Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ตำราเวชศาสตร์รัชกาลที่ ๕

ตำราเวชศาสตร์รัชกาลที่ ๕

Published by thanom, 2018-08-13 00:29:59

Description: ตำราเวชศาสตร์เพื่อการศึกษาและสามารถประยุกต์ใช้ได้ตามความประสงค์

Keywords: ตำรายา

Search

Read the Text Version

ตำราเวชศาสตร์ฉบบั หลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๓ คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกยี รติพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วัเนือ่ งในโอกาสพระราชพธิ ีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ จดั พมิ พพ์ ุทธศักราช ๒๕๕๕

ตำราเวชศาสตรฉ์ บับหลวง รัชกาลท่ี ๕ เลม่ ๓คณะกรรมการฝา่ ยประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจดั งานเฉลมิ พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จดั พิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพธิ มี หามงคลเฉลมิ พระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ข้อมูลทางบรรณานกุ รมของสำนกั หอสมดุ แห่งชาติกรมศลิ ปากร ตำราเวชศาสตรฉ์ บับหลวง รชั กาลที่ ๕ เลม่ ๓. - - กรงุ เทพฯ : กรม, ๒๕๕๕. ๑๔๐ หน้า. ๑. ตำรับยาหลวง. ๒. เวชศาสตร์. ๓. ยาแผนโบราณ. I. ชอื่ เรอ่ื ง.616.024ISBN 978-974-417-644-8ทปี่ รึกษา อธิบดกี รมศลิ ปากร (นางโสมสดุ า ลียะวณชิ ) รองอธบิ ดกี รมศลิ ปากร (นายการุณ สุทธภิ ลู ) ผเู้ ชยี่ วชาญทางด้านภาษาโบราณ (นางสาวกอ่ งแกว้ วรี ะประจกั ษ)์ ผ้เู ชยี่ วชาญทางด้านภาษาตะวันออก (นายเทมิ มเี ตม็ ) ผเู้ ช่ยี วชาญทางด้านภาษาโบราณ (นายเกษยี ร มะปะโม) ผู้เชย่ี วชาญเฉพาะด้านมณั ฑนศลิ ป์ (นางสาวบุษกร ลมิ จิตติ)ประธานคณะทำงาน ผ้อู ำนวยการสำนกั หอสมุดแหง่ ชาติ (นางวิลาวณั ย์ ทรัพย์พันแสน)คณะทำงาน นางสาวเอมอร เชาวน์สวน นางสาวพมิ พ์พรรณ ไพบูลยห์ วังเจริญ นางศวิ พร เฉลิมศรี นายจุง ดบิ ประโคน นางสาวชญานตุ ม์ จินดารกั ษ์ นางสาวยวุ เรศ วุทธรี พล นางสำอางค์ ขนุ ศรี นางสาววชรพร องั กรู ชชั ชัย ผถู้ า่ ยภาพ นางสาวน้ำทพิ ย์ นงค์สูงเนิน นายประกาย ศรสี ัจจาพิมพท์ ่ี บริษทั อมรินทร์พร้ินต้งิ แอนด์พบั ลิชชิง่ จำกัด (มหาชน) ๖๕/๑๖ ถนนชัยพฤกษ์ (บรมราชชนน)ี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐ โทรศพั ท์ ๐-๒๔๒๒-๙๐๐๐, ๐-๒๘๘๒-๑๐๑๐ โทรสาร ๐-๒๔๓๓-๒๗๔๒, ๐-๒๔๓๔-๑๓๘๕ E-mail : [email protected] Homepage : http://www.amarin.com

คำปรารภ เนอ่ื งในมหามงคลสมยั ทพ่ี ระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช มหติ ลาธเิ บศรรามาธบิ ดี จกั รนี ฤบดนิ ทร สยามนิ ทราธริ าชบรมนาถบพติ ร ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗ รอบ วนั ที่ ๕ ธันวาคม พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๔ รฐั บาลและปวงชนชาวไทยมคี วามปลืม้ ปตี ชิ ่นื ชมโสมนสั เปน็ ล้นพน้ จงึ พรอ้ มใจกันจดั งานเฉลมิ พระเกียรติดว้ ยความจงรกั ภกั ดแี ละความสำนึกในพระมหากรณุ าธคิ ณุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๙ และได้ทรงประกาศพระปฐมบรมราชโองการเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๓ ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”นบั แตบ่ ดั นน้ั ตราบจนปจั จบุ นั พระองคท์ รงยดึ มน่ั ในทศพธิ ราชธรรมและทรงพระวริ ยิ อตุ สาหะบำเพญ็ พระราชกรณยี กจิ นอ้ ยใหญน่ านปั การเพอ่ื บำบดั ทกุ ขบ์ ำรงุ สขุ แกป่ วงชนชาวไทยตลอดมา ดว้ ยพระราชปณธิ านอนั แนว่ แนแ่ ละพระอจั ฉรยิ ภาพอนั ลำ้ เลศิ พระองคไ์ ดพ้ ระราชทานแนวพระราชดำรใิ นการลดภาวะวิกฤติดา้ นสงิ่ แวดล้อม ตลอดจนพระราชทานโครงการอนั เน่อื งมาจากพระราชดำริกว่า ๔,๐๐๐ โครงการเพื่อการพัฒนาประเทศในทุกด้าน รวมทั้งพระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแนวทางให้พสกนิกรดำรงชีวิตร่มเย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืน พระราชกรณียกิจนานัปการอันเกิดจากพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาญาณอันสุขุมคัมภีรภาพ ตลอดจนพระราชจริยวัตรอนั งดงามของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ลว้ นเปน็ คณุ ปู การยง่ิ ใหญแ่ กป่ ระเทศและประชาชน สง่ ผลใหป้ ระเทศมคี วามมน่ั คงอดุ มสมบรู ณ์และเจริญรุ่งเรืองพัฒนาก้าวหน้า พระเกียรติคุณของพระองค์จึงเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญทั้งในประเทศและนานาประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั จงึ เป็นพระมิง่ ขวัญร่มเกล้าของชาวไทยทงั้ ปวง ซง่ึ ล้วนเทดิ ทูนพระมหากรณุ าธิคณุ ไวเ้ หนือเศยี รเกล้ามาโดยตลอด รฐั บาลและปวงชนชาวไทยพร้อมใจกันจัดงานเฉลิมพระเกียรตมิ หามงคลสมยั เฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธนั วาคม ๒๕๕๔โดยมอบหมายให้คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ พิจารณาเห็นชอบให้หน่วยราชการ องค์กร และเอกชน จัดพิมพ์หนังสืออันมีคุณค่า เพื่อเทิดพระเกียรติคุณและพระปรีชาสามารถในด้านต่างๆใหป้ รากฏยงั่ ยืนสืบไปตราบกาลนาน ในนามของรัฐบาลและประธานกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ขออนุโมทนาในความวิริยอุตสาหะของหน่วยราชการ องค์กรเอกชน และคณะกรรมการฝา่ ยประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ตลอดจนคณะทำงานทกุ คณะทไ่ี ดส้ รา้ งสรรคผ์ ลงานทางวชิ าการสาขาตา่ งๆทท่ี รงคณุ คา่ อนั จะอำนวยประโยชนอ์ ยา่ งยง่ิ แกป่ ระชาชน นอ้ มเกลา้ นอ้ มกระหมอ่ มถวายเปน็ ราชสกั การะแดพ่ ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วัผู้สถติ ในหทยั ของปวงประชาราษฎรตลอดกาล ขอจงทรงพระเจรญิ ยงิ่ ยืนนาน เทอญ (นางสาวยิง่ ลักษณ์ ชนิ วตั ร) นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลมิ พระเกยี รติ พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยูห่ ัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลมิ พระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธนั วาคม ๒๕๕๔

คำนำ มหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ นี้รัฐบาลชุดที่แล้ว รัฐบาลปัจจุบัน และประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า พร้อมใจกันจัดงานเฉลิมพระเกียรติ เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ รัฐบาลในนามคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ วั เนื่องในโอกาสพระราชพธิ ีมหามงคลเฉลมิ พระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ จงึ ไดม้ อบหมายใหค้ ณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุพิจารณาดำเนินงานจัดทำหนังสือวิชาการสาขาต่างๆ พร้อมทั้งจัดทำหนังสือจดหมายเหตุงานเฉลมิ พระเกียรติ เนือ่ งในมหามงคลโอกาสนดี้ ว้ ย คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุพิจารณาเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เลือกสรรและจัดพิมพ์หนังสือหลายสาขาในนามของรัฐบาล เพื่อเฉลิมพระเกียรติและเผยแพร่หนังสืออันทรงคุณค่าเหล่านั้นให้แก่สาธารณชนอย่างกว้างขวางเพื่อเป็นผลงานทรัพย์สินทางปัญญาของแผ่นดิน โดยเฉพาะพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและหนังสืออื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก แบ่งเป็นหนังสือที่พิมพ์ในนามของคณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ หนังสือจดหมายเหตกุ ารพระราชพิธีและกิจกรรมเฉลมิ พระเกียรติ ๗ รอบ ๕ ธนั วาคม ๒๕๕๔ และหนงั สือทหี่ น่วยงานภาครัฐและเอกชนแสดงเจตนารมณ์ ขอพมิ พ์ร่วมเฉลมิ พระเกยี รตพิ ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ ัวดว้ ย คณะกรรมการฯ จะแจกจ่ายหนังสือเหล่านี้ไปยังแหล่งความรู้ต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และในต่างประเทศทั่วโลกเพอ่ื ยงั ประโยชนแ์ กก่ ารศกึ ษาคน้ ควา้ ของประชาชนทกุ ระดบั ทง้ั น้ี โดยตระหนกั วา่ การสนองพระมหากรณุ าธคิ ณุ ดว้ ยความรว่ มมอื รว่ มใจกนัสร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าอำนวยประโยชน์เกื้อกูลแก่สาธารณชนเช่นนี้ นอกจากจะเป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตาธรรมแล้วยังเปน็ การสรา้ งส่งิ อนุสรณ์ที่เปน็ ทรพั ยส์ นิ ทางปัญญาของชาติไว้ในแผ่นดนิ สืบไป ดว้ ยเดชะพระบารมปี กเกลา้ ปกกระหมอ่ ม ปวงชนชาวไทยจกั ไดร้ บั ประโยชนอ์ ยา่ งกวา้ งขวางจากหนงั สอื ดมี คี ณุ คา่ สะทอ้ นวฒั นธรรมอันรุ่งเรืองมั่นคงของชาติ และจะได้ร่วมกันธำรงรักษาชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงยั่งยืน เพื่อสนองพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระวิริยอุตสาหะพัฒนาและปรับปรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยามโดยท่วั กนั (นางสกุ มุ ล คุณปลื้ม) รฐั มนตรีว่าการกระทรวงวฒั นธรรม ประธานกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ

คำชแี้ จง ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เป็นตำราการแพทย์แผนโบราณและตำราสมุนไพรพื้นบ้านของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจา้ อย่หู ัว มีพระบรมราชโองการฯ ดำรสั ส่งั พระเจา้ ราชวรวงษเ์ ธอ กรมหมนื่ ภูบดรี าชหฤทัย จางวางกรมแพทย์ในรชั สมยัให้เป็นแม่กองจัดหารวบรวมฉบับคัมภีร์แพทย์สำหรับรักษาโรคต่างๆ อันเป็นคุณประโยชน์แก่มหาชนมาตรวจสอบชำระเนื้อความให้ถูกต้องดีแล้ว ส่งมอบให้พระเจ้าราชวรวงษ์เธอ กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ จางวางกรมอาลักษณ์ กรมอักษรพิมพการ จัดสร้างขึ้นให้เป็นคัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง เพื่อเป็นส่วนพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติยศและใช้เป็นตำราหลักสำหรับประเทศชาติบ้านเมืองสืบไปคมั ภรี แ์ พทยฉ์ บบั หลวงน้ี เมอ่ื ตรวจสอบชำระดแี ลว้ สง่ ไปใหก้ รมอาลกั ษณจ์ ดั สรา้ งขน้ึ ระหวา่ งจลุ ศกั ราช ๑๒๓๒ (พ.ศ. ๒๔๑๓) ถงึ จลุ ศกั ราช๑๒๓๓ (พ.ศ. ๒๔๑๔) เพือ่ เป็นคัมภีร์ฉบบั ใหม่น้นั ไม่ทราบจำนวนช่ือเรอ่ื งทง้ั หมดวา่ มจี ำนวนทัง้ สนิ้ เท่าไร แตเ่ ข้าใจว่าแตล่ ะช่อื เร่ืองคงสร้างขน้ึ หลายชดุ เพอ่ื พระราชทานใหห้ ลายหนว่ ยงานสำหรบั อา่ นศกึ ษาคน้ ควา้ และจดั เกบ็ รกั ษาไวใ้ หค้ งอยเู่ ปน็ หลกั ฐานการใชป้ ระโยชนข์ องชาติซึ่งต้นฉบับคัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ ที่มีอยู่ในหอสมุดแห่งชาติปัจจุบันนี้ปรากฏหลักฐานในทะเบียนประวัติของต้นฉบับว่าไดร้ บั มอบมาจากห้องสมดุ ของกรมศกึ ษาธิการ กระทรวงธรรมการ ตัง้ แตพ่ ุทธศักราช ๒๔๘๐ มีจำนวนรวมทัง้ สิน้ ๕๑ เลม่ สมดุ ไทย แต่ก็เป็นคัมภีร์ชื่อเรื่องเดียวกัน มีเนื้อหาซ้ำกันอยู่หลายเล่ม และคัมภีร์บางเรื่องก็มีเนื้อหาไม่ครบสมบูรณ์ เพราะพลัดหายเล่มต้นหรือเล่มจบไปบ้าง นอกจากนั้นบางฉบับก็ยังจัดทำไม่แล้วเสร็จ กล่าวคือยังไม่ได้เขียนข้อความบานแผนก หรือยังไม่ได้เขียนคาถาภาษาบาลีที่แทรกอยู่ในเน้ือหา เปน็ ตน้ คัมภรี ์แพทยฉ์ บบั หลวงรชั กาลท่ี ๕ ทัง้ ๕๑ เล่มนี้ เป็นหนงั สอื สมุดไทยดำ ขนาดกว้าง ๑๑.๕ เซนติเมตร ยาว ๓๔.๕ เซนตเิ มตรเท่ากันทุกเล่ม มคี วามหนาตง้ั แต่ ๔ - ๖ เซนตเิ มตร ตามความส้ันยาวของเนอ้ื หา กลมุ่ หนังสอื ตวั เขียนและจารึก สำนักหอสมดุ แห่งชาติกรมศิลปากร เป็นผู้ดูแลรักษา โดยได้ลงทะเบียน จัดเข้าหมวดตำราเวชศาสตร์ ให้ลำดับเลขที่ตั้งแต่ เลขที่ ๑๐๐๐ ถึงเลขที่ ๑๐๕๐และใหช้ อ่ื เรือ่ งวา่ ตำราเวชศาสตร์ฉบบั หลวง รัชกาลที่ ๕ พุทธศักราช ๒๕๔๒ รัฐบาลได้จัดงานเฉลิมพระเกียรติน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ พิจารณาจัดทำหนังสือวิชาการสาขาต่างๆ เป็นที่ระลึก เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและเป็นหลักฐานแสดงพัฒนาการของบ้านเมือง ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร ซึ่งกรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ ได้คัดเลือกคัมภีร์แพทย์ฉบับหลวงรัชกาลที่ ๕มาจัดพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๑ - ๒ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ โดยคดั เลือกตน้ ฉบับเฉพาะเร่ืองท่ีมบี านแผนกและมีเน้อื หาในเลม่ สมบูรณ์ จำนวน ๑๒ชือ่ เรื่อง รวม ๓๐ เลม่ สมดุ ไทย ซง่ึ หนงั สอื ตำราเวชศาสตรฉ์ บับหลวง รชั กาลที่ ๕ ทงั้ ๒ เล่มน้ี ไดร้ ับความนยิ มจากแพทย์แผนไทยที่กำลงัไดร้ บั การฟน้ื ฟเู พอ่ื นำกลบั มาใชใ้ นสงั คมไทยปจั จบุ นั เปน็ อยา่ งยง่ิ เนอ่ื งจากมเี นอ้ื หาวชิ าการวา่ ดว้ ยการแพทยแ์ ผนโบราณในเลม่ ท่ี ๑ จำนวน๔ เรือ่ ง คือ คมั ภีร์กระษัย คมั ภรี ์ตักกศลิ า คมั ภรี ธ์ าตุวภิ งั ค์ และคัมภรี ์ประถมจนิ ดา เล่มที่ ๒ มี ๘ เรอื่ ง คือ คมั ภีร์ประถมจนิ ดา คัมภีร์แผนนวด ตำหรับแผนฝีดาษ คัมภีร์มรณญาณสูตร คัมภีร์มหาโชตรัต คัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา คัมภีร์โรคนิทาน คัมภีร์สรรพลักษณะสรรพคณุ และคมั ภรี อ์ ทุ รโรค นอกจากนน้ั ผสู้ นใจยงั สอบถามถงึ ตำราเวชศาสตรฉ์ บบั หลวง รชั กาลท่ี ๕ เลม่ อน่ื ๆ ทย่ี งั ไมไ่ ดจ้ ดั พมิ พเ์ ผยแพรด่ ว้ ย

กรมศิลปากรเห็นว่า หนังสือชุดนี้นอกจากจะมีประโยชน์อย่างมากในการอนุรักษ์และสืบทอดมรดกภูมิปัญญาของชาติให้แพร่หลายแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยในการนำกลับมาฟื้นฟูเพื่อรับใช้สังคม จึงคัดเลือกเรื่องที่คงเหลือในชุดของคัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง รัชกาลท่ี ๕ อกี เพียง ๓ เร่อื ง ๔ เล่ม คอื คัมภรี ์ชวดาร คัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉยั และคัมภรี อ์ ภัยสันตา มาจัดพิมพต์ อ่ จากตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รชั กาลท่ี ๕ เลม่ ๑ - ๒ ให้เปน็ เล่มที่ ๓ เพือ่ รว่ มเฉลมิ พระเกียรตพิ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธนั วาคม ๒๕๕๔ นี้ แมค้ ัมภรี ท์ งั้ ๓ เร่ืองนจี้ ะเป็นตน้ ฉบับทีไ่ มส่ มบูรณเ์ ท่าที่ควร กล่าวคอื ไมม่ ีบานแผนกท่มี า และยงั เตมิ คาถาบาลไี มค่ รบดว้ ย แต่ก็ยงั มีเนื้อหาสาระทีเ่ ปน็ ประโยชน์แก่การศกึ ษาค้นควา้ ไดเ้ ปน็ อยา่ งดี กรมศิลปากรหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะอำนวยประโยชน์แก่ผู้สนใจในการร่วมสร้างสรรค์และพัฒนามรดกภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยใหเ้ กิดประโยชนแ์ กส่ งั คมไทย ตามแนวพระราชดำริ ย่อมกลา่ วไดว้ า่ ไดแ้ สดงกตเวทติ าสนองพระมหากรณุ าธคิ ุณ น้อมเกลา้ นอ้ มกระหม่อมถวายเปน็ ราชสกั การะด้วย (นางโสมสุดา ลียะวณชิ ) อธบิ ดีกรมศิลปากร

สารบญั หน้า ตำราเวชศาสตรฉ์ บบั หลวง รชั กาลท่ี ๕คำปรารภ ๓คำนำ ๔คำช้แี จง ๕บทนำ ๙ ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รชั กาลที่ ๕พระคมั ภีร์ชวดาร ๒๓ พระคัมภรี ์ชวดาร เล่ม ๑ เลขที่ ๑๐๐๒ พระคัมภรี ส์ มฏุ ฐานวนิ จิ ฉัย เลม่ ๑ - ๒ ๕๐ พระคัมภรี ์สมุฏฐานวนิ จิ ฉยั เลม่ ๑ เลขที่ ๑๐๔๔ ๗๕ พระคมั ภีรส์ มฏุ ฐานวนิ จิ ฉัย เลม่ ๒ เลขท่ี ๑๐๔๕ พระคัมภีรอ์ ภยั สนั ตา ๙๙ พระคัมภรี ์อภยั สันตา เลม่ ๑ เลขท่ี ๑๐๔๙ บรรณานุกรม ๑๒๖ดรรชนีชือ่ โรค ๑๒๗ดรรชนีชื่อยา ๑๓๑ภาคผนวกคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยหู่ วั เน่อื งในพระราชพธิ ีมหามงคลเฉลมิ พระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธนั วาคม ๒๕๕๔ ๑๓๕คณะกรรมการฝา่ ยประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ๑๓๙



บทนำ ตำราเวชศาสตร์ฉบบั หลวง รชั กาลท่ี ๕* ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลมิ พระเกียรติพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หวั เนือ่ งในโอกาสพระราชพธิ ีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานกรรมการ ได้มอบหมายให้กรมศิลปากร กระทรวงวฒั นธรรม โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ ดำเนนิ การจัดพมิ พห์ นังสอื เร่อื ง “ตำราเวชศาสตรฉ์ บบั หลวง รัชกาลที่ ๕” ดว้ ยวิธกี ารถ่ายภาพจากต้นฉบับหนังสือสมุดไทย จำนวน ๓ เรื่อง ๔ เล่ม ให้เหมือนกับฉบับเล่ม ๑ - ๒ โดยใช้ชื่อเรื่องเดียวกัน แล้วกำหนดให้เป็นเล่ม ๓ตอ่ จากตำราเวชศาสตรฉ์ บบั หลวง รชั กาลท่ี ๕ เลม่ ๑ - ๒ ทจ่ี ดั พมิ พใ์ นโอกาสมหามงคลเฉลมิ พระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธนั วาคม ๒๕๔๒ เนื้อหาของเรื่อง ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เป็นตำราการแพทย์ของไทยและตำราสมุนไพรพื้นบ้าน หนังสือเหล่านี้เดิมมีกระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ เนื่องจากเป็นสมุดคู่มือสำหรับผู้สนใจและรักต่อการศึกษาวิชาแพทย์ จึงเก็บไว้เป็นสมุดส่วนตนบ้างบันทึกเพิ่มเติมไปตามความเข้าใจบ้าง ทำให้มีฉบับไม่ครบและคลาดเคลื่อนกันมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า คัมภีร์แพทย์ของไทยที่ได้บันทึกความรู้อันมีคุณประโยชน์แก่แผ่นดินและใช้ศึกษาสืบต่อกันมา ได้เริ่มสูญหายและคลาดเคลอ่ื นมากแลว้ จงึ ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ โปรดกระหมอ่ มใหพ้ ระเจา้ ราชวรวงษเ์ ธอ กรมหมน่ื ภบู ดรี าชหฤทยั ๑ จางวางกรมแพทย์เป็นแมก่ องจัดหารวบรวม ชำระสอบสวนตำราคมั ภรี แ์ พทยท์ ่ใี ช้กนั อยขู่ ณะนัน้ ให้ถกู ต้องดี แลว้ ส่งมอบให้พระเจ้าราชวรวงษเ์ ธอ กรมหม่ืนอักษรสาสนโสภณ๒ จางวางกรมอาลกั ษณ์ กรมอักษรพิมพการ จดั สร้างขน้ึ ใหมเ่ ปน็ “คมั ภีร์แพทยฉ์ บบั หลวง” เพอื่ เปน็ ส่วนพระราชกศุ ลเฉลมิ พระเกยี รติ และเปน็ ตำราท่ใี ช้ประโยชน์ในชาตบิ ้านเมอื งต่อไป ตามที่ปรากฏในบานแผนกของคมั ภรี ์แตล่ ะเล่ม ดังนี้——————————————————————————————— * เรยี บเรยี งโดย นางสาวพมิ พพ์ รรณ ไพบลู ยห์ วงั เจรญิ ผเู้ ชย่ี วชาญเฉพาะดา้ นภาษาโบราณ สำนกั หอสมดุ แหง่ ชาติ กรมศลิ ปากร กระทรวงวฒั นธรรม ๑ พระเจ้าราชวรวงษ์เธอ กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย เป็นพระนามที่ปรากฏในตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมน่ื ภบู ดรี าชหฤทยั พระราชโอรสในพระบาทสมเดจ็ พระนง่ั เกลา้ เจา้ อยหู่ วั รชั กาลท่ี ๓ และเจา้ จอมมารดาแกว้ พระนามเดมิ “พระองคเ์ จา้ ชายอมฤตย”์ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๙ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีจอ อัฐศก จ.ศ. ๑๑๘๘ (๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๖๙) ในรัชกาลที่ ๔ ทรงสถาปนาเป็น กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัยโปรดใหท้ รงกำกบั กรมอกั ษรพมิ พการ ถงึ รชั กาลท่ี ๕ โปรดใหท้ รงกำกบั กรมหมอนวดหมอยา สน้ิ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๕ เมอ่ื วนั จนั ทร์ เดอื น ๔ แรมคำ่ ๑ปมี ะเมยี โทศก จ.ศ. ๑๒๓๑ (๖ มนี าคม พ.ศ. ๒๔๑๓) พระชนั ษา ๔๔ ปี ๒ พระเจ้าราชวรวงษ์เธอ กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ เป็นพระนามที่ปรากฏในตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงบดนิ ทรไพศาลโสภณฯ พระราชโอรสในพระบาทสมเดจ็ พระนง่ั เกลา้ เจา้ อยหู่ วั รชั กาลท่ี ๓ และเจา้ จอมมารดาคลา้ ย พระนามเดมิ “พระองคเ์ จา้ ชายสงิ หรา”ประสตู เิ มอ่ื วนั อาทติ ย์ เดอื นอา้ ย ขน้ึ ๑๑ คำ่ ปจี อ อฐั ศก จ.ศ. ๑๑๘๘ (๑๐ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๓๖๙) ในรชั กาลท่ี ๔ ทรงสถาปนาเปน็ กรมหมน่ื อกั ษรสาสนโสภณเมื่อปีขาล อัฐศก จ.ศ. ๑๒๒๘ (พ.ศ. ๒๔๐๙) โปรดให้ทรงกำกับกรมพระอาลักษณ์ ถึงรัชกาลที่ ๕ เลื่อนเป็นกรมขุนบดินทรไพศาลโสภณ ปีชวด อัฐศกจ.ศ. ๑๒๓๘ (พ.ศ. ๒๔๑๙) โปรดให้ทรงกำกับอักษรพิมพการ และกำกับศาลรับสั่งชำระความราชตระกูล แล้วเลื่อนเป็น กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณฑฆี ชนมเ์ ชษฐประยรู เมอ่ื ปวี อก อฐั ศก จ.ศ. ๑๒๕๘ (พ.ศ. ๒๔๓๔) สน้ิ พระชนมเ์ มอ่ื วนั อาทติ ย์ เดอื น ๘ ขน้ึ ๑๑ คำ่ ปเี ถาะ เบญจศก จลุ ศกั ราช ๑๒๖๕(๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๖) พระชนั ษา ๗๗ ปี ตน้ สกลุ สงิ หรา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหม่นื ภบู ดีราชหฤทัย(พระเจา้ ราชวรวงษ์เธอ กรมหม่นื ภูบดรี าชหฤทยั จางวางกรมแพทย)์

พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมหลวงบดนิ ทรไพศาลโสภณ(พระเจา้ ราชวรวงษเ์ ธอ กรมหมื่นอกั ษรสาสนโสภณ จางวางกรมอาลักษณ์ กรมอกั ษรพมิ พการ)

12 ตำราเวชศาสตรฉ์ บบั หลวง รัชกาลท่ี ๕ เล่ม ๓ “ศุภมัศดุ ลุศักราช ๑๒๓๒ อัศวสัมพัจฉรกติกะมาศ ศุกรปักษจตุตถดิถี ครุวารบริจเฉทกาลกำหนด พระบาทสมเดจพระบรมินทรมหาจุฬาลงกรณบดินทรเทพยมหามงกุฎบุรุศยรัตนราชรวิวงษ วรตุ มพงษบรพิ ตั วรขตั ยิ ราชนกิ โรดม จาตรุ นั ตบรมมหาจกั รพรรตริ าชสงั กาศ บรมธรรมกิ มหาราชาธริ าช บรมนารถบพิตรพระเจ้าอยู่หัว เสดจเถลิงถวัลยราชบรมราชาภิเศก ผ่านพิภพกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทรมหินทรายุทธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศนมหาสฐาน เสดจออกณพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหศวริยพิมาน โดยสฐานอุตราภิมุข พร้อมด้วยพระบรมราช วงษานุวงษ แลข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ ผู้น้อย เฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ จี่งพระบาทสมเดจ บรมนารถบพิตรพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่ง พระเจ้า ราชวรวงษเธอกรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย จางวางกรมแพทยา พระเจ้าราชวงษเธอกรมหมื่นอักษร สาสนโสภณ จางวางกรมอาลักษณ์ กรมอักษรพิมพ์ ว่าตำหรับคำภีร์แพทย์สำรับรักษาโรคต่างๆ เปนคุณเปนประโยชน์แก่ชนเปนอันมาก แลตำหรับแพทย์ซึ่งสร้างขึ้นไว้ใช้สอยสืบกันมานั้นสูญหายไป เสียบ้าง ที่ยังมีอยู่ก็วิปลาสคลาศเคลื่อนไปบ้าง ให้กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย จัดหารวบรวมฉบับคำภีร์ แพทย์ทั้งสิ้น มาชำระสอบสวนให้ถูกถ้วนดีแล้ว ส่งมาให้กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณสร้างขึ้นไว้ เพื่อ เปนส่วนพระราชกศุ ลเปนท่เี ฉลมิ พระเกยี รติยศ แลสำหรับแผ่นดินสบื ไป…” ๑ คัมภีร์๒แพทย์เหล่านี้ เมื่อตรวจชำระแล้วส่งไปให้กรมอาลักษณ์สร้างขึ้นเป็นคัมภีร์ฉบับใหม่นั้น เข้าใจว่าแต่ละชื่อเรื่องคงสร้างขึ้นหลายชุด เพือ่ พระราชทานสำหรับศกึ ษาคน้ คว้าและจัดเก็บรักษาไว้ให้คงอยเู่ ป็นหลกั ฐานต่อไป ต้นฉบับคัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ ที่มีอยู่ในหอสมุดแห่งชาติปัจจุบัน ได้รับมอบมาจากห้องสมุดกรมศึกษาธิการกระทรวงธรรมการ เม่อื พ.ศ. ๒๔๘๐ แมจ้ ะมจี ำนวนถึง ๕๑ เลม่ สมดุ ไทย แต่กเ็ ปน็ คัมภีร์ช่ือเรือ่ งเดียวกัน เนอ้ื ความซำ้ กนั อยู่หลายฉบับคัมภีร์บางเรื่องมีเนื้อหาไม่ครบสมบูรณ์ เพราะพลัดหายไปบางเล่ม นอกจากนี้ยังมีฉบับที่จัดทำไม่แล้วเสร็จ เช่น ยังไม่ได้เขียนข้อความบานแผนก หรอื ยังไมไ่ ดเ้ ขยี นคาถาภาษาบาลีทแี่ ทรกอยู่ในเนอื้ หา เป็นตน้ ปีจลุ ศกั ราชทีร่ ะบไุ วใ้ นตน้ ฉบบั บางเลม่ เป็นจุลศกั ราช ๑๒๓๒บางเล่มเป็น จุลศักราช ๑๒๓๓ ซึ่งคงเป็นช่วงระยะเวลาที่จัดสร้างต่อเนื่องกันมา คัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ ทั้ง ๕๑ เล่มนี้กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ ได้ลงทะเบียนจัดเข้าหมวดตำราเวชศาสตร์ ให้ลำดับตั้งแต่เลขที่ ๑๐๐๐ ถึงเลขที่ ๑๐๕๐——————————————————————————————— ๑ “พระคำภรี อ์ ไภยสนั ตา เลม่ ๑ สงั เขป วา่ ดว้ ยลกั ษณะตอ้ ตา่ งๆ จบบรบิ รู ณ”์ , หอสมดุ แหง่ ชาต,ิ หนงั สอื สมดุ ไทยดำ, อกั ษรไทย, ภาษาไทย, เสน้ รงค์(ทอง, ดนิ สอ, หรดาล), จ.ศ. ๑๒๓๒ (พ.ศ. ๒๔๑๓), เลขท่ี ๑๐๔๙, ๙๗ หนา้ , หมวดเวชศาสตร,์ หนา้ ตน้ ท่ี ๑ - ๔. ๒ เขยี นตามคำศพั ทม์ าตรฐานของพจนานกุ รมฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๔๒

ตำราเวชศาสตรฉ์ บบั หลวง รัชกาลที่ ๕ เลม่ ๓ 13ต้นฉบับหนงั สือสมุดไทย “ตำราเวชศาสตรฉ์ บบั หลวง รัชกาลท่ี ๕” ซง่ึ เก็บรกั ษาอย่ทู ี่หอสมดุ แหง่ ชาติ ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลท่ี ๕ เลขที่ ๑๐๐๙เรื่อง “คัมภรี ป์ ระถมจินดา เลม่ ๑” เปดิ หนา้ ต้นท่ี ๙ - ๑๐

14 ตำราเวชศาสตรฉ์ บบั หลวง รชั กาลท่ี ๕ เลม่ ๓ ตน้ ฉบับของตำราเวชศาสตรฉ์ บบั หลวง รชั กาลท่ี ๕ เปน็ หนงั สอื สมดุ ไทยดำ ขนาดกวา้ ง ๑๑.๕ เซนติเมตร ยาว ๓๔.๕ เซนติเมตรเท่ากันทุกเล่ม ส่วนความหนามีตั้งแต่ ๔ - ๖ เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับความสั้นยาวของเนื้อหาในแต่ละเล่ม ปกหน้า - หลัง และขอบสมุดลงรักเคลือบทับเนือ้ กระดาษเพอื่ ให้แข็งแรงและสวยงามข้ึน ภายในเลม่ เขยี นขอ้ ความที่เปน็ คาถาภาษาบาลี ดว้ ยอักษรขอม และขอ้ ความที่เป็นภาษาไทย ด้วยอักษรไทย ลายมืองดงามเป็นระเบียบตามแบบแผนของอาลักษณ์ เฉพาะข้อความบานแผนกและคาถาภาษาบาลีอกั ษรขอมมกั เขยี นดว้ ยเสน้ ทอง๓ สว่ นขอ้ ความอน่ื ในเนอ้ื เรอ่ื ง เขยี นดว้ ยเสน้ หรดาล๔ และในบางเลม่ มภี าพเขยี นประกอบเนอ้ื หา ซง่ึ มที ใ่ี ชท้ ง้ัเส้นหรดาลและเสน้ ชาด๕ นอกจากน้ีในตำราเกอื บทกุ เล่มยังมเี ส้นดินสอ๖เขียนแทรกอยู่ ซ่งึ น่าจะเขยี นเพิม่ เติมภายหลงั เมือ่ นำตำรามาใช้ศกึ ษาค้นควา้ แลว้ ดงั ไดก้ ลา่ วแลว้ วา่ ตำราเวชศาสตรฉ์ บบั หลวง รชั กาลท่ี ๕ ชดุ น้ี มจี ำนวนรวมถงึ ๕๑ เลม่ สมดุ ไทย แตม่ เี นอ้ื หาเพยี ง ๑๕ เรอ่ื งเทา่ นน้ัเมอ่ื ครงั้ จดั พิมพเ์ ฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสมหามงคลเฉลมิ พระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ได้จดั พิมพไ์ ปแล้ว จำนวน ๓๐ เลม่สมุดไทย รวมเน้ือหา ๑๒ เรอ่ื ง โดยนำเสนอภาพต้นฉบบั แต่ละหนา้ ตามลำดบั ตลอดท้งั เล่ม๗ เพอ่ื เผยแพร่ความรไู้ มเ่ พียงแตส่ ว่ นทีเ่ กยี่ วกับมรดกภูมิปัญญาทางการแพทย์เท่านั้น ยังเป็นมรดกทางวรรณกรรมของชาติ และที่สำคัญยิ่งยังแสดงให้เห็นถึงลักษณะอันเป็นแบบฉบับของการสร้าง “ตำราฉบับหลวง” ซึ่งเขียนด้วยลายมืองดงามตามแบบฉบับของอาลักษณ์ โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้อ่านทั่วไปและผู้สนใจค้นคว้าวิจัยเฉพาะทาง ทั้งด้านการแพทย์แผนไทย ด้านอักษร ภาษา และวรรณกรรม สามารถใช้หนังสือที่จัดพิมพ์ชุดนี้ได้เหมือนศึกษาจากต้นฉบับทกุ ประการ ซง่ึ บานแผนกพระคมั ภีรอ์ ไภยสนั ตาได้ใหข้ อ้ มลู รายละเอยี ดเกย่ี วกับผ้ชู ำระและตรวจทานไว้ด้วย เพอ่ื ความเชอื่ มั่นในความถูกต้องและน่าเช่ือถอื ความวา่ “…ข้าพระพุทธเจ้าพระเจา้ ราชวรวงษเธอ กรมหมนื่ ภบู ดีราชหฤทัย พระยาอมรสาตรประสทิ ธศิ ิลป์ฯ พระยาอุไภยภกั ดฯี หลวงไนยเนตรรกั ษาฯ ขนุ ไนยนานกุ ลู ฯ ไดช้ ำระตรวจคำภรี อ์ ไภยสนั ตาถกู ถว้ นดแี ลว้ สง่ มอบมาในกรมพระอาลกั ษณ์ ขา้ พระพทุ ธเจา้ พระเจา้ ราชวรวงษเธอ กรมหมน่ื อกั ษรสาสนโสภณ แลขนุ มหาสทิ ธโิ วหาร ไดช้ ำระตรวจตวั อกั ษรถกู ตอ้ งแลว้ จดั หมน่ื นพิ นธไพเราะห์ ชุบอกั ษรไทย เส้นหรดาล ทลู เกล้าฯ ถวาย ขา้ พระพทุ ธเจา้ ขนุ มหาสิทธิโวหาร ขนุ ปฏิภาณพิจติ ร ได้สอบทานถูกตอ้ งตามฉบับ…”๘ การจัดลำดับเรื่องในฉบับพิมพ์ เล่ม ๑ - ๒ เรียงตามเลขที่เอกสาร ในหมวดเวชศาสตร์ของหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งจัดไว้ตามลำดับอักษรของชือ่ คัมภีร์ แตไ่ ด้ปรบั เปลยี่ นลำดบั บางคมั ภรี ์ เพอ่ื ความเหมาะสมของจำนวนหนา้ ในการจดั พมิ พ์ ดงั นี้——————————————————————————————— ๓ เขยี นตวั อกั ษรดว้ ยกาวทไ่ี ดม้ าจากยางไม้ เชน่ กาวยางมะขวดิ เปน็ ตน้ แลว้ ใชท้ องคำเปลวปดิ ทบั บนกาว จะไดอ้ กั ษรทเ่ี ปน็ เงางดงาม แตถ่ า้ ผสมทองลงในกาวเสน้ อักษรจะขาดและไมข่ ึ้นเงา ๔ เขียนด้วยน้ำหมึกสีเหลือง ที่ได้มาจากส่วนผสมของรงกับหรดาล รงเป็นยางไม้ชนิดหนึ่ง มีสีเหลือง ส่วนหรดาลที่ใช้ทำหมึกนี้ใช้หรดาลกลีบทองซง่ึ เปน็ แรช่ นดิ หนง่ึ ๕ เขยี นดว้ ยนำ้ หมกึ สแี ดง ทไ่ี ดม้ าจากชาดผสมกบั กาวยางมะขวดิ ๖ เขยี นดว้ ยดนิ สขี าว ทไ่ี ดม้ าจากหนิ ดนิ สอ เปน็ ดนิ ชนดิ หนง่ึ มเี นอ้ื ละเอยี ดแขง็ ลกั ษณะเหมอื นหนิ กอ้ นใหญๆ่ มอี ยตู่ ามภเู ขา เมอ่ื จะนำมาใชป้ ระโยชน์ในการเขยี น ตอ้ งเลอ่ื ยใหเ้ ปน็ แทง่ เลก็ ดนิ สอชนดิ ดี เปน็ ดนิ เนอ้ื ละเอยี ดสขี าวจดั พบมากในเขตจงั หวดั นครศรธี รรมราช ๗ ลำดบั หนา้ ของหนงั สอื สมดุ ไทยทเ่ี ปดิ จากปกหนา้ เรยี กวา่ “หนา้ ตน้ ” เมอ่ื เปดิ ไปตามลำดบั จนถงึ พบั สดุ ทา้ ยแลว้ พลกิ กลบั เปดิ หนา้ สมดุ อกี ดา้ นหนง่ึเรยี กวา่ “หนา้ ปลาย” ๘ “พระคำภรี อ์ ไภยสนั ตา เลม่ ๑ สงั เขป วา่ ดว้ ยลกั ษณะตอ้ ตา่ งๆ จบบรบิ รู ณ”์ , หนา้ ตน้ ท่ี ๕ - ๖.

ตำราเวชศาสตรฉ์ บับหลวง รัชกาลท่ี ๕ เลม่ ๓ 15 ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงรัชกาลที่ ๕ เลม่ ๑ - ๒จดั พิมพ์เฉลมิ พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจา้ อย่หู วั เฉลมิ พระชนมพรรษา ครบ ๖ รอบ เมอื่ ๕ ธนั วาคม ๒๕๔๒

16 ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รชั กาลท่ี ๕ เล่ม ๓ตำราเวชศาสตร์ฉบบั หลวง รัชกาลท่ี ๕ เล่ม ๑ ประกอบดว้ ย๑. คมั ภีร์กระษยั มี ๒ เล่ม ไดแ้ ก่ คมั ภีร์กระษัย เลม่ ๑ (เลขที่ ๑๐๐๐) - วา่ ดว้ ยลกั ษณะกระษยั ตง้ั แตก่ ระษยั ลน้ จนถงึ กระษยั ดาน (มยี าแก)้ คมั ภีร์กระษัย เล่ม ๒ (เลขท่ี ๑๐๐๑) - ว่าด้วยกระษัยท้น จนถึงลักษณะกระษัย ๔ ประการ (มียาแก)้๒. คมั ภรี ์ตักกศิลา มี ๒ เลม่ ได้แก่ คัมภรี ์ตักกศิลา เล่ม ๑ (เลขที่ ๑๐๐๓) - วา่ ด้วยเมืองตกั กศิลาเกดิ ความไข้ จนถึงไข้ ๓ ฤดู คัมภีร์ตักกศลิ า เล่ม ๒ (เลขท่ี ๑๐๐๔) - ว่าด้วยประเภทไขท้ ั้งปวง จนถึงยาแก้ไขตามนานปี๓. คมั ภรี ์ธาตุวิภงั ค์ มี ๒ เลม่ ได้แก่ คมั ภีรธ์ าตุวิภงั ค์ เลม่ ๑ (เลขที่ ๑๐๐๖) - ว่าด้วยลักษณะธาตุของบุคคล จนถึงอาการธาตุพิการ ตามฤดู คมั ภีรธ์ าตุวภิ งั ค์ เลม่ ๒ (เลขท่ี ๑๐๐๗) - ว่าดว้ ยยาแกพ้ ษิ ทเี่ กดิ จากธาตุพิการ จนถงึ เร่อื งพิษยา ตามฤดู๔. คัมภีร์ประถมจินดา มี ๑๑ เลม่ (เลม่ ๑, ๓ - ๑๒ ไมพ่ บ เล่ม ๒) ไดแ้ ก่ คมั ภรี ์ประถมจนิ ดา เล่ม ๑ (เลขที่ ๑๐๐๙) - ว่าด้วยพรหมปุโรหติ จนถงึ ลกั ษณะครรภป์ ระสูตร คัมภรี ป์ ระถมจินดา เล่ม ๓ (เลขท่ี ๑๐๑๐) - ว่าด้วยลักษณะสตรีดีชั่ว ยาประจุ และยาบำรุงโลหิต จนถงึ กำเนิดโรคซาง ๙ จำพวก (มียาแก้) คมั ภีรป์ ระถมจินดา เลม่ ๔ (เลขที่ ๑๐๑๑) - วา่ ดว้ ยโรคของกมุ ารกมุ ารี แมซ่ อ้ื จนถงึ กำเนดิ ซางนำ้ นม (มยี าแก้) คัมภีรป์ ระถมจนิ ดา เล่ม ๕ (เลขท่ี ๑๐๑๒) - วา่ ด้วยกำเนิดซางสกอ จนถึงอาการไข้ของกุมารกมุ ารี (มียาแก)้ คัมภีรป์ ระถมจนิ ดา เลม่ ๖ (เลขท่ี ๑๐๑๓) - วา่ ดว้ ยยาซางสำหรบั กมุ ารกมุ ารีจนถงึ กมุ ารเกดิ วนั จนั ทร์ มีซางนำ้ เปน็ เจ้าเรือน คัมภรี ์ประถมจินดา เลม่ ๗ (เลขที่ ๑๐๑๔) - วา่ ดว้ ยลกั ษณะซางสกอ กำเนดิ ซางกระดงั จนถงึ กมุ าร เกิดวนั จันทร์ มซี างช้างเปน็ เจา้ เรอื น คมั ภรี ์ประถมจนิ ดา เลม่ ๘ (เลขที่ ๑๐๑๕) - วา่ ดว้ ยลกั ษณะซางฝา้ ย จนถงึ กมุ ารเกดิ วนั พธุ มซี างสกอ เป็นเจ้าเรอื น คมั ภรี ์ประถมจินดา เล่ม ๙ (เลขท่ี ๑๐๑๖) - ว่าด้วยลักษณะซางช้าง จนถึงกุมารเกิดวันเสาร์ มซี างโจรเปน็ เจา้ เรือน คมั ภรี ป์ ระถมจินดา เล่ม ๑๐ (เลขที่ ๑๐๑๗) - ว่าด้วยยาแก้ซางโจรตานขโมยตำราเวชศาสตรฉ์ บบั หลวง รชั กาลที่ ๕ เล่ม ๒ ประกอบด้วย - ว่าด้วยซางเจ้าเรือน ๗ จำพวก จนถึงไข้ประจำซาง ๑. คมั ภรี ์ประถมจินดา (ต่อ) เล่ม ๑๑ - ๑๒ เจ้าเรอื น (มยี าแก้) คัมภรี ป์ ระถมจนิ ดา เลม่ ๑๑ (เลขท่ี ๑๐๑๘) คัมภรี ์ประถมจนิ ดา เลม่ ๑๒ (เลขท่ี ๑๐๑๙) - วา่ ดว้ ยยาแกต้ านโจร จนถงึ ลกั ษณะตานโจรซง่ึ เกดิ จาก ธาตุพิการ

ตำราเวชศาสตร์ฉบบั หลวง รชั กาลท่ี ๕ เล่ม ๓ 17๒. คมั ภรี ์แผนนวด มี ๒ เลม่ ได้แก่ - ว่าด้วยตำแหน่งที่ใช้กดหรือนวดรักษาโรค และลม คมั ภีรแ์ ผนนวด เล่ม ๑ (เลขที่ ๑๐๐๘) ท่ีเกิดตามรา่ งกาย มีแผนภาพรูปคนแสดงประกอบ คัมภีร์แผนนวด เล่ม ๒ (เลขท่ี ๑๐๐๕) - วา่ ดว้ ยลกั ษณะของสว่ นตา่ งๆในรา่ งกายจนถงึ ทำนายยาม ยาตรา๓. พระตำหรบั แผนฝีดาษ มี ๓ เล่ม ไดแ้ ก่ พระตำหรับแผนฝีดาษ เลม่ ๑ (เลขท่ี ๑๐๓๐) - วา่ ดว้ ยแผนภาพฝดี าษ ๑๒ เดอื น จนถงึ ลกั ษณะฝตี า่ งๆ พระตำหรบั แผนฝดี าษ เลม่ ๒ (เลขที่ ๑๐๓๑) - วา่ ดว้ ยพระตำรายาประสะฝที ้งั ปวง จนถงึ ฝไี ส้ดำ พระตำหรับแผนฝีดาษ เลม่ ๓ (เลขที่ ๑๐๓๒) - วา่ ดว้ ยตำรายาพน่ ฝี จนถงึ วธิ กี ารทแ่ี พทยจ์ ะรกั ษาฝดี าษ๔. คมั ภีรม์ รณญาณสตู ร เลม่ ๒ (เลขที่ ๑๐๓๖) มี เลม่ ๒ ไมพ่ บเลม่ ๑ - ว่าดว้ ยธาตุพิการตามฤดู และธาตุแตก ๑๐ ประการ๕. คมั ภีร์มหาโชตรตั มี ๒ เล่ม (เล่ม ๒, ๓ ไมพ่ บเลม่ ๑) ได้แก่ - วา่ ดว้ ยยาขับโลหิต ยาบำรุงโลหติ จนถงึ ประเภทโลหติ คัมภรี ์มหาโชตรัต เลม่ ๒ (เลขท่ี ๑๐๓๙) ระดูสตรี คมั ภรี ์มหาโชตรตั เลม่ ๓ (เลขท่ี ๑๐๔๐) - วา่ ดว้ ยลกั ษณะโลหติ ปกติโทษ บอกอาการ และยาแก้๖. คัมภีร์มุจฉาปกั ขันทกิ า (เลขที่ ๑๐๔๑) - ว่าด้วยโรคทุลาวะสา ๓๒ จำพวก แสดงอาการและ บอกยาแก้๗. คมั ภีร์โรคนทิ าน (เลขที่ ๑๐๔๒) - ว่าด้วยโรคที่เกิดจากธาตุต่างๆ บรรยายถึงอาการและ บอกยาแก้๘. คัมภรี ์สรรพลักษณะสรรพคณุ มี ๒ เล่ม (เล่ม ๒, ๓ ไมพ่ บเล่ม ๑) ไดแ้ ก่ คมั ภีร์สรรพลกั ษณะสรรพคณุ เลม่ ๒ (เลขท่ี ๑๐๔๖) - ว่าด้วยสรรพคณุ แห่งโอสถ เรม่ิ ตง้ั แตต่ รีผลา อบเชย คัมภีร์สรรพลกั ษณะสรรพคณุ เลม่ ๓ (เลขท่ี ๑๐๔๗) - วา่ ดว้ ยสรรพคณุ แหง่ โอสถตอ่ จากเลม่ ๑เรม่ิ ตง้ั แตน่ ำ้ นมโค จนถงึ รากปลอ้ งปา่ และกล่าวถึงมหาพกิ ัด๙. คมั ภีรอ์ ทุ รโรค (เลขที่ ๑๐๕๐) - วา่ ดว้ ยลักษณะของอุทรโรค ๑๘ ประการตำราเวชศาสตรฉ์ บบั หลวง รัชกาลท่ี ๕ เลม่ ๓คดั เลือกคัมภรี ์แพทยแ์ ผนโบราณทเ่ี หลือจากคราวจดั พิมพ์ เมอ่ื พ.ศ. ๒๕๔๒ แตไ่ ม่ใช่ฉบบั ท่มี เี น้อื ความซ้ำกบั ทีเ่ คยจัดพมิ พม์ าแล้วจึงมีลักษณะต้นฉบับไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร กล่าวคือ บางเล่มไม่มีบานแผนก และบางเล่มยังเติมคาถาภาษาบาลีไม่ครบถ้วน เป็นต้นประกอบดว้ ย๑. คัมภีร์ชวดาร ๑ เลม่ (เลขท่ี ๑๐๐๒) - วา่ ดว้ ยลมอทุ ธงั คมาวาต และลมอโธคมาวาต (มยี าแก)้ จนถึงว่าด้วยยาประจุไข้ ๑๐ จำพวก และแก้บวม ๑๐ จำพวก๒. คมั ภรี ส์ มุฏฐานวนิ ิจฉัย มี ๒ เล่ม ได้แก่ คัมภีรส์ มุฏฐานวนิ จิ ฉยั เล่ม ๑ (เลขท่ี ๑๐๔๔) - วา่ ดว้ ยแพทยไ์ มร่ สู้ มฏุ ฐานและรสู้ มฏุ ฐาน จนถงึ วา่ ดว้ ย กองกาลสมุฏฐาน คมั ภีร์สมุฏฐานวินจิ ฉยั เลม่ ๒ (เลขที่ ๑๐๔๕) - วา่ ดว้ ยสมฏุ ฐานทวุ โทษ จนถงึ มหาพกิ ดั ตรผี ลา ตรกี ะตกุ เป็นยาแก้สมุฏฐาน๓. คมั ภีรอ์ ภัยสนั ตา เล่ม ๑ โดยสังเขป (เลขที่ ๑๐๔๙) - ว่าด้วยลกั ษณะตอ้ ตา่ งๆ จบบรบิ รู ณ์ (มียาแก)้

18 ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เลม่ ๓ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบบั พระยาพิศณุประสาทเวช

ตำราเวชศาสตร์ฉบบั หลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๓ 19 เมื่อศึกษาเปรียบเทียบชื่อเรื่องของต้นฉบับตำราแพทย์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ กับตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ซึ่งพระยาพิศณุประสาทเวช รวบรวมพิมพ์ เมื่อ ร.ศ. ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๔๕) ซึ่งมีข้อความอ้างอิงไว้ที่หน้าปกว่า “ได้สอบกับต้นฉบับหลวงในหอพระสมดุ วชริ ญาณ โดยไดร้ บั พระอนญุ าตจาก พระเจา้ นอ้ งยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานภุ าพ สภานายกหอพระสมดุ วชริ ญาณ”๙ แลว้ พบวา่มีชื่อตำราท่ีแตกตา่ งกนั ถึง ๙ เรื่อง โดยตำราเวชศาสตร์ฉบบั หลวง รชั กาลที่ ๕ ไม่มตี ำราทป่ี รากฏในหนังสือแพทยศ์ าสตร์สงเคราะห์ของพระยาพศิ ณุประสาทเวช รวบรวม ๔ เร่อื ง คอื ๑) คมั ภีรฉ์ ันทศาสตร์ ๒) พระคมั ภีรว์ รโยคสาร ๓) พระคัมภรี ธ์ าตวุ วิ รณ์ ๔) พระคัมภีร์ธาตบุ รรจบ แต่ตำราแพทยฉ์ บบั หลวง รชั กาลที่ ๕ กม็ ีตำราทเี่ พ่มิ เติมมากกว่าตำราแพทย์ศาสตรส์ งเคราะหอ์ ีก ๕ เร่อื ง คอื ๑) คัมภรี ์แผนนวด๒) คัมภรี แ์ ผนฝดี าษ ๓) คมั ภรี ์มรณญาณสูตร ๔) คัมภีรอ์ ทุ รโรค ๕) คมั ภีรอ์ ภยั สันตา ดังได้แสดงไวใ้ นตารางหน้าต่อไป ซ่ึงตำราทแ่ี ตกต่างกนัของหนังสือทั้ง ๒ ชุดนี้ เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับรายการตำราเวชศาสตร์ฉบับเชลยศักดิ์ที่มีอยู่ในหอสมุดแห่งชาติแล้ว พบว่ามีชื่อตำราดงั กลา่ วขา้ งตน้ ทกุ รายการ เพยี งแตไ่ มใ่ ชฉ่ บบั หลวงเทา่ นน้ั ทำใหไ้ มส่ ามารถมน่ั ใจไดว้ า่ ขอ้ มลู ทป่ี รากฏในตำรานน้ั จะมคี วามนา่ เชอ่ื ถอื เพยี งไรเพราะอาจมีการคัดลอกหรอื บนั ทกึ จดจำเรอื่ งอ่นื ๆ แทรกไว้ตามความร้แู ละความเขา้ ใจของหมอแตล่ ะบคุ คล ทำใหข้ อ้ มูลอาจคลาดเคล่ือนหรอื สบั เปลีย่ นย้ายทไ่ี ม่เรียงลำดบั เน้ือหาตามความยากง่าย หรือตามลำดบั ก่อนหลงั ก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม การนำความรู้เรื่องแพทย์แผนโบราณที่เป็นมรดกภูมิปัญญาของบรรพชนไทยมาจัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ให้แพร่หลายกว้างขวาง นับเป็นการส่งเสริมและสืบทอดการฟื้นฟูตำราการแพทย์แผนโบราณของไทยให้สามารถนำกลับมารับใช้สังคมได้อีกอย่างมีประสิทธิภาพ รวมท้งั ยังเป็นการประกาศแสดงความเป็นเจ้าของภมู ปิ ัญญาอันทรงคณุ ค่าของชาตใิ หป้ รากฏแกส่ ากลอย่างเปน็ รูปธรรม——————————————————————————————— ๙ กระทรวงศกึ ษาธกิ าร, กรมวิชาการ, สถาบันภาษาไทย, แพทย์ศาสตรส์ งเคราะห:์ ภมู ปิ ัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ.กรงุ เทพฯ : สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศกึ ษาธกิ าร, ๒๕๔๒. หนา้ (๑๐).

ตารางเปรยี บเทียบชอื่ คมั ภีร์ ในหนังสอื แพทยศ์ าสตรส์ งเคราะห์ 20 ตำราเวชศาสตร์ฉบบั หลวง รัชกาลท่ี ๕ เลม่ ๓ ฉบับพระยาพศิ ณุประสาทเวชรวบรวมพิมพ์กบั ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รชั กาลท่ี ๕ลำดับ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง ร.๕ ตำราเวชศาสตร์ฉบบั หลวง ร.๕ ตำราเวชศาสตรฉ์ บับหลวง ร.๕ พระยาพศิ ณปุ ระสาทเวชรวบรวมพิมพ์ เลม่ ๑ เลม่ ๒ เล่ม ๓ – – –๑. คัมภีร์ฉนั ทศาสตร์ – คัมภรี ป์ ระถมจนิ ดา คัมภีร์ประถมจินดา –๒. พระคัมภรี ป์ ฐมจินดาร์ คัมภรี ์ธาตุวิภงั ค์ – –๓. พระคมั ภรี ์ธาตวุ ิภังค์ – คัมภีร์สรรพลักษณะสรรพคณุ คัมภรี ส์ มุฏฐานวนิ ิจฉยั – – –๔. พระคัมภรี ์สรรพคณุ (แลมหาพิกัด) – – – –๕. พระคมั ภีรส์ มุฏฐานวินจิ ฉยั – คัมภรี ์มหาโชตรตั พระคัมภรี ์ชวดาร – – –๖. พระคมั ภีร์วรโยคสาร – – – คมั ภรี ์โรคนทิ าน –๗. พระคมั ภีร์มหาโชตรัต – – – คัมภีร์ตกั กะศิลา – –๘. พระคัมภรี ์ชวดาร คัมภีรก์ ระษัย – คมั ภีรม์ จุ ฉาปักขนั ธกิ า –๙. พระคมั ภรี ์โรคนิทาน – – – –๑๐. พระคัมภีรธ์ าตุววิ รณ์ – คัมภีรแ์ ผนนวด๑๑. พระคมั ภรี ธ์ าตบุ รรจบ คัมภรี ์แผนฝีดาษ คัมภรี อ์ ภยั สนั ตา คัมภรี ์มรณญาณสตู ร๑๒. พระคัมภีรม์ ุจฉาปกั ขนั ทิกา คมั ภีร์อุทรโรค๑๓. พระคมั ภรี ต์ ักกะศลิ า๑๔. พระคมั ภีร์ไกษย

พระคมั ภรี ช์ วดาร พระคัมภีร์ชวดาร เป็นตำราที่ว่าด้วย การอธิบายถึงโรคลมและโรคเลือดตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย ดังปรากฏความตอนตน้ เรอ่ื งวา่ “…สทิ ธิการิยะ อาจารยิ ์กลา่ วไว้ว่า มนุษยทั้งหลายจะเกิดสรรพโรคตา่ งๆ ตง้ั แตค่ ลอดจากครรภม์ ารดา ตราบเท่าจนอายขุ ยั อาศรยั โลหิตแลลม…” ๑๐ เลอื ด (หรอื โลหติ ) และลม ตามความเชือ่ ของการแพทย์แผนไทย มคี วามสำคัญมากและเก่ยี วเนือ่ งกัน โดยเช่ือวา่ ชวี ติ จะดำรงอยไู่ ด้ตอ้ งอาศัยเลือดและลมไปหลอ่ เล้ียงตามความเหมาะสม ความหมายของเลือดและลมจึงกวา้ งขวางและมีบทบาทมาก ดังนนั้ การวินจิ ฉัยโรคตามทฤษฎีของการแพทยแ์ ผนไทย จงึ มกั จะกล่าวว่า “เลือดลมไมป่ กติ จึงทำให้ร่างกายไม่ปรกติไปด้วย” “ลม” ตามความหมายทางการแพทยแ์ ผนไทย หมายถงึ ธาตอุ ยา่ งหนงึ่ ใน ๔ ธาตุ นอกจากน้ัน “ลม” ยงั ใช้เรียกแทนอาการของโรคได้ และ “ลม” ยงั หมายถึงทิศทางการเคลื่อนไหวระบบไหลเวียนของโลหิต ระบบทางเดินอาหาร และระบบประสาท ส่วน “เลอื ด”ก็ใช้ในความหมายอ่นื ๆ ไดด้ ว้ ย คอื ใช้เรียกอาการไม่ปรกตขิ องรา่ งกายทม่ี สี าเหตุจากเลอื ดไม่ปกติ เปน็ ต้น “เลือดและลม” ในทฤษฎีการแพทย์แผนไทย จึงมีความหมายกว้างมาก การวินิจฉัยโรคส่วนใหญ่จึงมักมีคำว่า เลือดและลมประกอบด้วย จนมคี ำกล่าวเป็นสำนวนว่า “โรคเลือดลมมี ๕๐๐ จำพวก” แต่เมอ่ื ตรวจสอบโรคที่ใช้คำว่า เลือด (โลหติ ) และลม แลว้ พบเพียง ๔๗๐ โรค หากแยกย่อยลงไปในรายละเอยี ดกจ็ ะได้ถึง ๕๐๐ โรค ตามคำกล่าวนัน้ จรงิ พระคัมภีร์ชวดาร นอกจากจะกล่าวถึงโรคเลือดและลมแล้ว ยังมีตำรายาแก้โรคเกี่ยวกับเลือดลมหลายขนาน เช่น ยารักษาลมในหัวใจ ลมอัมพฤกษ์ อัมพาต ลมกาลสิงคลี ตลอดจนยาตำราหลวงสำหรับรักษาโรคหืด หอบ บำรุงโลหิต รักษาฝี โรคลักปิดลักเปิดยาแก้ไข้ แก้ไอ แก้บวม โรคเรื้อนและกลากเกลื้อน เป็นต้น รวมทั้งยังมีเนื้อหาให้ความรู้เกี่ยวกับเส้นในร่างกายและการนวดจับเส้นตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย ซ่ึงเชอ่ื วา่ เพ่ือทำให้เลอื ดลมเดนิ เปน็ ปรกติ——————————————————————————————— ๑๐ “พระคมั ภรี ์ชวดาร เล่ม ๑”, หอสมดุ แหง่ ชาติ. หนังสอื สมุดไทยดำ. อกั ษรไทย, ภาษาไทย, เสน้ หรดาล. ม.ป.ป., เลขท่ี ๑๐๐๒, หมวดเวชศาสตร์,หนา้ ต้นที่ ๔.

22 ตำราเวชศาสตรฉ์ บบั หลวง รชั กาลที่ ๕ เลม่ ๓ “พระคัมภีร์ชวดาร เล่ม ๑”. หอสมดุ แหง่ ชาติ. หนังสอื สมดุ ไทยดำ. อกั ษรไทย. ภาษาไทย. เส้นหรดาล. ม.ป.ป. เลขที่ ๑๐๐๒. หมวดเวชศาสตร.์

ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เลม่ ๓ 23 พระคมั ภีรช์ วดาร เลม่ ๑ เลขท่ี ๑๐๐๒ หนา้ ตน้ ที่ ๑ - ๓

24 ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รชั กาลท่ี ๕ เลม่ ๓ พระคัมภรี ์ชวดาร เล่ม ๑ เลขที่ ๑๐๐๒ หน้าต้นที่ ๔ - ๗

ตำราเวชศาสตรฉ์ บับหลวง รชั กาลที่ ๕ เล่ม ๓ 25 พระคมั ภรี ช์ วดาร เลม่ ๑ เลขท่ี ๑๐๐๒ หนา้ ตน้ ท่ี ๘ - ๑๑

26 ตำราเวชศาสตรฉ์ บับหลวง รชั กาลที่ ๕ เล่ม ๓ พระคมั ภรี ช์ วดาร เลม่ ๑ เลขที่ ๑๐๐๒ หนา้ ต้นที่ ๑๒ - ๑๕

ตำราเวชศาสตรฉ์ บับหลวง รชั กาลที่ ๕ เล่ม ๓ 27 พระคมั ภรี ช์ วดาร เล่ม ๑ เลขท่ี ๑๐๐๒ หน้าต้นท่ี ๑๖ - ๑๙

28 ตำราเวชศาสตรฉ์ บับหลวง รชั กาลที่ ๕ เล่ม ๓ พระคมั ภรี ช์ วดาร เลม่ ๑ เลขที่ ๑๐๐๒ หนา้ ต้นที่ ๒๐ - ๒๓

ตำราเวชศาสตรฉ์ บับหลวง รชั กาลที่ ๕ เล่ม ๓ 29 พระคมั ภรี ช์ วดาร เล่ม ๑ เลขท่ี ๑๐๐๒ หน้าต้นท่ี ๒๔ - ๒๗

30 ตำราเวชศาสตรฉ์ บับหลวง รชั กาลที่ ๕ เล่ม ๓ พระคมั ภรี ช์ วดาร เลม่ ๑ เลขที่ ๑๐๐๒ หนา้ ต้นที่ ๒๘ - ๓๑

ตำราเวชศาสตรฉ์ บับหลวง รชั กาลที่ ๕ เล่ม ๓ 31 พระคมั ภรี ช์ วดาร เล่ม ๑ เลขท่ี ๑๐๐๒ หน้าต้นท่ี ๓๒ - ๓๕

32 ตำราเวชศาสตรฉ์ บับหลวง รชั กาลที่ ๕ เล่ม ๓ พระคมั ภรี ช์ วดาร เลม่ ๑ เลขที่ ๑๐๐๒ หนา้ ต้นที่ ๓๖ - ๓๙

ตำราเวชศาสตรฉ์ บับหลวง รชั กาลที่ ๕ เล่ม ๓ 33 พระคมั ภรี ช์ วดาร เล่ม ๑ เลขท่ี ๑๐๐๒ หน้าต้นท่ี ๔๐ - ๔๓

34 ตำราเวชศาสตรฉ์ บับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๓ พระคมั ภีรช์ วดาร เล่ม ๑ เลขที่ ๑๐๐๒ หนา้ ตน้ ท่ี ๔๔ - ๔๕ หนา้ ปลายท่ี ๑

ตำราเวชศาสตรฉ์ บับหลวง รชั กาลที่ ๕ เล่ม ๓ 35 พระคมั ภีร์ชวดาร เล่ม ๑ เลขท่ี ๑๐๐๒ หน้าปลายท่ี ๒ - ๕

36 ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลท่ี ๕ เล่ม ๓ พระคมั ภรี ช์ วดาร เล่ม ๑ เลขที่ ๑๐๐๒ หน้าปลายท่ี ๖ - ๙

ตำราเวชศาสตรฉ์ บบั หลวง รัชกาลท่ี ๕ เลม่ ๓ 37 พระคัมภีร์ชวดาร เลม่ ๑ เลขที่ ๑๐๐๒ หนา้ ปลายท่ี ๑๐ - ๑๓

38 ตำราเวชศาสตร์ฉบบั หลวง รัชกาลท่ี ๕ เล่ม ๓ พระคัมภรี ์ชวดาร เล่ม ๑ เลขท่ี ๑๐๐๒ หนา้ ปลายที่ ๑๔ - ๑๗

ตำราเวชศาสตรฉ์ บบั หลวง รัชกาลท่ี ๕ เลม่ ๓ 39 พระคัมภีร์ชวดาร เลม่ ๑ เลขที่ ๑๐๐๒ หนา้ ปลายท่ี ๑๘ - ๒๑

40 ตำราเวชศาสตร์ฉบบั หลวง รัชกาลท่ี ๕ เล่ม ๓ พระคัมภรี ์ชวดาร เล่ม ๑ เลขท่ี ๑๐๐๒ หนา้ ปลายที่ ๒๒ - ๒๕

ตำราเวชศาสตรฉ์ บบั หลวง รัชกาลท่ี ๕ เลม่ ๓ 41 พระคัมภีร์ชวดาร เลม่ ๑ เลขที่ ๑๐๐๒ หนา้ ปลายท่ี ๒๖ - ๒๙

42 ตำราเวชศาสตร์ฉบบั หลวง รัชกาลท่ี ๕ เล่ม ๓ พระคัมภรี ์ชวดาร เล่ม ๑ เลขท่ี ๑๐๐๒ หนา้ ปลายที่ ๓๐ - ๓๓

ตำราเวชศาสตรฉ์ บบั หลวง รัชกาลท่ี ๕ เลม่ ๓ 43 พระคัมภีร์ชวดาร เลม่ ๑ เลขที่ ๑๐๐๒ หนา้ ปลายท่ี ๓๔ - ๓๗

44 ตำราเวชศาสตร์ฉบบั หลวง รัชกาลท่ี ๕ เล่ม ๓ พระคัมภรี ์ชวดาร เล่ม ๑ เลขท่ี ๑๐๐๒ หนา้ ปลายที่ ๓๘ - ๔๑

ตำราเวชศาสตรฉ์ บบั หลวง รัชกาลท่ี ๕ เลม่ ๓ 45 พระคัมภีร์ชวดาร เลม่ ๑ เลขที่ ๑๐๐๒ หนา้ ปลายท่ี ๔๒ - ๔๕

46 ตำราเวชศาสตร์ฉบบั หลวง รัชกาลท่ี ๕ เล่ม ๓ พระคัมภรี ์ชวดาร เล่ม ๑ เลขท่ี ๑๐๐๒ หนา้ ปลายที่ ๔๖ - ๔๙

ตำราเวชศาสตรฉ์ บบั หลวง รัชกาลท่ี ๕ เลม่ ๓ 47 พระคัมภีร์ชวดาร เลม่ ๑ เลขที่ ๑๐๐๒ หนา้ ปลายท่ี ๕๐ - ๕๒

พระคัมภรี ส์ มฏุ ฐานวนิ จิ ฉยั เลม่ ๑ - ๒ พระคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย เป็นตำราที่ว่าด้วยปรัชญาความรู้ในการวินิจฉัยโรค รวมทั้งองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคน้ หาสาเหตุแหง่ การเกดิ โรค และการรักษาสุขภาพดว้ ยพกิ ดั ยาสำหรบั รกั ษาโรคตามเหตปุ ัจจยั ทที่ ำให้เกิดโรคนั้น พระคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย เริ่มต้นเรื่องด้วยการบูชาพระรัตนตรัย แล้วกล่าวถึงมูลเหตุของการเกิดโรค การวินิจฉัยโรค ซึ่งเป็นความรูพ้ ้นื ฐานในการเขา้ ถงึ ทฤษฎกี ารแพทยแ์ ผนไทย โดยมคี วามเชื่อดง้ั เดมิ วา่ ความเจ็บปว่ ยของมนุษยเ์ กดิ จากสาเหตุใหญ่ๆ ๖ ประการคือ ๑) มูลเหตุแห่งธาตุทั้งสี่ ๒) อิทธิพลของฤดูกาล ๓) อายุขัยของบุคคล ๔) ถิ่นที่อยู่อาศัย ๕) อิทธิพลของกาลเวลาและสุริยจักรวาล๖) พฤติกรรมทีท่ ำให้เกดิ โรค ดงั ปรากฏความโดยละเอียดในพระคัมภีร์ เรียกวา่ สมฏุ ฐานสี่ คำว่า สมุฏฐาน เปน็ ภาษาบาลี แปลวา่ ทีเ่ กดิทีต่ ัง้ หรือเหตุ สมฏุ ฐานแห่งธาตุทงั้ สี่น้ี ในพระคมั ภีรก์ ล่าวไว้ว่า แพทย์ทั้งหลายต้องเรียนรู้ เพราะเป็นทต่ี ง้ั แห่งพนื้ ฐานโรคและเป็นพนื้ ฐานของแพทย์ท้ังปวง ประกอบด้วย ๑. ธาตุสมุฐาน ว่าดว้ ย ดิน นำ้ ลม ไฟ ซึง่ เปน็ เหตุให้เกิดโรคภยั เชน่ การเกดิ เสมหะเก่ียวขอ้ งกบั ธาตนุ ้ำ เป็นตน้ ๒. ระดสู มุฐาน วา่ ดว้ ยฤดูกาลท่ีเกี่ยวขอ้ งกบั การเกดิ โรค รวมทงั้ วันและเดือนทางจนั ทรคตทิ ีม่ กั ทำให้เกดิ โรคตา่ งๆ ๓. อายสุ มฐุ าน วา่ ดว้ ยเรอ่ื งอายขุ องบคุ คลทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั การเกดิ โรค เชน่ อายุ ๑ วนั จนถงึ อายุ ๑๖ ปี มกั จะเกดิ โรคทเ่ี กย่ี วกบั เสมหะเปน็ ต้น ๔. กาลสมฐุ าน ว่าด้วยเวลาทีเ่ ก่ยี วข้องกบั การเกิดโรค เชน่ เวลาเช้า สาย บ่าย คำ่ เปน็ ต้น กลา่ วได้วา่ ทฤษฎีของการแพทย์แผนไทยเชือ่ ว่า ธรรมชาตเิ ป็นปัจจยั สำคญั ที่ทำให้มนษุ ยเ์ ปน็ โรคต่างๆ เพราะมนษุ ย์คือส่วนหน่งึของธรรมชาติ หากมนุษย์ไม่รักษาสมดุลทางธรรมชาติ ธาตุทั้งสี่ คือ ปถวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) และวาโยธาตุ (ธาตุลม) ก็จะผิดปกติแล้วเกิดเจบ็ ปว่ ยด้วยโรคต่างๆ ตามธาตแุ ต่ละธาตทุ ่พี กิ ารน้ัน พระคมั ภรี ์สมุฏฐานวนิ จิ ฉัย จึงเปน็ ตำราทางการแพทยแ์ ผนไทยทส่ี ำคัญอย่างยิ่ง สำหรบั ผทู้ ีจ่ ะเป็นแพทยแ์ ผนไทย เพราะปรากฏคำเตอื นในตอนตน้ ของคมั ภรี ว์ า่ แพทยท์ ไ่ี มไ่ ดศ้ กึ ษาพระคมั ภรี ส์ มฏุ ฐานวนิ จิ ฉยั ทา่ นวา่ เปน็ มจิ ฉาญาณแพทย์ คอื แพทยท์ ม่ี คี วามรไู้ มถ่ กู ตอ้ งครบถ้วน แต่แพทย์ที่ได้ศึกษาพระคัมภีร์นี้ให้เข้าใจอย่างแตกฉาน จึงจะเป็นเสฏฐญาณแพทย์ คือ แพทย์ที่มีความรู้ประเสริฐสุด อันเป็นข้อบง่ ชใี้ ห้เห็นชัดว่า พระคมั ภรี ส์ มฏุ ฐานเปน็ ตำราวชิ าการแพทย์แผนไทยท่สี ำคญั ทส่ี ดุ สำหรับแพทยแ์ ผนโบราณของไทย

ตำราเวชศาสตรฉ์ บบั หลวง รชั กาลที่ ๕ เลม่ ๓ 49“พระคัมภีร์สมฏุ ฐานวนิ จิ ฉยั เล่ม ๑”. หอสมุดแห่งชาต.ิ หนงั สือสมุดไทยดำ. อกั ษรไทย. ภาษาไทย. เสน้ หรดาล. ม.ป.ป. เลขท่ี ๑๐๔๔. หมวดเวชศาสตร์.

50 ตำราเวชศาสตร์ฉบบั หลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๓ พระคัมภรี ส์ มุฏฐานวนิ ิจฉยั เล่ม ๑ เลขที่ ๑๐๔๔ หนา้ ตน้ ท่ี ๑ - ๓


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook