KM & INNO NEWSLETTER JULY 2022 / VOL.2 สวัสดีครับชาว ธพส. ทุกท่าน Newsletter กลับมาอีกครั้งกับ KM & INNO Newsletter ฉบับเดือนกรกฎาคม เป็นฉบับที่ 2 ของปี 2022 กันแล้วนะครับ โดยบทความ KM & INNO Newsletter ในฉบับนี้จะขอกล่าวถึง การรับมือกับวิกฤต ของผู้นำองค์กร การหลีกเลี่ยงกับระเบิดด้านจริยธรรม ในกรณีศึกษาของ บริษัท General Electrics (GE) นวัตกรรมตู้กดเครื่องดื่มอย่าง \"เต่าบิน\" สัญญาณของ อาการหมดไฟ รวมถึงการสร้างความสุขในการทำงาน เงินเฟ้อคืออะไร มีผลกระทบต่อค่าครองชีพแค่ไหน ชวนหิวไปกับประเภทของเส้นพาสต้า และปิดท้ายด้วย ทริคในการป้องกันสัตว์และแมลงรบกวน ทุกท่านจะได้พบ กับคำตอบในบทความฉบับนี้ครับ KNOWLEDGE MANAGEMENT การจัดการความรู้ คือ เรื่องที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา ทุกอย่างที่เราทำล้วนแล้วแต่ต้องการรากฐานของความรู้ ทั้งสิ้น การจัดการความรู้เป็นเพียงแค่เอาความรู้เหล่านั้น มาจัดเรียงให้เหมาะสม จัดเก็บให้เป็นระบบ และนำไปใช้ให้ เกิดประโยชน์ เท่านั้นเอง นายนิติพงศ์ คฤหโกศล KMCC ส่วนจัดการความรู้และนวัตกรรม ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ทั้งนี้ ทุกคนใน ธพส. สามารถส่งบทความ ความยาวไม่เกินจำนวน 4 หน้ากระดาษ รวมทั้งข้อเสนอแนะหรือ คำติชมมาได้ผ่านทางช่องทาง [email protected] /[email protected] หรือ [email protected] เพื่อทางทีมงาน จะได้นำไปพัฒนา KM & INNO Newsletter ให้มีความน่าสนใจต่อไป และทุกงานเขียน ที่ท่านส่งมามีสิทธิ์ลุ้นรับรางวัลในปลายปีด้วยนะครับ Dhanarak Asset Development Co.,Ltd 1
ผู้นำกับวิกฤต สถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้และส่งผลกระทบในด้านลบอย่างรุนแรงต่อองค์กร รวมถึงสถานการณ์และสิ่งที่ตามมาในภายหลังของสถานการณ์ ที่อาจสร้างความเสียหายให้แก่ องค์กร บุคลากร ผลิตภัณฑ์ การบริหาร สถานะทางการเงิน และชื่อเสียงหรือภาพลักษณ์ของ องค์กรได้ เรียกว่า “วิกฤต” (Crisis) ทุกครั้งเมื่อเกิดวิกฤต บุคลากรหลายฝ่ายงานขององค์กรจำเป็นต้องเข้าไปแสดงบทบาท ต่าง ๆ เพื่อตอบสนอง ควบคุมและแก้ไขปัญหา รวมทั้งรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี หากจะถามต่อไปว่า บุคคลใดในองค์กรที่ควรจะมีบทบาทสำคัญที่สุดในการรับมือกับวิกฤต ก็คง ไม่พ้นบุคคลในระดับผู้นำองค์กร เพราะเป็นตัวแทนที่แท้จริง เป็นหน้าเป็นตา เป็นสัญลักษณ์ เป็นผู้กำหนดนโยบายและบริหารงาน หรือเป็นเจ้าของกิจการ ฯลฯ จึงย่อมต้องรับผิดชอบกับ วิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องฝ่ายต่าง ๆ ก็ล้วนคาดหวังต่อการตอบ สนองที่เหมาะสมจากผู้นำองค์กรไว้มากที่สุด คำมั่นวาจาของผู้นำต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขวิกฤตรวมถึงคำขอโทษเพื่อแสดงความรับผิดชอบ ย่อมมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากกว่าทุกคนในองค์กร ผู้นำมีหน้าที่สำคัญที่สุด คือ การตัดสินใจ หมายถึง รู้ว่าเมื่อใดควรกระทำอะไรหรือไม่ทำอะไร และต้องพยายามรักษาสมดุลในการใช้เวลาตัดสินใจ อย่าเร่งรีบ ร้อนรนจนขาดความรอบคอบ ขณะเดียวกันก็ไม่เชื่องช้า จนถูกกล่าวหาว่าเพิกเฉยต่อสถานการณ์ หรือ อ่อนแอไม่กล้าตัดสินใจ และความเสียหายต่อองค์กรนั้น ย่อมเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ล่วงเลยไปด้วย ผู้นำ จึงเป็นคนที่กำหนดผลของวิกฤตว่าจะเป็นไปในลักษณะเช่นไร ผู้นำที่มีศักยภาพจะสามารถกอบกู้ สถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว แต่บ่อยครั้งผู้นำก็อาจจะทำให้วิกฤตเลวร้ายลงยิ่งกว่าเดิมก็ได้ หากเกิดจาก การตัดสินใจผิดพลาด หรือเกิดจากการแสดงออกในพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของตน 2
รูปแบบบุคลิกของผู้นำกับวิกฤต มีดังนี้ 1. เจ้าระเบียบ เป็นผู้ที่มีทักษะและความรู้สามารถ มีอุปนิสัยใส่ใจในรายละเอียด ตัดสินใจแก้ปัญหา ต่าง ๆ โดยอาศัยเหตุและผล อาจมีพื้นฐานความคิดทางวิทยาศาสตร์ เช่น เคยศึกษาทางสายวิทย์ มาก่อน เป็นวิศวกร สถาปนิก นักเศรษฐศาสตร์ หรือนักกฎหมาย ฯลฯ มีโอกาสที่จะตื่นตระหนก (Panic) เมื่อพบกับสถานการณ์ที่ไม่เคยเจอมาก่อน สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ได้ถูกต้อง ตามสภาพความเป็นจริง สมเหตุสมผล และให้ความสำคัญกับทุกรายละเอียดใส่ในทุกรายละเอียด มีการตอบสนองดังกล่าวอาจจะเชื่องช้า และบ่อยครั้งจะเลื่อนการตัดสินใจออกไปเรื่อย ๆ เพราะต้อง ใช้เวลาในการชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีข้อเสียของทางเลือกต่าง ๆ ขาดการมองสถานการณ์ในภาพรวม เนื่องจากเน้นแต่รายละเอียด ผู้นำประเภทนี้ใช้มาตรการการแก้ไขปัญหาที่รัดกุม แต่ก็เป็นไปได้ยากใน ทางปฏิบัติ เพียงเพราะเพื่อป้องกันตนเอง เช่น เขียนระเบียบขึ้นมาใหม่มากมายเพื่ออุดช่องโหว่ของ เดิม จนส่งผลให้เกิดความยุ่งยากในการปฏิบัติงานติดตามมา 2. หลงตัวเอง มักเป็นผู้ที่ไต่เต้ามาจนประสบความสำเร็จในชีวิต มียศถาบรรดาศักดิ์ มีทรัพย์สิน มหาศาล เชื่อมั่นในตนเองสูง จนไม่ค่อยฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยเฉพาะในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ จึงมีโอกาสที่จะรายล้อมด้วยลูกน้องขี้ประจบสอพลอ ไม่เคยกลัวหรือลังเลที่จะตัดสินใจ ยินดีที่จะ มีโอกาสได้เป็นวีรบุรุษโดยอาศัยวิกฤต และพร้อมอยู่เสมอที่จะลงมือกระทำการใด ๆ อย่างรวดเร็ว จึงมีโอกาสที่จะรีบร้อนตัดสินใจอะไรลงไป โดยปราศจากการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เพิกเฉยต่อ การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น หรือละเลยการคิดหาทางเลือกอื่น ๆ ที่สามารถเป็นไปได้ และอาจ จะดีกว่าทางเลือกที่ได้ตัดสินใจไปแล้วก็ได้ มักคิดเอาเองว่าสิ่งที่ตนเห็นว่าเหมาะสม คนอื่นต้อง เห็นดีเห็นงามด้วยเสมอ หรือผลประโยชน์ส่วนตัวก็คือผลประโยชน์ส่วนรวม 3. หวาดระแวง เป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่รูปลักษณ์ดูค่อนข้างธรรมดา จนไม่เหมือนเป็นผู้นำ อาจไม่ค่อยชอบเข้างานสังคมพบปะผู้คน ไม่ค่อยได้เรียนรู้โลกภายนอก จะรู้สึกสงสัยเรื่องต่าง ๆ รอบด้านเป็นพิเศษ จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการตรวจตราจับ สิ่งผิดปกติก่อนปัญหาจะสายเกินยับยั้งได้ แต่บางครั้งหากมากเกินไป จนกลายเป็นระแวง จนถึง ขั้นวิตกจริต ความหวาดระแวงสามารถส่งผลต่อการตัดสินใจได้ 2 ทิศทาง คือ ไม่ทำอะไรเลย หรือ กระทำแบบรวบรัดรีบตัดปัญหาด้วยวิธีการที่เกินพอดี ปัจจัยที่มี คุณลักษณะส่วนบุคคล และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตในรูปแบบที่กำลัง อิทธิพลต่อ เผชิญอยู่ ณ ขณะนั้น การตัดสินใจ ของผู้นำภายใต้ บทบาทและขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตนความสามารถสั่งการเพื่อแก้ไขสถานการณ์ ภาวะวิกฤต รวมทั้งต้องมีส่วนรับผิดชอบกับเหตุการณ์มากน้อยเพียงใด ความเป็นไปได้ของผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ ความต้องการที่ดีที่สุด สมบูรณ์แบบที่สุด แต่ด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ อาจจะไม่สามารถกระทำได้ ผลการประเมินสถานการณ์ว่ามีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายจากการตัดสินใจที่ ผิดพลาดมากน้อยเท่าใด แรงกดดัน บีบคั้นจากเวลา ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกใช้กลยุทธ์การตัดสินใจ 3
การเตรียมความพร้อมองค์กรต่อวิกฤต องค์กรสามารถเตรียมความพร้อมในการรับมือกับวิกฤตได้ โดยเริ่มจากการเตรียมการและแบ่งสรร ในเรื่องของ เวลา งบประมาณ และบุคลากรต่องานที่สำคัญต่อการวางแผน รับมือกับวิกฤต โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเรื่องงบประมาณและบุคลากร ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของการจัดการกับวิกฤตที่อาจเกิดขึ้น กับองค์กร เมื่อมีการเตรียมการเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่จะต้องดำเนินการก็คือ การจัดตั้งทีมงาน หรือคณะกรรมการ บริหารวิกฤตขึ้นมา ซึ่งสมาชิกในทีมแต่ละคนควรมาจากหน่วยงานหลัก ๆ ภายใน องค์กร เช่น ฝ่ายการเงิน ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ฝ่ายการตลาด หรือฝ่ายสนับสนุนอื่น ๆ หลังจากนั้นอาจมี การออกประกาศใช้สถานการณ์จำลองนี้เพื่อใช้ทดสอบความเที่ยงตรงของการวัดแผนที่ได้รับการ ปรับปรุงแล้ว สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญหลังจากที่ได้มีการเตรียมทีมเพื่อวางแผนและฝึก ปฏิบัติผ่านสถานการณ์จำลอง หลาย ๆ ครั้งจนนำไปปรับแผนให้มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ การให้ ความรู้กับบุคลากรทั้งหมดในองค์กร เพื่อให้ทุกคนทราบ บทบาทของตนในขณะที่เผชิญหน้ากับวิกฤต โดยอาจจัดอบรมทั้งการบรรยาย การฉายวีดิทัศน์ ตลอดจนการจัดทำข้อมูล และแผนลงบนเว็บไซต์ของ องค์กรเพื่อการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว สมรรถนะหลัก 6 ข้อ ของผู้บริหารที่ควรแสดง เพื่อใช้โอกาสจากสถานการณ์ที่เกิดวิกฤตขึ้น ในองค์กรเพื่อกระตุ้นหรือสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในองค์กร เพื่อให้เกิดความพร้อม และเป็น การสร้างวัฒนธรรมแห่งการเตรียมพร้อมต่อการรับมือกับสภาวะวิกฤตในอนาคต ซึ่งสมรรถนะ หลักทั้ง 6 ประการ มีดังต่อไปนี้ 1. ผู้บริหารต้องสร้างพื้นฐานแห่งความไว้เนื้อเชื่อใจกัน 2. ผู้บริหารต้องสร้างความรู้สึกร่วมขององค์กรขึ้นมาใหม่ 3. ผู้บริหารต้องระบุถึงความสูญเสียขององค์กร 4. ผู้บริหารต้องมีการตัดสินใจที่ชาญฉลาดและรวดเร็ว 5. ผู้บริหารต้องมีการกระทำที่กล้าหาญซึ่งสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ได้ 6. ผู้บริหารต้องเรียนรู้ต่อการปรับเปลี่ยนองค์กรจากวิกฤตที่เกิดขึ้น สำหรับบทความเกี่ยวกับผู้นำกับวิกฤตการณ์นี้ ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย สำหรับชาว DAD นะคะ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์กร เพราะหากเมื่อองค์กรเผชิญหน้ากับปัญหา หรือวิกฤต ผู้นำองค์การหรือผู้บริหาร จะสามารถรับมือได้ดีและเพื่อเป็นแนวทาง แผนการรับมือกับ สถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ แหล่งอ้างอิง : นางสาววัชรินทร์ เสดสีกาง การจัดการภาวะวิกฤตและความเสี่ยงในภาครัฐ (Risk and Management) เจ้าหน้าที่ชำนาญการ อ.ดร. ยุทธศักดิ์ คนบุญ มหาวิทยาลักเกษตรศาสตร์ การบริหารวิกฤตการณ์ (Crisis Management) อ. ดร. ชัยเสฎฐ์ พรหมศรี ฝ่ายวิศวกรรมและบริหารโครงการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 4
การหลีกเลี่ยงกับระเบิด ด้านจริยธรรม : กรณีศึกษา บริษัท GENERAL ELECTRIC (GE) สวัสดีครับ เพื่อนพี่น้องชาว DAD ทุกท่าน วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องการดำเนินการทางธุรกิจกับ จริยธรรมในการดำเนินงานนะครับ ว่ามันจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร โดยจะขอยกตัวอย่าง จากกรณีศึกษาของบริษัท GE ในสหรัฐอเมริกา นะครับ ก่อนอื่นต้องเล่าก่อนว่าในยุคก่อนหน้านี้ GE มีการผลักดันเรื่องการแข่งขันทางธุรกิจอย่างมาก และแน่นอนครับว่ามันย่อมมีเรื่องสีเทา ๆ เกิดขึ้นพอสมควร ซึ่งเรื่องเหล่านี้เกิดเป็นความเสี่ยงที่ เป็นเหมือนกับระเบิด ที่มีมูลค่าในระดับหลายร้อยล้านหรือกระทั่งถึงพันล้านดอลลาร์ที่รอวันที่จะ ระเบิดออกมา ด้วยเหตุนี้แล้ว GE จึงมีการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรจากวัฒนธรรมที่มุ่งเน้น ประสิทธิภาพการดำเนินงาน เป็นวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพการดำเนินงานควบคู่ไปกับ จริยธรรมในการดำเนินงาน เพราะ GE เชื่อว่า ด้วยวัฒนธรรมองค์กรนี่แหละ ที่จะผลักดันให้ พนักงานดำเนินงานอย่างเต็มที่เต็มกำลังบรรลุเป้าหมายในเชิงเศรษฐกิจ อย่างถูกกฎหมายและ หลักจริยธรรม ไม่ใช่เพราะว่าจะกลัวถูกจับได้และโดนลงโทษ แต่เป็นเพราะมันเป็นสิ่งสำคัญ เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจนบรรดาหัวหน้างานและพนักงานอยากทำงานให้ได้ตามเป้าหมาย โดยยังยึดหลักความถูกต้องอยู่ โดย GE มีหลักการสำคัญและแนวปฏิบัติหลัก ดังนี้ 5
1. ความเป็นผู้นำที่มุ่งมั่นและการทำเป็นตัวอย่างอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ GE เชื่อมั่นว่า ไม่มีส่วนใดในการทำงานในองค์กรที่ความมุ่งมั่นของผู้บริหารจะมี ความสำคัญเทียบเท่าการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นด้านจริยธรรมคุณธรรม และไม่มีสิ่งใดที่จะมีประสิทธิภาพไปกว่าการที่ผู้บริหารทำให้เห็นเป็น แบบอย่างและต่อเนื่องแบบไร้รอยต่อระหว่างคุณลักษณะประจำตัวของผู้บริหาร และคำแถลงหรือคำพูดต่าง ๆ ของผู้บริหารทั้งที่เป็นส่วนตัวและเป็นทางการ นอกจากนี้ GE ยังคงเชื่อมั่นว่าไม่มีงานไหนที่สำคัญสำหรับ CEO มากไปกว่า การทำให้เห็นว่า ผู้บริหารระดับสูงต้องมีส่วนรับผิดชอบในการเกิด ข้อผิดพลาดด้านจริยธรรมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าข้อผิดพลาดในการทำตามเป้าหมายไม่ได้ ซึ่ง CEO ของ GE ได้ถ่ายทอดแนวคิด ข้อสั่งการดังกล่าวแก่การประชุมพนักงานทุกปี และพนักงานก็รับรู้ความเอาจริง เอาจังของ CEO เนื่องจาก ในทุก ๆ ปี จะมีผู้นำระดับสูงถูกไล่ออกเนื่องจากมีการละเมิดกฎของบริษัท หรือความล้มเหลวในการสร้างวัฒนธรรมในเชิงจริยธรรม ทั้งโดยตั้งใจและสะเพร่าเลินเล่อ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนาที่ทุกอย่างยังคงเป็นสีเทา ๆ และทุกครั้งที่เกิดเรื่องนี้ขึ้นก็มีการส่งสารให้ พนักงานรับทราบว่าคนเหล่านั้นถูกเชิญออกด้วยเหตุผลอะไร ซึ่งการส่งสารแบบนี้มันทำให้คนในองค์กร เข้าใจเป็นอย่างดี ถ้าผู้นำระดับสูงไม่แยแสต่อวัฒนธรรมด้านจริยธรรมขององค์กร ก็จะเป็นฝ่ายที่ต้องไป 2. การก้าวไปให้ไกลกว่ากฎระเบียบข้อบังคับด้านการเงิน และกฎหมาย เนื่องจาก GE เป็นบริษัทข้ามชาติ ดังนั้นแล้วการ มีระบบ Compliance ที่เข้มข้นครอบคลุมทั้งด้านการเงินและ ด้านกฎหมายในแต่ละประเทศ จึงเป็นพื้นฐานในการดำเนินงาน ตามปกติอยู่แล้ว แต่ในบางกรณีการดำเนินการในระดับนี้ก็ยังไม่ เพียงพอ GE จึงนำมาตรฐานในระดับโลกที่สูงกว่ากฎระเบียบ กฎเกณฑ์ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งมาใช้ การดำเนินการเช่นนี้ทำให้ พนักงานของ GE ที่อยู่ในที่ต่าง ๆ กันในโลก ได้มีแนวทาง มีธรรมเนียมในการปฏิบัติตามได้อย่างชัดเจน ดังนั้นการจัดตั้ง มาตรฐานการดำเนินงานแบบเดียวที่ใช้ทั่วโลกไม่เพียงแต่ทำให้ การบริหารจัดการง่ายขึ้น แต่ยังเป็นวิธีที่ฉลาดในการลด ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรเอง ทั้งนี้ การทำมาตรฐานเดียวนั้น ไม่ใช่เรื่องที่เป็นนามธรรมหรือเชิงปรัชญาที่ ดูจะเข้าถึงยาก แต่ในความเป็นจริงมันคือ การวิเคราะห์ในระบบ Risk-Reward ที่ฝังรากไปยังการดำเนินการ และวัฒนธรรมขององค์กรเอง หรืออีกนัยหนึ่ง มันคือการเปรียบเทียบระหว่างต้นทุน (เวลา เงิน ทรัพยากร) กับ ผลประโยชน์ที่จะได้รับ (ความเรียบง่าย ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสีย) 3. อยู่ให้ล้ำหน้าพวกตำรวจ เพื่อที่จะอัปเดตมาตรฐานระดับโลกที่ GE ตั้งขึ้นในการดำเนินงาน และ เพื่อหลีกเลี่ยงเรื่องประหลาดใจต่าง ๆ ที่แย่ ๆ ที่ไม่อยากเจอ ทาง GE ได้สร้างระบบรวบรวมข้อมูล การพัฒนาการด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเงิน กฎหมายและจริยธรรม ซึ่งกระบวนการนี้เกิดขึ้นใน ทุกระดับขององค์กร การดำเนินการเช่นนี้ เกิดขึ้นได้จากการที่ผู้เชี่ยวชาญของ GE หมั่นค้นหาข่าว ทางสื่อต่าง ๆ กฎหมายที่อยู่ระหว่างการพิจาณา รายงานฉบับพิเศษจากสถาบันต่าง ๆ บทความทาง วิชาการ รายงานข้อชี้แจงด้านกฎหมายต่าง ๆ เพื่อตามหาตามรอยสัญญาณเตือนต่าง ๆ รวมทั้ง เทรนด์ด้านการเงินและกฎหมายทั่วโลก รวมไปถึงเรื่องราวด้านจริยธรรมต่าง ๆ จากเสียงของ ผู้มีส่วนได้เสียและจาก NGO แล้วจึงนำเสนอต่อผู้บริหารเป็นประจำเพื่อให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ การดำเนินธุรกิจที่มีจังหวะการดำเนินงานที่ไหลลื่นต่อเนื่อง ท้ายที่สุดแล้วตอนนี้ GE ก็ได้สำรวจ ระเบียบวิธีปฏิบัติทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ ลูกค้า คู่แข่ง คู่ค้า ซึ่งจะลงลึกไปมากกว่าด้านกฎหมาย โดยมองไปถึงด้านจริยธรรมด้วย 6
4. การสร้างมาตรฐานลงสู่กระบวนการทำงาน คำถามที่มักจะได้ยินบ่อย ๆ ในเรื่องนี้คือ ใครควรเป็นคนทำ ? ทาง CEO ของ GE ได้กำหนดหน้าที่นี้ทั้ง ทางวาจาและทางลายลักษณ์อักษรในหลาย ๆ โอกาส ว่าหน้าที่นี้เป็นของผู้นำใน แต่ละสายงานที่จะเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการผสานการทำงานที่มุ่งเน้น ประสิทธิภาพคู่กับจริยธรรม สิ่งที่ GE ทำคือการให้ผู้จัดการโรงงานแต่ละแห่ง หรือหัวหน้าสายการผลิตในแต่ละที่ เป็นผู้รับผิดชอบอย่างเป็นทางการในเรื่อง สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยภายในสายบังคับบัญชาของตัวเอง โดยแต่ละที่ต้องจัดทำรายงานการรั่วไหล จำนวนครั้งของอุบัติเหตุหรือรายงาน การระเมิดต่อ CEO โดยข้อมูลทั้งหมดนี้จะถูกรวมในรูปแบบ matrix เพื่อเปรียบเทียบกับแต่ละโรงงาน และอุตสาหกรรมอื่นในเครือ นอกจากนั้น GE ยังใส่ใจเป็นพิเศษในกระบวนการควบรวมกิจการ เนื่องจากจะ ป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะซุกซ่อนไว้ เช่น ค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมและประวัติอาชญากรของพนักงาน ในบริษัทที่จะควบรวมเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง 5. ส่งเสริมและกระตุ้นให้ฝ่ายงานด้านการเงิน กฎหมาย และ HR ให้เป็นทั้ง Partner และผู้คุ้มกฎ ฟังก์ชันการทำงานของทั้ง 3 ด้านนี้ ทั้งในระดับองค์กรและ business unit ทาง GE ได้กำหนดให้มี หน้าที่ รับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนาเครื่องมือระบบ และกระบวนการ สำหรับ การป้องกัน และบรรเทาปัญหาอันเนื่องมาจากการละเมิดด้านจริยธรรม แต่แน่นอนว่าปัญหาที่ตามมาคือความตึงเครียด เนื่องจากการต้องรับ สองบทบาททั้งผู้ให้คำปรึกษาและผู้คุมกฎ CEO ของ GE เอง ก็มีหน้า ที่ต้องกระตุ้นส่งเสริมให้กำลังใจแก่หัวหน้างานเหล่านี้ที่ต้องรับบทบาท ทั้งสองด้าน นอกไปจากนั้น GE เชื่อว่า ผู้นำจะนำธุรกิจได้ดีเมื่อพวกเขา ส่งสัญญาณที่ชัดเจนไปทั่วทั้งองค์กรว่า ในขณะที่พวกเขา ต้องการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ไว้ก็ยังคงต้องการข้อมูลจริง ๆ ไม่ปรุงแต่งในด้านการเงิน กฎหมาย จริยธรรม เรื่องที่อาจจะกระทบชื่อเสียง เป็นต้น แม้ว่าเรื่องราวเหล่านี้อาจจะนำไปสู่การ โต้เถียงก็ตาม และที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างคือ การที่ผู้นำแสดงการยอมรับและส่งเสริมบทบาทคู่ของ พาร์ทเนอร์และผู้คุมกฎ โดยการคัดเลือกคนที่เป็นอิสระไม่ขึ้นตรงกับใครในตำแหน่งสำคัญ ๆ เหล่านี้ 6. ให้พนักงานได้ออกเสียง หนึ่งในเรื่องที่ยากที่สุดแต่สำคัญที่สุดในแง่ของการบริหารระบบสมรรถนะสูง คู่จริยธรรมสูงก็คือ การให้ความรู้กับการฝึกฝนพนักงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดเกิดใหม่ หรือในธุรกิจ การควบรวมกิจการ เพื่อที่พนักงานเหล่านี้จะได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ในแง่ของการทำตามมาตรฐานระดับโลก ที่ทาง GE กำหนดให้ทำ การที่พนักงานมีความเข้าใจในเรื่องนี้เป็นอย่างดี ทำให้เขาเห็นภาพว่า การกระทำใน เรื่องใดบ้างที่ไม่ถูกไม่ต้อง หลังจากนั้นจึงให้ช่องทางการออกเสียงของพนักงานเพื่อให้เกิดวัฒนธรรมการ ทำงานที่โปร่งใสและน่าเชื่อถือ ซึ่งช่องทางที่ทาง GE จัดเตรียมไว้ให้พนักงานประกอบไปด้วย ระบบผู้ตรวจการ โดยพนักงานสามารถส่งเรื่องต่าง ๆ ผ่านผู้ตรวจการที่มีมากกว่า 500 คน และรับเรื่องราวต่าง ๆ ผ่าน 31 ภาษาทั่วโลก หลังจากนั้นผู้ตรวจการจึงส่งเรื่องต่อให้ เจ้าหน้าที่ การเงิน กฎหมาย HR เข้าทำการตรวจสอบ หลักการสำคัญของระบบนี้คือ ทุกรายงานจะได้รับ การตรวจสอบโดยปราศจากความกลัวหรือความชอบต่าง ๆ การตอบโต้หรือการแก้เผ็ด ก็จะเป็นการละเมิดด้านจริยธรรมเอง และนอกจากนี้ องค์กรยังกำหนดหน้าที่ให้พนักงานที่ พบเจอเรื่องราวที่ไม่ถูกต้อง ต้องทำการรายงานทุกกรณี ถ้าไม่รายงานแล้วตรวจพบ ความเกี่ยวข้องก็จะถือว่ามีความผิดเช่นเดียวกัน 7
ระบบการประเมินประจำปีของ Compliance ในแต่ละ BU โดยจะเริ่มจากการสัมภาษณ์พนักงาน ในระดับล่างสุด ถึงปัญหาต่าง ๆ ในระบบ กระบวนการ วิธีการปฏิบัติงาน แล้วค่อย ๆ ไล่ลำดับขึ้นไป ตามสายอาชีพ สุดท้ายจะถูกรวบรวมต่อเป็นระดับประเทศ ภูมิภาค และ GE ใหญ่ในระดับโลกต่อไป ส่วนข้อห่วงกังวลด้านที่เกี่ยวข้องกับแต่ละบุคคลก็จะถูกส่งไปเข้าระบบผู้ตรวจการต่อไป นอกจากนี้พนักงานยังมีโอกาสได้รับรางวัลความดีความชอบในกรณีที่พบปัญหาที่สำคัญ ๆ แรละบะหบากทาารงตแรก้วไขจปสัญอบหภาานัย้นใไนด้ขององค์กร ซึ่งพนักงานในส่วนนี้ถือเป็นหนึ่งในพนักงานกลุ่มสำคัญของ องค์กร โดยบุคลากรในส่วนนี้ใช้เวลามากกว่า 80% ของเวลางานในการตรวจสอบความถูกต้องใน การดำเนินการตามมาตรฐานการเงิน กฎหมาย และจริยธรรม หน่วยงาน การเงิน กฎหมาย HR ของแต่ละ BU ซึ่งทาง GE ได้มีระบบความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง ระหว่าง CFO หัวหน้างานกฎหมาย และหัวหน้างาน HR ซึ่งคนเหล่านี้ก็จะถูกคาดหวังให้ผู้ที่ให้คำ ปรึกษาแก่เหล่าหัวหน้าทีมงานเมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินการเชิงพาณิชย์ ชื่อเสียงของบริษัท หรือ Compliance Risk ทั้ง 4 ช่องทาง เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการสร้างรูปแบบองค์กรที่เปิด โดยเริ่มจาก CEO ให้ความสำคัญและส่งสารบอกทุกคนเรื่องวัฒนธรรมการตรวจสอบและแก้ไขด้วยตัวเอง ที่ซึ่งกำหนดให้มี การอภิปรายกันทุกครั้งว่าจะทำสิ่งต่าง ๆ ให้ถูกอย่างไร หรือมีการแจ้งเตือนในทุกครั้งที่เมื่อสิ่งที่ผิดพลาด เกิดขึ้นในองค์กร 7. การกำหนดให้ผู้นำของแต่ละกลุ่มธุรกิจรับผิดชอบการวัดผล ด้านจริยธรรม แน่นอนว่าเรื่องของผลตอบแทนและการเลื่อนขั้น เป็นวิธีพื้นฐานในการบังคับด้านความรับผิดชอบด้านต่าง ๆ ทาง GE เองก็ได้พยายามหาวิธีที่มากกว่าวิธีทั่วไปในการวัดจริง ๆ ในการวัด ประสิทธิภาพเชิงจริยธรรม วิธีการแรก คือ การประเมินว่าบรรดา ผู้นำทั้งหลายถึงการขยายผลรองรับความรับผิดชอบด้านจริยธรรม เช่นสามารถตั้งเป้าหมายได้ถูกต้องหรือไม่ ระบบการดำเนินการด้าน จริยธรรมถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ มีระบบควบคุมตรวจสอบตลอด ระเบียบวิธีปฏิบัติการดำเนินงานหรือไม่ มีการสร้างมาตรฐานเชิง จริยธรรมครอบคลุมทุกกระบวนการหรือไม่ มีการแผนหรือวิธีการ รับมือวิกฤตจากเรื่องเชิงจริยธรรมหรือไม่อย่างไร มีระบบ Compliance คอยตรวจสอบทั้งในระดับ ท้องถิ่น ประเทศ ภูมิภาค และระดับโลกหรือไม่อย่างไร มีระบบการตัดสินใจเรื่องทรัพยากรอย่างมีจริยธรรม ในตลาดที่มีการแข่งขันสูงหรือไม่ มีการนำพนักงานระดับ A ไปทำงานในงานที่ต้องการที่ต้องการ ประสิทธิภาพและจริยธรรมสูงหรือไม่ เป็นต้น สำหรับวิธีที่สองคือ การเปรียบเทียบระหว่างธุรกิจของ GE ผ่านการ audit พนักงานประจำปีหรือผ่านตัวชี้วัดจากภายนอกเช่น ข้อร้องเรียนจากลูกค้า หรือกรณี ฟ้องร้องต่าง ๆ ทั้งหมดนี่เป็นการดำเนินการของ GE ที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ข้ามชาติ การเกิดปัญหาเชิง จริยธรรมในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งที่มุมใดมุมหนึ่งของโลก ย่อมเกิดเป็นปัญหาในภาพรวมและจะกระทบ กับบริษัทในเครือทั้งหมด ซึ่งปัญหานี้จะเป็นเหมือนกับระเบิดที่ซุกซ่อนไว้ รอใครสักคนทำอะไรผิดแล้ว ระเบิดขึ้นมาเกิดความเสียหายมหาศาลเป็นลูกโซ่ ซึ่ง GE เองก็เล็งเห็นปัญหาตรงนั้นจึงพยายามหา วิธีการที่จะลดหรือกำจัดกับระเบิดเหล่านี้ ด้วยการกำหนดวิธีการและการดำเนินการตามที่ได้กล่าวมา แล้วครับ ทั้งนี้ บริษัทขนาดกลางหรือขนาดเล็กก็สามารถนำการดำเนินการของ GE ไปศึกษาและ เลือกปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละองค์กรต่อไป นายปารินทร์ สีจร ผู้จัดการส่วนจัดการความรู้และนวัตกรรม ที่มาของข้อมูล : ฝ่ายทรัพยากรบุคคล 8 Ben W. Heineman Jr., “Avoiding Integrity Land Mines”, Harvard Business Review.
เต่าบิน (TAOBIN) จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อ “เครื่องจักร” ขอแข่งขันทำธุรกิจกับ “คน”… แล้วใครจะอยู่ใครจะไป ? สวัสดีครับเพื่อน ๆ พี่ ๆ ชาว DAD ทุกท่าน หลายท่านได้เคยได้ลองใช้บริการ เจ้าตู้กดเครื่องดื่ม อัตโนมัติ “เต่าบิน” ที่อยู่บริเวณภายในอาคารธนพิพัฒน์ ซึ่งกำลังเป็นกระแสกันอยู่ในขณะนี้ บางสาขาถึงกับมีการต่อคิวเพื่อใช้บริการ วันนี้ผมจะพามาทำความเข้าใจกับธุรกิจนี้กันครับ....ทำไม ถึงชื่อ “เต่าบิน” ? และ “เต่าบิน” คือธุรกิจอะไร ? การที่จะเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ได้ 2 คำถามนี้เป็นคำถามที่สำคัญมาก โดยชื่อแบรนด์มาจากเจ้าของกิจการ มีชื่อเล่นว่า “เต่า” และชื่นชอบการขับเครื่องบิน จึงเอาชื่อกับสิ่งที่ชอบมาผสมกัน ถ้ามองในเรื่องของแบ รนด์ดิ้งแล้ว การใช้กลยุทธ์การตั้งชื่อสัตว์มีมานานแล้ว และต่างประเทศก็ใช้คำว่ากลยุทธ์ “ The Zoo ” เพราะจดจำแบรนด์ได้ง่ายโดยเฉพาะการลงมาจับกลุ่ม Mass และสามารถเอาชื่อสัตว์สะท้อนถึงภาพลักษณ์ ของแบรนด์ได้ทันที รวมทั้งการสร้างโลโก้ ลูกเล่นการตลาดต่าง ๆ สามารถทำโดยง่าย ส่วนธุรกิจขาย เครื่องดื่ม “เต่าบิน” ก็คือ ตู้ขายเครื่องดื่มอัตโนมัติที่มีเมนูต่าง ๆ มากกว่า 170 รายการ อาทิ กาแฟ ชา และเครื่องดื่มอื่น ๆ ซึ่งผมคิดว่าสิ่งที่สร้างความแตกต่างของ “เต่าบิน” คือตู้ขายเครื่องดื่มที่มีการชงใหม่ ทุกครั้งและขายเป็นแก้วพร้อมดื่มมีทั้งร้อนและเย็น ซึ่งแตกต่างจากตู้ขายเครื่องดื่มกระป๋องอย่างแน่นอน ทำให้ธุรกิจ “เต่าบิน” ไม่ได้ปะทะกับร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ แต่จะเป็นการปะทะกับร้านขายเครื่องดื่มแบบคนชง โดยตรง ซึ่งถ้าจะเปิดร้านขายเครื่องดื่มสักร้าน อาจจะหาจุดแข็งต่าง ๆ ที่เหนือกว่าเพื่อเอาชนะคู่แข่ง เช่น ต้องอร่อยกว่า คุณภาพดีกว่า ทำเลดีกว่า ภาพลักษณ์ดีกว่า หรือราคาดีกว่า เรียกง่าย ๆ ว่า “เอาจุดแข็งเราปะทะจุดแข็งคู่แข่ง” แต่ “เต่าบิน” ไม่ได้คิดแบบนี้ แต่เป็นการ Reverse Thinking (คิดสวนทาง) กันไปเลย คือ “เอาจุดแข็งชนะจุดอ่อนคู่แข่ง” ส่วนจุดอ่อนกลาง ๆ ก็ทำให้ได้ค่าเฉลี่ยก็พอ หรือ เหนือกว่าคู่แข่ง นิดหน่อยก็พอ และยอมแพ้ในจุดอ่อนที่เราไม่สามารถชนะคู่แข่งได้ 9
โดยใช้หลักการแข่งขันแบบคลาสสิกง่าย ถ้า 2 ทีม มีหน้าไพ่ 3 ใบ ไพ่ใหญ่ ไพ่กลาง ไพ่เล็ก โดยที่เอามาวางแล้วเปิดกัน ไพ่ที่หน้าใหญ่กว่าจะชนะ ดังนั้น การเอาไพ่เล็กสุดของ “เต่าบิน” ปะทะ ไพ่ใหญ่สุดของคู่แข่งเลย เรียกง่าย ๆ ว่าจุดนี้ขอยอมแพ้ ไม่ขอสู้ด้วยอาจจะเป็นบรรยากาศ ร้านค้า หรือ การบริการหน้าร้านที่ทาง “เต่าบิน” ไม่มีเลย ก็ไม่ต้องพัฒนาให้สิ้นเปลือง ส่วนไพ่ กลางและไพ่ใหญ่ของ “เต่าบิน” ก็โจมตีไพ่ที่อ่อนกว่าของคู่แข่งเลย เช่น มาตรฐานของเครื่องดื่ม ที่เท่ากันทุกแก้วเพราะชงโดยใช้เครื่องจักร หรือ เปิดตลอด 24 ชั่วโมง หรือต้นทุนเท่ากันแต่ คุณภาพดีกว่า หรือขายได้ถูกกว่า ซึ่งคู่แข่งอาจทำไม่ได้เพราะมีค่าสถานที่และค่าพนักงานต่าง ๆ ซึ่งจุดนี้เองเป็นตัวชี้ขาดแห่งการอยู่รอดและเอาชนะ ซึ่ง “เต่าบิน” มี 1 ปัจจัยหลัก และ 1 แนวคิด สนับสนุน นั่นก็คือ ธุรกิจหลักของ “เต่าบิน” หรือเรียกง่าย ๆ ว่า \"ฟอร์ทคอร์ป\" ที่เป็นบริษัทแม่ ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับ “ตู้บุญเติม” ที่เปรียบเหมือนพี่น้องกับ \"เต่าบิน\" โดยเป็นตู้หยอดเหรียญ หน้าร้านสะดวกซื้อ และยังมีตู้หยอดเหรียญต่าง ๆ อีกหลากหลายประเภท และแนวคิดการหา ธุรกิจใหม่โดยใช้ Concept “Design Thinking” เข้ามาช่วย โดยการสวมหมวกความรู้สึก ของ ผู้บริโภคต่าง ๆ จนเห็นช่องทางการเกิด “เต่าบิน” แต่แน่นอนครับ มันไม่พอครับ….เพราะ “เต่าบิน” จะเกิดขึ้นได้ต้องมี 2 ส่วนหลัก ๆ ก็คือ ตู้เครื่องดื่มและตัวเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นโจทย์หนัก หนาสาหัส เพราะจะทำยังไงให้ตู้สามารถใช้งานได้ตามที่ต้องการ ซึ่งก็ต้องวิเคราะห์ ทดลองทำ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทั้งระบบชง ป้อน ตวง หน้าจอ การรับเงิน จิปาถะมากมายในเรื่องตู้ ซึ่งทาง “เต่าบิน” อาศัยองค์ความรู้ที่มี ทดลองทำ ทำต้นแบบและปรับปรุง จนกระทั่งสามารถใช้งานได้ อย่างดี สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้หลากหลายมาก ๆ ระดับความหวานก็เลือกได้ หลากหลายรูปแบบ รวมทั้งแบบร้อนและแบบเย็น ส่วนเครื่องดื่มแน่นอนครับ คือ โจทย์ใหญ่ที่ สำคัญ ต่อให้ตู้ดีแค่ไหน ถ้าเครื่องดื่มรสชาติไม่เอาไหน ลูกค้าก็จะดื่มแค่ครั้งเดียวก็จากไป ดังนั้น “เต่าบิน” จึงทดลองปรุงกาแฟและเครื่องดื่มต่าง ๆ ผ่านบาริสต้าระดับแชมป์ ผสมผสานกับการ วิเคราะห์ข้อมูล เช่น เครื่องดื่มตัวไหนขายดี ตัวไหนมีการดื่มอีกครั้งสูง ตัวไหนลูกค้าไม่ดื่ม หรือ ดื่มแค่ครั้งเดียว ข้อมูลเหล่านี้อยู่ในฐานข้อมูลของตู้ “เต่าบิน” ทั้งหมด ทำให้สามารถปรับปรุง ทดลองคุณภาพและรสชาติจนถูกปากได้ และที่สำคัญ “เต่าบิน” คือเครื่องจักร “เครื่องจักร” ที่ไม่ใช่ “คน” จะทำให้เกิดจุดแข็งที่ กระแทกจุดอ่อนของร้านต่าง ๆ ได้ทันที เช่น มาตรฐาน ของเครื่องดื่มเท่ากันทุกแก้ว และ เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนร้านแบบอื่น ๆ อาจมีการเปิด 24 ชั่วโมง แต่คนชง ไม่ใช่คนเดิม อาจจะมีการชงแรง ชงเบาไม่เท่ากัน ก็ส่งผล ต่อมาตรฐานที่ไม่เท่ากันทุกแก้วแล้ว แน่นอนครับ…ว่านี่คือ ช่วงแรก ๆ ของ “เต่าบิน” ยังสามารถมีลูกเล่นไปได้อีก เพียบ เช่น เมนูซิกเนเจอร์ระดับแชมป์ โดยเอาสูตรต่าง ๆ แต่ละเมนูจากบาริสต้า หรือคนชงที่อร่อยที่สุดมาพัฒนา สูตรให้ หรือแม้กระทั่งการนำข้อมูลต่าง ๆ ไปต่อยอดธุรกิจ อื่น ๆ ได้อีก 10
ซึ่งปัจจุบัน “เต่าบิน” มีตู้กว่า +700 สาขาแล้ว ซึ่งสามารถ ขยายได้เป็น “หมื่น ๆ ตู้” โดยการติดตั้งที่ง่ายกว่า เพราะใช้พื้นที่ เพียง 1-2 ตารางเมตรเท่านั้น ขณะที่ร้านชงต่าง ๆ ต้องใช้พื้นที่ จำนวน ๆ แสน ๆ ตู้ ย่อมไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเพราะประเทศญี่ปุ่น ก็มีตู้แบบนี้จำนวนมาก และจะสร้างรายได้ให้ “เต่าบิน” ได้มาก ขนาดไหน เมื่อมาพูดถึงเรื่องตู้ก็ต้องพูดถึง “ความน่าทึ่ง” กับ การออกแบบและบริหารพื้นที่ภายในตู้มาก ๆ เพราะทำอย่างไร ? ถึงสามารถทำเครื่องดื่มหลากหลายเมนู ทั้งร้อน, เย็น และ เพิ่มความเหนือไปอีก ก็คือมีการ \"ปั่ น\" ได้ และที่สำคัญไม่ใช่ เป็นการชงสำเร็จแล้วเทขายให้ลูกค้า เพราะจะเป็นจุดอ่อนทันที เพราะเครื่องดื่มอาจไม่ได้คุณภาพจากระยะเวลา แต่เป็นการชงใหม่ ให้ลูกค้าทุกครั้ง เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับความคิดของ นักออกแบบและพัฒนาตู้ของ “เต่าบิน” ที่ถูกออกแบบจากคนไทย ทั้งหมด ส่วนมาก ต้นทุนก็สูงกว่าแถมมีค่าเช่า มีเวลาเปิดปิดที่เป็น ข้อจำกัดอีก และเมื่อขยายไปตามที่ต่าง ๆ ได้ถึงหมื่น สามารถสรุปโมเดลการสร้างรายได้ของ “เต่าบิน” 1. รายได้จากการขายเครื่องดื่มต่าง ๆ หลากหลายชนิด 2. รายได้จากการ Add on เช่น Topping ต่าง ๆ 3. รายได้จากการขยายจำนวนตู้ต่าง ๆ จำนวนมาก 4. รายได้จากการซื้อซ้ำ 5. รายได้ส่วนเพิ่มจากการลดต้นทุน จะเห็นได้ว่าธุรกิจ “เต่าบิน” เป็นการมองเห็นโอกาสจากจุดอ่อนของคู่แข่งแล้วพัฒนาจุดแข็งของ ตัวเองขึ้นมาแข่งขัน และผสานกับการทดลองทำ ปรับปรุง พัฒนา ตามรูปแบบหลักการ Design Thinking (การคิดเชิงออกแบบ) เพื่อทำให้ไอเดียที่คิดออกมาเป็นรูปเป็นร่างและปรับปรุง สิ่งผิดพลาดต่าง ๆ ให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญเมื่อได้ต้นแบบหรือระบบแล้ว ก็พัฒนาต่อย อดโดยการขยายสาขาเพื่อสร้างรายได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญใช้เทคโนโลยีในการสร้างความได้ เปรียบทางการแข่งขันและไม่หยุดเรียนรู้การเอาสิ่งที่มีอยู่แล้ว x สิ่งที่เราไม่มี มาสร้างสิ่งใหม่ จากเนื้อเรื่องดังกล่าว จะเห็นถึงการพัฒนานวัตกรรม ผมหวังว่าธุรกิจ “เต่าบิน” จะสร้างไอเดีย แนวคิด และเป็นแรงบันดาลใจ ให้ท่านผู้อ่านนำไปต่อยอดในการสร้างนวัตกรรมของ DAD ในโอกาสนี้ขอพื้นที่โฆษณากิจกรรมด้านนวัตกรรมขององค์กรเลยนะครับ โดยทุกท่าน สามารถ เข้าร่วมส่งผลงานประกวดโครงการ Innovation Awards (VOC/VOS for Business) และ โครงการ DAD Start-up Idea (ความคิดสร้างสรรค์) – Ideation ประจำปี 2565 ที่แจ้งเวียน ผ่านอีเมล ลองเสนอมุมมอง แนวคิดกันเข้ามานะครับ เพราะนวัตกรรมเป็นกลไกสำคัญในการ ขับเคลื่อนองค์กรให้เกิดความยั่งยืนได้ครับ ที่มาของข้อมูล : นายวัชรินทร์ สินสมศักดิ์ บทวิเคราะห์รูปแบบธุรกิจ เต่าบิน. จากเพจเฟสบุ๊ค กรรมกรธุรกิจ. Suwapitch ส่วนจัดการความรู้และนวัตกรรม Silrapanit. เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565. https://www.forth.co.th/elementor-11593-2-2-12-3-2-3-2-3 ,สืบค้น ฝ่ายทรัพยากรบุคคล เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565. https://www.forth.co.th/smart-coffee-vending-machine/ ,สืบค้น เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565. 11
สัญญาณหมดไฟ BURN-OUT คุณกำลังรู้สึกแบบนี้อยู่ไหม ??? o มีอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เนื่องจากการทำงาน o กลัวที่จะไปทำงานทุกวัน o กังวลเกี่ยวกับการทำงาน แม้ว่าจะเป็นเวลาที่อยู่บ้าน ในเวลาว่าง o เคยรู้สึกดูถูก มองในทางลบอย่างรุนแรง เช่น เหยียดหยามต่องานและเพื่อนร่วมงาน หรือ อยู่ห่างกับเพื่อนร่วมงาน o รู้สึกไม่สามารถทำงานที่เคยเป็นเรื่องง่ายได้ o พบปัญหาทางร่างกายมากขึ้น อาทิ ปวดหัวมากขึ้น หากคุณตรวจสอบตัวเองแล้วพบเพียง 1 ใน 6 ข้อ นั่นแปลว่า คุณรับรู้ถึงอาการเกิดความเหนื่อยหน่าย ในงานได้แล้ว และหากคุณพบ 2 ข้อขึ้นไป นั่นเป็นสัญญาณว่า คุณกำลังจะเข้าสู่ภาวะเหนื่อยหน่ายจากการ ทำงาน ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวค่ะ มีทางเข้า ก็ย่อมมีทางออกค่ะ อันดับแรกเรามาทำความรู้จักอาการ “หมดไฟ” หรือ “BURNOUT” กันก่อนว่า อาการมันเป็นยังไง ??? 12
ในปี 2562 องค์การอนามัยโลก ได้จัดภาวะ Burn-out หรือ ภาวะหมดไฟจากการทำงาน \"Occupational phenomenon\" เป็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตอย่างหนึ่งในกลุ่ม International Classification of Diseases (ICD) แต่ไม่ต้องตกอกตกใจกันไปค่ะ ในทางการแพทย์ถือว่าภาวะหมดไฟจากการทำงาน เป็นการ เปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่ยังไม่ถึงขั้นเจ็บป่วยทางจิตเวช ที่ต้องเข้าพบหมอ แล้วภาวะ Burn-out คืออะไร ??? ตามแนวทางวินิจฉัยโรค ICD-11 ขององค์การอนามัยโลก ได้ให้ความหมายว่า คือภาวะการเปลี่ยนแปลงด้าน จิตใจที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงาน โดยมีอาการหลัก 3 อาการ ประกอบด้วย 1) รู้สึกสูญเสียพลังงาน หรือมีภาวะอ่อนเพลีย 2) มีความรู้สึกต่อต้านและมองงานของตนเองในทางลบ ขาดความรู้สึกในความตั้งใจที่จะ ประสบความสำเร็จ (นั่นหมายถึงไม่มีแรงจูงใจที่จะประสบความสำเร็จในงาน) และ 3) รู้สึกเหินห่างจากคนอื่นไม่ว่า จะเป็นผู้ร่วมงาน หรือลูกค้า รวมถึงขาดความผูกพันกับสถานที่ทำงาน คนทำงานอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหมดไฟ หากรู้สึกว่างานของตนมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. ภาระงานหนัก และปริมาณงานมาก รวมถึงงานมีความซับซ้อน ต้องทำในเวลาเร่งรีบ 2. ขาดอำนาจในการตัดสินใจ และมีปัญหาการเรียงลำดับความสำคัญของงาน 3. ไม่ได้รับการตอบแทน หรือรางวัลที่เพียงพอต่อสิ่งที่ได้ทุ่มเทไป 4. รู้สึกไร้ตัวตนในที่ทำงาน หรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม 5. ไม่ได้รับความยุติธรรม ขาดความเชื่อใจ และการเปิดใจยอมรับกัน 6. ระบบบริหารในที่ทำงานที่ขัดต่อคุณค่า และจุดมุ่งหมายในชีวิตของตนเอง โดยระยะในการทำงานซึ่งนำมาสู่ภาวะหมดไฟ (Miller & Smith, 1993) แบ่งได้ดังนี้ ระยะฮันนีมูน (the honeymoon) เป็นช่วงเริ่มงาน คนทำงานมีความตั้งใจ เสียสละเพื่องานเต็มที่ พยายามปรับตัวกับเพื่อนร่วมงาน และองค์กร ระยะรู้สึกตัว (the awakening) เมื่อเวลาผ่านไป คนทำงานเริ่มรู้สึกว่าความคาดหวังของตนอาจไม่ ตรงกับความเป็นจริง เริ่มรู้สึกว่างานไม่ตอบสนองกับความต้องการของตนทั้งในแง่การตอบแทน และ การเป็นที่ยอมรับ คนทำงานอาจรู้สึกว่าชีวิตดำเนินอย่างผิดพลาด และไม่สามารถจัดการได้ ทำให้เกิด ความขับข้องใจ และเหนื่อยล้า ระยะไฟตก (brownout) คนที่รู้สึกเหนื่อยล้าเรื้อรัง และหงุดหงิดง่ายขึ้นอย่างชัดเจน อาจมีการปรับ เปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อหนีความขับข้องใจ เช่น ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ดื่มสุรา ส่งผลให้ความสามารถในการทำงาน เริ่มลดลง อาจเริ่มมีการแยกตัวจากเพื่อนร่วมงาน มีการวิพากษ์วิจารณ์องค์กรของตนเอง ระยะหมดไฟเต็มที่ (full scale of burnout) หากช่วงไฟตกไม่ได้รับการแก้ไข คนทำงานจะเริ่มรู้สึก สิ้นหวัง มีความรู้สึกว่าตนเองล้มเหลว สูญเสียความมั่นใจในตนเองไป มีอาการของภาวะหมดไฟเต็มที่ ระยะฟื้ นตัว (the phoenix phenomenon) หากคนทำงานได้มีโอกาสผ่อนคลาย และพักผ่อน อย่างเต็มที่ จะสามารถกลับมาปรับตนเองและความคาดหวังต่องานให้ตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น รวมถึงสามารถปรับแรงบันดาลใจ และเป้าหมายในการทำงานด้วย หากภาวะหมดไฟไม่ได้รับการจัดการ อาจส่งผลด้านต่าง ๆ ดังนี้ - ผลด้านร่างกาย : อาจพบอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ - ผลด้านจิตใจ : บางรายอาจสูญเสียแรงจูงใจ หมดหวัง รู้สึกหมดหนทางที่จะช่วยให้ดีขึ้น ส่งผลให้มีอาการของภาวะซึมเศร้า และอาการนอนไม่หลับได้ อาจพบมีการใช้สารเสพติด เพื่อจัดการกับอารมณ์ - ผลต่อการทำงาน : อาจขาดงานบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง อาจคิดเรื่องลาออก ในที่สุด 13
สัญญาณเตือนว่าเริ่มเกิดภาวะหมดไฟ มีอะไรบ้าง - อาการทางอารมณ์ : หดหู่ เศร้า อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิด ไม่พอใจในงานที่ทำ - อาการทางความคิด : เริ่มมองงานหรือคนอื่นในแง่ร้าย ระแวงง่ายขึ้น โทษคนอื่น สงสัย ความสามารถของตนเอง และอยากเลี่ยงปัญหา - อาการทางพฤติกรรม : หุนหันพลันแล่น ผัดวันประกันพรุ่ง ทำกิจกรรมสร้างความสุข ลดลง เริ่มมาทำงานสายบ่อยขึ้น บริหารจัดการเวลาแย่ลง หากเกิดภาวะหมดไฟ จะจัดการอย่างไร พัฒนาทักษะในการจัดการปัญหา และความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ต่าง ๆ รวมถึง ทักษะการสื่อสาร เจรจาต่อรอง การยืนหยัดเพื่อรักษาสิทธิ์อันชอบธรรมของตนเอง ยอมรับความแตกต่างของคน และเปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่อาจไม่ตรงกัน ไม่ด่วนตัดสินคนอื่ น แสวงหาความช่วยเหลือ และอาจหาที่ปรึกษา (Coach and Mentor) ร่วมกิจกรรมทางสังคม และกิจกรรมเพื่อสุขภาพ ภาวะหมดไฟในการทำงานไม่ใช่โรคซึมเศร้า !!! แต่ถ้าหากคุณเริ่มมีอาการเศร้าหดหู่ เบื่อหน่ายสิ่งรอบตัว รู้สึกทุกข์ทรมานกับการใช้ชีวิต หรือมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ นางสาววรพรรณ พุกจรูญ 14 ส่วนช่วยอำนวยการ ฝ่ายอำนวยการ
ความสุขในการทำงาน WORK HAPPINESS ความสุขมีความสำคัญในการพัฒนาองค์การ ตลอดจนการพัฒนาประเทศ เพราะบุคคลที่มี ความสุขจะเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี การประสานงานดี การพูดการสื่อสารดี รู้จักเลือกพูดแต่สิ่งที่ดีก่อให้เกิดประโยชน์สร้างสรรค์ ลดความเครียด เสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว ทำงาน เพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ลดปัญหาการฆ่าตัวตาย ทำให้บุคคลรอบข้าง มีความสุข มีการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคม ส่งผลไปถึงสังคมโลกที่มีความสุข (Layard R., 2007) ซึ่ง Edward Diener นักจิตวิทยาจาก University of Illinois หรือ Dr.Happiness ที่ได้ทำการศึกษาว่าอะไรบ้างที่ทำให้คนรู้สึกพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจในชีวิตมากว่า 20 ปีแล้ว และได้ ข้อสรุปถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานไว้ 4 ประการ ดังนี้ 1. สัมพันธภาพระหว่างผู้ร่วมงาน (Connection) หมายถึง การรับรู้ถึงสัมพันธภาพที่ดีที่เกิดขึ้นกับเพื่อน ร่วมงาน โดยมีการให้ความร่วมมือ ดูแลซึ่งกันและกัน สนทนา พูดคุยและสังสรรค์กันอย่างเป็นมิตร ให้การ ช่วยเหลือและได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน เกิดมิตรภาพและความรู้สึกที่เป็นสุข ตลอดจนรับรู้ได้ ว่าอยู่ท่ามกลางเพื่อนร่วมงานที่มีความรัก และความ ปรารถนาดีต่อกัน 15
2. ความรักในการทำงาน (Love of work) หมายถึง การรับรู้ได้ว่าตนเองมีความรักความผูกพัน อย่างเหนียวแน่นกับงาน รับรู้ว่าตนมีพันธกิจกับงาน ในการปฏิบัติงานให้สำเร็จ มีความยินดี ที่จะปฏิบัติงาน ทุกอย่างที่เป็นองค์ประกอบของงาน กระตือรือร้น ตื่ นเต้น ดีใจ เพลิดเพลินใจในการทำงาน และปรารถนา ที่จะปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจ มีความภาคภูมิใจที่ตน มีหน้าที่ความรับผิดชอบในงาน 3. ความสำเร็จในงาน (Work achievement) หมายถึง การรับรู้ได้ว่าตนเองปฏิบัติงานได้บรรลุเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ โดยได้รับความสำเร็จในการทำงาน ได้รับมอบ หมายให้ทำงานที่ท้าทายให้สำเร็จ มีอิสระในการทำงาน เกิดผลลัพธ์การทำงานไปในทางบวก ทำให้รู้สึกมีคุณค่า ในชีวิต เกิดความภาคภูมิใจในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง สิ่งต่าง ๆ เพื่อให้งานสำเร็จ มีความก้าวหน้า ตลอดจนได้รับ รางวัลตอบแทนเมื่อปฏิบัติงานประสบความสำเร็จและ ทำให้องค์การเกิดการพัฒนา 4. การเป็นที่ยอมรับ (Recognition) หมายถึง การรับรู้ว่าตนเองได้รับการยอมรับและความเชื่อถือจาก ผู้ร่วมงาน ผู้ร่วมงานรับรู้ถึงความพยายามและมีความประทับใจ เกี่ยวกับงานที่ได้ปฏิบัติของตน ได้รับความหวังดีในการปฏิบัติงาน และความไว้วางใจจากผู้ร่วมงาน ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ กับ ผู้ร่วมงาน ได้รับการมอบหมายให้ทำโครงการพิเศษและรับผิดชอบ เพิ่มขึ้น ตลอดจนได้ใช้ความรู้อย่างต่อเนื่อง นางสาวสุดารัตน์ ขุนทองจันทร์ 16 ส่วนบริหารการประชุม ฝ่ายอำนวยการ
เงินเฟ้อ เงินเฟ้อ คืออะไร มีผลกระทบต่อค่าครองชีพแค่ไหน หลังจากกระทรวงพาณิชย์ออกมาเปิดข้อมูลภาวะเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 13 ปีนับจากปี 2551 และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรื่องของเงินเฟ้อ นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตประจำวันของทุกคน ดังนั้นเพื่อให้ หลายคนเข้าใจถึงเรื่องนี้มากขึ้น ผมจะนำทุกคนไปทำความรู้จักกันว่า เงินเฟ้อ นั้นคืออะไร เงินเฟ้อ ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากจะกระทบต่อฐานะและความเป็นอยู่ของประชาชน สาเหตุการเกิดเงินเฟ้อ แบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ 1.ประชาชนต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ประกอบกับสินค้าและบริการนั้น ๆ ในตลาด มีไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ขายปรับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น 2.ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น กล่าวคือ หากผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้ จะทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้นด้วย 17
หน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเรื่องเงินเฟ้อในปัจจุบัน 1. กระทรวงพาณิชย์ ทำหน้าที่ดูแลราคาสินค้าและบริการไม่ให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาสหรือเอาเปรียบผู้บริโภค หรือตรึง ราคาไว้ในช่วงที่สินค้าขาดแคลนระยะสั้นนอกจากนี้ยังทำหน้าที่ติดตามรวบรวมข้อมูลราคาสินค้าและ บริการที่ผู้บริโภคซื้อเป็นประจำทุกวันจากตลาดและแหล่งจำหน่ายต่าง ๆ ทั่วประเทศ นำมาคำนวณ จัดทำเป็นดัชนีที่เรียกว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบภาวะเงินเฟ้อเป็นรายเดือน สามารถวัดได้จากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีดังกล่าว ซึ่งเรียกตัวชี้วัดนี้ว่า อัตราเงินเฟ้อ 2. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดำเนินนโยบายการเงินผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ ในระดับต่ำและไม่ผันผวน ซึ่งเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว และความกินดี อยู่ดีของประชาชน ผลกระทบจากสภาวะเงินเฟ้อ ผลกระทบจากสภาวะเงินเฟ้อนั้น จะมีผลกระทบต่อพวกเราทุกคนไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ ทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม อาทิเช่น ผลกระทบที่มีต่อความต้องการถือเงินส่วนบุคคล โดยภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ค่าของเงินลดลง เพราะเมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น เงินเท่าเดิมแต่ จะซื้อของได้น้อยลง ค่าของเงินยิ่งต่ำก็จะมีต้องใช้เงินจำนวนมากในการใช้จ่ายซื้อสินค้าและ บริการนั่นเอง 1 ผลต่อภาคประชาชน รายจ่ายหรือภาระค่าครองชีพสูงขึ้นทำให้ประชาชนมีอำนาจซื้อน้อยลง มีความ สามารถจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง และอาจทำให้รายได้ที่มีหรือเงิน ที่หามาได้ไม่เพียงพอกับการยังชีพ อัตราเงินเฟ้อยิ่งสูง จะส่งผลให้อัตรา ดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออก หรือที่เรียกว่า \"อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง\" จะมีค่า ลดลงไป เนื่องจากดอกเบี้ยที่เราได้รับเอาไปใช้ซื้อของได้น้อยลง ยกตัวอย่าง กรณีที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี แต่หากอัตราเงินเฟ้อ หรือราคาเพิ่มขึ้นมาร้อยละ 1 อาจกล่าวได้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงหรือผลตอบแทนสุทธิ ที่ได้รับจริง ๆ อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีเท่านั้น แต่หากปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังเท่า เดิม แต่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 2 อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะกลายเป็นร้อยละ -0.5 ต่อปี ซึ่งถือว่ากำลังซื้อของผู้ฝากเงินลดลง การฝากเงินทำให้ได้รับผลตอบแทนจริง ๆ ติดลบ ทำให้ผู้ฝากไม่อยากออมเงิน และอาจ หันไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ และหุ้น ทำให้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วย หากไม่มีความรู้เพียงพอในการบริหาร จัดการ ก็อาจทำให้เกิดเป็นภาระหนี้สินได้ 18
2 ผลต่อผู้ประกอบการ เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้นยอดขายก็จะลดลง ในขณะเดียวกันต้นทุนการผลิต ก็จะสูงขึ้นด้วย ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจบางรายอาจตัดสินใจชะลอการผลิต ลดการลงทุนและการจ้างงาน ทำให้คนตกงานมากขึ้น ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศลดลง เนื่องจากราคา สินค้าส่งออกของเราจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาสินค้าออกของประเทศอื่น ๆ 3 ผลต่อประเทศ ในภาวะที่ประชาชนซื้อของน้อยลง ธุรกิจไม่สามารถขายของได้ การลงทุน เพื่อผลิตสินค้าก็จะชะลอออกไป ทำให้การพัฒนาศักยภาพการผลิตของ ประเทศในระยะยาวอาจชะลอลงตามไปด้วย ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงจนทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบนาน ๆ ประชาชนก็จะ หันไปเก็งกำไรในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง สะสมปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ ต่าง ๆ และความไม่สมดุลในภาคการเงินของประเทศได้ เช่น หนี้ครัวเรือน 4 ผลต่ออสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากต้นทุนในการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ มีทั้งแรงงานและวัสดุ ก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นหิน ดิน ทราย ซึ่งภาวะเงินเฟ้อทำให้ค่าจ้างแรงงาน และวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้ราคาขายอสังหาริมทรัพย์ขยับสูงขึ้น ตามไปด้วย แต่ผู้ที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์อยู่แล้วจะเป็นผลดีจากมูลค่า ของบ้านที่จะขยับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ถือเป็นจังหวะที่ดีที่สุดสำหรับการซื้อที่อยู่ อาศัย เพราะมีโอกาสเพิ่มมูลค่าได้สูงขึ้นในอนาคต แต่การซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงเงินเฟ้อ ผู้ซื้อ จะต้องเลือกทำเลและราคาที่เหมาะสม เพื่อให้มูลค่าเพิ่มขึ้นได้ใกล้เคียงอัตราเงินเฟ้อ หรือให้ สูงกว่า จึงจะถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุน โดยควรใช้วิธีการกู้เงินมากกว่าใช้เงินสด เพราะ มูลค่าของเงินในปัจจุบันสูงกว่าเงินในอนาคต โดยควรใช้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะยาว เพราะในช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อ เป็นช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นเช่นกัน สำหรับทำเลที่อยู่อาศัยที่มีโอกาสขยับราคารับการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ ควรเป็นทำเลที่อยู่ ในโซนที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก หรือรถไฟฟ้า ซึ่งทำเลลักษณะนี้จะไม่ได้ปรับราคาลงมาก ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว หรือราคาสูงมากเกินไป เช่น โซนใกล้รถไฟฟ้า BTS ที่มีราคาขยับ เพิ่มขึ้นไปมากแล้ว โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนระยะสั้นจึงอาจเป็นไปได้ยาก จริง ๆ แล้วสภาวะเงินเฟ้อ นั้นเกิดขึ้นเป็นตามกลไกทางการตลาดและภาวะของสภาพ คล่องทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ดังนั้นการเพิ่มราคาของสินค้าจะต้องปรับขึ้นพร้อมกันทั้ง ระบบเศรษฐกิจ แต่ถ้าขึ้นเพียงอย่างเดียวหรือเพียง 2-3 อย่าง จะไม่ถือว่าเป็นเงินเฟ้อ แต่หากเพิ่มขึ้นมากก็จะสร้างความผันผวนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ การครองชีพของประชาชน ทำให้เกิดการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อ การพัฒนาเศรษฐกิจ และมีผลกระทบกับเงินในกระเป๋าของเราทุกคนอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่มาของข้อมูล : นายฐาปนา ตันทัศน์ 19 https://www.thansettakij.com/economy/516819https://www.kwan ส่วนบริหารอาคาร 2 manie.com/freelancethemovie-review/ https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/เงินเฟ้อคือะไร-50602 ฝ่ายบริหารอาคาร
มารู้จัก เส้นพาสต้า กันเถอะ พาสต้า (Pasta) เป็นชื่อเรียกรวม ๆ ของสารพัดเมนูเส้นของอาหารอิตาลี ซึ่งพาสต้า ก็แบ่งได้หลายแบบ ทั้งพาสต้าเส้นสด พาสต้าเส้นแห้ง พาสต้าใส่ไข่ และไม่ใส่ไข่ พาสต้าเส้นยาว เส้นสั้น คือแบ่งได้เยอะมาก รวม ๆ แล้วมีมากกว่า 500 กว่าชนิดบนโลก วันนี้เราเลยอยากพา ทุกคนมารู้จักเส้นพาสต้าแบบต่าง ๆ ที่นิยมนำมาทานอาหารและหาทานได้ตามร้านอิตาเลียนกันค่ะ Spaghetti คือเส้นพาสต้าแบบกลมยาว ได้รับความ (สปาเกตตี) นิยมเป็นอับดับ 1 ของทุกเส้นเลย เหมาะ กับซอสหลากหลายชนิด Capellini หรือ Angle Hair คาเปลลินี เส้นพาสต้าที่เรียกได้ว่าบางมาก และเส้น (Capellini) เรียวเล็กมาก ลักษณะของเขาเป็นเส้นยาว คล้ายกับเส้นสปาเก็ตตี แต่มีความเรียว 20 บางกว่ามากเหมือนผมเส้นเล็ก ๆ
Linguine พาสต้าเส้นยาวคล้ายสปาเกตตี แต่แบน (ลิงกวินี) เล็กน้อย นิยมทานกับซอสที่มีน้ำมันเป็น ส่วนประกอบ เช่น ซอสโหระพา Fettucine (เฟตตุชินี) ลักษณะเส้นคล้ายกับเส้นลิงกวินีแต่มี ความหนาน้อยกว่า นิยมทานกับซอสที่มี ลักษณะข้น ๆ หรือ ซอสครีมเห็ด Macaroni เส้นพาสต้าอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมมากใน (มักกะโรนี) บ้านเรา ลักษณะเป็นเส้นกลม มีรูตรงกลาง ทานได้กับซอสหลากหลายแบบ Penne (เพนเน่) มีลักษณะเป็นแบบท่อ และตัดเฉียงปลาย ทั้งสองด้าน Rigatoni แบบท่อแต่ขนาดใหญ่กว่าเพนเน่ (ริกาโทนี) ผิวข้างนอกหยัก 21
Farfalle เป็นแผ่นแล้วพับตรงกลาง ลักษณะคล้าย (ฟาร์ฟาเล่) ผีเสื้อหรือโบ ทานกับซอสมะเขือเทศหรือ ซอสที่ทำจากเนยแข็ง Fusilli (ฟูชิลี) เป็นท่อน ๆ เกลียว ๆ มีความหนากว่าพาส ต้าอื่น ๆ นิยมใช้เป็นเมนูพาสต้าอบชีส Conchiglie มีลักษณะคล้ายเปลือกหอย (พาสต้า เปลือกหอย) Ravioli (ราวิโอลี) ลักษณะแปลกกว่าแบบอื่น คล้ายเกี๊ยว ข้างในสอดไส้ผัก ชีส หรือเนื้อสัตว์ก็ได้ แล้วตัดขอบให้เป็นหยัก ๆ ที่มาของข้อมูล : นางสาวรสริน เรืองศรี 22 https://www.punpro.com/p/type-of-pasta ส่วนบริหารอาคาร 1 https://www.baanlaesuan.com/45756/diy/diy101/types-of-pasta ฝ่ายบริหารอาคาร
ทริคการป้องกันสัตว์และ แมลงรบกวน สวัสดีครับ วันนี้ผม “หนึ่งฝ่ายบริหารอาคาร” มีเรื่องมาเล่าสู่กันฟัง เชื่อว่าทุกท่านไม่ว่าจะทำหน้าที่ อะไรในที่ทำงานก็ตาม เมื่อกลับถึงบ้านแล้ว เราก็ต้องเปลี่ยนหมวกเป็นพ่อบ้านแม่บ้านกันทุกคน ดังนั้นวันนี้ผมมีทริคเล็ก ๆ ในการดูแลบ้านของเราให้อยู่ห่างไกลจากสัตว์และแมลงรบกวนครับ ซึ่งสัตว์และแมลงรบกวนที่เราจะกล่าวถึงและพบเจอกันเป็นประจำในครัวเรือนคงหนีไม่พ้น มด แมลงสาบ แมลงวัน หนู ยุง และยังมีอีกมากมายถ้าเราไม่เริ่มดูแลรักษาความสะอาดบ้านของเราครับ ผมจะพาทุกคนไปสำรวจบ้านกันเป็นข้อ ๆ ดูนะครับว่ามีจุดไหนบ้างที่เราควรระมัดระวัง พร้อมทั้งบอก ทริคในการป้องกัน ดังต่อไปนี้ครับ 1. ถังขยะ เป็นสิ่งแรกเริ่มของการดึงดูดสัตว์รบกวนต่าง ๆ เข้ามายังบ้านของเรา หากเราไม่มีการจัดเก็บขยะ ที่ดี ทิ้งเศษอาหารรวมกับขยะมูลฝอยทั่วไป และไม่ได้นำไปทิ้งที่จุดพักขยะภายนอกบ้าน สิ่งที่จะตามมาคือ แมลงสาบ แมลงหวี่หรือแมลงบิน แมลงวันและหนูเข้ามาหาเศษอาหาร ตามถังขยะหรือถุงขยะของเราครับ ดังนั้น ทริคเล็ก ๆ คือ การใช้ถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด หากใช้เป็นถุงขยะควรใช้ถุงที่มีเชือกสำหรับผูกปิด ปากถุง มีการคัดแยกขยะระหว่างเศษอาหารออกจากขยะมูลฝอยทั่วไป หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยว่าขยะ มูลฝอยที่ว่านี้ได้แก่อะไรบ้าง จะขอขยายความสั้น ๆ ว่า ขยะมูลฝอยนั้นมีทั้ง 1. ขยะอินทรีย์ ก็คือเศษอาหารต่าง ๆ 2. ขยะรีไซเคิล 3. ขยะทั่วไป 4. ขยะอันตราย สำหรับการป้องกันและกำจัดสัตว์และแมลงรบกวนนั้น จะให้ความสำคัญ และระวังการทิ้งขยะอินทรีย์หรือที่เรียกว่าเศษอาหาร เพราะขยะเหล่านี้จะ ส่งกลิ่นและยังเป็นแหล่งกำเนิดของหนอนหรือแมลงต่าง ๆ ที่ปะปนมา กับอาหารได้ สรุปได้ว่า บ้านพักอาศัยของเรานั้นควรใช้ถังขยะแบบมีฝา ปิด และไม่ทิ้งขยะที่เป็นเศษอาหารค้างคืนไว้ภายในบ้าน มีการคัดแยกขยะ อย่างเป็นระเบียบเพื่อความสะอาดและง่ายต่อการจัดเก็บและทิ้งครับ 23
2. ภาชนะในการจัดเก็บอาหาร เชื่อว่าทุกบ้านนั้นต้องมีขนมขบเขี้ยวติดบ้านไว้ สำหรับกิจกรรมยามว่างหรือ พักผ่อนดูหนังดูซีรีส์ ซึ่งหากเรากินไม่หมดก็มักจะมัดถุงไว้กินครั้งต่อไป หรือแม้แต่ของกินอื่น ๆ ก็ตาม หาก เราใช้เพียงการนำอาหารที่เหลือใส่ถุงมัดปากถุงทิ้งไว้นั้น ไม่เป็นเพียงการไม่ถนอมอาหารแล้ว ยังสามารถเป็น ที่ดึงดูดสัตว์และแมลงรบกวนได้อีกด้วย ดังนั้น เราควรหาภาชนะเก็บอาหารที่มีฝาปิดมิดชิด โดยปัจจุบันมี ผลิตออกมาจำหน่ายหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบพลาสติก แก้ว โลหะ แต่สิ่งที่เราต้องสังเกตุเป็น พิเศษคือภาชนะนั้นมียางขอบฝาปิดหรือไม่ เพราะนั่นจะเป็นตัวกั้นอากาศเข้าออกภาชนะนั้นเอง สรุปได้ว่าทริก นี้ได้ประโยชน์สองต่อเลยนะครับ ทั้งป้องกันสัตว์และแมลงรบกวน และถนอมอาหารของเราได้เป็นอย่างดี 3. การเก็บอาหารเข้าตู้แช่เย็น เรื่องนี้เป็นข้อต่อเนื่องกันจากการเลือกใช้ภาชนะเก็บอาหารที่ดี เรายังควรนำ อาหารประเภทกับข้าว อาหารที่ปรุงเรียบร้อยแล้ว ซอสปรุงรส หรือขนมปังเนยแยม เป็นต้น เพราะอาหาร ประเภทนี้สามารถเสียได้หากอยู่ในอุณหภูมิที่ไม่คงที่ อีกทั้งยังส่งกลิ่นรบกวนบ้านของเราอีกด้วยและที่สำคัญ ก็หนีไม่พ้นสัตว์และแมลงรบกวนเข้ามาก่อกวนเราตามเคย การแช่ตู้เย็นจึงช่วยให้ปัญหานี้จบลงได้ครับ 4. ประตูและหน้าต่าง หลาย ๆ ท่านอาจคิดว่าการปิดประตูและหน้าต่างก็เพียงพอต่อการป้องกันสัตว์และ แมลงรบกวนได้แล้ว แต่วันนี้ผมอยากให้ทุกท่านได้กลับไปสังเกตประตูและหน้าต่างที่บ้านว่า มีวัสดุสำหรับกั้น อากาศและฝุ่นหรือไม่ เพราะหากมีช่องว่างระยะห่างเพียงพอ แมลงต่าง ๆ ยุง แมลงสาบก็สามารถเข้ามาใน บ้านเราได้อย่างง่ายดาย ดังนั้น ผมมีทริคเล็ก ๆ คือการติดตั้งแผ่นกันฝุ่นกั้นอากาศที่ขอบประตูเข้าบ้านและ โฟมรองประตูห้องนอน ปัจจุบันมีจำหน่ายเป็นอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน ติดตั้งง่าย สวยงาม แถมยังเป็นการลด โอกาสการเข้าออกของแมลงลงได้ และยังเป็นการประหยัดพลังงานเครื่องปรับอากาศอีกด้วย รวมถึง ปัจจุบันเราพบวิกฤตการณ์ฝุ่น PM2.5 อุปกรณ์ตัวช่วยเหล่านี้ช่วยเราได้เยอะเลยครับ 24
5. ท่อระบายน้ำภายในบ้าน หลาย ๆ บ้านสงสัยว่าทำไมปิดประตูบ้านและฝ้าเพดานมิดชิดแล้ว ก็ยังเจอปัญหา หนูเข้ามาในบ้านได้ ลองสังเกตท่อระบายน้ำเพิ่มอีก 1 จุด ว่ามีฝาปิดหรือตะแกงปิดมิดชิดหรือไม่ เพราะหนู ที่เข้ามารบกวนบ้านเรือนของเรามีหลายชนิด ยกตัวอย่างเช่น หนูหริ่ง ที่อาศัยอยู่ตามฝ้าเพดาน ผนังเบา ภายในบ้าน หนูท้องขาว ที่ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้โพรงหญ้าหลังคาบ้าน หนูนอร์เวย์ ที่ชอบอาศัยอยู่ตามท่อ ระบายน้ำและถังขยะ หนูจี๊ด เป็นหนูขนาดเล็กที่ตัวใหญ่กว่าหนูหริ่งที่ชอบเข้ามาหาเศษอาหาร เป็นต้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่าหนูแต่ละชนิดมีพฤติกรรมและแหล่งที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน และอีกหนึ่งเรื่องที่อยากแชร์ให้ทุก คนรู้คืออัตราการขยายพันธุ์ของหนูนั้นเฉลี่ยอยู่ที่ครอกละ 8-12 ตัว ซึ่งมีความถี่ปีนึงได้ถึง 7-8 ครอก ขออนุญาตไม่ลงรายละเอียดลึกไปกว่านี้ แต่อยากให้ทุกท่านเปลี่ยนทัศนคติจากการกำจัดหนูที่มีอัตราการ ขยายพันธุ์ที่ทวีคูณนี้เป็นการป้องกันไม่ให้บ้านของเรามีความเสี่ยงที่หนูจะอยากเข้ามาหาอาหารดีกว่าครับ 6. การจัดเก็บสิ่งของบริเวณบ้าน ในที่นี้จะมุ่งเน้นที่สิ่งที่จะมีความเสี่ยงก่อให้เกิดแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ ไม่พึงประสงค์ ยกตัวอย่างที่พบกันมาก ได้แก่ การเก็บลังกระดาษต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกล่อง ลัง แผงไข่ กล่องรองเท้า หนังสือพิมพ์หรือกระดาษที่ไม่ใช้แล้ว กระสอบ เสื้อผ้า เป็นต้น หากก่อรวม ๆ กันไว้สามารถ เป็นแหล่งอาหารของปลวกได้นั้น ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์มีพิษได้อีกด้วย เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง แมงมุม เราจึงควรเคลียร์สิ่งของที่ไม่จำเป็นทิ้งเป็นประจำ ลดโอกาสเกิดแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์และแมลง รบกวน อีกเหตุการณ์ที่ทุกคนคงเคยได้ยินได้ฟังข่าว มีสัตว์มีพิษไปหลบอาศัยอยู่ในรองเท้าโดยที่เราไม่ทัน สังเกตได้ ดังนั้น การดูแลจัดเก็บสิ่งของจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่พ่อบ้านแม่บ้านอย่างเราจะละเลยไม่ได้เลยครับ จริง ๆ แล้วยังมีอีกหลายอย่างที่เราสามารถดูแลป้องกันที่อยู่ รักและเคารพพี่น้องผองเพื่อนทุกท่านเสมอ อาศัยของเราให้ห่างไกลสัตว์และแมลงรบกวน ทั้งการใช้สารเคมีกำจัด หนึ่ง นายธัชพงศ์ เปรมประยูร การวางระบบป้องกันหรือการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในบ้านเรือน ฝ่ายบริหารอาคาร ของเรา ไว้มีโอกาสผมจะมาเล่าและอัปเดตให้ฟังอีกนะครับ เบื้องต้น ขอฝาก 6 ข้อนี้ให้เพื่อน ๆ ชาว ธพส. ทุกท่านลองไปปรับใช้และขอฝาก รณรงค์การรักษาความสะอาดที่ทำงาน โต๊ะทำงาน อาคารสำนักงาน เหมือนเป็นบ้านหลังที่ 2 ของเรากันด้วยนะครับ 25
Dhanarak Asset Development Co.,Ltd ฉพบคัใบบรหักหบมั่นน!้า ร่วมลุ้นรับ รางวัล KNMEW&SINLENTOTER AUG 2022 / VOL.3
Search
Read the Text Version
- 1 - 26
Pages: