Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การจัดการเรียนรู้ผู้พิการทางสายตา

การจัดการเรียนรู้ผู้พิการทางสายตา

Published by รุ่งสินี รําจวนจร, 2022-03-30 05:44:52

Description: รุ่งสินี รำจวนจร 61131111035

Search

Read the Text Version

การจัดการเรียนรู้ สำหรับผู้พิการทาง สายตา รุ่งสินี รำจวนจร คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โปรดนำดินสอและสีเที ยนมาด้วย

คำนำ ผู้พิการทางสายตา หรือ คนตาบอด คือผู้ที่บกพร่องทางด้านการมองเห็น ดวงตาไม่ สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ หรือรับรู้ความสว่างและความมืดได้ ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวัน ได้เฉกเช่นคนทั่วไป ต้องใช้ไม้เท้าหรือความเคยชินทดแทนในการดำรงชีวิต โดยปัจจุบัน เทคโนโลยีทางการแพทย์ยังไม่สามารถรักษาอาการตาบอดให้หายขาดได้ การตาบอดมี สาเหตุทั้งจากการพิการตั้งแต่กำเนิด จากการเ กิดอุบัติเหตุ หรือจากโรคภัยไข้เจ็บ เช่น โรค ต้อหิน โรคต้อกระจก โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น ผู้พิการทางสายตามี 2 ประเภท คือ ตาบอดสนิท คือดวงตาไม่สามารถมองเห็นอะไรได้เลย ถ้าเห็นก็เห็นได้น้อย มาก ซึ่งผู้พิการทางสายตาใช้ อักษรเบรลล์ ในการอ่านหรือเขียนหนังสือ และตาบอดเลือน ราง หรือตาบอดไม่สนิท คือดวงตายังพอมองเห็นสิ่งต่าง ๆ เลือนราง แต่ก็ไม่ได้มองเห็น ชัดเจนเท่ากับคนปกติ กับ ตาบอดสนิท คือดวงตาไม่สามารถมองเห็นอะไรได้เลย ถ้าเห็นก็ เห็นได้น้อยมาก ซึ่งผู้พิการทางสายตาใช้ อักษรเบรลล์ ในการอ่านหรือเขียนหนังสือ คู่มือการจัดการเรียรู้สำหรับผู้พิการทางสายตาเล่มนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลส่วนหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการทางสายตาจากแหล่งบทความ ตำรา และงานวิจัย โดยรวบความ หมาย ลักษณะอาการ สาเหตุ การจัดการเรียนการสอน อักษรเบรลล์ สื่อการเรียนรู้ที่ เหมาะสม และแนวทางการช่วยเหลือต่าง ๆ ผู้จัดทำหวังว่าคู่มือการจัดการเรียรู้สำหรับผู้พิการทางสายตาเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับ ผู้อ่าน หรือผู้ที่กำลังหาข้อมูลในเรื่องนี้ หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัด ทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย โปรดนำดินสอและสีเที ยนมาด้วย ผู้จัดทำ

สารบัญ ความหมายของผู้พิการทางสายตา 1 ลักษณะอาการของผู้พิการทางสายตา 1 สาเหตุของผู้พิการทางสายตา 2 การเรียนของผู้พิการทางสายตา 3 สิทธิทางการศึกษาของผู้พิการทางสายตา 5 การจัดการศึกษาของผู้พิการทางสายตา 7 การจัดการเรียนการสอนของผู้พิการทางสายตา 9 อักษรเบรลล์ 12 อักษรเบรลล์อุปกรณ์การเขียนอักษรเบรลล์ 20 วิธีการใช้อุปกรณ์การเขียนอักษรเบรลล์ 21 สื่อสำหรับผู้พิการทางสายตา 22 ส่งต่อสิ่งดี ๆ ของเราให้ผู้พิการทางสายตา 23 แอปพลิเคชันช่วยเหลือผุ้พิการทางสาโปยรตดานำดินสอและสีเทีย 25นมาด้วย บรรณานุกรม 27

ผู้พิการทางสายตา แบ่งได้ 2 ประเภท ตาบอดสนิท ตาบอดไม่สนิท บุคคลที่ไม่สามารถใช้สายตาได้ บุคคลที่มองเห็นเลือนลาง ต้องเรียนผู้ผ่านอักษรเบรลล์ สามารถมองเห็นได้บางส่วน แผ่นเสียง หรือประสาทสัมผัสอื่น ๆ สามารถอ่านอักษรได้ แต่ต้อง เมื่อทดสอบสายตาข้างดี สามารถมอง ขยายขนาดตัวอักษรให้ใหญ่ หรือ เห็นได้ไม่เกินระดับ 6/60 และมีลาน ใช้แว่นขยายในการช่วยอ่านเมื่อ สายตาแคบกว่า 20 องศา ทดสอบสายตาข้างดี สามารถ มองเห็นได้ ไม่เกิดระดับ 6/18 ลานสายตาแคบกว่า 30 องศา ลักษณะอาการของผู้พิการทางสายตา 1. มีอาการคันตา ขยี้ตาหรือกระพริบตาอยู่บ่อย ๆ 2. มองเห็นภาพซ้อน วิเวียนศีรษะ 3. โฟกัสการมองเห็นของวัตถุได้ไม่ดี 4. ระวัดระวังในการเดินมากกว่าปกติ 5. สายตาสู้แสงสว่างไม่ได้ ดวงตาไวต่อแสง 6. ตำแหน่ง การเคลื่อนไหวขอองดวงตาผิดปกติ มีตาเข ตาเอียง หรือตาเหล่ 7. ลูกตาดำมีลักษณะผิดปกติ มีจุดขาว ขาวอมเทา หรือสีเหลืองในตาดำ

สาเหตุของ ผู้พิการทางสายตา กรรมพันธุ์ มีการถ่ายทอด ความผิดปกติทางพันธุจาก บิดา มารดาทีมีโรค หรือ จากครอบครัวที่มีประวัติ ติดเชื้อ เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ขาดวิตามินเอ ตลอดจนคลอด เช่น โรคหัด เยอรมัน โรคจอตาผิดปกติ เนื่องจากคลอดก่อนกำหนด อุบัติเหตุ เกิดจากการกระทบ มีโรคที่เกี่ยวของกับตา กระเทือนต่อดวงตาโดยตรง. เช่น โรคต้อหิน ต้อกระ หรือประสาทตาการมองเห็น มีสิ่งแปลกปลอม เช่น สารเคมี เหล็ก โลหะ เศษไม้ และอื่น ๆ กระเด็นเข้าตา

การเรียนของผู้พิการทางสายตา ระดับชั้นอนุบาล เด็กตาบอดเรียนชั้นอนุบาลที่ศูนย์การศึกษาพิเศษเป็น โรงเรียนอนุบาลพิเศษที่แยกออกจากโรงเรียนอนุบาล ทั่วไป โรงเรียนแห่งนี้จะสอนความรู้พื้นฐานทั่วไปให้ เด็กพิการทุกประเภทเลยและมีอยู่ทุกจังหวัด เด็ก ๆ จะได้เรียนใกล้บ้าน ไม่ต้องเดินทางไกล ระดับประถมศึกษา การเรียนระดับประถมที่โรงเรียนสอนคนตาบอด เด็ก ๆไม่ได้เรียน รวมกับเด็กพิการประเภทอื่นแล้ว ซึ่งโรงเรียนสอนคนตาบอดมีอยู่ 8 แห่งกระจายตัวทั่วประเทศ โรงเรียนของนักเรียนตาบอดเป็น นักเรียนประจำ เพราะจะได้สะดวกทั้งการเดินทางและการดูแล ที่ โรงเรียนสอนคนตาบอดนี่เองเด็กจะได้รู้จักกับการเขียนอักษรเบลล์ ระดับมัธยม โรงเรียนสอนคนตาบอดจะคัดนักเรียนที่เรียนดี ขยันและตั้งใจ ส่งเข้าไปเรียนต่อที่โรงเรียนมัธยมเรียนร่วม นักเรียนตาบอดก็ จะเรียนร่วมห้องกับนักเรียนทั่วไป โดยในโรงเรียนเรียนร่วมนั้น จะมีศูนย์สำหรับดูแลนักศึกษาตาบอด เพื่อช่วยเหลือในเบื้องต้น แต่นักเรียนตาบอดยังไม่มีสื่อเรียน การทำการบ้านต้องอาศัย ความช่วยเหลือ จากเพื่อน ส่วนการทำข้อสอบก็ต้องให้คุณครู อ่านและเขียนให้ฟัง ในระดับมัธยมยังไม่มีการใช้ระบบ คอมพิวเตอร์จัดการสอบให้นักเรียน

ระดับมหาวิทยาลัย การคัดเด็กตาบอดเข้าเรียนต่อในระบบ มหาวิยาลัยจะมี 2 แบบ คือ แบบแรก คัดจากโควต้านักศึกษาพิการ รูปแบบนี้ เด็กตาบอดไม่ต้องแข่งกับเด็กทั่วไป การเปิดสอบจะคล้าย ๆ กับสอบตรง ที่แต่ละมหาวิยาลัยเป็นคนออกข้อสอบ ของตัวเอง อีกระบบนึงจะใช้ระบบคัด เลือกกลาง ต้องแข่งขันกับเด็กทั่วไป เมื่อเข้ามหาวิทยาลัยจะมีศูนย์นักศึกษา พิการที่จัดปฐมนิเทศ คอยดูแลด้านการ เรียน และจัดสอบให้นักศึกษาตาบอดโดย นักศึกษาตาบอดจะสอบโดยใช้ คอมพิวเตอร์ การเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยของนักศึกษาตาบอดมีเรื่องวุ่นวาย ตั้งแต่การหา หนังสือสำหรับอ่าน เพราะการอ่านสอบระดับมหาวิทยาลัยหนังสือเล่มหนามาก ถ้าต้อง อ่านอักษรเบลล์ก็ช้าและเจ็บมือ นักศึกษาตาบอดจึงชอบฟังไฟล์เสียงมากกว่าหรือ ต้องการไฟล์ Microsoft Word เพราะไฟล์นี้โปรแกรมอ่านหน้าจอของนักศึกษาตาบอด จะอ่านได้ แต่การหาไฟล์เหล่านี้ไม่ง่ายเลย ต้องหาเพื่อนมาอ่านอัดเสียงหรือนั่งพิมพ์กว่า จะเสร็จแต่ละเล่มใช้เวลานาน หลายต่อหลายครั้งได้เอกสารก่อนสอบแค่อาทิตย์เดียวเอง ทำให้อ่านไม่ทันและสอบตกตามระเบียบ ในบางวิชาที่เปิดสื่อวีดีโอเยอะ เพราะพวกเขาจะ ได้ยินแต่เสียงและคิดภาพในหัวตามไม่ได้ หรือบางวิชาอาจารย์สั่งให้สอบย่อยในห้องแต่ พวกเขาเขียนไม่ได้ การเรียนของเด็กตาบอดจะง่ายขึ้นเยอะถ้ามีระบบช่วยสนับสนุนด้านสื่อการเรียน ถ้าพวกเขาเข้าถึงหนังสือ สไลด์อาจารย์ หรือแบบฝึกหัด ได้เท่ากับเพื่อนคนอื่น เพราะ นั่นหมายความว่าพวกเขาจะมีเวลาอ่านหนังสือและทบทวนบทเรียนมากขึ้น แต่ตอนนี้ เด็กตาบอดเสียเวลาเกินกว่าครึ่งในการหาคนช่วยอ่านหนังสือ หาคนช่วยพิมพ์ และหา คนช่วยทำการบ้านหรือรายงาน จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมจำนวนคนตาบอดที่เรียนจบ ระดับอุดมศึกษาจึงมีน้อย

03 02 01สิทธิทางการศึกษาของผู้พิการ ใน พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 ได้ระบุสิทธิของคนพิการไว้ ดังนี้ สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษาโดยไม่มีเหตุผลและ ความจำเป็น ให้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย และให้สถานศึกษามีหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ ตามภารกิจของสถานศึกษานั้น โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย กำหนดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการ ศึกษาปฐมวัยรวมกันไม่น้อยกว่าสิบห้าปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย แต่การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทาง ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกาย พิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึงตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือ ด้อยโอกาส ต้องจัดให้มีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ คนพิการมีสิทธิทางการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือ พบความพิการ จนตลอดชีวิต พร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวย ความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใด ทางการศึกษา เลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษา โดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการ จำเป็นพิเศษของบุคคลนั้น

08 07 06 05 04สิทธิทางการศึกษาของผู้พิการ ใน พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 ได้ระบุสิทธิของคนพิการไว้ ดังนี้ ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา ให้สถานศึกษาและศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการอาจจัดการศึกษาสำหรับ คนพิการ ทั้งระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งการเรียนร่วม การจัดการศึกษาเฉพาะ ความพิการ การจัดทำหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษา การวัดและ ประเมินผลการศึกษาให้ดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการจำเป็นพิเศษ ของคนพิการแต่ละประเภท ตามรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด หรือสถานศึกษาเห็นสมควร จัดให้มีการบริการสำหรับคนพิการซึ่งมีอุปสรรคในการเดินทางคนพิการ สถานศึกษาทั้งอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาที่รับคนพิการเข้าศึกษา มีสิทธิได้ รับค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามจำนวนเงิน ที่ต้องเรียกเก็บจากนักศึกษาพิการ

การจัดการศึกษา เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นจะมีลักษณะแตกต่างไปจากเด็ก บกพร่อง ประเภทอื่น ๆ พัฒนาการทางภาษาของเด็กจะช้ากว่าเด็กปกติ เล็กน้อย แต่ทักษะภาษาไม่แตกต่างกัน ความสามารถ ทางสติปัญญา เหมือนเด็กปกติ แต่การสร้างความคิดรวบยอดต่อสิ่งต่าง ๆ ช้ากว่า ทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กจะเป็นไปด้วยความล่าช้า บางครั้งมีปัญหา จึงต้องฝึกให้รู้จักสิ่งแวดล้อมและการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง การปรับตัวของ เด็กมีบ้างในกรณีที่สังคมมีเจตคติที่ไม่ถูกต้อง แต่โดยสภาพรวมเด็ก สามารถอยู่ในสังคมเพื่อน ๆ เด็กปกติได้ดี ดังนั้นการจัดการศึกษาสำหรับ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นจึงควรจัดดังนี้ หลักสูตรเนื่องจากเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นมีข้อ จำกัดทางสายตา จนไม่สามารถใช้สายตาที่เหลือยู่ให้เกิด ประโยชน์ในการเรียนรู้ได้ ดังนั้นหลักสูตรสำหรับเด็กเหล่านี้ จึงต้องปรับให้เหมาะสมกับเด็กโดยเฉพาะ อย่างยิ่งเด็ก ตาบอด อย่างไรก็ตามโดยสภาพรวมแล้วหลักสูตรควรใช้ เหมือนกับเด็กปกติให้มากที่สุด

การจัดการศึกษา สิ่งที่จำเป็นการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความ บกพร่องทางการเห็นมีอยู่ 4 ประการ อักษรเบรลล์ (Braille) การสอนอักษรเบรลล์กับเด็กที่บกพร่องทางการเห็นนี้ใช้กับเด็กที่ ตาบอดสนิท หรือมีการเห็นหลงเหลืออยู่น้อยมากจนไม่สามารถใช้สายตาเรียนรู้ได้ การใช้การเห็นทีเหลืออยู่ ด้วยปัญหาจากการอ่านอักษรเบรลล์และด้วยความจริงที่ว่าผู้บกพร่อง ทางการเห็น ส่วนมาก ยังมีการเห็นที่เหลืออยู่บ้างที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ ผู้บกพร่องทางการเห็น ในปัจจุบันจึงได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้อ่านด้วยสายตาให้มากที่สุด เนื่องจากปัจจุบันความ ก้าวหน้าทางการพิมพ์ สามารถปรับขยายให้ตัวอักษรมีขนาดเท่าใดก็ได้ที่เหมาะสมกับระดับการเห็น ขอ เด็ก ประกอบกับสามารถใช้แว่นขยายหรือจอภาพโทรทัศน์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฉาย ขยายตัวอักษรให้ตัวโตได้หลายเท่าของตัวพิมพ์ปกติ การฝึกทักษะการฟัง (Listening Skills) ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีสูง ทำให้ ทักษะการฟังของคนบกพร่องทางการเห็นมีมากขึ้นด้วย การใช้ทักษะการฟังมีความสะดวก และรวมเร็วกว่าการใช้อักษรเบรลล์เป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันผู้บกพร่องทางการเห็นเป็น จำนวนมากจึงนิยมใช้การฟังมากขึ้น ฟังจากเทป หรือเครื่องที่บันทึกเสียงคอมพิวเตอร์ มาก ขึ้นเป็นลำดับ อย่างก็ตามการใช้การฟังมากเกินไปจะทำให้มีข้อเสียคือ เด็กที่พอมองเห็นเหลือ อยู่บ้างไม่พยายามใช้สายตาที่เหลืออยู่ของตน ประการต่อมาการบันทึกเสียงไม่สามารถบันทึก สำหรับทุกสิ่งทุกอย่างได้ทั้งหมด การฝึกการเคลื่อนไหว (Mobility Traning) ถือเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อผู้บกพร่องทางการ เห็นอย่างมาก เพราะจะต้องใช้ในการเดินทางและเคลื่อนไหวด้วยตนเองไปในที่ต่าง ๆ โดย อิสระการเคลื่อนไหวจำเป็นต้องฝึกคือ การทำความคุ้นเคยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการ เคลื่อนไหว การทำความคุ้นเคยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม ว่ามี อะไร อยู่ที่ไหน จะใช้ประโยชน์อย่างไร หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือให้รู้ตัวเองว่ามีความสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อมในลักษณะใดบ้าง ส่วนการเคลื่อนไหวเป้นการสอนให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวไปยัง สถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย การเคลื่อนไหวสามารถใช้คนนำทาง ใช้สุนัขนำทาง ใช้ไม้เท้า และใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิคส์

การจัดการเรียนการสอน โรงเรียนคนตาบอดจัดการเรียนการสอนเหมือนโรงเรียนทั่วไป มี 8 กลุ่ม สาระและ 10 วิชาเรียน แต่มีวิชาเฉพาะ O&M (Orientation and Mobility) เพิ่มเติมเข้ามา โดยในระดับอนุบาลเด็กจะต้องฝึกทักษะการดำรง ชีวิต เช่น การใส่เสื้อผ้า กินข้าว แปรงฟัน เข้าห้องน้ำ และเมื่อขยับขึ้นมาในระดับชั้น ป.1 เด็กจึงเริ่มเรียนทักษะ ทางด้านวิชาการ คาบทฤษฎี วิธีการจัดการเรียนการสอน ใช้หนังสือเรียนอักษรเบรลล์ แทนหนังสือเรียน ปกติ โดยใช้มือสัมผัสในการอ่าน เช่น วิชาภาษาไทยจากการท่อง ก เอ๋ย ก ไก่ เป็น ก ไก่จุด หนึ่ง สอง สี่ ห้า ซึ่งเป็นการสอนภาษาไทยและอักษรเบรลล์ไป พร้อมกัน ในวิชาคณิตศาสตร์ จัดการเรียนรู้โดยใช้ลูกคิดในการคำนวณ ซึ่งวิชา คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องจำสูตร จำวิธีคิด ถ้าเป็นการบวกลบง่ายๆ อาจคิดในใจ ได้ แต่หากมีเลขหลายชุด หลายหลัก หรือต้องใช้สูตร ทดเลขลงกระดาษ ซึ่งวิธีนี้ ไม่เหมาะกับนักเรียนที่มองไม่เห็น คณิตศาสตร์เป็นวิชานามธรรม เด็กมองไม่เห็น จะสอนอะไรก็ต้องใช้สื่อ ใช้อุปกรณ์การเรียนการสอน เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น เวลาคิดเลขจะใช้ลูกคิดช่วยในการคำนวณ ลูกคิดถือว่าเป็นอุปกรณ์การศึกษาที่ เด็กพกติดตัวไปเรียนหรือเอาเข้าไปในห้องสอบได้ เปรียบเสมือนเครื่องคิดเลข ทำหน้าที่คล้ายกับกระดาษทด นอกจากนี้ยังมีการใช้สื่ออุปกรณ์เพิ่มเติม ให้นักเรียนได้สัมผัส เพื่อให้เกิด มโนภาพ เช่น สื่อรูปสัตว์ต่าง ๆ รูปร่าง รูปทรงเรขาคณิต มีการใช้แสงไฟสีต่าง ๆ สำหรับนักเรียนที่มองเห็นเลือนราง เพื่อให้เห็นรูปร่างต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง

การจัดการเรียนการสอน คาบปฏิบัติ วิชาภาคปฏิบัติ มักจะเป็นวิชาที่ต้องใช้ร่างกายและสายตาอย่างสัมพันธ์กัน เช่น วิชาพละ ศิลปะ ดนตรีหรือแม้แต่การทดลองทางวิทยาศาสตร์ การใช้สายตา เช่นนี้จะเป็นอุปสรรคหรือไม่ต่อการเรียนของนักเรียนตาบอด ในการสอนวิชาพละ โดยการสอนเด็กตาบอดเล่นกีฬาปิงปอง ครูผู้สอนจะ ต้องดูความเหมาะสมของอุปกรณ์ เช่น การปรับโต๊ะปิงปองให้มีร่องกันลูกปิงปอง ตกพื้น ขึงเน็ตให้สูงขึ้นเพื่อให้เด็กตาบอดตีลูกปิงปองลอดใต้เน็ต และหาวิธีทำให้ ลูกปิงปองมีเสียงเพื่อให้นักเรียนตาบอดใช้การฟังแทนการมองเห็น การตีปิงปอง ของนักเรียนตาบอดนั้นคล้ายกับการเล่นเกมตู้ Air Hockey นอกจากจะสอนกีฬายังสอนวิชา ‘การทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม และการเคลื่อนไหว หรือที่รู้จักกันในชื่อ O&M ซึ่งโรงเรียนจะเปิดสอนวิชานี้ หนึ่งชั่วโมงต่ออาทิตย์ เด็ก ๆ ที่มาเรียนสามารถเรียนได้ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล โดยจะเน้นเรื่องการช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวัน และเมื่อเด็กขึ้น ป.1 ก็จะเน้น เรื่องการนำทางและการเดินทางในโรงเรียนซึ่งจะเรียนเรื่องนี้ยาวๆ จนถึง ป.3 และจะได้เริ่มใช้ไม้เท้าขาวอย่างจริงจังในระดับชั้น ป.4 ถึง ป.6 เพราะมองว่า ช่วงอายุนี้เป็นช่วงที่เด็กมีกล้ามเนื้อพอจะสามารถควบคุมไม้เท้า ได้เมื่อเด็กพร้อมแล้ว ด่านสุดท้ายคือการเรียนนอกสถานที่ เด็กนักเรียนจะได้ ลองเดินทางด้วยตัวเองในบริเวณละแวใกล้ๆ โรงเรียน โดยมีครูคอยดูและ เอาใจช่วยอยู่ห่างๆ

การจัดการเรียนการสอน คาบกิจกรรม เมื่อมีเรื่องเรียนแล้วย่อมต้องมีกิจกรรมเป็นของคู่กัน แน่นอนว่าชมรม การไปทัศนศึกษา เข้าค่ายลูกเสือเนตรนารี กิจกรรมกีฬาสีและเลือกตั้งสภา นักเรียน แม้นักเรียนมีปัญหาด้านการมองเห็นแต่กลับไม่เป็นอุปสรรคของการ ร่วมกิจกรรม หากต้องไปทัศนศึกษาหรือเข้าค่ายต่างจังหวัด ครูจะมีหน้าที่ บอกข้อควรระวังและปล่อยให้นักเรียนสนุกได้เต็มที่ เพราะครูต่างมีเป้าหมาย ที่จะทำให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นนอกโรงเรียน และไม่เขินอายเมื่ออยู่ ในสังคมใหม่ๆ สภานักเรียนมีบทบาทคอยดูแลนักเรียนแทนคุณครู เช่น ตรวจไม้เท้าขาว ตรวจการเข้าแถวตอนเช้าหรือเข้าแถวทานอาหาร

