Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore แบบรายงานกาวิจัยในชั้นเรียน-การเรียนรู้การใช้สมองเป็นฐาน-ทำส่งครูดี

แบบรายงานกาวิจัยในชั้นเรียน-การเรียนรู้การใช้สมองเป็นฐาน-ทำส่งครูดี

Description: แบบรายงานกาวิจัยในชั้นเรียน-การเรียนรู้การใช้สมองเป็นฐาน-ทำส่งครูดี

Search

Read the Text Version

การจัดการเรยี นรู้สาระภาษาไทย โดยใช้สมองเป็นฐาน(Brain based learning : BBL)

แบบรายงานการวิจัยในชั้นเรยี น การจัดการเรยี นรสู้ าระภาษาไทยโดยใชส้ มองเป็นฐาน (Brain based learning : BBL) ชอื่ หัวข้อวจิ ัย การจัดการเรยี นรู้สาระภาษาไทยโดยใช้สมองเปน็ ฐาน (Brain based learning : BBL) สำหรับ นกั เรียนชนั้ ประถมศกึ ษาปที ี่ 2 โรงเรียนบ้านปวงคำ (ประชาอุทศิ ) ระยะเวลา วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ถงึ วนั ท่ี 28 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. 2563 ช่อื ผู้วจิ ัย นางยวุ รี ประทีปยุวพฒั น์ ................................................................................................................................................. 1. ความเปน็ มาและความสำคญั ของปญั หา การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 (กรมวิชาการ, 2546) มีเจตนารมณ์ท่ีสำคัญ คือ เป็นการจัดการศึกษาท่ียึดหลักผู้เรียนสำคัญท่ีสุด โดยกระบวนการศึกษา ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา ตนเองได้เต็มตามศักยภาพ เพื่อมุ่งหวัง ให้คนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคณุ ธรรม มจี ริยธรรมและวฒั นธรรมในการดำรงชวี ิต สามารถอยู่รว่ มกบั ผอู้ ื่นได้อยา่ งมคี วามสุข วิชาภาษาไทย เป็นสาระหน่ึงที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคคล จัดอยู่ในกลุ่มทักษะ นักเรียนจะต้องได้รับความรู้ด้านหลัก ภาษาไทยและฝึกฝนการใช้ภาษาไทยอย่างต่อเน่ือง โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดความเจริญงอก งามทางด้านภาษา ด้วยกลวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีประสบการณ์ในหลายๆ ด้าน (สุรีพร เอ่ียม ประโคน. 2551) และมีความสำคัญตอ่ การดำรงชวี ิตความเป็นปกึ แผ่นของสงั คมไทย คนไทยจำเป็นต้องตระหนกั ถึง ความสำคัญของภาษาไทย ต้องทำความเข้าใจศึกษาหลักเกณฑ์ทางภาษา และฝึกฝนให้เกิดทักษะการฟัง การดู การพูด การอ่าน และการเขียนภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพ่ือนำไปใช้ในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดประโยชน์ แกต่ นเอง ชมุ ชน สงั คม การจัดการเรียนรู้สาระภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐาน(Brain-based Learning: BBL) เป็นการจัดการ เรียนรู้รูปแบบหน่ึงท่ีมีผลต่อพัฒนาการทางสมองและมีความสอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 ในปัจจุบัน เน่ืองจาก การศึกษาผลการติดตามการดำเนินงานการจัดการเรยี นรู้ภาษาไทยท่ีสอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง (Brain-based Learning :BBL) ระดับประถมศึกษา เป็นการจัดการเรียนรู้ท่ีสอดคล้องกับพัฒนาการของสมองแต่ ละช่วงวัย มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์อันหลากหลายด้วย เทคนคิ วิธีสอนหลายรูปแบบบนพื้นฐาน แนวคดิ ของความแตกตา่ งระหวา่ งบคุ คล ในการจัดการเรียนรู้สาระภาษาไทยในช้ันประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอุทิศ) ในปี ก่อนๆ ที่ผ่านมาได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการสอนตามปกติ ในระยะ 3 ปีท่ีผ่านมาผู้วิจัยได้เข้ารับ การอบรมพัฒนาตนเองเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สาระภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based Learning: BBL) จงึ ได้นำการจดั การเรียนรู้โดยใช้สมองเปน็ ฐาน BBL มาจดั กิจกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเน่ืองและพบว่า นักเรยี นมีผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี นสงู ข้นึ อยา่ งต่อเนอื่ งทุกปี ดงั น้ี

ตารางที่ 1 แสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนท่ีแสดงถึงผลการพัฒนาในรอบ 3 ปีการศึกษา ใน 5 สาระการเรียนรู้หลกั กลมุ่ สาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2559 ปกี ารศกึ ษา 2560 ปกี ารศึกษา 2561 ภาษาไทย 81.54 81.61 82.68 คณติ ศาสตร์ 79.92 80.33 81.36 วทิ ยาศาสตร์ 74.77 78.56 78.92 สังคมศึกษาฯ 71.15 81.94 82.72 ภาษาอังกฤษ 75.77 77.61 78.60 เฉลย่ี รวม 76.63 80.01 80.86 ปัจจุบันผู้วิจัยยังมีความต้องการท่ีจะทำให้เกิดการพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการพัฒนาให้ นักเรียนเกิดทักษะท้ัง 4 ด้าน คือด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ในปีการศึกษา 2562 น้ี ผู้วิจัยจึงได้ นำเอาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brian base learning: BBL) มาปรับประยุกต์ใช้โดยจัดทำ พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ มีสื่อการสอนมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อที่ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนในรายวิชาภาษาไทยเพมิ่ สงู ข้ึน 2. วตั ถปุ ระสงค์ 1. เพ่ือศึกษาผลสัมฤทธ์ิก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain- based Learning :BBL) ของนกั เรียนชั้นประถมศกึ ษาปที ่ี 2 โรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอทุ ิศ) 2. เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนท่ีมีต่อการจัดการเรียนรู้สาระภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based Learning: BBL) 3. กลมุ่ เป้าหมาย นักเรียนชนั้ ประถมศึกษาปที ่ี 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรยี นบา้ นปวงคำ(ประชาอุทิศ) จำนวน 25 คน 4. นวตั กรรมทใี่ ช้ 4.1 แผนการจดั การเรียนร้สู าระภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐาน(Brain-based Learning: BBL) ชัน้ ประถมศึกษาปีท่ี 2 4.2 แบบประเมนิ ความพงึ พอใจของนักเรียนที่มตี อ่ การจดั การเรยี นรู้สาระภาษาไทยโดยใชส้ มองเปน็ ฐาน (Brain-based Learning: BBL) ชน้ั ประถมศกึ ษาปที ี่ 2 5. กรอบแนวคิดในการวจิ ัย การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย หมายถึง กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยที่ครูได้ดำเนินการสอนในช้ันเรียน ตามแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 2 โดยเน้นกิจกรรมการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (Brain-based Learning :BBL) ผ่านทกั ษะ การฟัง การพดู การอา่ น และการเขยี น กิจกรรมการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (Brain-based Learning :BBL) หมายถึง ภาระงาน ช้ินงาน แบบฝึกทักษะ ที่ครูได้ออกแบบการเรียนรู้โดยเน้นการเรียนรู้ท่ีใช้โครงสร้างและหน้าที่ของสมองเป็นเครื่องมือใน การเรียนรู้ ภายใตแ้ นวคิดทวี่ ่าทกุ คนสามารถเรียนรไู้ ดท้ ุกคนมีสมองพร้อมทีจ่ ะทำเรียนรมู้ าตั้งแต่กำเนิด

6. แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับงานวจิ ัย 6.1 การจัดการเรยี นรวู้ ชิ าภาษาไทย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้เน้นความสำคัญว่า ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติเป็นสมบัติทางวัฒนาธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเสริมสร้าง บุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทยเป็นเคร่ืองมือในการติดต่อส่ือสารเพ่ือสร้างความเข้าใจและ ความสัมพันธ์ท่ีดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระ การงาน และดำรงชีวิตร่วมกันใน สังคมได้อย่างสันติสุข และเป็นเคร่ืองมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูล สารสนเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการ พัฒนาอาชพี ให้มคี วามมั่นคงทางเศรษฐกิจ นอกจากนย้ี ังเป็น ส่ือแสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้าน วัฒนธรรม ประเพณี และสุนทรียภาพ เป็นสมบัติล้ำค่าควรแก่การเรียนรู้ อนุรักษ์ และสืบสานให้คง อยู่คู่ชาติไทยตลอดไป โดยหลักสูตรการศึกษาข้ันพ้ืนฐานกำหนดสาระการเรียนรู้ในแต่ ละกลุ่มไว้เฉพาะ ส่วนท่ีจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกคนเป็น 8 กลุ่มสาระ คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและ เทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 37) ทักษะที่สำคัญของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดขอบข่าย สาระและ มาตรฐานการเรียนรู้ 9 (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศกึ ษาธิการ. 2551 : 2-4) ประกอบดว้ ย สาระที่ 1 : การอา่ น สาระที่ 2 : การเขยี น สาระที่ 3 : การฟัง การดู และการพดู สาระท่ี 4 : หลักการใชภ้ าษา สาระท่ี 5 : วรรณคดีและวรรณกรรม 6.2 แนวคดิ และทฤษฏที เ่ี ปน็ พน้ื ฐานในการสอนซ่อมเสริมการอา่ นและการเขยี นภาษาไทยทฤษฎี BBL Brain based learning หมายถึง การเรียนรู้ ที่ใช้โครงสร้างและหน้าที่ของสมองเป็น เครื่องมือใน การเรียนรโู้ ดยไม่สกัดกั้นการท างานของสมอง แต่เปน็ การส่งเสริมให้สมองได้ปฏิบตั ิ หน้าทีใ่ หส้ มบูรณ์ ท่ีสุดภายใต้ แนวคิดทว่ี า่ ทกุ คนสามารถเรยี นร้ไู ดท้ กุ คนมสี มองพรอ้ มท่จี ะทำ เรียนรู้มาต้ังแต่กำเนิด องคป์ ระกอบของกระบวนการเรียนรู้แบบใชส้ มองเปน็ ฐาน (Brain-based Learning :BBL) ประกอบดว้ ยองคป์ ระกอบของการสง่ เสรมิ การคิดต่างๆ โดยองค์ประกอบการคดิ ประกอบด้วย 1. สิง่ เร้า เป็นส่อื และองค์ประกอบแรกทเ่ี ป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลเกิดการรับรู้ ส่งิ เรา้ ทำให้เกิดปญั หา ความสงสยั ความขดั แยง้ และก่อให้เกิดการคิด 2. การรบั รู้ บุคคลสามารถรับร้ดู ้วยประสาททงั้ 5 คือ หู ตา จมูก ล้นิ และผวิ หนงั ระดบั การรับรู้จะ มากหรือน้อยข้ึนอยู่กับคุณภาพของส่ิงเรา้ 3. จุดมุ่งหมายในการคิด ผ้คู ดิ จะต้องมจี ดุ มงุ่ หมายทีแ่ นน่ อนในการคดิ แตล่ ะครงั้ วา่ มีเหตุผลเพ่ืออะไร 4. วิธคี ดิ การคดิ แตล่ ะคร้ังจะตอ้ งเลอื กวิธคี ดิ ให้ตรงกบั จดุ มุ่งหมาย เชน่ คิดเพ่ือตัดสินใจควรใช้คดิ อย่างมวี ิจารณญาณ คิดแก้ปัญหาควรใช้วิธีคดิ แบบแกป้ ัญหา 5. ขอ้ มูลหรอื เน้ือหา เป็นความรู้ ประสบการณห์ รือข้อมลู การร้ใู หมท่ ศี่ ึกษาคน้ คว้า 6. ผลของการคิด เปน็ ผลทีไ่ ด้จากการปฏบิ ตั ิงานทางสมองหรือกระบวนการคิดของสมอง

กระบวนการ กระบวนการเบ้ืองต้นที่สำคญั ของการสอนมี 3 ประการ (The Three Elements of Great Teaching) ไดแ้ ก่ 1. กระบวนการการผ่อนคลาย ( Relaxed Alertness) การสรา้ งอารมณ์ บรรยากาศในการเรียนรู้ให้ ดีที่สุด มีลักษณะผ่อนคลาย ท้าทายให้ผู้เรียนมีความรู้สึกสามารถเรียนรู้ได้อย่างม่ันใจท่ีอยากจะเรียน จัด สิ่งแวดล้อม โอกาสประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนร่วมได้และเช่ือมโยงการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตาม เปา้ หมายของแตล่ ะคนทสี่ นใจ 2. กระบวนการสร้างความตระหนัก จดจ่อ(Orchestrated immersion) การจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ต้องสัมพันธ์กับความรู้สึก ตระหนัก จดจ่อที่จะเรียนของผู้เรียนโดยผ่านการได้เห็น ได้ยิน ได้ดม สัมผัส ได้ชิมรส และได้เคล่ือนไหวร่างกาย ได้เช่ือมโยงความรู้เดิมมาใช้กับการเรียนรู้สิ่งใหม่มีความกระตือรือร้นที่จะ แกป้ ัญหาท่เี ข้ามาเผชญิ หนา้ ฝกึ ปฏบิ ตั คิ น้ หาคำตอบ 3. หลักในการจัดประสบการณ์ท่ีเป็นกระบวนการอย่างกระตือรือร้น (Active Processing of Experience) เป็นการจัดประสบการณ์ที่สร้างสรรค์นำไปสู่ความแข็งแกร่งในการเรียนรู้ โดยจัดกิจกรรมที่มี ความหมาย ครูใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนพิจารณา หรือค้นหาคำตอบ ข้อมูลสารสนเทศอย่างกระตือรือร้น และ feed back นักเรียนอย่างสม่ำเสมอเพื่อต้องการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิด หาทางพิสูจน์หรือค้นหาคำตอบ วิเคราะห์สถานการณ์บนพื้นฐานของพวกเขาได้ฝึกทักษะการตัดสินใจในช่วงวิกฤติและสื่อสารบนความเข้าใจของ ตนเองปัจจัยการพัฒนาสมองเพ่ือการเรียนรู้ร่วมกัน ผู้สอนจำต้องมีความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับธรรมชาติของสมอง เพื่อการเรียนรูเ้ พ่ือจะไดบ้ ริหารจดั การเรียนร้ใู หเ้ กิดประโยชน์ต่อการพัฒนานักเรยี นที่ดีและเหมาะสม 7. วิธีดำเนนิ การ 7.1 เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย แผนการจัดการเรยี นรู้สาระภาษาไทยโดยใช้สมอง เป็นฐาน ในปีการศึกษา 2562 และแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้แผนการจัดการเรียนรู้สาระภาษาไทย ช้นั ประถมศกึ ษาปีที่ 2 7.2 จดั กิจกรรมการเรยี นรู้ตามแผนการจดั การเรยี นรู้ 7.2.1 อธบิ ายขน้ั ตอนการเรยี นให้นกั เรยี นเขา้ ใจ 7.2.2 กระบวนการจดั การเรียนรู้มดี งั นี้ 1. อธิบายและสาธติ ให้นกั เรียนดเู ป็นตัวอย่าง ถงึ ข้นั ตอนในการเรียน 2. ใหน้ กั เรยี นทำตาม อาจทำเปน็ รายกลุ่มหรือรายบุคคล โดยพยายามใหน้ ักเรยี นทุกคนมี โอกาสได้ทำตาม จนนักเรียนสามารถทำได้ งานทกุ คน 3. ใหน้ กั เรยี นทำใบงานท่ผี ู้วจิ ัยจดั เตรยี ม โดยพยายามกระตุน้ ใหน้ กั เรยี นทำใหเ้ สร็จและส่ง 4. ครูตรวจใบงานของนักเรียน และอธิบายเพม่ิ เติมแกน่ ักเรยี นทท่ี ำไม่ถูกตอ้ ง ให้นกั เรียน แกไ้ ขและนำมาสง่ ใหม่จนกวา่ จะถกู ตอ้ ง 7.2.3 ดำเนินการสอนตามข้อ 1-2 ทุกครัง้ ท่ีจดั กิจกรรมการเรียนรู้ 7.2.5 นำผลสัมฤทธิท์ างการเรยี นก่อนเรยี นของนกั เรยี นปี 2562 มาเปรียบเทยี บกบั หลงั เรียน เม่ือส้นิ ปกี ารศกึ ษา 8. วธิ ีการวิเคราะหข์ ้อมูล ศกึ ษาผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนทั้งก่อนเรียนและหลังเรียนวชิ าภาษาไทย มาวเิ คราะห์ หาค่ารอ้ ยละ คา่ เฉลยี่ (Mean)

9. ผลการวิจยั 9.1 การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมอง เปน็ ฐาน (Brain-based Learning :BBL) ของนักเรียนชน้ั ประถมศกึ ษาปที ี่ 2 โรงเรียนบา้ นปวงคำ(ประชาอุทศิ ) ตารางท่ี 2 แสดงผลสมั ฤทธิก์ อ่ นเรียนและหลังเรียนโดยใชก้ จิ กรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเปน็ ฐาน (Brain-based Learning :BBL) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที ี่ 2 โรงเรยี นบา้ นปวงคำ(ประชาอทุ ิศ) เลขที่ คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลงั เรียน ความก้าวหนา้ หมายเหตุ 1 20 20 5 เด็กพิเศษบกพรอ่ งทางการเรียนรู้ 2 9 14 6 เด็กพิเศษบกพร่องทางการเรียนรู้ 3 9 15 5 4 11 16 6 5 12 18 6 6 12 18 6 7 9 15 5 8 9 14 5 9 12 17 6 10 9 15 7 11 8 15 5 12 12 17 - 13 - - 6 14 10 16 - 15 - - 5 16 12 17 5 17 11 16 5 18 12 17 5 19 13 18 4 20 13 17 5 21 12 17 5 22 11 16 5 23 12 17 4 24 12 16 5 25 11 16 5 คา่ เฉลยี่ 12 17 รอ้ ยละ 11.00 17.13 30.65 55.00 85.65

ตารางท่ี 2 แสดงคะแนนจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 2 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน BBL (Brain-based Learning) พบว่า มีคะแนนก่อนเรียนคิดเป็น ร้อยละ 55.00 และมีคะแนนหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 85.65 แสดงว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกวา่ ก่อนเรยี น 9.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน หลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (Brain-based Learning) ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 ข้อ ได้ผลการวิเคราะห์ความพึง พอใจ ดังน้ี การแปลความหมายค่าคะแนนเฉลี่ยใช้เกณฑ์การแปลความหมายแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังน้ี คะแนนเฉลย่ี ระหว่าง 2.34 – 3.00 หมายถึง มีความพึงพอใจมาก คะแนนเฉลี่ยระหวา่ ง 1.68 – 2.33 หมายถึง มีความพึงพอใจปานกลาง คะแนนเฉลย่ี ระหวา่ ง 1.00 – 1.67 หมายถงึ มีความพึงพอใจนอ้ ย ตารางท่ี 3 ผลการประเมนิ ความพงึ พอใจของนกั เรยี นโดยใช้กจิ กรรมการเรยี นรู้สมองเป็นฐาน (Brain-based Learning: BBL) ท่ีสง่ ผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี นของนักเรยี น ช้นั ประถมศกึ ษาปีที่ 2 ขอ้ รายการ ความพึงพอใจหลงั เรียน คา่ เฉลยี่ ระดบั ความพึงพอใจ 1 สื่อการสอนท่ีครนู ำใช้มีสสี ันสวยงามและหลากหลาย 3.00 มาก 2 รปู ภาพ ตัวอักษรของสอื่ การเรยี นรมู้ คี วามชดั เจนและส่ือ 2.81 มาก ความหมาย 2.94 มาก 3 กิจกรรมการเรียนรู้สนกุ ทำ ให้อยากเรียน 2.94 มาก 4 ใบงานมคี วามยากง่ายเหมาะสม 2.91 มาก 5 คำศัพทท์ ่ีครนู ำมาใชม้ ีความยากง่ายเหมาะสม 2.94 มาก 6 อปุ กรณ์ท่คี รูนา มาประกอบการสอนมีความน่าสนใจ 2.97 มาก 7 เวลาเหมาะสมกับการทำกิจกรรม 2.97 มาก 8 นักเรียนได้ฝกึ ทักษะภาษาไทยในชัน้ เรียน 3.00 มาก 9 นกั เรยี นมสี ว่ นรว่ มในการทำกิจกรรม 2.94 มาก 10 นกั เรยี นมีความสุขในการเรยี นวชิ าภาษาไทย 2.94 มาก รวม จากตารางท่ี 3 แสดงวา่ ความพงึ พอใจหลงั จากเรียนดว้ ยกิจกรรมการเรยี นรู้โดยใช้สมองเปน็ ฐาน (Brain- based Learning :BBL) ของนกั เรยี นชนั้ ประถมศกึ ษาปที ่ี 2 โรงเรียนปวงคำ(ประชาอุทิศ) จำนวน 23 คน โดย ภาพรวมอยใู่ นระดับมาก (x̅ = 2.94) เมอื่ พจิ ารณารายข้อมีคา่ เฉล่ยี มากทส่ี ดุ คือ ส่อื การสอนท่ีครูนำใช้มสี ีสนั สวยงามและหลากหลาย และนกั เรยี นมีสว่ นร่วมในการทำกิจกรรม (x̅ = 3.00) และมคี า่ เฉลี่ยนอ้ ยทส่ี ดุ คอื รปู ภาพ ตัวอกั ษรของส่อื การเรยี นร้มู ีความชัดเจนและสื่อความหมาย (x̅ = 2.81)

10. สรุปผลการวิจัย จากการวิจัยเรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based Learning :BBL) ของ นักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 2 โรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอุทิศ) พบว่า คะแนนเฉล่ียก่อนเรียนของนักเรียนและ หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเพ่ิมขึ้น 85.65 – 55.00 = 30.65 จากการให้นักเรียนฝึกทักษะทางด้านภาษาไทย โดยใช้ แผนการจดั การเรียนรู้โดยใชส้ มองเปน็ ฐาน (Brian base learning : BBL.) นักเรียนสามารถอา่ นคำและประโยคได้ ดีมีผลสัมฤทธ์ิในการอ่านสูงขึ้น อ่านได้คล่องแคล่ว มีความมั่นใจในการอ่านและการเขียนได้ดีข้ึน โดยครูเป็นผู้ ช้ีแนะ นักเรียนได้ฝึกอ่าน เขียนคำและประโยคท่ีนักเรียนยังอ่านไม่ได้ซ้ำ โดยให้กลับไปฝึกอ่านและเขียนท่ีบ้าน นอกจากน้ันจากการประเมินความพึงพอใจ นักเรียนมีความสุขกับการเปลี่ยนแปลงการสอน ให้ความสนใจในสื่อ การสอนของครูทมี่ ีสีสนั สวยงามและมีความหลากหลาย ซง่ึ ผวู้ ิจยั จะพัฒนาและสร้างส่ือการสอนให้มากเพ่ิมขึ้นเพ่ือ พฒั นานกั เรยี นใหม้ ีทกั ษะทางดา้ นภาษาไทยทดี่ ีย่งิ ขนึ้