Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore อาหารไทย4ภาค

อาหารไทย4ภาค

Published by Nararat Saeaui, 2023-02-15 07:58:07

Description: อาหารไทย4ภาค

Search

Read the Text Version

อาหาร 4 ภาค ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้

คำนำ อาหารเป็ นสิ่งที่มีคุณค่าต่อร่างกายของเรา อาหารมีหลายประเภท อาหารแต่ละประเภท มี เอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยเฉพาะเอกลักษณ์ที่แสดงความเป็ นท้องถิ่น ซึ่งนับว่าเป็ นเสน่ห์ อย่างหนึ่งของ ท้ องถิ่นนั ้น ๆ ส าหรับในประเทศไทยเรา อาหารแต่ละท้ องถิ่นนอกจากจะ มีความอร่อยแล้ ว อาหารเหล่านั ้นยังมีคุณค่าทางโภชนาการ และมีคุณค่าทางสมุนไพรที่ จะท าให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์ เนื ้อหาที่ปรากฏในต าราเล่มนี ้ มีรายละเอียดเกี่ยวกับ ความส าคัญของอาหารท้องถิ่น อาหารท้องถิ่น กับวัฒนธรรม คุณค่าอาหารท้องถิ่น อาหาร ท้องถิ่นประเภทพืชผักผลไม้ เห็ดสาหร่าย สัตว์และแมลง รวมทั ้งเครื่องเทศที่ใช้ในอาหาร ท้องถิ่น อาหารท้องถิ่นกับประเพณี นอกจากนี ้ยังกล่าวถึงพฤติกรรม การกินอาหารของ แต่ละท้องถิ่น ค าศัพท์ที่เกี่ยวข้องในอาหารท้องถิ่นของแต่ละภาคของไทย ผู้เรียบเรียงหวัง เป็ นอย่างยิ่งว่าต าราอาหารท้องถิ่นเล่มนี ้ จะมีประโยชน์ต่อนักศึกษาและ อาจารย์ รวมถึง บุคคลอื่น ๆ ที่สนใจจะช่วยกันอนุรักษ์และเผยแพร่เอกลักษณ์ของอาหารท้องถิ่นของ ไทยต่อ ไป

สารบัญ หน้า เริ่อง 1 2 อาหารของภาคเหนือ 3 ลักษณะเด่นของอาหารภาคเหนือ อาหารไทยท้องถิ่นในภาคเหนือ 4 อาหารภาคกลาง 5 อาหารภาคอีสาน 6 อาหารภาคใต้ 7 อาหาร4ภาค

อาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง มี แกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู และผักต่าง ๆ สภาพ อากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น นั่นคือ การที่อากาศ หนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า อาหารเหนือ หรือ อาหารล้านนา มีอยู่มากมายหลายชนิด อาหารบางอย่างมีประวัติความเป็นมา อันยาวนาน มีพืชผักพื้นบ้านที่มีประโยชน์เป็นส่วนประกอบ มีลักษณะการกินที่เป็นเอกลักษณ์ จึง นิยมนำ พืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหาร พื้นบ้าน ชื่อต่าง ๆ เช่น แกงแค แกงหยวกกล้วย แกงบอน อาหารเหนือ เป็นอาหารที่น่าสนใจอีก ภาคหนึ่ง เมนูค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น แกง น้ำพริก หรือยำ ประเภทของอาหารก็จะ คล้ายภาคอื่น แต่อาหารเหนือจะมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์อย่างเด่นชัด เช่นผักบางชนิดก็หาได้ ง่ายเฉพาะในภาคเหนือเท่านั้น เพราะภาคเหนือจะเต็มไปด้วยภูเขา จึงมีผัก มีสมุนไพรจากป่า เยอะแยะมากมาย จึงได้พริกแกงที่มีแต่สมุนไพรนานาชนิดๆ มีมากมาย และมีชื่อเรียกที่แตกต่างจากทุกภาค เราได้รวบรวม สูตรอาหารมากมาย หลากหลาย เมนู ไม่ว่าจะเป็น เมนูต้ม เมนูผัด เมนูแกง เมนูทอด เมนูนึ่ง เมนูปิ้งย่าง ลองนำไปทำรับประทาน ดูได้ อาหารเหนือทำอย่างไรให้อร่อย อาหารเหนือ มีเคล็ดลับอย่างไร

ลักษณะเด่นของอาหารเหนือ สำหรับเอกลักษณ์ของอาหารเหนือ คือ อาหารภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานของอาหาร จะได้จากส่วนผสมที่นำมาทำอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ผัก ปลา ไขมันจะได้จากน้ำมันของสัตว์ เป็นต้น อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ มีความพิเศษตรงที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมการกินจากหลายกลุ่มชน อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ ภาคเหนือของประเทศไทย ในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา เป็นอาณาจักรแห่งหนึ่ง ที่มีความเจริญรุ่งเรือง อาณาเขตขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ พม่า และ ลาว อาหารของ ชาวล้านนา จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนเผ่าต่าง ๆมากมาย อาหารของภาคเหนือ นั้นจะ กินข้าวเหนียว เป็น อาหารหลัก และ ทานคู่กับ น้ำพริก เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง และ แกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค เป็นต้น ด้วยสภาพอากาศของทางภาคเหนือ มีอากาศเย็น ลักษณะของอาหาร จึงมีความแตกต่างจากภาคอื่นๆของไทย อาหารส่วนใหญ่ของชาวเหนือ มีไข มันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล ไส้อั่ว ซึ่งช่วยให้ร่างกายอบอุ่น พืชป่า ที่มักนำมาปรุงอาหารใน อาหารเหนือ เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน เป็นต้น

อาหารไทยท้องถิ่นในภาคเหนือ 1. ข้าวซอย ข้าวซอยเป็นแกงที่มีลักษณะคล้ายแกงเขียวหวาน คือเป็นแกงกะทิชนิด หนึ่ง แต่มาในรูปแบบก๋วยเตี๋ยว นิยมปรุงด้วยเนื้อวัวหรือเนื้อไก่เป็นวัตถุดิบหลัก เสิร์ฟ มาพร้อมกับผักดอง เป็นอาหารยอดนิยมของคนภาคเหนือ 2. ขนมจีนนำ้เงี้ยว เป็นขนมจีนที่กินกับน้ำยาที่เรียกว่า น้ำเงี้ยว เป็นแกงอย่างหนึ่งของ ภาคเหนือ มีส่วนประกอบหลักๆ คือ กระดูกหมู พริกแกงที่ทำจากพริกแห้งทางเหนือ มะเขือเทศ เลือดหมู ปรุงแบบสไตล์บ้านๆ ได้กลิ่นอายความเป็นอาหารท้องถิ่นแท้ๆ ตามสูตรดั้งเดิมของป้าบุญศรี ชาวเมืองลำปาง 3. น้ำพริกหนุ่ม เมนูนี้เป็นอาหารไทยภาคเหนือที่เรียกว่า น้ำพริก (DIP) ที่ทำจากพริก หอมแดง กระเทียม นำทั้งหมดย่างไฟจนสุกหอม ก่อนตำเป็นน้ำพริกท้องถิ่น มักกินคู่ กับผักต้มและข้าวเหนียวนึ่ง ซึ่งก็นับเป็นอาหารสุขภาพอย่างดีเลย แต่ถ้าจะให้อร่อย ขึ้นไปอีก ต้องกินกับข้อไก่ทอด บอกเลยว่าอร่อยเพลินไม่สนใจแคลอรีกันเลยทีเดียว 4. ข้าวซอยน้ำหน้า เมนูนี้เป็นเมนูข้าวซอยชนิดหนึ่ง ที่มีความแตกต่างกับข้าวซอย ทั่วไป คือ ข้าวซอยน้ำหน้าจะไม่ใช่แกงกะทิ ไม่มีพริกแกง แต่จะเป็นก๋วยเตี๋ยวน้ำซุป ใสๆ ราดด้วยหมูสับที่นำไปเคี่ยวกับถั่วเหลืองหมักและพริกแห้ง (คนภาคเหนือเรียกว่า จิ๊นคั่ว เป็นเนื้อหมูคั่วกับเครื่องแกงและถั่วเน่า) 5. ข้าวแต๋น เมนูนี้รสชาติน่าสนใจสุดๆ เป็นขนมขบเคี้ยวรูปร่างกลมๆ ทำจากข้าว เหนียวที่นำไปผสมรวมกับน้ำตาล เกลือ งา และน้ำแตงโม จากนั้นนำไปตากแห้ง แล้ว นำมาทอดจนกรอบฟู ปิดท้ายด้วยการราดน้ำตาลอ้อยบนหน้าขนม 6. ข้าวกั๊นจิ๊น เมนูนี้เป็นการนำข้าวสวย เนื้อหมูสับ เลือดหมู โรยน้ำมันกระเทียมเจียว นำมาห่อรวมกันในใบตองแล้วนำไปนึ่งจนสุก ซึ่งหนุ่มออสตินก็ยอมรับว่า “การนำ เลือดมาปรุงอาหารเป็นสิ่งที่แปลกและทำให้ชาวต่างชาติรู้สึกเสียขวัญ แต่ถ้าไม่บอกว่า เมนูนี้ใส่เลือดลงไป ก็จะไม่รู้เลย เพราะรสชาติที่ได้ลองชิมนั้นเผ็ดร้อน หอมกระเทียม และอร่อยมาก”

อาหารภาคกลาง เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ของภาคกลางเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลอง หนองบึงมากมาย จึงเป็นแหล่งอาหารทั้งพืชผักและสัตว์น้ำนานาชนิด พื้นที่บางส่วนติดชายฝั่งทะเลทำให้ วัตถุดิบ ในการประกอบอาหารหลากหลายอุดมสมบูรณ์ ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีภูเขาบ้าง ส่วนมากเป็นภูเขาเตี้ยๆ มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน ที่ สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง ทำให้เกิดที่ราบลุ่มริมแม่น้ำเหมาะ สำหรับเพราะปลูกและเลี้ยงสัตว์ จึงเป็นภาคที่อุมสมบูรณ์มากที่สุด เป็นที่ตั้งของเมืองหลวง นับหลายร้อยปี ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ จึงทำให้เป็นศูนย์รวมของ วัฒนธรรมมีการติดต่อกับต่างประเทศ ทำให้เกิดการรับอิทธิพลทางด้านอาหาร เช่น การผัด โดยใช้กระทะและน้ำมันจากชาวจีน ขนมทองหยิบ ฝอยทอง มาจากชาวโปรตุเกส เครื่องแกง ที่ใส่ผลกะหรี่มาจากชาวฮินดู เป็นต้น อาหารภาคกลางมักจะมีเครื่องเคียงของแนม เช่น น้ำปลาหวานคู่กับกุ้งเผา ปลาดุกย่าง แกงเผ็ดคู่กับของเค็ม น้ำพริกลงเรือคู่หมูหวาน เป็นต้น มีขนมหวานและอาหารว่างมากกกว่าภาคอื่นๆ เช่น ขนมจีบไทย ข้าวเกรียบปากหม้อ ข้างตัง หน้าตั้ง กระทงทอง ขนมชั้น ขนมสอดไส้ เป็นต้น ที่สำคัญเป็นที่ของพระราชวังของ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลต่างๆ มีการสร้างสรรค์อาหารชาววังที่เลื่องชื่อ อาหารภาคกลางมีความหลากหลายทั้งในการปรุง รสชาติ และการตกแต่งให้น่ารับ ประทาน สืบเนื่องจากการรับและปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมจากภายนอก เช่น จีน อินเดีย ชาวตะวันตก อีกทั้งอาหารภาคกลางบางส่วนได้รับอิทธิพลมาจากอาหารของราชสำนัก อีกด้วย สำรับอาหารภาคกลางมักมีน้ำพริกและผักจิ้ม โดยรับประทานข้าวสวยเป็นหลัก

อาหารภาคอีสาน หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ภาคอีสาน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ประกอบด้วย ทิวเขา มีผ่าไม้น้อย เป็นทุ่งกว้าง เหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์ รับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก รสอาหารเค็ม เผ็ด และ เปรี้ยว ทำให้เกิดอาหารที่ขึ้นชื่อ คือ ส้มตำ ลาบ ซุปหน่อไม้ ไส้กรอก หม่ำ (น้ำตับ) การจัดเตรียม อาหารไม่เน้นสีสันของอาหารหรือรูปแบบมากนัก กลิ่นของอาหารได้จากเครื่องเทศเหมือนภา คอื่นๆ แต่จะนิยมใช้ใบแมงลัก ผักชีลาว ผักชีฝรั่ง ผักแพว จะใส่ในอาหารเกือบทุกชนิด อาหาร ประเภทแกงไม่นิยมใส่กะทิ สภาพภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานมีผลต่ออาหารการกินของคนท้องถิ่น อย่างมาก เนื่องจากพื้นที่บางแห่งแห้งแล้ง วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารซึ่งหาได้ตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่ ได้แก่ ปลา แมลงบางชนิด พืชผักต่าง ๆ การนำวิธีการถนอมอาหารมาใช้เพื่อรักษา อาหารไว้กินนาน จึงเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีพของคนอีสาน ชาวอีสานจะมีข้าวเหนียวนึ่งเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับภาคเหนือ เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหาร ได้แก่ สัตว์ที่หามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ แมลงต่าง ๆ ที่มาของรสชาติอาหารอีสาน เช่น รสเค็ม ได้จากปลาร้า รสเผ็ด ได้จากพริกสดและพริกแห้ง รสเปรี้ยวได้จากมะกอก ส้มมะขาม และมดแดง ในอดีตคนอีสานนิยมหมัก ปลาร้าไว้กินเองเพราะมีปลาอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับเป็นแหล่ง เกลือ สินเธาว์ ทำให้การทำปลาร้าเป็นที่แพร่หลายมาก จากปลาร้าพื้นบ้านอีสานได้มีการพัฒนาทั้งวิธี การทำและรสชาติ จนกลายเป็นตำรับปลาร้าที่ส่งขายต่างประเทศในปัจจุบัน

อาหารภาคใต้ ภาคใต้จะเริ่มตั้งแต่ชุมพรลงไปถึงประเทศมาเลเซีย มีลักษณะเป็นแผ่นดินที่ยื่นลงไปในทะเล โดยมีทะเลขนาบทั้ 2 ด้าน มีทิวเขาตะนาวศรีอยู่ทางทิศตะวันตกกั้นแนวพรมแดนไทยกับพม่า มี ฝนตกชุกและมีช่วงฤดูฝนนานกว่าภาคอื่นๆ ของประเทศ จึงมีผักที่ใช้เป็นอาหารแตกต่างไปจาก ภาคอื่นๆ หลายชนิด เช่น สะตอ ลูกเนียง มะม่วงหิมพานต์ หน่อเหวียง ใบพาโหม อ้อดิบ อาหารภาคใต้โดยทั่วไปมักมีรสจัด คือ เผ็ด เค็ม รสหวานได้จากกะทิ เครื่องปรุงรสเค็มได้จาก กะปิ น้ำปลา น้ำบูดู รสเปรี้ยวได้จากมะนาว มะกรูด มะม่วงเบา ส้มแขก สีอาอาหารภาคใต้โดย ทั่วไปมักมีรสจัด คือ เผ็ด เค็ม รสหวานได้จากกะทิ เครื่องปรุงรสเค็มได้จากกะปิ น้ำปลา น้ำบูดู รสเปรี้ยวได้จากมะนาว มะกรูด มะม่วงเบา ส้มแขก สีอาหารจะออกสีเหลืองจากขมิ้น ซึ่งถือ เป็นเอกลักษณ์ที่นอกจากให้สีแล้ว ยังให้กลิ่นด้วย และดับกลิ่นคาวของอาหารทะเลนี้เป็นอาหาร หลัก การที่อาหารภาคใต้มีรสจัด จึงต้องมีผักรับประทานคู่ไปด้วย เพื่อช่วยลดความเผ็ดร้อนลง เรียกว่า “ผักเหนาะ” เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว สะตอ ลูกเนียง ยอดมะกอก นอกจากนี้ ยัง มีการถนอมอาหารที่ขึ้นชื่อ เช่น กุ้งเสียบ น้ำบูดู ไตปลา เป็นต้น อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหาร มาเลเซีย อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเล ทั้งสองด้าน มีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภท แกงและเครื่องจิ้ม จึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย ความหลาก หลายในสำรับอาหารปักษ์ใต้ได้รับอิทธิพลจากอินเดียใต้ ทำให้เกิดตำรับอาหารใหม่มากมาย ล้วน ผ่านวิธีการดัดแปลง ปรับปรุงเป็นวัฒนธรรมอาหารการกินที่ถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกหลาน ใน ปัจจุบัน ทำให้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากภาคอื่นอย่างชัดเจนคือ รสชาติจัดและเน้นเครื่องเทศ

อาหาร4ภาค


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook