Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ขัตติยพันธกรณี (เหตุอันเป็นข้อผูกพันของกษัตริย์)

ขัตติยพันธกรณี (เหตุอันเป็นข้อผูกพันของกษัตริย์)

Published by mindchan.inter, 2022-08-14 08:17:01

Description: ขัตติยพันธกรณี (เหตุอันเป็นข้อผูกพันของกษัตริย์)

Search

Read the Text Version

ข เ รื่ อ ง ขั ต ติ ย พั น ธ ก ร ณี ค ณ ะ ผู้ จั ด ทำ ๑. น.ส.ชิตามาศ สิงห์เจริญ เลขที่ ๑๒ ๒. น.ส.พัดทอง พิศมัย เลขที่ ๒๔ ๓. น.ส.กมลวรรณ บรรจงทรัพย์ เลขที่ ๔๑ ๔. น.ส.กวิสรา พรหมสว่างศิลป์ เลขที่ ๔๒ ๕. น.ส. จันทร์ปรียา ช่างกลึงเหมาะ เลขที่ ๔๓ ๖. น.ส.นรีกานต์ มณีอินทร์ เลขที่ ๔๔ ๗. น.ส.ปรียาภรณ์ ลอสุวรรณ เลขที่ ๔๕ นำ เ ส น อ คุณครู ชมัยพร แก้วปานกัน

ข คำ นำ วารสารเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ๖ ท๓๓๑๐๑ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โดยจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการสอนเรื่อง ขัตติยพันธกรณี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็น มา ประวัติผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ เนื้อเรื่องขัตติยพันธกรณี เพื่อ วิเคราะห์คุณค่าทางด้านเนื้อหา ด้านวรรณศิลป์ และด้านสังคม และ ได้ศีกษาอย่างละเอียดเพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนในระดับสูงขึ้น คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างว่าวารสารเล่มนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ ที่กำลังศึกษาหา ข้อมูลเรื่อง ขัตติยพันธกรณี หากมีข้อแนะน่าหรือมี ข้อผิดพลาดประการใด ทางคณะผู้จัดทำต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทำ

ส า ร บั ญ ข เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข ความเป็นมา ๑ ประวัติผู้แต่ง ๒ ลักษณะคำประพันธ์ ๓ เนื้อเรื่องเต็ม (แบบย่อ) ๔ เนื้อเรื่องเต็ม (เฉพาะตอนที่เรียน) ๕-๖ วิเคราะห์คุณค่า - วิเคราะห์คุณค่าด้านเนื้อหา ๗ - วิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๘-๑๓ - วิเคราะห์คุณค่าด้านสังคม ๑๓-๑๕ บรรณานุกรม ๑๖

๑ ค ว า ม เ ป็ น ม า ข อ ง ขั ต ติ ย พั น ธ ก ร ณี ( เ ห ตุ อั น เ ป็ น ข้ อ ผู ก พั น ข อ ง ก ษั ต ริ ย์ ) เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ และพระนิพนธ์ของสมเด็จกรม พระยาดำรงราชานุภาเป็นกวีนิพนธ์ที่ผู้ใดได้อ่านจะประทับใจเป็นอย่างยิ่ง เป็นบทที่มีที่มาจาก เหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่เกี่ยวกับความอยู่รอดของประเทศของ เรา เหตุการณ์นี้คือเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๔๓๖ ไทยขัดแย้งกับฝรั่งเศสเรื่อง เขตแดนทางด้านเขมร ฝรั่งเศสส่งเรือปืนแล่นผ่านป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ เข้ามาจอดทอดสมอ หน้าสถานทูตฝรั่งเศส ถืออำนาจเชิญธงชาติฝรั่งเศสขึ้นเหนือแผ่นดินไทย ตรงกับวันที่ ๑๔ กรกฎาคม

๒ ผู้ แ ต่ ง แ ล ะ ป ร ะ วั ติ ผู้ แ ต่ ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นพระราชโอรสในพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาชุ่ม ประสูติเมื่อ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๐๕ ทรง เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์จนได้รับพระสมัญญาว่า “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย” อีกทั้งยังทรงมีผลงานพระนิพนธ์มากมาย เช่น ไทยรบ พม่า นิราศนครวัด ฯลฯ

๓ ลั ก ษ ณ ะ คำ ป ร ะ พั น ธ์ แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพ มี ๗ บท และ อินทรวิเชียรฉันท์ ๒๖ บท • โคลงสี่สุภาพ = คำเอกคือพยางค์ที่มีรูปวรรณยกต์เอกบังคับ เช่น เล่า ย่อม ทั่ว พี่ ฯ = คำโทคือพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์โทบังคับ เช่น ข้า อ้าง หล้า ได้ ฯ • อินทรวิเชียรฉันท์ –ั = ครุ –ุ = ลหุ

๔ เ นื้ อ เ รื่ อ ง เ ต็ ม ( แ บ บ ย่ อ ) ขัตติยพันธกรณีมาจากเหตุการณ์จริง คือ เหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศไทย และประเทศฝรั่งเศสในปี รศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) เกี่ยวกับเขตแดนทางด้านหลวงพระ บางซึ่งเริ่มจากการกระทบกระทั่งกันของ กำลังทหารทั้งจากฝั่งไทยและฝรั่งเศส เมื่อผู้แทนทางการทูตของทั้ง ๒ ประเทศเจรจาไม่สำเร็จ จนกระทั่งวันที่ ๑๓ กรกฎาคม รศ. ๑๑๒ กองเรือรบของฝรั่งเศส ได้รุกล้ำเข้าถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยาจนกระทั่งเรือปืนของ ฝรั่งเศส ๒ ลำเข้ามาจอดและทอดสมอหน้าสถานทูตฝรั่งเศสได้พร้อมทั้งยื่นคำขาดในการเรียก ร้องดินแดนทั้งหมดทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขงและเรียกร้องค่าปรับ เหตุการณ์ในครั้งนี้ ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เรื่องขัตติยพันธกรณี บรรยายด้วยโคลงสี่สุภาพโดยบรรยายความกังวลใจที่ทรงพระประชวรอย่างหนักเป็นเวลา นาน ทำให้เป็นที่หนักใจของผู้ดูแลรักษา ความเจ็บปวดพระวรกายเนื่องจากพระอาการประชวรจึงมีพระประสงค์ที่จะเสด็จสวรรคต พระองค์ก็ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้เพราะทรงมีภาระหน้าที่อันใหญ่หลวง ก็คือการปกป้องรักษา บ้านเมืองเอาไว้ความรู้สึกเบื่อหน่าย หมดกำลังพระทัยทั้งจากอาการประชวรที่ยาวนานและ การหาทางป้องกันรักษาบ้านเมืองจากฝรั่งเศสเกิดความกังวลใหญ่หลวงในพระทัยและทรง หวั่นว่าจะเป็นดั่ง เช่น ทวิราช คือสมเด็จพระมหินทราธิราชและ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศในช่วงที่ เสียกรุงศรีอยุธยาทั้ง ๒ ครั้ง พระองค์ไม่ต้องการจะเป็นกษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งที่ทำให้เรา ต้องสูญเสียเอกราชไป เมื่อ ร.๕ ได้ทรงส่งบทพระราชนิพนธ์ไปอำลาเจ้านายพี่น้องบาง พระองค์ รวมถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระเจ้าน้องยาเธอ ใน ขณะนั้นทรงได้รับ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงทรงนิพนธ์ บท ประพันธ์ถวายตอบทันทีในส่วนของพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา ดำรงราชานุภาพแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทอินทรวิเชียรฉันท์ โดยแต่งเพื่อถวายกำลัง พระทัยรัชกาลที่๕ และถวายข้อคิดให้ตระหนักถึงสัจธรรม โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม พระยาดำรงราชานุภาพ เปรียบประเทศไทยเป็นเรือลำใหญ่ลำหนึ่ง อันมี รัชกาลที่๕ เป็นกัปตัน ซึ่งเป็นผู้ที่เป็นใหญ่ในเรือมีอำนาจสั่งลูกเรือ ซึ่งหมายถึงชาวสยามโดยรัชกาลที่๕ ในฐานกัปตัน มีหน้าที่นำพาลูกเรือให้รอดพ้นจากพายุคลื่นลมมรสุมต่าง ๆ ส่วนสัจธรรมที่สมเด็จพระเจ้าบรม วงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึงคือเรื่องของการทำงานทุกอย่างย่อมมี ปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นอีก ทั้งยังทรงอาสาที่จะถวายชีวิตรับใช้พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรงกับสุภาษิต โบราณที่ว่า “อาสาเจ้าจนตัวตาย” นอกจากนั้น ยังได้ ถวายพระพรให้รัชกาลที่๕ ทรงฟื้นจาก อาการประชวรโดยเร็ว

๕ เ นื้ อ เ รื่ อ ง เ ต็ ม ( เ ฉ พ า ะ ต อ น ที่ เ รี ย น ) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงพระราชนิพนธ์ว่า พระองค์ทรงพระประชวรมานาน เป็นที่หนักใจแก่ผู้ดูแลรักษา จึงมีพระราชดำริที่จะเสด็จสวรรคตเพื่อปลดเปลื้องภาระของ เขา ทรงเล่าถึงพระอาการประชวรว่าเป็นฝีสามยอด และยังมี ส่าไข้เป็นผื่นไปทั่ว เจ็บปวดอย่างไม่น่าเชื่อ การประชวรครั้งนี้ มิใช่แต่พระวรกายแต่ยังทรงกลัดกลุ้มพระราชหฤทัยด้วย ผู้ ใดได้มาเป็นเช่นพระองค์จึงจะรู้ถึงความเจ็บปวดว่ามากเพียง ใด พระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเปรียบพันธกรณีที่มีต่อชาติบ้าน เมืองในฐานะที่พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ เป็นตะปูดอกใหญ่ที่ตึงพระบาทของพระองค์ ไว้มิให้ก้าวไปไหนได้ จึงขอให้ผู้ที่เมตตาถอนตะปูดอกนี้ให้ด้วย (เปรียบพันธกรณีที่มีต่อ ชาติบ้านเมือง เป็น ตะปู) ชีวิตคนเรานั้นเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีทั้งทุกข์และสุขสลับกันไป ดังคำโบราณที่ว่า ชั่วเจ็ด ทีดีเจ็ดหน (ข้อความนี้แสดงถึงความไม่แน่นอน) ในยามที่เป็น เด็กมีความสุขเหมือนเดรัจฉาน รู้สุข รู้ทุกข์กล้า รู้ขลาด ตามประสาเด็ก เด็กๆอาจพลั้ง เผลอบกพร่องผิดพลาดเพราะความเป็นเด็ก คล้ายกับคนที่จวนจะตายพระองค์เสด็จไป พบเด็กแต่งชุดขาวประมาณห้าถึงหกคนทำหน้าที่เป็นคนเชิญเครื่องในพิธีศพทำให้รู้สึก เศร้าพระราชหฤทัย กล้วยเผาจนเหลืองทีแรกก็อร่อยใครๆก็อยากกิน แต่พอหลายวัน เข้าก็แข็งกลืนยากจะเอาส้อมจิ้มกี่ครังก็ไม่อ่อนลงได้ บทพระราชนิพนธ์ตอนที่เป็นอินทรวิเชียรฉันท์ มีพระราชกระแสว่า พระองค์ทรง พระประชวรมานานนึกเบื่อหน่ายที่จะบำรุงรักษาพระวรกาย ส่วนจิตใจก็ไม่สบาย กลัดกลุ้มและอัดอั้น ในพระราชหฤทัยยิ่งนักถึงแม้จะหายประชวรก็ยังลำบากพระราช หฤทัยทีอัดอันเพราะถูกบีบคั้น ทรงเกรงว่าพระองค์จะเหมือนกษัตริย์สองพระองค์ (คือ พระมหินทราธิราชและพระเจ้าเอกทัศน์) ที่ไม่คิดปกป้องกรุงศรี-อยุธยา จนต้องเสีย เอกราช ทำให้เป็นที่นินทาไปตลอด ทรงหาทางออกที่จะแก้ไขปัญหาบ้านเมืองขณะนั้น มิได้ ยามพบหน้าใครก็เป็นที่อับอายจึงไม่ทรงปรารถนาที่จะดำรงพระชนมชีพต่อไปพระ นิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นอินทรวิเชียร์ฉันท์ทั้งหมดมีใจความ ว่า ขอเดชะใต้ฝ้าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้าผู้มีใจกตัญญู ได้รับพระราชทานอ่านพระราชนิพนธ์ทั้งโคลงและฉันท์ข้าพระพุ ทธเจ้าจึงคิดตริตรอง ตาม

๖ เ นื้ อ เ รื่ อ ง เ ต็ ม ( เ ฉ พ า ะ ต อ น ที่ เ รี ย น ) พระอาการประชวรของพระองค์ในครั้งนี้ ปวงชนชาวสยามและเหล่าข้าพระบาท ล้วนแล้วแต่รู้สึกวิตกกังวลเกินกว่าจะเปรียบได้ในฐานะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิด รู้ว่าคงไม่หนัก หนาอะไรถ้าจะเอาเลือดเนื้อเจือยาถวายให้พระองค์หายประชวรได้ก็ยินดีจะทูลเกล้าฯ ถวาย ทุกผู้ดูหน้าตาไม่สบายได้แต่คอยปรับทุกข์กันไม่เว้นแต่ละวัน ก็เปรียบเหมือนชาว เรือที่ขาดกัปตัน นายท้ายก็ไม่รู้ จะไปทิศทางไหนดี นายช่างกลประจำเครื่องจักรเรือ ก็ ไม่รู้จะทำอย่างไรดี หากมัวรีรอก็จะไม่ทัน การทุกคนที่ทำหน้าที่มีแต่ความอึดอัดความ ทุกข์เพิ่มขึ้นทุกวันเพราะขาดผู้นำเรืออันเป็นที่ ไว้วางใจ หากจะเปรียบบรรดากิจการ งานทั้งหลายเหมือนการเดินเรือคงจะไม่ผิด เป็นเรื่องปกติของมหาสมุทรที่จะมีคลื่นลมพายุบ้างเป็นธรรมดาถ้าเรือพอมีกำลังก็ จะต้าน ลมได้ ทำให้แล่นไปได้อย่างปลอดภัยชาวเรือย่อมจะรู้ดีกันทุกคน หากยังลอยลำ อยู่ตราบใดก็ จำต้องร่วมแรงร่วมใจกันจัดการแก้ไขไปด้วยกัน ถ้าได้ก็จะรอดและได้ รับคำชื่นชม แต่ถ้าเกิน กำลังที่จะแก้ก็ต้องล่มและจมลง ก็ให้ถือว่าเป็นกรรมหากนิ่งเฉย ไม่ขวนขวายที่จะแก้ไขหรือทำ อะไรเลย ในที่สุดก็จะสูญเสียเรือทั้งลำเหมือนกับที่แก้ไขไม่ ได้แตกต่างกันตรงที่ว่า ถ้ามีการ แก้ไขอย่างเต็มกำลังความสามารถแล้วเรือยังจม ก็จะ ไม่มีใครสบประมาทได้ถึงจะพลาดพลั้งก็ยัง มีชื่อเสียงเลื่องลือได้รับการสรรเสริญว่าได้ ทำจนสุดความสามารถเกินกำลังที่จะต้านได้ ทุกวันนี้มีความรู้สึกเดือดร้อนใจ นับแต่พระองค์ทรงพระประชวรมานาน เปรียบตัว ข้าพระพุทธเจ้าเหมือนอย่างม้า ที่เป็นพาหนะผูกเครื่องพร้อมประจำอยู่ที่หน้าพลับพลา คอย พระองค์เสด็จขึ้นประทับและบังคับให้ไปทางซ้ายหรือขวาตามแต่พระทัยของ พระองค์ไม่ว่าจะ ไกลหรือใกล้ก็ไม่เลือก แม้จะลำบากเพียงใดก็จะพยายามเต็มที่ตราบ ชีวิตจะหาไม่ถึงจะวายพระ ชนม์ก็จะตายตาหลับ ได้ชื่อว่าเกิดมาเป็นลูกผู้ชาย แล้วได้ บำเพ็ญพระกรณียกิจที่มีต่อชาติ บ้านเมืองทรงขอให้อำนาจแห่งคำสัตย์ของข้าพระพุทธ เจ้าสัมฤทธิผลดังใจหมายขออาการที่ทรงพระประชวรของพระองค์จงบรรเทาและหาย ไปพระหทัยและพระวรกายจงผ่องแผ้วแคล้วคลาด ปราศจากความหม่นหมองขอ พระองค์ทำการสำเร็จตามพระราชประสงค์ ได้ปกเกล้าข้าฝ่าละออง ธุลีพระบาทให้ สามัคคีกันขอให้เหตุที่ทำให้ขุ่ นเคืองพระราชหฤทัยจงเสื่อมสลายด้วยพระขันติธรรมขอ พระองค์ทรงมีพระชนมายุยืนนาน เพื่อเกื้อกูลและสร้างความเจริญแก้ประเทศสยาม

๗ วิ เ ค ร า ะ ห์ คุ ณ ค่ า วิเคราะห์คุณค่าด้านเนื้อหา รูปแบบการแต่ง : ในส่วนแรกใช้โคลงสี่สุภาพและส่วนที่สองใช้อินทรวิเชียรฉันท์ มีการ ใช้อุปมาโวหาร อุปลักษณ์โวหาร รสวรรณคดี การเล่นสัมผัสต่างๆ รวมถึงการให้คำ ราชาศัพท์ซึ่ง เหมาะสมเนื้อหา องค์ประกอบของเรื่อง สาระและแนวคิดสำคัญ : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจ้าอยู่หัวทรงมีความรักและ ห่วงใยประชาชนเป็นอย่างมากแม้จะทรงประชวรและแสดงถึงความจงรักภักดีของกรม พระยาดำรงราชานุภาพและประชาชนที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจ้าอยู่หัว โครงเรื่อง : บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจ้าอยู่หัว แสดงให้เห็น ถึงความกังวลพระทัยที่ทรงพระประชวรเป็นเวลานาน ประกอบกับความเจ็บทั้ง วรกาย และพระทัยของพระองค์ในส่วนของกรมพระยาดํารงราชานุภาพเป็นการบรรยาย ความรู้สึกที่เบื่อหน่าย หมดกําลังพระทัยที่จะรักษาพระอาการประชวรและอาจจะไม่ สามารถ กลับมาทรงงานได้อยางเต็มที่เท่าที่ควร กรมพระยาดํารงราชานุภาพทรงเริ่ม ตนด้วยการถวาย กําลังพระทัยในฐานะที่ทรงปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด ทรงมีความกังวล ห่วงใยรวมถึงประชาชน หลังจากนั้นเป็นการถวายขอคิดโดยการใช้อุปมาโวหารพระ นิพนธ์จบลงด้วยการถวายพระพรให้ ทรงหายจากอาการพระประชวร พร้อมทั้งถวาย คําให้กำลังพระทัยให้กับ พระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตัวละคร : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาล ที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักกร กลวิธีการแต่ง : ขัตติยพันธกรณี เป็นบทพระราชนิพนธ์โคลงสี่สุภาพและอินทรวิเชียร ฉันท์ ส่วนมากใช้พรรณนาโวหาร แทรกด้วยเทศนาโวหาร เด่นที่การใช้อุปลกษณ์และ อุปมา จินตภาพด้านภาพ บุคคลวัต นามนัย อติพจน์ เป็นต้น ทั้งยังมีการใช้รสวรรณคดี ในการแต่ง ฉากท้องเรื่อง : เหตุการณ์กรุงรัตนโกสินทร์ ในวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖)

๘ วิ เ ค ร า ะ ห์ คุ ณ ค่ า วิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์ บทประพันธ์ใช้ภาษาได้ไพเราะ ด้วยการเล่นสัมผัสอักษร สัมผัสสระ ให้มีจังหวะกระทบ อารมณ์ ความรู้สึกทำให้เกิดความไพเราะ การซ้ำคำเพื่อเน้นความหมาย ให้เข้าใจชัดเจน มาก ยิ่งขึ้นดังตัวอย่างต่อไปนี้ ๑.การสรรคำ ๑.๑ มีการใช้โวหารภาพพจน์ต่างๆ ในการบรรยายสื่อถึงอารมณ์และความรู้สึก เช่น “ตะปูดอกใหญ่ตรึ้ง บาทา อยู่เฮย จึง บ อาจลลา คล่องได้ เชิญผู้ที่เมตตา เเก่สัตว์ ปวงแฮ ชักตะปูนี้ให้ ส่งข้าอัญขยม” ได้บรรยายถึงความเจ็บปวดนี้ ระบายความทุกข์โทรมนัสในพระราชหฤทัยจนไม่ทรง ปรารถนา ที่จะดำรงพระชนม์ชีพอีกต่อไป ๑.๒ การเลือกใช้คำเหมาะสมแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง เช่น “ได้รับพระราชทาน อ่านราชนิพันธ์ดู ทั้งโคลงและฉันท์ ข้าจึงตริดำริตาม” “ด้วยเดชะบุญญา ภินิหาระแห่งคำ สัตย์ข้าจงได้สัม ฤทธิดังมโนหมาย” “ขอจงวราพาธ บรมนาถเร่งเคลื่อนคลาย พระจตพระวรกาย จงผ่องพ้นที่หม่นหมอง” “ขอจงสำเร็จรา ชะประสงค์ที่ทรงปอง ปกข้าฝ่าละออง พระบาทให้สามัคคี” ในบทประพันธ์นี้ได้มีการเลือกสรรคำอย่างถูกต้องตามฐานะของบุคคลในเรื่อง ซึ่งมี การใช้คำราชาศัพท์ให้เหมาะสมกับตัวละครและตัวละครนั้นก็คือ พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๙ วิ เ ค ร า ะ ห์ คุ ณ ค่ า ๑.๓ การเลือกใช้คำโดยคำนึกถึงเสียง ๑. การซ้ำคำเพอเน้นความ เช่น “เป็นเด็กมีความสุขคล้าย ดีรฉาน รู้สุขรู้ทุกข์ หาญ ขลาดด้วย ละอย่างละอย่างพาล หย่อนเพราะ เผลอแฮ คล้ายกับผู้จวนม้วย ชีพสิ้นสติสูญ” ใช้การเล่นคำซ้ำ คือ ละอย่างละอย่างพาล เพื่อเน้นความให้ชัดเจนมากขึ้น ๒.การเล่นสัมผัสพยัญชนะ เช่น “เจ็บนานนึกหน่ายนิตย์ มะนะเรื่องบำรุงกาย ส่วนจิต บ มีสบาย ศิระกลุ้มอุราตรึง แม้หายก็พลันยาก จะลำบากฤทัยพึง ตริแต่จะถูกรึง อุระรัดและอัตรา” ในบทประพันธ์นี้มีการเล่นสัมผัสพยัญชนะ “น” นั่นคือคำว่า นานนึกหน่ายนิตย์ ให้มี สัมผัสคล้องจองของคำประพันธ์ ๒.การใช้ภาพพจน์ ๒.๑ การใช้พรรณนาโวหาร เช่น “ฉันไปปะเด็กห้า หกคน โกนเกศนุ่งขาวยล เคลิบเคลิ้ม ถามเขาว่าเป็นคน เชิญเครื่อง ไปที่หอศพเริ้ม ริกเร้าเหงาใจ” “เจ็บนานหนักอกผู้ บริรักษ์ ปวงเอย คิดใคร่ลาลาญหัก ปลดเปลื้อง ความเหนื่อยแห่งสูจัก พลันสร่าง ตูจักสู่ภพเบื้อง หน้านั้นพลันเขษม” เป็นการให้รายละเอียดในเรื่องโดยแทรกอารมณ์ความรู้สึกลงไป เพื่อสร้างมโนภาพให้ ผู้อ่านเกิดภาพในใจ

๑๐ วิ เ ค ร า ะ ห์ คุ ณ ค่ า ๒.๒ การใช้เทศนาโวหาร เช่น “ชีวิตมนุษย์นี้ เปลี่ยนแปลง จริงนอ ทุกข์และสุขพลิกแพลง มากครั้ง โบราณท่านจึงแสดง เป็นเยี่ยง อย่างนา ชั่วนับเจ็ดทีทั้ง เจ็ดข้างฝ่ายดี” ในบทประพันธ์นี้เป็นการกล่าวในเชิงสั่งสอนชี้แนะเกี่ยวกับชีวิตคนเรานั้นเกิดการ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เดี๋ยวทุกข์สุข สลับกันไปอย่างที่คนโบราณได้กล่าวไว้ ๒.๓ การใช้อุปมาโวหาร โดยกล่าวเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน เช่น “ดุจเหว่าพละนา- วะเหว่ว้ากะปิตัน นายท้ายฉงนงัน ทิศทางก็คลางแคลง” เป็นการเปรียบประชาชนเหมอนเหล่าลูกเรือที่ขาดผู้บังคับบัญชาเรือก็จะบังคับเรือต่อไม่ ได้ “เปรียบตัวเหมอนอย่างม้า ที่เป็นพาหนยาน ผูกเครื่องบังเหียนอาน ประจำหน้าพลับพลาชัย” เป็นการเปรียบกรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นม้าซึ่งเป็นยานพาหนะ “ถ้าจะว่าบรรดากิจ ก็ไม่ผิด ณ นิยม เรือแลนทะแลลม จะเปรียบต่อก็พอกัน” เป็นการเปรียบเทียบการบริหารประเทศ เหมือนกับการแล่นเรือไปในทะเล ๒.๔ การใช้อุปลักษณ์โวหาร เช่น “ตะปูดอกใหญ่ตรึ้ง บาทา อยู่เฮย จึง บ อาจลลา คล่องได้ เชิญผู้ที่เมตตา แก่สัตว์ ปวงแฮ ชักตะปูนี้ให้ ส่งข้าอัญขยม” ทรงเปรียบพันธกรณีที่มีต่อชาติบ้านเมืองในฐานะที่พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ เป็น ตะปูดอกใหญ่ ที่ตรึงพระบาทไว้มิให้ก้าวย่างไปได้

๑๑ วิ เ ค ร า ะ ห์ คุ ณ ค่ า ๒.๕ การใช้อติพจน์โวหาร เช่น “อันพระประชวรครั้ง นี้แท้ทั้งไผทสยาม เหล่าข้าพระบาทความ วิตกพ้นจะอุปม ประสาแต่อยู่ใกล้ ทั้งรู้ใช่ว่าหนักหนา เลือดเนื้อผิเจือยา ให้หายได้ชิงถวาย” สมเด็จกรมพระยาดำราชานุภาพได้แสดงถึงความวิตกกังวลของประชาชนชาวไทย เนื่องมาจากพระอาการประชวรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พระองค์จึง ทรงกล่าว่าถ้า เลือดเนื้อของพระองค์สามารถทำยาถวายให้หายประชวรได้ก็ยินดีถวาย ๒.๖ การใช้นามนัย เช่น “กล้วยเผาเหลืองแก่ก้ำ เกินพระ ลกษณ์นา แรกก็ออกอร่อยจะ ใคร่กล้ำ นานวันยิ่งเครอะคระ กลืนยาก ทนจ่อซ่อมจิ้มจ้ำ แดกสิ้นสุดใบ” ในบทประพันธ์นี้ได้เปรียบสีผิวของพระลักษณ์ที่เปนสีเหลืองกับความเหลืองของกล้วย ในบริบทนี้ “ด้วยเดชะบุญญา ภินิหาระแห่งคำ สัตย์ข้าจงได้สัม ฤทธิดังมโนหมาย” ในบทประพันธ์นี้เปรียบใช้คำว่า ข้า ซึ่งหมายถึงกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ๒.๗ การใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ (ปฎิปุจฉา) “ตะปูดอกใหญ่ตรึ้ง บาทา อยู่เฮย จึง บ อาจลลา คล่องได้ เชิญผู้ที่เมตตาแก่สัตว์ ปวงแฮ ชักตะปูนี้ให้ ส่งข้าอัญขยม” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงประพันธ์โดยการตั้งคำถามแต่มิได้ต้องการคำ ตอบ ในทีนี้กล่าวว่าใครดึงตะปูออกได้จะยินดีให้เอาออก .

๑๒ วิ เ ค ร า ะ ห์ คุ ณ ค่ า ๒.๘ การใช้นาฏการ “ถ้าจะว่าบรรดารกิจ ก็ไม่ผิด ณ นิยม เรือแลนทะเลลม จะเปรียบต่อก็พอกัน” คำว่า เรือแล่น เปนการใช้นาฏการแสดงอาการเคลื่อนไหว ให้เห็นภาพมากขึ้น ๒.๙ การใช้คำไวพจน์ เช่น “นี้ในน้ำใจข้า อุปมาบังคมทูล ทุกวันนี้อาดูร แต่ที่พระประชวรนาน” ในบทประพันธ์บทนี้มีการใช้คำไวพจน์ นั่นคือคำว่า อาดูร ซึ่งหมายถึง เดือดร้อน ทน ทุกขเวทนาทั้งกายและใจ ๓.การใช้รสวรรณคดี เช่น ๓.๑ การใช้สัลลาปังคพิสัย “ฉันไปปะเด็กห้า หกคน โกนเกศนุ่งขาวยล เคลิบเคลิ้ม ถามเขาว่าเป็นคน เชิญเครื่อง ไปที่หอศพเริ้ม ริกเร้าเหงาใจ” พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใชรสวรรณคดี คือ สัลลาปงคพิสัยใช้ คำถ่ายทอดความรู้สึกเศร้าหมองในพระทัยได้เป็นอย่างดี ๓.๒ การใช้กรุณารส เช่น “อันพระประชวรครั้ง นี้แท้ทั้งไผทสยาม เหล่าข้าพระบาทความ วิตกพ้นจะอุปม ประสาแต่อยู่ใกล้ ทั้งรู้ใช่ว่าหนักหนา เลือดเนื้อผิเจือยา ให้หายได้ชิงถวาย” เป็นการใช้คำเพื่อแสดงออกถึงความเมตตาสงสารทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกสลดใจ ตามไปด้วย

๑๓ วิ เ ค ร า ะ ห์ คุ ณ ค่ า ๓.๓ การใช้วีรรส เช่น “เจ็บนานหนักอกผู้ บริรักษ์ ปวงเอย คิดใคร่ลาลาญหัก ปลดเปลื้อง ความเหนื่อยแห่งสูจัก พลันสร่าง ตูจักสู่ภพเบื้อง หน้านั้นพลันเขษม” รสแห่งความกล้าหาญ แสดงออกถึงความกล้าหาญในศึกสงครามของรัชกาลที่ ๕ พระองค์สละชีพเพื่อที่จะไม่เป็นภาระของญาติและข้าราชบริพารโดยความไม่หวาดกลัว ๔.การใช้สำนวน สุภาษิต เช่น “ชีวิตมนุษย์นี้ เปลี่ยนแปลง จริงนอ ทุกข์และสุขพลิกแพลง มากครั้ง โบราณท่านจึงแสดง เป็นเยี่ยง อย่างนา ชั่วนับเจ็ดทีทั้ง เจ็ดข้างฝ่ายดี” ชีวิตคนเรานั้น มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายเหมอนสำนวนโบราณที่ว่า ชั่วเจ็ดที ดีเจ็ดหน วิเคราะห์คุณค่าด้านสังคม ๑.การรับวัฒนธรรมและภาษาทางแถบตะวันตกมาปรับใช้ในภาษาไทย เช่น “ดุจเหว่าพละนา- วะเหว่ว้ากะปิตัน นายท้ายฉงนงัน ทิศทางก็คลางแคลง” ๒.ประชาชนและข้าราชบริพารมีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ทั้งชีวิตก็ สามารถมอบให้ได้ เช่น “อันพระประชวรครั้ง นี้แท้ทั้งไผทสยาม เหล่าข้าพระบาทความ วิตกพ้นจะอุปมา ประสาแต่อยู่ใกล้ ทั้งรู้ใช่ว่าหนักหนา เลือดเนื้อผู้เจือยา ให้หายได้ชิงถวาย”

๑๔ วิ เ ค ร า ะ ห์ คุ ณ ค่ า ๓.๓ การใช้วีรรส เช่น “เจ็บนานหนักอกผู้ บริรักษ์ ปวงเอย คิดใคร่ลาลาญหัก ปลดเปลื้อง ความเหนื่อยแห่งสูจัก พลันสร่าง ตูจักสู่ภพเบื้อง หน้านั้นพลันเขษม” รสแห่งความกล้าหาญ แสดงออกถึงความกล้าหาญในศึกสงครามของรัชกาลที่ ๕ พระองค์สละชีพเพื่อที่จะไม่เป็นภาระของญาติและข้าราชบริพารโดยความไม่หวาดกลัว ๔.การใช้สำนวน สุภาษิต เช่น “ชีวิตมนุษย์นี้ เปลี่ยนแปลง จริงนอ ทุกข์และสุขพลิกแพลง มากครั้ง โบราณท่านจึงแสดง เป็นเยี่ยง อย่างนา ชั่วนับเจ็ดทีทั้ง เจ็ดข้างฝ่ายดี” ชีวิตคนเรานั้น มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายเหมอนสำนวนโบราณที่ว่า ชั่วเจ็ดที ดีเจ็ดหน วิเคราะห์คุณค่าด้านสังคม ๑.การรับวัฒนธรรมและภาษาทางแถบตะวันตกมาปรับใช้ในภาษาไทย เช่น “ดุจเหว่าพละนา- วะเหว่ว้ากะปิตัน นายท้ายฉงนงัน ทิศทางก็คลางแคลง” ๒.ประชาชนและข้าราชบริพารมีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ทั้งชีวิตก็ สามารถมอบให้ได้ เช่น “อันพระประชวรครั้ง นี้แท้ทั้งไผทสยาม เหล่าข้าพระบาทความ วิตกพ้นจะอุปมา ประสาแต่อยู่ใกล้ ทั้งรู้ใช่ว่าหนักหนา เลือดเนื้อผู้เจือยา ให้หายได้ชิงถวาย”

๑๕ บ ร ร ณ า นุ ก ร ม นางสาวปิตินันท์ น้อมเกตุ. ขัตติยพันธกรณี. ค้นเมื่อ ๙,สิงหาคม,๒๕๖๕ จาก http://www.kroobannok.com/news_filr/p93527470115.pdf จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย แหล่งรวมข้อมูลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว (ร.๕). จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย.ค้นเมื่อ ๙,สิงหาคม,๒๕๖๕, จาก http://rama5.flexiplan.co.ty/th/history/rama5_bio พระประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ค้นเมื่อ ๙,สิงหาคม,๒๕๖๕ จาก http://www.moi.go.th/portal/page?_pageid=235,804615,235_ 633s_dad=portals_schema=PORTAL จุฑาลักษณ์ เชิกหรัน.(๒๕๖๔).ขัตติยพันธกรณี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ วิชาภาษาไทย. ค้นเมื่อ ๙,สิงหาคม,๒๕๖๕ จาก https://blog.startdee.com