อักษรเบรลล์ อักษรเบรลล์ (อังกฤษ: Braille) เป็น อักษรสำหรับคนตาบอด ประดิษฐ์โดย หลุยส์ เบรลล์ (Louis Braille) ครู ตาบอดชาวฝรั่งเศส มีลักษณะเป็นจุดนูน เล็ก ๆ ใน 1 ช่องประถอบด้วยจุด 6 ตำแหน่ง ซึ่งนำมา จัดสลับกันไปมาเป็น รหัสแทนอักษรตาดีหรือสัญลักษณ์ทาง คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โน้ตดนตรี ฯลฯ การเขียนใช้เครื่องมือเฉพาะเรียก สเลต (Slate) และดินสอ (Stylus) การพิมพ์ใช้ เครื่องพิมพ์เรียก เบรลเลอร์ (Brailler) ใช้กระดาษหนาขนาดกระดาษวาดรูป อักษรเบรลล์ มีลักษณะเป็นจุดนูนเล็ก ๆ ใน 1 ช่องประกอบด้วยจุด 6 ตำแหน่ง ซึ่งนำมาจัด สลับกันไปมาเป็นรหัสแทนอักษร ตัวอักษรเบรลล์ จะมีจุดทั้งหมด 6 จุด เรียงกันเป็น 2 แถวใน แนวตั้ง นับจากด้านซ้าย จากบนลงล่าง เป็น 1- 3 และด้านขวา จากบนลงล่าง เป็น 4-6 โดยใช้ ● ○การมีจุดและไม่มีจุดเป็นรหัส กล่าวคือวงกลมทึบ หมายถึงจุดนูน และวงกลมโปร่ง หมาย ถึงจุดที่ไม่ใช้ วิธีนี้สามารถทำได้ถึง 63 ตัวอักษร โดยการกำหนดรหัสตัวอักษร 10 ตัวแรก A-J จะใช้จุด 1 2 4 และ 5 สลับกันไป 10 ตัวต่อมา K-T จะเติมจุดที่ 3 ลงไปในอักษร 10 ตัวแรก และ 5 ตัวสุดท้าย (ไม่นับ W เพราะ ณ เวลา นั้นภาษาฝรั่งเศสไม่ใช้ W) เติมจุดที่ 3 และ 6 ลงไปในอักษร 5 ตัวแรก

อักษรเบรลล์ หลักการอ่านอักษรเบรลล์ อ่านโดยเริ่มจากตำแหน่งทางด้านซ้ายไปขวา เหมือนกับอักษรปกติคืออ่านจากตำแหน่งที่ 1 2 3 4 5 6 แต่การเขียนจะเขียนจากขวามาซ้าย คือเริ่มเขียนจากตำแหน่งที่ 6 5 4 3 2 1 ซึ่ง ตัวเลขประจำตำแหน่งก็คือ รหัสเบรลล์ โดยจะ พลิกกลับด้านเมื่อต้องการอ่าน พยัญชนะไทย สระและวรรณยุกต์ไทย

อักษรเบรลล์ ตัวอย่าง อ่านว่า อ่านว่า อ่านว่า

อักษรเบรลล์ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ การเขียนอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ที่เขียนนำหน้าคำด้วยจุดเดียว(จุด ตำแหน่ง 6) เนื่องจากอักษรเบรลล์ ไม่มีรหัสแยกต่างหาก สำหรับตัว พิมพ์ใหญ่ จะเขียนนำหน้าคำด้วยจุด เดียว ในตำแหน่งที่ 6 หน้าคำซึ่ง แสดงว่าอักษรตัวแรกในคำนั้นเป็น ตัวพิมพ์ใหญ่ ถ้าเขียนนำหน้าคำด้วยจุดเดียว(จุดตำแหน่ง 6) 2 ครั้ง หน้าคำแสดงว่าทั้งคำเขียนด้วย ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด อ่านว่า อ่านว่า อ่านว่า

อักษรเบรลล์ ตัวเลข การเขียนตัวเลข เนื่องจากรหัสตัวเลข เหมือนกับตัวอักษรภาษาอักฤษ ดังนั้นการเขียนตัวเลขจะใช้ ⠼ นำหน้า เช่น ⠼⠁แปลว่า 1 การเขียนตัวเลขเรียงต่อกันใช้ ⠼ นำหน้าเฉพาะตัวแรก เช่น⠼ ⠁⠃⠉แปลว่า 123 สัญลักษณ์

อักษรเบรลล์ ตัวอย่าง อ่านว่า อ่านว่า อ่านว่า

อักษรเบรลล์ ตัวอย่าง อ่านว่า อ่านว่า

อักษรเบรลล์ การเขียนตัวเลขกับคำที่ปรากฎด้านหลัง เนื่องจากอักษรเบรลล์ภาษาอักฤษสิบตัวแรกได้นำมาใช้แทนตัวเลข ทำให้ต้องเขียนเว้นวรรคระหว่างตัวเลขและตัวอักษรเสมอ เช่น ⠼⠁ ⠑⠛⠛ หมายถึง ” 1 egg\" หากเขียนชิดกันเป็น ⠼⠑⠛⠛ ต้องตีความให้เป็น \"1577\" ไม่สามารถตีความเป็น \"1egg\" ได้ เนื่องจาก ” ⠑⠛⠛ “ (egg) อยู่ชิดกับตัวเลขและเป็นสัญลักษณ์ ที่สามารถใช้แทนตัวเลขได้เช่นเดียวกัน การเขียนตัวเลขและตัวอักษรปนกัน ในการเขียนตัวเลขตามด้วยตัวอักษร (ภายในคำเดียวกัน) ให้ ใช้เครื่องหมาย : (ตำแหน่ง 5,6) ไว้ข้างหลังตัวเลขเพื่อกำกับว่า สิ่งที่ตามหลังเครื่องหมายนี้ไม่ใช่ตัวเลขอีกต่อไป แต่เป็นตัวอักษร เช่น ⠼⠃⠰⠁ จะใช้แทน \"2a\" ในทางตรงกันข้าม หากต้องเขียนตัวอักษรตามด้วยตัวเลข ก็ ต้องใช้ ⠼ (ตำแหน่ง 3,4,5,6) ไว้ข้างหลังตัวอักษรเพื่อระบุว่า สิ่งที่ตามมาเป็นตัวเลข เช่น ⠃⠼⠁ จะใช้แทน \"b1\"

อุปกรณ์การเขียนอักษรเบรลล์ การเขียนใช้เครื่องมือเฉพาะเรียก สเลท (Slate) และสไตลัส (Stylus) สเลท (Slate) สเลท (Slate) เป็นแผ่นกระดานใช้ สำหรับใส่กระดาษเพื่อเขียนอักษรเบรลล์ ภายในแผ่นกระดานประกอบด้วย ช่องเป็น แถวยาว ในแต่ละช่องจะมีรูไว้สำหรับเขียน ช่องละ 6 รู สเลทแต่ละอันจะมีฝาเปิด-ปิด และที่ล็อคกระดาษ สเลทจะมีหลายแบบ คือ แบบพลาสติก และสแตนเลส 2 แถว 4 แถว 9 แถว และ 27 แถว สไตลัส (Stylus) สไตลัส (Stylus) มีไว้สำหรับใช้เขียน อักษรเบรลล์ต้องใช้ควบคู่กับสเลท (Slate) สไตลัสประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนสำหรับวางนิ้ว และปลายเข็ม

วิธีการใช้อุปกรณ์เขียนอักษรเบรลล์ การใช้สไตลัส (Stylus) มีไว้สำหรับเขียนอักษรเบรลล์ มีวิธีจับสไตลัสที่ถูกต้อง โดยวางโคนนิ้วชี้ไว้บน สไตลัส และให้นิ้วหัวแม่มือสอดไว้ใต้โคนนิ้วชี้ ใช้นิ้วหัวแม่มือ โคนนิ้วกลาง และปลายนิ้วชี้จับประคองส่วนหัวให้ตั้งตรง และจับให้กระชับมือ การใช้สเลท (Slate) - การวางสเลท ให้วางด้านที่มีช่องไว้ด้านบน โดยให้บานพับอยู่ทางด้าน ซ้ายมือและให้วางสเลทขนานกับลำตัวของผู้เขียน - การเปิด-ปิดสเลท ให้เปิดทางด้านขวา ด้านซ้ายจะล็อค การใส่กระดาษ เปิดสเลทแผ่นบนขึ้นและใส่กระดาษ โดยใส่กระดาษขอบซ้ายให้ชิดบานพับด้านซ้าย และหัวกระดาษอยู่ชิดขอบบนของสเลท และกดกระดาษลงตรงปุ่มทั้งสี่ของสเลทที่ ใช้ล็อคกระดาษ แล้วจึงปิดสเลท4. การเลื่อนกระดาษ ให้เปิดแผ่นสเลทด้านบนขึ้น แล้วเลื่อนแผ่นกระดาษด้านล่างขยับขึ้นโดยให้นำรอยปุ่มที่ล็อคกระดาษด้านล่าง 2 ปุ่ม ขึ้นไปทับที่ล็อคกระดาษด้านบน 2 ปุ่ม แล้วจึงปิดสเลททับกระดาษรวมทั้งกด ล็อคกระดาษตรงมุมล่างซ้ายและขวา หมายเหตุ: การเลื่อนกระดาษให้ขึ้นอยู่กับชนิดของสเลทที่ใช้เป็นหลัก วิธีการเขียนอักษรเบรลล์ - ใช้นิ้วชี้ซ้ายสัมผัสช่องของแผ่นสเลทจากขวาไปซ้าย - ใช้มือขวาจับสไตลัส แล้วเขียนจากขวาไปซ้ายโดยใช้นิ้วชี้ซ้ายกำกับช่อง

สื่อสำหรับผู้พิการทางสายตา วงเวียน ไม้โปรแทรกเตอร์ ลูกคิด ชุดวาดเขียนเส้น กระดานหมากฮอส สื่อภาพนูน แผนที่ ห้องเรียนต้นแบบ 360 องศา

ส่งต่อสิ่งเล็ก ๆ ของเราให้ผู้พิการทางสายตา ร่วมบริจาคปฏิทินตั้งโต๊ะปีเก่า ๆ ให้ กับมูลนิธิช่วยคนตาบอด เพื่อนำไป จัดทำเป็นสื่ออักษรเบรลล์ให้กับผู้ พิการทางสายตา ผู้ที่สนใจสามารถ ร่วมบริจาคได้ โดยติดตามระยะ เวลาเปิดรับบริจาคได้จากเว็บไซต์ ต่าง ๆ หรือ ติดต่อสอบถามเพิ่ม เติมได้จากทางมูลนิธิช่วยคนตาบอด แห่งประเทศไทย โครงการพิมพ์หนังสือให้คนตาบอด เพื่อนำไปทำเป็นหนังสืออักษรเบรลล์ ทาง www.uncommonunique.

ส่งต่อสิ่งเล็ก ๆ ของเราให้ผู้พิการทางสายตา ร่วมทำกิจกรรมจิตอาสากับทาง ทำกิจกรรมจิตอาสากับมูลนิธิช่วยเหลือคน สำนักหอสมุด โดยมีหลากหลาย ตาบอด เช่น งานสอนการบ้าน สอน กิจกรรมให้เลือกทำตามความถนัด เช่น กิจกรรมจิตอาสาพิมพ์หนังสือ ภาษา งานพิมพ์หนังสือ และสืบค้นข้อมูล ลงไมโครซอฟต์เวิร์ดสำหรับนำไปจัด จากอินเตอร์เน็ตเพื่อให้นักเรียนไว้ค้นคว้า ทำเป็นอักษรเบรลล์ กิจกรรมจิต หรือทำเป็นหนังสืออักษรเบรลล์ งาน อาสาอ่านบันทึกหนังสือให้เป็นเสียง พิมพ์หนังือเรียนหรือเอกสารประกอบการ กิจกรรมจิตอาสาตรวจแก้ไฟล์ เรียน เอกสารไมโครซอฟต์เวิร์ด

แอปพลิเคชันช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา Be My Eyes Aipoly ใช้การวิดีโอคอลเข้า ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อ มาช่วยอาสาสมัคร ช่วยเหลือบรรดาผู้ จะให้การช่วยเหลือ พิการทางสายตา ผู้พิการทางสายตา โดยเฉพาะ ด้วยการ โดยช่วยเป็นดวงตาเพื่อช่วยเหลือใน ระบุวัตถุที่พวกเขาพบในชีวิตประจำวัน กิจกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่การจับคู่สี การ วิธีการเพียงแค่จ่อโทรศัพท์ไปที่วัตถุ ตรวจสอบหลอดไฟว่าเปิดอยู่หรือไม่ เท่านั้น แอปพลิเคชันจะช่วยพวกเขา การเตรียมอาหาร หรือการอ่าน ด้วยการบ่งบอกผ่านเสียงว่าวัตถุดัง หนังสือให้คนตาบอดฟัง เป็นต้น กล่าวคืออะไร ราวกับทำหน้าที่เป็น ดวงตาให้แก่พวกเขานั่นเอง และยัง ใช้งานได้ในระบบ iOS และระบบ สามารถสื่อสารออกมาได้ทั้งหมด 7 Android ภาษาด้วยกัน! โดยไม่จำเป็นต้องมี อินเทอร์เน็ต  ใช้งานได้ในระบบ iOS และ ระบบ Android Pannana แอปพลิเคชันเสียงบรรยายภาพจากหนังหรือละคร เพื่อให้ผู้พิการ ทางสายตาฟังการบรรยายภาพที่เกิดขึ้นด้วยเสียง ใช้งานได้เมื่อ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น เริ่มจากการดาวน์โหลดเสียงบรรยายหนังที่เราจะไปดู พอ เราเข้าโรงภาพยนตร์นั้น ๆ แล้ว ให้เริ่มการกดเชื่อมเสียงจากนั้น แอปพลิเคชันจะเริ่ม ทำการบรรยายลักษณะท่าทางของตัวละครต่าง ๆ ทันที ตามเนื้อเรื่องของภาพยนตร์ที่ ฉายอยู่เพื่อให้ผู้พิการทางการมองเห็น ได้มีจินตนาการไปพร้อมกับคนปกติที่กำลังดูหนัง ใช้งานได้ในระบบ iOS และระบบ Android

แอปพลิเคชันช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา Read for the Blind เป็นแอปพลิเคชันช่วยเหลือคนพิการสำหรับคนตาบอด และสำหรับจิตอาสาที่มีใจอยาก อ่านหนังสือให้คนตาบอดฟัง ด้วยการอ่านหนังสือหรือบทความสั้น ๆ ได้อย่างง่าย ๆ และสะดวกมากขึ้น โดยไม่ต้องเดินทางเพื่อไปอัดเสียงอีกต่อไป แอปพลิเคชันนี้รองรับ การอ่านหนังสือจากหลาย ๆ คนรวมกันเป็นหนึ่งเล่ม หนึ่งคนอาจจะอ่านเพียงแค่บท เดียว และจากหลาย ๆ บท หนังสือเสียงหรือบทความที่สมบูรณ์แล้วเหล่านี้จะถูกแปลง เป็นไฟล์เสียงที่เหมาะสมสำหรับคนตาบอดและส่งไปยังสายด่วนข่าวสารความรู้ ที่เบอร์ 1414 ซึ่งเป็นการให้การบริการฟรี เพื่อฟังหนังสือเสียงผ่านทางโทรศัพท์ ใช้งานได้ในระบบ iOS และ ระบบ Android Visible เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กพิการทางสายตาได้เรียนดนตรีคลาสสิก ผู้ใช้งาน สามารถสั่งการด้วยเสียงหรือการสัมผัสหน้าจอ เพื่อเลือกเพลง เล่นเพลง หยุด ย้อนกลับ หรือไปข้างหน้า และสามารถเล่นดนตรีไปด้วยได้ พร้อมทั้ง ฟังโน้ตไปด้วย โดยไม่ต้องใช้มือคลำโน้ตหรืออักษรเบรลล์ให้ยุ่งยาก ใช้งานได้ในระบบ Android

บรรณานุกรม โปรดนำดินสอและสีเที ยนมาด้วย