100 พญานาค ตามคมั ภรี ท์ างพทุ ธศาสนาไดแ้ ยกพญานาคไวถ้ งึ 1,024 ชนดิ ในหนงั สอื ปรมัตถโชติกะมหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริเฉทที่ 5 จัดหมวดหมู่พญานาคไว้ 4 ประเภทคือ 1. กฏฐมุข พญานาคมีพิษ ถ้ากัดใครแล้ว ร่างกายของผู้น้ันจะแข็งไป ทง้ั ตวั อวยั วะแขนขาจะงอเขา้ และยดื ออกไมไ่ ด้ และปวดมาก 2. ปตู มิ ขุ พญานาคมีพษิ ถา้ กดั ใครแลว้ รอยแผลทถ่ี กู กัดจะเน่าและมี นำ้ เหลอื งไหลออกมา 3. อคคิมุข พญานาคมีพิษ ถ้ากัดใครแล้ว เกิดความร้อนไปท่ัวทั้งตัว รอยแผลทถี่ กู กัดเปน็ ร้วิ รอยคล้ายกับถูกไฟไหม ้ 4. สตถมขุ พญานาคมีพษิ ถ้ากดั ใครแล้ว ผนู้ นั้ จะเหมอื นกับถูกฟา้ ผา่ ใน 4 ประเภทนี้ พญานาคประเภทหน่ึงๆ มีวิธีทำอันตรายได้ 4 วิธี รวมเป็น 16 ชนิด ในวิธีทำอันตรายทั้ง 16 ชนิดนี้ ชนิดหนึ่งๆ ก็แบ่งวิธีทำ อันตรายออกไปไดอ้ ีก 4 ชนดิ รวมเป็น 64 ชนดิ ใน 64 ชนิด แต่ละชนดิ ยังแบ่งออกเป็นอกี 4 ชนิดคอื 1. อันฑชพญานาค คอื พญานาคทีเ่ กิดจากไข่ 2. ชลาพุชพญานาค คือ พญานาคทเ่ี กิดในครรภ ์ 3. สังเสทชพญานาค คือ พญานาคท่เี กิดจากเหง่ือไคล 4. โอปปาตพิ ญานาค คือ พญานาคทีเ่ กิดมากโ็ ตเลย รวมเปน็ 256 ชนดิ ในบรรดา 256 ชนดิ แตล่ ะชนดิ ยงั แบง่ ไดอ้ กี 2 ชนดิ คอื 1. ชลพญานาค พญานาคท่ีเกดิ อยใู่ นนำ้ นาคพวกนี้เนรมติ ตนไดแ้ ตใ่ น นำ้ เมอ่ื อย่บู นบก เนรมติ ตนไมไ่ ด้ 2. ถลชพญานาค พญานาคท่ีเกดิ บนบก นาคพวกน้เี นรมิตตนไดแ้ ต่บน บก เมื่ออยใู่ นน้ำ เนรมิตตนไม่ได้ รวมเป็น 512 ชนิด ในบรรดา 512 ชนิด แต่ละประเภทยังแบ่งได้อีก 2 ชนิดคือ พญานาคท่ีเสวยกามคุณกับพญานาคท่ีไม่เสวยกามคุณ รวมเป็น พญานาค 1,024 ชนดิ
101 ตำนานพุทธศาสนาก็มีพญานาคเข้ามาเก่ียวข้องด้วย อย่างเช่น ตอนท่ีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จออกจากใต้ร่มไทร เสด็จประทับท่ีใต้ต้น มุจลินท์ (ต้นจิก) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ เกิดฝน ตกไม่ขาดสายตลอดทั้ง 7 วัน พญานาคชื่อมุจลินท์ ผู้เป็นราชาแห่งนาค ได้ออกมาจากนาคพิภพ ขนดกายเป็นพุทธบัลลังก์ แล้วแผ่พังพานใหญ่ ปกคลุมเบื้องบน เหมือนก้ันเศวตฉัตรถวายพระพุทธองค์ ปกปอ้ งมิใหล้ มฝน และลมหนาวมาต้องพระวรกาย เมื่อฝนหยุด พญานาคราชจึงคลายขนด จำแลงกายเป็นชายหนุ่ม ยืนถวายนมัสการเบื้องหน้าพระพุทธองค์ เรียก พระพุทธรปู ปางน้ีวา่ “พระพทุ ธรปู ปางนาคปรก” พระพทุ ธรปู ปางนาคปรกทพ่ี ระธาตเุ ชิงชุม จงั หวดั สกลนคร พระอิรยิ าบถน่งั ขดั สมาธริ าบ ทรงหงายพระหัตถ์ (มอื ) ทง้ั สอง แบ ซอ้ นกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทบั พระหตั ถ์ซา้ ย มีพญานาค ขดร่างเป็นพุทธบัลลังก์ และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร บางแห่ง สร้างเปน็ แบบนง่ั ขัดสมาธเิ พชร (เรียบเรียงจากหนังสือปางพระพุทธรปู โดย สมพร ไชยภมู ิธรรม)
102 พญานาคมีฤทธิ์มาก สามารถเนรมิตตนให้เป็นคนได้ แต่เม่ืออยู่ใน 5 สภาวะน้ี จะคนื รา่ งเปน็ นาคตามเดมิ 1. ขณะปฏิสนธิ 2. ขณะลอกคราบ 3. ขณะเสพเมถนุ กับพญานาคดว้ ยกัน 4. ขณะนอนหลบั โดยปราศจากสต ิ 5. ขณะตาย ในพระบาลีกล่าวถึงพวกนาคท่ีครุฑไม่สามารถจับกินเป็นอาหารได ้ มีอยู่ 7 จำพวกคือ นาคที่มีช้ันการเกิดสูงกว่าครุฑ กัมพลัสตรนาคราช ธตรัฐ- นาคราช นาคท่ีอยู่ในสีทันดรสมุทรทั้งเจ็ด นาคท่ีอยู่ในแผ่นดิน นาคที่อยู่ใน ภูเขา นาคที่อยู่ในวิมาน นอกจากนี้นาคท่ีมีขนาดใหญ่กว่าครุฑก็ไม่กลัวครุฑ เชน่ กัน ทางวรรณคดี พญานาคเป็นสัตว์น้ำ มีฤทธิ์มาก เป็นเจ้าแห่งงู อยู่ใน บาดาล ตามพงศาวดารเก่าๆ มักกล่าวถึงพญานาคเสมอ เช่น ในพงศาวดาร เขมร กม็ นี างนาคเข้ามาเกยี่ วข้องด้วย ส่วนในนทิ านเกา่ ๆ ของไทยกม็ ีพญานาค เช่นกัน อยา่ งเรือ่ งมโนราห์ ซ่งึ อยูใ่ นปญั ญาสชาดก เรียกว่า สุธนชาดก ทางโบราณคดี พญานาคมีระบบปกครองเหมือนมนุษย์ คือมีกษัตริย์ อำมาตย์ ราษฎร บ้างก็นับถือศาสนาพุทธ พวกท่ีนับถือศาสนาพุทธจะไม่ถูก ครุฑจับกิน นอกจากนี้ในตำนานของชาติไทย ก็มีเร่ืองพญานาคเข้ามามีอิทธิพล ด้วย สมัยหนึ่ง มีพญานาค 2 ตัวอาศัยอยู่ด้วยกันมานานท่ีหนองแส คือใน แคว้นยูนนาน ภายหลังเกิดผิดใจกันจนอยู่ร่วมกันไม่ได้ พญานาคตัวหน่ึงออก จากหนองแส โดยเอาอกไถเป็นทางลงมาทางตะวันออกเฉียงใต้ อกของ พญานาคตนนั้นไถดนิ เปน็ ร่องลกึ มากจนเกิดเปน็ แม่นำ้ โขง เทพเจ้าของไทยที่ใช้พญานาคเป็นพาหนะคือ พระวรุณหรือพระพิรุณ ซง่ึ เปน็ เทพท่ีดลบันดาลให้เกดิ นำ้ เกดิ ฝน ซึง่ ก็เข้ากับพญานาค เพราะพญานาค ก็มีหนา้ ที่รักษาแมน่ ำ้ ลำธารและให้ฝนอยู่แล้ว (เรียบเรยี งจากหนังสอื อมนษุ ยนยิ าย โดย ส.พลายน้อย)
103 หมอลำ เป็นศิลปะการแสดงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะถิ่น ต้องใช้ความสามารถของผู้แสดงหลายด้าน ทั้งด้านภาษา น้ำเสียง ลีลาการฟอ้ น ไหวพรบิ ความสามารถดา้ นดนตรี การรอ้ งหรอื การลำ ผทู้ ม่ี คี วาม ชำนาญในการลำ เรยี กวา่ “หมอลำ” เครอื่ งดนตรที ใี่ ชป้ ระกอบการแสดงคอื แคน ผทู้ มี่ ีความชำนาญในการเป่าแคน เรยี กวา่ “หมอแคน” พัฒนาการและลักษณะการแสดงของหมอลำ แบ่งได้ 5 ประเภท 1. หมอลำพนื้ เปน็ หมอลำที่มมี าด้ังเดิม นา่ จะเก่าแก่ทส่ี ดุ เปน็ หมอลำ ท่ีใช้ผู้แสดงเพียงคนเดียว แสดงเป็นทั้งตัวพระ ตัวนาง และตัวประกอบ แสดง ตั้งแต่หัวค่ำจนสว่าง ใช้ผู้ชายเป็นผู้แสดง ผู้แสดงจะลำเป็นทำนอง โดยทำนอง ทีน่ ยิ มมี 3 ทำนอง คอื ทำนองลำทางส้นั (จังหวะเร็ว) ทำนองลำเดิน (จังหวะ ก่ึงสั้น กึ่งยาว) และทำนองลำทางยาว (จังหวะค่อนข้างช้า ทำนองอ่อนหวาน บางคร้งั โหยหวน ) ทงั้ 3 ทำนองน้ี ใชเ้ ลา่ เร่อื งในวรรณกรรมพืน้ บา้ นอสี าน เชน่ เรอ่ื งการะเกด นางสบิ สอง ขลู นู างอวั้ สนิ ชยั ผาแดงนางไอ่ จำปาสตี่ น้ ปลาบทู่ อง เป็นต้น จากสาเหตทุ ีน่ ิยมลำเรอ่ื งต่างๆ ในเชิงนิทาน หมอลำพืน้ จึงมีช่ือเรียกอกี อยา่ งวา่ ลำพืน้ คำว่า “พน้ื ” หรือ “เร่อื ง” หมายถึง นิทาน หรือ เรื่องราว เคร่ืองดนตรีที่ใช้ประกอบคือ แคน โดยท้ังหมอแคนและหมอลำอาจ แสดงบนพ้ืนลานวดั หรอื เวทียกพนื้ สูงเล็กนอ้ ย 2. หมอลำกลอน อยู่ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกับหมอลำพ้ืน เป็นการ ลำท่ีใช้ทำนองและจังหวะเข้ากับบทลำที่เป็นบทกลอน โดยมีการลำเป็นคู่ เริ่ม แรกเป็นผู้ชาย 2 คน ลำเก่ียวกับหลักธรรมทางพุทธศาสนา เรียกว่า ลำโจทย์ แก้ ต่อมาจึงเกิดมีการลำคู่ชายหญิง กลอนลำจะเกี่ยวกับความรัก การเก้ียว พาราสี จึงเรยี กวา่ ลำเกย้ี ว ท้งั ลำโจทยแ์ ก้และลำเก้ียว เน้ือหาส่วนใหญ่จะกลา่ ว ถึงเร่ืองราวต่างๆ ผสมผสานกัน เช่น เร่ืองราวทางพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ การเมือง เรอ่ื งความรกั ของหญิงชาย ทำนองการลำมี 4 ทำนองคือ ทำนองทาง ส้ัน ทำนองลำเดิน ทำนองลำทางยาว ทำนองลำเต้ย (จังหวะสนุกสนานเร้าใจ ประกอบทา่ ฟ้อน)
104 ปัจจุบัน หมอลำกลอนได้พัฒนารูปแบบการแสดงให้มีการลำกลอน ประยุกต์ผสมกับเพลงลูกท่งุ ปรับจังหวะให้สนกุ เพมิ่ หมอลำจาก 1 คู่ เปน็ 2 คู่ หรอื มากกวา่ เพม่ิ เครอื่ งดนตรจี ากทม่ี แี ตแ่ คน เปน็ กลองชดุ กตี ารเ์ บส บางคณะ มีหางเครือ่ งเตน้ ประกอบ สอดแทรกคำพูดแบบโวหารศิลปนิ เรียกว่า “สอย” มี การพดู คยุ ทักทายผู้ชม ให้ผู้ชมได้เตน้ รำหน้าเวที เรียกลกั ษณะการลำแบบนวี้ ่า “ลำกลอนซ่ิง” 3. หมอลำหมู่ เปน็ การลำแบบหมูค่ ณะ มผี ู้แสดงครบตามบทบาทของ ตัวละครในเรื่อง เช่น พระเอก นางเอก ผู้ร้าย พระรอง นางรอง ตัวตลก ตัวประกอบ นิยมลำเป็นเร่ืองราวสะท้อนให้เห็นถึงสภาพวิถีชีวิตมนุษย์ เช่น เรอ่ื งราวเกยี่ วกบั ชาดก ตำนาน นทิ าน คตสิ อนใจเกย่ี วกบั พทุ ธศาสนา การเมอื ง สภาพสังคม ด้วยเหตุน้ีจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ลำเร่ือง คือ แสดงเป็นเรื่องๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ ทำนองการลำมี 3 ทำนอง ได้แก่ ทำนองลำทางยาว ท ำนองลำ เดนิ ทำนองลำเตย้ ดนตรีท่ีใช้คือแคน ต่อมาเม่ือรูปแบบการลำเปล่ียนไปคือมีการเพิ่ม จำนวนผ้แู สดง แตง่ กายหรหู ราข้นึ จงึ มีการเพิ่มเครื่องดนตรีเขา้ ไปคอื พิณ ซอ กลองโทน ฉง่ิ ฉาบ และเม่ือเพลงลูกทุ่งไดร้ ับความนยิ มมากขึ้น จึงนิยมนำเพลง ลูกทุ่งมาเล่นก่อนแสดง มีหางเคร่ืองเต้นประกอบ เพิ่มเคร่ืองดนตรีในวงดนตรี สากลเขา้ ไปอีก เช่น กตี าร์ เบส แซกโซโฟน คยี บ์ อร์ด กลองชุด เปน็ ตน้ หมอลำหมู่ แบง่ การแสดงเป็น 2 ช่วงคอื ช่วงแรกเป็นการโหมโรง มีนักร้องร้องเพลงลูกทุ่ง มีหางเครื่องเต้น ประกอบ ช่วงท่ีสองเป็นการบรรเลงดนตรีประกอบการลำ ได้แก่ ประกอบตอน ออกโรง ประกอบการลำ ใช้อิเล็กโทนหรือแคนบรรเลง ประกอบท่าฟ้อน ประกอบการสรา้ งบรรยากาศในการแสดง เช่น บทโศก และประกอบตอนจบ 4. หมอลำเพลิน เป็นลำที่เน้นความสนุกสนาน พัฒนารูปแบบมาจาก หมอลำหมู่และปรับองค์ประกอบบางส่วน เช่น เครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรี ประกอบ จังหวะการลำ จำนวนผู้ลำ การดำเนนิ เร่ือง เพ่ือใหเ้ ป็นทีน่ ยิ มมากขึ้น การแสดงลำเพลินนิยมแสดงเป็นเร่ืองราวเกี่ยวกับนิทานพ้ืนบ้านหรือเร่ืองราว
105 ที่ผกู ขึ้นเพือ่ อบรมจิตใจ หมอลำเป็นผู้แสดงบทบาทของตัวละคร มฉี ากประกอบ แตง่ กายคล้ายหมอลำหมู่ แตท่ ันสมัยมากข้ึน เช่น ผหู้ ญงิ นุง่ กระโปรงสั้น เร่ืองท่ี นิยมนำมาแสดงคือ เร่ืองแก้วหน้าม้า จึงมีช่ือเรียกอีกอย่างว่า ลำแก้วหน้าม้า สว่ นลีลาการแสดง มีการฟ้อนดว้ ยลีลาทร่ี วดเรว็ เตน้ และหมนุ ตวั ด้วย 5. หมอลำผีฟ้า นอกจากหมอลำท่ีเน้นความสนกุ สนานเพลิดเพลินแล้ว ยังมีหมอลำที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการรักษาคนเจ็บป่วย ชาวอีสานมีความเชื่อว่า เสียงลำสามารถติดต่อกับผีสางเทวดาได้ บางคนเช่ือว่าผีเป็นผู้ท่ีทำให้เกิด โรคภัยไข้เจบ็ เมือ่ มคี ณะหมอลำทสี่ ามารถตดิ ต่อกบั ผไี ด้ จึงเรยี กลำทใ่ี ชร้ กั ษาน้ี วา่ หมอลำผีฟ้า หรอื หมอลำไทเทิง บางแห่งเรยี ก หมอลำผแี ถน เคร่ืองดนตรที ี่ ใช้คอื แคน (เรียบเรียงจากหนังสือดนตรแี ละศลิ ปะการแสดงพื้นบ้านอีสาน โดย ผศ.สพุ รรณี เหลอื บญุ ช)ู
106 สกา เป็นกีฬาในร่มท่ีนิยมเล่นกันมาแต่โบราณอย่างหน่ึงของไทย มีข้อ สนั นิษฐานเกี่ยวกับประวตั ิความเป็นมาของการเล่นสกาวา่ นา่ จะมาจาก 1 ใน 2 ประเทศนี้ คือ หน่ึง มาจากประเทศอินเดีย สังเกตได้จากวรรณคดีไทยท่ีได้เค้า โครงเร่ืองหรือแปลมาจากอินเดีย ล้วนมีการเล่นสกาเป็นตัวดำเนินเร่ือง เช่น เรื่องพระนล หรอื มหาภารตยุทธ สอง มาจากประเทศอียิปต์ เป็นการสันนิษฐานตามโบราณคดีของ ขุนวิจิตรมาตรา ท่านให้ความเห็นถึงส่ิงที่คิดในเร่ืองคาวีว่า “ฝร่ังเขาขุดค้น ฮวงซุ้ย ได้พบของเล่นพวกหนึ่งมีตัวหมาก 2 ชุด ชุดละ 13 ตัว มีช้ินไม้เล็กๆ ซึ่งนักปราชญ์เข้าใจว่าจะเป็นของสำหรับนับแต้ม แต่จะเล่นอย่างไรไม่รู้ ช้ินไม้ น้ันมีลวดลาย เรียกว่า “กะลา” หรอื “กา” ซง่ึ ดใู กลเ้ คยี งกบั “สกา” ทเี่ ราเลน่ กนั การเล่นสกามีลักษณะตรงกับ “ดวด” เป็นการแสดงถึงลัทธิความเชื่อในเรื่อง เวียนว่ายตายเกิดอย่างเดียวกัน ดังน้ันอียิปต์ดึกดำบรรพ์อาจจะมีการเล่นสกา กันก็ได้ ท่ีเรียกว่า “สกา” ของเราจะมาอย่างไรยังไม่ทราบแน่นอน แต่ในภาษา อียปิ ต์กม็ คี ำวา่ “สะ” ทแ่ี ปลวา่ “ผี” คำวา่ “กา” กค็ อื วิญญาณหรือผีพวกเดยี วกนั เราอาจจะเอาคำวา่ “สะ” มาควบกบั “กา” เปน็ คำซอ้ นเรยี กเปน็ “สะ-กา” กไ็ ด”้ การเล่นสกาแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เริ่มแรกมีเพียงไม้กระดาน สำหรับทอดสกาแล้วนำตัวสกาวางในกระดานคลุกเคล้าให้ปนกันจนมองไม่ออก วา่ ลกู บาศกใ์ ดมแี ตม้ เทา่ ใด ตา่ งฝา่ ยตา่ งหยบิ สกาขน้ึ มาคนละลกู บาศก์ โดยไมใ่ ห้ ฝ่ายตรงขา้ มรู้แต้มตน เม่ือหยิบลกู บาศก์สกาและทอดยังกระดานสกา กน็ ับแต้ม รวมกันไว้ เมื่อฝ่ายหนึ่งทอดเสร็จ จึงเปลี่ยนให้อีกฝ่ายทอดบ้าง ฝ่ายใดมีแต้ม มากกว่าจึงเป็นผู้ชนะ ข้ออนุโลมคือในขณะทอดลูกสกา ใครตาไวรู้ว่าลูกสกา จะตกลงมาไม่ดใี ห้เอามือรบั ไวก้ อ่ นลกู สกาจะตกลงถึงกระดานสกา แลว้ โยนใหม่ ได้ไม่ถือว่าผิดกติกา ปัจจุบันผู้คนไม่ค่อยนิยมเล่นสกา อาจเป็นเพราะมีข้ันตอน มาก ระยะเวลาในการเลน่ นาน และเลน่ ไม่สนุกเรา้ ใจเชน่ กีฬาอ่ืน (เรยี บเรียงจากสมาคมกฬี าไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ http://www.thaisportworld.com/sport_sga01.html)
107 ทศพธิ ราชธรรม คือธรรมสำหรับพระราชาในการใช้พระราชอำนาจและการบำเพ็ญ ประโยชนต์ อ่ อาณาประชาราษฎร 1. ทานัง (ทาน) หรือการให้ ได้แก่ การพระราชทานพระราชทรัพย ์ สว่ นพระองค์ การทรงเสยี สละพระกำลงั ในการปกครองแผน่ ดนิ การพระราชทาน พระราชดำริอันก่อให้เกิดสติปัญญาและพัฒนาชาติ การพระราชทานเสรีภาพ อันเปน็ หัวใจแห่งมนษุ ย์ 2. ศีลงั (ศลี ) การปฏิบตั ติ นให้อย่ใู นพระศาสนา 3. ปริจาคงั (บริจาค) อันได้แก่ การทีท่ รงสละพระราชทรัพย์ หรือสิ่งที่ เปน็ ประโยชน์ เพอ่ื รักษาธรรมและพระราชอาณาจักรของพระองค์ 4. อาชชะวงั (ความซอื่ ตรง) ได้แก่ การซื่อตรงในฐานะที่เป็นผ้ปู กครอง ดำรงอย่ใู นสตั ย์ สุจริต ซ่ือตรงตอ่ พระราชสัมพันธมติ ร และอาณาประชาราษฎร 5. มัททวะ (ความอ่อนโยน) ทรงเป็นผู้มีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพ ในเหตุผลที่ควร ทรงมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลท่ีเสมอกัน และต่ำกวา่ 6. ตปะ (ความเพยี ร) คอื การทพ่ี ระมหากษตั รยิ ท์ รงตง้ั พระราชอตุ สาหะ ปฏบิ ัติพระราชกรณียกิจให้เปน็ ไปด้วยดี โดยปราศจากความเกียจครา้ น 7. อักโกธะ (ความไม่แสดงความโกรธ) ไม่พยายามมุ่งร้ายผู้อ่ืน แม้จะ ลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล ทรงมีพระเมตตา ไม่ทรงก่อเวรแก่ผู้ใด ไม่ทรง พระพโิ รธโดยเหตทุ ี่ไม่ควร และแมจ้ ะทรงพระพิโรธ ก็ทรงขม่ เสยี ใหส้ งบได้ 8. อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน) ทรงมีพระราชอัธยาศัย กอปรด้วย พระมหากรุณา ไม่ทรงก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น ทรงปกครองประชาชนด่ัง บิดาปกครองบุตร 9. ขันติ (ความอดทน) คือ การที่มีพระราชจริยานุวัตรอันอดทนต่อ สงิ่ ทงั้ ปวง รกั ษาพระราชหฤทยั และพระอาการ พระกาย พระวาจา ใหเ้ รยี บรอ้ ย
108 10. อวิโรธะนะ (ความเท่ียงธรรม) การท่ีทรงตั้งอยู่ในขัตติยราช ประเพณี ไม่ทรงประพฤติผิดจากพระราชจริยานุวัตร นิติศาสตร์ ราชศาสตร์ ไมท่ รงประพฤตใิ หค้ ลาดจากความยตุ ธิ รรม ทรงอปุ ถมั ภย์ กยอ่ งคนทมี่ คี วามชอบ ทรงบำราบคนที่มีความผิดโดยปราศจากอำนาจอคติ 4 ประการ และไม่ทรง แสดงให้เห็นดว้ ยพระราชหฤทัยยินดียนิ รา้ ย (เรยี บเรยี งจากหนังสือ ธ คอื ผู้ให้ โดย ศนู ยพ์ ัฒนาหนงั สือ กรมวชิ าการ กระทรวงศึกษาธิการ และเวบ็ ไซต์มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ http://web.ku.ac.th/king72/2542-11/page20.htm)
109 หนงั เป็นการละเล่นที่ได้รับความนิยมมากในสมัยกรุงศรีอยุธยาและ รัตนโกสินทร์ตอนต้น เรื่องท่ีใช้เล่นหนังมีอยู่เรื่องเดียวคือ รามเกียรต์ิ การสลัก รปู หนงั ได้แบบมาจากภาพสลกั บนปราสาทหินในเขมรท่แี สดงรูปด้านข้าง หลังจอหนังมีกองไฟหรือร้านเพลิงเพ่ือสุมไฟให้เกิดแสงเงาจากตัวหนัง ทาบไปทจี่ อ เครอ่ื งดนตรปี ระกอบการเลน่ หนงั มี ป่ี ตะโพน กลอง ฆอ้ งวง นอกจากน้ี ยังมีเคร่ืองมือพิเศษอีก 2 ช้ินคือ โกร่งทำด้วยปล้องไม้ไผ่ และกลองต๋ิง 2 ลูก มขี นาดเลก็ กว่ากลองทดั เชน่ เดยี วกบั กลองชาตร ี คนเล่นหนงั มี 2 พวกคอื คนเชิด กบั คนพากยแ์ ละเจรจา คนเชิดมีหลายคน เมื่อจะเชิดหนังต้องยกขาเต้นตามจังหวะฆ้องกลอง คนพากย์และเจรจามีอย่างน้อย 2 คน บทพากย์ส่วนมากจะเป็นกาพย์ มีฉันท์ ปนบ้าง แต่บทเจรจาจะเป็นร่ายท่ีมักใช้ความจำด้นให้เข้ากับเรื่องเอง ทำนอง พากย์และเจรจาดัดแปลงจากทำนองสวดต่างๆ เช่น สวดมหาชาติของชาวบ้าน หรือสวดคำหลวง โขน เกิดจากการรวมการละเล่นเดิมที่มีอยู่แล้ว ท้ังหนัง ระบำ รำเต้น ชกั นาคดกึ ดำบรรพ์ ฯลฯ จนกลายเปน็ สิ่งใหม่ท่ีเรยี กวา่ “โขน” เรือ่ งท่ีนำมาเลน่ โขนมาจากรามายณะของอินเดีย เมือ่ ไทยรบั เขา้ มาแลว้ จงึ เรยี กว่า รามเกยี รติ์ ตัวโขนจะใส่หน้ากากจึงพูดไม่ได้ ต้องใช้คนพูดแทนตัวโขนอย่างน้อย 2 คน คอยเลา่ เรือ่ งโดยการพากยแ์ ละเจรจาเหมอื นกับหนงั ท่าทางการเลน่ โขน นำมาจากภาพฉลุบนหนังควายของการละเล่นหนัง ซ่ึงเป็นท่าท่ีพิสดารและ เต็มไปด้วยจินตนาการ ด้วยเหตุน้ีตัวโขนจึงต้องฝึกวิชาระบำรำเต้นในกระบวน “สรรพยุทธ-สรรพคิลา” เพื่อให้เคล่ือนไหวด้วยลีลาท่ีสง่าสวยงามเหมือนท่าทาง ทฉี่ ลไุ วบ้ นหนัง เช่น ท่าข้ึนลอย ท่ารบ เปน็ ต้น (เรยี บเรียงจากหนงั สอื ร้องรำทำเพลง : ดนตรแี ละนาฏศลิ ป์ชาวสยาม โดย สุจติ ต์ วงษเ์ ทศ)
110 ผญาหรือผะหยา เป็นรูปแบบการแสดงออกทางภาษาด้านการพูดที่เป็นเอกลักษณ์ของ ชาวอีสาน คำว่า ผญา น่าจะมรี ากศัพท์มาจากคำวา่ ปญั ญา ในภาษาบาลี หรือ ปรัชญา ในภาษาสันสกฤต เนื่องจากภาษาถิ่นอีสานใช้ ตัว ผ แทน ปร เช่น ปราสาท ใชว้ ่า ผาสาด ผเี ปรต ใช้ว่า ผีเผด เป็นตน้ ผญา เป็นกวีนิพนธ์ระดับชาวบ้านที่แสดงถึงความคิดอันเฉียบแหลม ซึ่งแฝงอยู่ในคำพูดท่ีเต็มไปด้วยความงามของภาษา มีลักษณะเรียบง่ายและ สะทอ้ นสงั คมชนบท การทจ่ี ะพดู ผญาหรอื จา่ ยผญาไดเ้ กง่ นนั้ จะตอ้ งรมู้ าก ฟงั มาก จดจำเกง่ มีไหวพริบปฏิภาณ เพราะผญาเป็นคำพูดที่คิดขึ้นแบบกลอนสด หรืออาจจดจำ มาจากวรรณกรรมพ้นื บา้ นทีส่ ามารถโนม้ นา้ วให้คนอ่าน คนฟังเกิดความเชื่อถือ และนำไปเปน็ คตสิ อนใจได ้ ผญาบางบทเปน็ กลอนชาวบา้ นทชี่ ายหญงิ ผกู ขนึ้ เพอื่ โตต้ อบกนั ในเรอื่ ง ความรกั ซงึ่ มกั จะไมพ่ ดู ตรงๆ แตเ่ ปน็ การพดู เลยี บเคยี ง เปรยี บเปรยกนั มากกวา่ ลักษณะสำนวนพูดแบบผญามีลักษณะเดน่ อยู่ 2 ประการคือ 1. เปน็ คำพดู หลกั แหลม ไดส้ าระ ใชไ้ หวพรบิ แสดงสตปิ ญั ญาของผพู้ ดู 2. เป็นคำพูดท่ีใช้ภาษาได้ไพเราะ มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ เช่น เป็น กลุ่มคำท่ีมีเสียงสัมผัส มีการใช้คำอุปมาอุปไมย ใช้ความเปรียบให้เห็นภาพ ชัดเจน มีจังหวะหนักเบาในการพดู ผญาทเี่ ป็นสำนวนพูดแบ่งได้ 3 ประเภทคือ 1. ผญาภาษิต เรียกว่า ผญาก้อมหรือโตงโตย เป็นผญาสั้นๆ มุ่งเน้น ในทางสง่ั สอน เชน่ ความดฝี งั ไวเ้ กา้ ศอก ความชว่ั ชกั ออกมาเกา้ วา หมายความวา่ ใหร้ กั ษาความดเี อาไว้ ผลักไสความช่ัวออกไปหา่ งๆ 2. ผญาเกี้ยวพาราสีหนุ่มสาว เรียกว่า ผญาเครือ เป็นผญาท่ีกล่าว โต้ตอบกนั ระหวา่ งหนุม่ สาว ความยาวไมแ่ น่นอน ข้นึ อยกู่ ับการโต้ตอบของหนมุ่ สาวว่าจะลงเอยช้าหรอื เร็ว ใช้ในโอกาสทีห่ นุม่ สาวพบกนั ในเวลาปั่นฝา้ ย 3. ผญาอวยพร เรยี กวา่ ผญาใหพ้ ร อาจเปน็ บทสัน้ ๆหรือยาวก็ได้ เชน่ ขอให้หมู่เจ้าได้มีเงินคำแก้วไหลมาเฮืองเฮือ ให้มีเสื้อและผ้าไหลล้นหล่ังมา
111 นอนหลับให้เจ้าได้เงินพัน นอนฝันให้เจ้าได้เงินหมื่น นอนตื่นให้เจ้าได้เงินแสน แปนมือมาให้ได้แก้วมณีโชติ ผิวะทุกเข่าของเงินทองหลั่งลงมาหาหมู่เจ้า มื้อละ ล้านโกฏแิ สนโกฏิ โทษฮา้ ยอย่ามาพาล มารฮ้ายอยา่ ได้มาเบียดเจ้าเดอ้ ผญาเปน็ คำพดู ทสี่ ะทอ้ นภาพชวี ติ ความเชอ่ื สภาพสงั คมและวฒั นธรรม ของชาวอสี านได้อยา่ งดี ไดแ้ ก ่ 1. ระบบครอบครัว ผญาสะทอ้ นใหเ้ หน็ ว่าหนุ่มสาวในภาคอสี านมีอสิ ระ ในการเลือกคู่ครองพอสมควร เห็นได้จากประเพณีปั่นฝ้าย ลงแขกเกี่ยวข้าว และงานบุญต่างๆ ท่ีหนุ่มสาวจะได้มีโอกาสพบปะและเก้ียวพาราสีกัน แต่ถึง อย่างไร พ่อแมก่ จ็ ะต้องเปน็ คนพิจารณาความเหมาะสมดว้ ย “ครั้นอยากไดค้ ซู่ อ้ นมคี ปู่ รึกษา ให้ค่อยปรกึ ษาขนุ หมูพ่ งศ์พันธเุ์ ซอ้ื ใหป้ รกึ ษาเฒา่ ขุนกวานพอ่ แม่ คร้ันเฒ่าแกบ่ พ่ ร้อมเซาถ้อนอยา่ สเิ อา” (การเลือกคู่ครองน้ัน ต้องเลือกให้ถ้วนถ่ี ควรมคิ วรผ้ใู หญใ่ หป้ รึกษา แม้ สว่ นมากเห็นดีจึงววิ าห์ ไม่เช่นนั้นพงึ อยา่ ตามอารมณ)์ 2. สถานภาพความเป็นอยู่ อาชีพ ผญาสะท้อนให้เห็นว่าสังคมอีสาน เป็นสังคมชาวนา และนิยมให้ลูกหลานประกอบอาชีพเป็นข้าราชการ รองลงไป คอื อาชพี ชาวนา สว่ นอาชีพทตี่ ำ่ ต้อยท่ีสดุ คือ คา้ ขาย “สบิ พ่อค้าบท่ ่อพอ่ นา สิบพอ่ นาบ่ท่ออญั ญาเล้ียง” (พอ่ ค้าสิบนายไม่เทา่ ชาวนาหนงึ่ นาย แตช่ าวนาสบิ นายยังไม่ดเี ท่าเปน็ คนรบั ใช้ของท้าวพระยา) 3. วัฒนธรรมในการบรโิ ภค ผญาสะทอ้ นใหเ้ หน็ ความเช่ือของคนอีสาน วา่ ความทกุ ข์ยากทลี่ ำบากทส่ี ดุ คอื การขาดแคลนอาหาร “ทกุ ข์บ่มเี สือ้ ผา้ ฝาเฮอื นดีพอลอ้ี ยู่ ทกุ ขบ์ ม่ ขี า้ วใสท่ อ้ งนอนลอ้ี ยู่บ่เปน็ ” (ทุกข์ที่เกิดจากขาดแคลนเส้ือผ้า ไร้ท่ีซุกหัวนอน ยังไม่เดือดร้อนเท่า ไมม่ ขี ้าวกิน) 4. ระบบค่านิยม ผญาสะท้อนให้เห็นค่านิยมของชาวอีสานที่มีพื้นฐาน มาจากฮตี สิบสองคองสบิ ส่ี ลทั ธคิ วามเชอ่ื และประเพณี ไดแ้ ก ่
112 1) ยกยอ่ งผู้มคี วามรู้ คณุ ธรรม 2) เคารพเชื่อฟงั ผอู้ าวุโส 3) ค่านิยมเกี่ยวกับผู้หญิงท่ีควรรักนวลสงวนตัว มีคุณสมบัติกุลสตรี และมมี ารยาท “ไดเ้ มยี ผดู้ ีปานได้แก้วคณู ล่าง ไดเ้ มียผู้ชา่ งปานแก้วคณู เฮอื น ได้เมยี ผู้บิดเบอื นปานกุมหมใู นคอก ได้เมยี ผผู้ อกปานแกไ่ ม้ทางปลาย ไดเ้ มยี บ่ดีปานสบไถเหล็ก เมียปากเก็กๆผวั นงุ่ ผา้ พรอ้ ย นางแหง่ นอ้ ยกล้าช้ำบพ่ ่อ” (ได้เมียดีมีฝีมือทางการช่างเหมือนมีแก้วประดับบ้าน ได้เมียข้ีเกียจ ด้ือดึงต้องยุ่งยากเหมือนจับหมูใส่คอก ได้เมียดีแต่พูด ทำอะไรไม่เป็น สามีต้อง นุง่ ผา้ เก่าผ้าขาด มีแตค่ วามทุกข์ยาก) 4) มคี วามยึดมั่นในขนบประเพณี 5) มนี ้ำใจเอ้ือเฟอ้ื เผอื่ แผ่ 5. ศาสนาและระบบความเช่ือ ผญาสะท้อนให้เห็นความเช่ือท่ีว่า คน จะมั่งมีด้วยลาภ ยศ อำนาจ ก็ด้วยบุญกุศลช่วยส่งเสริม หากไม่มีบุญวาสนา ขวนขวายไปกเ็ ปล่าประโยชน์ “บุญบ่คาดได้แสนสิฮอมก็จำห่าง บุญคาดไดแ้ สนสิเว้นก็เวิ่นมา” (บญุ มไี มถ่ งึ แมโ้ ชคมาใกลก้ ไ็ กลหา่ ง หากบญุ มาถงึ แมห้ นไี กลกไ็ ดล้ าภ) (เรียบเรียงจากหนงั สือคตชิ าวบ้านอีสาน โดย จารวุ รรณ ธรรมวตั ร, หนงั สือผญาบทกวชี าวบ้าน โดย จารุวรรณ ธรรมวตั ร และหนังสือคติชนวทิ ยา ภาคเหนอื ภาคกลาง ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ภาคใต้ โดย รศ.มัลลกิ า คณานุรกั ษ ์
113 เกร็ดเกี่ยวกับวรรณกรรมเรอ่ื งสังขศ์ ลิ ป์ชยั สังข์ศิลป์ชัยเป็นเรื่องที่แพร่หลายในภาคอีสานและภาคกลางมาช้านาน และมีต้นฉบับอยู่หลายฉบับ เทา่ ทป่ี รากฏมีดังน้ี ภาคอสี านมี 2 ฉบับคือ 1. ฉบบั จารกึ ดว้ ยอกั ษรตวั ธรรมของภาคอสี าน สำนวนรอ้ ยแกว้ ฉบบั นี้ ไม่ปรากฏผแู้ ตง่ 2. ฉบับอักษรตัวไทยน้อย สำนวนร้อยกรอง ผู้แต่งคือ ท้าวปรางค์คำ ฉบบั นเี้ ป็นฉบบั ทชี่ าวอสี านนยิ มอ่านกนั มาก ภาคกลางมอี ยู่ 4 ฉบบั คือ 1. บทละครนอกเรื่องสงั ขศ์ ลิ ป์ชัยฉบับสมัยกรุงศรอี ยธุ ยา ต้นฉบบั เรื่อง อยใู่ นเล่มสมุดไทย เก็บรกั ษาไวท้ ่หี อสมดุ แหง่ ชาต ิ 2. สังข์ศิลป์ชัยฉบับกลอนสวดของตาคงยายมูน แต่งข้ึนหลังจากเสีย กรุงศรีอยุธยาคร้ังท่ีสอง (พ.ศ. 2310) ทั้งสองเห็นว่าฉบับเดิมถูกเผา จึงแต่ง ฉบบั นขี้ ึ้นมา 3. พระราชนพิ นธบ์ ทละครนอกเรอ่ื งสงั ขศ์ ลิ ปช์ ยั ในรชั กาลที่ 3 ครงั้ เมอ่ื ยงั ดำรงพระยศเปน็ กรมหม่นื เจษฎาบดินทร์ 4. บทละครดกึ ดำบรรพเ์ รอ่ื งสงั ขศ์ ลิ ปช์ ยั พระนพิ นธข์ องสมเดจ็ พระเจา้ - บรมวงศเ์ ธอเจา้ ฟา้ กรมพระยานรศิ รานวุ ตั วิ งศ์ ซงึ่ ทรงนพิ นธข์ นึ้ ในสมยั รชั กาลที่ 4 แก่นเร่ืองหลักคือ การพลัดพราก เพราะตลอดเร่ืองมีการพลัดพราก เกิดข้นึ ตั้งแต่ต้นจนจบ แกน่ เร่อื งยอ่ ยคือ การเดินทางและการผจญภยั (เรียบเรียงจากวทิ ยานพิ นธ์เรอื่ ง วรรณกรรมอีสาน : สังขศ์ ลิ ปช์ ยั โดย ประคอง เจรญิ จติ รกรรม)
114 อักษรตวั ธรรมหรอื อกั ษรธรรมอสี าน เป็นอักษรท่ีใช้อยู่ในกลุ่มชนบริเวณลุ่มน้ำโขงต้ังแต่โบราณและแพร่ไป ยังกลุ่มไทยลื้อในสิบสองจุไทยด้วย จากศิลาจารึกในภาคอีสานและอาณาจักร ล้านช้างพบว่า อักษรตัวธรรมปรากฏในศิลาจารึกครั้งแรกในสมัยพระเจ้าราช- แสนไทย จารกึ เก่าทสี่ ุดท่ีเป็นอักษรตัวธรรมลงไวเ้ มอื่ ปีพ.ศ. 2003 คือจารึกฐาน พระพุทธรูป อยู่ท่ีวัดสีสะเกด เมืองเวียงจันทน์ ส่วนจารึกลงบนแผ่นศิลาที่เป็น อักษรตวั ธรรมเก่าท่สี ุดคือ จารึกวัดบ้านสังคโลก ลงไวเ้ มื่อปพี .ศ. 2070 อกั ษรตวั ธรรมนนี้ ำมาใชใ้ นอาณาจกั รลา้ นชา้ งอยา่ งแพรห่ ลาย ภายหลงั ได้เข้ามายังภาคอีสานของประเทศไทย จึงพบเอกสารใบลานต่างๆ มากมาย ในภาคอสี านยคุ กอ่ นทจี่ ดบนั ทกึ ดว้ ยอกั ษรตวั ธรรม โดยเฉพาะเอกสารดา้ นพทุ ธ- ศาสนา ไดแ้ ก่ พระคมั ภีร์อรรถกถา ชาดก และตำราวชิ าการ ภาคอีสานและอาณาจักรล้านช้างได้ตกเป็นของไทยในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อปีพ.ศ. 2322 ส่วนภาคอีสานนั้นได้รวมเข้าเป็นดินแดนประเทศไทยอย่าง จริงจังในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 5 จากนั้น อกั ษรตวั ธรรมหรอื ตวั อกั ษรธรรมอสี านกเ็ สอ่ื มความนยิ มลง เนอ่ื งจากรชั กาลที่ 5 ได้ให้ข้าราชการหัวเมืองอีสานเรียนภาษาไทยและตัวอักษรไทย อีกท้ังยังจัดต้ัง โรงเรียนสอนหนังสือไทยในทุกหัวเมือง โดยเฉพาะมณฑลลาวกลาง (นครราช- สมี า) มณฑลลาวพวน (อดุ รธานี) และมณฑลลาวกาว (อบุ ลราชธานี) และมกี าร ประกาศใหใ้ ช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการนับแต่ปีพ.ศ. 2464 เป็นต้นมา ตัวเลขในอักษรธรรมอีสานมี 10 รปู ดังน้ี ๑๒๓๔๕๖๗๘๙๐ (เรยี บเรียงจากหนังสอื วรรณกรรมอีสาน โดย ธวัช ปณุ โณทก และหนังสือวรรณกรรมท้องถ่ินไทย โดย กตญั ญู ชูช่นื )
115 เคร่อื งป้นั ดินเผาบ้านเชยี ง ที่ชมุ ชนบา้ นเชยี งเมอ่ื 5,000 กว่าปที แ่ี ลว้ เมอ่ื มีคนตาย ญาตพิ น่ี ้องจะ นำเครื่องมือ เครื่องใช้และเครื่องประดับขนาดเล็กบรรจุลงในภาชนะดินเผา เขยี นสี หรือบางครงั้ กเ็ ป็นภาชนะดินเผาเขยี นสีเปล่าๆ วางไวก้ บั ศพ โดยวางไว้ บริเวณใดก็ได้ ท้ังเหนือหัวผู้ตาย ปลายเท้า หรือด้านข้าง แล้วแต่แบบแผน พธิ กี ารของหมูบ่ า้ นนั้นๆ พิธีการดังกล่าวเกิดจากคติความเชื่อเก่ียวกับความตายของชุมชน บ้านเชียงที่ว่า ผู้ตายน้ันยังไม่ตายจริง หากเปลี่ยนสภาพไปสู่อีกสถานะที ่ ศักดิ์สิทธ์ิกว่า ดังนั้นญาติพ่ีน้องจึงต้องจัดเตรียมภาชนะ เครื่องใช้ต่างๆ ทั้งท่ี เปน็ ของสว่ นตัวของผูต้ ายและสว่ นทค่ี วรได้เพมิ่ ขนึ้ ติดตวั ไปดว้ ย นอกจากน้ียังมี ความเชอ่ื ทวี่ า่ ผตู้ ายยงั ไมต่ าย หากกลบั ฟน้ื คนื ชวี ติ ขน้ึ มาอกี ครง้ั จะไดม้ เี ครอ่ื งใช้ ไม้สอยไวท้ ำมาหากิน ลวดลายทป่ี รากฏอยบู่ นเครอ่ื งปน้ั ดนิ เผาเขยี นสี ของบ้านเชียง ได้แก่ ลายเส้นโค้ง ลายก้นขดและลาย กน้ หอย ลายเรขาคณติ ลายดอกไม้ ลายรปู สตั ว์ และลาย อื่นๆเชน่ ลายเส้นขนาน ลายสามเหลยี่ มซ้อน เปน็ ต้น (เรยี บเรยี งจากหนงั สอื บา้ นเชียง โดย สจุ ิตต์ วงษ์เทศ) ท่ีมาของปก การออกแบบหน้าปกของหนังสือชุดน้ีได้นำลวดลายการ เขียนสีบนภาชนะดินเผาของบ้านเชียงมาดัดแปลงและตัดทอน เพ่ือให้เกิด ความสวยงามและเหมาะสมกบั ปกหนังสือ
ประวัติย่อผู้เขียน อริสา สมุ ามาลย ์ เกิดที่กรุงเทพฯ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ และระดับ ปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เอกวิชาภาษาอิตาเลียน (เกียรตินิยม อันดบั หน่งึ เหรียญทอง) ปพี .ศ. 2549 อริสาเร่ิมสนใจงานเขียน เมื่อได้เป็นสมาชิกชมรมวรรณศิลป์ จุฬาฯ จากท่ีเคยเขียนกลอน เล็ก ๆ น้อย ๆ เก็บไว้อ่านเองจึงได้เริ่มเขียนบทความ สัมภาษณ์ เป็นบรรณาธิการจุลสาร และเป็น ประธานชมรมวรรณศิลป์ ปี 2548 ระหว่างน้ันอริสาได้สั่งสมประสบการณ์จากค่ายอบรมนักเขียนต่าง ๆ และทำงานเป็นอาสา สมัครทำงานรณรงค์ร่วมกับองค์กรแอคช่ันเอด ประเทศไทย โดยใช้ส่ืองานเขียนเป็นตัวสะท้อน เรื่องราวในสังคมผ่านมุมมองของตน ทั้งประเด็นความยากจน การเจรจาตกลงเขตการค้าเสรีของ ไทย FTA และกรณไี ลร่ ื้อชมุ ชนมหากาฬ ปัจจุบัน อริสาทำงานท่ีองค์การแพธ เป็นผู้ช่วยประสานงานโครงการด้านพัฒนาเยาวชนใน ประเด็นเพศศึกษา ตลอดระยะเวลาท่ีผ่านมา เมล็ดพันธ์ุแห่งความมุ่งม่ันท่ีจะทำดีตอบแทนสังคม ค่อย ๆ เติบโตข้ึนพร้อมกับมุมมองความคิดและทักษะการเขียน จนล่าสุดมีโอกาสเขียนนิยายเรื่อง “สินไช” และ “ตำนานขูลูกับนางอั้ว” เป็นนิยายสองเร่ืองแรก ซึ่งได้สอดแทรกความร่วมสมัยของ วรรณคดีพนื้ บ้านอีสานกบั ชวี ิตของผคู้ นในสงั คมปจั จุบนั
ประวัติยอ่ ผู้วาดภาพประกอบ อาจารยป์ รดี า ปญั ญาจนั ทร์ เกิดและเติบโตที่จังหวัดหนองคาย มีบ้านอยู่ติดกับวัด เม่ือมีงานบุญที่วัดก็มักจะไปวิ่งเล่น อยู่เสมอ โดยเฉพาะงานบญุ ยเวส (เทศน์มหาชาต)ิ จะชอบเป็นพเิ ศษ เพราะได้ดภู าพเขยี นเรือ่ งราว พระเวสสนั ดรบนผา้ เม่ือเห็นภาพบนผ้าหรือภาพจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์ในรูปแบบอีสานก็จะกลับมาน่ังวาดเล่น ทีบ่ ้านตอ่ หลังจากจบการศึกษาศิลปะจาก มศว.ประสานมิตร ก็ทำงานด้านเขียนภาพประกอบตลอด เม่ือมีโอกาสได้เขียนภาพประกอบนิทานน้ีท่ีบ้านอีสาน ความประทับใจในวัยเด็กจึงหวนกลับมา ปรากฏบนภาพประกอบชุดน ้ี
เปิดโลกกว้างแหง่ การเรียนรู้ บนรากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดตั้งอุทยานการเรียนรู้ส่วนภูมิภาค เป็นภารกิจสำคัญประการหนึ่งของ สำนักงานอทุ ยานการเรยี นรู้ (TK Park) เนน้ การถ่ายทอดบทเรียนการจดั การการเรยี นรู้ ภายใต้บริบทวัฒนธรรมและความสนใจที่สอดคล้องกันของคนในท้องถ่ิน เพ่ือกระจาย โอกาสใหเ้ ด็กและเยาวชนไทยสามารถเขา้ ถึงการเรียนรูไ้ ด้อย่างมีความสุข โครงการนิทานพื้นบ้าน 4 ภาค เป็นส่วนหน่ึงของการดำเนินงานเพ่ือจัดตั้ง อุทยานการเรียนรู้ส่วนภูมิภาค โดยจัดทำเนื้อหาสาระในรูปแบบที่เด็กและเยาวชนสนใจ ซ่ึงสามารถส่ือให้เห็นความเป็นตัวของตัวเอง ได้รับรู้ถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม อนั ล้ำคา่ ในทอ้ งถ่ิน รวมท้ังการรกั ษาและสืบทอดมนตเ์ สน่ห์แห่งนทิ านพ้นื บ้าน หนังสือชุดนิทานพื้นบ้าน 4 ภาค ประกอบด้วยนิทานภาพสำหรับเด็กอายุ ไมเ่ กนิ 9 ปี และวรรณกรรมสำหรับเยาวชนอายุ 9 ปขี ึน้ ไป สำนักงานอทุ ยานการเรียนรู้ ดำเนนิ การจัดพิมพ์แลว้ เสร็จ และกระจายเผยแพร่ทั่วประเทศแล้ว ดงั นี ้ นิทานภาพภาคใต้ จำนวน 6 เร่อื ง จารอกีตอ เมอื งนา่ อยทู่ ี่หนูรัก ไก่โกง มูสงั เปาะแซเดาะกับซามะ ไขน่ ยุ้ กับแพะน้อย ซงี อ : เจา้ ป่าผกู้ ล้าหาญ ในวันฮารรี ายอ
วรรณกรรมเยาวชนภาคใต้ จำนวน 6 เรือ่ ง ซาไก พระเศวตสุรคชาธาร รายอฆอแน จาโต : เล่หก์ ลบนกระดาน วดั ถ้ำคหู าภิมขุ แดนคนธรรพ์ นิทานภาพภาคเหนือ จำนวน 5 เรอ่ื ง ห้าสหายปราบยกั ษ์ เชยี งใหมเ่ มอื งบุญ เพลงละอ่อน พฉึ อ่ ไกผ่ ู้พชิ ิตพระอาทิตย ์ ดาววไี ก่นอ้ ย วรรณกรรมเยาวชนภาคเหนอื จำนวน 7 เรือ่ ง ผู้เฒา่ เล่าไว ้ กำพรา้ บัวทอง จนั ตะคาด สวุ รรณเมกฆะ นทิ านของอุ๊ย ออ้ มล้อมตอ่ มคำ ผีม้าบ้อง กับหมาขนคำ
นทิ านภาพภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ จำนวน 5 เร่อื ง ช้างดอ้ื อเี กงิ้ ...เดือนดาว เมอื งมหาสารคาม เส่ยี วฮกั เสยี่ วแพง ฮตี สิบสอง วรรณกรรมเยาวชนภาคตะวันออกเฉียงเหนอื จำนวน 7 เรื่อง ผีผบึ พ้มึ ผจญภัยเมอื งฟ้าแดด สินไช ตำนานขูลกู ับนางอ้วั อภนิ หิ ารบาดาลนคร เรื่องเลา่ เจ้ากำพร้า ท้าวขอ้ หลอ้
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122