Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เครื่องหมายวรรคตอน

เครื่องหมายวรรคตอน

Published by เทวิการ์ สมอหมอบ, 2023-02-15 18:05:53

Description: ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายวรรคตอนเบื้องต้น

Search

Read the Text Version

เครื่องหมาย วรรคตอน



คำนำ E-book เรื่อง เครื่องหมายวรรคตอน ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่ง ของรายวิชา ED13201 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ การสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้เกียวกับ เครื่องหมายวรรคตอน ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้ ความหมายของเครื่องหมาย วรรคตอน ประเภทของเครื่องหมายวรรคตอน และวิธีการนำไปใช้ ผู้จัดทําหวังเป็นอย่างยิ่งว่า E-book ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ ต่อผู้อ่าน และผู้ที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับเครื่องหมายวรรคตอน เทวิการ์ สมอหมอบ



สารบัญ หน้า ๑ เรื่อง ๒ ความหมายของเครื่องหมายวรรคตอน ๓ ประเภทของเครื่องหมายวรรคตอน ๗ เครื่องหมายวรรคตอนและวิธีการนำไปใช้ ๘ แบบฝึกหัด ๙ เฉลยแบบฝึกหัด ๑๐ บรรณานุกรม ประวัติผู้เขียน

ความหมายของเครื่องหมายวรรคตอน เครื่องหมายวรรคตอน เป็นเครื่องหมายที่ใช้ ประกอบการเขียน เมื่ออ่านข้อความที่ใช้เครื่องหมาย บางชนิดต้องทำเสียงให้สอดคล้องกับข้อความ บาง ชนิดใช้แยกส่วน แยกตอน บางชนิดต้องอ่านเครื่อง หมายนั้นๆ ๑

ประเภทของเครื่องหมายวรรคตอน เครื่องหมายวรรคตอนแบ่งตามวิธีการใช้ได้ 3 ประเภท ดังนี้ ๑.เครื่องหมายวรรคตอนที่ใช้แล้วต้องอ่านข้อความ โดยใช้น้ำเสียงให้สอดคล้อง เช่น อัศเจรีย์ ปรัศนีย์ อัญประกาศ เป็นต้น ๒.เครื่องหมายวรรคตอนที่ใช้แยกส่วน แยกตอน เช่น มหัพภาค จุลภาค เป็นต้น ๓.เครื่องหมายวรรคตอนที่ต้องอ่านออกเสียง เช่น นขลิขิต เสมอภาค เป็นต้น ๒

เครื่องหมายวรรคตอนและวิธีการนำไปใช้ ๑. มหัพภาค (.) เป็นเครื่องหมายรูปจุด มีวิธีใช้ดังนี้ - ใช้เขียนหลังตัวอักษรเพื่อแสดงว่าเป็นคำย่อ เช่นพุทธศักราช = พ.ศ. - ใช้เขียนตำแหน่งแสดงจุดทศนิยม เช่น ๐๙.๓๐ น. - ใช้เขียนหลังตัวเลจกำกับข้อย่อย เช่น 1. 2. 3. ๒. จุลภาค (,) มีวิธีใช้ ดังนี้ - ใช้เขียนคั่นคำเพื่อแยกข้อความออกจากกัน เช่น ฉันชอบกินเมนูไข่ เช่น ไข่เจียว, ไข่ดาว, ไข่ต้ม - ใช้คั่นตัวเลข เช่น ๑,๒๐๐ บาท ๓. ปรัศนี (?) คือ เครื่องหมายคำถาม ๓ - ใช้เขียนหลังประโยคคำถาม เช่น คุณทำอะไร ? ๔. นขลิขิต ( ) คือ เครื่องหมายวงเล็บ ใช้เขียนคร่อม ข้อความเพื่ออธิบายคำที่อยู่ข้างหน้า เช่น พระเนตร (ตา )

เครื่องหมายวรรคตอนและวิธีการนำไปใช้ ๕. อัศเจรีย์ (!) คือ เครื่องหมายตกใจ มีวิธิใช้ดังนี้ - ใช้หลังคำอุทาน เช่น โอ๊ย ! - ใช้เขียนหลังคำเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เพล้ง! ๖. อัญประกาศ (“ ”) เครื่องหมายคำพูด วิธีการใช้ คือ - ใช้คร่อมข้อความที่ต้องการเน้น เช่น แม่บอกว่า “ลูกต้องเป็นเด็กดี” ๗. บุพสัญญา (\") เป็นเครื่องหมาย ละ มีวิธีการใช้ดังนี้ - ใช้แทนคำหรือข้อความบรรทัดบน เพื่อไม่ต้องเขียนซ้ำอีก เช่น มะม่วง กิโลกรัมละ ๒๐ บาท มังคุด \" ๒๕ บาท ทุเรียน \" ๖๐ บาท ๔

เครื่องหมายวรรคตอนและวิธีการนำไปใช้ ๘. สัญประกาศ (_) เครื่องหมายขีดเส้นใต้ - ใช้ขีดใต้ข้อความเพื่อให้สังเกตได้ชัดเจน เช่น ฉันไม่ต้องการอะไร มากไปกว่า ปัจจัยสี่ ๙. ไปยาลใหญ่ (ฯลฯ) เป็นเครื่องหมาย ละ ข้อความ - ใช้เขียนหลังข้อความที่ยังไม่จบ แสดงว่า ยังมีข้อความประเภท เดียวกันอีกมาก เช่น บ้านฉันปลูกดอกไม้หลายชนิด เช่น มะลิ กุหลาบ ชบา ฯลฯ ๑๐. ไปยาลน้อย (ฯ) เป็นเครื่องหมายละข้อความนั้นๆให้สั้นลง เช่น กรุงเทพฯ ๑๑. ยัติภังค์ (-) เป็นเครื่องหมายแยกพยางค์ เช่น สวรรคต อ่านว่า สะ - หวัน - คด ๕

เครื่องหมายวรรคตอนและวิธีการนำไปใช้ ๑๒. ไม้ยมก (ๆ) ใช้เขียนหลังคำเพื่อออกเสียงอ่านซ้ำ เช่น ขาวๆ ดำๆ ๑๓. เครื่องหมายเสมอภาค (=) เป็นเครื่องหมายที่บอกความ เท่ากันของสิ่ง 2 สิ่ง ๑๔. เว้นวรรค (ไม่มีรูป) เป็นเครื่องหมายช่องว่างเมื่อจบ ประโยค เช่น ในน้ำมีปลาหลายชนิด เช่น ปลาหมอ ปลาช่อน ๑๕. ย่อหน้า (ไม่มีรูป) เรียกว่า มหรรถสัญญา ใช้เขียนเมื่อ เริ่มต้นย่อหน้าใหม่ ๖

ชื่อ-สกุล................................................... เลขที่................ แบบฝึกหัด คำชี้แจง: ให้นักเรียนบอกวิธีการใช้เครื่องหมายวรรคตอน ที่กำหนดให้ต่อไปนี้ ๑. บุพสัญญา ........................................................................... ๒. ยัติภังค์ ................................................................................ ๓. นขลิขิต ................................................................................ ๔. ไปยาลน้อย ......................................................................... ๕. สัญประกาศ ......................................................................... ๖. ไม้ยมก ................................................................................. ๗. ไปยาลใหญ่ ........................................................................ ๘. อัญประกาศ ......................................................................... ๙. อัศเจรีย์ ............................................................................... ๑๐. ปรัศนี ................................................................................ ๗

เฉลยแบบฝึกหัด ๑. บุพสัญญา ใช้แทนคำหรือข้อความบรรทัดบน เพื่อไม่ต้องเขียนซ้ำอีก ๒. ยัติภังค์ เป็นเครื่องหมายใช้แยกพยางค์ ๓. นขลิขิต ใช้เขียนคร่อมข้อความเพื่ออธิบายคำที่อยู่ข้างหน้า ๔. ไปยาลน้อย เป็นเครื่องหมายละข้อความนั้นๆให้สั้นลง ๕. สัญประกาศ ใช้ขีดใต้ข้อความเพื่อให้สังเกตได้ชัดเจน ๖. ไม้ยมก ใช้เขียนหลังคำเพื่อออกเสียงอ่านซ้ำ ๗. ไปยาลใหญ่ ใช้เขียนหลังข้อความที่ยังไม่จบ ๘. อัญประกาศ ใช้คร่อมข้อความที่ต้องการเน้นให้ชัดเจน ๙. อัศเจรีย์ ใช้หลังคำอุทาน , ใช้เขียนหลังคำเลียนเสียงธรรมชาติ ๑๐. ปรัศนี ใช้เขียนหลังประโยคคำถาม ๘

บรรณานุกรม ทรงศักดิ์ พิราบขาว ภูเก้าแก้ว. (๒๐๐๙). เครื่องหมายวรรคตอน. สืบค้นเมื่อ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๖. จาก https://www.gotoknow.org/posts/272949 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (๒๕๖๔). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕. จำนวน ๔๗๐,๐๐๐ เล่ม. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพมหานครฯ: องค์การค้าของ สกสค. ๙

ประวัติผู้เขียน ชื่อ: นางสาวเทวิการ์ สมอหมอบ ชื่อ ประวัติการศึกษา เล่น: น้ำค้าง -สำเร็จการศึกษาชั้น รหัสนักศึกษา: ๖๔๐๔๐๑๐๑๑๒๐ ประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ ชั้นปี: ๒ สาขาวิชา: ภาษาไทย โรงเรียนบ้านวังยาวสามัคคี คณะ: ครุศาสตร์ ต.บ้านหัน อ.โนนศิลา วันเกิด: ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๕ จ.ขอนแก่น อายุ: ๒๐ ปี -สำเร็จการศึกษาชั้น ที่อยู่: ๑๕๘ หมู่ ๕ ต.บ้านหัน มัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ อ.โนนศิลา จ.ขอนแก่น ๔๐๑๑๐ โรงเรียนบ้านไผ่ ต.ใน เมือง อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ๑๐