Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Simple harmonic

Simple harmonic

Published by Guset User, 2022-08-08 12:57:29

Description: AB64252F-22A1-413B-AC7B-4CFA148C97A7

Search

Read the Text Version

Simp le harm onic SUBJECT : PHYSICAL KANLAYANAWAT SCHOOL M.5/10

การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์โมนิค ลักษณะการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์โมนิค คือ การเคลื่อนที่ของอนุภาคแบบกลับไปกลับมา ผ่านแนวสมดุล ของระบบ ในรูปที่ 14.17 ได้เเก่ การแกว่ง ของลูกตุ้ม นาฬิกา การแกว่งของ มวลผูก ปลายสปริงและการสั่น ของสายไวโอลิน รูปที่ 14.17 ลักษณะการสั่นของระบบต่างๆ การเคลื่อนที่ของระบบต่างๆ ในรูปที่ 14.17 ทำให้เราสรุปได้ว่า วัตถุจะเคลื่อนที่ แบบซิมเปิลฮาร์โมนิคได้เมื่อวัตถุนั้น เคลื่อนที่จากแนวสมดุลทำให้ได้เเรงย้อน กลับสะสมอยู่ เมื่อปล่อยให้เคลื่อนที่ ไปกลับมันจะเกิดการเคลื่อนที่ไปกลับ รอบแนวสมดุลนั้น ดังรูปที่ 14.17

สมการการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์โมนิค ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบ ซิมเปิลฮาร์มอนิกของเพนดูลัม 1. แอมพลิจูด (A) การกระจัดสูงสุดของการเคลื่อนที่ โดยวัดจากจุด สมดุลไปยังจุดปลาย 2. คาบ (T) ช่วงเวลาที่วัตถุเคลื่อนที่ครบหนึ่งรอบ มีหน่วยเป็นวินาที ต่อรอบ 3. ความถี่ (f) จำนวนรอบที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา มี หน่วยเป็นรอบต่อวินาที หรือเฮิรตซ์ (Hz) 4. ณ ตำแหน่งปลาย x ปริมาณ F, a มีค่ามากที่สุด แต่ v = 0 5. สมการการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก แรงที่ดึงมวลที่ผูกติดกับปลายเชือกเบาให้กลับสู่ตำแหน่งสมดุล คือ แรง F = - mg sinθ ส่วนแรงตึงเชือก T = mg cosθ คาบ คำนวณได้จาก T= 2¶ √L/g ความถี่ คำนวณได้จาก f = 1/T = 1/2¶√g/L

สมการการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์โมนิค การที่วัตถุเคลื่อนที่กลับไปมาซ้ำรอยเดิม ใช้สัญญลักษณ์ SHM การกระจัดของวัตถุซึ่งมีการเคลื่ อนที่แบบนี้จะวัดจากตำแหน่ง เดิมของวัตถุ เมื่อไม่ถูกแรงภายนอกใดๆ มากระทำ เรียกตำแหน่งนี้ว่า แนวสมดุล การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิค จะมีความเร่งแปรผันตรงกับการกระจัด แต่มีทิศตรงกันข้าม โดยทิศของความเร่งจะเป็นทิศเดียวกับเเรง และแรงจะต้องเป็นแรงเข้าหา จุดสมดุลในณะที่การกระจัด มีทิศออกไปจากจุดสมดุล

สมการการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์โมนิค

สัญลักษณ์ทางฟิสิกส์

สัญลักษณ์ที่พบในสมการ พาย หรือ ไพ (อักษรกรีก: π ภาษาอังกฤษ: pi)เป็นค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ ที่เกิดจาก ความยาวเส้นรอบวงหารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม ค่า π มักใช้ในคณิตศาสตร์, ฟิสิกส์ และวิศวกรรม π เป็นอักษรกรีกที่ตรงกับตัว \"p\" ในอักษรละติน มีชื่อว่า \"pi\" ในเรขาคณิตแบบยุคลิด π มีนิยามว่าเป็นอัตราส่วนของเส้นรอบวงหารด้วยเส้นผ่าน ศูนย์กลางของวงกลม หรือเป็นอัตราส่วนของพื้นที่วงกลม หารด้วย รัศมียกกำลังสอง ใน คณิตศาสตร์ชั้นสูงจะนิยาม π โดยใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติเช่น π คือจำนวนบวก x ที่น้อย สุดที่ทำให้ sin (x) = 0 อัตราเร็วเชิงมุม คือ มุมการเคลื่อนที่ที่วัตถุเคลื่อนที่กวาดไปได้ในหนึ่งหน่วยเวลา ใช้สัญลักษณ์ ω (โอเมก้า) ในการบอกปริมาณ m คือ มวลของวัตถุ k คือ ค่าคงที่ของสปริง L คือ ความยาวของเส้นเชือก g คือ ขนาดของเเรงโน้มถ่วง

จัดทำโดย นางสาว ณัฐณิชา เจตนา ม.5/10 เลขที่ 27 นางสาว อภิญญา เเสงวงศ์ ม.5/10 เลขที่ 43


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook