Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทความสักการะนาค 15 ตระกูล สีฐาน2565

บทความสักการะนาค 15 ตระกูล สีฐาน2565

Published by kanitta_give, 2022-11-16 02:43:21

Description: บทความสักการะนาค 15 ตระกูล สีฐาน2565

Keywords: นาค,พญานาค

Search

Read the Text Version

1 สักการะนาค 15 ตระกลู ตวั แทนสายนำ้ และความศรัทธา สู่งาน “บญุ สมมาบชู านาค” พรทิพย์ โยมเรือง นักศกึ ษาฝึกประสบการณ์วิชาชพี สาขาวชิ าภาษาไทยเพ่อื การส่ือสาร คณะมนษุ ยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภฏั อุดรธานี ภาพประกอบ : https://e-shann.com หากพูดถึงเรื่องราวของ พญานาค เชื่อว่าหลายคนคุ้นช่ือจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ บั้งไฟพญานาค ในคืนวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 (วันออกพรรษา) อีกทั้งมักมีข่าวรอยประหลาดที่ชาวบ้านเชื่อกันว่า เป็นรอยพญานาคปรากฏอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งตำนานพญางูใหญ่ หรือ \"พญานาค\" เป็นวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่และ ทรงอทิ ธพิ ลต่อชุมชนสองฝ่ังแมน่ ้ำโขง (ไทย-ลาว) ร่องรอยความคดิ เรอื่ งพญานาคไดป้ รากฏ ในวรรณกรรมปรัมปรา ความเช่ือ พิธีกรรม สถาปตั ยกรรม ศลิ ปกรรม วิถีชีวิต และจิตรกรรม โดยในปัจจบุ นั ความเช่อื เร่ืองพญานาคนับเป็น กระแสความนยิ ม และมีการนับถือบชู าที่เพิ่มข้นึ จนทว่ั ประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ (อีสาน) เนอื่ งจากมีพื้นทที่ างภูมศิ าสตรต์ ิดกบั แม่นำ้ โขง เรื่องราวของพญานาคเป็นที่กล่าวขานกันมากทั้งในประเทศไทย และประเทศลาว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มี แม่น้ำโขงไหลผ่าน มีหลักฐานที่สะท้อนความเชื่อเรื่องราวเกี่ยวกับพญานาคมาตั้งแต่สมัยทวารวดี วัฒนธรรมขอม สมัยลพบุรีจนถงึ ล้านชา้ ง นอกจากน้ีพญานาคยังสัมพนั ธ์กบั รูปแบบ สงั คมเกษตรกรรมในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของ นำ้ และความอดุ มสมบรู ณ์ ซงึ่ ความเช่ือเหล่านี้ต่างกร็ ับอิทธพิ ลมาจากอนิ เดียใตแ้ ละพุทธ

2 ในปัจจุบันมีชาวบ้านไม่น้อยที่มีความเชื่อเรื่องพญานาค ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ได้ส่งต่อกันมา จากรุ่นสู่รุ่น เมื่อมีความเชื่อจึงเกิดความศรัทธาในตัวพญานาค ว่าใครพบเห็นรอยพญานาคหรือเชื่อว่าพญานาคมีอยู่จริง จะให้ โชคให้ลาภ ให้ความเป็นสิริมงคลแก่บุคคลนั้น ๆ จึงเกิดพิธีกรรมการสักการะบูชาพญานาคขึ้นเพื่อขอโชคลาภ ความเป็นสริ ิมงคลน่ันเอง พิธีกรรมบวงสรวงพญานาคที่นิยมทำกัน อาทิ การรำบวงสรวงองค์ปู่ศรีสุทโธและย่าศรีปทุมมา ที่วังนาคินทร์คำชะโนด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพญานาคราชผู้เป็นใหญ่ ในประเทศไทย หรอื พิธีขอขมาสิ่งศักดิส์ ิทธบ์ิ นภูลังกา ซ่ึงเป็นท่ตี ง้ั ของถ้ำนาคา ท่ี อำเภอบงึ โขงหลง จังหวัดบึงกาฬ โดยชาวบ้านเชอื่ วา่ พญานาคทีช่ าวบา้ นเรียกว่าปู่อือลอื ถูกสาปใหร้ า่ งกลายเป็นหินตดิ อยใู่ นถ้ำแห่งนี้ ภาพประกอบ : https://th.kku.ac.th/119591/ ทางมหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ ได้มีการจดั งาน สฐี านเฟสติวลั ภารกจิ สง่ เสรมิ ศิลปวัฒนธรรม ตามยุทธศาสตร์ ในด้านการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ “บุญสมมาบูชา นาค” ประจำปี 2565 (Sithan KKU Festival 2022) และได้มีการทำพิธีบวงสรวงสักการะพญานาค 15 ตระกูล โดย รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และนายพันธ์เทพ เสาโกศล รองผู้ว่า ราชการจังหวัดขอนแก่น และนายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จุดธูปเทียน บวงสรวงสักการะพญานาค 15 ตระกูล ณ ริมบึงสีฐาน ด้านทิศตะวันตก โดยมีพราหมณ์ นำประกอบ พธิ ีบวงสรวง ต่อดว้ ยการแสดงศิลปวัฒนธรรม ชุดการแสดงประทีปสมมา สกั การ์ นาคาสมโภช โดยนักศึกษาสาขา นาฏศิลป์คณะศลิ ปกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น

3 ประติมากรรมพญานาค 15 ตระกูล ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับอิทธิพลมาจากลาว ซึ่งเป็นงาน ประติมากรรมแกะสลักจากไม้ล้ม ไม้ตายซาก ไม้โค่น จำนวน 13 ช้นิ จนเกดิ เป็นผลงานศิลปะ เกิดสุนทรียภาพการ ส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมรวมทั้งน้ำทรัพยากรธรรมชาติในมหาวิทยาลยั ขอนแก่น เสาไม้ท้ัง 13 ต้น ได้แกะสลักเรื่องราวที่สื่อถึงคติความเชื่อ วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของคนอีสา นไว้ใน แต่ละต้น โดยประติมากรรมพญานาคแต่ละต้นมีชื่อผลงาน ได้แก่ 1.ประเพณีอีสาน 2.สถาปัตยกรรมอีสาน 3.วัฒนธรรมปลาแดก 4.นาค 15 ตระกูล 5.จักรวาลอีสาน 6.ลวดลายผ้าอีสาน 7.ประวัติศาสตร์โบราณคดีอีสาน 8.วรรณกรรมสินไซ 9.ป่าหิมพานต์อีสาน 10.พุทธศิลป์อีสาน 11.ภูมิปัญญาอสี าน (หัตถกรรรม) 12.ศิลปะร่วมสมัย 13.ชาติพันธ์ุอสี าน ความเชื่อของคนอีสานจะมีความเชื่อว่า พญานาค เป็นเทพแห่งดิน และเทพแห่งน้ำ นอกจากนี้พญานาค ยังถือว่าเป็นบรรพชนของชาวอีสานอีกด้วย ดังนั้นการจัดงานลอยกระทงก็ถือว่าเป็นการแสดงความกตัญญูต่อ บรรพชนของเรา ก็คือ “นาค” นั่นเอง นาค 15 ตระกูล เป็นตำนานท้องถิ่นดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธ์ุ ที่เรียกว่า “ชาวล้านช้าง” ที่มีต้นกำเนิดอยู่ที่หลวงพระบาง ในความเชื่อของคนท้องถิ่นตรงนั้น เชื่อว่าเมืองหลวงพระบาง เกิดขึ้นจากการรวมกันของกลุ่มชนที่มคี วามหลากหลาย เปรียบเสมือนลูกหลานพญานาคหลากหลายตน ที่มากถึง 15 กลุ่มชน และได้มีการตั้งสมมติฐานว่านั่นคือตัวแทนของเหล่าพญานาคที่เป็นลูกหลานของคนในหลวงพระบาง น่นั เอง

4 ภาพประกอบ : https://th.kku.ac.th/119753/ ซึ่งงานบุญสมมาบูชานาค ประจำปี 2565 (Sithan KKU Festival 2022) ทางมหาวทิ ยาลัยขอนแก่นได้มี การจัดข้นึ ณ บรเิ วณรมิ บึงสีฐาน และไดม้ ีการบวงสรวงสกั การบชู าพญานาค การฟอ้ นบวงสรวงพญานาค ตลอดจน การขอขมาพญานาคทั้ง 15 ตระกูล ผู้ดูแลสายน้ำน้อยใหญ่ เพื่อเป็นการทำพิธีเพื่อที่จะอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาว อีสานเรา เนื่องจากพญานาคเป็นตัวแทนของความศรัทธาของคนในภาคอีสานและเป็นตัวแทนของน้ำ ประเพณีลอยกระทง สีฐานเฟสติวัล “บุญสมมาบูชานาค” ประจำปี 2565 จึงเป็นการบูชาพญานาคนั่นเอง ถือว่า เป็นส่วนหนงึ่ ในการร่วมสบื สานศลิ ปวัฒนธรรมของภาคอีสานอีกดว้ ย ภาพประกอบ : https://th.kku.ac.th/119753/

5 เอกสารอ้างองิ ทางอีศาน.(2563). นาคสิบห้าตระกูล ผู้รักษาหลวงพระบาง. ค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2565, จาก https://e-shann.com มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ , แผนยุทธศาสตร์การบรหิ าร มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น พ.ศ. 2563 - 2566, หน้า 110 ศูนย์ศิลปกรรมแห่งประเทศไทย. เจ้าเชื่อเรื่องพญานาคบ่ : วัฒนธรรมเรื่องพญานาคกับสังคมไทย. ค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565, จาก http://ica.swu.ac.th/news/detail/2/162 ศนู ย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น. ศรทั ธาความเชอื่ สู่ “ประติมากรรมนาค 15 ตระกลู ”. ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565, จาก https://cac.kku.ac.th/cac2021 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศรัทธานาคา \"สู่ประติมากรรมพญานาค 15 ตระกูล\" ริมบึงสีฐาน. คน้ เมือ่ 12 พฤศจกิ ายน 2565, จาก https://www.facebook.com/watch/?v=1693888580813812


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook