขนุ ศรีอินทราทิตย์ (พ่อขนุ บางกลางหาว) เป็นปฐมกษัตริย์ และกล่าวถึงต้นประวัติราชวงศ์พระร่วง โดยเริ่มต้ังแต่พ่อขุนศรีนาวนาถุมมีพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ พ่อขุนผาเมือง (เจ้าเมืองราด) และ พระยาคาแหงพระราม มีพระราชธิดาองค์เดียวคือ นางเสือง ซึ่งเป็นพระมเหสีของพ่อขุนศรีอินทรา ทิตย์ ศิลาจารึกหลกั ท่ี ๑ ศลิ าจารึกพอ่ ขนุ รามคาแหง จารกึ ประมาณ พ.ศ. ๑๘๓๕ ถึง พ.ศ. ๑๙๒๑ ท่ี มีเน้ือความตอนต้นบรรยายอัตชีวประวัติของพ่อขุนรามคาแหงมหาราช ท่ีทรงครองราชย์ประมาณ พ.ศ. ๑๘๒๒ ทรงบอกช่ือพระราชบิดาคือศรีอินทราทิตย์ พระราชมารดาคือนางเสือง พระเชษฐาคือ บานเมือง ทรงครองราชย์ต่อจากพระเชษฐา ตอนที่สองของศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นการบันทึกสภาพ สังคมไทยในรัชสมัยพ่อขุนรามคาแหงมหาราชขึ้นครองราชย์ ได้ทรงบาเพ็ญราชกรณียกิจท่ีสาคัญ หลายประการ โดยเฉพาะการประดิษฐ์อักษรไทย ได้ทรงทานุบารุงบ้านเมืองท้ังทางด้านกฎหมาย การค้าขาย การเกษตร การชลประทาน การศาสนา เป็นต้น ๑.๑.๒ สะท้อนประวัติศาสตร์ศาสนาของไทย ศิลาจารึกสมัยสุโขทัยจานวนมากบันทึก เร่ืองราวประวัติศาสตร์ศาสนาไว้อย่างหลากหลาย ทาให้ทราบว่าเดิมคนสุโขทัยในสมัยท่ีขอมครอง อานาจนั้นนับถือศาสนาพราหมณ์ ต่อมาในสมัยพ่อขุนรามคาแหงมหาราชได้ทรงเร่ิมสถาปนา พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เป็นศาสนาประจาชาติ ดังจะเห็นได้จาก ศิลาจารึกวัดศรีชุม และ ศิลา จารึกวัดป่ามะม่วงหลักที่ ๔,๕ และ๖ นอกจากประวัติศาสตร์หรทอเร่ืองราวทางศาสนาแล้ว วรรณกรรมศิลาจารึกยังบันทึกถึงการจาลองพระพทุ ธบาทจากลังกามาประดิษฐานบนยอดเขาสุมนกูฏ (จารึกเขาสุมนกูฏ) ส่วนศลิ าจารึกวัดป่าแดง (ราว พ.ศ. ๑๙๔๙) ได้เปิดเผยถึงธรรมเนียมนิยมเก่ียวกับ การจัดต้ังเจ้าอาวาสตามท่ีเคยปฏิบัติกันมาในสมัยกรุงสุโขทัย โดยการชุมนุมภิกษุสงฆ์ในวัดเพื่อถาม ความเห็น และมีการกล่าวถึงพระเพณีการสร้างวัด เนื้อหาในศิลาจารึกเหล่าน้ี ทาให้ทราบถึงความ เจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนา มีการสร้างวัด กุฏิพระสงฆ์ วิหาร หลังจากที่ได้นิมนต์พระเถระมาจาศีล ยังกรงุ สโุ ขทยั ใหเ้ พียงพอกับพระเถระและพระภิกษุที่เพิ่มขึ้นอย่าง ๑.๒ วรรณกรรมคาสอนและคาเทศน์ ๑.๒.๑ วรรณคดีประเภทคาสอน สิทธา พินิจภูวดล และปรียา หิรัญประดิษฐ์ (๒๕๕๕ : หน้า ๒–๘) ได้อธิบายว่า พระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์พระร่วงทรงเป็นนักปราชญ์รอบด้านและได้ทรงส่ัง สอนประชาชนด้วยพระองค์เอง และทรงนิมนต์พระเถระที่ทรงความรู้ในสมัยนั้นมาสั่งสอนประชาชน

๒๑ ดว้ ย ดงั นั้นจึงนา่ เช่อื ว่าคาส่ังสอนในสมัยสุโขทัยน้นั มีหลากหลาย สามารถจัดรวมเป็นหมวดหมู่เรียกว่า สุภาษิตพระร่วง ๑.๒.๒ วรรณคดีประเภทคาเทศน์ หนังสือสาหรบั เทศนท์ พ่ี ระมหาธรรมราชาท่ี ๑ หรือ พระ ยาลิไทยทรงพระราชนิพนธ์ข้ึน คือ ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีปรัชญาเร่ืองแรกของไทย ทรงพระ ราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๘๘ ก่อนขึ้นครองราชย์สมบัติ ๒ ปี ทรงมีวัตถุประสงค์เพ่ือเทศนาถวาย พระราชมารดาและเพ่ือให้บุคคลท่ัวไปได้ฟัง เน้ือความกล่าวถึงการกาเนิดของจักรวาล การสร้างโลก การกาเนิดของสิ่งมีชีวิต กล่าวถึงแดนทั้งสามหรือไตรภูมิ อันได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ท้ัง ๓ ภูมิเป็นแดนที่สัตว์ท้ังหลายท่ีเกิดมานั้นย่อมต้องวนเวียนไปเกิด มีการพรรณนาภูมิท้ังสามอย่างเห็น ภาพและเป็นที่นิยมมาก จนกระท่ังมีความเช่ือกันว่าถ้าได้ฟังวรรณคดีเร่ืองนี้แล้วจะได้เกิดในสมัยพระ ศรีอาริยอ์ ันเป็นท่ีอุดมสมบรู ณ์ มชี วี ติ ท่เี ป็นสุขข้ึน ๑.๓ วรรณกรรมสัตยาธิษฐาน เป็นวรรณกรรมท่ีมีจุดมุ่งหมายการแต่งเพื่อสร้างเสริมความ เปน็ มั่นคงของชาติ ความสามัคคีในหมู่ข้าราชการและเจ้านายในราชวงศ์ ตลอดจนความเป็นมิตรของ เจ้าเมืองประเทศราชและเจ้าเมืองอิสระต่างๆ เพ่ือผนึกกาลังกันต่อสู้กับข้าศึก และไม่ทาสงคราม ระหวา่ งกัน วรรณคดีสัตยาธิษฐานในสมัยสุโขทัยมีหลายเร่ือง เช่น หลักท่ี ๔๐ ศิลาจารึกเจดีย์น้อยวัด มหาธาตุ ไมป่ รากฏปที จ่ี ารึก กับหลกั ท่ี ๔๕ ศลิ าจารกึ ภาษาไทย จ.ศ. ๗๕๔ สิทธา พินจิ ภวู ดล และปรียา หิรญั ประดษิ ฐ์ (๒๕๕๕ : หน้า ๒-๙) อธิบายว่า ศิลาจารึกหลัก ที่ ๔๐ มีการจารึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทยและมีเนื้อความกล่าวถึงคาสัตย์ “ปรฏิชญา” ซึ่งมี จดุ ม่งุ หมายเพ่อื สร้างสนั ถวไมตรี เปน็ คาสตั ย์ทกี่ ลา่ วตอ่ หน้าพระ “ไตรบพิตรเป็นเจ้า แด่เหง้าพระมหา สวามศี รสี ังฆราช” และต่อหน้า “ชุมนมุ สงฆ์คามวาสีและอรัญวาสที ั้งหลาย” หากฝ่ายกษัตริย์ต่างเมือง กลับสัตย์ก็ขอให้ได้รับโทษอย่างทันตาเห็น ส่วนผู้รักษาสัตย์ปฏิญาณก็ขออวยพรให้อานาจแห่งกุศล สัตย์ได้ดลบันดาลให้ผู้ที่ต้ังม่ันอยู่ในสัตย์บรรลุพระนิพพาน จะเห็นได้ว่าในการทาสัตย์สาบานมีท้ังการ ลงโทษผกู้ ระทาผดิ และการใหร้ างวัลแกผ่ ู้กระทาความดี ส่วนศิลาจารึกหลักที่ ๔๕ ศิลาจารึกภาษาไทย จ.ศ. ๗๕๔ (พ.ศ. ๑๙๓๕) บางครั้งเรียกว่า จารกึ วดั มหาธาตุ จารึกดว้ ยอักษรไทย ภาษาไทย และมีเนื้อความกล่าวว่าคาสบถน้ีให้ไว้ยึดถือต่อหน้า ส่ิงศกั ดส์ิ ทิ ธแิ์ ละวญิ ญาณบรรพบุรษุ แหง่ กรงุ สุโขทัย รวมท้ังพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระยาบานเมือง พ่อ ขุนรามคาแหง พระยาเลอไทย พระยาศรีนาวนาถุม ฯลฯ ต่อด้วยคาสาปแช่งผู้ที่ไม่ซื่อสัตย์ให้ได้รับ ความพินาศจากอานาจศักด์ิสิทธิ์ต่างๆ และต่อด้วยข้อความอานวยพรแก่ผู้ที่ซื่อสัตย์ต่อคาสัตย์สาบาน ทไี่ ด้รบั ความสาเรจ็ ในทกุ อย่างท่ีท้งั ในโลกนี้และโลกหน้า ไปจนถึงการบรรลพุ ระนพิ พาน ๒. ลกั ษณะของผแู้ ตง่ วรรณกรรมในสมัยสโุ ขทัย ในสมยั สโุ ขทัยการอ่านและการเขยี นหนงั สอื ของคนไทยยงั ไมแ่ พรห่ ลาย ส่วนใหญ่ผู้ท่ีอ่านออก เขียนได้จะเป็นบุคคลช้ันสูงในสังคมและผู้ท่ีศึกษาศาสนา เช่น กษัตริย์ เจ้าเมือง ข้าราชการช้ันสูง พราหมณ์ เป็นต้น ดังนั้นจึงมีกษัตริย์หลายพระองค์ที่ทรงแต่งข้อความในศิลาจารึกและหนังสือ เช่น พ่อขุนรามคาแหงมหาราช เมื่อทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยข้ึนแล้วก็ได้ใช้ตัวอักษรเหล่าน้ันจารลงบน แท่งศิลาซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า ศิลาจารึกหลักท่ี ๑ พระยาลิไทย นอกจากทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ ไตรภูมิพระร่วง แล้วยังได้ทรงพระราชนิพนธ์ข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๓ ศิลาจารึกนครชุม เพื่อ

๒๒ บันทกึ การราชาภิเษกและการสรา้ งเจดยี ์บรรจพุ ระธาตุ (สทิ ธา พนิ ิจภูวดล และปรียา หิรัญประดิษฐ์. ๒๕๕๕ : หนา้ ๒–๙) ๓. รปู แบบของวรรณคดสี มัยสโุ ขทยั วรรณคดีสมัยสุโขทัยมีรูปแบบการเขียนเป็นความเรียงร้อยแก้ว ดังปรากฏในหลักศิลาจารึก ซ่ึงสอดคล้องกบั จดุ ประสงค์ของการเขียนเพ่อื จดบันทึกและพรรณนาเรื่องราว เหตุการณ์ต่าง ๆ ไว้เป็น หลักฐาน โดยส่วนมากมคี วามแม่นยาเร่ืองเวลาของเหตุการณ์ เช่นเดียวกับหนังสือเตภูมิกถา หรือไตร ภมู พิ ระร่วง พระราชนพิ นธ์ในพระยาลิไทยก็เป็นความเรียงร้อยแก้ว ซ่ึงมีจุดมุ่งหมายการแต่งเพ่ือสอน อภิธรรม ขณะที่ สุภาษิตพระร่วง มีรูปแบบการแต่งเป็นร้อยกรองแต่งเป็นร่ายสุภาพ และจบลงด้วย โคลงสองสภุ าพ (สิทธา พนิ ิจภูวดล และปรียา หริ ญั ประดิษฐ์. ๒๕๕๕ : หนา้ ๒–๑๐) ๔. ลกั ษณะการใชภ้ าษาในวรรณคดสี มัยสุโขทยั สิทธา พินจิ ภวู ดล และปรยี า หิรญั ประดิษฐ์ (๒๕๕๕ : หนา้ ๒–๑๐) ได้กล่าวถึงลักษณะการ ใช้ภาษาในวรรณคดีสมัยสุโขทัยโดยอธิบายว่า พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ได้เข้ามาแพร่หลายใน กรงุ สโุ ขทัย คนในสมัยนจี้ ึงมีศรัทธาในศาสนาอย่างแก่กล้า มีความรู้ด้านศาสนาอย่างกว้างขวาง ภาษา ท่ีเข้ามากับศาสนาพุทธลัทธิลังกาวงศ์คือภาษามคธ คนสุโขทัยได้รับภาษามคธเข้ามาปนกับภาษา สันสกฤตและภาษาขอมท่ีคุ้นเคยอยู่เดิม ดังน้ันคนสมัยสุโขทัยจึงรู้ “ภาษาต่างประเทศ” หลายภาษา เห็นได้จาก ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง หลักที่ ๔ ที่จารึกด้วยภาษาเขมรซึ่งปนกับศัพท์ภาษาบาลีและ สันสกฤต หลักท่ี ๕ จารึกดว้ ยอกั ษรไทย ภาษาไทย หลักท่ี ๖ ใช้ตัวอักษรขอมเขียนเป็นภาษามคธ ท้ัง สามหลักกล่าวถึงข้อความอย่างเดียวกันคือเหตุการณ์ก่อนข้ึนครองราชย์ของพระยาลิไทย พิธี ราชาภเิ ษก และการเสดจ็ ออกทรงผนวช นอกจากน้ี วรรณคดสี มัยสโุ ขทัยยังมีความนา่ สนใจคอื ลักษณะตัวอักษร โดยเฉพาะตัวอักษรท่ี พ่อขุนรามคาแหงมหาราชประดิษฐ์ขึ้นแล้วทรงใช้จารลงบนศิลาจารึกหลักท่ี ๑ เรียกว่า “ลายสือไท” มีลักษณะพิเศษกว่าตัวอักษรของชาติอื่นๆ ซึ่งได้จากตัวอักษรอินเดียโบราณ ส่วนลักษณะการเขียน หรือลีลาการเขยี นภาษาไทยในสมัยสโุ ขทัยน้นั แมส้ ว่ นใหญ่จะเป็นความเรียงร้อยแก้วก็จัดว่าเป็นความ เรียงร้อยแก้วท่ีมีสานวนภาษาสั้น กะทัดรัด สละสลวย กินใจความกว้าง สามารถสร้างมโนภาพและ จินตนาการแก่ผู้อ่านได้ เป็นวิธีเขียนท่ีดี ผู้เขียนมีศิลปะในการสรรหาถ้อยคาท่ีละเอียดอ่อนทั้งด้าน เสียงสัมผัสและจังหวะ ดังที่สิทธา พินิจภูวดล และปรียา หิรัญประดิษฐ์ (๒๕๕๕ : หน้า ๒–๑๐)ได้ กลา่ วถึงตวั อยา่ งจากจารึกหลักท่ี ๑ และอธบิ ายความวา่ “ในน้า มีปลา ในนา มีข้าว” ...มีจงั หวะหยดุ ทุกสองคา “คนใดขี่ชา้ งมาหา พาเมอื งมาสู่ ช่วยเหลอื เฟื้อกู้”... ส่งสมั ผัสต่อกนั คลา้ ยรา่ ย “ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้”...ลงท้าย ดว้ ยคาทเ่ี หมอื นกันอยา่ งสม่าเสมอและมคี วามหมาย

๒๓ ๕. วรรณคดที สี่ าคญั ในสมัยสโุ ขทัย วรรณคดีสมัยสุโขทัยท่ีสาคัญในสมัยสุโขทัยมีหลายเรื่อง เช่น ศิลาจารึกหลักท่ี ๑ ศิลาจารึก พอ่ ขุนรามคาแหง สภุ าษติ พระร่วง ไตรภมู ิพระรว่ ง นางนพมาส (ตารับท้าวศรีจุฬาลักษณ์) เป็นต้น แต่ ในเอกสารฉบับนี้จะยกตัวอย่างสองเรื่องดังท่ี สิทธา พินิจภูวดล และปรียา หิรัญประดิษฐ์ (๒๕๕๕ : หนา้ ๒–๑๒) ไดก้ ล่าวถงึ รายละเอียดโดยสรปุ ดงั น้ี ๑. ศิลาจารึกหลักท่ี ๑ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง เป็นหลักศิลา ๔ เหล่ียมด้านเท่า ซ่ึงแบ่ง เน้ือหาออกเป็น ๓ ตอน ตอนแรกเป็นตอนที่เช่ือกันว่าพ่อขุนรามคาแหงมหาราชทรงพระราชนิพนธ์ ขอ้ ความดว้ ยพระองค์เอง เน้ือความเป็นการบนั ทกึ เหตุการณ์ทเี่ กิดข้ึนในรัชสมัยของพระองค์ ตอนที่ ๒ และ ตอนที่ ๓ เป็นการพรรณนาเหตุการณ์และความเจริญรุ่งเรืองในลักษณะการสดุดี กล่าวถึงพระ ราชกรณียกิจท่ีสาคัญของพ่อขุนรามคาแหงมหาราช และการขยายราชอาณาจักรออกไปอย่าง กวา้ งขวาง ๒. ไตรภมู ิพระรว่ ง เป็นพระราชนิพนธข์ องพระยาลิไทย ทรงใช้ในการเทศน์โปรดพระมารดา และเพื่อส่ังสอนประชาชนให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ การประพฤติในสิ่งท่ีดีงามในการดารงชีวิต เนื้อหา เป็นอภิปรัชญาทางศาสนา ซ่ึงแสดงให้เห็นว่าคนในสมัยสุโขทัยมีโอกาสได้รับการศึกษาทางศาสนา อยา่ งลกึ ซึ้ง วรรณคดสี มยั อยุธยาตอนต้น พ. ศ. ๑๘๙๓ – ๒๑๗๒ กรุงศรีอยุธยาเป็นอาณาจักรท่ีรุ่งเรืองและมีความสมบูรณ์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ และการเมืองมานาน ทง้ั น้ีเพราะทาเลที่ตง้ั เหมาะสมในหลาย ๆ ด้าน มีลาน้าถึง ๓ สาย คือ ลพบุรี ป่า สกั และเจา้ พระยา มีลกั ษณะเป็นคเู มืองลอ้ มรอบ เหมาะที่จะเป็นท่ีตั้งม่ันรับข้าศึกเมื่อยามศึกสงคราม เมื่อถึงฤดูน้าหลากน้าก็ท่วมเฉพาะบริเวณรอบพระนคร ทาให้ข้าศึกไม่สามารถจะต้ังมั่นอยู่ได้ และ เน่อื งจากกรงุ ศรีอยธุ ยาตัง้ อยบู่ นฝง่ั แมน่ ้าจงึ มีการคมนาคมและการค้าขายท่ีสะดวกสบาย รวมถึงการมี พ้นื ทท่ี เ่ี หมาะแก่การเกษตร จึงถอื เป็นอาณาจกั รที่อุดมสมบูรณ์และมปี ระวตั ิศาสตร์มาอย่างยาวนาน สทิ ธา พนิ ิจภวู ดล และปรียา หิรญั ประดษิ ฐ์ (๒๕๕๕ : หน้า ๒-๓๕) ไดแ้ บ่งยคุ วรรณคดีสมัย อยธุ ยาเป็น ๓ ช่วงได้แก่ วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี ๑ (อู่ทอง) จนถึงพระอาทิตยวงศ์ (พ.ศ. ๑๖๘๙๓ – ๒๑๗๒) ช่วงนม้ี ีระยะเวลาในการปกครองยาวนานมาก แต่มีวรรณคดีที่มีหลักฐานว่าเป็น วรรณคดีในช่วงสมัยน้ีท่ีตกทอดมาถึงปัจจุบันมีจานวนน้อย โดยมียุคสาคัญของวรรณคดีคือสมัยของ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสมเด็จพระเจา้ ทรงธรรม วรรณคดีสมยั อยุธยาตอนกลาง เริ่มในสมยั สมเด็จพระเจา้ ปราสาททองจนถึงสมเดจ็ พระ นารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๗๒ – ๒๒๓๑) ส่วนยคุ ทองของวรรณคดใี นชว่ งนีค้ อื สมยั สมเด็จพระ นารายณม์ หาราช วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย ท่ีเร่ิมขึ้นในสมัยสมเด็จพระเพทราชาจนถึงสมเด็จพระเจ้า เอกทัศ (พ.ศ. ๒๒๓๑ – ๒๓๑๐) และในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศถือเป็นช่วงวรรณคดีท่ี ร่งุ เรืองมาก

๒๔ สงั คมและการปกครองสมัยอยุธยา สิทธา พินิจภูวดล และปรียา หิรัญประดิษฐ์ (๒๕๕๕ : หน้า ๒–๓๖) ได้กล่าวถึงสังคมและ การปกครองในสมัยอยุธยาว่า เป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซ่ึงได้รับอิทธิพลมาจาก ขอม กษตั รยิ ม์ ีอานาจในการปกครองโดยสมบูรณ์ เปน็ ทั้งเจา้ ชีวติ และเจา้ ของแผน่ ดินท่ัวราชอาณาจักร แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะมีพระราชอานาจ แต่ก็มีหลักธรรมเป็นเคร่ืองยึดเหนี่ยวเพื่อให้ประพฤติไป ในทางที่สมควร และมีจัดรูปแบบการปกครองที่มีวิวัฒนาการมาโดยตลอด ในระยะแรกก่อนสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ การปกครองส่วนกลางหรือในราชธานีคือกรุงศรีอยุธยาและบริเวณ โดยรอบมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองโดยตรง โดยมีจตุสดมภ์คือเวียง วัง คลัง นา เป็นหลักในการ บริหาร ส่วนภูมิภาคจะมีการจัดแบ่งหัวเมืองเป็น ๓ ประเภทคือ เมืองเล็กๆ ท่ีอยู่ใกล้กรุงศรีอยุธยา (เมืองชั้นใน) พระมหากษัตริย์จะส่งขุนนางไปปกครองโดยขึ้นตรงกับเมืองหลวง เมืองท่ีอยู่ในดินแดน แถบกลางของอาณาจักร (เมืองลูกหลวงหรือเมืองหลาน) มีเจ้านายเช้ือพระวงศ์เป็นผู้ปกครอง และเมืองประเทศราช เป็นเมืองท่ีให้เจ้าเมืองเดิมเป็นผู้ปกครองอย่างอิสระ เพียงแต่ส่งเคร่ืองราช บรรณาการมาให้ตามเวลาท่ีกาหนด การปกครองในระยะแรกนี้จึงเป็นการกระจายอานาจไปให้ เจ้านายเช้ือพระวงศ์นั่นเอง มีการแผ่ขยายอาณาจักรโดยอาศัยการสงคราม การทูต การค้า และการ แต่งงาน ทาใหอ้ าณาจกั รอยุธยาแผ่ขยายกวา้ งขวาง สงั คมอยุธยานั้นเปน็ สงั คมกสิกรรม ที่มีพืชผลทางการเกษตร ของป่าเป็นผลิตผลหลัก และยัง มีการผลิตหัตถกรรมพื้นบ้านด้วย จัดเป็นสังคมที่มีเศรษฐกิจแบบเล้ียงตนเอง ส่วนรายได้ของประเทศ ไดม้ าจากสว่ ยอากรคอื ภาษีทเี่ กบ็ จากราษฎร และการทีร่ ฐั คา้ ขายกบั ตา่ งประเทศ สาหรับโครงสร้างของสังคมในสมัยอยุธยาซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้นานั้น สิทธา พินิจ ภูวดล และปรียา หิรัญประดิษฐ์ (๒๕๕๕ : หน้า ๒–๓๗) ได้อธิบายว่า โครงสร้างของสังคมสมัยน้ัน ประกอบด้วยเจ้านายขุนนาง ไพร่ ทาส ซ่ึงหากจะแบ่งชนช้ันแล้วแบ่งได้เป็น ๒ ชนชั้นใหญ่คือ ชนชั้น ปกครอง ได้แก่ พระมหากษตั รยิ ์ เจา้ นาย ขุนนางกับชนชั้นที่ถูกปกครอง ได้แก่ ไพร่ และทาส สาหรับ ชนช้ันปกครองน้ัน พระมหากษัตริย์ทรงอยู่สูงสุดของสังคมเป็นองค์อุปถัมภกของศาสนาพุทธอันเป็น ศาสนาทชี่ ่วยจรรโลงสังคมในสมยั อยธุ ยาไว้ เจ้านายเป็นชนชั้นท่ีมีอภิสิทธ์ิมาแต่กาเนิด แต่จะมีอานาจ มากน้อยเพียงใดขึ้นอย่กู บั ตาแหน่งทางราชการ กาลังคนในการควบคุมดูแล และความโปรดปรานของ องค์พระมหากษัตริย์ พวกขุนนางอยู่ในฐานะชนชั้นสูงเพราะเป็นบุคคลสาคัญในการบริหารราชการ ในขณะทีอ่ ยใู่ นราชการจะมีไพร่ในความควบคุมซึ่งเป็นประโยชน์ในการค้า จึงมีฐานะม่ังค่ัง ส่วนชนช้ัน ท่ีถูกปกครองนั้นประกอบไปด้วยไพร่ คือ ราษฎรสามัญ ซึ่งทุกคนจะต้องขึ้นทะเบียนสังกัดกับมูลนาย อันได้แก่ เจ้านายและขุนนาง ไพร่เป็นคนส่วนใหญ่ในอยุธยา ถือเป็นแรงงานสาคัญในการผลิตพืชผล ต่างๆ และยังเป็นกาลังพลให้กับกองทัพในยามศึกสงคราม ส่วนทาสเป็นชนส่วนน้อย มีทั้งกลุ่มท่ี สามารถซอ้ื อิสรภาพคนื ได้ และไม่มีสิทธิการซ้ืออิสรภาพ กลุ่มชนท่ีเป็นตัวเช่ือมระหว่างคน ๒ กลุ่มคือ พระสงฆ์ ซึ่งอาจจะเป็นชนชั้นผู้ปกครองหรือชนช้ันที่ถูกปกครองก็ได้ พระสงฆ์ทาหน้าที่เป็นครูสอน หนังสือและวิชาชีพต่างๆ ตลอดจนอบรมศีลธรรม และพุทธศาสนา เป็นส่ิงที่ช่วยสร้างความม่ันคง ให้แก่สังคมสมัยนี้

๒๕ กวีและวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนตน้ สิทธา พนิ ิจภวู ดล และปรยี า หิรญั ประดษิ ฐ์ (๒๕๕๕ : หน้า ๒–๔๑ – ๒-๕๒) ได้กล่าวถึงกวี และอธิบายถงึ ลกั ษณะของวรรณคดีในสมัยอยธุ ยาตอนตน้ พรอ้ มยกตัวอย่างดังนี้ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) เป็นกษัตริย์พระองค์แรกของกรุงศรีอยุธยา โดยมี วรรณคดีสาคัญในสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี ๑ (อู่ทอง) คือ ลิลิตโองการแช่งน้า ซ่ึงเป็นบทสวด ในพิธีกระทาสัตยส์ าบานตนต่อองค์พระมหากษัตริย์ เพราะพระมหากษัตริย์ย่อมต้องการความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจในการรบจากข้าราชการบริพารทหารกล้าทั้งหลายเพ่ือสร้างอาณาจักรและแผ่ขยาย อาณาเขตของกรงุ ศรีอยธุ ยาออกไปได้ วรรณคดเี รือ่ งนี้จึงเป็นเครื่องมือใช้ในการสร้างความม่ันคงให้แก่ ราชบลั ลังก์ อาณาจักร และเปน็ การยนื ยันในความซื่อสัตย์จงรกั ภักดี สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นองคอ์ ปุ ถัมภกสาคัญของวรรณคดีอีกพระองค์หน่ึงเน่ืองจาก ทรงพระปรีชาสามารถย่ิง ทรงสร้างความเจริญให้แก่บ้านเมือง ไม่ว่าจะเป็นการรวมอาณาจักรสุโขทัย กับอยุธยาให้เป็นหนึ่งเดียว ทรงแก้ไขการปกครองโดยแยกทหารกับพลเรือนออกจากกัน ทรงแบ่ง ฐานันดรศักด์ิเป็น พระยา หลวง พระ คุณ เป็นต้น ทรงมีพระราชศรัทธาที่เด่นชัดโดยทรงผนวชท่ีวัด จุฬามณีถึง ๘ เดือน และด้วยความที่สนพระทัยในพระพุทธศาสนา จึงโปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ ช่วยกันแต่งมหาชาติคาหลวง ซ่ึงเป็นเรื่องราวทางศาสนาที่มีอิทธิพลสาคัญต่อคนอยุธยาในสมัยน้ัน และ ลิลิตยวนพ่าย เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่กวีในสมัยพระองค์ได้แต่งข้ึน นอกจากน้ียังมีวรรณคดีท่ีผู้รู้ทาง วรรณคดีบางคนสันนษิ ฐานว่าแตง่ ในสมัยพระองค์อีกคือ ลิลติ พระลอ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เป็นองค์อุปถัมภกวรรณคดี เป็นกษัตริย์ท่ีตั้งม่ันอยู่ในทิศพิธราช ธรรม ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงรอบรู้พระไตรปิฎก ทรงเป็นกษัตริย์ที่ปรีชา สามารถ และมีความเมตตากรุณา และทรงใหน้ กั ปราชญร์ าชบณั ฑติ ชว่ ยกนั แตง่ กาพย์มหาชาติ สว่ นวรรณคดีในช่วงอยธุ ยาตอนต้นนี้ สิทธา พนิ ิจภูวดล และปรียา หิรัญประดิษฐ์ (๒๕๕๕ : หน้า ๒–๔๒ - ๒-๕๒) ได้อธิบายรายละเอยี ดของวรรณคดีไว้ดงั น้ี ๑. ลลิ ติ โองการแช่งน้า เป็นวรรณคดีท่ีมีการแต่งบทประพันธ์เป็นโคลงสี่ดั้นและร่ายโบราณ เป็นวรรณคดีที่พราหมณ์ใช้อ่านหรือสวดในพระราชพิธีถือน้าพระพิพัฒน์สัตยา ถือเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ใน ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เน่ืองจากเป็นการถือน้าหรือด่ืมน้าสาบานเพ่ือแสดงความซื่อสัตย์ ซอ่ื ตรง และจงรกั ภักดีต่อพระมหากษัตรยิ ์ วรรณคดเี รื่องนี้จึงเป็นวรรณคดีที่ใช้ในพิธีกรรมผู้รู้ส่วนใหญ่ สันนิษฐานว่าแต่งในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) เนื่องจากพระเจ้าแผ่นดินต้องการให้ไพร่ ฟา้ ขา้ แผน่ ดนิ จงรักภักดี จึงจาเป็นต้องมีพธิ ีถือน้าและคาแชง่ นา้ ๒. มหาชาติคาหลวง เป็นวรรณคดีท่ีสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้โปรดให้มีการประชุม นกั ปราชญ์ราชบัณฑติ โดยให้มกี ารแปลแต่งจากคาถาพัน เม่ือปีขาล จ.ศ. ๘๔๔ ถือเป็นวรรณคดีมหาชาติ ท่ีเก่าแก่ที่สุดของไทย มีความมุ่งหมายในการแต่ง อันเนื่องมาจากความเช่ือในการฟังเทศน์มหาชาติ (เร่ือง เวสสันดรชาดก) ว่าถ้าฟังจบท้ัง ๑๓ กัณฑ์ในคราวเดียวจะมีอานิสงส์แรงกล้า ตายแล้วได้จุติในสวรรค์ พระองค์จึงมีพระประสงคใ์ หป้ ระชาชนได้รับฟังเรอื่ งทางศาสนาดว้ ย ๓. ลิลิตยวนพ่าย เป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ไม่ปรากฏว่า แต่งเม่ือใด และใครเป็นผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ทรงเห็นว่า

๒๖ น่าจะแต่งในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เพราะกวีได้สรรเสริญพระปรีชาสามารถในด้านต่างๆ ของพระเจ้าแผ่นดิน รวมถึงการทาสงครามกับเชียงใหม่ และการได้รับชัยชนะ ซ่ึงผู้แต่งได้พรรณนา เรือ่ งอยา่ งละเอยี ด ๒.๔ ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของวรรณคดีลิลิต เพราะแต่ง อย่างดีวเิ ศษในดา้ นภาษา วรรณคดีเรือ่ งนี้กเ็ ชน่ เดยี วกบั วรรณคดใี นสมัยอยุธยาส่วนใหญ่คือ ไม่ปรากฏ หลกั ฐานแนน่ อนว่าใครเปน็ ผ้แู ต่งและแต่งในสมัยใด ข้อสันนิษฐานว่าใครเป็นผู้แต่งและแต่งในสมัยใดน้ัน สิทธา พินิจภูวดล และปรียา หิรัญ ประดิษฐ์ (๒๕๕๕ : หน้า ๒–๔๗) ได้อธิบายว่ามีผู้สันนิษฐานฝ่ายแรกสันนิษฐานว่าแต่งในสมัยพระ นารายณ์มหาราช โดยโปรดให้เจ้าฟ้าอภัยทศซึ่งดารงตาแหน่งยุพราชทรงนิพนธ์ เหตุท่ีเช่ือเช่นน้ัน เนื่องจากมีการอ้างในลิลิตว่า “มหาราชเจ้านิพนธ์” กับ “เยาวราชเจ้าบรรจง” แต่อีกฝ่ายหน่ึง สันนิษฐานว่าวรรณคดีเรื่องนี้แต่งสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเพราะ “มหาราช” ไม่จาเป็นต้อง หมายถงึ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชคาวา่ “มหาราช” เป็นคาที่คนรุ่นหลังยกย่องขึ้นและคาน้ีก็น่าจะ ใช้ไดก้ บั สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเช่นกัน นอกจากน้ี วรรณคดีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช น้นั ไม่มวี รรณคดีจาพวกลิลิตเลย นิยมแต่งฉันท์เป็นพื้น ภาษาที่ใช้ในลิลิตพระลอ ก็เป็นภาษาเก่ากว่า สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และยังมีคาเก่าๆ ที่มีปรากฏในมหาชาติคาหลวงอันเป็นวรรณคดี ก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชด้วย อนึ่ง การแต่งลิลิตน้ันนิยมกันมากในสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น ลิลิตโองการแช่งน้า ลิลิตยวนพ่าย เป็นต้น นอกจากน้ี ลิลิตพระลอ ยังมีสานวนภาษาคล้ายคลึง กัน คอื ยงั ไมย่ ดึ คณะและเอกโทเป็นสาคัญ สาหรับผู้แต่งนั้นนักวิชาการที่เช่ือว่าแต่งในสมัยสมเด็จพระ บรมไตรโลกนาถมีสันนิษฐานว่าผู้แต่งคือพระยุพราชทรงนิพนธ์ถวายพระบรมชนกนาถ ภายหลังได้ เป็นพระเจ้าแผ่นดินซึ่งอาจเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี ๓ หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ หรือ สมเดจ็ พระบรมราชาธิราชที่ ๔ (หนอ่ พทุ ธางกูร) กไ็ ด้ ๒.๕ ชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นวรรณคดีที่รวบรวมเร่ืองราวเก่ียวกับศาสนาไว้หลายเร่ือง มี ลักษณะการค้นคว้าคล้ายๆ กับไตรภูมิกถา โดยมีผู้แต่งคือท่านรัตนปัญญาเถระซ่ึงเป็นชาวเชียงใหม่ โดยแตง่ เป็นภาษาบาลี เม่อื ถึงสมยั กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ พระบาทสมเด็จพระพทุ ธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกลา้ ฯ ใหร้ าชบณั ฑติ แปลเป็นภาษาไทย ๒.๖ โคลงมังทราตีเชียงใหม่ หรือโคลงมังทรารบเชียงใหม่ เป็นวรรณคดีทางภาคเหนือ ไม่ ทราบแน่นอนวา่ ใครเป็นผแู้ ตง่ แตร่ ะบุชอ่ื ผ้คู ัดลอกคือสุรินทร์ ตน้ ฉบับเป็นตัวหนังสือฝักขาม เนื้อหาใน วรรณคดีกล่าวถึงเหตุการณ์ที่พม่ายกกองทัพเข้าตีเมืองเชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๕๐ – ๒๑๕๑ ซ่ึง ตรงกบั สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ผ้แู ตง่ ไดแ้ สดงความรูส้ ึกเศร้าเสียดายท่ีเมืองเชียงใหม่อันรุ่งเรืองต้อง สญู เสยี และมีรูปแบบคาประพนั ธ์เปน็ โคลงสี่สภุ าพ จานวน ๓๐๓ บท ๒.๗ กาพย์มหาชาติ เป็นวรรณคดีพุทธศาสนาเช่นเดียวกับมหาชาติคาหลวง กาพย์มหาชาติท่ี เป็นสานวนคร้ังกรุงเก่านั้นสูญหายมาก ท่ีค้นพบมีเพียง ๓ กัณฑ์ คือ กัณฑ์วนประเวศน์ กัณฑ์กุมาร และกัณฑ์สักรบรรพ เน้ือหาแต่ละกัณฑ์ก็เช่นเดียวกับมหาชาติคาหลวง แต่วิธีการแต่งแตกต่างกัน มี การยกคาถาภาษามคธแล้วแปลเป็นภาษาไทยด้วยร่าย โดยมีจุดมุ่งหมายให้พระสงฆ์ใช้เทศน์ให้ผู้ฟัง เข้าใจเปน็ สาคญั

๒๗ ๒.๘ โคลงกาสรวล วรรณคดีเรื่องนี้มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันคือ กาสรวลโคลงด้ัน โคลงกาสรวล ศรีปราชญ์ กาสรวลศรีปราชญ์ นิราศนครศรีธรรมราช นิราศศรีปราชญ์ กาสรวลสมุทร สาหรับผู้แต่ง และสมัยท่ีแต่งยังคงเป็นท่ีสงสัยกันอยู่และมีผู้สันนิษฐานไว้ต่างๆ กัน ส่วนจุดมุ่งหมายในการแต่ง ผู้ แตง่ ไดร้ ะบคุ วามประสงคไ์ ว้ว่า ต้ังใจแต่งให้แก่นางที่รัก โดยราพันถึงความอาลัยอาวรณ์ที่ต้องจากนาง เน้ือความเร่ิมจากสดุดีกรุงศรีอยุธยาว่าเจริญรุ่งเรืองแล้ว จึงกล่าวถึงการเดินทางไปตามลาน้าผ่าน ตาบลตา่ ง ๆ และมีลักษณะคาประพนั ธ์เป็นโคลงดั้นบาทกุญชร มีรา่ ยดน้ั นาอย่เู พยี งบทเดยี ว ๒.๙ โคลงทวาทศมาส เปน็ วรรณคดีท่บี อกชอื่ ผ้แู ต่งไว้ท้ายเรือ่ ง แต่ช่ือนั้นเป็นชื่อในทาเนียบ บรรดาศักด์ิข้าราชการ จึงต้องสันนิษฐานกันอีกว่าคือใครและแต่งในสมัยใด เป็นวรรณคดีที่ผู้แต่ง ประสงค์จะให้เป็นการเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ และเพื่อแสดงความสามารถในเชิงกวีของผู้ แต่งเองท่ีใช้กลวิธีคร่าครวญถึงนางตามกาลเวลา โดยเร่ิงเร่ืองด้วยการไหว้พรหม พระนารายณ์ พระ ศิวะ และเทพยดาท้ังหลาย สดุดีพระมหากษัตริย์ แล้วกล่าวถึงนางผู้เป็นท่ีรักโดยใช้ฤดูกาลเป็นหลัก เริ่มต้ังแต่เดือนห้าไปจนครบ ๑๒ เดือน และยังกล่าวถึงพิธีต่างๆ ท่ีปฏิบัติในแต่ละเดือน ตอนสุดท้าย กล่าวสรรเสริญบารมีพระมหากษัตริย์ อันเป็นขนบการแต่งของวรรณคดีสมัยโบราณ ส่วนรูปแบบคา ประพันธท์ ่ีใชเ้ ป็นโคลงดั้นวิวิธมาลี ๒๕๙ บท และบทสุดท้ายคือบทท่ี ๒๖๐ เป็นร่ายสุภาพส้ันๆ โคลง ทวาทศมาส แต่งด้วยคาประพนั ธท์ ี่ไพเราะและเป็นต้นแบบของคาประพันธเ์ รื่องอนื่ ๆ ในสมยั ตอ่ มา ๒.๑๐ โคลงนิราศหริภุญชัย เป็นโคลงนิราศเรื่องแรก สันนิษฐานว่าแต่งราว พ.ศ. ๒๐๖๐ เริ่มเร่ืองจากการลงพระพุทธสิหิงค์ ขอพรพระเจ้าเม็งรายแห่งเชียงใหม่แล้วกล่าวถึงการเดินทางไป นมัสการพระธาตุหริภุญชัย คร่าครวญอาลัยถึงนางผู้เป็นท่ีรักชื่อ “ทิพ” กวีกล่าวถึงเส้นทางท่ีผ่านใน ระหว่างการเดินทางตั้งแต่ออกจากเชียงใหม่จนไปถึงลาพูน กล่าวชมพระธาตุหริภุญชัย ชมการแสดง งานสมโภช แล้วกลับเชียงใหม่ในวันรุ่งขึ้น วรรณคดีเร่ืองนี้แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ มีภาษาเหนือ สอดแทรก ถ้อยคาภาษาท่ีพรรณนาซาบซึ้ง และจัดได้ว่าเป็นแบบอย่างของนิราศรุ่นหลังๆ อีกเร่ือง หนง่ึ ลักษณะวรรณคดสี มยั อยธุ ยาตอนต้น สทิ ธา พนิ จิ ภูวดล และปรยี า หิรัญประดษิ ฐ์ (๒๕๕๕ : หนา้ ๒-๕๓ – ๒-๕๔) ไดก้ ล่าวถึงการ พิจารณาลักษณะวรรณคดีท่ีตกทอดมาถึงปัจจุบันว่า อาจจะกระทาได้ไม่สมบูรณ์เต็มท่ี เนื่องจากมี วรรณคดีที่ตกทอดมาเพียงบางส่วนเท่าน้ัน แต่จากเรื่องเหล่านั้นก็พอจะเห็นลักษณะของรูปแบบ ภาษา และเนือ้ หา ดงั นี้ ๑. รปู แบบของวรรณคดีสมัยอยธุ ยาตอนต้น วรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนต้นมีรูปแบบการประพันธ์ที่แต่งด้วย โคลง ร่าย และฉันท์ โดยมี ลักษณะที่น่าสังเกตคือ วรรณคดีสมัยอยุธยาส่วนใหญ่ไม่นิยมแต่งคาประพันธ์ชนิดใดชนิดหนึ่งโดด ๆ แต่จะมีคาประพันธ์ชนิดอื่นปะปนด้วย ในช่วงอยุธยาตอนต้น คาประพันธ์ประเภทโคลงเป็นคา ประพันธ์ท่ีนิยมแต่งมาก ท้ังโคลงด้ันและโคลงสุภาพ และยังนิยมเรียบเรียงให้เป็นลิลิตด้วย คือการ เอาโคลงมาแตง่ ปนกับร่าย โดยสง่ สัมผสั ถงึ กัน ลิลิตในสมัยอยุธยาตอนต้นได้แก่ ลิลิตโองการแช่งน้าใช้ โคลงกับร่าย ลิลิตยวนพ่าย ใช้โคลงด้ันบาทกุญชรกับร่ายด้ัน และลิลิตพระลอใช้โคลงส่ีสุภาพกับ ร่ายสภุ าพ นอกจากน้ียงั มีวรรณคดีทแ่ี ต่งดว้ ยโคลงอีกหลายเร่ืองได้แก่ โคลงกาสรวล แต่งด้วยโคลงดั้น

๒๘ บาทกุญชรโดยมีร่ายนาอยู่ ๑ บท โคลงทวาทศมาสใช้โคลงดั้นวิวิธมาลี แล้วลงท้ายด้วยร่ายสุภาพ โคลงนริ าศหริภุญชัย แต่งด้วยโคลงสส่ี ุภาพ โคลงมังทราตเี ชียงใหม่ แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ ส่วนร่ายเป็นคาประพันธ์ท่ีมักใช้แต่งร่วมกับคาประพันธ์ชนิดอื่น โดยเฉพาะโคลง วรรณคดีที่ ใช้ร่ายแต่งมักเป็นวรรณคดที เ่ี ก่ียวกับศาสนา เชน่ กาพยม์ หาชาติ มหาชาติคาหลวง เป็นวรรณคดีท่ีสาคัญอีกเล่มหนึ่งที่แปลคาถาพันมาเป็นภาษาไทยด้วยคา ประพนั ธ์หลายชนิด ไดแ้ ก่ โคลงดน้ั รา่ ยดัน้ รา่ ยยาว ร่ายโบราณ โคลงสุภาพ กาพย์ และฉันท์บางชนิด รวมอยู่ในเน้ือหาทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ส่วนคาประพันธ์ที่มีเฉพาะในกัณฑ์ทศพร วนประเวศน์ ชูชก มหาพน กุมาร มัทรี มหาราช และนครกัณฑ์ ซึ่งเป็นกัณฑ์ท่ีสันนิษฐานกันว่าเป็นบทประพันธ์สมัยอยุธยา โดย ส่วนใหญ่จะใชร้ ่ายเปน็ รูปแบบคาประพนั ธห์ ลัก จึงกล่าวได้ว่า รูปแบบคาประพันธ์ที่นิยมใช้ในการแต่งวรรณคดีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น คือโคลงและร่าย ๒. ภาษา ลักษณะของภาษาในวรรณคดสี มยั อยธุ ยาตอนต้น มีการใช้ภาษาโบราณ ภาษาถิ่น ภาษาบาลี สันสกฤต และภาษาเขมร ปะปนอยู่ เช่น ลิลิตโองการแช่งน้า มีภาษาโบราณภาษาเหนือปะปนอยู่มาก และภาษาที่มีอิทธิพลมากคือภาษาเขมรและภาษาบาลีสันสกฤต ลิลิตโองการแช่งน้าและลิลิตยวนพ่ายมี ลักษณะคล้ายกันตรงท่ีมีภาษาบาลีสันสกฤตในช่วงแรก ส่วนมหาชาติคาหลวงเป็นวรรณคดีที่ใช้คาบาลี สันสกฤตปะปนตลอดเร่ือง เช่นเดียวกับโคลงกาสรวลก็มีการใช้คาภาษาบาลีสันสกฤตปนกับคาไทยและ คาเขมรตลอดเร่ืองเช่นกัน ลักษณะภาษาในวรรณคดีช่วงอยุธยาตอนต้นน้ี แม้จะมีสุนทรียะทางภาษาที่มี การพรรณนา การใช้ความเปรียบเทียบที่ไพเราะ สามรถเป็นแบบอย่างในการประพันธ์แก่กวีในยุคต่อๆ มา แต่ด้วยการใช้ภาษาบาลีสันสกฤตท่ีปะปนอยู่ในการแต่งมากจึงทาให้ผู้อ่านโดยท่ัวไปเข้าถึงวรรณคดี ตา่ ง ๆ คอ่ นข้างยาก (สทิ ธา พินิจภวู ดล และปรยี า หริ ญั ประดิษฐ์. ๒๕๕๕ : หนา้ ๒–๕๔) ๓. เนื้อหา สิทธา พินิจภูวดล และปรียา หิรัญประดิษฐ์ (๒๕๕๕ : หน้า ๒–๕๔) ได้อธิบายถึงเน้ือหาท่ี ปรากฏในวรรณคดีสมยั อยธุ ยาตอนตน้ วา่ มีเนอ้ื หาหลากหลาย ไดแ้ ก่ วรรณคดีท่ีใช้ในพิธีกรรม คือวรรณคดีเร่ือง ลิลิตโองการแช่งน้า ซึ่งเขียนเป็นภาษาไทยแต่ใช้ ตัวอักษรขอมบรรจง สันนิษฐานกันว่าผู้แต่งเป็นพราหมณ์ ใช้อ่านในพิธีถือน้าพระพิพัฒน์สัตยา ที่ บรรดาข้าราชบริพารจะต้องเข้าร่วมพิธี วรรณคดีเร่ืองนี้สร้างข้ึนเพ่ือสร้างความม่ันคงแก่อาณาจักร อยธุ ยา เพราะเปน็ สว่ นหน่ึงของพธิ ีดมื่ น้าสาบานเพ่ือสาปแช่งผู้ที่ไม่ซ่ือตรงต่อกษัตริย์ และอวยพรต่อผู้ ทีซ่ อ่ื ตรงและภกั ดี พิธีลกั ษณะนป้ี รากฏในวรรณคดสี โุ ขทยั เชน่ กัน วรรณคดที ี่สดุดีพระมหากษัตริย์ และเล่าเหตุการณ์ประวัติศาสตร์คือวรรณคดีเร่ือง ลิลิตยวน พา่ ย ซง่ึ แตง่ เพอ่ื ยอพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และบรรยายถึงการทาศึกสงครามระหว่าง ไทยกับลา้ นนาอยา่ งละเอียด โคลงนิราศหริภุญชัย เป็นวรรณคดีอีกเร่ืองหน่ึงที่เล่าเกี่ยวกับการสมโภช พระธาตุหริกุญชัย โดยกวีคร่าครวญถึงนางผู้เป็นที่รักขณะเดินทางไปนมัสการพระธาตุ นอกจาก เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในอาณาจักรอยุธยาแล้ว ยังมีวรรณคดีภาคเหนือท่ีบันทึกเหตุการณ์ในคร้ังที่ พมา่ ยกทพั มาตเี มืองเชียงใหม่ดว้ ย

๒๙ วรรณคดีศาสนาและคาสอน ได้แก่วรรณคดีเร่ือง มหาชาติคาหลวงและกาพย์มหาชาติ ทั้ง สองเร่อื งนคี้ ือ เรอ่ื งเวสสนั ดร เปน็ ชาติที่พระโพธิสัตว์บาเพ็ญบารมีถึงขั้นสูงสุด ซึ่งถือเป็นประเพณีการ เทศน์ท่ีมีมานาน และเชื่อกันว่าเรื่องมหาชาติที่เก่าท่ีสุด ได้แก่ มหาชาติคาหลวง ครั้นในสมัยสมเด็จ พระเจ้าทรงธรรม ทรงเห็นว่า มหาชาติคาหลวง มีคาแปลภาษาไทยที่ส้ันเกินไป จึงทรงให้นักปราชญ์ เรียบเรียงขึน้ ใหม่คือเรือ่ ง กาพย์มหาชาติ วรรณคดีท่ีมีเนื้อหาเป็นนิทานนิยาย คือวรรณคดีเรื่อง ลิลิตพระลอ อันเป็นวรรณคดีที่ได้รับ ยกย่องว่าเป็นยอดแห่งลิลิต เชื่อว่าเป็นเร่ืองท่ีมาจากนิยายพื้นบ้านภาคเหนือ และเป็นนิยายประเภท โศกนาฏกรรมเรื่องแรกในวงวรรณคดีไทย มีความดีเด่นในด้านคาประพันธ์อย่างมาก เพราะให้ความ ไพเราะทั้งเสียงและความหมาย คาประพนั ธ์ในลลิ ติ พระลอไดร้ ับการอ้างอิงถึงในหนังสือจินดามณี โดย ยกตัวอยา่ งในการแต่งคาประพันธ์ วรรณคดีที่แสดงถึงอารมณ์และความรู้สึกของกวี มีหลายเรื่อง เช่นวรรณคดีเรื่อง โคลง กาสรวล โคลงทวาทศมาส โคลงนิราศหริภุญชัย กวีได้คร่าครวญถึงนางผู้เป็นที่รักเนื่องจากต้องพราก จากกนั ซง่ึ เรยี กในระยะหลงั ๆ ว่า วรรณคดนี ิราศ สาหรบั วรรณคดีร้อยแก้วนน้ั ในช่วงอยุธยาตอนต้นมีวรรณคดีสาคญั คือตาราพชิ ัยสงคราม บทสรปุ คนไทยในสมัยสุโขทัยหลังจากพ้นอานาจขอมแล้ว กษัตริย์ไทยในราชวงศ์พระร่วงทรงเผชิญ ภาระหนักด้านปัญหาความเป็นปึกแผ่นมั่นคงและการสร้างเอกลักษณ์ของชาติในสมัยพ่อขุน รามคาแหงมหาราช อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดต่อเนื่องมาจนถึงรัชสมัยพระยาลิไทย ซง่ึ คนไทยมีความรทู้ างพุทธศาสนาอย่างลกึ ซ้ึง ครนั้ ถึงปลายสมัยสุโขทัยได้รวมกับอาณาจักรอู่ทองซ่ึงมี กรงุ ศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในส่วนของวรรณคดีในสมัยสุโขทัย ส่วนใหญ่เป็นวรรณคดีร้อยแก้ว มีเน้ือหาที่ สอคล้องกับสภาพสังคมตั้งแต่เริ่มต้ังตัวสร้างความเป็นปึกแผ่น ดังนั้นวรรณคดีส่วนใหญ่จึงเป็นบันทึก เรื่องราวต่างๆ ท่ีเกิดขึ้นในสังคม เริ่มด้วยประวัติการก่อตั้งอาณาจักสุโขทัย ประวัติศาสนาของไทยซ่ึงเป็น หลกั ในการปกครอง นอกจากน้ี วรรณคดียังมีเน้ือหาเป็นคาสอน คาเทศน์ และสัตยาธิษฐานอีกด้วย และมี วรรณคดีท่ีสาคัญ ได้แก่ ศิลาจารึกหลักท่ี ๑ ของพ่อขุนรามคาแหงมหาราชซึ่งสะท้อนเหตุการณ์ทาง ประวีติศาสตร์ในยุคที่อาณาจักสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด สุภาษิตพระร่วง ซึ่งรวบรวมคาส่ัง สอนที่มีคุณค่าในสมัยสุโขทัยและไตรภูมิพระร่วง วรรณคดีปรัชญาซ่ึงมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิด จารีตประเพณี ตลอดจนอุดมการณ์แห่งชวี ติ ของคนไทยในสมยั สุโขทยั และในยุคต่อมา สมัยอยุธยา มสี ภาพสังคมและการปกครองท่ีปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และ มีการปรับปรุงเปล่ียนแปลงมาตลอดระยะเวลา ๔๐๐กว่าปี เพื่อความมั่นคงของรัฐและการแผ่ขยาย อาณาจักร โครงสร้างของสังคมแบ่งเป็น ๒ ชนชัน้ คือ ผู้ปกครอง ไดแ้ ก่ กษัตริย์ เจ้านาย และขุนนาง ผู้ ถูกปกครองคือ ไพร่ และทาส ท้ัง ๒ ชนช้ันน้ีมีความสัมพันธ์กันภายใต้ระบบอุปถัมภ์ ชาวอยุธยายึด อาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ในขณะเดียวกันก็มีการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศใดและเป็นเพ่ือ ผูกขาด สภาพเหตุการณ์บ้านเมืองสมัยอยุธยาช่วง พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๒๑๗๒ มีปัจจัยท่ีมีผลต่อวรรณคดี คือการแผ่ขยายอาณาเขต การแย่งชิงราชสมบัติ และการตกเป็นประเทศราช ทาให้วรรณคดีไทยที่สืบ

๓๐ ทอดตอ่ มามีไมม่ ากนกั โดยมีวรรณคดีท่รี จู้ ักกนั สมัยอยธุ ยาตอนต้น ไดแ้ ก่ ลิลิตโองการแช่งน้า ท่ีใช้เป็น บทสวดในพธิ ีดื่มน้าสาบานมหาชาตคิ าหลวงและกาพย์มหาชาติ อนั เป็นเร่ืองของการบาเพ็ญบารมีของ พระพุทธองค์ลิลิตยวนพ่ายซึ่งสรรเสริญพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ลิลิตพระลอ อันเป็น เรื่องบันเทิงท่ีได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดวรรณคดีลิลิต นอกจากนี้ยังมี ชินกาลมาลีปกรณ์ โค ลงมงั ทราตีเชยี งใหม่ สาหรับวรรณคดีท่ีไม่ทราบสมัยที่แต่งแน่นอน แต่ถ้อยคาสานวนละม้ายวรรณคดี ในสมัยอยุธยาตอนต้นมีหลายเรื่อง เช่น โคลงกาสรวล ทวาทศมาส และโคลงนิราศหริภุญชัย องค์ อุปถัมภ์วรรณคดีที่สาคัญคือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และ สมเดจ็ พระเจ้าทรงธรรม ลักษณะคาประพนั ธ์ทนี่ ิยมแต่งในชว่ งอยุธยาตอนต้นคือโคลงและร่าย เนื้อหาประกอบไปด้วย เร่ืองราวเก่ียวกับศาสนา สดุดีพระมหากษัตริย์ เล่าเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ นิทาน นิยาย เร่ือง แสดงความรู้สึกของกวี และเนื้อหาที่ใช้ในพิธีกรรม ลิลิตโองการแช่งน้า เป็นวรรณคดีที่แสดงถึงความ เชื่อของคนในสมัยอยุธยาตอนต้น และช้ีให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ และผีที่กลมกลืนกัน เป็นเรื่องท่ีมีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองเรื่องหน่ึง ลิลิตยวนพ่าย เป็น วรรณคดีท่ีตีแผ่พระจริยวัตรและพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ออกมาอย่างชัดเจน ในยังให้ ข้อมูลเก่ียวกับประวัติศาสตร์ที่ละเอียดและน่าสนใจ ส่วนโคลงกาสรวลก็เป็นวรรณคดีที่ไพเราะเป็น แบบอยา่ งของวรรณคดีประเภทนิราศในสมยั ต่อมา

๓๑ คาถามทา้ ยบท ๑. ลักษณะของวรรณคดีสมัยสุโขทัยเปน็ อยา่ งไร อธบิ ายโดยสรุป ๒. ตัวอย่างวรรณคดที ่ีสาคญั ในสมัยสุโขทยั มีอะไรบ้าง ยกตัวอยา่ งมาโดยสรปุ ๓ เร่อื ง ๓. สภาพสงั คมและการปกครองในสมัยอยุธยาเปน็ อย่างไร ๔. คาประพนั ธ์ท่ีนิยมแตง่ ในสมยั อยธุ ยาตอนต้นคือคาประพันธช์ นิดใด

๓๒ เอกสารอา้ งองิ กุหลาบ มัลลิกะมาส. ๒๕๑๗. วรรณคดไี ทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาไทย มหาวทิ ยาลยั รามคาแหง. กมล การกศุ ล. ๒๕๒๐. วรรณคดนี ริ าศ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พฆิ เณศ. ฉ่า ทองคาวรรณ. ๒๕๑๔. ศลิ าจารึกสุโขทัยหลักท่ี ๑. พระนคร : มหาวทิ ยาลัยรามคาแหง. ชลธิรา สัตยาวัฒนา. ๒๕๒๔. วฒั นธรรมทางวรรณศิลป์ในสมัยอยุธยาตอนตน้ . สานกั พิมพน์ วลจันทร.์ ชลธิรา กลัดอยู่ และสุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร. ๒๕๑๗. วิวัฒนาการของวรรณคดีไทย. โรงพิมพอ์ กั ษรสยาม. ถนอม อานามวัฒน์ และคณะ. ๒๕๒๒. ประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยเริ่มแรกจนถึงสิ้นอยุธยา. พมิ พ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : แสงรงุ้ การพิมพ์. นิตยา กาญจนะวรรณ. ๒๕๑๕. วรรณกรรมอยุธยา. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง. ลัลลนา ศิริเจริญ. ๒๕๒๐. หนังสืออ่านนอกเวลา: โคลงกาสรวล ลิลิตยวนพ่าย สมุทรโฆษคาฉันท์ กาพยเ์ ห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธเิ บศร์. กรงุ เทพฯ : คณะมนษุ ยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง. วันเนาว์ ยูเดน็ . ๒๕๒๗. ประวัตวิ รรณคดสี โุ ขทัยและอยธุ ยา. กรงุ เทพฯ : ไทยวัฒนาพานชิ . สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ๒๕๕๕. เอกสารการสอนชุดวิชา วรรณคดีไทย หน่วยที่ ๑ – ๗ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๑).พิมพ์ครั้งท่ี ๒. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช. สทิ ธา พินจิ ภวู ดล. ๒๕๒๕. วรรณกรรมสุโขทัย. พระนคร. ไทวัฒนาพานชิ . สิทธา พินิจภูวดล และนิตยา กาณจนะวรรณ. ๒๕๒๐. ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย. พระนคร : ดวงกมล. สิทธา พินิจภูวดล และปรียา หิรัญประดิษฐ์. ๒๕๕๕. เอกสารการสอนชุดวิชา วรรณคดีไทย หน่วยท่ี ๑ – ๗ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๑). พิมพ์คร้ังท่ี ๒. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธิราช.. หน้า ๒–๑ – ๒–๖๗. สินชัย กระบวนแสง. ๒๕๒๐. ประวัตศิ าสตร์สุโขทัย. พิษณโุ ลก : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรว์ ิโรฒ. สนุ ยี ์ ศรณรงค.์ ๒๕๑๖. “การวิเคราะหว์ รรณคดเี รอ่ื งกาสรวลศรีปราชญ์” ปริญญานิพนธ์ วิทยาลัย วชิ าการศึกษาประสานมิตร. สุเนตร ชุตินรานนท์. ๒๕๒๒. “ลิลิตโองการแช่งน้าและพระราชพิธีถือน้าพิพัฒน์สัตยา” วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ ๙ เล่ม ก.ค. – ก.ย. หน้า ๓๒ – ๕๒. เอมอร ชติ ตะโสภณ. ๒๕๒๕. วรรณกรรมลลิ ิต. กรุงเทพฯ : มติ รนราการพิมพ.์

๓๓ แผนบริหารการสอนประจาบทท่ี ๓ วรรณคดสี มยั อยุธยา พ.ศ. ๒๑๗๒ – ๒๓๑๐ หัวข้อเนือ้ หาประจาบท ๑. วรรณคดสี มยั อยธุ ยาตอนกลาง พ.ศ. ๒๑๗๒ – ๒๒๓๑ ๒. วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย พ.ศ. ๒๒๓๑ – ๒๓๑๐ วตั ถุประสงคเ์ ชงิ พฤติกรรม เพ่อื ใหน้ กั ศึกษาสามารถ ๑. บอกชอื่ วรรณคดีและกวีในสมัยอยธุ ยา พ.ศ. ๒๑๗๒ – ๒๓๑๐ ได้ ๒. อธิบายเกย่ี วกบั วรรณคดสี าคญั สมัยอยุธยา พ.ศ. ๒๑๗๒ – ๒๓๑๐ ได้ ๓. วิเคราะหว์ รรณคดที ีก่ าหนดให้ได้ ๔. แสดงความเห็นเก่ียวกบั วรรณคดีท่ีกาหนดให้ได้ ๕. บอกสภาพชวี ติ และสังคมจากวรรณคดีที่กาหนดให้ได้ กจิ กรรมการเรียนการสอนประจาบท ๑. การบรรยายประกอบสอ่ื บรรยาย ๒. การศึกษาเอกสารประกอบการสอน ๓. ปฏบิ ัตกิ จิ กรรมตามทไี่ ด้รับมอบหมายในเอกสารการสอน ๔. ตอบคาถามทา้ ยบท สือ่ การสอน ๑. เอกสารประกอบการสอน ๒. Power Point เรอ่ื งวรรณคดสี มัยอยธุ ยา พ.ศ. ๒๑๗๒ – ๒๓๑๐ การประเมินผล ๑. สังเกตความสนใจ และความตัง้ ใจเรียน ๒. การมสี ่วนรว่ มในชั้นเรียน ๓. ประเมนิ ผลจากกิจกรรมและแนวตอบทา้ ยเร่ือง

๓๔ บทท่ี ๓ วรรณคดีสมยั อยธุ ยา พ.ศ. ๒๑๗๒ – ๒๓๑๐ บทนา สมัยอยุธยาตอนกลาง พ.ศ. ๒๑๗๒ – ๒๒๓๑ เป็นช่วงท่ีบ้านเมืองสงบสุข วรรณคดีไทยใน สมัยนี้จึงมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นยุคที่มีการสร้างสรรค์วรรณคดีจานวนมากเพราะพระมหากษัตริย์ ทรงเปน็ กวแี ละเป็นองคอ์ ปุ ถมั ภก คาประพันธ์ที่นิยมมากคือโคลงและฉันท์ เน้ือหาที่แต่งมีหลากหลาย มีแต่เร่ืองบันเทิงมากท่ีสุด เช่นเดียวกับวรรณคดีในสมัยอยุธยา พ.ศ. ๒๒๓๑ – ๒๓๑๐ มีวรรณคดี หลายเร่ืองท่แี ตง่ ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กวีสาคัญคือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ คาประพันธ์ท่ีแต่งมีทั้ง โคลง ฉันท์ กาพย์และกลอน เน้ือหาท่ีแต่งเป็นเรื่องศาสนาและบันเทิงเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม วรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนกลางมีข้อเด่นหลายประการ เช่น เป็นเครื่องมือในการปกครอง เป็น ต้นแบบของวรรณคดีในสมัยหลัง แสดงถึงความสามรถในการปรับเปล่ียนวัฒนธรรมท่ีได้รับมาให้เข้า กับคนในยคุ สมัยของตนเอง นอกจากนน้ั ยังแสดงสภาพชีวิตและสังคมได้ สภาพเหตกุ ารณบ์ ้านเมืองที่มีอทิ ธพิ ลต่อวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง ปรียา หิรัญประดิษฐ์ (๒๕๕๕ : ๓–๑ – ๓–๗) ได้กล่าวถึงสภาพเหตุการณ์บ้านเมืองในช่วง อยธุ ยาตอนกลางโดยเร่ิมต้ังแต่ พ.ศ. ๒๑๗๒-๒๒๓๑ จากรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองจนถึงส้ิน รัชกาลสมเด็จพระนารายณม์ หาราช ในแตล่ ะรชั กาลมีเหตกุ ารณส์ าคัญท่มี ีอิทธิพลตอ่ วรรณคดีดังนี้ สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สมเด็จพระเจ้าปราสาททองเดิมเป็นขุนนางชื่อออกญา ศรีวรวงศ์ ในระหว่างท่ีรับราชการ ออกญาศรีวรวงศ์ได้ชักชวนให้ออกญาเสนาภิมุข เจ้ากรมอาสา ญี่ปุ่น สนับสนุนพระเชษฐาธิราชซึ่งเป็นพระราชโอรสพระเจ้าทรงธรรมขึ้นครองราชย์ และได้ทรง แตง่ ต้ังใหอ้ อกญาศรีวรวงศ์เป็นออกญากลาโหม ภายหลังพระเชษฐาธิราชทรงไม่ไว้วางพระทัยออกญา กลาโหม ออกญากลาโหมจึงถอื โอกาสกาจดั พระเชษฐาธิราช และสถาปนาพระอาทิตยวงศ์ พระอนุชา ของพระเชษฐาธิราชซ่ึงมีพระชนมายุ ๑๐ พรรษาข้ึนครองราชย์โดยตนเองเป็นผู้สาเร็จราชการแทน ต่อมาพระอาทิตยวงศ์ถูกปลงพระชนม์ ขุนนางท้ังหลายจึงเลือกออกญากลาโหมเป็นกษัตริย์ ทรงพระ นามว่าสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๒๑๗๒ เหตุการณ์บ้านเมืองในช่วงนี้ ขุนนางมีอานาจมากและมีแต่การแย่งชิงราชบัลลังก์ พระเจ้าปราสาททองไม่ไว้วางพระทัยพวกญ่ีปุ่น เน่ืองจากมขี ่าวลือวา่ จะก่อการกาเรบิ จงึ มรี บั ส่ังให้จุดไฟเผาหมู่บ้านญีป่ ุ่นและระดมยิงเข้าไปในหมู่บ้าน ใน พ.ศ. ๒๑๗๕ ทาใหช้ าวญ่ีปนุ่ ท่เี คยทามาหากินอยู่ในกรุงศรีอยุธยาอพยพออกนอกประเทศเป็นส่วน ใหญ่ การท่ีญี่ปุ่นอพยพออกจากไทยส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เพราะการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นได้ หยดุ ชะงักลง พระเจ้าปราสาททองจึงทรงเปลี่ยนนโยบายเป็นมิตรกับญี่ปุ่นใหม่โดยส่งทูตไปเจริญราช ไมตรกี บั ญี่ปุ่นถงึ ๒ คร้งั แตญ่ ปี่ ่นุ ไมย่ อมรับ ความสัมพนั ธ์กับญี่ปุ่นจงึ หยดุ ลงเพียงเท่านั้น หลังจากท่ีพระเจ้าปราสาททองสวรรคตใน พ.ศ.๒๑๙๙ กษัตริย์องค์ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าฟ้า ไชย ข้ึนครองราชย์เพียง ๓-๔ วัน ก็ถูกปลงพระชนม์โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกับพระสุธรรม

๓๕ ราชาผเู้ ป็นพระเจ้าอา หลังจากนั้นพระสุธรรมราชาข้ึนครองราชย์เป็นสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาได้ ๒ เดือน สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงยึดอานาจแล้วจับสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาสาเรจ็ โทษ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขึ้นครองราชย์สมบัติในปี พ.ศ. ๒๑๙๙ จนถึง พ.ศ. ๒๒๓๑ รวมระยะเวลาท้ังหมด ๓๒ ปี ในช่วงทศวรรษแรกน้ันมีศึกสงครามกับอาณาจักรล้านนาหรือเมือง เชยี งใหม่ โดยครัง้ แรกพระองค์ยกไปตีเชียงใหม่แต่ไม่สาเร็จ ในคร้ังท่ี ๒ พ.ศ. ๒๒๐๕ จึงตีเชียงใหม่ได้ ส่วนพม่าได้ยกทัพมาไทยโดยอ้างว่าติดตามครอบครัวมอญท่ีลี้ภัยสงครามเข้ามา ซึ่งไทยก็ได้ตีพม่าจน แตกพา่ ยกลับไป และไทยได้ยกทัพไปตีเมืองพุกามของพม่าแต่ไม่สามารถเอาชนะพม่าได้ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนี้ มีการสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกับฝรั่งเศสมีการส่งทูตไปเจริญไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ท่ี ๑๔ และทางฝร่ังเศสได้ส่งสังฆราช และบาทหลวงมาเผยแพรค่ ริสต์ศาสนาดว้ ย และเปน็ ยุคสมัยที่มีความเจริญด้านการค้ากับต่างประเทศ มาก โดยมีผู้ว่าราชการฝา่ ยการคา้ และการต่างประเทศคือเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ ซ่ึงเดิมช่ือฟอลคอน เป็นชาวกรีกท่ีอาศัยเรือสินค้าเข้ามาแล้วมารับราชการจนเป็นท่ีโปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช นอกจากนี้ยังชาวต่างชาติท่ีมาอาศัยอยู่ในไทย เช่น ชาวจีน ชาวอิหร่าน และยังให้อิสระท่ีใน การเดนิ เรอื ไปค้าขายยงั ทต่ี า่ ง ๆ ที่ไกลออกไป เช่น จนี ญ่ปี ุ่น หม่เู กาะอนิ โดนเี ซยี เปน็ ตน้ อย่างไรก็ตามการค้าต่างประเทศเหล่าน้ีเป็นสาเหตุที่ทาให้เกิดข้อพิพาทกันในเรื่องของ ผลประโยชน์ทางการค้า เร่ิมจากปี พ.ศ. ๒๒๐๗ ท่ีฮอลันดาได้ส่งเรือรบไล่จับสินค้าไทย และได้ตกลง ทาสนธิสัญญาทางการค้ากับไทยโดยได้สิทธิทางการค้าไม่จากัดเขตและการผูกขาดการค้าหนังสัตว์ใน พ.ศ. ๒๒๓๐ ขัดแย้งทางการค้าระหว่างไทยกับอังกฤษในกรณีเมืองมะริด เพราะไทยมีความสัมพันธ์ กับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงให้ความเกื้อกูลศาสนาอ่ืน ๆ ด้วย ได้แก่ ศาสนาอสิ ลาม ศาสนาคริสต์ กล่าวได้ว่าเหตุการณ์บ้านเมืองในสมัยน้ีค่อนข้างจะสงบ แม้จะมีการแย่งชิงราชบัลลังก์ ระหว่างกษัตริย์ แต่เหตุการณ์ก็ไม่ยืดเยื้อเป็นเวลานาน ในส่วนความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับต่างประเทศก็ มิได้เป็นเรื่องใหญ่โตจนบานปลาย และ กษัตริย์ท่ีมีบทบาทสาคัญในช่วงนี้ก็คือสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช พระองค์ทรงสนพระทัยและสนับสนุนวรรณคดี จึงทาให้ยุคสมัยน้ีมีการสร้างสรรค์วรรณคดี ขึ้นหลายเรื่อง กวแี ละวรรณคดสี มยั อยุธยาตอนกลาง ปรียา หิรัญประดิษฐ์ (๒๕๕๕ : ๓–๘ – ๓–๒๓) ได้กล่าวถึงกวีและวรรณคดีสมัยอยุธยา ตอนกลาง ซึ่งมียุคเด่นของวรรณคดีตอนกลางระหว่าง พ.ศ. ๒๑๗๒-๒๒๓๑ คือในรัชสมัยสมเด็จพระ นารายณม์ หาราช โดยมีกวีที่สาคัญ องคอ์ ปุ ถมั ภก และวรรณคดีท่ีเป็นรู้จักกนั ในยุคสมัยดังน้ี สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นขัตติยกวีท่ีเปรื่องปราดในศิลปะและวรรณคดีเป็น อย่างยิง่ พระราชนพิ นธ์ในสมเด็จพระนารายณม์ หาราชทีผ่ รู้ ู้และนักวิชาการจานวนมากเชื่อว่าพระราช นิพนธ์ ไดแ้ ก่ วรรณคดเี รื่องสมทุ รโฆษคำฉันท์ โคลงภาษิตพระราชนิพนธ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ๓ เรือ่ ง คอื โคลงเรือ่ งพำลีสอนน้อง โคลงเรอื่ งทศรถสอนพระรำม และโคลงเรอ่ื งรำชสวสั ดิ์

๓๖ คำฉนั ทก์ ล่อมชำ้ ง เป็นวรรณคดีทน่ี ักวิชาการบางส่วนเชอ่ื ว่าสานวนที่เปน็ ของเก่าเป็นพระราช นิพนธ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยให้เหตุผลวา่ พระองค์เพราะทรงโปรดคชกกีฬา ทรงมีความพอ พระราชหฤทยั ในการเสดจ็ ประพาสปา่ และทรงจบั ชา้ งเถอ่ื นอยู่เป็นประจา จึงมีคาฉันท์กล่อมช้างและ ตาราข่ีช้างในรัชสมัยของพระองค์สืบทอดมา นอกจากน้ียังมีบทพระราชนิพนธ์โคลงโต้ตอบกับศรี ปราชญ์และกวีมีช่ือคนอื่นๆและวรรณคดีอีก ๒ เร่ืองคือ เพลงยำวพยำกรณ์กรุงศรีอยุธยำ และเพลง ยาวสงั วาสบางบททเ่ี ชือ่ ว่าเปน็ พระราชนพิ นธ์ในพระองค์ทา่ นดว้ ย พระมหาราชครู เป็นกวีช้ันผู้ใหญ่ เป็นผู้แต่งวรรณคดีเร่ือง สมุทรโฆษคำฉันท์ เมื่อพิจารณา จากวรรณคดีสมุทรโฆษคำฉันท์ ที่สมเด็จพระนารายโปรดเกล้าฯ ให้พระมหาราชครูแต่งเพ่ือใช้เล่น หนัง แต่แต่งไปได้เพียงบางส่วนและถึงแก่กรรมเสียก่อน และจากวรรณคดีเรื่องเสือโคคำฉันท์ ที่เช่ือ กันว่าพระมหาราชครูเป็นแต่งน้ัน พอสรุปได้ว่า พระมหาราชครูเป็นผู้รอบรู้วรรณคดีและ ขนบธรรมเนียมประเพณตี ่าง ๆ อยา่ งดยี ิง่ พระโหราธิบดี เป็นตาแหน่งราชการอีกตาแหน่งหนึ่ง เป็นกวีที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานภุ าพทรงสันนิษฐานว่า พระโหราธิบดี ซึ่งเป็นผู้แต่งวรรณคดีเรื่อง จินดำมณี ท่ี เป็นชาวเมอื งพิจิตรนัน้ เปน็ คนเดียวกนั กับพระโหราธบิ ดใี นสมยั พระเจ้าปราสาททอง ศรีปราชญ์ เป็นกวีที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างมาก จากตานานศรีปราชญ์ของพระยาปริยัติ ธรรมธาดาได้เล่าชีวิตของศรีปราชญ์ไว้อย่างกว้างขวาง ละเอียดลออมาก และยกย่องว่าเป็นปฏิภาณ กวีท่ีเหนือกว่ากวีหลายคนในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้แต่งโคลงท่ีเป็นท่ีรู้จักกันหลาย บท เช่นโคลงที่แต่งต่อจากโคลงของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ทรงพระราชนิพนธ์ค้างไว้ ทาให้ได้ เข้ารบั ราชการ ส่วนวรรณคดีทศ่ี รีปราชญ์ไดแ้ ต่งไว้และสบื ทอดมาคือ อนิรุทธคำฉนั ท์ ขุนเทพทวี เป็นผู้แต่ง คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้ำง มีประวัติบอกไว้ในหนังสือชุมนุมฉันท์ ดุษฎีสังเวย ซ่ึงหอพระสมุดตีพิมพ์ไว้แต่เพียงว่า “ขุนเทพกระวี เมืองสุโขทัยแต่ง” เท่าน้ัน ฉันท์ชุมนุม ดษุ ฎสี ังเวยกลอ่ มชำ้ งที่ขนุ เทพกวีแตง่ นเ้ี ป็นสานวนที่เก่าทสี่ ุด พระศรีมโหสถ เปน็ กวีที่มีความสามารถในการแต่งคาประพนั ธอ์ กี ท่านหนง่ึ ในสมัยสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช ได้สร้างสรรค์ผลงานสาคัญ ๆ หลายเร่ือง เช่น โคลงเฉลิมพระเกียรติพระนำรำยณ์ มหำรำช โคลงนริ ำศนครสวรรค์ โคลงอักษรสำมหมู่ เป็นตน้ ส่วนวรรณคดไี ทยสมยั อยธุ ยาตอนกลางท่ีสาคัญ ๆ น้ัน ปรียา หิรัญประดิษฐ์ (๒๕๕๕ : ๓–๘ – ๓–๒๓) ไดก้ ลา่ วถึงดงั น้ี ๑. โคลงทศรถสอนพระราม เป็นโคลงภาษิตพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โ ด ย มี เ น้ื อ ห า ก ล่ า ว ถึ ง ห ลั ก ก า ร ป ฏิ บั ติ ข อ ง ก ษั ต ริ ย์ ผู้ ค ร อ ง เ มื อ ง ท่ี พึ ง มี ห รื อ พึ ง ป ฏิ บั ติ ต่ อ อ า ณ า ประชาราษฎร์ มีท้าวทศรถซึ่งเป็นพระบิดาของพระรามได้ส่ังสอนหลักการปกครองไว้หลายประการ เช่นให้รักและบารุงเลี้ยงราษฎรในความปกครองดุจพ่อแม่ ให้มีความเมตตากรุณา รู้จักการให้รางวัล เป็นสิ่งตอบแทน การละซึ่งความความโกรธ ต้องมีความยุติธรรมไม่เบียดเบียนราษฎร เป็นต้น วรรณคดีเรื่องนมี้ ีรปู แบบคาประพนั ธ์เป็นโคลงสีส่ ภุ าพ จานวน ๑๒ บทเทา่ นนั้ ๒. โคลงเรื่องพาลีสอนน้อง เป็นอีกเรื่องหนึ่งในโคลงภาษิตพระราชนิพนธ์สมเด็จพระ นารายณ์มหาราช สอนเกี่ยวกับการรับราชการ เนื้อความกล่าวถึงเร่ืองรำมเกียรต์ิ โดยนาเร่ืองราวของ พระยาพาลีมากล่าวอ้างว่าก่อนจะสิ้นชีวิตได้สั่งสอนสุครีพซึ่งเป็นน้องชายและองคตผู้เป็นลูกถึง

๓๗ หลักการปฏิบัติตนต่อองค์พระมหากษัตริย์ เช่น การถวายความจงรักภักดี อย่าโกรธเคือง พระมหากษัตริย์ การรจู้ กั ประมาณตน มีความกลา้ หาญ เป็นต้น โคลงเร่ืองพำลีสอนน้อง เป็นวรรณคดี ท่ีมรี ปู แบบคาประพนั ธ์เปน็ โคลงส่สี ุภาพ จานวน ๓๒ บท ๓. โคลงราชสวัสด์ิ เป็นโคลงภาษิตพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชอีกหนึ่ง เรื่อง ที่มีเน้ือความสอนสั่งเก่ียวกับหลักการรับราชการของข้าราชการช้ันผู้ใหญ่ โดยมีลักษณะคา ประพนั ธแ์ ตง่ เปน็ โคลงส่ีสุภาพ จานวน ๖๒ บท ๔. สมทุ รโฆษคาฉนั ท์ เปน็ วรรณคดที ี่ไดร้ ับการยกย่องว่าเป็นยอดแหง่ คาประพันธ์ประเภทคา ฉันท์ ใช้เวลาแต่งยาวนานมาก และยังไม่ทราบผู้แต่งที่แน่นอน มีความมุ่งหมายในการแต่งเพื่อใช้เป็น บทเล่นหนังในงานเบญจาพิธของสมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช โดยมีลักษณะคาประพันธ์เป็นฉันท์และ กาพย์ ตอนทา้ ยเปน็ โคลงสีส่ ภุ าพ ๕. เสือโคคาฉนั ท์ เป็นวรรณคดีท่ีเชื่อกนั วา่ เปน็ ฉันท์เร่ิมแรกท่ีแต่งจบบริบูรณ์ โดยนาเค้าจาก เรอ่ื ง พหลคาวีชาดก ในปญั ญำสชำดก ที่ภิกษุชาวเชียงใหม่แต่งไว้ โดยมีความมุ่งหมายในการแต่งเพ่ือ ความเป็นศิริมงคล และมีรูปแบบคาประพันธ์เป็นฉันท์แบบง่าย ๆ มีกาพย์สุรางคนางค์และกาพย์ยานี ปะปนอยูด่ ้วย ๖. จินดามณี เป็นวรรณคดีประเภทตาราเรียนภาษาไทยเล่มแรกที่ใช้มาจนถึงสมัย รตั นโกสนิ ทร์ มีความมุ่งหมายในการแต่งเพ่ือเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ ถือเป็นธรรมเนียมการ แต่งหนังสือมาในสมัยโบราณ เนื้อความข้ึนต้นด้วยร่ายสรรเสริญ กล่าวถึงอักษรศัพท์ หรือคาศัพท์ ต่างๆท่ีมีเสียงคล้ายกัน ตัวอย่างคาที่ใช้ ศ ษ ส ไม้ม้วน ไม้มลาย อักษรสามหมู่ การผันอักษร เป็นต้น ในตอนหลังๆ อธิบายการแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และยกตัวอย่างจากวรรณคดีเก่า ๆ เช่น ลิลิต พระลอ เปน็ ตน้ สว่ นลักษณะคาประพันธท์ ีใ่ ช้แตง่ เปน็ ร้อยแกว้ ปนกับร้อยกรอง ๗. พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ พงศวดารน้ีมีช่ือเรียกว่า พระรำช พงศำวดำรกรุงเก่ำ เหตุท่ีได้ชื่อว่าพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์เพ่ือเป็น เกียรติแก่ผู้มอบพงศาวดารนี้ให้หอพระสมุดในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ลักษณะการเขียนเป็นบันทึกปูมโหร บอกเล่าเหตุการณ์ เรือ่ งราวต่าง ๆ อย่างกระชับ รวมทงั้ การบอกลางร้ายลางดีตามลักษณะการทานาย ของโหร ๘. อนิรุทธคาฉนั ท์ เป็นวรรณคดีท่เี ช่ือกันวา่ ศรีปราชญ์บุตรพระมหาราชครูแต่ไว้ในขณะท่ีรับ ราชการอยู่กับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพ่ือแสดงความสามารถในเชิงการแต่งฉันท์ของกวีให้ ปรากฏ อนิรุทธคำฉันท์น้ีเนื้อเรื่องใกล้เคียงกับสมุทรโฆษคำฉันท์มาก เนื้อความเป็นเร่ืองเทพอุ้มสม เหมือนกัน แต่ได้เค้าเรื่องมาจากคติพราหมณ์ ตอนพระนารายณ์มหาราชอวตารมาเป็นพระกฤษณะ ส่วนลักษณะคาประพันธ์ที่ใช้เป็นฉันท์และกาพย์ บางตอนนาร่ายสุภาพมาใช้ปนกับฉันท์ บางตอนมี ลกั ษณะคลา้ ยกลบท และมีบทไหว้ครอู ยทู่ า้ ยเรื่อง ๙. คาฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง เป็นวรรณคดีท่ีมี ๒ สานวน สานวนแรกขุนเทพกวี ชาวเมืองสุโขทัยแต่ง ส่วนสานวนหลังบอกแต่เพียงว่าเป็นสานวนครั้งกรุงเก่าซึ่งเช่ือกันว่าเป็นสานวน ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ความมุ่งหมายในการแต่งเพื่อใช้ในพิธีสมโภชช้างเผือก เป็นการ กล่อมช้างไห้ละพยศ และมาเปน็ ชา้ งคูบ่ ุญบารมีของกษตั รยิ ์

๓๘ ๑๐. ราชาพิลาปคาฉันท์ หรือ นิรำศษีดำ เป็นวรรณคดีที่ไม่ทราบชื่อผู้แต่งและเวลาแต่ง แต่ สันนิษฐานว่าแต่งในสมัยเดียวกับ สมุทรโฆษคำฉันท์ เป็นวรรณคดีท่ีแต่งได้ไพเราะ ผู้แต่งเรื่องจินดา มณนี าตัวอยา่ งคาประพันธใ์ นราชาพิลาปคาฉนั ท์นี้ไปเปน็ บทเรียน เน้ือความในวรรณคดีกล่าวถึงความ รักอาลัยของพระรามที่มีต่อนางสีดาที่ถูกลักพาตัวไป กวีพร่าพรรณนาถึงนางท่ีจากไปอย่างไพเราะ ส่วนลกั ษณะคาประพนั ธน์ น้ั เป็นฉนั ท์และกาพย์ ๑๑. โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผู้แต่งคือหลวงศรีมโหสถ ซึ่ง ภายหลังได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระศรีมโหสถ แต่งเพ่ือสดุดีพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเพ่อื บนั ทึกเหตกุ ารณ์ต่าง ๆ ไว้ ส่วนลกั ษณะคาประพนั ธ์นั้นเป็นโคลงสส่ี ภุ าพ จานวน ๗๘ บท ๑๒. โคลงนิราศนครสวรรค์ เป็นอีกเร่ืองหน่ึงท่ีพระศรีมโหสถแต่งขึ้นเมื่อครั้งตามเสด็จ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชไปรับช้างเผือกท่ีนครสวรรค์ โดยเร่ิมคาประพันธ์ด้วยร่ายเกร่ิน ๑ บท ต่อจากนั้นเป็นโคลงสี่สุภาพ มีท้ังหมด ๖๙ บท เน้ือความในวรรณคดีเป็นการไหว้ครู การกล่าวชม ปราสาทราชวังของกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช การบรรยายการเดินทางของผู้ แต่งจากอยุธยาถึงนครสวรรค์ ๑๓. กาพย์หอ่ โคลง เป็นวรรณคดีทเ่ี ช่ือกนั ว่าพระศรีมโหสถเป็นผู้แต่งกาพย์ห่อโคลงเร่ืองยาว คนแรก ในการแต่งกาพย์ห่อโคลงน้ันผู้แต่งจะให้ข้อความในกาพย์และโคลงคู่หน่ึงๆ น้ันล้อกันหรือมี เนือ้ ความคลา้ ยคลงึ กัน วรรณคดเี รื่องนแ้ี ตง่ เป็นกาพย์ยานีสลบั กับโคลงส่ีสภุ าพ มที ง้ั หมด ๓๖ บท โดย มีความมุ่งหมายในการแต่งเพ่ือใช้ในงานสมโภชช้างเผือกในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เนื้อความบรรยายถึงความเจริญรุ่งเรือง ขนบธรรมเนียมประเพณี การเก้ียวพาราสีระหว่างชายหญิง และความสนุกสนานของชาวอยธุ ยา ๑๔. โคลงอักษรสามหมู่ หรือเรียกอีกชื่อว่า โคลงอักษรสำม หรือโคลงตรีประดับเพชรหรือ โคลงตรีพิธประดับ เป็นโคลงส่ีสุภาพที่พระศรีมโหสถแต่งในลักษณะโคลงกลบท แต่เน้ือความไม่ ตดิ ต่อกนั ตอนตน้ เป็นเรอื่ งรบ ตอนหลังเป็นการชมธรรมชาติ ๑๕. ต้นทางฝร่ังเศส เป็นวรรณคดีนิราศ ที่แต่งด้วยกาพย์ ๓ ชนิดได้แก่ กาพย์ยานี กาพย์ ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ รวม ๑๓๑ บท เนื้อความในเรื่อง กวีได้บรรยายสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และสงิ่ ที่พบเหน็ ระหวา่ งเดินทาง แต่มิไดพ้ รรณนาถงึ ความรสู้ กึ ต่อนางอันเป็นทีร่ กั เหมือนนริ าศท่ัว ๆ ไป ลกั ษณะวรรณคดสี มยั อยธุ ยาตอนกลาง ปรียา หิรัญประดิษฐ์ (๒๕๕๕ : ๓–๒๔ – ๓–๒๕) ได้กล่าวถึงลักษณะวรรณคดีสมัยอยุธยา ตอนกลางว่า สมัยอยุธยาตอนกลางเป็นช่วงท่ีมีวรรณคดีจานวนมากระหว่าง พ.ศ. ๒๑๗๒ - ๒๒๓๑ เพราะในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นทั้งองค์อุปถัมภกและกวี วรรณคดีสมยั น้ีจึงมลี ักษณะสาคัญ ดังนี้ ๑. รปู แบบ รูปแบบคาประพันธ์ที่นิยมแต่งกันมากคือ โคลง กาพย์ห่อโคลงและฉันท์ ส่วนร้อยแก้วน้ันมี การแต่งบ้างดงั รายละเอยี ดต่อไปน้ี

๓๙ โคลง เปน็ คาประพนั ธ์ทมี่ ีวิวฒั นาการมาตามลาดับ และอาจกล่าวได้ว่าเป็นที่นิยมมากท่ีสุดใน ยุคนี้ ลักษณะของโคลงท่ีนิยมแต่งเป็นโคลงสุภาพ วรรณคดีส่วนใหญ่ท่ีใช้โคลงแต่ง เช่น โคลงทศรถ สอนพระรำม โคลงพำลีสอนน้อง โคลงรำชสวัสด์ิ โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนำรำยณ์มหำรำช การแต่งโคลงมีวิวัฒนาการจนกระท่ังแต่งเป็นโคลงกลบทคือ โคลงอักษรสำมหมู่ ของพระศรีมโหสถ การแตง่ โคลงนี้บางคร้งั กม็ รี ่ายปะปนอยู่ เชน่ โคลงนริ าศนครสวรรค์ ส่วน ฉันท์ เป็นคาประพันธ์ทน่ี ยิ มกนั มากในสมยั สมเด็จพระนารายณ์มหาราช วรรณคดีท่ีแต่ง ดว้ ยฉนั ท์ ไดแ้ ก่ คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้ำง ๒ สานวน เสือโคคำฉันท์ สมุทรโฆษคำฉันท์ อนิรุทธ์คำ ฉันท์ และราชาพิลำปคำฉันท์ นอกจากน้ียังมีคาประพันธ์ที่เร่ิมเป็นที่นิยมในการแต่งวรรณคดีอีก ประเภทหนงึ่ คอื กาพยห์ ่อโคลง นอกจากวรรณคดีร้อยกรองข้างต้นแล้ว ยังมีวรรณคดีในลักษณะร้อยแก้วด้วยคือวรรณคดี เรื่อง พระรำชพงศำวดำรฉบบั หลวงประเสริฐอักษรนติ ิ์ หรือเรียกอีกชื่อว่าพระรำชพงศำวดำรฉบับกรุง เก่ำ ซึ่งเขียนบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ จินดำมณี เป็นวรรณคดีอีกเรื่อง ที่เป็นตาราเรียนภาษาไทยเล่ม แรก แต่งโดยพระโหราธบิ ดี ใช้คาประพนั ธ์ปะปนกนั ทั้งร้อยกรองและรอ้ ยแก้ว ๒. ภาษา วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางนี้มีการใช้ภาษาในการประพันธ์ท่ีมีคาบาลีสันสกฤตปะปนอยู่ เพราะความนิยมในการแต่งฉันท์ ซึ่งเป็นรูปแบบคาประพันธ์ที่รับมาจากอินเดีย ดังน้ันอิทธิพลของ ภาษาบาลสี นั สกฤตในการแต่งวรรณคดจี ึงคงอยู่ เช่น สมุทรโฆษคำฉันท์ เสอื โคคำฉันท์ อนิรุทธคำฉันท์ เป็นต้น แม้แต่ในวรรณคดีเร่ือง จินดำมณี ก็ปรากฏเช่นกัน ส่วนคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้ำง น้ัน เนอ่ื งจากไดร้ บั อิทธิพลจากพิธีกรรมของเขมร จึงมีคาเขมรและคาโบราณเข้ามาปะปนอยู่มาก อย่างไร ก็ตามคาบาลีสันสกฤตและเขมรเหล่านี้ กวีได้มีการดัดแปลงให้งดงามและเหมาะแก่ความนิยมของ ผูอ้ ่านผฟู้ งั สว่ นคาไทยน้ันโดยสว่ นใหญก่ ม็ ใี ช้อยู่ ทงั้ น้เี พราะคาไทยมคี วามไพเราะ เข้าใจง่าย ๓. เนอื้ หา วรรณคดีท่ีใช้ในพิธีกรรม ได้แก่ คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้ำง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชมชี ้างเผือกมาสพู่ ระบารมี จงึ มีงานสมโภชช้างซงึ่ จะตอ้ งใช้บทกล่อม จึงเกิดคำฉันท์ดุษฎีสังเวย กล่อมชำ้ งข้นึ นอกจากนย้ี งั มีกาพยห์ ่อโคลงซ่ึงพระศรีมโหสถแต่งไวใ้ ชง้ านสมโภชชา้ งเผอื กอกี ดว้ ย วรรณคดีสดุดีพระมหำกษัตริย์ เท่าที่พบมี ๑ เรื่อง คือ โคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระ นำรำยณ์มหำรำช ของพระศรีมโหสถ เป็นการพรรณนาพระราชกรณียกิจและเหตุการณ์สาคัญโดย กลา่ วถงึ ความเจรญิ รงุ่ เรอื งของเมืองลพบรุ ีไว้ดว้ ย วรรณคดีที่เปน็ คำสอน เช่น โคลงทศรถสอนพระรำม โคลงพำลสี อนน้อง และ โคลงรำชสวัสดิ์ เปน็ วรรณคดีทีม่ ีเน้อื หาสอนความประพฤติและคตธิ รรม การสอนธรรมเนยี มการปฏบิ ัตริ าชการ วรรณคดีที่นำเน้ือหำมำจำกนิทำนนิยำย เป็นวรรณคดีที่นาเน้ือเรื่องมาจากชาดกทางศาสนา ได้แก่ สมุทรโฆษคำฉันท์ เสือโคคำฉันท์ และอนิรุทธคำฉันท์ วรรณคดีเหล่าน้ีแต่งเพ่ือเผยแพร่พระ ศาสนา วรรณคดีเพื่อพรรณนำอำรมณ์ มีวรรณคดีเรื่อง โคลงนิรำศนครสวรรค์ มีเนื้อความแสดง ความร้สู กึ ของกวีในขณะทตี่ ามเสด็จไปรับชา้ งเผือก


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook