Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ไร่นาสวนผสม

Description: ไร่นาสวนผสม

Search

Read the Text Version

เอกสารค�ำแนะนำ� ที่ 1/2560 ไรน่ าสวนผสม พมิ พค์ ร้ังที่ 3 : (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ. 2543) จำ� นวน 5,000 เล่ม กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2560 จดั พิมพ ์ : กรมสง่ เสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิมพ์ท่ี : บริษทั นิวธรรมดาการพมิ พ์ (ประเทศไทย) จ�ำกดั





คำ� นำ� เอกสารคำ� แนะนำ� ความรทู้ างการเกษตร เรอื่ ง ไรน่ าสวนผสม จัดท�ำขึ้นมีวัตถุประสงค์เพ่ือสนับสนุนส่งเสริมการท�ำไร่นาสวนผสม และเป็นแนวทางในการขยายผลแนวความคิดไปสู่ภาคปฏิบัติ ในไร่นาของเกษตรกร ดังน้ัน เน้ือหาในเอกสารค�ำแนะน�ำเล่มน้ี จึงประกอบด้วยวัตถุประสงค์ของการท�ำไร่นาสวนผสม ปัจจัย ในการพิจารณารูปแบบการท�ำไร่นาสวนผสม การปรบั เปล่ยี นสภาพ พ้ืนท่ีนามาเป็นไร่นาสวนผสมในสภาพพื้นที่ต่าง ๆ เช่น พ้ืนท่ีลุ่ม พ้ืนท่ีดอน ตัวอย่างของเกษตรกรที่ท�ำไร่นาสวนผสมประสบความ ส�ำเร็จ ทั้งน้ีเพื่อเป็นข้อมูลพ้ืนฐานในการประกอบการตัดสินใจ ของเกษตรกรในการท�ำไรน่ าสวนผสมใหม้ ปี ระสทิ ธภิ าพมากยิง่ ข้นึ กรมส่งเสรมิ การเกษตร หวงั เปน็ อย่างย่งิ ว่า เอกสารเล่มน้ี คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย หากได้น�ำไปศึกษาและปฏิบัติ ให้บังเกิดผลในไร่นา นอกจากน้ีหากมีปัญหาและข้อเสนอแนะ ประการใดสามารถขอค�ำแนะน�ำได้ท่ีศูนย์เรียนรู้การเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ส�ำนักงานเกษตรอ�ำเภอ ส�ำนักงานเกษตรจังหวัดทุกจังหวัด และกรมส่งเสริมการเกษตร ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 0 2940 6055 กรมส่งเสรมิ การเกษตร 2560

สารบัญ หนา้ ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ 1 ประโยชนจ์ ากการทำ� ไร่นาสวนผสม 4 ปัจจยั ทสี่ ำ� คญั ในการทำ� ไรน่ าสวนผสม 8 การพจิ ารณารูปแบบการทำ� ไร่นาสวนผสม 9 การปรับเปล่ยี นสภาพพืน้ ที่นามาเป็นไรน่ าสวนผสม (สภาพพ้ืนท่ีล่มุ ) 17 การปรับเปลยี่ นสภาพพื้นท่นี ามาเปน็ ไร่นาสวนผสม (สภาพพนื้ ทด่ี อน) 20 กรณตี ัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำ� เร็จในการทำ� เกษตร 23 รูปแบบไร่นาสวนผสม บรรณานกุ รม 28

ไร่นาสวนผสม ความเปน็ มาและวัตถปุ ระสงค์ การเกษตรของไทยในอดีตเป็นการท�ำการเกษตรเพื่อยังชีพ โดยอาศัย ความอุดมสมบูรณ์จากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงไม่ประสบปัญหามากนัก แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอันเน่ืองมาจาก การเพิ่มขึ้นของจ�ำนวนประชากร มีการใช้เทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่เพื่อเพิ่ม ผลผลิตให้เพียงพอแก่การบริโภคของประชากรและเพ่ือการส่งออกเป็นรายได้ เข้าสู่ประเทศ จึงท�ำให้การท�ำการเกษตรในปัจจุบันประสบปัญหามากข้ึน ไม่ว่าจะ เป็นปัญหาการขาดความสมดุลทางธรรมชาติ การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช รวมทั้งด้านการตลาดซ่ึงนับวันจะแปรปรวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จากปัญหาดังกล่าว การท�ำไร่นาสวนผสมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรท่ีจะลดความเสี่ยงท่ีเกิด จากภัยธรรมชาติและความไม่แน่นอนของราคาผลผลิต โดยการท�ำการเกษตร หลาย ๆ อย่าง เพื่อเพิ่มระดับรายได้สามารถหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรในไร่นา ได้มากข้ึน สร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติท�ำให้ระบบนิเวศเกษตรของชุมชน ดีข้ึน เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ท่ีดีและมีความม่ันคงในการที่จะประกอบอาชีพ การเกษตรตอ่ ไป ไรน่ าสวนผสม 1

ไร่นาสวนผสม เป็นการท�ำกิจกรรมการเกษตร หลาย ๆ อย่าง (ตัง้ แต่ 2 อย่าง) เพอื่ ตอบสนองต่อการบรโิ ภค และลดความเส่ียงจากราคาผลผลิตและภัยธรรมชาติ ซึง่ กิจกรรมการเกษตรไม่จ�ำเป็นต้องเกือ้ กลู กนั เชน่ การเลีย้ งไก่ สุกร รวมกับการปลูกพืช การปลูกโกโก้แซมในสวนมะพร้าว การเล้ียงปลาในร่องสวนไม้ผลหรือสวนผัก หรืออาจจะมีการ เก้ือกูลกันระหว่างกิจกรรมการผลิต โดยน�ำเศษเหลือของ กิจกรรมหนึ่งไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับอีกกิจกรรมหนึ่ง เช่น เศษพืชผักเป็นอาหารสุกร มูลสุกรเป็นอาหารปลา น้�ำจาก บ่อปลาน�ำไปรดพืชผัก เป็นต้น ลักษณะการท�ำกิจกรรม หลาย ๆ อย่างเช่นน้ี เกษตรกรจะมีรายได้จากผลผลิตท่ี หลากหลาย มีการกระจายการใช้แรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดท้ังปี มีความรักและผูกพันกับไร่นา มีความภาคภูมิใจ ในผลงานและผลผลิตของตนเอง ไม่อยากท้ิงไร่นาไปท่ีอื่น เกษตรกรมีรายได้ตลอดปีและลดค่าใช้จ่ายส�ำหรับการ ซ้ืออาหาร เช่น ผัก ผลไม้ และแหล่งอาหารโปรตีน เช่น ปลา ไก่ เปน็ ต้น 2 กรมส่งเสริมการเกษตร

วัตถปุ ระสงค์ ของการทำ�ไร่นาสวนผสม 1 เพอ่ื เพิ่มรายไดต้ อ่ ครัวเรือนของเกษตรกรอยา่ งต่อเน่อื ง จากกจิ กรรมการปลกู พชื หมุนเวยี นหลายชนดิ หรือ จากการผสมผสานกิจกรรมทั้งพืช สัตว์ ประมง 2 เพ่อื ส่งเสริมให้เกษตรกรมคี วามรู้ด้านการจดั การทรัพยากรทีด่ ิน ทุน แรงงาน อยา่ งมีประสทิ ธิภาพ 3 เพอ่ื ลดความเส่ียงในการด�ำเนนิ กจิ กรรมการเกษตรจากภยั ธรรมชาติ และความผนั ผวนของราคาผลผลิตเพื่อใหเ้ กษตรกรสามารถตัดสินใจ เลือกกิจกรรมการผลติ ใหส้ อดคลอ้ งกับความตอ้ งการของตลาด และความเหมาะสมของแต่ละพ้นื ท่ี 4 เพื่อส่งเสรมิ ให้เกษตรกรประกอบอาชีพตามวชิ าการเกษตรแผนใหม่ ทงั้ ดา้ นการผลิตและการจำ� หนา่ ย โดยยึดหลกั ปรบั ปรุงคุณภาพผลผลิต ลดต้นทุนการผลิตต่อหนว่ ย มรี ายได้ต่อเนื่องและกำ� ไรสูงสุด 5 เพื่อสง่ เสรมิ ใหเ้ กษตรกรรู้จักวางแผนและงบประมาณการผลติ รวมทง้ั จดบนั ทกึ และท�ำบัญชีไร่นา ไรน่ าสวนผสม 3

ประโยชน์จากการทำ�ไรน่ าสวนผสม 1. เพ่อื เพม่ิ ระดบั รายได้ และมรี ายไดร้ ายวนั รายสปั ดาห์ รายเดอื น รายปี n รายไดร้ ายวนั ได้แก่ กจิ กรรมพชื ผัก (ผักกนิ ใบ ผกั บุ้ง ผกั กระเฉด ตะไคร้ ขิง ข่า กะเพรา เป็นต้น) กิจกรรมสัตว์ (ไก่ และเป็ดไข่ และการเลยี้ งโคนม) n รายได้รายสัปดาห์ ได้แก่ ไม้ดอกไม้ประดับ ผักบางชนิด (ชะอม กระถนิ ผกั กินใบ) n รายไดร้ ายเดอื น หรือตามฤดกู าลผลิต 2 – 4 เดือน กจิ กรรมการ ปลูกพืชผกั ทำ� นา ท�ำไร่ การเล้ยี งสตั ว์ เชน่ ไก่เนื้อ เป็ด และสุกร ตลอดจนการเล้ียงปลาและกบ n รายได้รายปี เป็นประจ�ำทุกปี ส่วนใหญ่เป็นไม้ผลและไม้ยืนต้น พืชไร่อายุยาว (สับปะรด มันส�ำปะหลัง) การเล้ียงสัตว์ใหญ่ (โคเนอ้ื สกุ รขนุ ) 4 กรมส่งเสริมการเกษตร

2. เพ่ือลดความเสย่ี งจากภัยธรรมชาติ และการตลาดทแ่ี ปรปรวน เน่ืองจากกิจกรรมด้านไร่นาสวนผสมมีความหลากหลายของกิจกรรม การเกษตรจงึ ท�ำให้เกดิ ความหลากหลายดา้ นชวี ภาพ อายกุ ารเกบ็ เก่ียวและผลผลติ ท่ีออกจ�ำหน่ายมีความแตกต่างกันและสามารถช่วยลดการระบาดของโรคและ ศัตรูพืชลงได้ตลอดจนในบางครั้งราคาผลผลิตบางชนิดตกต�่ำแต่บางชนิดราคาสูง หรือให้ผลตอบแทนท่ีดกี วา่ 3. เพ่อื ลดการพงึ่ พาปจั จัยการผลิตภายนอกให้น้อยลง โดยพึ่งพาทรัพยากรในไร่นามากขึน้ ในระบบการผลิตไร่นาสวนผสมมีความหลากหลาย กิจกรรมการเกษตรสามารถหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรในไร่นา หรือกิจกรรมการเกษตรในไร่นาได้มากข้ึน เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด มูลสัตว์เป็นอาหารปลา ก๊าซชีวภาพ การใช้ปัจจัยการผลิต บางชนดิ รว่ มกัน เช่น ด้านแรงงานการดูแลรกั ษา ด้านเครือ่ งมอื อุปกรณ์ การผลิต ด้านปุ๋ยและธาตุอาหารเสริม เป็นต้น ท้ังน้ีเพ่ือทดแทนการ ใช้ปัจจัยการผลิตภายนอกท่ีมากและเกินขอบเขต ซ่ึงจะส่งผลต่อ สภาพธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ มในระบบการผลิต ไรน่ าสวนผสม 5

4. กิจกรรมหลากหลายมที ้ังกิจกรรมเพิ่มรายได้ มอี าหารไวบ้ รโิ ภคและใช้สอยในครัวเรอื น กิจกรรมการเกษตรในไร่นาสวนผสมอาจจะมีทั้งพืช สัตว์ และประมง หรืออาจจะมีพืชกับสัตว์ หรือกลุ่มของพืชอายุสั้นกับอายุยาวขึ้นอยู่กับสภาพพื้นท่ี และวตั ถุประสงคข์ องเกษตรกร ส�ำหรับกลมุ่ กจิ กรรม สามารถแบง่ ออกเป็น 4 กลุ่ม ดังน้ี 4.1 กลุ่มกิจกรรมเพ่ิมรายได้ (เน้นด้านเศรษฐกิจ) ได้แก่ ไม้ผล พืชผักเศรษฐกิจ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชไร่เศรษฐกิจ (ข้าวโพด ถ่ัวเหลือง ถั่วเขียว เป็นต้น) ข้าวมีคุณภาพดี เช่น ข้าวขาวมะลิ 105 ข้าวญ่ีปุ่น เป็นต้น นอกจากน้ี มีสัตว์บกและสัตว์น�้ำเศรษฐกิจ (โคนม สุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ กบ นกกระทา ปลาดุก ปลาสลิด ปลากะพงขาวในกระชงั ) 6 กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

4.2 กลมุ่ กิจกรรมด้านอาหาร ได้แก่ กิจกรรมข้าวนาปี พชื อาหารสตั ว์ บางชนิด (ขา้ วโพด ข้าวฟา่ ง ถว่ั เหลือง ถวั่ ลสิ ง) พชื ผักสวนครวั พืชสมุนไพร ไมผ้ ล ไม้ยืนต้นบางชนิด (กล้วย มะละกอ มะพร้าว ไผ่ตง เป็นต้น) การเล้ียงปลาน้�ำจืด ในสระนำ้� ขนาดเล็กในไรน่ า (ปลาไน ปลานิล ปลาตะเพยี น ปลาชอ่ น และปลาดุก) นอกจากน้ี สัตว์ปีกโดยเฉพาะไก่เนอื้ ไก่พันธุพ์ ื้นเมือง ไกไ่ ข่ และเปด็ ไข่ 4.3 กิจกรรมด้านการใช้สอย เชน่ การปลูกไผร่ วก ไผส่ ีสกุ สะเดาเทยี ม กระถนิ ณรงค์ กลว้ ย (ใบตอง) เป็นต้น 4.4 กิจกรรมอื่น ๆ ตามความเหมาะสมหรือตามจุดประสงค์ของ ระบบการผลติ เช่น การปลกู พชื แนวกนั ลม ได้แก่ กระถนิ ยคู าลิปตสั สะเดาเทยี ม ไผ่ตา่ ง ๆ 5. ในระยะยาว สรา้ งความสมดลุ ทางธรรมชาติทำ�ให้ สภาพแวดลอ้ มทางระบบนิเวศของไร่นาและชมุ ชนเกษตรดขี ้นึ เนื่องจากในระบบการผลิตรูปแบบไร่นาสวนผสมของประเทศไทย เกษตรกรนิยมปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น ในระบบการผลิตควบคู่กับการท�ำนาและ เลี้ยงสัตว์ซ่ึงเป็นกิจกรรมการเกษตรที่สร้างโอกาสด้านการตลาดแก่เกษตรกร ดังน้ัน การมีไม้ผลไม้ยืนต้น เป็นการสร้างความร่มรื่น รักษาความช้ืนในระบบ การผลิตของไร่นา การใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุการเกษตร โดยการ หมุนเวียนการใช้ทรัพยากรในไร่นาและพ่ึงพาปัจจัยการผลิตภายนอกน้อยลง จะทำ� ใหร้ ะบบนิเวศเกษตรดีขึ้น ไร่นาสวนผสม 7

ปัจจัยที่สำ�คญั ในการทำ�ไรน่ าสวนผสม 1. ทด่ี นิ เกษตรกรควรมีที่ดินเป็นของตนเองมากกว่าการเช่าเพราะการท�ำ ไร่นาสวนผสมมีการปลูกไม้ผล ซ่ึงต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ผลผลิตความ อุดมสมบูรณ์ของดินก็มีส่วนส�ำคัญในการเลือกกิจกรรม แต่ความอุดมสมบูรณ์ ของดนิ สามารถปรับปรงุ ได้ 2. แรงงาน เกษตรกรควรใช้แรงงานในครอบครัวอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ เช่น การกระจายการใช้แรงงานตลอดปี การใช้แรงงานให้เหมาะสมกับวิทยาการ แผนใหม่และวิทยาการพื้นบ้านให้ผสมกลมกลืนกันไป การใช้แรงงานผสมผสาน หรือทดแทนกนั ระหวา่ งแรงงานคน แรงงานสตั ว์ และเครื่องทนุ่ แรง 3. ทุน เกษตรกรต้องมีการใช้ทุนในรูปแบบของเงินสดโดยการซื้อปัจจัย การผลิตเท่าที่จ�ำเป็นซ่ึงเป็นการเร่ิมต้นจากเล็กไปหาใหญ่ มีการหมุนเวียนการใช้ ปจั จยั การผลติ จะช่วยลดตน้ ทนุ การผลิตได้ 4. การจัดการ เกษตรกรต้องมีลักษณะการเป็นผู้จัดการมีหน้าที่ในการพิจารณาตัดสินใจ ในระบบการผลิตในไร่นา เช่น จะผลิตอะไร พืชหรือสัตว์หรือประมง จะผลิต ทไ่ี หน จะผลิตโดยวธิ ีใด (ผลิตอย่างไร) จะผลิตจ�ำนวนเทา่ ไร จะผลติ เมือ่ ไร จะผลติ (ซ้ือและขาย) กับใครที่ไหน และ หม่ันค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ ติดตามความ เคลื่อนไหวของภาวะตลาดและราคาเพื่อลดความเสี่ยง ถ้าเกษตรกรมีการวางแผน และงบประมาณอยา่ งดีจะก่อใหเ้ กดิ ผลตอบแทน กำ� ไรสงู สดุ 8 กรมส่งเสริมการเกษตร

การพิจารณารปู แบบการทำ�ไร่นาสวนผสม ด้านพื้นท่ี 1. เกษตรกรแบ่งพ้ืนท่ีบางส่วนมาจัดท�ำไร่นาสวนผสมซึ่งในระยะแรก รายไดท้ ่ีเกดิ จากการทำ� ไร่นาสวนผสม ยังมีรายได้ไม่มากนัก จะมีรายได้จากบางส่วน ของกจิ กรรมเท่านัน้ เชน่ พชื ผัก พืชไร่ ไมด้ อกไมป้ ระดบั สตั วแ์ ละประมง 2. ในกรณีสภาพพื้นท่ีลุ่มหรือพื้นท่ีท�ำนาเดิม หากเกษตรกรคิดจะปลูก ไม้ผลควรที่จะยกร่องไม้ผลและมีคันดินล้อมรอบแปลงไม้ผล เน่ืองจากในฤดูฝน จะมนี ้�ำมาก อาจจะท่วมแปลงท�ำให้เกิดความเสียหายได้ 3. ในกรณีสภาพพ้ืนที่ค่อนข้างลุ่มมากมีน�้ำท่วมเป็นประจ�ำเกษตรกร อาจจะขดุ บ่อเพ่อื เล้ยี งปลา หรอื ท�ำนาบัว นาผักบุ้ง นาผกั กระเฉด เป็นตน้ 4. ส�ำหรับพื้นที่ดอนในการท�ำสวนไม้ผลควรมีสภาพพื้นที่มีความลาดชัน ไมเ่ กิน 30% สภาพดนิ มีหน้าดนิ ลึกกวา่ 1 เมตร และดนิ ชัน้ ล่างต้องไมเ่ ปน็ ดนิ ดาน แข็งหรือศิลาแลง 5. ในกรณีที่สภาพดินท่ีมีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยวและดิน ทม่ี ีปญั หาอ่ืน ๆ ควรด�ำเนนิ การปรับปรงุ ดินเหลา่ นี้เสยี ก่อน โดยวธิ ีการทางวิชาการ เช่น การเพิ่มวัสดุลงไปในดิน (ปูนขาว ปูนมาร์ล แกลบ เป็นต้น) การใส่ปุ๋ยคอก หรือปยุ๋ หมัก การทำ� ปยุ๋ พืชสด การปลูกพืชหมุนเวียนบำ� รุงดิน เปน็ ตน้ ไร่นาสวนผสม 9

ด้านแหลง่ นำ�้ 1. ควรมีสระน้ำ� คูคลอง ร่องน้ำ� หรือแหล่งน้�ำ ระดับไร่นาเสริมในฤดูแล้ง ประมาณ 30% ของพื้นที่ โดยประมาณการ ไว้ว่าพื้นท่ีการเกษตร 1 ไร่ มีความ ต้องการน้�ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตร เช่น พื้นท่ีการเกษตร 10 ไร่ ควรมีแหล่งน้�ำ ซึ่งสามารถมีความจุของน้ําประมาณ 10,000 ลกู บาศกเ์ มตร 2. บอ่ นำ้� บาดาล เพ่ือใช้ในฤดแู ล้งโดยเฉพาะพชื ไร่ พชื ผัก ไมด้ อกไมป้ ระดับ 3. บ่อปลาเป็นแหล่งอาหารโปรตีนและเพิ่มรายได้ ในฤดูแล้งสามารถ อาศยั นำ้� ในบ่อใช้กับพืชบรเิ วณขอบบ่อปลา พืชผกั สวนครัว เป็นตน้ 4. อาศัยน้�ำชลประทาน การสบู น�ำ้ ดว้ ยพลงั งานไฟฟา้ เปน็ ต้น 10 กรมส่งเสรมิ การเกษตร

ด้านการผลติ 1. ในการผลิตทางการเกษตรควรพิจารณากิจกรรมการเกษตร (พืช สัตว์ ประมง) ในเชงิ กจิ กรรม n กิจกรรมที่ท�ำรายได้ (ด้านเศรษฐกิจ) เช่น ไม้ผล พืชผักเศรษฐกิจ ไม้ดอกไมป้ ระดับ พชื ไร่ สตั วแ์ ละประมง n กิจกรรมด้านอาหาร เช่น ข้าว พืชไร่ พืชผักสวนครัว พืชผัก สมุนไพรไม้ผลบางชนิด (มะพร้าว กล้วย มะละกอ ไผ่ตง) การเลี้ยงปลา และ การลยี้ งสตั ว์ปกี เปน็ ตน้ n กจิ กรรมด้านใชส้ อย เชน่ ไผ่รวก ไผส่ ีสุก สะเดาเทยี ม กระถนิ เทพา ยคู าลิปตัส สกั เปน็ ต้น n กิจกรรมด้านอ่ืน ๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละฟาร์ม แต่ละพ้ืนท่ี 2. กรณีปลกู ไม้ผลในชว่ งระยะ 1 – 3 ปแี รก ยงั ไม่ใหผ้ ลผลิตและรายได้ เกษตรกรควรปลูกพืชแซมระหว่างแถวในสวนไม้ผล เช่น พืชผัก พืชไร่ ไม้ดอกไม้ ประดบั หรอื ไม้ผลบางชนดิ เช่น มะละกอ กลว้ ย เปน็ ตน้ 3. กรณีแปลงไม้ผลพื้นท่ีลุ่มจะต้องจัดท�ำคันดินล้อมรอบแปลงไม้ผล พ้ืนท่ีบริเวณดังกล่าวสามารถปลูกมะพร้าวอ่อน กล้วย มะละกอ ไผ่ตง พืชผัก ไมด้ อกไม้ประดบั เปน็ ต้น 4. การปลูกไม้ผลบางครั้งสามารถปลูกแบบผสมผสานกันได้ในแปลง เดียวกัน เช่น มะม่วงกับขนุน กระท้อนกับส้มโอ หรือพืชผัก เช่น มะเขือ พริก แตงกวา ถว่ั ฝักยาว เป็นต้น ไร่นาสวนผสม 11

5. เกษตรกรควรมีพ้ืนที่ส่วนหน่ึงส�ำหรับปรับเปลี่ยนหรือหมุนเวียนเพ่ือ ท�ำรายได้ ซ่ึงเราอาจจะเรียกได้ว่าพ้ืนท่ีท�ำเงิน หรือพ้ืนท่ีฉกฉวยโอกาส ในการ ปลูกพืชผักเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น และระดับประเทศ การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ กจิ กรรมปลกู พืชไร่ กจิ กรรมเหล่าน้ีควรเป็นกิจกรรมอายสุ นั้ ใหผ้ ลตอบแทนสงู 6. ในระบบการผลิตทางเกษตรท่ีเกิดข้ึนจริงในไร่นาของเกษตรกร เกษตรกรจะมีพ้ืนที่ผลิตข้าวไว้บริโภคและจ�ำหน่ายบางส่วนถึงแม้ว่าจะมีกิจกรรม อ่ืน ๆ ก็ตาม นอกจากนี้ กิจกรรมหนึ่งท่ีควรได้รับการพิจารณา คือเล้ียงปลาในนาข้าว จุดประสงค์เพื่อเสริมรายได้และมีแหล่งอาหารโปรตีนไว้บริโภค สภาพพ้ืนที่ ทจี่ ะทำ� การผลิตควรควบคุมระดบั นำ�้ ได้และอย่ใู กล้บา้ น 7. บ่อปลาท่ีจะประกอบเป็นกิจกรรมหน่ึงในไร่นาสวนผสมควรอยู่ใกล้บ้าน การคมนาคมสะดวกสามารถจัดการเร่ืองน้�ำได้ ลักษณะดินควรเป็นดินเหนียว หรือ ดนิ เหนียวปนทราย และสามารถเกบ็ กักนำ�้ ไดอ้ ย่างน้อย 6 – 8 เดือน 8. กิจกรรมด้านการผลิตพืชผักและไม้ดอกไม้ประดับ ตลอดจนการ เลี้ยงสัตว์และประมงกิจกรรมเหล่าน้ีค่อนข้างจะอาศัยแรงงานมาก และการดูแล เป็นพิเศษจะท�ำการผลิตมากไม่ได้ เน่ืองจากข้อจ�ำกัดด้านแรงงาน การเน่าเสีย การตลาด การเจริญเติบโตถึงขีดจ�ำกัดแต่ยังคงต้องมีค่าใช้จ่ายในการผลิต เช่น คา่ อาหาร ค่ายาเคมแี ละคา่ จ้างแรงงาน เป็นตน้ ดังน้ัน ควรมีการวางแผนการผลติ และการตลาดเป็นอยา่ งดีโดยท�ำการผลติ เป็นรนุ่ ๆ 12 กรมสง่ เสริมการเกษตร

ด้านเงินทุน 1. งบประมาณการลงทุนในการท�ำไร่นาสวนผสมในระยะแรกจะมี ค่าลงทุนค่อนข้างสูง เช่น การปรับสภาพพ้ืนท่ีปลูกพืช การขุดบ่อปลาเพื่อสร้าง แหล่งน�้ำ การสร้างโรงเรือนและอุปกรณ์การเกษตร ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่เกิดข้ึน ในระยะแรก ๆ ของการผลิตกิจกรรม (ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนกิจกรรมจะเริ่มให้ ผลผลิต) ดังนน้ั ควรพจิ ารณากจิ กรรมเสริมให้ผลเรว็ ในชว่ งแรก ๆ เพอ่ื ท่ีจะนำ� ราย ไดม้ าเพอื่ การดำ� รงชพี และดำ� เนนิ การผลิต 2. งบประมาณค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินการผลิตไร่นาสวนผสม ต้อง พิจารณาถึงชนิดและจ�ำนวนกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณเงินทุน ที่มีอยู่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายด้านพันธุ์พืชและสัตว์ ค่าปุ๋ยเคมี อาหารสัตว์ ค่าสารเคมี ค่าแรงงานจ้างและอื่น ๆ ซึ่งจะต้องหมุนเวียนเกิดขึ้นในฟาร์มอยู่ตลอด เวลาในชว่ งการผลติ นน้ั ๆ ไรน่ าสวนผสม 13

3. ในกรณีท่ีเกษตรกรกู้ยืมเงินจากแหล่งสถาบันการเงินควรตระหนัก ถึงการวางแผนการใช้จ่ายเงินและผลตอบแทนในลักษณะกระแสเงินสดของฟาร์ม (รายไดร้ ายจา่ ยในแต่ละเดอื นหรอื แต่ละป)ี n พิจารณารายจ่ายท่ีเกิดขึ้นในแต่ละช่วงและเวลาชนิดกิจกรรม ในด้านงบเงินค่าลงทุนและเงนิ ค่าใช้จ่ายในการด�ำเนนิ การผลิต n พจิ ารณาผลตอบแทน (รายได)้ จากกจิ กรรมแตล่ ะชนดิ และแต่ละ ช่วงเวลาใหเ้ กดิ รายไดส้ งู กวา่ รายจา่ ยและเพยี งพอตอ่ การดำ� รงชีพและการผลิต n การช�ำระเงินคืนแก่สถาบันการเงินว่า ควรจะเป็นเงินต้นและ ดอกเบ้ียเท่าไหร่นั้น ควรพิจารณาเงินทุนที่เกษตรกรจะต้องใช้จริงในชีวิตประจ�ำวัน เชน่ 2 เงินทนุ ส�ำหรับเพื่อการดำ� รงชีพในครวั เรอื นทัง้ ด้านอปุ โภค และบริโภค 2 เงินทุนส�ำหรับค่าใช้จ่ายทั่วไป เช่น ด้านสังคม ด้านการศึกษา ดา้ นศาสนา ด้านบันเทงิ 2 เงินทนุ สำ� หรับดา้ นการลงทนุ ในการผลิตกิจกรรมต่อไป 2 เงนิ ทุนส�ำหรับดา้ นประกันสงั คมการด�ำรงชีพ กลา่ วคอื ความเส่ียงท้งั ดา้ นการดำ� รงชพี และดา้ นการผลิต 2 เงินทนุ สำ� รอง หรอื เกบ็ ออมเพอื่ อนาคต 2 อน่ื ๆ 14 กรมส่งเสรมิ การเกษตร

ด้านรายได้ การพิจารณาผลตอบแทนที่เกิดข้ึนจากกิจกรรมในแง่ของผลตอบแทน ทั้งด้านปริมาณและระยะเวลาตอบแทนความมั่นคงของผลตอบแทน ขนาด ของกิจกรรม การเคลื่อนไหวของราคา ปริมาณการผลิตและคุณภาพของผลผลิต เปน็ ตน้ อยา่ งไรก็ตามจะต้องพจิ ารณาในประเด็นเหลา่ น้ีดว้ ย 1. ควรพิจารณาจากกิจกรรมท่ีก่อให้เกิดมีรายได้หลายทางจากพืช สัตว์ และประมง ในลกั ษณะรายได้รายวนั รายสปั ดาห์ รายเดือน และรายปี เปน็ ต้น 2. พิจารณาว่ากิจกรรมใดควรเป็นรายได้หลัก รายได้รอง และรายได้เสริม จากกิจกรรมที่ต้องการผลิตภายในฟาร์ม 3. กิจกรรมทใ่ี หผ้ ลตอบแทน (รายได้) ในระยะยาวในช่วงแรกยงั ไมม่ ผี ลผลติ หรอื รายได้ ควรจะมกี ิจกรรมเสริมในระยะแรกเพอ่ื ให้เกิดรายไดใ้ นช่วงแรก ๆ 4. ควรพจิ ารณารายไดท้ เี่ กดิ ขน้ึ จากการปลกู พชื หมนุ เวยี นและกจิ กรรม ทีจ่ ดั สรรโดยการทยอยปลูกพชื หรอื เลี้ยงสตั วเ์ ปน็ รุ่น ๆ 5. ควรพจิ ารณาถงึ ความเสย่ี งของกจิ กรรมทก่ี อ่ ใหเ้ กดิ รายได้ โดยจะตอ้ ง เสีย่ งกับภาวะความแปรปรวนของราคาผลผลิต การตลาดและภัยธรรมชาติ 6. พิจารณาด้านรายได้ของกิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนเร็วในช่วงส้ัน ๆ ของการผลิตและให้รายได้สูง หรือพิจารณาด้านรายได้ระยะยาวท่ีมั่นคง หรือรายได้ที่ไม่มีความแปรปรวนมากนัก เช่น การเล้ียงปลา ทั้งนี้ ควรผสมผสานกนั และดคู วาม ตอ้ งการของเกษตรกรเปน็ หลกั ด้วยในการพจิ ารณา ไร่นาสวนผสม 15

ด้านเกษตรกร 1. เกษตรกรควรเป็นคนขยันขันแข็ง กระตือรือร้น และมีความคิด สร้างสรรค์ ยอมรับในการเปล่ียนแปลงใหม่ ๆ มีแนวความคิดเชิงธุรกิจติดตาม ความเคลอื่ นไหว ดา้ นราคา ชนดิ ผลิตผลการเกษตรและการตลาดอยตู่ ลอดเวลา 2. มีแรงงานครอบครัวส�ำหรับท�ำการเกษตรอย่างน้อย 3 คน ต่อพ้ืนที่ ไร่นาสวนผสม 10 ไร่ 3. เกษตรกรควรมีความรู้ความสามารถ และทักษะในการวางแผน และการจัดการด้านทรัพยากรด้านแรงงาน ด้านเวลา และกิจกรรมการผลิต ไดเ้ ปน็ อยา่ งดี เปน็ ต้น 16 กรมสง่ เสริมการเกษตร

การปรับเปลย่ี นสภาพพ้นื ทีน่ ามาเปน็ ไรน่ าสวนผสม (สภาพพน้ื ทลี่ ่มุ ) เหตผุ ล 1. สภาพพื้นทไ่ี มเ่ หมาะสมต่อการท�ำนาปีและนาปรงั 2. ปรมิ าณน้ำ� ไม่เพยี งพอตอ่ การทำ� นาปรัง 3. รายไดห้ ลักจากอาชพี ทำ� นาหรอื กจิ กรรมอยา่ งเดยี วไม่เพียงพอ 4. การผลิตกิจกรรมการเกษตรเพียงชนิดเดียวอาจจะมีความเส่ียงจาก ราคาผลผลิตและภยั ธรรมชาติ 5. รายได้จากการท�ำไร่นาสวนผสมดีกว่าการท�ำนา และสามารถมีรายได้ ตอ่ เนอ่ื งในลักษณะรายวนั รายสัปดาห์ รายเดอื น และรายปี จากกจิ กรรมหลากหลาย 6. มีการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนและเกื้อกูลกันในระดับไร่นาเพ่ือให้เกิด ประโยชน์และมีประสิทธิภาพสงู สดุ 7. เป็นแหลง่ อาหารและใช้สอยในครวั เรือน 8. เป็นการสร้างระบบนิเวศเกษตรภายในฟาร์มและชุมชนเพ่ือให้เกิด ความสมดุลทางธรรมชาติ ไร่นาสวนผสม 17

ขอ้ ควรพิจารณา 1. เกษตรกรมพี น้ื ท่เี ปน็ ของตนเอง 2. มีแหลง่ น้ำ� เพียงพอต่อการเกษตรตลอดปี 3. แรงงานครวั เรือนอย่างนอ้ ย 3 คน 4. แบ่งพน้ื ที่เพอื่ การทำ� ไรน่ าสวนผสมในระยะแรกประมาณ 5 - 10 ไร่ 5. หากสภาพพื้นท่ีลุ่มซ่ึงมีระดับน�้ำใต้ดินสูงหรือสภาพพื้นท่ีมีน้�ำขัง จ�ำเป็นต้องยกร่องและท�ำคันล้อม ในกรณีท�ำไร่นาสวนผสมท่ีมีไม้ผลและการปลูก พืชแซมในไมผ้ ล 6. เกษตรกรเป็นคนขยันขันแข็งและมีความสนใจในกิจกรรมของไร่นา สวนผสม 7. ปลูกพชื แซมในไม้ผลและพน้ื ท่ขี อบบ่อปลาใหเ้ กิดประโยชน์ 8. พื้นท่ีบ่อปลาและโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ควรอยู่ใกล้บ้านและสะดวกต่อ การถ่ายเทน�้ำและของเสยี 9. พื้นที่บ่อปลาควรเก็บกักน้�ำได้ประมาณ 6 - 8 เดือน ลักษณะดิน ควรเปน็ ดินเหนยี วหรือดนิ เหนียวปนทราย 10. ค่าใช้จ่ายในการลงทุนยกร่อง ขุดบ่อปลาและโรงเรือน โดยเฉลี่ย สามารถใชไ้ ด้ 3 - 5 ปี จึงจะซอ่ มแซม หรอื ปรับปรงุ ใหม่ 11. รายละเอียดให้พิจารณาจากทางเลือกของพืช สัตว์และประมง แตล่ ะชนดิ เพอ่ื ประกอบการเลือกกิจกรรม เพอ่ื ท�ำการผลติ แบบไรน่ าสวนผสม 12. ชนิดของกิจกรรมในรูปแบบไร่นาสวนผสมสามารถปรับเปลี่ยนตาม ความเหมาะสมของพน้ื ที่ ความต้องการของตลาดและความพรอ้ มของเกษตรกร ในกรณีสภาพพื้นที่นาน้�ำลึก อาจจะท�ำนาบัว นาผักบุ้ง นาผักกระเฉด บ่อปลา เป็นต้น พ้ืนที่ขอบบ่อสามารถปลูกมะละกอ กล้วย มะพร้าวน้�ำหอม พืชผักสวนครัว ไม้ดอกไม้ประดับ และพืชสมุนไพร เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถ สร้างโรงเรือนเล้ยี งไกแ่ ละสุกรบนพนื้ ทีข่ อบบ่อปลาได้ 18 กรมสง่ เสริมการเกษตร

รูปแบบจำ�ลอง ไร่นาสวนผสมสภาพพืน้ ทีร่ าบและลุ่ม : ลกั ษณะดินเหนยี ว ดินเหนยี วปนทราย : อาศัยนำ�้ ชลประทาน และบอ่ บาดาลระดบั นำ้� ตื้น : แรงงานครัวเรือนอยา่ งน้อย 3 คน : พนื้ ทขี่ นาด 10 ไร่ ไร่นาสวนผสม 19

การปรบั เปลีย่ นสภาพพ้นื ท่นี ามาเปน็ ไร่นาสวนผสม (สภาพพ้นื ทด่ี อน) เหตุผล 1. สภาพบางพ้ืนท่ีเหมาะสมต่อการท�ำไร่นาสวนผสม และให้ผลตอบแทน ดีกวา่ การท�ำนาหรือท�ำไรเ่ พียงอยา่ งเดยี ว 2. รายไดห้ ลกั จากอาชีพท�ำนาท�ำไรห่ รือกจิ กรรมอยา่ งเดยี วไม่เพยี งพอ 3. การผลิตกิจกรรมการเกษตรเพียงชนิดเดียวท�ำให้เกิดความเส่ียงต่อ การผลิตเนือ่ งจากราคาผลิตผลแปรปรวนและเกดิ ภยั ธรรมชาติ 4. รายได้จากการท�ำไร่นาสวนผสมดีกว่าการท�ำนา ท�ำไร่ และสามารถ มีรายได้ต่อเนือ่ ง ในลกั ษณะรายวัน รายสปั ดาห์ รายเดือน และรายปี จากกิจกรรม ทีห่ ลากหลาย 5. มีการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนและเกื้อกูลกันในระดับฟาร์ม เพื่อให้ เกิดประโยชนส์ งู สดุ 6. เป็นแหลง่ อาหารและใชส้ อยในครวั เรือน 7. เป็นการสร้างระบบนิเวศเกษตรภายในฟาร์มและชุมชน เพื่อให้เกิด ความสมดุลทางธรรมชาติ 20 กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

ข้อควรพิจารณา 1. แบ่งพื้นท่เี พือ่ การท�ำไร่นาสวนผสมในระยะแรกประมาณ 5 – 10 ไร่ 2. หากสภาพพืน้ ทด่ี อนให้ไถปรับพ้ืนทใ่ี ห้สม่�ำเสมอ และจัดการพื้นท่ีให้ อยใู่ นสภาพพร้อมทจ่ี ะทำ� ไรน่ าสวนผสมตามเง่อื นไขของกจิ กรรมแตล่ ะชนดิ 3. เกษตรกรมพี นื้ ทีเ่ ป็นของตนเอง 4. มีแหลง่ น้ำ� และปริมาณนำ้� เพียงพอในช่วงฤดกู าลเพาะปลูกและเล้ยี งสตั ว์ 5. แรงงานครัวเรอื นอย่างนอ้ ย 3 คน 6. เกษตรกรเป็นคนขยันขันแข็งและมีความสนใจในกิจกรรมของไร่นา สวนผสม 7. ปลกู พชื แซมในไมผ้ ล ไมย้ นื ตน้ และพน้ื ทข่ี อบบอ่ ปลาใหเ้ กดิ ประโยชน์ สูงสุด 8. พ้ืนท่ีบ่อปลาและโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ควรอยู่ใกล้บ้านและสะดวกต่อ การถา่ ยเทน�้ำและของเสีย 9. พ้ืนที่บ่อปลาควรเก็บกักน้�ำได้ประมาณ 6 – 8 เดือน ลักษณะดิน ควรเปน็ ดนิ เหนียวหรอื ดนิ เหนยี วปนทราย 10. คา่ ใชจ้ า่ ยในการลงทนุ สรา้ งโรงเรอื นและขดุ บอ่ ปลาโดยเฉลย่ี สามารถ ใชไ้ ด้ 3 – 5 ปี จงึ จะซ่อมแซม หรือปรับปรุงใหม่ 11. รายละเอียดให้พิจารณาจากทางเลือกของพืช สัตว์ และประมง แต่ละชนดิ เพอ่ื ประกอบการเลอื กกจิ กรรม เพือ่ ทำ� การผลิตแบบไรน่ าสวนผสม 12. ชนิดของกิจกรรมในรูปแบบไร่นาสวนผสมสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามความเหมาะสมของพื้นที่ความต้องการของตลาดและความพร้อมของ เกษตรกร ไร่นาสวนผสม 21

รปู แบบจำ�ลอง ไร่นาสวนผสมสภาพพน้ื ทด่ี อน : ลกั ษณะดินเหนียว ดินเหนยี วปนทราย : อาศยั นำ�้ ฝน : แรงงานครัวเรอื นอย่างน้อย 3 คน : พื้นท่ีขนาด 10 ไร่ 22 กรมส่งเสริมการเกษตร

กรณตี ัวอย่างเกษตรกรท่ปี ระสบความสำ�เร็จ ในการทำ�เกษตรรปู แบบไร่นาสวนผสม เกษตรกรตวั อย่าง  นางรำ�พงึ อินทร์สำ�ราญ เกษตรกรดเี ด่น สาขาไร่นาสวนผสม ประจ�ำปี 2558 ทอ่ี ยู่ปัจจบุ ัน บ้านเลขท่ี 118 หมู่ 3 ตำ� บลหนองไผ่ อำ� เภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร ์ โทรศพั ท์ 08 5634 2273 การบริหารจัดการไร่นาสวนผสม มีการจัดระบบการปลูกพืช ประมง และฟาร์มปศุสัตว์ ในพื้นที่ท่ีมีอยู่ให้ได้ประโยชน์ อย่างเต็มท่ี มีการวางแผนการใช้พื้นทใี่ ห้เกิดประโยชนส์ งู สุด บริหารจัดการน�ำ้ อย่างมปี ระสิทธภิ าพ ในการปลกู พชื ประมง เลี้ยงสตั ว์ โดยทกุ กิจกรรมมกี ารเก้ือกูลประโยชนซ์ งึ่ กนั และกนั สภาพทวั่ ไปของฟาร์ม พ้นื ทก่ี ารจัดไร่นาสวนผสมจำ� นวน 54 ไร่ มกี ารด�ำเนนิ การดังน้ี สว่ นท่ี 1 แปลงปลูกข้าว ประมาณ 43 ไร่ สว่ นที่ 2 จัดการแบบไรน่ าสวนผสม ประมาณ 11 ไร่ (ข้าว+พชื +สัตว+์ ประมง) ไร่นาสวนผสม 23

ปฏทิ นิ กจิ กรรมการเกษตร ที่ ชนิดกจิ กรรม จำ�นวน ม.ค. ก.พ. ม.ี ค. เม.ย. ระยะเวลาดำ�เนินการ ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. หมายเหตุ พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. 1 ท�ำนาข้าวหอมมะลิ 48 ไร่ 2 ปลกู ถัว่ พรา้ 42 ไร่ 3 ปอเทือง 42 ไร่ 4 กล้วยนำ้� ว้า 60 ตน้ 5 ไผ่หม่าจู 4 กอ 6 ไผต่ งลืมแลง้ 40 กอ 7 มะนาวในวงบ่อซเี มนต์ 60 ตน้ 8 ผกั หวานปา่ 40 ต้น 9 ชะอม 20 ตน้ 10 หม่อน 60 ต้น 11 แคแดง 20 ต้น 12 มะเขอื พวง 20 ตน้ 13 อ้อย 20 ตน้ 14 ตะไคร้ 100 กอ 15 ตะไคร้หอม 100 กอ 24 กรมสง่ เสริมการเกษตร

ท่ี ชนิดกจิ กรรม จำ�นวน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. ระยะเวลาดำ�เนินการ ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. หมายเหตุ พ.ค. ม.ิ ย. ก.ค. ส.ค. 16 ขา่ 17 ผกั กางม้งุ 6 กอ 18 ไมพ้ ยงุ 19 ไมย้ างนา 1 หลัง 20 ไมม้ ะค่าโมง 21 ไม้แดง 100 ต้น 22 สะเดา 23 ขี้เหล็ก 100 ตน้ 24 ยางพารา 25 เลย้ี งกบ 100 ตน้ 26 เลย้ี งหมูป่า 27 เลยี้ งหมบู ้าน 100 ตน้ 28 เลี้ยงไก่ 29 เลยี้ งเปด็ (ไข)่ 100 ตน้ 30 เลย้ี งปลานลิ 500 ตน้ 30 ต้น 5,000 ตวั 60 ตวั 4 ตัว 40 ตัว 40 ตัว 1,000 ตวั ไรน่ าสวนผสม 25

การเงินและบญั ชี ปี 2555 ปี 2556 ปี 2557 ท่ี ชนดิ กิจกรรม จำ�นวน ลงทุน รายได้ ลงทุน รายได้ ลงทุน รายได้ หมายเหตุ (บาท) (บาท) (บาท) (บาท) (บาท) (บาท) 1 ท�ำนาขา้ วหอม มะลิ 48 ไร่ 80,000 320,000 70,000 340,000 72,000 450,000 2 ปลูกถ่วั พรา้ 42 ไร่ ได้รับ - - - - - เปน็ ปุย๋ พืชสด สนบั สนนุ 3 ปอเทือง 42 ไร่ ได้รับ - - - - - เป็นปุย๋ พชื สด 4 กลว้ ยน�้ำวา้ สนบั สนนุ 5 ไผห่ ม่าจู 60 ตน้ เพาะเอง 4,000 - 5,000 - 6,000 6 ไผต่ งลมื แลง้ 4 กอ ได้รบั - - - - - ใช้ท�ำอาหาร 7 มะนาวในวงบอ่ สนับสนุน ซีเมนต์ 40 กอ ไดร้ บั - - - - - ยงั ไม่เกบ็ 8 ผกั หวานป่า สนับสนุน ผลผลติ 9 ชะอม 60 ต้น 3,000 4,000 - 4,000 - 3,000 10 หมอ่ น 40 ตน้ - - ได้รบั - - - ยังไม่เกบ็ สนับสนุน ผลผลติ 11 แคแดง 20 ต้น - - ได้รบั - - - ใชท้ �ำอาหาร 12 มะเขือพวง สนบั สนุน 13 อ้อย 60 ต้น - - ไดร้ ับ - - - ท�ำท่อนพันธ์ุ 14 ตะไคร้ สนบั สนนุ 15 ตะไครห้ อม 20 ต้น - - ได้รบั - - 3,000 ขายเมล็ด สนับสนนุ 16 ข่า 20 ตน้ เพาะเอง 2,000 - 2,000 - 500 20 ต้น ได้รับ - - - - - ใช้ผลติ น้�ำหมกั สนับสนุน ชวี ภาพ 100 กอ - - ได้รับ - - - ใช้ทำ� อาหาร สนบั สนุน 100 กอ ได้รับ - - - - - ใชผ้ ลติ สนบั สนุน สารไลแ่ มลง 6 กอ - - ได้รบั - - - ใช้ทำ� อาหาร สนบั สนนุ 26 กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

ปี 2555 ปี 2556 ปี 2557 ลงทนุ รายได้ ท่ี ชนดิ กจิ กรรม จำ�นวน ลงทนุ รายได้ ลงทุน รายได้ (บาท) (บาท) หมายเหตุ (บาท) (บาท) (บาท) (บาท) 17 ผักกางมุ้ง 1 หลงั 2,000 5,000 ยังไม่จำ� หนา่ ย 18 ไม้พยุง 100 ตน้ - - 2,000 10,000 -- 19 ไม้ยางนา 100 ต้น - - ไดร้ บั - -- สนับสนนุ 20 ไมม้ ะคา่ โมง 100 ต้น -- - - ได้รบั - 21 ไมแ้ ดง 100 ตน้ สนบั สนนุ -- 22 สะเดา 100 ตน้ - - ได้รบั - -- สนับสนุน 23 ขเ้ี หลก็ 500 ต้น -- - - ได้รบั - 24 ยางพารา 30 ต้น สนับสนุน -- 25 เลย้ี งกบ 5,000 ตวั - - ไดร้ บั - 5,000 20,000 26 เลี้ยงหมูป่า 60 ตัว สนบั สนุน 40,000 100,000 27 เลย้ี งหมบู า้ น 4 ตัว - - ไดร้ บั - -- 28 เลยี้ งไก่ 40 ตวั สนับสนนุ 29 เล้ยี งเป็ด (ไข่) 40 ตัว 2,000 3,000 30 เลี้ยงปลานิล 1,000 ตวั - - ไดร้ บั - 2,000 5,000 สนบั สนุน 2,000 10,000 5,000 20,000 5,000 20,000 40,000 100,000 40,000 100,000 - - ไดร้ บั - สนับสนนุ 2,000 5,000 2,000 5,000 2,000 5,000 2,000 5,000 - - ได้รบั - สนับสนุน ไรน่ าสวนผสม 27

บรรณานุกรม กรมส่งเสริมการเกษตร. 2547. รูปแบบไร่นาสวนผสมดีเด่นระดับจังหวัด. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจ�ำกัด 79 ถนนงามวงศ์วาน ลาดยาว จตจุ กั ร กทม. กรมส่งเสริมการเกษตร. 2543. ไร่นาสวนผสม. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทยจ�ำกัด 79 ถนนงามวงศ์วาน ลาดยาว จตจุ กั ร กทม. 28 กรมส่งเสรมิ การเกษตร

เอกสารคำ�แนะนำ�ท่ี 1/2560 ไรน่ าสวนผสม ทปี่ รึกษา อธิบดีกรมสง่ เสรมิ การเกษตร www.doae.go.th รองอธบิ ดีกรมส่งเสริมการเกษตร ฝ่ายบรหิ าร นายสมชาย ชาญณรงค์กลุ รองอธิบดกี รมส่งเสริมการเกษตร ฝ่ายวิชาการ นายสงกรานต์ ภักดคี ง รองอธบิ ดีกรมสง่ เสรมิ การเกษตร ฝ่ายสง่ เสรมิ และฝึกอบรม นายประสงค์ ประไพตระกูล ผอู้ �ำนวยการส�ำนักพฒั นาการถ่ายทอดเทคโนโลยี นายสดุ สาคร ภัทรกลุ นษิ ฐ์ ผอู้ �ำนวยการกองวจิ ยั และพฒั นางานส่งเสริมการเกษตร นางอญั ชลี สุวจติ ตานนท ์ นางจิระนุช ชาญณรงคก์ ุล เรียบเรียง ผู้อำ� นวยการกลุ่มจัดการฟาร์มและเกษตรกรรมยงั่ ยืน นางคนึงนิตย์ ทองล่มิ นางสาวอรวรรณ คงอภิรกั ษ์ นักวชิ าการส่งเสรมิ การเกษตรชำ� นาญการพิเศษ นางสาวพิมประภา สินคำ้� คณู นกั วิชาการสง่ เสรมิ การเกษตรชำ� นาญการ นางสาวเสาวณติ เทพมงคล นักวชิ าการส่งเสรมิ การเกษตรปฏบิ ัตกิ าร นางสาวพรี ชา มณีชาต ิ นกั วิชาการสง่ เสรมิ การเกษตรปฏบิ ตั กิ าร นางสาวรตั นาภรณ์ นพพูน นกั วิชาการส่งเสรมิ การเกษตรปฏบิ ตั ิการ นางสาวอารยี ว์ รรณ เหลอื งทอง นกั วชิ าการส่งเสรมิ การเกษตร กลุม่ จัดการฟาร์มและเกษตรกรรมย่งั ยืน กองวจิ ัยและพัฒนางานส่งเสรมิ การเกษตร กรมส่งเสรมิ การเกษตร จดั ทำ� นางอมรทิพย์ ภริ มย์บูรณ ์ ผอู้ ำ� นวยการกล่มุ พัฒนาสอ่ื ส่งเสริมการเกษตร นางสาวอ�ำไพพงษ์ เกาะเทยี น นกั วชิ าการเผยแพร่ช�ำนาญการ กลุ่มพฒั นาส่อื สง่ เสรมิ การเกษตร สำ� นักพฒั นาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมสง่ เสรมิ การเกษตร


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook