Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ลิลิตโองการแช่งน้ำ 4/17

ลิลิตโองการแช่งน้ำ 4/17

Published by achiraya phunphoem, 2023-01-23 14:27:41

Description: ลิลิตโองการแช่งน้ำ

Search

Read the Text Version

ลิลิตโองการแช่งน้ำ



โครงงานภาษาไทย การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( e - book ) ส่งเสริมการอ่าน วรรณคดีไทยชื่อหนังสือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ ผู้จัดทำ ๑.นางสาวปวริศา ฉัตรวิไล เลขที่ ๘ ๒.นางสาวฐิติรัตน์ บุญอุ้ม เลขที่ ๒๓ ๓.นางสาวปาลิตา โสภาสาย เลขที่ ๓๔ ๔.นางสาวอชิรญา พูลเพิ่ม เลขที่ ๓๖ ๕.นางสาวชนิตา แสงชัจจ์ เลขที่ ๓๘ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑๗ ครูที่ปรึกษาโครงงาน คุณครูสุธินรัตน์ พานอ่อน คุณครูวิไลวรรณ เดชผล โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี รายงานนี้เป็นส่วนประกอบโครงงานวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๕

ก คำนำ โครงงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษาไทย (ท๓๑๑๐๒) มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาลิลิตโองการแช่งน้ำ โดย คณะผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผู้แต่ง จุดมุ่งหมายในการ แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ เรื่องย่อ และคุณค่าของวรรณคดี ลิลิตโองการแช่งน้ำ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่น คณะผู้จัดทำได้ทำการศึกษาค้นคว้า รวบรวมและเรียบ เรียงออกมาเป็นโครงงานเล่มนี้ ซึ่งคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่าง ยิ่งว่าโครงงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจและหากผิด พลาดประการใด คณะผู้จัดทำขออภัยไว้ ณ ที่นี้ คณะผู้จัดทำ

ข กิตติกรรมประกาศ โครงงานภาษาไทย เรื่อง ลิลิตโองการแช่งน้ำ สามารถ ดำเนินการสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เนื่องจาก ได้รับการสนับสนุน เป็นอย่างดียิ่งจาก คุณครูสุธินรัตน์ พานอ่อน และคุณครูวิไล วรรณเดชผล คุณครูที่ปรึกษาโครงงาน ที่ได้ให้คำแนะนำในการ ศึกษาค้นคว้า และข้อเสนอแนะในการจัดทำโครงงาน คณะผู้จัด ทำจึงขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ขอขอบพระคุณเพื่อน ๆ สมาชิกกลุ่มที่ให้ความร่วมมือในการทำโครงงาน จนทำให้โครง งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี คณะผู้จัดทำ

สารบัญ ค เรื่อง หน้า คำนำ ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญ ค ผู้แต่ง ๑ จุดมุ่งหมายในการแต่ง ๓ ลักษณะคำประพันธ์ ๕ เรื่องย่อ ๘ คุณค่าของวรรณคดี ๑๐ บรรณานุกรม ๑๒



๑ ผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรง สันนิษฐานว่าอาจแต่งในสมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) ผู้แต่งคงจะเป็นผู้รู้พิธีพราหมณ์ และรู้วิธีประพันธ์ของไทยเป็น อย่างดี สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นปฐมกษัตริย์ แห่งกรุงอยุธยา สมเด็จฯกรม พระยาดำรงราชานุภาพ ทรง สันนิษฐานว่าสมเด็จพระ รามาธิบดีที่ ๑ เป็นเชื้อสายของ พระเจ้าสิริชัยเชียงแสนแห่ง แคว้นสิริธรรมราช จึงเป็นต้นวงศ์ เชียงรายเป็นราชบุตรเขยของ พระเจ้าอู่ทอง

๒ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๘๗ ได้เป็นเจ้าเมืองอู่ทอง ซึ่งขณะนั้นขึ้น ต่อเมืองสุโขทัย ต่อมาเกิดโรคระบาดจึงทรงย้ายราชธานี มาตั้งตำบลหนองโสนแขวงเมืองอโยธยา เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ ขนานนามใหม่ว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา และพระองค์ได้รับพระนามใหม่ว่า สมเด็จพระรามาธิบดี ที่ ๑ ทรงตั้งพระองค์เป็นใหญ่ไม่ขึ้นต่อกรุงสุโขทัยนับแต่ สถาปนาราชธานี ในรัชกาลนี้ได้รับวัฒนธรรมขอมและพราหมณ์เป็น อันมาก ภาษาไทยจึงเริ่มมีคำเขมรเข้ามาปะปนมากขึ้นมี การประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรือพิธีศรีสัจ ปานกาล ตามแบบเขมร ซึ่งถ่ายทอดมาจากพราหมณ์อีก ต่อหนึ่ง

๓ จุดมุ่งหมายในการแต่ง จุดมุ่งหมายของการแต่งลิลิตโองการแช่งน้ำในครั้ง แรกคงมิได้มุ่งหวังจะให้เป็นวรรณคดีที่ใช้อ่านกันทั่ว ๆ ไป แต่ต้องการจะให้เป็นบทลงโทษทางใจที่พราหมณ์ใช้ อ่านในพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล (พระราชพิธีถือน้ำ พิพัฒน์สัตยา หรือน้ำพระพัทธสัจจา) ซึ่งเป็นพระราชพิธี สำคัญในสมัยโบราณ การถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาถูกยกเลิกไปเมื่อหลังการ เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ เมื่อพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นครองราชย์ก็มิได้มี พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา คณะรัฐมนตรีเพียงแต่ กล่าวคำปฏิญาณตนที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

๔ จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ รัฐบาลมีนโยบายฟื้ นฟูพระ ราชพิธีขึ้นอีกครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวจึง มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผนวกพระราชพิธีนี้ในพระ ราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์ รามาธิบดีแก่ทหาร ตำรวจผู้ปราบปรามจลาจล ซึ่งจะ กระทำทุก ๒ ปี หรือ ๓ ปี ส่วนโองการแช่งน้ำที่ใช้ใน ปัจจุบัน สำนักพระราชวังได้ตัดทอนและดัดแปลงแก้ไข จากของเดิมให้เนื้อความเหมาะสมกับสมัยปัจจุบันยิ่งขึ้น

๕ ลักษณะคำประพันธ์ มีลักษณะเป็นลิลิต คือ มีร่ายกับโคลงสลับกัน ร่ายเป็น ร่ายโบราณ ส่วนโคลงแบบโคลงห้าหรือมณฑกคติ ถ้อยคำ ถ้อยคำที่ใช้ส่วนมากเป็นคำไทยโบราณ นอกจาก นั้นมีคำเขมร และบาลี สันสกฤต ปนอยู่ด้วย คำสันสกฤต มีมากกว่าคำบาลี ตัวอย่างโคลงห้าหรือมณฑก มณฑกคติ โคลงห้า น้ำจะคล้ายคลาดิน ปลาดีนี้กินดี ม้าดำน้ำลงดาล ไปกลางน้ำฝากน้ำ จักจากริลรักมา นกจีนี้จิวจี่ จะนอนนานสั่งชู้ ไว้กับเข้าแก่เข้า ฯ ความเห็นของพระยาอุปกิตศิลปะสาร ต่อลักษณะคำประพันธ์ พระยาอุปกิตศิลปสาร ได้กล่าวถึงลักษณะโคลง มณฑกคติ โคลงห้า ว่ามี ๔ บาท บาทละ ๕ คำ เติมสร้อย ท้ายบาทได้ ๒ คำ ทั้ง ๔ บาท และมีสัมผัสแบบโคลงบาท กุญชร พระยาอุปกิตศิลปสาร ได้นำตัวอย่างโองการแช่ง นํ้ามาจัดรูปเสียใหม่ ดังนี้

๖ เดิมกัลป (มีสร้อย) นานาอเนกน้าว เมื่อไหม้ (มีสร้อย) จักรํ่าจักรพาฬ อันพลุ่ง (มีสร้อย) กล่าวถึงตระวันเจ็ด นํ้าแล้งไข้ขอดหายฯ เป็นไฟ แผ่นขวํ้า แลบลํ้าสีลอง ฯ เจ็ดปลามันพุ่งหล้า วาบจตุราบาย ชักไตรตรึงษ์เป็นเผ้า แต่พระยาอุปกิตศิลปสารก็ยังมีความเห็นว่า โองการแช่ง น้ำคงจะมีการคัดลอกตกหล่นและคลาดเคลื่อน บางบท จึงมีเพียง ๓ วรรค และสัมผัสไม่ตรง บางแห่งวรรคตอน คลาดเคลื่อน ควรนำคำสร้อยมาไว้ต้นบาท ดังนี้ มารเฟียดไททศพล ช่วยดูไตรแดนจัก อยู่ค้อย ธรรมาครปรัตเยก ช่วยดูห้าร้อยเทียร แมนเดียว ฯ อเนกถ่องพระสงฆ์ ช่วยดูเขียวจรรยา ยิ่งได้ ขุนหงส์ทองเกล้าสี่ ช่วยดูชระอํ่าฟ้าใต้ แผ่นหงาย ฯ

๗ ความเห็นของจิตร ภูมิศักดิ์ ต่อลักษณะคำประพันธ์ จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนักวิชาการซึ่งศึกษาโองการแช่งน้ำ ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวรรณคดี โดยเสนอความเห็น ว่า วรรณคดีเรื่องนี้มีความเก่าแก่มาก น่าจะแต่งขึ้นก่อน สมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะเต็มไปด้วยถ้อยคำสำนวนเก่า แบบไทยโบราณ ส่วนลักษณะคำประพันธ์นั้นเป็นร่าย และโคลงห้า ซึ่งมีลักษณะเป็นโคลงดั้นชนิดหนึ่ง เรียกชื่อ ตามจำนวนคำที่มีบาทละ ๕ คำ มีการเพิ่มคำลงในหน้า บาทได้ ลดจำนวนวรรคลงเป็นบทละ ๓ หรือ ๒ วรรคได้ โคลงชนิดนี้เคยนิยมแต่งในอาณาจักรลาวล้านช้าง มี วรรณคดีโบราณที่บางส่วนของเรื่องแต่งเป็นโคลงห้าคือ เรื่องท้าวฮุ่งหรือเจือง จิตร ภูมิศักดิ์ ได้จัดเรียบเรียงโองการแช่งน้ำ โดย ศึกษาแบบจากโคลงห้า แบบโคลงลาวแล้วเสนอ ออกมาเป็นผังและตัวอย่าง ดังนี้

๘ เรื่องย่อ เริ่มต้นด้วยร่ายดั้นโบราณ ๓ บท สรรเสริญพระ นารายณ์ พระอิศวร พระพรหมตามลำดับ ต่อจากนั้น บรรยายด้วยโคลงห้า และร่ายดั้นโบราณสลับกัน กล่าวถึง ไฟไหม้โลกเมื่อสิ้นกัลป์แล้วพระพรหม สร้างโลกใหม่ เกิด มนุษย์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ การกำหนดวัน เดือน ปี และ การเริ่มพระราชาธิบดีในหมู่คน แล้วอัญเชิญพระกรรมบดี ปู่เจ้ามาร่วมเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ ตอนต่อไปเป็นการ อ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรืองอำนาจอันมี พระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์ เทพยดา อสูร ภูตปีศาจ ตลอดจนสัตว์มี เขี้ยวเล็บเป็นพยาน ลงโทษผู้คิดคดกบฏต่อพระเจ้าแผ่น ดิน ส่วนผู้ซื่อตรงภักดี ขอให้มีความสุขและลาภยศ ตอนจบ เป็นร่ายยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน ตัวอย่างลิลิตโองการแช่งน้ำ สรรเสริญพระนารายณ์ โอมสิทธิสรวงศรแกล้ว แผ้วมฤตยู เอางูเป็นแท่น แกว่นกลืนฟ้ากลืนดิน บินเอาครุฑมาขี่ สี่มือถือสังข์จักร คทาธรณีกีรุอวตาร อสุรแลงลาญทัก ททักคนีจร นาย(แทงพระแสงศรปลัยวาต)

๙ ไฟไหม้โลกเมื่อสิ้นกัลป์ นานาอเนกน้าวเดิมกัลป์ จักร่ำจักรพาลเมื่อไหม้ กล่าวถึงตระวันเจ็ดอันพลุ่ง น้ำแล้งไข้ขอดหาย เจ็ดปลามันพลุ่งหล้าเป็นไฟ วาบจตุรบายแผ่นขว้ำ ชักไตรตรึงษ์เป็นเผ้า แลบล้ำสิสอง สาปแช่งผู้คิดคดทรยศ จงมาสูบเอาเขาผู้บ่ซื่อ ชื่อใครใจคด ขบถเกียจกาย ว่ายกะทู้ฟาดฟัด ควานแกนมัดศอก หอกคนเต้าเท้าหก หลกเท้าให้ไปมิทันตาย หงายระงมระงม ยมบาลลากไป ไฟนรกปลาบปลิ้นดิ้นพลาง เขาวางเหนืออพิจี ผู้บดีบซื่อ ชื่อใครใจคดขบถต่อเจ้า ผู้ผ่านเกล้าอยุธยา สมเด็จพระ รามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิศรราชาธิราช ท่านมีอำนาจมีบุญ คุณอเนกาอันอาไศรยร่ม ให้พรผู้ซื่อสัตย์ ใครซื่อเจ้าเติมนาง ใครซื่อรางควายทอง มิ่งเมืองบุญ ศักดิ์แพร่ เพิ่มช้างม้าแผ่วัวควาย ใครซื่อฟ้าสองย้าวเรง ยิน ใครซื่อสินเภตรา ใครซื่อใครรักษ์เจ้าจงยศ กลืนชนมา ให้ยืนยิ่ง เทพายศล่มฟ้า อย่ารู้อันตราย ได้ใจกล้าดัง เพชร ขจายขจรอเนกบุญ สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทร บรมมหา จักรพรรดิศรราชเรื่อยหล้า สุขผ่านฟ้าเบิก สมบูรณ์พ่อสมบูรณ์

๑๐ คุณค่าของวรรณคดี ด้านภาษาและสำนวนโวหาร ลิลิตโองการแช่งน้ำนี้เป็นลิลิตเรื่องแรกในประวัติ วรรณคดีไทย ใช้ถ้อยคำภาษาที่เก่า มีคำภาษาเขมร บาลี สันสกฤต และคำไทยโบราณปนอยู่มาก คำบางคำต้อง สันนิษฐานความหมาย ทำให้อ่านเข้าใจยาก ทั้งนี้ก่อให้ เกิดความรู้สึกว่าคำมีความขลังและศักดิ์สิทธิ์ เกิด อารมณ์หวาดกลัว ไม่กล้าคิดคดทรยศต่อพระเจ้าแผ่นดิน ลิลิตโองการแช่งน้ำนี้จึงมีคุณค่า สามารถใช้ศึกษาเกี่ยว กับการใช้คำในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นได้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ๑. ทางการปกครอง เป็นวรรณคดีเกี่ยวกับพระราชพิธี แสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ตั้งแต่กรุง ศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ จึงเป็นวรรณคดีที่มี คุณค่าต่อระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตย เพราะ เป็นการให้สัตย์สาบานว่าจะซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระ มหากษัตริย์และบ้านเมือง ทำให้เกิดความสามัคคีมีผลให้ บ้านเมืองเป็นปึกแผ่น ๒. ทางวัฒนธรรม วรรณคดีเล่มนี้เป็นหลักฐานแสดงถึง การได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากขอมและอินเดีย พิธี พราหมณ์ได้เข้ามาใช้ปะปนในพระราชพิธีต่าง ๆ และยังทำให้ เห็นลักษณะการปกครองที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติ เทวราชอีกด้วย

๑๑ ๓. ความเชื่อถือทางศาสนา ลิลิตโองการแช่งน้ำนี้ แสดงถึงอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ในพิธีสาปแช่งผู้ทุ จิตโดยอาศัยอำนาจของเทวดาและภูตผี ตามความเชื่อ ถือของพราหมณ์ ซึ่งเป็นศาสนาของอินเดียและพระราช พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยานี้ เป็นพิธีตามศาสนา พรามหมณ์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว ได้ทรงนำพิธีทางพุทธศาสนามาเพิ่มเติมในภายหลัง ด้านอิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น ลิลิตโองการแช่งน้ำ เป็นวรรณคดีที่ใช้ในการสวดหรือ อ่านโองการแช่งน้ำของพราหมณ์ผู้ทำพิธี ลิลิตโองการ แช่งน้ำมีอิทธิพลต่อวรรณคดีสมัยหลังทำให้กวีเกิดความ บันดาลใจแต่งวรรณคดีเรื่องอื่นขึ้น ได้แก่ โคลงพิธีถือน้ำ แลคเชนทรัศวสนาน พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวรรณคดีที่กล่าวถึงพระ ราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

๑๒ บรรณานุกรม ลิลิตโองการแช่งน้ำ. (๒๕๖๑). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://human.yru.ac.th/thai_ba/page/๒๔๙/ลิลิตโองการแช่ง น้ำ.html. (วันที่ค้นข้อมูล : ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๕.) ลิลิตโองการแช่งน้ำ ภาคผนวก. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://vajirayana.org/ลิลิตโองการแช่งน้ำ/ภาค ผนวก#appendix-iii. (วันที่ค้นข้อมูล : ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๕.) ลิลิตโองการแช่งน้ำ วรรณคดีไทย. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://pspreaw.wixsite.com/thailandliterature/untitled- c๒๔๕q. (วันที่ค้นข้อมูล : ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๕.)


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook