Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การดูแลสุขภาพองค์รวม

การดูแลสุขภาพองค์รวม

Published by penbaaaa, 2021-11-18 15:04:54

Description: การดูแลสุขภาพองค์รวม
Holistic Health

Search

Read the Text Version

เ พื่ อ ก า ร มี สุ ข ภ า ว ะ ที่ ดี การดูแล สุขภาพ องค์รวม สุขภาพดี สร้างได้ด้วยตัวคุณ pubhtml.5

HOLISTIC HEALTH การดูแล สุขภาพ องค์รวม PANNAPORN B. m.6 18/11/2021

สารบัญ 01-04 05-07 สุขภาพและความเจ็บป่วย 08-09 สุขภาพองค์รวม ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดองค์รวม 10 แนวปฏิบัติสุขภาพองค์รวม 11-14 5 องค์ประกอบของสุขภาพองค์รวม เทคนิคพื้นฐานในการเยียวยา 15-17 สุขภาพแบบองค์รวม

สุขภาพและความเจ็บป่วย สุขภาพและความเจ็บป่วย คำว่า “สุขภาพ” (health) ไนติงเกล (Nightingale, 1860) ให้ ความหมาย สุขภาพ หมายถึง สภาวะที่ปราศจากโรคและสามารถใช้ พละกำลังของตนเองได้เต็มความสามารถ องค์การอนามัยโลก (Word health Organization [WHO]) ในปี ค.ศ. 1947 ได้ให้ความหมายดังนี้ “Health is state of complete physical, mental and social well-being and not merely the absence of disease or infirmity” หมายถึง สภาวะที่มีความสมบูรณ์ ของร่างกาย จิตใจ และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มิใช่ เพียงแต่ปราศจากโรคและความพิการเท่านั้น 1

สุขภาพและความเจ็บป่วย “สุขภาพ” ตามพจนานุกรมเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 ให้ความ หมายไว้ว่า หมายถึง ความสุขปราศจากโรค ความสบาย ความมี อนามัยดี จะเห็นว่าแต่ละคนจะให้ความหมายของคำว่า”สุขภาพ” ต่างๆ กัน แม้แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความหมายก็จะมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม เช่น เมื่อปี พ.ศ. 2529 องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความว่า สุขภาพดี หมายถึง สภาวะที่ร่างกายมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ปราศจากโรคและความพิการใดๆ ซึ่ง สอดคล้องกับความหมายของคำว่า “สุขภาพ” ในพระราชบัญญัติ สุขภาพแห่งชาติ ในมาตราที่ 3 ที่ว่า “สุขภาพ” หมายความว่า สุขภาวะ ที่สมบูรณ์และเชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุลทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ สุขภาพมิได้หมายถึงเฉพาะ ความไม่พิการ และการไม่มีโรคเท่านั้น 2

สุขภาพและความเจ็บป่วย ส่วนความเจ็บป่วย (illness) นั้น หมายถึง สภาวะที่มีการ เปลี่ยนแปลงหน้าที่ปกติทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิต วิญญาณ ซึ่งอาจจะเปลี่ยนด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายๆ ด้านรวมกัน ทำให้บุคคลทำหน้าที่บกพร่องหรือทำหน้าที่ได้น้อยลงกว่าปกติ เป็น ภาวะที่บุคคลรู้สึกว่ามีสุขภาพไม่ดี ความเจ็บป่วยอาจไม่เกี่ยวข้องกับ การเป็นโรคก็ได้ ความเจ็บป่วยอาจมีสาเหตุเริ่มแรกจากความผิดปกติของอวัยวะ ต่างๆ ในร่างกาย หรือความผิดปกติของจิตใจ เช่น มีอาการเบื่อ อาหาร ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ เป็นต้น การบ่งชี้ถึงสภาวะความเจ็บ ป่วยและการมีสุขภาพดีนั้นบางครั้งไม่เด่นชัด ยกเว้นในรายที่เจ็บ ป่วยมากๆ มีอาการรุนแรง 3

สุขภาพและ ความเจ็บป่วย บุคคลที่มีความเจ็บป่วยไม่ว่าจะเป็นทางด้านใดด้านหนึ่งจะมีผลกระ ทบด้านอื่นๆ ตามมา เช่น ถ้ามีความเจ็บป่วยด้านร่างกายจะส่งผลให้ เกิดปัญหาทางด้านจิตใจด้วย บุคคลนั้นจะเกิดความวิตกกังวล ไม่ สบายใจ เครียด รู้สึกหงุดหงิด ส่งผลกระทบต่อสังคมรอบตัวไม่ ปกติตามไปด้วย ในโลกนี้น้อยคนนักที่จะมีสุขภาพดีมาก คือ ครบทั้ง ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ตลอดเวลา คนส่วนมากมัก จะมีความบกพร่องทางสุขภาพบ้างไม่มากก็น้อย เช่น แพ้อากาศ วิตกกังวลเกินกว่าเหตุ กลัวความมืด เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ถ้า หากบุคคลนั้นพอใจในสภาพการณ์ที่เป็นอยู่และสามารถดำรงชีวิต อยู่ได้อย่างมีความสุขก็ถือได้ว่ามีสุขภาพดีอยู่ ดังเช่นแผนภาพ แสดงภาวะความต่อเนื่องของการมีสุขภาพดีมากจนกระทั่งถึงแก่ ความตาย 4

สุขภาพองค์รวม สุขภาพองค์รวมเป็นปรัชญาเพื่อการมีสุขภาวะที่ดีโดยจะพิจารณาถึงองค์ ประกอบของร่างกายได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ และจิต ปัญญา พร้อมทั้งศึกษาถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเหล่านี้ เพื่อสร้างสมดุลให้กับชีวิตที่มีความสุข สุขภาพกับสุขภาวะต่างกันอย่างไร สุขภาพที่ดีต้องเป็นอย่างไร ทฤษฏีการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมได้ พูดถึงความหมายของคำว่า “สุขภาพ” คือความสมบูรณ์ทั้งทาง ร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณซึ่งมีความหมายในแนวเดียวกับคำว่า “สุขภาวะ” (Well-being) ที่หมายถึงการที่สุขภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณอยู่ด้วยกันอย่างมีความสมดุล ดังนั้น สุขภาวะ 4 ด้านหรือสุขภาวะ 4 มิติจึงหมายถึงการมีสุขภาพดีจาก ความสมดุลขององค์รวมทั้ง 4 ด้านคือสุขภาวะทางกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ(ปัญญา) 5

สุขภาวะ สุขภาวะทางร่างกาย(Physical Health) หมายถึงร่างกายที่แข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ไม่พิการ ร่างกายสามารถทำงานได้ปกติอย่างมีประสิทธิภาพ สุขภาวะทางจิตใจ(Mental Health) หมายถึงภาวะที่จิตใจสบาย มีความสุข ไม่เครียด มีสติ เพราะ จิตใจจะเป็นสิ่งที่คอยควบคุมให้ร่างกายปรับตัวเข้ากับสังคม และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ สุขภาวะทางสังคม(Social Health) เป็นความสุขที่เกิดจากความสัมพันธ์อันดีต่อกันของสมาชิกใน สังคม ไม่ว่าจะเป็น คนในครอบครัว คนในชุมชนและคนในสังคม ต่างมีความเอื้ออาทรให้ความช่วยเหลือและอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุข สุขภาวะทางจิตวิญญาณ(ปัญญา) เป็นความเฉลียวฉลาด ความรู้เท่าทัน เข้าใจในเหตุและผล ของความเปลี่ยนแปลงทำให้สามารถดำเนินชีวิตต่อไป อย่างมีความสุข 6

สุขภาพองค์รวม วิธีปรับสมดุลขององค์ประกอบสุขภาพองค์รวม การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมจะพิจารณาองค์ประกอบ ทั้งหมด(กาย จิตใจ สังคม ปัญญา-จิตวิญญาณ) โดยเน้นให้ผู้เข้า รับการรักษาบำบัดมีส่วนร่วมในการรักษาด้วยเพราะว่าคนที่รู้ดีที่สุด ก็คือตัวผู้เข้ารับการบำบัดนั่นเอง การขาดสมดุลในองค์ประกอบสุขภาพองค์รวมอาจปรับให้เกิดความ สมดุลโดยการใช้การรักษาหลายแบบเช่น การแพทย์แผนไทย การ แพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือก(Alternative Medicine) การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมจะไม่จำกัดวิธีการรักษาอยู่กับวิธีใดวิธี หนึ่งเท่านั้น บางครั้งก็จำเป็นต้องกินยาแต่การดูแลสุขภาพแบบพื้น ฐานก็เป็นวิธีปรับสมดุลขององค์ประกอบสุขภาพองค์รวมได้เช่น การกินอาหารให้ครบ 5 หมู่(เน้นธัญพืช โปรตีนจากปลา) การพัก ผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ การ ผ่อนคลายความเครียด ฯลฯ ที่สำคัญต้องคอยสังเกตตัวเองว่า กำลังขาดสมดุลในเรื่องใดหากพักผ่อนน้อยก็ปรับสมดุลได้โดยการ เข้านอนให้เร็วขึ้น ตามที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า ไม่มีใครรู้ความผิด ปกติ(เสียสมดุล)ของคุณได้ดีกว่าตัวคุณเอง 7

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กับแนวคิดองค์รวม Holism เป็นคำนามมาจากภาษาอังกฤษโบราณคือ คำว่า Hal หมายถึง ทั้งหมด (Whole) หรือ เพื่อบำบัด (To heal) หรือ ความสุข (Happy) และใช้แทนกันได้ทั้งสองคำ ดังนั้น องค์รวมในภาษาอังกฤษยจึงเขียนได้ทั้ง Holistic หรือ Wholistic Holistic มาจากรากศัพท์ภาษยากรีกคือ คำว่า Holos มีความหมายว่า หน่วยรวม หรือ องค์รวม เช่นเดียวกับคำว่า Whole • การรวมสิ่งที่เกี่ยวข้องเข้าเป็ นหน่วยเดียวกัน (Longman, 2001) ปรัชญาตะวันออก โดยหลักสำคัญของปรัชญา เน้นเรื่องความสมดุล ภายในร่างกายของบุคคลที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติอย่าง กลมกลืน (harmony) ปรัชญาเล่าจื้อหรือปรัชญาเต๋า (TAO) ปรัชญาจีนที่ให้ความสำคัญกับการ เข้าใจธรรมชาติ และ สังคม มองทุกสิ่ง ทุกอย่างเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กันทั้งจักรวาล มีความสอดคล้องกับแนวคิดองค์ รวมอย่างชัดเจน ในการมองทุกสิ่งทุกอย่างไม่แยกจากกัน • ตามแนวคิด ของเต๋ามองทุกสรรพสิ่งในโลกย่อมเกิด มาคู่กัน หรือมีความตรงข้ามกัน เสมอ สรรพสิ่งในจักรวาลจะคงอยู่ในสภาพปกติไดัตัองอาศัย ภาวะสมดุล ของ หยิน (Yin) และ หยาง (Yang) ซึ่งต่างฝ่ายต่างสนับสนุน ซึ่งกันและกัน 8

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กับแนวคิดองค์รวม ปรัชญาตะวันออก ปรัชญาอินเดีย • กล่าวถึงความสำคัญของหลักการทางแพทย์ของอินเดียที่เรียกว่า “ อายุรเวท ” • โดยเน้นความสมดุลของพลังงาน 3 ส่วนในร่างกาย หรือ ตรีโทษะ คือวาตะ ปิตตะ และ กะผะ • นอกจากนั้นยังแบ่งองค์ประกอบของมนุษย์ 4 ประการ คือ 1) ร่างกาย 2) จิตใจ 3) วิญญาณและสติสัมปชัญญะ และ 4) ปั จจัยทั้ง5 (ดิน น้ำ ลม ไฟ และ อากาศธาตุ) • ปรัชญาอินเดียจึงให้ความสำคัญ กับ หลัก สมดุลของพลังงานทั้ง 3 ส่วนในร่างกาย และสมดุล ขององค์ประกอบต่างๆ 4 ประการ ปรัชญาพุทธ • หลักทางศาสนาพุทธให้ความสำคัญกับธรรมชาติที่เป็นผลรวมของสิ่งต่างๆ อย่างสมดุลเพื่อ สร้างชีวิต • องค์รวมของบุคคลมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ รูป และนาม • ซึ่งก็คือผลรวมของสิ่งต่างๆ อย่างสมดุลคือ ขันธ์ 5 ได้แก่ กาย เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ (มหาจรรยา, 2543) • องค์รวมทางธรรมะ เรียกว่า อิทัปปัจจยตา • กระบวนการแห่งเหตุ และปัจจัยอาศัยการเกิดขึ้นซึ่งกันและกัน (Cause & Condition) ซึ่งเป็น ที่มาของกฎแห่งกรรม 9

สุขภาพองค์รวม แนวปฏิบัติ การนวดเพื่อสุขภาพ โยคะ ทำสมาธิ การบำบัดด้วยเสียง การกดจุด การแพทย์สมุนไพร การฝึกร่างกายรูปแบบต่างๆ โยคะ การกดจุด การแพทย์สมุนไพร ทำสมาธิ 10

5 องค์ประกอบของ สุขภาพองค์รวม 1) สุขภาพกาย สุขภาพองค์รวมไม่ได้หมายถึงการไม่มี โรคหรือการไม่เจ็บป่วย แต่เป็นการที่ เมื่อมีความเจ็บป่วยหรือมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับ บุคคลสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความ ร่างกาย เราจะสามารถสังเกตถึงความผิดปกติเล่านี้ได้ สุข ภายใต้การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ง่ายที่สุด กิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพกายที่ดี ได้แก่ ซึ่งประกอบด้วย 5 มิติ ได้แก่ สุขภาพกาย นอนหลับอย่างเพียงพอ สุขภาพจิต สังคม จิตวิญญาณ และจิต ปัญญา การสร้างสมดุลให้กับองค์ ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้ร่างกายขาด ประกอบเหล่านี้ จะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างมี น้ำ ความสุขได้ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และไม่รับ ประทานของหวานหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล มากเกินไป เลี่ยงการรับประทานอาหารแปรรูป ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัยเพศและสภาพ ร่างกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที งดสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 11

2) สุขภาพจิต การดูแลสุขภาพจิตมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการดูแลสุขภาพกาย เพราะ สุขภาพจิตที่ไม่ดี จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม เราสามารถจัดการกับ ความเครียดและความวิตกกังวลได้ดังนี้: ทำสมาธิเป็นประจำเพื่อให้จิตใจสงบและสามารถโฟกัสกับสิ่งสำคัญใน ชีวิต เขียนบันทึกประจำวันเพื่อให้รู้ทันความคิดและอารมณ์ของตัวเอง จดบันทึกเรื่องราวดีๆ ในแต่ละวัน (Gratitude Journal) ออกกำลังกายเพื่อให้จิตใจผ่อนคลาย หากรู้สึกว่ากำลังเผชิญกับปัญหาที่ไม่มีทางออก เราแนะนำให้คุณปรึกษาผู้ เชี่ยวชาญเพื่อรับการช่วยเหลือที่ถูกต้อง 12

3) สังคม มนุษย์ทุกคนต้องการอยู่ในสังคมที่ดีและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบ ข้าง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครอบครัว หรือชุมชนที่ตนเองอยู่ วิธีส่งเสริมสุข ภาพองค์รวมทางสังคมได้แก่: ออกไปพบปะและใช้เวลากับเพื่อนหรือคนในครอบครัวให้มากขึ้น ไม่ใช่เพียงโทรคุยกันหรือส่งข้อความเท่านั้น มีส่วนร่วมกับสังคมหรือชุมชนที่ตนเองอยู่ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรม ต่างๆ เช่น กิจกรรมอาสาสมัคร หรือกิจกรรมพัฒนาชุมชน 4) จิตวิญญาณ การฝึกจิตวิญญาณจะช่วยให้เราเชื่อมต่อกับจิต วิญญาณของตัวเอง ทำให้เราเข้าใจความจริงของ ชีวิต เข้าใจธรรมชาติและสรรพสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา การทำความเข้าใจความจริงเหล่านี้ สามารถทำได้ โดยการสวดภาวนาตามหลักศาสนาหรือการฝึกด้วย ตัวเองก็ได้ เช่น ใช้เวลากับธรรมชาติ ฝึกสมาธิ เล่น โยคะ 13

5) จิตปัญญา จิตปัญญาหมายถึงการเปิดกว้างต่อความคิดและ ประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และเสริมสร้างศักยภาพให้กับตัวเอง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มความท้าทายให้กับสมอง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและ สมอง เช่น ปลา ธัญพืช ถั่ว หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ เพิ่มเติม นอกจากการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมที่กล่าวมาข้างต้น การนวดก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยให้คุณผ่อนคลายร่างกายและ จิตใจ RLAX ให้บริการนวดนอกสถานที่ถึงสถานที่ของลูกค้า จอง บริการผ่านแอปพลิเคชัน RLAX วันนี้ แล้วรับบริการนวด จากเทอราปิสผู้เชี่ยวชาญได้ถึงที่บ้านของคุณเอง 14

เทคนิคพื้นฐาน ในการเยียวยาสุขภาพ แบบองค์รวม ฝึกสุขอนามัยที่ดี กินอาหารตามโภชนาการอย่างเหมาะสม การหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อ สุขภาพ การพักผ่อนที่เพียงพอ การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย เพศ และสภาพร่างกาย 15

เทคนิคพื้นฐาน ในการเยียวยาสุขภาพ แบบองค์รวม การแบ่งปันความรัก และสร้าง สัมพันธภาพระหว่างคนรอบข้าง รวมทั้งตนเอง การผ่อนคลายความเครียด การเยียวยาทางจิตใจและการทำสมาธิ ดูแลสุขภาวะทาง การแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ อารมณ์และจิตใจ การพัฒนาปัญญา ของคุณ การสร้างสัมพันธะภาพทางจิต วิญญาณและการเยียวยา 16

เทคนิคพื้นฐานในการเยียวยา สุขภาพแบบองค์รวม การดูแลสุขภาพองค์รวมตามที่องค์การ อนามัยโลกได้ตอบรับกระแสความสนใจการ แพทย์ทางเลือก(Alternative Medicine) ซึ่งเป็นศาสตร์เพื่อการวินิจฉัย รักษา และ ป้องกันโรคที่ยังให้ความเป็นธรรมต่อมนุษย์ที่ จะเลือกได้โดยไม่แบ่งแยกแต่อย่างใด ก็ในเมื่อ คนยังมีความต้องการที่จะอยู่บนโลกใบนี้ให้ นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ด้วยสุขภาพที่สมบูรณ์ หลายครั้งที่โรคภัยร้ายแรงรบกวน ชีวิตประจำวันโดยที่การแพทย์ปัจจุบัน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แล้วสุขภาพทางเลือกก็เข้ามาส่ง เสริมให้มนุษย์ยืนยันถึงธรรมชาติที่ ยังให้ความเป็นธรรมต่อทั้งผู้มั่งมี และผู้ยากไร้ เพียงหันมาสนใจและ ศึกษาเพื่อการนำไปใช้ทั้งตนเองและ คนรอบข้าง 17

HEALTHY HOLISTIC CARE

บรรณานุกรม วิธีดูแลสุขภาพแบบองค์รวม | สุขภาพดีต้องดูแลอย่าง จริงจัง (zoneplus.net) แนวคิดความเจ็บป่วยและความรุนแรงของความเจ็บ ป่วยทุกระดับ - การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ I (google.com) การพยาบาลแบบองค์รวม (Holistic Care) (manarom.com) สุขภาพแบบองค์รวม(Holistic Health) (jobpub.com) การดูแลสุขภาพองค์รวม หรือ Holistic Health คืออะไร| บทความ บล็อก | Thaihealth.or.th | สำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) health: สุขภาพองค์รวม (leelanaree.blogspot.com) สุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Health) (nationtv.tv)



HEALTHY HAVE A GOOD DAY. PANNAPORN B.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook