Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

Published by charisara sareenon, 2022-11-16 13:27:30

Description: แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

Search

Read the Text Version

ข้ันตอนท่ี 3 การฝกึ การกลนื ตามแนวทางของ Swallow training protocol 1. ฝึกเกย่ี วกับการทรงตัวในท่าน่ัง 2. ฝกึ บรหิ ารกล้ามเนอ้ื ท่ีใชก้ ารกลืน ไดแ้ ก่ Lip and lingual exercise และ Oral motor exercise (การบรหิ ารกลา้ มเนอื้ ปากและใบหน้า) ท่าบริหารมี 10 ทา่ ให้บรหิ ารเชา้ -เยน็ ทา่ ละ 10 ครง้ั และควรท�ำทุกวันเป็นกิจวตั รประจำ� วัน ควรเปน็ หอ้ งเงียบไม่มเี สียงและสง่ิ รบกวน ท่าทง้ั 10 มดี งั นี้ 42 แนวทางการพยาบาลผปู้ ่วยโรคหลอดเลือดสมองส�ำหรับพยาบาลทั่วไป

3. แนวทางการพยาบาลเพื่อพัฒนาการกลนื 3.1 ดูแลความสะอาดปากฟันก่อนรับประทานอาหาร 3.2 จดั อาหารท่ีมลี กั ษณะนิ่มเคีย้ วงา่ ยจดั แบง่ เปน็ ชิ้นเล็กๆปอ้ นอาหารคร่งึ ชอ้ นชาต่อค�ำ วางอาหารบนล้นิ ดา้ นทมี่ แี รง ของเหลวทใ่ี ห้ควรมลี กั ษณะขน้ 3.3 การจัดสิ่งแวดลอ้ มสร้างบรรยากาศใหเ้ งยี บสงบก�ำจดั ส่งิ รบกวน พูดคุยเทา่ ท่ีจำ� เป็น เช่น อา้ ปาก เคีย้ ว และกลนื 3.4 การจดั ท่านงั่ นงั่ ตวั ตรงประมาณ 90 องศา ลำ� ตัวอยตู่ รงกลาง และจัดศีรษะตง้ั ตรง 3.5 การดูแลการกลืนขณะรับประทานอาหาร - ถ้าผปู้ ่วยไอหรอื กลนื ได้ชา้ ให้โน้มศรี ษะไปข้างหนา้ เล็กน้อย - ถ้าควบคมุ ลน้ิ ไดไ้ ม่ดใี หเ้ อนศรี ษะไปด้านหลงั เล็กน้อย - ถา้ มีอาหารคา้ งอย่ใู นปากจากการออ่ นแรงของลนิ้ หรอื แกม้ ใหเ้ อียงศรี ษะไปดา้ นทไ่ี ม่อ่อนแรง - ถ้ามีเสยี งนำ้� ในคอหลังกลืน ใหผ้ ปู้ ว่ ยไอหลายๆ ครงั้ เพอ่ื ให้คอโลง่ ก่อน จงึ จะรบั ประทานอาหารต่อ - ถา้ มีอาการอ่อนแรงของ Pharyngeal ใหผ้ ปู้ ่วยเอียงศรี ษะไปดา้ นท่อี อ่ นแรง - ถ้าผปู้ ว่ ยใชเ้ วลารบั ประทานอาหารนาน 45-60 นาทซี ึ่งอาจทำ� ให้กล้ามเนื้อทใ่ี ช้ในการกลืนออ่ นแรง เสย่ี งต่อการส�ำลักอาหารให้แบง่ มอ้ื อาหารเป็น 5-6 ม้อื 3.6 ดูแลใหผ้ ้ปู ่วยรับประทานยา โดยวางยาไว้บนลิ้นด้านทไ่ี ม่อ่อนแรง ให้ผู้ปว่ ยรับประทานยาทลี ะเม็ด 3.7 ใหเ้ วลาในการกลืน ไมเ่ รง่ รดั และใหก้ ำ� ลงั ใจผู้ป่วยในการกลืน 3.8 การดูแลความสะอาดปากและฟันหลังรบั ประทานอาหาร ขนั้ ตอนที่ 4 การประเมนิ ผลลพั ธ์ การประเมินอาการขณะรับประทานอาหารโดยสงั เกตอาการดงั นี้ 1. มนี ำ�้ ลายไหลหรอื อาหารไหลออกจากปาก 2. มอี าหารค้างในกระพุ้งแกม้ 3. ไอขณะรบั ประทานหรอื ด่มื น�้ำ 4. อาหารเป็นกอ้ นติดคอมากกวา่ หรือเทา่ กับ 3 ครัง้ 5. มีเสยี งนำ้� ในคอหลงั การกลนื 6. เมอื่ สงสยั วา่ มอี าหารค้างใน Pharynx หลงั การกลนื (ตรวจโดยการฟงั ดว้ ย Stethoscope) 7. ไม่สามารถรบั ประทานอาหารไดโ้ ดยไมพ่ งึ่ พา 8. ใช้เวลาในการรับประทานอาหารเท่ากับหรอื มากกวา่ 20 นาที Clinical Nursing Practice Guidelines for Stroke 43

ภาคผนวกท่ี 6 การดแู ลผ้ปู ว่ ยท่ีได้รับรังสรี ว่ มรักษาในกล่มุ ผปู้ ว่ ยระบบประสาท รังสีร่วมรักษาเป็นวิธีการรักษาผู้ป่วย โดยการใช้เครื่องมือตรวจพิเศษทางการแพทย์ ส่องให้เห็นพยาธิ สภาพภายในร่างกาย หลังจากน้ันก็อาศัยการเห็นจากเคร่ืองมือตรวจพิเศษต่างๆ เหล่านั้นเป็นตัวชี้น�ำให้สามารถน�ำ เครอ่ื งมอื เลก็ ๆ ตา่ งๆ ไมว่ า่ จะเปน็ ทอ่ กลวง (catheter) หรอื เขม็ หรอื อปุ กรณใ์ ด ไปทำ� การตรวจหรอื รกั ษาพยาธสิ ภาพ ดงั กลา่ วใหไ้ ดผ้ ลเหมอื นกบั หรอื ใกลเ้ คยี งกบั การผา่ ตดั ซงึ่ เครอื่ งมอื ตรวจพเิ ศษดงั กลา่ วไดแ้ ก่ เครอ่ื งตรวจดว้ ยรงั สเี อก็ ซ์ (x-ray), เครอ่ื งส่องตรวจ Fluoroscopy - DSI หรอื DSA, เครือ่ งตรวจดว้ ยคลน่ื เสียงความถสี่ งู (ultrasound - US) เคร่ืองเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography - CT) เคร่ืองตรวจด้วยคล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging หรอื MRI) เปน็ ตน้ แพทย์จะพิจารณาท�ำหัตถการรังสีร่วมรักษา ในกรณีท่ีผู้ป่วยมีปัญหาความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง รวมท้ังโรงพยาบาลมีความพร้อมท้ังเครื่องมือและบุคลากร เช่น มีห้อง angiogram และมี neuroradiological interventionist เปน็ ต้น หากมขี ้อจำ� กัด แพทยอ์ าจพิจารณาส่งตอ่ ผปู้ ่วยไปยังโรงพยาบาลทมี่ ีศักยภาพมากกวา่ หัตถการรังสีร่วมรักษาท่ีท�ำบ่อยในผู้ป่วยที่มีปัญหาความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง ได้แก่ การท�ำ embolization ตัวอยา่ งเช่น 1. Balloon embolization เป็นหัตถการอุดหลอดเลือดท่ีมีรูรั่ว ซ่ึงเป็นหัตถการหลักของการรักษาภาวะ direct carotid carvernous fistula ในผู้ป่วยท่ีมีการร่ัวของหลอดเลือดจากหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณฐานของ กะโหลกศีรษะ ซึง่ มแี รงดันเลอื ดสูง เข้าไปในแอง่ หลอดเลอื ดดำ� (SAH) 2. Glue embolization เป็นการรกั ษาโรคหลอดเลอื ดขอดในสมอง (AVM) 3. Coil embolization ส�ำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดในสมองโป่งพอง (aneurysm) โดยการใช้การรกั ษา จากภายในหลอดเลือด (endovascular treatment) โดยเป็นการใสข่ ดลวด GDC (Guglielmi Detachable Coils) ซงึ่ เป็นขดลวดแพลตตนิ มั การพยาบาลผู้ป่วยกอ่ นทำ� embolization 1. ประเมินผ้ปู ่วย (patient assessment) ก่อนการตรวจเพอื่ ความถกู ต้อง 2. ตรวจสอบผลเลอื ดทจี่ �ำเป็นตา่ งๆ เชน่ คา่ Creatinine, BUN, Coagulogram หรอื liver funtion ตา่ งๆ เพ่อื รายงานตอ่ รังสีแพทย์ทราบเพือ่ การบริหารจดั การก่อนหรอื ระหว่างหัตถการได้อยา่ งถกู ตอ้ ง 3. ให้ข้อมูลเก่ียวกับกระบวนการตรวจเพื่อความเข้าใจแก่ผู้ป่วย และต้องมีการให้ผู้ป่วยลงลายมือช่ือใน ใบอนุญาตท�ำหัตถการ 4. จัดการติดอุปกรณ์เพื่อวัดสัญญาณชีพต่างๆ (monitoring machine) เพ่ือจะต้องตรวจสอบสัญญาณชีพ (vital sign) 44 แนวทางการพยาบาลผปู้ ่วยโรคหลอดเลอื ดสมองส�ำหรบั พยาบาลท่ัวไป

การพยาบาลผูป้ ว่ ยหลังท�ำ Embolization 1. บันทึกสัญญาณชีพ จับชีพจรบริเวณ dorsalis pedis artery หรือ radial atery ท้ังสองข้าง สังเกต ปลายมือหรือปลายเท้าข้างที่ท�ำและอาการทางระบบประสาททุก 15 นาที 4 คร้ัง ทุก 30 นาที 4 ครั้ง และ ทกุ 1 ช่ัวโมงจนสม�ำ่ เสมอ 2. ให้ผู้ปว่ ยนอนพักบนเตยี ง 1 วนั ยกเวน้ การทำ� Balloon embolization ต้องนอนพกั บนเตยี ง 3 วัน 3. ตรวจสอบขาหนีบข้างที่ท�ำทกุ 15 นาที 4 ครัง้ และ ทุก 1 ชัว่ โมง 4 คร้งั ถ้ามเี ลอื ดออกจากขาขา้ งท่ีท�ำให้ กดบรเิ วณท่ีปดิ dressing นาน 15 นาที และรายงานแพทย์ 4. นอนเหยียดขาตรงขา้ งท่ีทำ� หตั ถการ 8 ชว่ั โมง 5. หากปลายเท้าขา้ งท่ที �ำ บวม เจ็บ คล�ำชีพจรไมไ่ ด้ ชา ใหร้ บี รายงานแพทยด์ ว่ น 6. หลังทำ� 8 ชัว่ โมง off dressing ท่ีขาหนบี ได้ Clinical Nursing Practice Guidelines for Stroke 45

ภาคผนวกท่ี 7 การพยาบาลเพื่อวางแผนการจ�ำหนา่ ย และการดูแลต่อเนือ่ งทบี่ า้ น วางแผนการจำ� หนา่ ยออกจากโรงพยาบาล 1. ประเมินความพรอ้ มของผู้ป่วย ดังต่อไปน้ี - สัญญาณชีพ อาการทางระบบประสาท - ผลการตรวจทางห้องปฏบิ ัติการ - กจิ วัตรประจ�ำวัน โดยใช้ BI (Barthel Index) และ/หรอื mRS (Modified Rankin Scale) - การรบั ประทานอาหาร และ ยา - การสอื่ สาร - ความรู้ เกยี่ วกบั เรอื่ งโรค การรกั ษา และการดูแลตนเอง - การรับรู้ - การขบั ถ่าย - การเคล่อื นไหว - ภาวะแทรกซอ้ น - เพศสัมพันธ์ - สภาวะทางด้านอารมณแ์ ละจติ ใจ - กรณีผู้ปว่ ยไดร้ บั การผา่ ตดั สมองประเมินแผล ภาวะแทรกซ้อน และอาการผดิ ปกตหิ ลังผา่ ตัด 2. ประเมินความพร้อมของครอบครัว / ผดู้ ูแล ดังตอ่ ไปนี้ - ความรคู้ วามเขา้ ใจเกยี่ วกบั การดำ� เนนิ โรค ความรใู้ นการดแู ลตอ่ เนอื่ งทบี่ า้ น สญั ญาณอนั ตราย และ การปอ้ งกนั การกลบั เปน็ ซำ�้ เปน็ ตน้ กรณผี ปู้ ว่ ยไดร้ บั การผา่ ตดั สมอง การดแู ลแผลผา่ ตดั ภาวะ แทรกซอ้ นและอาการ ผิดปกติหลงั ผา่ ตดั - ดา้ นจติ ใจ อารมณ์ สังคม และเศรษฐกจิ - สภาพบา้ นและสง่ิ แวดลอ้ มทม่ี ผี ลต่อการดูแลผ้ปู ว่ ย - ทกั ษะการดูแลผู้ป่วยตอ่ เนื่องทบี่ ้าน - แรงสนับสนนุ ทางสงั คม ความเช่อื ค่านิยม - ปญั หาอน่ื ๆ ในการดูแลผ้ปู ่วย เชน่ ภาระการดแู ล เพศสมั พนั ธ์ เป็นต้น 3. วางแผนร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพในการให้ความรู้และฝึกทักษะที่จำ� เป็นแก่ผู้ป่วย ครอบครัวและผู้ดูแล ก่อนจ�ำหน่ายออกจากโรงพยาบาลใหค้ รอบคลุม เชน่ model D-M-E-T-H-O-D เปน็ ตน้ 4. การเตรยี มความพรอ้ มผู้ป่วย ญาติและผดู้ ูแล 4.1 ด้านผ้ปู ่วย 4.1.1 ใหค้ วามรเู้ กย่ี วกบั โรค การดแู ลตนเอง สญั ญาณอนั ตราย และการปอ้ งกนั การกลบั เปน็ ซำ้� เปน็ ตน้ 4.1.2 ฝึกทักษะในการปฏิบัติตนเม่ือกลับบ้าน การรับประทานยา และ อาการข้างเคียงของยา การฟน้ื ฟูสภาพ การท�ำกายภาพบำ� บัด เป็นต้น 46 แนวทางการพยาบาลผ้ปู ว่ ยโรคหลอดเลือดสมองส�ำหรบั พยาบาลทว่ั ไป

4.1.3 ใหค้ ำ� ปรกึ ษาสนบั สนนุ ด้านจติ ใจ เสริมพลงั อ�ำนาจในการดแู ลตนเอง 4.2 ด้านครอบครวั และผ้ดู ูแล 4.2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค และการดูแลผู้ป่วยต่อเน่ืองท่ีบ้าน สัญญาณอันตราย และการป้องกัน การกลับเป็นซ้�ำ แหล่งประโยชน์เม่ือเกิดภาวะฉุกเฉินและการเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที (หมายเลขโทรศัพท์ หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ท่วั ประเทศ หรือหนว่ ยแพทย์ฉุกเฉินกรงุ เทพมหานคร 1646) 4.2.2 ฝกึ ทกั ษะในการดแู ลผปู้ ว่ ยตอ่ เนอ่ื งทบี่ า้ น เชน่ การทำ� กายภาพบำ� บดั การปอ้ งกนั และการดแู ล แผลกดทบั การดแู ลให้อาหารทางสายยาง และการเคล่ือนยา้ ยผ้ปู ว่ ย เปน็ ต้น 4.2.3 ใหค้ วามรเู้ รอ่ื งอาหาร และการเตรยี มอาหาร ตามแผนการรักษา 4.2.4 ให้ความรู้เรื่องการรับประทานยา การเกบ็ รกั ษายา และ อาการข้างเคียงของยา 4.2.5 ใหค้ วามรแู้ ละประสานแหลง่ ประโยชนต์ า่ งๆ เครอื ขา่ ยชมุ ชน เพอื่ ขอความรว่ มมอื ในเรอ่ื งตา่ งๆ และเพอ่ื การดูแลรกั ษาต่อเนื่องตามกระบวนการส่งตอ่ ผปู้ ่วย 4.2.6 ให้คำ� ปรึกษาสนับสนนุ ดา้ นจิตใจ เสรมิ พลังอ�ำนาจในการดแู ลผปู้ ว่ ย 5. การปรับสภาพบ้าน และสิง่ แวดลอ้ ม เตรียมวสั ดแุ ละอปุ กรณใ์ นการดแู ลต่อเนือ่ งที่บา้ น 6. ใหผ้ ูป้ ว่ ยหรอื ญาติลงนามยนิ ยอมในการดแู ลตอ่ เนอ่ื งท่ีบ้านหรือตามบรบิ ทของแตล่ ะหน่วยงาน 7. ประสานการดูแลตอ่ เนื่องรว่ มกับทมี สหสาขาวชิ าชพี ท่ีเกย่ี วข้อง 8. ส่งตอ่ และประสานงานเครือขา่ ยเพ่ือการตดิ ตามดแู ลต่อเน่อื งทบี่ า้ น 9. การตดิ ตามผู้ปว่ ยมาตรวจตามนัดและเปดิ โอกาสใหป้ รึกษาปญั หาสุขภาพทางโทรศัพท์ การคัดเลือกผู้ปว่ ยทจ่ี ำ� เปน็ ตอ้ งได้รบั การดแู ลต่อเน่อื งท่ีบ้าน ตามคณุ ลกั ษณะต่อไปนี้ 1. คะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจ�ำวัน BI (Barthel Index of Daily Living) ≤ 75 และ/หรอื mRS (Modified Rankin Scale) ≥ 3 2. ผปู้ ว่ ยทมี่ อี ปุ กรณท์ างการแพทยต์ ดิ ตวั เมอื่ กลบั บา้ น เชน่ ใสท่ อ่ หลอดลม ใสส่ ายใหอ้ าหาร คาสายสวนปสั สาวะ 3. ผปู้ ว่ ยทต่ี อ้ งไดร้ บั การดแู ลรกั ษาพยาบาลทบี่ า้ น เชน่ ผปู้ ว่ ยแบบประคบั ประคอง ฉดี ยา ทำ� แผล กายภาพบำ� บดั ปัญหาจิตใจ อารมณ์ สังคมและเศรษฐกจิ อปุ กรณ์เครอ่ื งใชส้ ำ� หรับการพยาบาลผปู้ ่วยทบ่ี า้ น ประกอบดว้ ย4 1. อุปกรณ์ประเภทที่ 1 (อุปกรณ์พ้ืนฐาน) ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล แบบประเมินต่างๆ เช่น BI (Barthel Index of Daily Living), mRS (Modified Rankin Scale) แบบเฝ้าระวงั แผลกดทับ เป็นต้น หมายเลข โทรศพั ทผ์ ปู้ ว่ ย เครอื่ งชงั่ นำ้� หนกั สายวดั รอบเอว เครอ่ื งวดั ความดนั แบบพกพา หฟู งั เครอื่ งวดั ระดบั นำ�้ ตาล/ไขมนั แบบ พกพา เทอร์โมมเิ ตอร์ ไฟฉาย ไม้กดลน้ิ ชดุ ทำ� แผล น�ำ้ ยาสำ� หรับการท�ำแผล และเวชภณั ฑย์ าทสี่ �ำคญั ในการพยาบาล เบือ้ งตน้ เป็นตน้ 2. อปุ กรณป์ ระเภทท่ี 2 เครอื่ งมอื ทตี่ อ้ งเตรยี มเฉพาะราย เชน่ ชดุ สวนและสายสวนปสั สาวะ สายยางใหอ้ าหาร ชุดออกซิเจน สายดูดเสมหะ สารหล่อลื่น และสื่อการสอน คู่มือ แผ่นพับประกอบการสอนสุขศึกษา หรืออุปกรณ์ ทีต่ ้องเตรียมเฉพาะราย เคร่ืองมอื ชว่ ยฟ้นื คนื ชีพเบอ้ื งตน้ ที่ควรมีคอื เครอื่ งชว่ ยหายใจชนดิ มอื บบี (Self inflating bag) เปน็ ตน้ Clinical Nursing Practice Guidelines for Stroke 47

3. อุปกรณ์ประเภทท่ี 3 เป็นอุปกรณ์อื่นๆ เช่น กล้องถ่ายภาพ เพ่ือติดตามความก้าวหน้าสภาพบาดแผล ภาพผปู้ ว่ ย/การดแู ลตนเอง และกจิ วตั รประจำ� วนั ภาพครอบครวั /ผดู้ แู ล/การดแู ลผปู้ ว่ ย สภาพบา้ น/สง่ิ แวดลอ้ มทบี่ า้ น วสั ดอุ ปุ กรณใ์ นการดแู ลผปู้ ว่ ย นวตั กรรมของครอบครวั เปน็ ตน้ เพอื่ เปน็ เครอื่ งเตอื นความทรงจำ� หรอื เกบ็ เปน็ หลกั ฐาน น�ำมาใชใ้ นการปรกึ ษาวางแผนร่วมกบั ครอบครวั และทมี สขุ ภาพในการปรบั ดแู ลผ้ปู ่วยและสงิ่ แวดลอ้ มใหเ้ หมาะสมกบั ผู้ป่วย แต่ต้องขออนุญาตโดยเซ็นยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรในแบบฟอร์มตามแนวทางการพิจารณาเชิงจริยธรรม การให้บริการสขุ ภาพ หมายเหตุ การจัดเตรียมอุปกรณ์เคร่ืองใช้สามารถยืดหยุ่นตามปัญหาสถานการณ์ท่ีเฉพาะของผู้ป่วย ครอบครัวและ ชมุ ชน 48 แนวทางการพยาบาลผ้ปู ว่ ยโรคหลอดเลือดสมองส�ำหรบั พยาบาลท่ัวไป

แนวทางการเย่ียมบา้ นในผ้ปู ่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้เครอ่ื งมอื INHOMESSS 3,4 บริการแบบองค์รวมการเย่ียมจะต้องประเมินสภาพครอบครัวในเรื่องที่เก่ียวข้องสุขภาพและการดูแลผู้ป่วย โดยใช้เครื่องมอื แนวทางเวชปฏิบัตคิ รอบครัว INHOMESSS ดังนี้ I = Immobility เป็นการประเมินว่าผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองได้หรือต้องอาศัยผู้อื่นดูแลในการท�ำกิจวัตร ประจำ� วัน การใช้โทรศัพท์ การจัดยากินเอง N = Nutrition เพ่อื ดูภาวะโภชนาการของผปู้ ่วยในส่วนทสี่ ัมพนั ธก์ บั ภาวะโรค การเตรียมปรงุ อาหาร วธิ เี กบ็ อาหาร นสิ ัยการกินและอาหารโปรด เช่น ผสู้ ูงอายทุ านอะไร คุมอาหารอยา่ งไร ประเมนิ เพ่อื ดูความเหมาะสมภาวะ โภชนาการกบั โรคท่ีเปน็ รวมถึงวิธกี ารจดั เกบ็ อาหารที่ปรงุ เสร็จแล้ว H = Home Environment สภาพสง่ิ แวดล้อมในบ้านและรอบบา้ น เปน็ ปัจจยั หนึง่ ท่สี ่งผลกระทบต่อสุขภาพ ผู้ป่วยและครอบครัว เช่น สภาพบ้านแออัด ใกล้หรือไกลชุมชน เพ่ือนบ้านมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ช่วยเหลือ พ่งึ พากันไดห้ รือไม่ O = Other People สมาชกิ ในครอบครวั มคี วามสมั พนั ธก์ นั อยา่ งไร บทบาทของสมาชกิ ในครอบครวั ตอ่ ผปู้ ว่ ย บคุ คลทเ่ี ปน็ ผู้รับผดิ ชอบตดั สนิ ใจแทนผู้ปว่ ย M = Medications การซักประวัติเรื่องยารวมถึงการใช้สมุนไพร ยาพ้ืนบ้าน ของผู้ป่วยมีความจ�ำเป็นเพื่อ ประเมินเรื่องการใช้ยา การดูแลตนเองและการแสวงหาแหล่งพ่ึงพาทางด้านสุขภาพของผู้ป่วยรักษาอยู่กับแพทย์ หลายแห่งหรือไม่ ความร่วมมือปฏิบัติตามแผนการรักษา การกินยาตรงตามแผนการรักษาหรือไม่ ความสามารถใน การจดั ยากินเอง E = Examination การตรวจรา่ งกายขณะเยยี่ มบ้าน เชน่ การวดั ความดันโลหติ การดแู ลแผล เพ่อื ประเมิน ผ้ปู ่วยในขณะน้ันเพื่อน�ำมาปรับแผนการดแู ล S = Spiritual Health ความเชือ่ ทศั นคติ คา่ นิยม วัฒนธรรมและประเพณตี า่ งๆ การค้นหาปัจจยั ทางด้าน จิตวิทยาสังคมที่มีต่อผู้ป่วยและครอบครัว ท�ำให้รู้จักและเข้าใจผู้ป่วยถึงพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัว การประเมินความหมายของการด�ำรงชวี ิตอยู่ คุณค่าการใชช้ วี ติ ส่ิงท่ใี ช้ยึดเหนี่ยวทางใจ S = Service ประเมินความเขา้ ใจ ความรู้สึกของผูป้ ว่ ย ครอบครวั และญาติ ทม่ี ีต่อระบบในการวางแผนดูแล ผปู้ ว่ ย และการรบั รู้ การดแู ลทเี่ ชอื่ มโยงระหวา่ งบา้ นและโรงพยาบาล แผนการรกั ษาเปน็ อยา่ งไร จะตดิ ตอ่ ใครไดอ้ ยา่ งไร สถานบรกิ ารใกล้เคียงบา้ นพักมีอะไรท่ไี หนบ้าง S = Safety การประเมินสภาพแวดล้อมของผู้ป่วยต้ังแต่โครงสร้างของบ้าน บันไดมีความชัน เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์อำ� นวยความสะดวก พื้นห้องน้ำ� วา่ มีความปลอดภัยเพยี งพอหรอื ไม่ ระยะเวลาและความถขี่ องการเยยี่ มผปู้ ว่ ยทบ่ี า้ นพจิ ารณาจากภาวะสขุ ภาพของผปู้ ว่ ย ความสามารถในการดแู ล ตนเองของผปู้ ว่ ยและ/หรอื การพยาบาลผปู้ ว่ ยทบ่ี า้ น ครอบครวั สว่ นใหญใ่ นสปั ดาหแ์ รกของการดแู ลจะมคี วามถใ่ี นการ ตดิ ตามดแู ลผปู้ ว่ ยทบี่ า้ นอยา่ งใกลช้ ดิ และจะหา่ งออกไปตามอาการของผปู้ ว่ ยทด่ี ขี นึ้ 6พยาบาลตอ้ งประเมนิ สภาพผปู้ ว่ ย เพ่อื กำ� หนดระยะเวลาและความถีข่ องการเยี่ยมตามการเปล่ยี นแปลงของอาการทีเ่ กิดข้นึ Clinical Nursing Practice Guidelines for Stroke 49

การดูแลสขุ ภาพที่บา้ นครงั้ ที่ 1 (ภายใน 1-2 สปั ดาห์) 1. การประเมินสภาพร่างกาย : การรับรู้ สัญญาณชีพ อาการแสดงทางระบบประสาท การปฏิบัติกิจวัตร ประจำ� วัน โดยใช้ BI (Barthel Index Activities of Daily Living) , mRS (modified Rankin Scale) 30 การกลนื อาหาร ความแขง็ แรงของกลา้ มเนอื้ ภาวะแทรกซอ้ น กรณผี ปู้ ว่ ยไดร้ บั การผา่ ตดั สมอง ประเมนิ แผลและทกั ษะการดแู ล แผลผ่าตัด ภาวะแทรกซอ้ นและอาการผิดปกตหิ ลงั ผ่าตดั การประเมนิ สภาวะทางด้านอารมณ์และจิตใจ การประเมนิ จิตสังคม การประเมินส่ิงแวดล้อม อุปกรณ์ของใช้ต่างๆ ประเมินสภาพครอบครัวในเรื่องที่เกี่ยวข้องสุขภาพและ การดแู ลผปู้ ว่ ย โดยใชเ้ คร่อื งมือแนวทางเวชปฏิบตั คิ รอบครวั INHOMESSS4 * ประเมิน BI หาก ≤ 75และ/หรอื mRS ≥ 3 คะแนน ให้มกี ารดแู ลสขุ ภาพท่ีบา้ นต่อในครั้งที่ 2,3,4 * ประเมนิ BI หาก >75 คะแนน และ/หรือ mRS < 3 ให้มกี ารดูแลสุขภาพทบ่ี ้านต่อในคร้งั ท่ี 2 (สปั ดาหท์ ่ี 3-4) และลงบนั ทกึ พรอ้ มยตุ กิ ารใหบ้ รกิ ารการดแู ลสขุ ภาพทบ่ี า้ น พรอ้ มสง่ ตอ่ ไปยงั เครอื ขา่ ยหรอื สถานบรกิ ารใกลบ้ า้ น รวมทั้งใหเ้ บอร์โทรศัพท์ที่สามารถให้คำ� ปรึกษาปัญหาสุขภาพได้ 2. วางแผนร่วมกับทีมสหวิชาชีพ โดยให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการวางแผน สอนสาธิต ทบทวน สนับสนุนการดูแลตนเอง ในเร่ือง การเคาะปอด การดูดเสมหะ การให้อาหารทางสายยาง การเคล่ือนย้ายผู้ป่วย การทำ� กายภาพบำ� บัด การป้องกนั อุบตั ิเหตพุ ลดั ตกลื่นลม้ การให้ยา ฤทธขิ์ า้ งเคยี งของยา การสังเกตอาการผิดปกติ การมาพบแพทย์ตามนัด แนะน�ำแหล่งประโยชน์เม่ือเกิดภาวะฉุกเฉิน และการเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที (หมายเลขโทรศพั ท์หน่วยแพทยฉ์ กุ เฉนิ 1669 หรอื หนว่ ยแพทย์การฉกุ เฉนิ กรุงเทพมหานคร 1646) 3. ให้ค�ำปรึกษาและให้ก�ำลังใจ 4. บนั ทึกขอ้ มลู การเยยี่ มลงในสมุดสุขภาพประจำ� วนั 5. นดั หมายการเยี่ยมคร้งั ต่อไป การดแู ลสขุ ภาพทบ่ี ้านครัง้ ที่ 2 (1-2 สัปดาห์หลังการเย่ยี มครง้ั ที่ 1) ใหก้ ารพยาบาลการดูแลสุขภาพท่ีบา้ นเหมอื นครง้ั ท1่ี ขอ้ ที่ 1-4 * ประเมนิ BI หาก ≤ 75 คะแนน และ/หรือ mRS ≥ 3 ให้มีการดูแลสขุ ภาพที่บ้านต่อในครั้งที่ 3,4 * ประเมนิ BI หาก >75 คะแนน และ/หรอื mRS < 3 ลงบันทึกพร้อมยุติการให้บริการการดูแลสุขภาพที่บ้าน และส่งต่อไปยังเครือข่ายหรือสถานบริการใกล้บ้าน รวมท้งั ให้หมายเลขโทรศัพท์ทส่ี ามารถให้ค�ำปรกึ ษาปัญหาสขุ ภาพได้ การดแู ลสุขภาพทบ่ี า้ นครง้ั ที่ 3 (3-4 สปั ดาห์หลังการเย่ยี มครง้ั ท่ี 2) ให้การพยาบาลการดูแลสุขภาพท่บี า้ นเหมือนครั้งที่1 ขอ้ ที่ 1-4 * ประเมิน BI หาก ≤ 75 คะแนน และ/หรือ mRS ≥ 3 ใหม้ ีการดแู ลสขุ ภาพที่บา้ นต่อในคร้งั ที่ 4 * ประเมนิ BI หาก >75 คะแนน และ/หรือ mRS < 3 ลงบันทึกพร้อมยุติการให้บริการการดูแลสุขภาพท่ีบ้าน และส่งต่อไปยังเครือข่ายหรือสถานบริการใกล้บ้าน รวมทง้ั ใหห้ มายเลขโทรศพั ท์ทีส่ ามารถใหค้ ำ� ปรกึ ษาปญั หาสขุ ภาพได้ การดแู ลสขุ ภาพทบี่ ้านครง้ั ท่ี 4 (3-4 สปั ดาห์หลังการเย่ียมครงั้ ท่ี 3) ใหก้ ารพยาบาลการดแู ลสขุ ภาพท่ีบา้ นเหมือนครัง้ ท่ี 1 ข้อที่ 1-4 พรอ้ มยุติการใหบ้ ริการการดแู ลสุขภาพท่บี า้ น และสง่ ต่อไปยงั เครอื ขา่ ยหรือสถานบริการใกล้บ้าน รวมท้งั เปิดโอกาสให้ปรึกษาปญั หาสขุ ภาพทางโทรศพั ทไ์ ด้ 50 แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลอื ดสมองส�ำหรับพยาบาลทวั่ ไป

เครอื ข่ายหรอื สถานบรกิ ารใกล้บา้ น จะพจิ ารณาจำ� หน่ายผปู้ ่วยจากการดแู ลสขุ ภาพท่ีบา้ น4 ดังน้ี 1. เม่ือส้ินสุดสภาพปัญหา บรรลุเป้าหมายการพยาบาลท่ีก�ำหนดร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วยมีความ พร้อมด้านความรู้ และทักษะการดูแลตนเองของผู้ป่วย ปัญหาลดความรุนแรง ผู้ป่วย ผู้ดูแลสามารถช่วยเหลือ ท�ำกิจกรรมด้วยตนเองได้ดีติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง เม่ือประเมินแล้วมั่นใจว่าผู้ป่วยและครอบครัวมีความ พรอ้ มสามารถจดั การปญั หาไดเ้ องพงึ่ พาตนเองได้ โดยประเมนิ จากการปฏบิ ตั กิ จิ วตั รประจำ� วนั (โดยใช้ BI (Barthel Index Activities of Daily Living), mRS (modified Rankin Scale) BI หาก >75 คะแนน และ/หรอื mRS < 3 โดย ประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วย ผู้ดูแล/ ครอบครัว พบว่าสามารถปฏิบัติที่วางใจได้ ประเมินสภาพบ้านและส่ิงแวดล้อม ในส่วนที่เก่ียวข้องกับวิถีชีวิตของผู้ป่วยที่ช่วยให้ผู้ป่วยด�ำเนินชีวิตอยู่ท่ีบ้านได้ ประเมินผลการรักษา การฟื้นฟูสภาพ รวมถงึ การสร้างเสรมิ สขุ ภาพ ปราศจากภาวะแทรกซ้อน 2. มกี ารยา้ ยท่ีอยู่ 3. ในกรณผี ูป้ ่วยเสียชีวติ พยาบาลผู้ให้การดูแลผู้ป่วยท่ีบ้านลงบันทึกพร้อมยุติการให้บริการการดูแลสุขภาพที่บ้าน รวมทั้งให้เบอร์ โทรศพั ท์ทีส่ ามารถใหค้ ำ� ปรึกษาปญั หาสขุ ภาพได้ Clinical Nursing Practice Guidelines for Stroke 51

ภาคผนวกที่ 8 การดูแลผปู้ ว่ ยแบบประคับประคอง (palliative care) ค�ำจำ� กดั ความ Palliative care เป็นแนวทางการดูแลที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ซึ่งเผชิญกับโรคที่ คุกคามชีวิต (Chronic illness, critical illness) โดยให้การป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมานแบบองค์รวม การวนิ ิจฉยั ผูท้ ่ตี ้องการดูแลแบบประคับประคอง แต่เนนิ่ ๆ การประเมนิ ใหค้ รอบคลมุ สมบูรณท์ ุกดา้ น ดูแลความปวด และอาการทรมานอ่นื ๆ อย่างครบองค์รวม อาจรว่ มกบั เคมบี ำ� บดั การฉายแสง และการตรวจทางหอ้ งปฏิบัติการ เพือ่ ทำ� ใหเ้ ขา้ ใจและรกั ษาภาวะแทรกซอ้ นทท่ี �ำใหเ้ กิดการทรมาน (WHO 2002) วตั ถุประสงค์ เพอ่ื 1. ประเมนิ และตรวจสอบ คน้ หาผปู้ ว่ ยทต่ี อ้ งการการดแู ลแบบประคบั ประคอง และการเขา้ ถงึ บรกิ ารการดแู ล ทเ่ี ปน็ มาตรฐาน 2. ดูแลผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลแบบประคับประคอง ครอบคลุมทุกมิติ ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม จติ วิญญาณ 3. ประสานงานทีมสหวชิ าชพี เพอ่ื ชว่ ยเหลอื ผูป้ ว่ ยในทกุ มติ ิ 4. ประสานกบั งานดแู ลตอ่ เนื่องทบี่ ้าน และส่งต่อไปยงั สถานบรกิ ารในพ้ืนท่รี บั ผดิ ชอบ 5. สง่ เสรมิ ใหผ้ ปู้ ว่ ยและญาติสามารถจัดการดูแลตนเองได้ แบบประเมนิ ระดับผ้ปู ่วยทีไ่ ด้รบั การดูแลแบบประคบั ประคอง (Palliative Performance Scale = PPS) ระดบั PPS การเคล่ือนไหว การปฏบิ ัตกิ จิ กรรมและ การท�ำกจิ วตั ร การรับประทาน ระดบั ความ รอ้ ยละ การด�ำเนนิ โรค ประจ�ำวัน อาหาร รู้สกึ ตวั ทำ� ไดเ้ อง ปกติ รู้สึกตัวดี 100 เคล่ือนไหวปกติ ท�ำกจิ กรรมและทำ� งาน ได้ตามปกตแิ ละ ท�ำไดเ้ อง ปกติ ร้สู ึกตัวดี 90 เคลอื่ นไหวปกติ ไมม่ อี าการของโรค ท�ำได้เอง ปกติ หรือลดลง รู้สึกตวั ดี 80 เคลอ่ื นไหวปกติ ท�ำกิจกรรมและท�ำงาน ได้ตามปกตแิ ละมอี าการ ของโรคบางอาการ ตอ้ งออกแรงอย่างมาก ในการทำ� กิจกรรม ตามปกติและมีอาการ ของโรคบางอาการ 52 แนวทางการพยาบาลผูป้ ว่ ยโรคหลอดเลอื ดสมองสำ� หรบั พยาบาลทัว่ ไป

ระดบั PPS การเคลื่อนไหว การปฏิบตั ิกจิ กรรมและ การท�ำกิจวตั ร การรับประทาน ระดับความ รอ้ ยละ การด�ำเนินโรค ประจำ� วนั อาหาร รสู้ ึกตัว 70 ความสามารถใน ไมส่ ามารถทำ� งานได้ตาม ท�ำไดเ้ อง ปกติ หรอื ลดลง รู้สึกตัวดี การเคลื่อนไหว ปกตแิ ละมีอาการของโรค ลดลง อยา่ งมาก 60 ความสามารถใน ไม่สามารถทำ� งานอดเิ รก ต้องการความ ปกติ หรือลดลง รสู้ กึ ตัวดี การเคล่อื นไหว หรอื งานบา้ นไดแ้ ละมี ช่วยเหลอื หรือสบั สน ลดลง อาการของโรคอย่างมาก เป็นบางครัง้ / บางเร่ือง 50 นงั่ หรอื นอน ไมส่ ามารถท�ำงานได้เลย ตอ้ งการความ ปกติ หรือลดลง ร้สู ึกตัวดี ส่วนใหญ่ และมกี ารลกุ ลามของโรค ชว่ ยเหลอื มากข้ึน หรือสับสน 40 นอนอยบู่ นเตยี ง ทำ� กิจกรรมได้นอ้ ยมาก ต้องการความ ปกติ หรอื ลดลง รูส้ กึ ตัวดี หรอื เป็นสว่ นใหญ่ และมีการลุกลามของโรค ชว่ ยเหลอื งว่ งซมึ +/-สบั สน เป็นสว่ นใหญ่ 30 นอนอยู่บนตียง ไม่สามารถทำ� กิจกรรม ตอ้ งการความ ปกติ หรอื ลดลง ร้สู กึ ตวั ดี หรือ ตลอดเวลา ใดๆ และมกี ารลกุ ลาม ชว่ ยเหลือทั้งหมด ง่วงซึม +/-สบั สน ของโรค 20 นอนอย่บู นตียง ไม่สามารถทำ� กิจกรรม ต้องการความ จบิ นำ�้ ได้ รสู้ ึกตวั ดี หรอื ตลอดเวลา ใดๆ และมีการลุกลาม ช่วยเหลือทั้งหมด เลก็ น้อย งว่ งซมึ +/-สับสน ของโรค 10 นอนอยู่บนตียง ไม่สามารถทำ� กิจกรรม ตอ้ งการความ รับประทาน งว่ งซมึ หรือ ตลอดเวลา ใดๆ และมกี ารลกุ ลาม ชว่ ยเหลือทง้ั หมด อาหารทางปาก ไม่ร้สู กึ ตัว ของโรค ไม่ได้ +/-สบั สน 0 เสียชวี ิต - -- - วธิ ีการใช้ PPS 1. ประเมินสภาวะผู้ป่วยในขณะนั้นตามความเป็นจริง ให้เร่ิมประเมินโดยอ่านตารางในแนวขวางไล่จากซ้าย ไปขวา โดยยึดคอลมั น์ซ้ายเป็นหลกั หากคอลัมนท์ างขวาไดค้ ะแนนมากกวา่ ทางซ้ายจะใหค้ ะแนนตามคอลมั น์ซ้าย 2. ไม่สามารถให้คะแนนระหว่างกลาง เช่น 65% ได้ ผู้ประเมินต้องเลือกว่าจะให้คะแนน 60% หรือ 70% ขึ้นกบั ว่าคะแนนใดใกล้เคียงความสามารถผปู้ ว่ ยในระยะเวลาประเมนิ มากท่ีสุด 3. สามารถประเมินไดใ้ นหลายๆท่ี ทงั้ ทบ่ี า้ นและโรงพยาบาล ประโยชน์ของการประเมิน PPS คือ เพ่ือใช้ติดตามผลการรักษา ประเมินภาระงานของผู้ดูแลผู้ป่วย และ ใช้ประเมินการพยากรณ์โรคโดยครา่ ว Clinical Nursing Practice Guidelines for Stroke 53

ภาคผนวกท่ี 9 ดัชนบี ารเ์ ธลเอดีแอล (Barthal ADL Index) 1. Feeding (รับประทานอาหารเม่ือเตรยี มสำ� รับไวเ้ รียบร้อยต่อหน้า) 0 = ไม่สามารถตักอาหารเขา้ ปากได้ ต้องมีคนป้อนให้ หรือรบั อาหารทางสายยาง 5 = ตักอาหารเองได้ แต่ต้องมคี นช่วย เชน่ ช่วยใช้ชอ้ นตักเตรยี มไว้ให้ หรือ ตดั ใหเ้ ปน็ ช้ินๆ ได้ลว่ งหนา้ 10 = ตักอาหารและชว่ ยตวั เองไดเ้ ปน็ ปกติ เมอื่ เตรียมอาหารวางไว้ให้ 2. transfers (ลุกจากท่ีนอน หรอื จากเตียงไปยงั เกา้ อ้)ี 0 = ไมส่ ามารถน่งั ได้ (นั่งแลว้ จะล้มเสมอ) หรอื ต้องใช้คน 2 คน ชว่ ยกนั ยกขน้ึ 5 = ต้องการความช่วยเหลืออยา่ งมากจึงจะนง่ั ได้ เชน่ ต้องยกใช้คนที่แขง็ แรงหรอื มีทักษะ 1 คน หรอื ใชค้ นทั่วไป 2 คน พยงุ หรือดนั ขึ้นจงึ นงั่ อยูไ่ ด้ 10 = ตอ้ งการความชว่ ยเหลอื บา้ งเชน่ ยกใหท้ ำ� ตามหรือช่วยพยงุ เลก็ น้อย หรือต้องมีคนดูแลเพ่ือความ ปลอดภยั 15 = ทำ� ได้เอง 3. Grooming (ล้างหนา้ หวผี ม แปรงฟัน โกนหนวดในระยะเวลา 24-48 ช่ัวโมง ทผ่ี า่ นมา) 0 = ตอ้ งมีคนชว่ ยเหลือ 5 = ท�ำเองได้ 4. Toilet Use (การเขา้ หอ้ งน้ำ� ) 0 = ช่วยตัวเองไมไ่ ด้ 5 = ทำ� เองได้บ้าง (อย่างนอ้ ยท�ำความสะอาดตวั เองได้หลังจากเสร็จธุระ) แตต่ อ้ งการความชว่ ยเหลือ ในชว่ ยบางส่ิง 10 = ช่วยตัวเองได้ดี (ข้ึนน่ังและลงจากโถส้วมได้เอง ท�ำความสะอาดได้เรียบร้อยหลังจากเสร็จธุระ ถอดใส่เสอื้ ผ้าไดเ้ รียบรอ้ ย) 5. Bathing (การอาบน้ำ� เช็ดตัว) 0 = ต้องมคี นช่วยหรอื ทำ� ให้ 5 = อาบน�้ำได้เอง 6. Mobility (การเคลื่อนทีภ่ ายในหอ้ งหรอื ในบ้าน) 0 = เคล่อื นทไ่ี ปไหนไมไ่ ด้ 5 = ตอ้ งใชร้ ถเขน็ ชว่ ยตวั เองใหเ้ คลอ่ื นทไี่ ดเ้ อง (ไมต่ อ้ งมคี นเขน็ ให)้ และจะตอ้ งเขา้ มมุ หอ้ งหรอื ประตไู ด้ 10 = เดินหรือเคลื่อนท่ีโดยมีคนช่วย เช่น พยุงหรือบอกให้ท�ำตามหรือต้องให้ความสนใจดูแลเพื่อ ความปลอดภยั 15 = เดนิ หรือเคลอื่ นที่ไดเ้ อง อาจใชไ้ ม้เทา้ หรอื เครื่องพยงุ เดิน 54 แนวทางการพยาบาลผ้ปู ว่ ยโรคหลอดเลือดสมองสำ� หรับพยาบาลทั่วไป

7. Stairs (การขึน้ ลงบันได 1 ขั้น) 0 = ไม่สามารถท�ำได้ 5 = ตอ้ งการคนช่วยเหลือ 10 = ขึน้ บันไดเองได้ (ถา้ ตอ้ งใช้เครื่องชว่ ยเดนิ เช่น walker จะช่วยเอาข้ึนลงไดด้ ้วย) 8. Dressing (การสวมใสเ่ สือ้ ผา้ ) 0 = ตอ้ งมีคนสวมใสใ่ ห้ ช่วยตัวเองแทบไมไ่ ดห้ รอื ไดน้ ้อย 5 = ช่วยตวั เองได้ราวรอ้ ยละ 50 ท่ีเหลือตอ้ งมคี นช่วย 10 = ช่วยตัวเองได้ดี (รวมทั้งการติดกระดมุ รดู ซิบ หรอื ใสเ่ สอ้ื ผ้าทีด่ ดั แปลงให้เหมาะสมก็ได้) 9. Bowels (การกล้ันอุจจาระในระยะ 1 สัปดาหท์ ่ผี ่านมา) 0 = กล้นั ไม่ไดห้ รอื ต้องการการสวนอุจจาระอยเู่ สมอ 5 = กลน้ั ไมไ่ ด้เป็นบางครั้ง (เป็นน้อยกว่า 1 ครั้งตอ่ สปั ดาห)์ 10 = กลั้นได้เป็นปกติ 10. Bladder (การกลัน้ ปสั สาวะในระยะ 1 สัปดาหท์ ผ่ี ่านมา) 0 = กล้นั ไม่ไดห้ รือใสส่ ายสวนปัสสาวะ แตไ่ มส่ ามารถดแู ลเองได้ 5 = กลัน้ ไมไ่ ด้เป็นบางครัง้ (เปน็ นอ้ ยกว่าวันละ 1 ครง้ั ) 10 = กล้ันไดเ้ ป็นปกติ การแปลผล (คะแนนเต็ม 0-100) 0 – 20 ไม่สามารถปฏบิ ัติกจิ วัตรประจำ� วันไดเ้ ลย (very severely disabled) 25 – 45 สามารถปฏบิ ัติกิจวัตรประจ�ำวันไดเ้ ลก็ นอ้ ย (severely disabled) 50 – 70 สามารถปฏิบตั ิกจิ วัตรประจำ� วันไดป้ านกลาง (moderately disabled) 75 – 90 สามารถประกอบกจิ วัตรประจำ� วันไดม้ าก (mildly disabled) 100 สามารถประกอบกิจวัตรประจ�ำวันได้ด้วยตนเองทั้งหมด (Physically Independent but not necessary normal or social independent) Clinical Nursing Practice Guidelines for Stroke 55

ภาคผนวกท่ี 10 PRASAT NEUROGICAL INSTITUTE THROMBOLYSIS CHECK LIST Date:…../………/…….. Time: Symptom onset …………. rt-PA given:………..NIHSS…………..Attending staff…. Inclusion Criteria (must all be YES) 1. Age 18 years or older Yes No 2. Time of onset well established to be less than 4.5 hours Yes No 3. Clinical diagnosis of ischemic stroke causing a measurable neurological deficit Yes No 4. CT without hemorrhage or significant edema Yes No Exclusion Criteria (must all be NO) 1. SBP≥185 or DBP≥110 Yes No 2 . Symptoms rapidly improving or minor symptoms (NIHSS=0-3), Except aphasia or hemianopia Yes No 3. Coma or severe obtundation (or NIHSS>25) 4. Seizure at onset Yes No 5. Symptoms of subarachnoid hemorrhage (Sudden onset diffuse headache, stiffness of neck) Yes No 6. Prior stroke or head trauma within 3 months Yes No 7. Major surgery within 14 days Yes No 8. Prior intracranial hemorrhage Yes No 9. GI hemorrhage or urinary tract hemorrhage within 21 days Yes No 56 แนวทางการพยาบาลผปู้ ว่ ยโรคหลอดเลือดสมองสำ� หรับพยาบาลท่ัวไป

10. Arterial puncture at a non compressible site or LP within 7 days Yes No 11. Recent Myocardial infarction Yes No 12. Patients receiving heparin within 48 hrs and with an elevated PTT Yes No 13. PT ≥ 15 or INR ≥ 1.7 Yes No 14. Platelet count < 100,000 Yes No 15. Plasma glucose < 50 or >400 Yes No 16. Hematocrit <25% Yes No Contraindication in case that patient will be treated after stroke onset 3 hrs but less than 4.5 hrs as following 1. Age >80 years old Yes No 2. Combination of both previous ischemic stroke and DM Yes No 3. NIHSS >25 Yes No 4. Oral anticoagulants use regardless of INR Yes No Treatment total dose to be given (0.9mg/kg) Weight (kg)……….× 0.9 mg =……………….mg (ml) (maximum 90 mg) Give 10% bolus>1 minute =…………….mg(ml), Give remaining 90% constant infusion > 60 minutes =……………..mg(ml) M.D. Physician Signature……………………………… Clinical Nursing Practice Guidelines for Stroke 57

NIHSS SCORE Patient’s name.........................................HN.....................AN.……………..ward............................................ Date/Time of stroke onset……………………………….Dx…………………………………………………… NIHSS ITEM SCORE DEFINITION Date/Time 1a. Level of Consciousness: 0 = Alert and responsive 1 = Response to minor stimulation 2 = Response to painful stimulation 3 = Reflex motor or unresponsive 1b. Questions: Ask patient’s 0 = Correctly answers both questions age and month 1 = Correctly answers one question 2 = Does not correctly answer either question 1c. Commands :Open and close the 0 = Correctly performs both tasks eyes grip / release hand 1 = Correctly performs one task 2 = Does not correctly perform either task 2. Best Gaze: Horizontal EOM by 0 = Normal; Able to follow pen or finger to both sides voluntary or doll’s 1 = Partial gaze palsy; gaze is abnormal in one or both eyes 2 = Total gaze paresis; gaze is fixed to one side 3. Visual fields : 0 = No vision loss R/L Fields of good eye 1 = Partial hemianopia or complete quadrantanopia; patient recognizes no visual stimulus in one specific quadrant 2 = Complete hemianopia; patient recognizes no visual stimulus in one half of the visual field 3 = Bilateral Blindness, including blindness from any cause 4. Facial Palsy : Check symmetry of 0 = Normal and symmetrical movement R/L grimace to pain 1 = Minor paralysis; function is less than clearly normal, such as flattened nasolabial fold (flat NLF) or minor asymmetry in smile 2 = Partial paralysis; particularly paralysis in lower face (UMN) 3 = Complete facial Hemiparesis, total paralysis in upper and lower portions of one face side (UMN&LMN) 58 แนวทางการพยาบาลผูป้ ่วยโรคหลอดเลอื ดสมองสำ� หรับพยาบาลท่ัวไป

NIHSS ITEM SCORE DEFINITION Date/Time R/L 5. Motor Arm: arms outstretched 0 = No arm drift; the arm remains in the initial 90 degrees (if sitting) 45 degrees position for the full 10 seconds R/L (if supine). drift is scored if the arm 1 = Drift; the arm drifts to an intermediate position falls for 10 secs prior to the end of the full 10 seconds R/L 2 = Some effort R/L 3 = No effort against gravity effort R/L 4 = No movement at all X = Unable to assess(amputation) R/L R/L 6. Motor Leg: raise leg to 30 degrees 0 = No drift (supine) drift fore 5 secs. 1 = Drift 2 = Some effort 3 = No effort against gravity effort 4 = No movement at all X = Unable to assess(amputation) 7. Limb Ataxia: finger 0 = No ataxia or nose or heel to shin 1 = Ataxia in upper or lower ext. 2 = Ataxia in upper & lower ext. X = Unable to assess(amputation) 8. Sensory: Only stroke –related 0 = Normal loss 1 = Mild-to-moderate sensory loss 2 = Total loss , coma bilateral loss. 6. Motor Leg: raise leg to 30 degrees 0 = No drift (supine) drift fore 5 secs. 1 = Drift 2 = Some effort 3 = No effort against gravity effort 4 = No movement at all X = Unable to assess(amputation) 7. Limb Ataxia: finger 0 = No ataxia or nose or heel to shin 1 = Ataxia in upper or lower ext. 2 = Ataxia in upper & lower ext. X = Unable to assess(amputation) 8. Sensory: Only stroke –related 0 = Normal loss 1 = Mild-to-moderate sensory loss 2 = Total loss, coma bilateral loss. 9. Best Language: name object, 0 = Normal. read sentences, writing 1 = Mild to moderate aphasia. 2 = Severe aphasia. 3 = Mute, global aphasia, coma. Clinical Nursing Practice Guidelines for Stroke 59

NIHSS ITEM SCORE DEFINITION Date/Time 10. Dysarthria 0 = Normal. 1 = Mild to moderate slurred 2 = Severe : unintelligible or mute X = Intubation 11. Extinction / Neglect simultaneous 0 = Normal touch & visual filed test 1 = Neglect to double simultaneous stimulation in any modality 2 = Both neglect Total Score The level of stroke severity as measured by the NIHSS scoring system 0 = No stroke 1- 4 = Minor stroke 5-15 = Moderate stroke 15-20 = Moderate to severe stroke 21-42 = Severe stroke 60 แนวทางการพยาบาลผปู้ ว่ ยโรคหลอดเลือดสมองส�ำหรบั พยาบาลทั่วไป

แบบประเมนิ NIHSS Patient’s name………………………..……………HN…..………..AN……..……… Ward…………………… หวั ข้อประเมนิ SCORE DEFINITION Date/Time 1.1a ระดบั ความความร้สู ึกตวั 0 = รสู้ กึ ตวั ดี ตอบสนองเปน็ ปกติ 1 = งว่ งซมึ ปลุกตนื่ งา่ ยเมอ่ื ต่นื ตอบคำ� ถามถูก ท�ำตามสั่งได้ 2 = ซึมมากต้องกระตนุ้ แรงๆ หรือกระตนุ้ pain ถงึ เคลอ่ื นไหว 3 = ไมต่ อบสนองแตส่ ามารถตรวจพบ reflex ได ้ 1b ถามเดอื นและอายุ ใชค้ �ำตอบแรกที่ 0 = ตอบได้ถูกต้องท้งั 2 ค�ำถาม ผ้ปู ่วยตอบ 1 = ตอบถกู หนึ่งค�ำถาม 2 = ไม่สามารถตอบไดห้ รอื ตอบผิดท้ัง 2 ข้อ 1c ให้หลับตาลืมตา และก�ำมือแบมอื 0 = ทำ� ไดถ้ ูกตอ้ งทัง้ 2 อย่าง 1 = ทำ� ถูกตอ้ งเพียงอย่างเดียว 2 = ไม่ท�ำตามส่งั หรือท�ำไม่ถกู ต้อง 2. การเคลือ่ นไหวของตา (ใหผ้ ู้ป่วย 0 = มองตามไดต้ ามปกติ กลอกตาได้ปกติ ทกุ ทศิ ทาง กลอกตาไปมา มองซา้ ยขวาขนึ้ บนลงลา่ ง) 1 = ตาข้างใดขา้ งหนงึ่ หรือทัง้ สองขา้ งเหลอื บมองไปดา้ นขา้ งไม่สดุ 2 = กลอกตาไม่ได้ เลยหรือตามองไปด้านใดด้านหน่ึงตลอดเวลา 3. การมองเห็น 0 = มองเหน็ ปกติ ลานสายตาปกติ (ให้ผู้ปว่ ยมองตามน้ิวผ้ตู รวจ) 1 = ลานสายตาผิดปกติบางสว่ น (partial hemianopia) 2 = ลานสายตาผดิ ปกตผิ ดิ ปกตคิ รงึ่ ซกี (complete hemianopia) 3 = มองไม่เห็นทัง้ 2 ตา (ตาบอด) 4. การเคล่ือนไหวของ กล้ามเน้ือใบหนา้ 0 = ไมพ่ บอาการออ่ นแรงของใบหนา้ เคลอ่ื นไหวกลา้ มเนอื้ ใบหนา้ (ใหผ้ ปู้ ว่ ยหลับตา ยกั ค้ิวและยิงฟนั ) ได้ปกติ 1 = กลา้ มเนอ้ื ใบหน้าออ่ นแรงเลก็ น้อย สังเกตเห็นมุมปากตกหรอื ไม่เทา่ กันเม่อื ยิ้ม 2 = กล้ามเนือ้ ใบหน้าอ่อนแรงมาก ไมส่ ามารถขยับมมุ ปากได้ แตย่ งั หลับตาและยิงฟันได้บ้าง 3 = ไม่สามารถเคลื่อนไหวกล้ามเน้อื ใบหนา้ ข้างใดข้างหนึ่งหรอื ทง้ั 2 ข้างได้เลยหลับตาไมส่ นิทยิงฟนั ไม่ได้ 5. ก�ำลังกล้ามเนื้อแขน ให้ผู้ป่วยนั่ง 0 = ปกติไม่มกี ารออ่ นแรงสามารถยกแขนไดน้ าน 10 วินาที R/L (ถา้ นงั่ ได)้ แลว้ ยกแขน 90 องศาหรอื นอน 1 = มกี ารอ่อนแรง ยกแขนไม่ได้ถึง 10 วินาทีแตแ่ ขนไมต่ กลง และยกแขน 45 องศา บนเตียง 2 = ยกแขนตา้ นแรงโน้มถ่วงของโลกไดบ้ า้ ง แตต่ กลงบนเตยี ง อย่างรวดเร็ว 3 = ไม่สามารถยกแขนขึ้นตา้ นแรงโนม้ ถว่ งของโลกได้ 4 = ไม่สามารถยกแขนข้ึนได้ 5 = ไม่มกี ารเคลอ่ื นไหวของกล้ามเน้อื แขน UN = แขนพิการหรอื ถกู ตดั หรอื พบมีปญั หาขอ้ ยดึ ตดิ ทไี่ ม่สามารถ แปลผลการตรวจได้ Clinical Nursing Practice Guidelines for Stroke 61

หัวขอ้ ประเมิน SCORE DEFINITION Date/Time 6. ก�ำลังกล้ามเนื้อขาให้ผู้ป่วยนอนหงาย 0 = ปกติไมม่ กี ารออ่ นแรงเมอื่ ยกขาทำ� มุม 30 องศา R/L บนเตยี ง แล้วยกขาขนึ้ 30 องศา ยกได้นานตลอด 5 วนิ าที นาน 5 วนิ าที 1 = มีการอ่อนแรงเลก็ น้อย ยกขาไดไ้ ม่ถึง 5 วนิ าที แตข่ าไมต่ กลงบนเตยี ง 2 = สามารถยกขาได้ แตต่ กลงอย่างรวดเรว็ กอ่ น 5 วนิ าที 3 = ไม่สามารถยกขาขน้ึ จากเตียงในทา่ นอนหงาย 4 = ไมม่ ีการเคลื่อนไหวของกล้ามเน้อื ขา UN = ขาพกิ ารหรือถกู ตดั หรือพบมีปัญหาขอ้ ยึดติดท่ไี ม่สามารถ แปลผลการตรวจได้ 7. การประสานงานของ แขน ขา (Ataxia) 0 = การประสานงานของกลา้ มเนื้อ แขน ขา ท้งั 2 ข้างเป็นปกติ 1 = มปี ญั หาการประสานของแขนหรือขา 1 ข้าง 2 = มปี ญั หาการประสานของแขนหรอื ขา 2 ขา้ ง UN = แขนหรอื ขาพิการหรือถูกตัด หรือพบมีปัญหาขอ้ ยึดตดิ ท่ีไม่สามารถแปลผล การตรวจได้ 8. การรับความรู้สกึ 0 = การรบั ความร้สู กึ เปน็ ปกติ 1 = สญู เสยี การรับความรสู้ ึกเล็กนอ้ ยถึงปานกลาง เมือ่ ใช้ ของแหลมทดสอบจะรสู้ กึ ลดลงแต่สามารถบอกไดถ้ งึ ความร้สู ึกในบรเิ วณท่ถี กู กระตุน้ 2 = สูญเสยี การรบั ความรสู้ กึ ในระดบั รนุ แรง หรอื ไม่รู้สกึ วา่ ถูกสัมผสั บรเิ วณใบหน้าและแขนขา 9. ความสามารถดา้ นการใช้ภาษา 0 = การสอ่ื ภาษาปกติ (ให้ผปู้ ่วยบอก ใหผ้ ูป้ ว่ ยดูภาพแลว้ 1= มคี วามผิดปกติในการสื่อภาษาเลก็ นอ้ ยถงึ ปานกลางพูดตะกกุ บรรยายภาพ หรือบอกชอ่ื ส่ิงของ ที่มองเห็น) ตะกกั หรือไม่เขา้ ใจรูปภาพบา้ งแตผ่ ูท้ ดสอบยงั พอเข้าใจได้ว่า ผปู้ ่วยพูดอะไร 2 = มีความผดิ ปกตใิ นการสือ่ ทางภาษาอย่างรุนแรง ผู้ปว่ ย ไม่สามารถบรรยายภาพไดผ้ ้ทู ดสอบไม่สามารถเข้าใจ ได้ว่าผู้ป่วยพูดอะไร 3 = ไมพ่ ดู เลย หรือไม่สามารถเขา้ ใจภาษาท่ีผ้ตู รวจพยายามสอื่ และไม่สามารถแสดงท่าทาง พดู หรอื เขยี นใหผ้ อู้ น่ื เขา้ ใจได้ (global aphasia) 10. การออกเสียงพดู 0 = เปลง่ เสยี งพูดได้ชดั เจนเปน็ ปกติ 1 = พูดไมช่ ดั เล็กน้อยถงึ ปานกลาง แตผ่ ู้ตรวจสามารถฟังรู้เร่อื ง 2 = พูดไม่ชดั อยา่ งมาก หรือไม่พดู ไม่สามารถเข้าใจค�ำพดู ของ ผปู้ ่วยได้ 3 = ผปู้ ว่ ยใสท่ ่อชว่ ยหายใจหรือมีภาวะอยา่ งอ่ืนทที่ �ำให้ไมส่ ามารถ พูดได้ 62 แนวทางการพยาบาลผปู้ ่วยโรคหลอดเลือดสมองสำ� หรับพยาบาลท่ัวไป

หัวข้อประเมนิ SCORE DEFINITION Date/Time 11. การขาดความสนใจในดา้ นใด 0 = ไมม่ คี วามผดิ ปกติ ด้านหนึ่งของร่างกาย 1 = พบความผดิ ปกติของการรบั ร้ชู นิดใดชนิดหน่งึ ดังต่อไปน้ีคือ การมองเหน็ การสมั ผสั หรอื การได้ยิน เมื่อมีการกระตุ้น ทั้ง 2 ขา้ งพร้อมๆกนั 2 = มีความผิดปกตขิ องการรับร้มู ากกว่า 1 ชนิด หรือผปู้ ว่ ยไม่รับรู้ วา่ เป็นมือของตนเองหรือสนใจส่งิ กระต้นุ เพียงด้านเดยี ว รวมคะแนน ลงชือ่ ผู้ประเมนิ หมายเหตุ เอกสารแปลจาก NIHSS siriraj THE MODIFIED RANKIN SCALE (mRS) Patient’s name………………………..……………HN…..……….AN……..……… Ward…………………… SCORE DESCRIPTION DATE / SCORE 0 No symptoms at all. 1 No significant disability despite symptoms; able to carry out all usual duties and activities. 2 Slight disability; unable to carry out all previous activities, but able to look after own affairs without assistance. 3 Moderate disability; requiring some help, but able to walk without assistance. 4 Moderately severe disability; unable to walk without assistance and unable to attend to own bodily needs without assistance. 5 Severe disability; bedridden, incontinent and requiring constant nursing care and attention. 6 Dead. TOTAL Signs Clinical Nursing Practice Guidelines for Stroke 63

ภาคผนวกท่ี 11 สถานบรกิ ารทส่ี ามารถใหบ้ ริการผูป้ ่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ตลอด 24 ชั่วโมง จะตอ้ งประกอบด้วยสว่ นต่างๆ ดงั น้ี 1. มีประสาทแพทย์/ศัลยแพทย์/แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน/อายุรแพทย์ท่ีสามารถให้การดูแลรักษาผู้ป่วย โรคหลอดเลอื ดสมอง 2. มปี ระสาทศัลยแพทยท์ ส่ี ามารถผา่ ตดั ไดใ้ นกรณีเกดิ ภาวะแทรกซ้อนจากการใหย้ า 3. มี CT Scan ในหน่วยบรกิ ารหรอื สถานทีใ่ กล้เคยี ง 4. มีห้องปฏิบตั ิการทีส่ ามารถตรวจเลือด coagulogram, electrolyte, CBC, FBS, BUN, Cr และสามารถหา สว่ นประกอบของเลือดได้ เช่น fresh frozen plasma, platelet concentrate, cryoprecipitate, pack red cell เปน็ ตน้ 5. มี ICU/ Stroke unit / Stroke corner เพื่อให้การดแู ลรกั ษาผปู้ ่วยโรคหลอดเลือดสมอง และสามารถให้ การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดด�ำ (thrombolytic agent) ท้ังน้ีขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และ บรบิ ทของแต่ละหน่วยงาน 6. มกี ารส�ำรองยาละลายล่ิมเลือดทางหลอดเลอื ดด�ำ (thrombolytic agent) ไว้ในบริเวณทใ่ี หก้ ารรักษา เชน่ ER / ICU /Stroke Unit ทัง้ นข้ี ึน้ อยกู่ ับบริบทของแตล่ ะหนว่ ยงาน 64 แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองส�ำหรับพยาบาลท่วั ไป

รายช่ือโรงพยาบาลเครอื ข่ายหนว่ ยบริการโรคหลอดเลือดสมองแบง่ ตามเขตบริการสุขภาพ 13 เขต เขต 1 มี 6 จังหวดั จังหวดั ร.พ. ระดบั Stroke Stroke Thrombolytic Unit Corner agent 1. เชียงราย รพ.เชยี งรายประชานุเคราะห์ A √ √ รพ.เชยี งแสน M1 - - 2. ล�ำปาง รพศ.ล�ำปาง A - - √ 3. เชียงใหม่ รพ.มหาราชนคร เชยี งใหม่ ทบวง √ - √ มหาวิทยาลยั √ - กรมการแพทย์ 4. ล�ำพนู รพ.ประสาทเชยี งใหม่ เอกชน √ -√ 5. น่าน รพ.เชียงใหม่ราม เอกชน √ -√ 6. พะเยา รพ.เทพปัญญา เอกชน - -- รพ.ลานนา M1 - -- รพ.จอมทอง A - -- รพ.นครพิงค์ S √ -- รพ.ลำ� พูน S √ -√ รพ.น่าน M1 √ -√ รพ.เชยี งค�ำ - -√ เขต 2 มี 3 จงั หวดั จงั หวดั ร.พ. ระดับ Stroke Stroke Thrombolytic Unit Corner agent 1. ตาก รพศ.สมเดจ็ พระเจา้ ตากสินมหาราช S √- √ รพ.แม่สอด 2. พิษณโุ ลก รพ.พทุ ธชินราช S √- √ 3. เพชรบูรณ์ รพ.เพชรบรู ณ์ A √- √ S -√ √ เขต 3 มี 4 จังหวดั จังหวดั ร.พ. ระดบั Stroke Stroke Thrombolytic Unit Corner agent 1. ชัยนาท รพ.ชัยนาทนเรนทร S -√ - 2. พจิ ิตร รพ.พจิ ิตร 3. นครสวรรค์ รพ.สวรรค์ประชารักษ์ S -√ √ 4. อุทัยธานี รพ.อทุ ยั ธานี A -- √ S -√ √ Clinical Nursing Practice Guidelines for Stroke 65

เขต 4 มี 8 จังหวัด จังหวดั ร.พ. ระดบั Stroke Stroke Thrombolytic Unit Corner agent 1. นครนายก รพ.นครนายก M1 √ √ 2. นนทบรุ ี รพ.พระนงั่ เกล้า A √ - √ 3. ปทมุ ธานี รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกยี รติ ทบวง √ - √ มหาวทิ ยาลยั - S √ รพ.ปทุมธานี A √ -√ A - √ 4. พระนครศรอี ยุธยา รพ.พระนครศรีอยธุ ยา A √ M1 √ √√ 5. ลพบรุ ี รพ.พระนารายณม์ หาราช เอกชน - -√ S √ -√ 6. สระบรุ ี รพศ.สระบุรี S √ -√ -√ รพ.พระพุทธบาท -√ รพ.เกษมราษฏร์ สระบรุ ี 7. สงิ หบ์ ุรี รพ.สิงหบ์ รุ ี 8 .อา่ งทอง รพท.อ่างทอง เขต 5 มี 7 จังหวัด จังหวัด ร.พ. ระดับ Stroke Stroke Thrombolytic Unit Corner agent 1. กาญจนบรุ ี รพ.มะการกั ษ์ M1 √ รพ.พหลพลพยุหเสนา S - - √ 2. นครปฐม รพ.นครปฐม A - - √ 3. เพชรบรุ ี รพ.พระจอมเกล้า S √ √ - 4. ประจวบครี ขี นั ธ์ รพ.หวั หิน S - √ √ 5. ราชบรุ ี รพศ.ราชบุรี A - √ √ 6. สมุทรสงคราม รพ.สมเดจ็ พระพทุ ธเลศิ หลา้ นภาลยั S - √ √ 7. สมทุ รสาคร รพ.สมทุ รสาคร A - √ √ รพ.มหาชัย เอกชน - - √ รพ.กระทุ่มแบน M1 √ - √ รพ.บา้ นแพว้ องค์การมหาชน - - √ รพ.สมเด็จพระสังฆราช องคท์ ี่ 17 M1 - - √ - - 66 แนวทางการพยาบาลผปู้ ่วยโรคหลอดเลือดสมองส�ำหรบั พยาบาลท่วั ไป

เขต 6 มี 8 จังหวดั จังหวดั ร.พ. ระดบั Stroke Stroke Thrombolytic Unit Corner agent 1. จนั ทบรุ ี รพ.พระปกเกล้า A √- √ 2. ฉะเชิงเทรา รพ.พทุ ธโสธร 3. ชลบุรี รพศ.ชลบุรี A √- √ 4. ตราด รพ.ตราด 5. ปราจีนบุรี รพศ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร A √- √ รพ.กบินทรบ์ รุ ี 6. ระยอง รพศ.ระยอง S -√ √ 7. สระแกว้ รพ.สมเด็จพระยุพราชสระแก้ว รพ.อรัญประเทศ A √- √ 8. สมุทรปราการ รพ.จฬุ ารตั น์ 3 รพ.สำ� โรงการแพทย์ M1 - - √ A √- √ S √- √ M1 - - - เอกชน √ - √ เอกชน √ - √ เขต 7 มี 4 จังหวดั จังหวัด ร.พ. ระดบั Stroke Stroke Thrombolytic Unit Corner agent 1. กาฬสินธ์ุ รพ.กาฬสนิ ธุ์ S √ √ 2. ขอนแกน่ รพศ.ขอนแก่น A √ - √ รพ.ศรีนครินทร์ ขอนแก่น ทบวง √ - √ มหาวทิ ยาลยั - A √ 3. มหาสารคาม รพ.มหาสารคาม A √ -√ 4. ร้อยเอด็ รพ.รอ้ ยเอ็ด -√ เขต 8 มี 6 จงั หวดั จังหวัด ร.พ. ระดับ Stroke Stroke Thrombolytic Unit Corner agent 1. นครพนม รพ.นครพนม S √- √ 2. เลย รพ.เลย 3. สกลนคร รพ.สกลนคร S √- √ รพ.พระยพุ ราชสวา่ งแดนดิน 4. หนองคาย รพ.หนองคาย A -√ √ 5. หนองบวั ล�ำภู รพ.หนองบัวลำ� ภู 6. อุดรธานี รพศ.อุดรธานี M1 - √ √ S √- √ S -- - A √- √ Clinical Nursing Practice Guidelines for Stroke 67

เขต 9 มี 4 จังหวดั จงั หวดั ร.พ. ระดบั Stroke Stroke Thrombolytic Unit Corner agent 1. ชัยภูมิ รพ.ชยั ภูมิ S -√ √ 2. นครราชสมี า รพ.มหาราชนครราชสมี า 3. บรุ รี มั ย์ รพ.บรุ รี มั ย์ A -√ √ 4. สุรินทร์ รพ.สรุ นิ ทร์ A -√ √ A √- √ เขต 10 มี 3 จงั หวดั จงั หวัด ร.พ. ระดับ Stroke Stroke Thrombolytic Unit Corner agent 1. ศรสี ะเกษ รพ.ศรีสะเกษ S -√ √ 2. อุบลราชธานี รพ.สรรพสิทธปิ ระสงค์ 3. อำ� นาจเจริญ รพ.อ�ำนาจเจรญิ A √- √ S -√ √ เขต 11 มี 5 จงั หวัด จังหวดั ร.พ. ระดับ Stroke Stroke Thrombolytic Unit Corner agent 1. กระบ่ี รพ.กระบี่ S √- √ 2. นครศรธี รรมราช รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช 3. ภเู ก็ต รพ.วชิระภูเกต็ A √- √ 4. ระนอง รพ.ระนอง 5. สุราษฎรธ์ านี รพ.สุราษฎร์ธานี S -√ √ รพ.เกาะสมยุ S -- √ A √- √ M1 - - √ เขต 12 มี 7 จงั หวัด จงั หวดั ร.พ. ระดบั Stroke Stroke Thrombolytic Unit Corner agent 1. ตรงั รพ.ตรงั A √- √ 2. นราธวิ าส รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ รพ.สุไหงโกลก S -- √ 3. ปัตตานี รพ.ปัตตานี 4. พทั ลุง รพ.พัทลงุ M1 - - √ 5. ยะลา รพ.ยะลา 6. สงขลา รพ.หาดใหญ่ S -- √ รพ.สงขลา 7. สตลู รพ.สตูล S -- √ A √- √ A √- √ S -- √ S -√ √ 68 แนวทางการพยาบาลผปู้ ่วยโรคหลอดเลือดสมองสำ� หรบั พยาบาลทัว่ ไป

เขต 13 กรงุ เทพมหานคร สังกัด Stroke Stroke Thrombolytic Unit Corner agent จังหวัด กรมการแพทย์ √ √ กรุงเทพมหานคร √ - √ 1. สถาบนั ประสาทวทิ ยา กรมการแพทย์ √ - √ 2. รพ.ตากสนิ ทบวงมหาวทิ ยาลัย √ - √ 3. รพ.เลดิ สิน กระทรวงกลาโหม - √ 4. รพ.จุฬาลงกรณ์ - √ √ 5. รพ.พระมงกฎุ เกล้า เอกชน √ - √ 6. รพ.วภิ าราม เอกชน √ - √ 7. รพ.เกษมราษฎร์ ประชาช่นื เอกชน √ - √ 8. รพ.เกษมราษฎร์ รตั นาธิเบศร์ เอกชน √ - √ 9. รพ.เกษมราษฎร์ บางแค เอกชน √ - √ 10. รพ.เปาโลเมโมเรียล เอกชน √ - √ 11. รพ.พญาไท 1 เอกชน - - - 12. รพ.เสรีรักษ์ กรมการแพทย์ - - - 13. รพ.นพรตั นราชธานี กรมการแพทย์ - - √ 14. รพ.สงฆ์ เอกชน √ - √ 15. รพ.พญาไท 2 เอกชน - √ 16. รพ.พญาไท 3 หมายเหตุ ข้อมูลรายช่อื โรงพยาบาลเครือข่ายส�ำรวจล่าสดุ สงิ หาคม 2558 การแบง่ ระดบั โรงพยาบาล A (Advance-level Hospital) เป็นโรงพยาบาลศูนย์ ขนาด 500 เตียง S (Standard-level Hospital) เปน็ โรงพยาบาลทั่วไปขนาดประมาณ 200-500 เตยี ง กำ� หนดให้เป็นโรงพยาบาล รับส่งต่อผปู้ ่วยระดับกลาง (ระดบั M1) M1 โรงพยาบาลท่วั ไปขนาดเล็ก กำ� หนดใหเ้ ปน็ โรงพยาบาลรบั สง่ ตอ่ ผูป้ ว่ ยระดบั กลาง Clinical Nursing Practice Guidelines for Stroke 69

เอกสารอา้ งอิง 1. นิพนธ์ พวงวรินทร์. Epidemiology of stroke. ใน: นิพนธ์พวงวรินทร์, โรคหลอดเลือดสมอง.ฉบับเรียบเรียงครั้งท่ี 2. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ;์ 2544: หน้า 1-37. 2. ทัศนีย์ ตนั ติฤทธศิ ักดิ์ (บรรณาธิการ). สถาบนั ประสาทวทิ ยา.แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตบี หรืออดุ ตนั สำ� หรบั แพทย์ ฉบับปรับปรุงครง้ั ที่ 2 พ.ศ.2555. 3. Shimamoto T, lso H, lida M, Komachi Y. Epidemiology of cerebrovascular disease : stroke epidemic in Japan. J Epidemiot 1996; 6(Suppl lll): 543-47. 4. Ministry of Public Health. Burden of disease and injuries in Thailand priority setting for policy.Nonthaburi: 73-5, 82; 2005. 5. Ministry of public health. Bundhamcharoen K, Teerawattananon Y, Theo V, Begg S. Burden of disease and injuries in Thailand priority setting for policy. Nonthaburi : A14-6,58; 2002 . 6. World Health Organization Meeting on Community Control of Stroke and Hypertension. Control of stroke in the community: methodological considerations and protocol of WHO stroke register. CVD/s/73.6 Geneva: WHO, 1973. 7. Adams HP Jr, del Zoppo GS, Alberts MJ, Bhatt DL, Furlan A, et al. Guidelines for the early management of adults with ischemic stroke: a guideline from the American Heart Association/ American Stroke Association Stroke Council, Clinicail Cardioiogy Council, Cardiovascular Radioiogy and lntervention Council, and the Atherosclerotic Peripheral Vascular Disease and Quality of Care Outcomes in Research lnterdisciplinary Working Groups: the American Academy of Neurology affirms value the this guideline as an educational tool for neuroloqists. Stroke 2007;38:1655-711. 8. American Stroke Association. Know the warning signs of stroke [online]. 2002 [cited 2002 December 11]. Available from : URL:// www.strokeassociation.org/presenter.jhtml?identifier = 1020. 9. Harbison J, Hossain O, Jenkinson D, Davis J, Louw SJ, Ford GA. Diagnostic accuracy of stroke referrals from primary care, emergency room physicians, and ambulance staff using the face arm speech test. Stroke 2003;34:71-6. 10. Goldstein LB, Samsa GP. Reliability of the National Institutes of Health Stroke Scale: Extension to non-neurologists in the context of a clinical trial. Stroke,1997; 28:307-10. 11. Summers D, Leonard A, et al. Comprehensive Overview of Nursing and lnterdisciplinary Care of the Acute lschemic Stroke Patient: a Scientific Statement From the American Heart Association. Stroke. 2009; 40:2911-44. 12. Hacke W, Kaste M, Bluhmki E, Brozman M, Davalos A, Guidetti D, et al. Thrombolysis with alteplase 3 to 4.5 hours after acute ischemic stroke. N Engl J Med 2008;359 :1317-29. 13. Benavente, O. Hart RG. Stroke part ll: management of acute ischemic stroke. American Family Physician [online].1999[cited 2007 May 8], Available from: URL://http://www.aafp.org/afp/990515ap/2828.html on May 8, 2007. 14. Bonnono C, Criddle LM, Lutsep H, Steven P, Kearnsk, Noton R. Emergi-paths and stroke teams: an emergency department approach to acute ischemic stroke. J Neurosci Nurs 2000; 32:298-305. 15. Brott T, Bogoussalavsky J.Treatment of acute ischemic stroke. N Engl J Med [online]. 2000 [cited 2007 May 7]; 343(10):710-22. Available from: URL://http://www.nejm.org. 16. Zhang LF, Yang J, Hong Z, Yuan GG, Zhou BF, Zhao LC, et al. Proportion of different subtypes of stroke in China. Stroke 2003; 34: 2091-6. 17. Kwiatkoski TG, et al. Effects of tissue plasminogen activator for acute ischemic stroke at one year. N Engl J Med [online]. 1999[cited 2007 May 7]; Available from: URL://http://www.nejm.org. 18. Suyama J, Crocco T.Prehospital care of the stroke patient. Emerg Med Clin North Am 2002; 20:537-52. 19. Hickey J. The clinical practice of neurological and neurosurgical nursing 5thed. Philadelphia: Lippincott, Williams and Wilkins; 2003. 20. Rossnagel K, Jungehulsing GJ, Nolte CH, Muller-Nordhorn J, Roll S, Wegscheider K, et al. Out-of-hospital delays in patients with acute stroke. Ann Emerg Med 2004;44:476-83. 21. Morris DL, Rosamond W, Madden K, Schultz C, Hamilton S. Prehospital and emergency department delays after acute stroke: the genentech stroke presentation survey. Stroke. 2003;31:2585-90. 22. Adams HP, Adams RJ, Brot T, del Zoppo GJ, Furlan A, Goldstein LB, et al. Guidelines for the early management of patients with ischemic stroke: a scientific statement from the Stroke Council of the American Stroke Association. Stroke 2003; 34: 1056-83. 23. American stroke Association. Learn about stroke[online]. 2008 [cited 2008 Jun 19]. Available from: URL:// www.strokeassociation. org/Presenter.jhtml?identifier 24. World Health Organizatiom. World Stroke Campaign. 2015. Retreived from http://www.world-stroke.org/advocacy/world- stroke-campaign. 70 แนวทางการพยาบาลผู้ปว่ ยโรคหลอดเลือดสมองสำ� หรบั พยาบาลทวั่ ไป

แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ส�ำ หรับพยาบาลทว่ั ไป


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook