Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คำยืมภาษาจีนในภาษาไทย

คำยืมภาษาจีนในภาษาไทย

Published by sk_123_raman, 2022-04-04 08:28:47

Description: สื่อการสอนออนไลน์ วิชา ภาษาไทย เรื่อง คำยืมภาษาจีนในภาษาไทย

Search

Read the Text Version

วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คำยืมภาษาจีน ในภาษาไทย

อิทธิพลของคำยืมภาษาจีนในภาษาไทย ไทยและจีนเป็นมิตรประเทศที่ติดต่อเจริญ สัมพันธไมตรี มีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า และศิลปะ วัฒนธรรมอันดีงามมาช้านาน ชาวจีนที่มาค้าขายได้เข้ามา ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ภาษาจีนจึงเข้ามา สู่ไทยโดยทางเชื้อชาติ นอกจากนี้ภาษาจีนและภาษาไทยยัง มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน จึงทำให้มีคำภาษาจีนเข้ามาปะปน อยู่ในภาษาไทยจนแทบแยกกันไม่ออก

วิธีนำคำยืมภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทย การเลียนเสียง เช่น เกาเหลา ตั้งฉ่าย เต้าทึง เต้าหู้ เต้าฮวย พะโล้ เป็นต้น การตัดทอนและเปลี่ยนเสียง เช่น เตี้ยะหลิว - ตะหลิว , บ๊ะหมี่ - บะหมี่ เป็นต้น

หลักการสังเกตคำยืมภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย 1.นำมาเป็นชื่ออาหารการกิน เช่น ก๋วยเตี๋ยว แป๊ะซะ เฉาก๊วย ซาลาเปา ลิ้นจี่ เป็นต้น 2. เป็นคำที่เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ที่เรารับมาจากชาวจีน เช่น ตะหลิว ตึก เก้าอี้ เก๋ง โต๊ะ เป็นต้น 3. เป็นคำที่ใช้เรียกคนในครอบครัวหรือเครือญาติ เช่น อากง อาม่า กู๋ อี๊ เตี่ย โกว เป็นต้น

หลักการสังเกตคำยืมภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย 4. เป็นคำที่เกี่ยวกับการค้าและการจัดระบบทางการค้า เช่น เจ๋ง หุ้น ห้าง โสหุ้ย เป็นต้น 5. เป็นคำที่ใช้วรรณยุกต์ตรี จัตวา เป็นส่วนมาก เช่น ก๋วยจั๊บ กุ๊ย เก๊ เก๊ก ก๋ง ตุ๋น เป็นต้น 6. พยัญชนะต้นมักเป็นอักษรกลาง เช่น เก๋ง แปะก๊วย ตึก บ๊วย จับฉ่าย เป็นต้น 7. มักประสมสระเสียงสั้น เช่น เกี๊ยะ เจี๊ยะ ยัวะ

ตัวอย่างคำยืม ที่มาจากภาษาจีน

หมวดอาหาร กุนเชียง ก๋วยเตี๋ยว พะโล้ ซาลาเปา เย็นตาโฟ เปาะเปี๊ ยะ

หมวดอาหาร (ต่อ) เต้าหู้ โอเลี้ยง โจ๊ก ปาท่องโก๋ เกี๊ยว เฉาก๊วย

หมวดพืช ผัก ผลไม้ เก๊กฮวย กะหล่ำ ลันเตา ลิ้นจี่ กุยช่าย เกาลัด

หมวดกริยา ซวย แฉ เก๊ก โละ เฮง เจ๊า

หมวดการค้าขาย หุ้น เจ๊ง ยี่ห้อ ห้าง โสหุ้ย เหลา

หมวดเครือญาติ เตี่ย อาม่า ตี๋ กู๋ หมวย แปะ

หมวดทั่วไป ตะหลิว ไต้ฝุ่น เข่ง อั้งโล่ เก้าอี้ โต๊ะ

หมวดทั่วไป (ต่อ) เปีย ปุ้งกี๋ ตั๋ว งิ้ว จับกัง กุ๊ย

ได้เวลาสนุกแล้วซิ

คำถามทวนรู้ หลักการสังเกตคำยืม ภาษาจีนในภาษาไทยมี อะไรบ้าง

ไม่มีคำว่าสาย เกินไปที่จะ เรียนรู้

จัดทำโดย นางสาวอาซีซะห์ สะมาแอ นักศึกษาฝึกวิชาชีพครู ชั้นปี 4 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook