Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore [17]พฤติกรรมสัตว์

[17]พฤติกรรมสัตว์

Published by kingkarn1498, 2021-10-07 00:35:30

Description: [17]พฤติกรรมสัตว์

Search

Read the Text Version

พฤติกรรมสัตว์ พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด (Inherited Behavior / Innated Behavior) 1.โอเรียนเทชัน (orientation) : การตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยการเคลื่อนที่เพื่อ หาตำแหน่งที่ทำให้สิ่งมีชีวิตได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม 1) ไคนีซิส (kinesis) : การเคลื่อนที่เข้าหาหรือหนีจากสิ่งเร้า โดยไม่มีทิศทางแน่นอน พบในสัตว์ที่อวัยวะรับความรู้สึกยังไม่เจริญมาก มีทิศทางการเคลื่อนที่เป็นแบบสุ่ม เช่น พารามีเซียม เคลื่อนที่สุ่มไปเรื่อย ๆ เพื่อหลบหนีบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง 2) แทกซิส (taxis) : การเคลื่อนที่เข้าหาหรือหนีจากสิ่งเร้า โดยมีทิศทางแน่นอน เช่น สิ่งเร้าคือแสง (phototaxis) : การบินเข้าหาแสงสว่างของแมลงเม่า สิ่งเร้าคือสารเคมี (Chemotaxis) : การเคลื่อนที่เข้าหาบริเวณที่เป็นกรดอ่อนของ พารามีเซียม สิ่งเร้าคือน้ำหรือความชื้น (hydrotaxis) : การเคลื่อนที่เข้าหาแหล่งน้ำของสัตว์ ต่างๆ 2.รีเฟล็กซ์ (Reflex) : เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างทันทีทันใด โดยไม่ต้องรอคำสั่ง จากสมอง (ประมวลผลที่ ไขสันหลัง) พบทั้งในสัตว์ชั้นสูงและชั้นต่ำ เช่น กระตุกเข่า เมื่อเคาะที่หัวเข่า เซลล์ประสาทรับ ความรู้สึกจะนำกระแสประสาทส่งไปยัง ไขสันหลัง (spinal cord) แล้วจึงประมวลผลให้เซลล์ประสาท สั่งการ (motor neuron) ตอบสนองทันที 3.รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง (chain of reflex) หรือ สัญชาตญาณ (Instinct) : คือ พฤติกรรมที่ถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สัตว์สามารถแสดงออกได้โดยไม่ต้องมี ประสบการณ์มาก่อน เช่น การดูดนมของทารก : เมื่อทารกหิวและปากได้สัมผัสกับหัวนม ทารกจะดูดนม ซึ่งจะ กระตุ้นให้กลืนนมที่ดูด เป็นปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ต่อเนื่องกันไปจนกว่าทารกจะอิ่ม นางสาวกิ่งกาญจน์ ภัติศิริ ม.6/5 เลขที่ 17

พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ (Learned Behavior / Acquired Behavior) 1.การฝังใจ (Imprinting) : เป็นพฤติกรรมที่เกิดกับ สิ่งมีชีวิตแรกเกิด และในช่วงเวลาที่จำกัดเท่านั้น เช่น สัตว์จำพวกนก มีช่วงเวลาทำให้เกิดการฝังใจ ประมาน 36 ชม. หลังฟักออกจากไข่ ระยะนี้ เรียกว่า “ระยะวิกฤต (Critical period)” ถ้าเกินช่วงเวลานี้ไปแล้วจะไม่เกิดพฤติกรรมดังกล่าว 2.ความเคยชิน (habituation) : สัตว์จะมีพฤติกรรม การตอบสนองต่อ สิ่งเร้าลดลงเรื่อยๆ (เพิกเฉย) เช่น นกกา : เมื่อพบหุ่นไล่กา (ซึ่งถือเป็นสิ่งเร้า) ใน ครั้งแรกจะบินหนี แต่เมื่อเรียนรู้ว่าหุ่นไล่กา ไม่ใช่สิ่งที่ต้องกลัว นกกาก็จะเลิกบินหนี 3. การลองผิดลองถูก (trial and error learning) : เป็นพฤติกรรม ที่สัตว์ ต้องเผชิญต่อสิ่งเร้าที่ยังไม่ทราบว่าจะเป็นผลดีหรือผลเสีย เช่น การทดลองของแมว : นำแมวใส่ไว้ในกรงและวางอาหารไว้ด้านนอก กรงให้แมวสามารถมองเห็นได้ ด้านในกรงมีกลไกที่สามารถเปิด การ ทดลองครั้งแรกๆ แมวจะหาวิธีออกจากกรง และบังเอิญเปิดกลไกได้ ซึ่งจะใช้เวลานาน แต่เมื่อแมวได้เรียนรู้วิธีการเปิดแล้ว จะสามารถ เปิดกรงได้ไวขึ้น 4.การมีเงื่อนไข (conditioning หรือ condition reflex) : เป็นการ เรียนรู้ของสัตว์ที่มีต่อสิ่งเร้าสองสิ่ง เช่น สุนัข : จะน้ำลายไหลเมื่อเห็นอาหาร (สิ่งเร้าแท้) ทดลองโดยเมื่อให้ อาหารสุนัขทุกครั้งทำการสั่นกระดิ่งควบคู่ ไปด้วย เมื่อสุนัขได้เรียนรู้ ถ้าทำการสั่นกระดิ่ง (สิ่งเร้าเทียม) สุนัขจะน้ำลายไหล 5.การใช้เหตุผล (reasoning) : เป็นการใช้ความสามารถของสัตว์ตอบโต้ ต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น เป็นพฤติกรรมที่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น รวมทั้งคน เนื่องจากมีสมองและระบบประสาทที่เจริญมากกว่าสัตว์อื่น นางสาวกิ่งกาญจน์ ภัติศิริ ม.6/5 เลขที่ 17

พฤติกรรมการสื่อสารของสัตว์ (Signal and Communication) 1.การสื่อสารด้วยท่าทาง (visual signal) เช่น ผึ้ง: ผึ้งสำรวจสามารถส่งข่าวให้ผึ้งงานได้ว่าที่ใดมีอาหาร โดยการ เต้นรำ 2 แบบ คือ - การเต้นรำแบบวงกลม (round dance) : ใช้เมื่ออาหารอยู่ใกล้ ไม่เกิน 80 เมตร โดยการเต้นรำแบบนี้ไม่ สามารถบอกทิศทาง ของอาหารได้ - การเต้นรำแบบเลขแปด (wagging dance) : ใช้บอกตำแหน่ง และระยะทางของอาหารได้ อัตราการ เต้นระบำสายท้องจะถี่ขึ้น หากแหล่งอาหารอยู่ไกล และใช้ดวงอาทิตย์เป็นเข็มทิศใน การบอกทิศทาง 2.การสื่อสารด้วยเสียง (Sound signal) เช่น เสียงขู่ : เสียงคำรามของสิงโต, เสียงเห่าของสุนัข, งูหางกระดิ่ง สั่นหาง เสียงเรียกคู่ : เสียงกบ-คางคก, เสียงจิ้งหรีดตัวผู้, เสียงนกร้อง เสียงเรียกรวมกลุ่ม เช่น เสียงนกร้อง, เสียงไก่ขัน, เสียงแกะ เสียงกาหนดสถานที่ : ค้างคาวและโลมาใช้เสียงนำทาง 3.การสื่อสารด้วยการสัมผัส (physical signal) เช่น สุนัข : เลียปากสุนัขตัวอื่นแสดงความเป็นมิตร แมงมุม : ตัวผู้จะเคาะใยแมงมุมตัวเมียสื่อสารเพื่อผสมพันธุ์ 4.การสื่อสารด้วยสารเคมี (Chemical signal) เช่น เสือ แมว สุนัข : ใช้ฉี่เป็นเครื่องบอกอาณาเขตของตัวเอง มด : ใช้ฟีโรโมน เป็นตัวนำทาง ทำให้มดเดินตามกันเป็นขบวนได้ นางสาวกิ่งกาญจน์ ภัติศิริ ม.6/5 เลขที่ 17

ฟีโรโมน (Pheromone) 1.ประเภทของฟีโรโมน 1) releaser pheromone : ฟีโรโมนที่มีผลทำให้พฤติกรรมต่างๆ เปลี่ยนไป เช่น มีผลให้เกิดการรวมกลุ่ม (aggregation) เช่น นางพญาปลวก ปล่อยสาร ทำให้ปลวกงานรวมกลุ่มกัน มีผลดึงดูดเพศตรงข้าม (sex attractant) เช่น ผีเสื้อกลาง คืนตัวเมียหลั่งสารดึงดูดเพศตรงข้ามจากต่อม ใต้ท้อง ถ้านำสารนี้ ไปป้ายที่บริเวณใด ตัวผู้จะบินเวียนรอบวัตถุนี้เพื่อต้องการผสม พันธุ์ 2) primer pheromone : ฟีโรโมนที่มีผลต่อ \"สรีระภายใน ทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น ฟีโรโมนราชินีผึ้ง (queen substance) » ปล่อยฟีโรโมนเพื่อ ทำให้ผึ้งงานเป็นหมัน ไม่ให้สืบพันธุ์ 2.การปล่อยและรับฟีโรโมนของสัตว์ : มี 3 วิธี ดังนี้ 1) ปล่อยกลิ่นให้ได้รับกลิ่น (olfaction) : พบในสัตว์เกือบทุกชนิด โดยส่วนใหญ่จะเพื่อดึงดูดให้เพศตรงข้าม มาผสมพันธุ์ รองลงมาคือ การประกาศอาณาเขต เช่น เสือปล่อยฟีโรโมนออกมาพร้อมปัสสาวะ เพื่อประกาศอาณาเขต 2) ปล่อยสารเคมีให้กิน (ingestion) : ส่วนใหญ่พบในแมลง เช่น ผึ้งนางพญาสร้างสารจากต่อมบริเวณรยางค์ปาก (queen's substance) ไว้สำหรับล่อให้ผึ้งงานกินเข้าไป ซึ่งมีผลยับยั้งรังไข่ ของผึ้งงานไม่ให้เจริญ ทำให้ผึ้งงานเป็นหมัน สืบพันธุ์ไม่ได้เหมือน ผึ้งนางพญา 3) ปล่อยสารเคมีให้ดูดซึม (absorption) : พบในแมลงบางชนิด เช่น ตั๊กแตนตัวผู้ปล่อยฟีโรโมนทิ้งเอาไว้หลังจากผสมพันธุ์ เมื่อตัวอ่อน มาสัมผัส ฟีโรโมนก็จะดูดซึมเข้าไปเพื่อกระตุ้นให้เจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย และสืบพันธุ์ได้ นางสาวกิ่งกาญจน์ ภัติศิริ ม.6/5 เลขที่ 17


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook