Dhanarak Asset Development Co.,Ltd KM & INNO NEWSLETTER June 2022 / Vol.1 สวัสดีครับชาว การจัดการความรู้คือเรื่องที่อยู่ใน ธพส. ทุกท่าน ชีวิตประจำวันของเราทุกอย่างที่ เราทำล้วนแล้วแต่ต้องการรากฐาน Newsletter เปิดโฉมใหม่ฉบับล่าสุดของ ของความรู้ทั้งสิ้นการจัดการความ KM & INNO Newsletter ฉบับเดือน รู้เพียงแค่เอาความรู้เหล่านั้นมาจัด มิถุนายนเป็นฉบับแรกของปี 2022 กันแล้ว นะครับ โดยบทความ KM & INNO เรียงให้เหมาะสมจัดเก็บให้เป็น Newsletter ในฉบับนี้จะขอกล่าวถึง ระบบและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ระบบโครงข่าย Blockchain ความสำคัญ ของการพัฒนาตนเอง วิธีที่จะทำให้ตนเอง เท่านั้นเอง เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงพาไป ส่องงานเพื่อนบ้านว่าเค้าจัดการความรู้ นายนิติพงศ์ คฤหโกศล ภายในองค์กรอย่างไร เยี่ยมชมรถโดยสาร KMCC ไฟฟ้าภายในศูนย์ราชการฯ และปิดท้ายด้วย การรับชมอนิเมะเกี่ยวกับกีฬาจะกระตุ้นความ ส่วนจัดการความรู้และนวัตกรรม อยากออกกำลังกายได้อย่างไร ทุกท่านจะได้ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล พบกับคำตอบในบทความฉบับนี้ครับ ทั้งนี้ ทุกคนใน ธพส. สามารถส่งบทความ ความยาวไม่ เกินจำนวน 4 หน้ากระดาษ รวมทั้งข้อเสนอแนะหรือ คำติชมมาได้ผ่านทางช่องทาง [email protected] /[email protected] หรือ [email protected] เพื่อทางทีมงาน จะได้นำไปพัฒนา KM & INNO Newsletter ให้มีความน่าสนใจต่อไป และทุกงานเขียน ที่ท่านส่งมามีสิทธิ์ลุ้นรับรางวัลในปลายปีด้วยนะครับ 1
การบูรณาการ Blockchain กับการประยุกต์ใช้ Blockchain คืออะไร Blockchain คือ ระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่เก็บสถิติการทำธุรกรรม ทางการเงินและสินทรัพย์ชนิดอื่น ๆ ในอนาคต โดยไม่มีตัวกลางคือ สถาบันการเงินหรือสำนักชำระบัญชี นั่นก็คือระบบ Blockchain จะไม่มีตัวกลางอย่างที่เคยเป็นมานั่นเอง จึงเท่ากับว่า Blockchain เป็นระบบโครงข่ายในการทำธุรกรรมต่าง ๆ โดยการตัดตัวกลางอย่างสถาบันการเงินที่มีอยู่ในโลกปัจจุบันนี้ออกไป ทำให้ต้นทุนการทำธุรกรรมถูกลงและอาจจะส่งผลให้สถาบันการเงิน ที่เป็นตัวกลาง รวมไปถึงสำนักชำระบัญชีต่าง ๆ อาจไม่จำเป็นต้องมี อีกต่อไปในอนาคต หากเทคโนโลยีนี้เข้ามาแทนที่ได้อย่างสมบูรณ์ ขณะที่ Blockchain ไม่เพียงมีบทบาทอยู่แค่การทำธุรกรรม ทางการเงินหรือแค่ระบบทางการเงินเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไป ประยุกต์ใช้กับระบบอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น การเก็บสถิติการเลือกตั้ง ให้มีความโปร่งใสมากขึ้น การให้ยืม Cloud Storage ระหว่างกัน บริการ Co-location ระบบ Peer to Peer Lending ระบบบันทึก ประวัติทางการแพทย์ ระบบจัดเก็บกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น ทะเบียนรถ, โฉนดที่ดิน, หุ้น, ระบบแต้มส่งเสริมการขายอย่าง The One Card หรือ Stamp 7-11 และอื่น ๆ อีกมากมาย ถ้าเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี Blockchain ก็จะสามารถเพิ่ม เสถียรภาพให้ระบบและลดต้นทุนในการขยายระบบได้อย่างมหาศาล องค์ประกอบของ Blockchain 1.กล่องเก็บข้อมูล หรือ Block ทำหน้าที่กระจายไปให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเก็บเอาไว้ โดยข้อมูลเหล่านั้นไม่สามารถแก้ไขหรือ เปลี่ยนแปลงได้ และทุก ๆ ครั้งที่มีการทำธุรกรรมใหม่เกิดขึ้นจะมีการสร้างกล่องใหม่ขึ้นมา 2.จากนั้นจึงนำกล่องมาผูกเข้าด้วยกัน หรือที่เรียกว่า Chain โดยการผูกด้วยวิธี Hash Function ซึ่งเปรียบเสมือนลายนิ้วมือ ของไฟล์ที่ใช้ในการ Verify หรือยืนยันความถูกต้องจากข้อมูลที่แต่ละคนถือเอาไว้ ถือเป็นตัวแทนของข้อมูลต้นฉบับ ซึ่งค่าที่ได้ จากการ Hash นี้มีโอกาสที่ซ้ำกันยากมาก จึงเป็นคุณสมบัติที่เชื่อมั่นได้ในการนำมาใช้ยืนยัน (Verify) ข้อมูลที่แต่ละบุคคลถือไว้ 3.การตกลงร่วมกัน หรือ Consensus เพื่อกำหนดข้อตกลงที่ต้องเห็นพ้องร่วมกันด้วยอัลกอริทึมต่าง ๆ แล้วแต่การ ตกลง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องกฎและเครื่องมือที่ใช้ในเครือข่ายของผู้ใช้ 4.ขั้นตอนการตรวจสอบ หรือ Validation เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นร่วมกัน ซึ่งกระบวนการตรวจสอบต้องเกิดขึ้นได้อย่าง รวดเร็ว ดังนั้นเมื่อมีการทำธุรกรรมใด ๆ เกิดขึ้นจะสร้างกล่องใหม่ขึ้น จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการเชื่อมโยงกล่องนั้นเข้ากับ ห่วงโซ่เดิมที่ผูกรวมกัน โดยมีการยืนยันตัวเองของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกรรมนั้น ซึ่งข้อมูลธุรกรรมที่สร้างใหม่จะต้อง ได้รับการเห็นชอบจากผู้ใช้คนอื่น ๆ ในห่วงโซ่ผ่านข้อตกลงที่มีร่วมกันก่อนหน้านี้ และระบบจะทำการตรวจสอบ กระนั้นจึง ทำให้เทคโนโลยี Blockchain ได้รับความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยและความถูกต้องสูง 2
ข้อดีของ Blockchain 1.Blockchain เปรียบเสมือนการเก็บข้อมูลแบบหนึ่งซึ่งสามารถแชร์ไปได้ เป็นห่วงโซ่ หรือ Chain โดยที่ทราบได้ว่าใครเป็นเจ้าของของข้อมูลนั้น ๆ ดังนั้น เมื่อข้อมูลถูกบันทึกไว้ใน Blockchain ไม่สามารถถูกปลอมแปลง หรือถูกแก้ไขได้ และสามารถติดตามลำดับการบันทึกข้อมูลย้อนหลัง ทั้งหมดได้อย่างโปร่งใส จึงทำให้ยากต่อการทุจริตเพราะข้อมูล 2.ข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในกล่องที่อยู่บน Blockchain จะไม่ถูกควบคุมโดย ใครคนใดคนหนึ่ง จะถูกกระจายไปจัดเก็บบนฮาร์ดแวร์หลาย ๆ เครื่อง ซึ่งเราจะเรียกฮาร์ดแวร์แต่ละชุดนี้ว่า Node เมื่อจุดใดจุดหนึ่งเล็ก ๆ ในระบบเสีย จะไม่ส่งผลทำให้ระบบทั้งระบบล่ม 3.เมื่อธุรกรรมหรือสัญญาถูกจัดเก็บในรูปของข้อมูล การนำข้อมูลเหล่านั้น มาประมวลผลเพื่อบังคับให้ทำตามสัญญาหรือธุรกรรมต่าง ๆ เหล่านั้น ก็สามารถทำได้โดยอัตโนมัติ และยังนำไปประยุกต์ใช้รูปแบบอื่น เช่น การแจ้งเตือนเมื่อสัญญากำลังจะหมดอายุได้ เป็นต้น และเมื่อการทำ ธุรกรรมหรือสัญญาเหล่านี้ไม่ต้องมีตัวกลาง ก็จะสามารถประหยัดทั้ง เวลาและค่าใช้จ่ายลงไปได้อีกมาก 4.รองรับการเข้ารหัสสำหรับข้อมูลแต่ละชุดได้ ดังนั้นถึงแม้ข้อมูลของเราจะ ถูกกระจายไปยัง Node อื่น ๆ และอาจถูกบางคนมองเห็น แต่คนอื่น ๆ ก็จะไม่สามารถถอดรหัสข้อความของเราได้ นอกจากตัวเราเองและผู้ที่ เกี่ยวข้องกับข้อมูลเหล่านี้ที่เราอนุญาตให้เข้าถึงได้เท่านั้น ตัวอย่างกรณีศึกษาการนำเทคโนโลยี Blockchain มาประยุกต์ใช้ : การใช้เทคโนโลยีบล๊อคเชนในการ ดูแลสุขภาพ (A Case Study for Blockchain in Healthcare) ในปัจจุบัน ระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล (Personal Health Records : PHRs) ไม่เคยได้รับการออกแบบให้รองรับการรวบรวมข้อมูล ทางการแพทย์จากหลาย ๆ หน่วยงาน/สถานประกอบการทั้งภาครัฐและ เอกชนต่าง ๆ ได้ตลอดอายุของผู้ป่วย ดังนั้น เราจะพบว่าผู้ป่วยได้ทิ้งข้อมูล การรักษาในอดีตและปัจจุบันให้กระจัดกระจายไปในหน่วยงาน/สถาน ประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องเข้ารับ การรักษาจากแห่งหนึ่งไปยังอีกหลาย ๆ แห่ง จากเหตุการณ์เช่นนี้ ทำให้ ผู้ป่วยเหล่านั้น สูญเสียการเข้าถึงข้อมูลประวัติที่ผ่านมาได้ง่าย ๆ ผู้ป่วยจึง มีการเข้าถึงระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล (Personal Health Records : PHRs) ของตนเองในลักษณะที่กระจัดกระจาย สะท้อนให้เห็น ถึงการจัดการข้อมูลเหล่านี้ ความท้าทายในการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ให้ บริการและระบบปฏิบัติการของโรงพยาบาลที่แตกต่างกัน เป็นอุปสรรค เพิ่มเติมในการแชร์ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การขาดการจัดการข้อมูลและ การแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน แนวทางในการแก้ปัญหานี้ ทางบริษัทฯ เลือกใช้ฐานข้อมูลแบบ Blockchain ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ และเอื้ออำนวยต่อการ ออกแบบระบบการจัดเก็บข้อมูลกลาง รวมถึงวิธีการพัฒนาต่าง ๆ ทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีความสำคัญเพราะทำให้ สามารถลดต้นทุน ไม่จำเป็นต้องมีองค์กรกลางใด ๆ มาจัดเก็บข้อมูล เพียงแต่จะต้องสร้างกลไกและการวางแผนที่ดีในการใช้ เทคโนโลยีดังกล่าว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลกลางด้านสุขภาพด้วยเทคโนโลยี Blockchain จะมีการจัดเก็บฐานข้อมูล ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ไว้กับหน่วยงานทุกหน่วยงานที่ต้องการใช้ข้อมูลดังกล่าว โดยระบบจะส่งข้อมูลที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมแบบ อัตโนมัติไปยังฐานข้อมูลทุกฐานข้อมูลที่หน่วยงานใช้ กระจายไปอย่างถูกต้องและครบถ้วน สำหรับความมั่นคงของข้อมูลและ การเข้าถึงข้อมูลเราสามารถใช้เทคโนโลยีในการเข้ารหัสและระบุตัวตนของข้อมูลที่จะเข้าถึงได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีผู้ใด สามารถเข้ามาปลอมแปลงข้อมูลได้ 3
เทคโนโลยี Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่เราสามารถจัดเก็บข้อมูลไว้ ได้ในทุก ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยการแก้ไขข้อมูลที่หน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่งนั้น ก็จะมีผลไปยังทุกหน่วยงานโดยอัตโนมัติ อย่างเช่น เมื่อโรงพยาบาลทำการรักษาผู้ป่วย ก็จัดเก็บข้อมูลการรักษาเอาไว้ใน ฐานข้อมูลแบบ Blockchain ข้อมูลการรักษาดังกล่าวก็จะกระจายไป ยังหน่วยงาน/สถานประกอบการด้านสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน ที่อยู่ใน Blockchain Network โดยอัตโนมัติ รวมถึงสามารถส่งไป ยังหน่วยงานของภาครัฐได้ โดยที่เราไม่จำเป็นจะต้องทำการสร้าง โปรแกรมในการเชื่อมต่อไปยังหน่วยงานต่าง ๆ เลย อีกทั้งข้อมูล ดังกล่าวยังเป็นข้อมู ลที่มีความน่าเชื่ อถือสูงเพราะไม่สามารถมีใคร แก้ไขข้อมูลในการรักษาได้เลย การเข้ามาเปลี่ยนแปลงข้อมูลในอดีต นั้นเป็นไปได้ยากมาก เนื่องจาก Blockchain มีกลไกในการควบคุม ความมั่นคงของข้อมูลอย่างดี การแก้ไขนั้นจะต้องแก้ไขพร้อม ๆ กัน ในหลายฐานข้อมูล และจะต้องมีการคำนวณปรับเปลี่ยนค่าต่าง ๆ ในฐานข้อมูลซึ่งจะต้องใช้พลังในการประมวลผลอย่างมหาศาลซึ่งใน ปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้ ข้อดีอีกประการหนึ่ง คือ ทุกหน่วยงานจะเห็นข้อมูลเดียวกันและเป็นข้อมูล กลางที่มีประโยชน์ในด้านการดูแลสุขภาพ สำหรับภาครัฐ สามารถจะนำไปใช้ใน การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น การคำนวณต้นทุนในการรักษา พยาบาลมีความถูกต้องและเหมาะสม การรวบรวมสถิติของโรคที่เกิดขึ้น การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ ของแพทย์และหน่วยงานของโรงพยาบาล การควบคุมในการเบิกจ่ายไม่ให้เกินวงเงินต่าง ๆ สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง ก็คือ ต้นทุนในการสร้างระบบนี้ต่ำมาก เพราะไม่จำเป็นต้องมีหน่วยงานหรือ องค์กรที่เป็นตัวกลางในการเก็บข้อมูลดังกล่าว มีกระบวนการและขั้นตอน มากมายในการตรวจสอบข้อมูลและป้องกันการแก้ไขข้อมูล รวมถึงการสร้าง ระบบเชื่อมต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งจะต้องใช้ต้นทุนจำนวนมากเมื่อ เปรียบเทียบกับเทคโนโลยี Blockchain ขอเพียงแค่ทุกหน่วยงานจัดเก็บ ข้อมูลในรูปแบบที่กำหนดลงในฐานข้อมูลของตัวเอง จากนั้นข้อมูลต่าง ๆ จะถูกตรวจสอบความถูกต้องแบบอัตโนมัติและกระจายไปยังฐานข้อมูลอื่น ๆ แบบอัตโนมัติอีกด้วย ไม่จำเป็นต้องมีหน่วยงานหรือองค์กรใดเข้ามาทำหน้าที่ ในการจัดเก็บข้อมูลในการสำรองข้อมูล ดังนั้น หากเราพิจารณาจะใช้ เทคโนโลยี Blockchain มาปฏิวัติวงการสุขภาพก็จะทำให้ได้ประโยชน์ต่อ ผู้ป่วยอย่างมาก นายฐาปนา ตันทัศน์ ส่วนบริหารอาคาร 2 ฝ่ายบริหารอาคาร ที่มาของข้อมูล : https://medium.com/blockchainphr/กรณีศึกษา-การใช้เทคโนโลยีบล๊อคเชนใน การดูแลสุขภาพ-a-case-study-for-blockchain-in-healthcare-d037ec3afd58 https://www.depa.or.th/th/article-view/blockchain-work 4
การพัฒนาตนเองและการฝึกอบรม แบบ Non Classroom Training ปัจจุบันหลาย ๆ องค์กรมีการแข่งขันที่สูง และทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ องค์กรจะมีศักยภาพในการแข่งขัน และเติบโตไปข้างหน้าได้ ย่อมต้องมีทรัพยากร ที่มีศักยภาพ ซึ่งทรัพยากรที่มีความสำคัญและเป็นแรงขับเคลื่อนให้กับองค์กร ก็คือ “พนักงาน” ในองค์กรนั่นเอง จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่พนักงานในองค์กรต้อง พัฒนาตนเองเพื่อให้มีทักษะ และความรู้ความสามารถอยู่เสมอ แล้วการพัฒนา ตนเองคืออะไร ? มีความสำคัญอย่างไร ? และมีรูปแบบการพัฒนาตนเองอย่างไร บ้าง วันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ ชาว ธพส. ไปรู้จักกับการพัฒนาตนเองกันค่ะ การพัฒนาตนเอง คืออะไร ? : การพัฒนาตนเอง (Self - development) คือ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงตนเองให้มีการพัฒนาที่ดีขึ้นกว่าเดิม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง หรือสอดคล้องต่อความ ต้องการขององค์กร และสามารถดำเนินกิจกรรมที่ต้องการได้อย่างบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาตนเองนั้นเป็นความหมายในเชิงบวก ที่ทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพที่มี ในตนเอง ทำให้ตนเองมีสมรรถนะขีดความสามารถที่เพิ่มขึ้น ความสำคัญของการพัฒนาตนเอง การพัฒนาตนเองนั้น มีความสำคัญทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น และองค์กร เพราะการ พัฒนาตนเองเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับกับสถานการณ์ต่าง ๆ โดย เฉพาะในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงรอบ ด้าน และมีการแข่งขันมากขึ้น ทำให้บุคลากรในแต่ละองค์กรกลายเป็นสิ่งสำคัญใน การทำงาน ดังนั้น การพัฒนาตนเองจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะหากบุคลากร ไม่มีการพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม ทั้งภายในและ ภายนอกองค์กร องค์กรอาจจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ นอกจากนี้การพัฒนา ตนเองยังเป็นการขจัดจุดด้อยของตนเอง และเพื่อพัฒนาต่อยอดจุดเด่นในตัวให้ดี ยิ่งขึ้น เป็นแนวทางสู่การบรรลุเป้าหมายในชีวิตและในสายอาชีพ ทั้งยังเป็นการส่ง เสริมให้เห็นคุณค่า เข้าใจในตนเอง และสามารถทำหน้าที่ตามบทบาทของตนเองได้ อย่างเต็มประสิทธิภาพ การพัฒนาบุคลากรที่นอกเหนือจากการฝึกอบรม (Non Classroom Training) เครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ที่ไม่ใช่การฝึกอบรม แต่เป็นการพัฒนาด้วยวิธีอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการฝึกอบรม ในห้องเรียน เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ในการปฏิบัติจริง ในสถานที่ทำงานจริง ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ ไม่มี โครงสร้างหรือรูปแบบที่แน่นอน มุ่งเน้นการเรียนรู้จากการมี สัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นจากการปฏิบัติงานจริง และก่อให้เกิด สังคมแห่งการเรียนรู้ การเรียนรู้มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบเรียนรู้ ด้วยตนเอง เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้โดยลงมือปฏิบัติ และ การเรียนรู้ที่เกิดจากการสอนผู้อื่น วันนี้เราจะมาแนะนำแนวทาง ในการพัฒนาตนเองด้วยแนวทางการเรียนรู้ 4 รูปแบบ ดังนี้ 5
1. การเรียนรู้ด้วยตนเอง (STUDY) คือ การพัฒนาโดยให้บุคลากร ได้ศึกษา ค้นคว้า เรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เป็น กระบวนการพัฒนาบุคลากรที่เน้นให้พนักงานในองค์กรมีความรับผิด ชอบในการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองโดยไม่จำเป็นต้องใช้ช่วงเวลาใน การปฏิบัติงานเท่านั้น พนักงานสามารถแสวงหาโอกาสเรียนรู้ได้ด้วย ตนเอง ผ่านช่องทางการเรียนรู้ ตามสื่อต่าง ๆ ที่ต้องการได้ เช่น • การศึกษาอ่านตำรา (Self-Reading) คือ การศึกษาหาความรู้ จากหนังสือ และงานวิจัยต่าง ๆ ในเรื่องที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม หรือเป็นการศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ ซึ่งความรู้นั้นอาจเกิดจากที่เรา ต้องการศึกษาเอง หรือเพื่อนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ให้ดีขึ้น • การฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง (Self-Practicing) คือ การลงมือ ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะ ความสมารถของตนเองจาก การได้ลงมือทำสิ่งนั้น ๆ จนเกิดเป็นประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ในงาน 2. การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น (PARTNER) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ กับผู้อื่น ผ่านการพูดคุย การแลกเปลี่ยนมุมมอง ความรู้ ประสบการณ์ และทัศนคติ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และทุกสถานที่ อาศัยการมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่าง ผู้ให้การเรียนรู้และผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกร่วมและมีความพร้อมที่จะ เรียนรู้ เช่น • การเข้าร่วมประชุม / สัมมนา (Meeting / Seminar) คือการพัฒนาโดยการ แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ สามารถนำแนวคิดที่ได้จากการ ประชุมมาปรับใช้เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน • การสังเกตผู้อื่น (Observing) การสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานของผู้ที่มี ศักยภาพในการทำงาน หรือผู้เชี่ยวชาญ อาจเป็นคนเก่งในองค์กร หัวหน้างาน หรือ ผู้บริหาร เพื่อเรียนรู้วิธีปฏิบัติงานของพวกเขาเหล่านั้น และนำมาปรับใช้กับการ ปฏิบัติงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น • การขอความเห็นจากผู้อื่น (Peer Reviewing) เป็นการแลกเปลี่ยนความคิด เห็นกับบุคคลอื่นที่ทำงานอยู่รอบตัวเรา อาจจะเป็นเพื่อนร่วมงาน พี่เลี้ยง หรือหัวหน้า งาน เพื่อให้ได้เห็นถึงมุมมอง วิสัยทัศน์ และทัศนคติใหม่ ๆ และนำไปสู่การเกิดเป็น องค์ความรู้ใหม่ ๆ ได้ • การเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ (Shadowing an Expert) เป็นการพัฒนา บุคลากรอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เปิดโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้ผ่านการติดตามการทำงาน กับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้พนักงานได้เฝ้าสังเกต/ศึกษาพฤติกรรมการทำงาน ตลอดจน เรียนรู้วิธีการทำงานจากผู้เชี่ยวชาญและนำเทคนิคต่าง ๆ มาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน หรือพัฒนาตนเองให้เก่งขึ้น 6
3. การเรียนรู้โดยลงมือปฏิบัติ (DO) เป็นกระบวนการเรียนรู้โดยการลงมือ กระทำ และได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ทำจริง ในสถานที่จริง สิ่งของจริง และเป็นเรื่องจริง โดยรูปแบบการเรียนรู้นี้สามารถเรียนรู้ได้โดยในขณะปฏิบัติ งาน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนรู้นั้นเกิดประสบการณ์โดยตรง เช่น • การลงมือปฏิบัติจริงกับงานที่ทำอยู่ (On The Job Activity) เป็นการได้ ฝึกปฏิบัติงานจริงไปพร้อมกับการเรียนรู้ โดยมีผู้สอนเป็นหัวหน้างาน หรือพี่ เลี้ยง ที่คอยติดตามเพื่ออธิบายและชี้แนะ การเรียนรู้รูปแบบนี้ทำให้ผู้เรียนรู้ได้ เห็นภาพการทำงานจริง และสามารถเข้าใจในการดำเนินงานอย่างแท้จริง • การหมุนเวียนงาน (Job Rotation) ให้พนักงานได้เรียนรู้งานใหม่ ๆ ที่ไม่ เคยทำมาก่อน ได้มีโอกาสหมุนเวียนไปเรียนรู้หรือทำงานในตำแหน่งอื่น ๆ ซึ่ง อาจจะเป็นงานในฝ่ายเดียวกันแต่ละคนละหน้าที่ เพื่อให้พนักงานได้มีความรู้เพิ่ม ขึ้น และมีทักษะที่ดีขึ้น ทั้งยังเป็นวิธีการหนึ่งของการวางแผนความก้าวหน้าใน สายอาชีพ (Career Plan) ซึ่งทำให้พนักงานได้ลงมือทำจริงก่อนจะเลื่อนขั้นไป ยังตำแหน่งงานที่สูงขึ้น • การรับมอบหมายกิจกรรมหรือโครงการพิเศษ (Special Assignment) เป็นกระบวนการที่ให้พนักงานได้เรียนรู้จากการได้รับผิดชอบงานขนาดใหญ่และ มีความสำคัญ เป็นงานที่มีความท้าทาย ทำให้พนักงานที่ได้รับผิดชอบงานนั้น รู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และเป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงศักยภาพ ทั้ง ยังเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับพนักงานอีกด้วย 4. เรียนรู้ด้วยการสอนผู้อื่น (COACH) เน้นการสร้างบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการถ่ายทอด และมีความรู้ต่อเรื่องนั้น ๆ โดยมอบหมายให้ บุคคลเหล่านี้เป็นวิทยากรภายในองค์กรทำหน้าที่จัดอบรมให้กับบุคลากรในฝ่าย งานต่าง ๆ เป็นการสร้างแรงจูงใจและพัฒนาความสามารถของบุคลากร ช่วย ให้บุคลากรได้แสดงทักษะ ความรู้ความสามารถ หรือผลงานให้กับบุคลากร ภายในองค์กร เช่น • การสอนพนักงานใหม่ (New Hire Buddy/Mentoring) คือการให้ พนักงานเป็นพี่เลี้ยงหรือเป็นโค้ชให้กับพนักงานใหม่ เพื่อสอนงาน โดยถ่ายทอด ทักษะ ความรู้ ความสามารถที่ให้แก่พนักงานใหม่ จนเกิดความรู้ความเข้าใจใน งาน และสามารถปฏิบัติงานได้ • การถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น (Knowlede Transferring) ให้พนักงานที่ มีความรู้ความสามารถและรักในการสอน เป็นวิทยากรภายในองค์กรทำหน้าที่ จัดอบรมให้กับบุคลากรในฝ่ายงานต่าง ๆ ช่วยให้บุคลากรได้แสดงทักษะ ความรู้ ความสามารถ หรือผลงานให้กับบุคลากรภายในองค์กร 7
เป็นยังไงกันบ้างคะ เพื่อน ๆ ชาว ธพส. เพื่อน ๆ ก็ได้เห็นกัน แล้วว่าการพัฒนาทรัพยากรบุคคลนั้นไม่ได้มีแค่การฝึกอบรมเพียง อย่างเดียว แต่ยังมีกระบวนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอีกหลาก หลายรูปแบบ ที่เราสามารถพัฒนาและเพิ่มศักยภาพให้กับพนักงาน ในองค์กรได้ นอกจากนี้เพื่อน ๆ จะเห็นได้ว่าการพัฒนาตนเองเป็น สิ่งจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเพื่อน ๆ เป็นแรงขับ เคลื่อนที่สำคัญที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความก้าวหน้า เพราะฉะนั้น อย่าหยุดพัฒนาตนเองกันนะคะ นางสาวจุฬาลักษณ์ นิจกระโทก ส่วนพัฒนาทรัพยากรบุคคล ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ที่มาของข้อมูล : - Paigenavamarat. (2015). Job Rotation, สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565. จาก https://paigehr.wordpress.com/2015/07/14/job-rotation/ - PANG POND. (2021). ความหมายของการพัฒนาตนเอง, สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565. จาก https://www.pangpond.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0% b8%92%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%87 - คณะอนุกรรมการบริหารผลการปฏิบัติราชการเพื่อดำเนินการติดตามการเชื่อมโยงกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วน ราชการสังกัดรัฐสภา. (2021). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล (IDP) ด้วยการเรียนรู้แบบ 70 : 20 : 10 ( 70 : 20 : 10 Learning Model) ของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา, สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565. จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/article/article_20200212154402.pdf - กลุ่มงานพัฒนาและฝึกอบรม สำนักพัฒนาบุคลากร. (2021). คู่มือแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้วยวิธีการนอกเหนือจากการฝึกอบรม (Non Classroom Training), สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2565. จากhttps://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=76899&filename=index - กองฝึกอบรม กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย. (2016). การเรียนรู้ด้วยตนเอง (SELF-DIRECTED LEARNING), สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2565. จาก https://www.dol.go.th/train/DocLib1/14self.pdf - IDP for C – D Project (Grade Development Guideline). (2017). ธนพล ฉัตรพรลือชัย - แนวคิดการพัฒนาตนเอง ให้ประสบความสำเร็จ. (2016)., สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565. จาก https://moneyhub.in.th/article/how-to-improve-yourself/ 8
How to be a creative person : ทำอย่างไร ถึงจะเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ เมื่อพูดถึงเรื่องความคิดสร้างสรรค์หรือไอเดียใหม่ ๆ หลายคนอาจจะมีความคิดเหล่านี้อยู่ในหัวตลอดเวลา เช่น “ทุกอย่างมันก็มี หมดแล้วนี่” หรือ “ฉันไม่รู้จะเริ่มยังไง” หรือแม้กระทั่ง “ฉันไม่ใช่คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ฉันคิดไม่ออก” เป็นต้น บางคนยังมี ความเชื่อว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นพรสวรรค์ เป็นสิ่งที่ได้มาตั้งแต่เกิด แต่เชื่อไหมครับว่า ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่เรื่องของ พรสวรรค์ แต่เป็นเรื่องของ “ทักษะ” หรือ Skill และถ้าพูดถึงทักษะนั้น ย่อมแปลว่า มันต้องเรียนรู้ได้ มันต้องฝึกฝนได้ วันนี้ผม จึงขอแนะนำวิธีการฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์ให้มีมากขึ้น ให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ชาว ธพส. ได้เลือกใช้ตามวิธีที่ตัวเองถนัดได้ เลยครับ กำหนดเวลาที่จะฝึกคิด ลองกำหนดเวลาสักช่วงนึงในแต่ละวัน ถ้าจะให้ดี ควรทำนัดหมาย calendar เหมือนนัดที่สำคัญ ที่จริงจัง พอถึงเวลาที่กำหนด เราก็ใช้เวลากับมัน จริง ๆ โดยการลองทำอะไรก็ได้ที่สร้างสรรค์ เช่น การอ่านหนังสือ การออกแบบตกแต่งห้อง หรือ แม้กระทั่งการระบายสีหรือเขียนไดอารี่ ทำอะไร ก็ได้ที่มันเป็นการสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ขึ้นมา ลองทำชีวิตให้เบื่อบ้าง ลองนึกภาพดูนะครับ ถ้าคุณเป็นคนที่ยุ่งมาก ๆ หรือ ภาษาวัยรุ่นอาจจะบอกว่ายุ่งจนได้โล่ คุณทำงานนั่น โน่นนี่ชิ้นโน้นต่อชิ้นนี้ตลอดเวลา คุณจะเอาเวลาที่ไหน ให้สมองคุณได้ผ่อนคลายได้ล่องลอยบ้าง ถ้าอย่างงั้น เราลองมาทำชีวิตเราให้ว่างขึ้นหน่อย (ว่างจนกระทั่ง ถึงขั้นเบื่อ) แล้วมันจะดีได้ยังไง เรามาลองนึกภาพตาม อีกเรื่องนะครับ เวลาคุณนั่งเบื่อ ๆ คุณมักจะปล่อย ความคิดให้ล่องลอยคิดโน่นนั่นนี่ไปเรื่อย และนั่นแหละ ครับจุดเริ่มต้นของการเกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์ อะไรใหม่ ๆ ลองทำงานเดิม ๆ ในเวลาใหม่ ๆ วิธีการง่าย ๆ เพื่ อแก้งานที่คุณรู้สึกว่า ติดขัด คิดอะไรไม่ออก ก็คือการลองทำมัน ในช่วงเวลาใหม่ ๆ การเปลี่ยนช่วงเวลาที่เรา ทำงานแบบเดิม ๆ จะช่วยให้เรามองเห็นภาพ ในมุมที่ต่างออกไป มันจะช่วยกระตุ้นสมอง ส่วนประเมินข้อมูล (Salience Network) ให้เห็นความเชื่ อมโยงของเรื่องราวใหม่ ๆ ที่ ต่างมุมมองออกไป ระหว่าง คลังความรู้ใน สมองคุณกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ 9
ออกไปเดินเล่น ออกไปขยับร่างกาย บางครั้งการเปลี่ยนสภาพแวดล้อม มันจะทำให้คุณมองเห็นปัญหาในอีกมุมนึง แล้ววิธีที่ทำได้ง่ายที่สุดก็คือ การออกไปเดินเล่น มีงานวิจัยหลายงานค้นพบว่า การเดินเล่นสามารถเพิ่มผลลัพธ์ในเชิงสร้างสรรค์ได้มากกว่า 60% เพราะการเดินเล่นจะช่วยกระตุ้นคิดจาก 3 กิจกรรมของสมอง ประกอบไปด้วย สมองส่วนเครือข่ายความ ตั้งใจจดจ่อ (Executive Attention Network) เพราะคุณต้องคิดว่าคุณจะเดินไปทางไหน สมองส่วน จินตนาการ (Imagination Network) เพราะว่าคุณจะมีอิสระที่ฝันกลางวันระหว่างเดิน และสิ่งเร้าใน สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่คุณพบเจอจะช่วยกระตุ้นสมองในส่วนการประเมินข้อมูล (Salience Network) เช่นกัน นอกจากนั้นแล้วผู้เชี่ยวชาญหลายคนยังแนะนำว่าการออกกำลังกายเป็นประจำยังส่งผลต่อสภาพจิตใจด้วย การออกกำลังจะช่วยลดความเครียด ทำให้หลับได้ดีขึ้น และช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์อีกทางนึงด้วย ลองอะไรใหม่ ๆ นอก Comfort Zone ของตัวเอง ถ้าคุณถนัดทำบันทึกข้อความ ลองออกไป ออกแบบ Power Point บ้าง หรือ ถ้าคุณเป็นมือ Power Point ลองไปออกแบบตารางข้อมูลใน งานของตัวเองบ้าง เป็นต้น การได้ลองอะไรใหม่ ๆ ช่วยให้สมองคุณได้สร้างความเชื่อมโยงใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมองส่วนประเมินข้อมูล (อีกแล้ว) ซึ่งการสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ นี้จะช่วยให้คุณ สามารถสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ในชีวิตตามไปด้วย กลายร่างเป็นเครื่องผลิตไอเดีย บังคับตัวเองให้จดไอเดียใหม่ ๆ และ น่าสนใจเป็น ประจำทุกวันวันละ 10 – 20 ไอเดีย เพื่อช่วย กระตุ้นสมองสามส่วนตามที่พูดถึงไปแล้ว ไอเดีย เหล่านั้นไม่จำเป็นต้องดีหรือนำไปสู่ธุรกิจใหม่ ๆ เสมอไป ข้อกำหนดเดียวคือ มันต้องใหม่และน่า สนใจ หรือแม้กระทั่ง ลองหาวิธีการใหม่ ๆ ในการ ใช้สิ่งของรอบตัว เช่น ลวดหนีบกระดาษ อิฐ หรือ มีด การฝึกด้วยวิธีนี้เหมือนกับการออกกำลังกาย สร้างกล้ามเนื้อ สุดท้ายแล้วมันจะนำคุณไปสู่ การเป็น “เครื่องผลิตไอเดีย” ได้นั่นเอง ถามคำถามให้มากขึ้น การถามคำถามมากขึ้นทำให้คุณเรียนรู้มากขึ้น ในระหว่างการทำงานถ้าสงสัยอะไรขึ้นมาให้ถามเลย ถามเพื่อนร่วมงาน ถามหัวหน้างาน ถามผู้อำนวยการ ถามไปได้เลยแม้ว่าคุณจะคิดว่ามันดูไม่มีอะไร หรืออาจจะคิดว่ามันดูตื้นเขินก็ตาม อย่างน้อย มันทำให้คุณรู้เรื่องราวมากขึ้น มีข้อมูลมากขึ้น และคุณก็จะมีองค์ความรู้มากขึ้นมาเป็นฐานในการคิดมากขึ้น และเมื่อเรียนรู้ มากขึ้นก็จะมีโอกาสให้คุณได้พบไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ มากขึ้นตามไปด้วย ขั้นตอนต่อไปหลังจากฝึกฝนความกล้าในการถาม แล้ว หรือถ้าคุณเป็นคนที่ชอบซักถามเป็นประจำอยู่แล้วอยู่แล้ว นั่นก็คือการถามคำถามที่ถูกต้อง ลองฝึกฝนแบบนี้ดูครับ ลองเขียนรูปแบบของคำถามใหม่ขึ้นมา 10 รูปแบบจากคำถามเดิม (โดยไม่คิดเยอะเกินไป) แล้วคุณจะพบว่าอย่างน้อย 1 คำถามที่คุณเขียนขึ้นมาใหม่ จะดีกว่าที่คำถามเริ่มต้นที่คุณคิดขึ้นมา 10
บันทึกทุกสิ่ง เก็บทุกอย่าง ในสภาพแวดล้อมที่เร่งรีบที่ทุกอย่างเคลื่อนไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน มันเป็นเรื่องจำเป็นที่เราต้องคอยบันทึก ไอเดียเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเราไว้ตลอด เมื่อไรก็ตามที่คุณได้เจอแรงบันดาลใจ ไม่ว่าจะใหญ่หรือจะเล็ก เพราะคุณ ไม่มีทางรู้หรอกว่า ไอเดียเล็ก ๆ น้อย ๆ ของคุณเหล่านี้จะมีความสำคัญอย่างไรในอนาคต เก็บโทรศัพท์ให้ห่างเกินเอื้อมมือ ในขณะที่สื่อสังคมออนไลน์จะเป็นแหล่งที่คุณจะแสดงผลงานสร้างสรรค์ ของคุณได้ แต่มันก็ไม่ใช่ที่ที่คุณจะมี Focus และหลีกเลี่ยงความฟุ่งซ่านไป ได้ มันเป็นเรื่องที่รู้โดยทั่วกันว่าการมี Notification เตือนตลอดเวลาทำให้ ช่วงความสนใจ (Attention Span) ของเราสั้นลงเรื่อย ๆ ถ้าคุณอยู่กับ โทรศัพท์ทั้งวัน สมองของคุณจะไม่มีเวลาพอที่ประมวลข้อมูลที่คุณได้รับ และยิ่งถ้าถูกรบกวนด้วยแอพต่าง ๆ หรือข้อความต่าง ๆ เรื่อย ๆ มันก็ยิ่ง เป็นไปได้น้อยที่คุณจะมีความคิดสร้างสรรค์ที่ดี ๆ ได้ ลองพยายามกำหนด เวลาในการเข้าระบบออนไลน์ เช่น e-mail หรือ e-saraban เป็นช่วงเวลา ที่ตายตัวเช่น รอบ 10 โมง และ บ่ายสอง หรืออาจลองปิด notification ของไลน์ในเวลาที่คุณจะลงมือคิดหรือทำอะไรสักอย่าง มันจะช่วยให้คุณลด การเสียเวลาและมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น สร้างเดดไลน์ให้ตัวเอง ให้ลืมไปเลยว่าเคยทำอะไรมา เดดไลน์อาจจะดูน่ากลัว แต่จริงแล้วมันจะเป็น หลายคนเคยทำงานอะไรแล้วประสบความสำเร็จ เครื่องมือสำคัญในการทำงานให้สำเร็จ และช่วยสร้าง มาอย่างดีแล้วในอดีต และคุณควรภูมิใจกับมัน แต่ แรงกระตุ้นในการทำงาน กำหนดแผนกับตัวเองให้ได้ สิ่งที่สำคัญ คือ มันถึงเวลาที่คุณควรมุ่งไปข้างหน้า ว่ามันต้องได้อะไรออกมาสักอย่าง หลังจากช่วงที่คุณ และคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ถ้าคุณยังยึดติดอยู่กับความ ให้เวลาได้นั่งพัก นั่งคิด นั่งฝันกลางวัน การทำแบบนี้ สำเร็จในอดีตคุณก็จะติดอยู่ในลูปนี้ไม่ได้ไปไหน ไม่ มันจะบังคับให้คุณต้องหาแรงบันดาลใจอะไรสักอย่าง ได้ก้าวหน้าไปไหนคุณก็จะทำแต่เรื่อง หรือรูปแบบ ในสภาพแวดล้อมรอบตัวและสุดท้ายคุณก็จะรู้สึกว่า เดิม ๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า พยายามอย่าจำกัดตัวเองกับ ตัวเองประสบความสำเร็จอะไรสักอย่าง รูปแบบธรรมดา ๆ เดิม ๆ พยายามมองหาหรือทำ อะไรที่หลากหลายยิ่งขึ้น ทำให้ตัวเองกลายเป็น Expert ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การจะกลายเป็นผู้ที่สำเร็จอะไรชั้นยอดสักคนนึง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับพรสวรรค์เพียงอย่างเดียว แต่มาจากฝึกฝนซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า (ความสำเร็จในระดับโลกต้องฝึกฝนไม่ต่ำกว่า 10,000 ชั่วโมง) แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า จะทำอะไรแบบเดิมซ้ำไปซ้ำ มาตลอด แต่ควรจะพยายามผลักดันขีดจำกัดของตัวเองไปเรื่อย ๆ ทีละเล็กทีละน้อยในทุก ๆ ครั้งที่ทำ จนคุณกลายเป็น Expert ในเรื่องนั้น ๆ และเมื่อคุณเป็น Expert แล้ว คุณถึงใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไปในงาน ดังคำกล่าวของ Keith Sawyer นักวิจัยด้านจิตวิทยาที่ว่า “นักสร้างสรรค์ที่ประสบความสำเร็จไม่ใช่แค่ชื่นชอบความรู้ เขากระหายมัน เขาไม่สามารถ หยุดตั้งคำถามได้ และเขามักจะไปไกลกว่าในตำราที่เขาเรียนมา” ซึ่งมันก็มีวิธีฝึกฝนตัวเอง เช่น การฟัง TED Talk เพื่อสร้าง แรงบันดาลใจ การศึกษาลงลึกไปกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่สนใจ เช่น หากคุณสนใจเรื่องการกินไวน์ คุณอาจจะต้องศึกษาลึกไป ถึงประวัติของการเกิดไวน์ ความแตกต่างของภูมิภาคแหล่งปลูกองุ่น เทคนิควิธีการชิมไวน์ อาหารที่เหมาะกับไวน์ชนิดต่าง ๆ เป็นต้น แม้ว่าเรามองไปที่คนที่มีความคิดสร้างสรรค์มาก ๆ แล้วเห็นว่าเขาทำอะไรที่มันแหวกแนวแตกต่างออกไปอย่างมาก แต่มันไม่ได้หมายความว่าเขาทำอะไรที่พิเศษมากไปกว่าคนอื่นเลย ความสามารถในการคิดหรือการทำอะไรอย่างสร้างสรรค์ สุดท้ายแล้วมันอยู่ที่ความรู้ที่คุณมีติดตัว การฝึกฝนที่คุณทำเป็นประจำ และความเชื่อมั่นที่จะคิดที่จะทำนอกกรอบแนวคิด เดิม ๆ และเรียนรู้จากข้อผิดพลาด ผมเชื่อว่าไม่มีใครหรอกครับที่อยากจะผิดพลาด แต่เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วเราเรียนร็อะไรจาก มันได้ไหม ถ้าทำได้มันก็คือความก้าวหน้าอย่างหนึ่ง ถ้าคุณยังต้องการที่จะผลักดันตัวเองไปในแนวทางการมีความคิด สร้างสรรค์ในระดับสูง คุณจำเป็นต้องรู้จุดอ่อนและจุดแข็งของตัวเองก่อน หลังจากนั้นแล้ว ตราบใดก็ตามที่คุณยังอยากจะ เป็นสร้างสรรค์และยังอยากถามคำถามมากมาย อยากออกไปสำรวจโลก เพียงเท่านี้คุณก็มีองค์ประกอบที่ครบถ้วนของการ เป็นคนที่สร้างสรรค์แล้ว ที่มาของข้อมูล : นายปารินทร์ สีจร https://99designs.com/blog/creative-thinking/how-to-be-more-creative/ ส่วนจัดการความรู้และนวัตกรรม https://thrivemyway.com/how-to-be-more-creative/ https://www.penguin.co.uk/articles/2018/how-to-be-more-creative-anthony-burrill.html ฝ่ายทรัพยากรบุคคล https://www.inc.com/christina-desmarais/25-ways-to-be-more-creative.html https://camillestyles.com/wellness/6-surprising-ways-become-creative-person/ https://www.turnerstories.com/blog/2020/6/28/how-to-be-a-creative-person 11
ส่องงานเพื่อนบ้าน หัวข้อ การจัดการ ความรู้ภายในองค์กร สวัสดีครับเพื่อนๆพี่ ๆ ชาว ธพส. วันนี้ผมขอ พาไปทำความรู้จักกับการจัดการความรู้ภายใน องค์กร ของ บริษัท เอสซีจี ที่ผลิตปูนซีเมนต์ ว่าเขามีแนวคิด การดำเนินการหรือจัดกิจกรรม ผลผลิตและผลลัพธ์ รวมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยใดที่ ช่วยส่งเสริมให้ เอสซีจี สามารถทำการจัดการ ความรู้ได้สำเร็จ เพื่อที่เราจะได้นำมาปรับใช้ ภายในองค์กรของเรากันครับ ก่อนอื่นเลย เรามาดูแนวคิดในการจัดการความรู้ ของ เอสซีจี กันก่อน เอสซีจี เริ่มนำแนวทางการ จัดการความรู้ มาใช้ในการพัฒนาบุคลากร ด้วย กระบวนการแบ่งปัน แลกเปลี่ยน จัดเก็บและเผย แพร่ความรู้ มีการพัฒนาความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Soft learning, e-learning, Book briefing, Case study มีการจัดอบรม KM ให้ พนักงานในหน่วยงาน จัดทำ Web board เพื่อ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ การจัดการความรู้ ที่ดี ต้องเริ่มต้นด้วยการค้นหา Knowledge Gap ในองค์กร ต้องรู้ว่าความรู้ที่บริษัทต้องการนั้นมี อะไรบ้าง จากนั้นก็วางแผนต่อไปว่าจะหาความรู้นั้น จากใคร ที่ไหนได้บ้าง หรือหากมีอยู่แล้ว ทำอย่างไร จึงแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นไปยังคนอื่น ได้ ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงผลงาน สร้างความรู้ ใหม่ และต้องมีการบันทึกความรู้ในตัวคนเอาไว้ หาก เป็นเรื่องในทางดีเก็บเป็น case study หากเรียนรู้ จากความผิดพลาดเก็บเป็น lesson learned เพื่อ ไม่ให้ผิดพลาดเช่นเดิมอีก 12
เอสซีจี แบ่งปันความรู้ที่ได้จากการทำงานให้กับพนักงานอื่น ๆ ด้วย \"บริหารการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพนักงาน\" ด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1.การจัดการการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม เช่น กำหนดให้ความใฝ่รู้ (Eager to Learn) เป็น Core competency ของพนักงานทุกคน ผู้บริหารเป็น ตัวอย่างที่ดีในการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนให้มีผู้ที่มีความสนใจเรื่องเดียวกันมา รวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ 2.การสื่อสาร ทำการสื่อสารผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อให้พนักงานทุกคนรู้ว่าหน่วยงาน กำลังทาอะไร ทำแล้วหน่วยงานและพนักงานจะได้ประโยชน์อะไร พนักงานจะมี ส่วนร่วมโดยการทำอะไรและทำอย่างไร 3.กระบวนการและเครื่องมือ สร้างโอกาสและช่องทางที่หลากหลายเพื่อให้เกิดการแบ่ง ปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหลาย ๆ รูปแบบ เช่น ฐานความรู้ ชุมชนนักปฏิบัติ ฯลฯ 4.การฝึกอบรมและการเรียนรู้ จัดอบรมให้พนักงานมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการ ความรู้ ทั้งด้านความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ การมีส่วนร่วม รวมทั้ง เทคนิควิธีการใช้เครื่องมือ KM แนะนำวิธีติดตามข่าวสารและแหล่งความรู้ใน SCG เป็นต้น 5.การวัดผล มีการวัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพนักงานโดยการสังเกต การพูดคุย การใช้แบบสอบถาม วัดประสิทธิภาพของสื่อต่าง ๆ ดูจากปฏิกิริยา การรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีการสื่อสารถึงพนักงาน วัดผลสำเร็จของการดำเนิน กิจกรรม KM โดยดูจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของพนักงาน วัด ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ KM ของพนักงาน และวัดความพึงพอใจของ พนักงานที่มีต่อการจัดการความรู้ 6.การยกย่องชมเชยและให้รางวัล คณะทำงาน KM มีการยกย่องชมเชยหรือให้ รางวัลแก่พนักงาน เพื่อกระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ด้าน การจัดการความรู้ที่หน่วยงานจัดขึ้น ต่อมาผมจะพามาดูว่า เอสซีจี มีการดำเนินกิจกรรมและโครงการ ต่าง ๆ ในการจัดการความรู้ อะไรบ้าง 1.การสำรวจตัวเอง ให้พนักงานกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มที่เป็นเอกสารหรือทางคอมพิวเตอร์ ว่า “รู้” ว่าตัวเองรู้อะไร ไม่รู้อะไรและ “ไม่รู้” ว่าตัวเองรู้อะไร ไม่รู้อะไร 2.Knowledge Mapping ทำให้ทราบว่าความรู้ที่องค์กรต้องการนั้น มีอยู่ที่พนักงานคนใดบ้างพนักงานแต่ละคนมี ความรู้อะไรที่องค์กรต้องการบ้าง องค์กรและพนักงานขาดความรู้อะไรบ้าง 3.เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learn and Share Forum) กำหนดเวลาที่แน่นอน เช่น ทุกเช้าวันจันทร์ ใช้เวลาไม่เกิน 1.30 ชั่วโมง กำหนดเรื่องที่เล่า เช่น Book Briefing, ประสบการณ์การไปดูงาน มีการบันทึกในสื่อที่เผยแพร่ง่าย มีผลในการกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร 4.Book Briefing คัดเลือกหนังสือที่น่าสนใจ แล้วแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ เช่น หมวด Innovation หมวด Marketing หมวด HRM เป็นต้น ประกาศเพื่อหาผู้สนใจอ่านหนังสือ บันทึกเนื้อหาลงในสื่อมัลติมีเดียเพื่อให้สามารถเผยแพร่ ได้ง่าย รวบรวมผลงานทั้งหมดไว้เป็นหมวดหมู่ในฐานข้อมูลความรู้ขององค์กร 5.ระบบให้การปรึกษา ผู้ที่มีข้อสงสัยในการทำงานสามารถ Post คำถามไว้ในระบบ ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละหมวดหมู่จะได้ รับอีเมล แจ้งให้เข้ามาตอบ เพื่อให้ผู้ถามหรือผู้สนใจสามารถเข้ามาอ่านคำตอบได้ตลอดเวลา และสามารถนำไปเป็น บรรทัดฐานในการทำงานได้ 6.KM Web Portal ประกอบด้วยหลายระบบดังนี้ ระบบบริหารผู้ใช้ ระบบจัดการเนื้อหาความรู้ ระบบจัดการการเรียนรู้ ระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และระบบแผนที่ความรู้ (Knowledge Mapping) เพื่อให้ทราบว่าความรู้ที่ต้องการ สามารถ หาได้จากที่ใดหรือจากบุคคลใด ระบบรายงาน เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับ Utilization ของระบบ รวมทั้ง พฤติกรรม การใช้งานของผู้ใช้ 13
ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้สามารถทำการจัดการความรู้ได้สำเร็จ 1.การจัดการความรู้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายขององค์กร และเป็นไปในทิศทาง เดียวกับกลยุทธ์ขององค์กร 2.วัฒนธรรมขององค์กรสนับสนุนให้เกิดการแบ่งปันความรู้ ผู้บริหารเป็นตัวอย่าง และให้การสนับสนุน 3.การจัดการความรู้เป็นส่วนหนึ่งของงานประจำ ไม่ใช่ภาระงานที่เพิ่มขึ้น 4.ระบบเทคโนโลยีเป็นระบบเดียวทั้งองค์กร ทำให้สะดวกในการสืบค้นข้อมูล 5.มีระบบการให้รางวัลและการยกย่องในรูปแบบต่าง ๆ ที่กระตุ้นให้คนสนใจที่จะ แบ่งปันความรู้ ผลผลิตของการจัดการความรู้ 1. สร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2.มีอุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็น เช่น ระบบสารสนเทศ 3. การจัดเก็บองค์ความรู้ที่รวบรวมมาจากพนักงานอย่างเป็นระบบ 4.มีการจัดทำฐานข้อมูลที่เข้าถึงได้สะดวกและรวดเร็ว จากการสำรวจพบว่า พนักงานเอสซีจี ส่วนใหญ่เข้าถึง เว็บไซต์ และมีการนำไปใช้ประโยชน์ถึง 80 % ผลลัพธ์ของการจัดการความรู้ 1. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสูงขึ้น 2. ข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานต่ำลง 3.พนักงานใหม่ต้องเข้าไปเรียนรู้งานในหน้าที่ของตนใน KM Center ก่อน ทำให้ การสอนงานง่ายรวดเร็วและได้ผลดี พนักงานที่เริ่มงานใหม่ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ ธพส. นั้นมี ส่วนจัดการความรู้และนวัตกรรม เป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินการจัดการความรู้ เช่นกัน และมีการแต่งตั้งคณะทำงานกำกับการดำเนินงานกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการ (Enablers) ตามระบบประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่ชัดเจน ในแต่ละด้าน หนึ่งในนั้นมีด้านการจัดการ ความรู้ (Knowledge Management Team หรือ KM Team) ซึ่งมีกระบวนการใดบ้าง และมีกิจกรรม / โครงการใดเพื่อช่วยในการจัดการความรู้ภายในองค์กรนั้น โปรดติดตามครั้งต่อไปครับ... ที่มาของข้อมูล : นายวัชรินทร์ สินสมศักดิ์ https://www.okmd.or.th/upload/pdf/chapter3_kc.pdf ,สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ส่วนจัดการความรู้และนวัตกรรม มีนาคม 2565. https://en.wikipedia.org/wiki/Siam_Cement_Group ,สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ฝ่ายทรัพยากรบุคคล 2565. https://www.freepik.com/free-vector/businessman-get- idea_1091808.htm#query=idea&position=1&from_view=search https://www.freepik.com/free-vector/successful-business-man-holding- trophy_11879373.htm#query=output&position=37&from_view=search 14
KM&INNO Newsletter รถโดยสารไฟฟ้าภายในศูนย์ราชการฯ ปี พ.ศ. 2558 ธพส. ใช้รถไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ ฝบอ. คาดว่า ปี พ.ศ. 2567 จะนำ รถไฟฟ้าระบบปรับอากาศมาให้บริการ ภายในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ได้ใช้กันตามหนังสือเวียนสำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี ที่ส่งเสริมการใช้รถไฟฟ้า ปี พ.ศ. 2561 ปี พ.ศ. 2563 ปี พ.ศ. 2567- พ.ศ. 2568 ผู้จัดทำ นายสุโรจ จงเจริญยานนท์ นายวันชัย เคนคา นายรุ่งสว่าง ด้วงคาจันทร์ แหล่งอ้างอิง หนังสือเวียนด่วนที่สุด เลขที่หนังสือ นร ๐๕๐๕/ว ๓๔๔๑ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564 เรื่อง การนารถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้ามาใช้ในราชการ 15
อนิเมะกีฬากับการกระตุ้น ความอยากออกกำลังกาย ออกกำลังกาย คือ การทำกิจกรรมที่ได้ออกแรงหรือ เคลื่อนไหวร่างกายซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ การออกกำลังกายอย่าง สม่ำเสมอก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ โดยช่วยจัดระเบียบร่างกายและ ควบคุมอารมณ์ได้เป็นอย่างดี ประโยชน์โดยทั่วไปของการออกกำลังกาย • การออกกำลังกายช่วยป้องกันมะเร็งได้ • ทำให้จิตใจเบิกบานแจ่มใส • ร่างกายแข็งแรง เพิ่มภูมิต้านทาน • การออกกำลังกายยังช่วยป้องกันโรคหัวใจ ซึ่งเป็น สาเหตุของการเสียชีวิตสูงสุดอันดับสองในประเทศไทย • ทำให้คล่องแคล่ว ทรงตัวดี ลดการลื่นล้มบาดเจ็บ • ป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, โรคภูมิแพ้ • ช่วยในการย่อย และดูดซึมอาหาร ลดท้องอืดท้องเฟ้อ ระบบขับถ่ายดีขึ้น ลดความอ้วน • โอกาสเกิดติดเชื้อน้อยลง • มีสมาธิในการทำงานดีขึ้น • ช่วยรักษาโรคซึมเศร้า ลดความเครียด • นอนหลับได้ดี • ชะลอความแก่ ความเสื่อมของสมรรถภาพทางร่างกาย ทำให้ดูหนุ่มสาวขึ้น ยืดอายุให้ยืนยาว ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของการออกกำลังกาย • เสริมสร้างทักษะการเข้าสังคม การเล่นกีฬาช่วยให้มีทักษะการเข้าสังคม เพราะกีฬาบางชนิดจำเป็นที่ต้อง เล่นเป็นทีม หรือเป็นสิ่งที่จะทำให้ได้มีปฏิสัมพันธ์กันกับผู้คนในหลาย ๆ ระดับ นอกจากนี้ ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ได้รู้จักคนใหม่ ๆ สร้างมิตรภาพ และเสริม สร้างทักษะการสื่อสาร • ยอมรับความพ่ายแพ้หรือผิดหวัง การแข่งขันย่อมมีแพ้และชนะ การได้เริ่มเล่นกีฬา จะทำให้เข้าใจกระบวนการ ของการแพ้และชนะ รวมทั้งได้เรียนรู้เกี่ยวกับความผิดหวังจากการคาดหวังของ ตนเองและเรียนรู้ที่จะจัดการกับมัน • มีวินัย รู้จักการวางแผน ทุกกีฬาไม่มีวันที่จะสามารถเล่นแล้วเก่งได้ภายในวันเดียว ทุกคนต้องผ่าน การฝึกฝนและสั่งสมประสบการณ์ การเริ่มเล่นกีฬาจะได้เรียนรู้ถึงสิ่งที่เรียกว่า วินัย และเรียนรู้ที่จะวางแผนไปสู่ความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นชนะในการแข่งขัน หรือการเอาชนะตัวเองที่อยู่ภายใต้แรงกดดันและข้อบังคับ กฎ กติกากีฬา • การทำงานเป็นทีม กีฬาหลาย ๆ ชนิด เป็นเครื่องสร้างความสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดี เพราะต้อง เล่นเป็นทีม การสื่อสาร การรับฟัง และการปฏิบัติตามจึงเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากการทำงานเป็นทีมแล้ว ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้นำ และผู้ตาม ในสถานการณ์ต่าง ๆ 16
5 อนิเมะกีฬาแนะนำ ที่สร้างแรงกระตุ้น ในการออกกำลังกายและแรงบันดาลใจ 1. Run With The Wind : วิ่งไปกับสายลม อนิเมะสายวิ่ง เรื่องราวมิตรภาพระหว่างหนุ่ม ๆ นักกีฬาในชมรมวิ่งมาราธอนระยะไกล ที่ช่วยเหลือ กันและกันในชมรมของมหาวิทยาลัย เพื่อพาทีมให้ ก้าวไปสู่ \"ฮาโคเนะ เอคิเด็น\" ศึกวิ่งระยะไกลระดับ มหาวิทยาลัยรายการใหญ่สุดในประเทศญี่ปุ่นที่เป็น การวิ่งผลัด 2. Yowamushi pedal : โอตาคุน่องเหล็ก เรื่องราวของหนุ่มโอตาคุ ที่ฝันอยากเข้าชมรม อนิเมะในรั้วมัธยมปลายเพื่อหาเพื่อนคุยในเรื่องที่ สนใจ แต่สถานการณ์กลับทำให้ต้องตัดสินใจเข้า ชมรมจักรยานแทน หนุ่มน้อยได้พบเจอกับความ แปลกใหม่ มิตรภาพระหว่างเพื่อน รุ่นพี่ ความฝัน ความพ่ายแพ้ และชัยชนะ ในระหว่างการเข้าร่วม ชมรม 3. Kuroko’s basketball อนิเมะกีฬาบาสเกตบอล ว่าด้วยเรื่องของ ‘คุโรโกะ เท็ตสึยะ’ สมาชิกเงาคนที่ 6 ของรุ่นปาฏิหาริย์แห่งชมรมบาสฯ มัธยมต้น เทย์โค และการแข่งขันร่วมกับทีมบาสเกตบอล โรงเรียนมัธยม ปลายเซย์ริน ที่ท้าสู้กับเหล่าผู้เล่นทั้ง 5 ของรุ่นปาฏิหาริย์แห่ง เทย์โค เพื่อให้พวกเขาทั้ง 5 ได้เข้าใจถึงหัวใจของการเล่น บาสเกตบอล และพาชมรมบาสฯ ของเซย์รินไปสู่การเป็น อันดับหนึ่งของประเทศ 17
4. Haikyuu!! คู่ตบฟ้าประทาน เล่าเรื่องของ ‘ฮินาตะ โชโย’ ที่จับคู่กับ ‘คาเงยามะ โทบิโอะ’ คนที่เขาตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นคู่แข่ง แต่กลับ กลายเป็นว่าพวกเขาต้องกลายมาเป็นเพื่อนร่วมทีม และ ชมรมวอลเลย์บอลโรงเรียนมัธยมปลายคาราสึโนะ จาก ทีมโรงเรียนโนเนมของจังหวัดมิยากิ ที่ตั้งเป้าหมายเพื่อ ก้าวไปสู่การแข่งขันระดับประเทศ 5. Ace of Diamond อนิเมะเบสบอลชื่อดัง ถ่ายทอดเรื่องราวของ ‘ซาวามูระ เอย์จุน’ พิชเชอร์มือซ้ายที่ถูกทาบทามให้เข้าโรงเรียนเซย์โด โรงเรียนชื่อดัง เรื่องเบสบอลในโตเกียว ‘มิยูกิ คาซึยะ’ แคชเชอร์มือดีมากความ สามารถประจำทีมเบสบอลเซย์โด และทีมเบสบอลโรเรียนมัธยม ปลายเซย์โด ที่ต้องฝ่าฟันเส้นทางอันหฤโหดที่เต็มไปด้วยการฝึก ซ้อมสุดหินและคู่แข่งที่แข็งแกร่ง โดยมีโคชิเอ็งเป็นปลายทางของ ความฝัน อนิเมะทั้ง 5 เรื่องที่แนะนำไปนั้น ไม่ได้ให้เพียงแค่ความบันเทิงเพียงอย่างเดียว แต่ยังสร้างแรงกระตุ้น ให้อยากออกกำลังกาย การสื่อสารด้วยการเดินทางของตัวละครสามารถสร้างแรงกระตุ้นให้อยากออกกำลัง กายได้เป็นอย่างดี เพราะตัวละครต่าง ๆ ล้วนต้องอดทน ฝึกฝน ขัดเกลาฝีมือ สร้างร่างกาย และจิตใจให้ แข็งแกร่งเพื่อก้าวข้ามอุปสรรค มุ่งทะยานสู่ความฝัน จึงทำให้ผู้ชมเองได้รับแรงผลักดันให้รู้สึกอยากลุกขึ้น มาขยับร่างกาย และมุ่งไปข้างหน้าเช่นกัน นอกจากนี้ยังสอดแทรกมิตรภาพระหว่างเพื่อน การเดินตามความ ฝัน คำสอนการใช้ชีวิตในแต่ละวัน การสร้างแรงผลักดันให้มีแรงใจในก้าวไปข้างหน้า และความรู้ทั่วไปเสริม สร้างทักษะรอบตัวอีกด้วย บทความนี้เขียนเพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจว่า นางสาวมยุรี เซ่งเฮ่อ ความรู้ ทักษะ เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา เราสามารถค้นหาสาระ ธุรการ บันเทิงได้ไปพร้อมกับการเรียนรู้ เช่นเดียวกับบทความนี้ที่ KMCC สะท้อนให้เห็นว่า อนิเมะ และกีฬา เป็นส่วนกระตุ้นให้คน/ผู้ชม มีความสนใจในการฝึกฝนกีฬา พร้อมกับความบันเทิง ในฐานะ ที่เป็น \"Edutainment\" นั่นเอง แหล่งอ้างอิง https://www.sukumvithospital.com/healthcontent.php?id=49 https://th.theasianparent.com/sports-anime-for-kids https://thematter.co/entertainment/30-manga-and-anime-sport-for-olympic/150989 18
แล้ว พบ กัน ใหม่ Dhanarak Asset Development Co.,Ltd KM & INNO NEWSLETTER June 2022 / Vol.1
Search
Read the Text Version
- 1 - 19
Pages: