Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา

Published by Guset User, 2022-03-13 06:45:44

Description: พระพุทธศาสนา ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม
และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

Search

Read the Text Version

ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับศาสนา พระพุทธศาสนา ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาพราหมณ์ -ฮินดู นั กศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) นี้ เป็นนวัตกรรม วิจัยเรื่องการศึ กษารูปแบบการเข้าถึงหลักธรรมทาง ศาสนาของนักศึ กษาสังคมศึ กษาผ่านเครือข่ายสังคมยุค ดิจิทัล คณะผู้วิจัยได้จัดทำรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา ซึ่งประกอบไปด้วย ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพื่อ ให้ได้ความรู้ความเข้าใจในเนื้ อหามากขึ้ น พร้อมภาพ ประกอบให้ได้เห็นภาพ ประกอบการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น คณะผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ แก่ผู้ที่ สนใจไม่มากก็น้ อย คณะผู้วิจัย นั กศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

สารบัญ เรื่อง หน้ า ความรู้ทั่วไปของศาสนา 1 3 พระพุทธศาสนา Buddhism 7 ศาสนาคริสต์ Christianity 11 ศาสนาอิสลาม Islamism 15 ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู Brahmanism - Hinduism แบบทดสอบหลังการเรียนรู้ 19 26 เฉลยแบบทดสอบหลังการเรียนรู้ 27 แบบประเมินหนั งสื ออิเล็กทรอนิ กส์ (E-Books) รายการอ้างอิง 29

ความรู้ทั่วไปของ ศาสนา ความหมายของศาสนา ศาสนา หมายถึง คำสั่งสอนที่ศาสดาสั่งสอนไว้เพื่อให้ผู้นั บถือได้ นำไปปฏิบัติให้รอดพ้นจากความทุกข์ ประกอบด้วยคำสั่งสอนขั้นพื้น ฐานที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม และคำสั่งสอนขั้นสูงที่เกี่ยวข้องกับปรมัตถ ธรรม ประเภทของศาสนา ศาสนาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1.เทวนิยม ศาสนาที่นั บถือพระเจ้า แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เอกเทวนิ ยม ศาสนาที่นั บถือพระเจ้าองค์เดียว พหุเทวนิ ยม ศาสนาที่นั บถือพระเจ้าหลายองค์ 2. อเทวนิยม ศาสนาที่ไม่นั บถือพระเจ้า องค์ประกอบของศาสนา 1) ศาสดา คือ ผู้ก่อตั้งหรือประกาศศาสนา 2) คัมภีร์ คือ หนั งสือที่รวบรวมหลักธรรมคำสอนของศาสดา 3) สาวกหรือนักบวช คือ ผู้ที่สืบทอดศาสนา 4. ศาสนสถาน คือ สถานที่ในการประกอบพิธีกรรมหรือ ศูนย์กลางในการเผยแผ่ศาสนา 5) พิธีกรรม คือ กิจกรรมทางศาสนา 6) ปูชนียสถาน และปูชนียวัตถุ สถานที่หรือวัตถุที่เคารพบูชา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 1

ศาสนาเกิดขึ้ นได้อย่างไร 1) เกิดจากความไม่รู้ เช่น ไม่รู้ว่าปรากฎการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ เกิดขึ้น ได้อยางไร 2) เกิดจากความกลัว เป็นผลสืบเนื่ องมาจากความไม่รู้ 3) เกิดจากความต้องการที่พึ่งทางใจ ในยามที่เศร้าโศกเสียใจ หรือ หวาดกลัว มนุษย์ย่อมมีต้องการที่พึ่งทางใจ 4) เกิดจากอิทธิพลของบุคคลสำคัญ เช่น บุคคลที่เคยทําคุณ ประโยชน์ ใหญ่หลวงให้กบท้องถิ่น 5) เกิดจากปัญญาต้องการรู้แจ้งเห็นจริง ต้องการหาคําตอบให้แก่ ชีวิต ต้องแสวงหาทางหลุดพ้น ความสำคัญของศาสนา สร้างระเบียบความประพฤติของสมาชิกในสงคมให้ เป็นไปในแนวเดียวกัน เป็นที่พึ่งยึดเหนี่ ยวจิตใจ ยก ระดบจิตใจคนให้สูงขึ้น เป็นแหลงกำเนิ ดจริยธรรม ทํา ให้คนในสงคมประพฤติในแนวทางที่ถุกต้อง เป็น แหล่งกำเนิ ดศิลปะและวัฒนธรรม \"ทุกศาสนาล้วนสอนมนุษย์ทุกคน ให้เป็นคนดี\" ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 2

พระพุทธศาสนา BUDDHISM ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่เกิดในอินเดียก่อนพุทธศักราช 45 ปี (พุทธศักราชเริ่ม ตั้งแต่ปีซึ่งพระพุทธเสด็จเข้าสู่ปรินิ พาน) นั บว่าเป็นศาสนาที่สำคัญที่สุดใน โลกศาสนาหนึ่ งมีผู้นั บถือหลายร้อยล้านคนโดยเฉพาะในประเทศต่าง ๆ ทางเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียอาคเนย์ ประวัติพอสั งเขป พระศาสดาของพระพุทธศาสนา คือ พระพุทธเจ้า พระนามว่า สิทธัตถะ แปลว่า \"ผู้มีความสำเร็จสมประสงค์ในทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนตั้งใจจะทำ\" ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา แห่งนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ทรงมีพระปัญญาอันเลิส เมื่อเจ้าชายสิทธั ตถะมีพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธรา หรือพิมพา มีพระโอรสองค์หนึ่ งพระนามว่า พระราหุล ทรงเสด็จออก ผนวชขณะที่มีพระชนมายุ 29 พรรษา หลังจากทรงผนวชพระองค์ได้ทรงศึกษาความรู้จากสำนั กอาจารย์ต่าง ๆ จนเชี่ยวชาญ ทั้งได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยวิธีการต่าง ๆ ก็ยังมิได้ บรรลุถึงซึ่งทางพ้นทุกข์ พระองค์จึงทรงหันมามุ่งมั่นบำเพ็ญเพียรด้วยพระ ปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง จึงได้ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ตรัสรู้ เป็นพระอรหันตสั มมาสั มพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลกขณะที่มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา เมื่อตรัสรู้แล้ว พระองค์ได้เสด็จสั่งสอนแนะนำประชาชนใน แคว้นต่างๆในประเทศอินเดีย เป็นเวลาถึง 45 ปี ประชาชนในสมัยนั้ นหัน มานั บถือพระพุทธศาสนา และเข้ามาบรรพชา อุปสมบทเป็นจำนวนมาก พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนประชาชนจนพระชนมายุ 80 พรรษา จึงเสด็จดับ ขันธปรินิ พพาน คัมภีร์ในศาสนาพุทธ “พระไตรปิฎก” ซึ่งแปลว่า ตะกร้า 3 ใบ พระไตรปิฎก ประกอบด้วย 3 คัมภีร์ ได้เแก่ 1) พระวินั ยปิฎก 2) พระสุตตันตปิฎก 3) พระอภิธรรมปิฎก ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 3

นิ กายที่สำคัญ ในพระพุทธศาสนา 1) นิกายเถรวาท เป็นนิ กายดั้งเดิมที่ รักษาพระธรรมวินั ยต่าง ๆ ไว้โดยไม่ เปลี่ยนแปลง 2) นิกายมหายาน เป็นนิ กายที่เกิดขึ้น ใหม่ผสมผสานกับหลักคำสอนของนิ กา ยอื่นๆ แล้วสร้างเอกลักษณ์ที่เป็นของตน โดยเฉพาะ วันสำคัญทาง พระพุทธศาสนา 1) วันมาฆบูชา ตรงกับวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันที่พระสงฆ์ จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นั ดหมาย พระพุทธเจ้า ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งถือเป็นหัวใจของศาสนาพุทธ 2) วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้และปรินิ พพาน 3) วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่ พระพุทธเจ้า แสดงธรรมเป็นครัง้แรกที่เรียกกว่า ปฐมเทศนา ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นวันที่มีพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา คือ โกณทัญญะ มีพระรัตนตรัยครบ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระ สงฆ์ 4) วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับ วันแรม 8 ค่ำ เป็นวันถวายพระเพลิง พระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังเสด็จดับขันธ ปรินิ พพานได้ 8 วัน \"นิ พพาน\" จุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนาพุทธ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 4

หลักธรรมสำคัญทาง พระพุทธศาสนา อริยสัจ 4 อิทธิบาท 4 \"ความจริงอันประเสริฐ 4 \"ธรรมที่ช่วยให้สำเร็จในสิ่ งที่ ประการ\" อันเป็นขั้นตอนปฏิบัติ ประสงค์\" ได้แก่ เพื่อความดับทุกข์หรือแก้ปัญหา ได้แก่ 1) ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ 2) วิริยะ ความเพียร 1) ทุกข์ ปัญหาหรือความทุกข์ 3) จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ ไม่วาง 2) มุทัย สาเหตุแห่งทุกข์ ธุระ 3) นิ โรธ ความดับทุกข์ 4) วิมังสา หมั่นตริตรอง 4) มรรค ทางแห่งความดับทุกข์ พิจารณาเหตุผล พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 \"ธรรมสำหรับผู้เป็นใหญ่ ผู้ \"หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึด ปกครอง พ่อแม่ จำเป็นต้องมีไว้ เหนี่ ยวน้ำใจคน\" ได้แก่ เป็นเครื่องยึดเหนี่ ยวสำหรับ ดำเนิ นชีวิต\" ได้แก่ 1) ทาน การให้ 2) ปิยวาจา การกล่าวถ้อยคำ 1) เมตตา ความรักใคร่ ไพเราะอ่อนหวาน ปรารถนาจะให้เป็นสุข 3) อัตถจริยา การบำเพ็ญ ประโยชน์ 2) กรุณา ความสงสาร ต้องการ 4) สมานั ตตตา การประพฤติ ที่จะช่วยบุคคลอื่น สัตว์อื่นให้ ตนสม่ำเสมอทั้งต่อหน้ าและลับ หลุดพ้นจากความทุกข์ หลัง 3) มุทิตา ความชื่นชมยินดีเมื่อ ฆราวาสธรรม 4 เห็นบุคคลอื่นเขาได้ดี \"ธรรมสำหรับการครองเรือน 4) อุเบกขา ความวางเฉยไม่ดีใจ ในชีวิตของบุคคลทั่วไป\" ได้แก่ ไม่เสียใจ เมื่อบุคคลอื่นประสบ ความวิบัติ 1) สัจจะ คือ พูดจริงทำจริงและ ซื่อตรง 2) ทมะ คือ ฝึกหัดแก้ไข ปรับปรุง 3) ขันติ คือ อดทนตั้งใจและ ขยัน 4) จาคะ คือ เสียสละ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 5

เบญจศี ล เบญจธรรม เบญจศีล หรือ ศีล 5 \"เป็นการ \"เป็นหลักธรรมที่ควรปฏิบัติ\" มี งดเว้นหรือห้ามไม่ให้กระทำ\" มี 5 5 ประการ ได้แก่ ข้อ คือ 1) เมตตากรุณา 1) ปาณาติปาตา เวรมณี เว้น 2) สัมมาอาชีพ จากการฆ่าสั ตว์ 3) ความสำรวมอินทรีย์ 4) ความซื่อสัตย์ 2) อทินนาทานา เวรมณี เว้น 5) สติ จากการลักทรัพย์ พุทธศาสนสุภาษิตสอนใจ 3) กาเมสุมิฉาจารา เวรมณี เว้น จากการประพฤติผิดกาม ลาโภ อลาโภ ยโส อยโส จ นิ นฺทา ปสํสา จ สุขํ จ ทุกฺขํ 4) มุสาวาทา เวรมณี เว้นจาก การพูดเท็จ เอเต อนิ จฺจา มนุเชสุ ธมฺมา มา โสจิ กึ โสจ 5) สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สิ โปฏฺฐปาท... สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง \"ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ ความประมาท เสื่อมยศ นิ นทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ สิ่งเหล่านี้ เป็น ไตรลักษณ์ ธรรมดาในหมู่มนุษย์ ไม่มี ความเที่ยงแท้แน่ นอน อย่า ลักษณะ 3 อย่าง กฎธรรมชาติ เศร้าโศกเลย ท่านจะโศก ที่มีอยู่ทั่วไปในสรรพสิ่ งทั้งปวง เรียกอีกอย่างว่า “สามัญลักษณ์” เศร้าไปทำไม\" มีอยู่ 3 ประการ ได้แก่ 1) อนิ จจตา ความไม่เที่ยงแท้ 2) ทุกขตา ความทนอยู่ไม่ได้ 3) อนั ตตตา ความไม่มีตัวตน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 6

ศาสนาคริสต์ CHRISTIANITY ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ ศาสนาคริสต์ถือกำเนิ ดขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์ ทวีปเอเชีย แต่ เผยแผ่เข้าไปแพร่หลายในทวีปยุโรป แล้วแพร่หลายไปสู่ทวีปต่าง ๆ ทั่ว โลก ศาสนาคริสต์มีพัฒนาการมาจากศาสนายูดาย หรือศาสนายิว มี ลักษณะเป็นศาสนาเอกเทวนิ ยม โดยมีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยะโฮวา ประวัติพอสั งเขป ศาสดาของศาสนาคริสต์ คือ พระเยซู กำเนิ ดที่เมืองเบธเลเฮม แคว้นยูดาย เมื่อ พ.ศ. 543 ในครรภ์ของหญิงพรหมจรรย์นามว่า มา เรีย ซึ่งตั้งครรภ์โดยพระอานุภาพของพระเจ้า พระเยซูเริ่มประกาศศาสนาเมื่ออายุ 30 ปี เทศนาสั่งสอนประชาชน รักษาคนป่วย ชาว คริสต์เชื่อว่าพระเยซูเป็นพระเมสซีอาห์ หรือ พระผู้ช่วยให้รอด ซึ่งพระเจ้าส่ งลงมาช่วย เหลือชาวยิว ให้รอดพ้นจากการกดขี่และภัย สงคราม เป็นผู้ที่จะนำสันติสุขที่แท้จริงมาสู่ ชาวยิว การประกาศศาสนาของพระเยซูทำให้นั กบวชชาวยิวไม่พอใจ เนื่ องจาก คำสอนของพระเยซูขัดต่อคำสอนของโมเสส ความขัดแย้งเรื่องผล ประโยชน์ พระเยซูประกาศศาสนาในนามของพระองค์เอง และพระเยซูไม่ หยุดทำงานวันสะบาโต จึงหาทางกำจัดพระองค์ โดยวางแผนจับกุมแล้ว ส่ งให้ผู้สำเร็จราชการชาวโรมันให้สำเร็จโทษ ในข้อหาหมิ่นประมาท พระเจ้า อ้างตนเป็นพระเมสซีอาห์และเป็นบุตรของพระเจ้า และเป็นกบฏ ตั้งตนเป็นกษัตริย์ของชาวยิว ท้ายที่สุดผู้สำเร็จราชการชาวโรมันได้รับ แรงกดดันจนต้องตัดสินโทษประหารพระเยซูโดยการตรึงกางเขน เมื่อ พระชนมายุ 33 ปี หลังจากพระเยซูสิ้นพระชนม์แล้วสามวัน พระองค์ก็ได้ฟื้ นคืนชีพ และสั่ งสอนประชาชนต่อไปอีกสั กระยะก่อนจะเสด็จสู่ สวรรค์ บรรดา สาวกของพระองค์ก็ออกเผยแผ่ศาสนายังดินแดนต่าง ๆ ในประเทศ อิสราเอล และค่อย ๆ ขยายไปในแถบเมดิเตอร์เรเนี ยน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 7

นิ กายที่สำคัญ ในศาสนาคริสต์ 1) นิกายโรมันคาทอลิก เชื่อว่าตนเป็น ผู้สืบทอดคำสอนและประเพณีอื่น ๆ ของศาสนามาแต่เริ่มแรก และพยายาม ปกป้องหลักธรรมคำสอนและประเพณี แต่ดั้งเดิมอย่างเคร่งครัด 2) นิกายออร์ธอดอกซ์ แยกตัวจาก นิ กายโรมันคาทอลิกด้วยเหตุผล ทางการเมือง มีความแตกต่างในเรื่อง รูปแบบของพิธีกรรม ภาษา การจัด ระเบียบการปกครองสงฆ์ 3) นิกายโปรแตสแตนท์ ไม่เชื่อว่า พระมีอำนาจในการอภัยบาป การอภัย บาปสามารถทำได้เองโดยสารภาพต่อ พระเจ้าเป็นหมู่คณะ วันสำคัญทางศาสนาคริสต์ 1) วันสะบาโต (Sabbath) วันอาทิตย์ ของทุกสัปดาห์ เป็นวันบริสุทธิ์ หยุดเพื่อพักผ่อนและร่วมทำกิกรรมที่โบสถ์ 2) วันอีสเตอร์ (Easter) เป็นวันเฉลิมฉลองที่สำคัญที่สุดของชาวคริสต์ เป็นการฟื้ นคืนพระชนม์ของพระเยซู คือสัญลักษณ์ของความหวังในชีวิต ใหม่ และการให้อภัย 3) วันคริสต์มาส (Christmas) วันสมโภชพระคริสตสมภพ จัดขึ้นเป็น ประจำทุกปีเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู นั บเป็นวัน หยุดทางศาสนา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 8

คัมภีร์ทางศาสนาคริสต์ คัมภีร์ของศาสนาคริสต์ คือ คัมภีร์ไบเบิล เป็นประมวลคำสอนซึ่ง ถือว่าคือพระวจนะของพระเจ้า แบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ 1) พระคัมภีร์เก่า หรือพันธสัญญาเดิม เป็นคัมภีร์ของศาสนายิวซึ่ง เป็น รากฐนของพระคัมภีร์ใหม่ 2) พระคัมภีร์ใหม่ หรือพันธสัญญาใหม่ เป็นคัมภีร์ของศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเยซูและพระอัครสาวกต่าง ๆ ซึ่ง เขียนโดยนั กบุญที่สำคัญต่าง ๆ บัญญัติ 10 ประการ 1) จงนมัสการพระเจ้าแต่เพียง พระองค์เดียว 2) จงอย่าสร้างรูปเคารพ 3) อย่าออกนามพระเจ้าโดยไม่ สมเหตุ 4) จงนั บถือวันสะบาโตเป็นวัน ศั กดิ์สิ ทธิ์ 5) จงนั บถือบิดามารดา 6) อย่าฆ่าคน 7) อย่าผิดประเวณี 8) อย่าลักทรัพย์ 9) อย่าเป็นพยานเท็จ 10) อย่ามีความโลภในสิ่งของผู้ อื่น “จงรักพระเป็นเจ้า และจงรักเพื่อนมนุษย์” ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 9

ศี ลศั กดิ์สิทธิ์ของศาสนาคริสต์ 1) ศี ลล้างบาป หรือศี ลจุ่ม 2) ศี ลกำลัง หรือการยืนยัน 3) ศี ลมหาสนิท 4) ศี ลเจิมคนไข้ หรือพิธีขอบพระคุณ หรือสำหรับผู้ป่วย 5) ศี ลบวช หรือการถวายตัว 6) ศี ลแก้บาป หรือการคืนดี 7) ศี ลสมรส หรือศี ลกล่าว ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 10

ศาสนาอิสลาม ISLAMISM ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีวิวัฒนาการมาจากศาสนายิวและศาสนา คริสต์ เกิดขึ้นในประเทศ ซาอุดิอาระเบีย เมื่อประมาณ 1,500 ปีมาแล้ว มี ลักษณะเป็นศาสนาเอกเทวนิ ยม มีพระเจ้าสูงสุด คือ “พระอัลเลาะห์” ซึ่งชาว มุสลิมเชื่อว่าเป็นพระผู้สร้าง ผู้ค้ำจุน และผู้ฟื้ นฟูโลกมนุษย์ และมีพระ ศาสดา คือ นบีมูฮมัด ประวัติพอสั งเขป ศาสดานบีมูฮมัด เกิดที่เมืองเมกกะ เมื่อ พ.ศ. 1113 ท่านกำพร้าบิดา มารดาตั้งแต่อายุยังน้ อย จึงอยู่ในความดูแลของอบฏอลิบผู้เป็นลุง จน กระทั่งเติบโตได้ติดตามลุงเดินทางไปค้าขายต่างแดน เมื่ออายุได้ 25 ปี ได้ สมรสกับนางคอดียะห์ เศรษฐีนี ม่ายชาวเมืองเมกกะ มีบุตรด้วยกัน 5 คน เป็นชาย 1 หญิง 4 แต่บุตรชายเสียชีวิตหมดตั้งแต่ยังเยาว์วัย ชีวิตของท่าน เรียบง่ายแต่เปี่ ยมด้วยคุณธรรม ท่านพยายามหาทางแก้ปัญหาสังคมและ สร้างความสงบขึ้นในสังคม ท่านมักจะแสวงหาสถานที่สงบเพื่อใคร่ครวญ หาทางสู่สันติ ท่านมักจะไปที่ “ฮิรออ์” ซึ่งอยู่นอกเมือง และที่ถ้ำแห่งนี้ ท่าน ได้รับโองการของพระเจ้าผ่านเทวทูตยิบรอลเป็นครั้งแรก ในขณะที่ท่าน อายุได้ 40 ปี ท่านได้เริ่มประกาศพระศาสนา โดยประกาศให้ผู้คนเลิกบูชาเทพเจ้า ทั้งหลายอันเป็นประเพณีของชาวอาหรับในขณะนั้ น ทำให้ท่านได้รับการต่อ ต้านและดูหมิ่นเหยียดหยามจากผู้คนในเมืองเป็นอันมาก แต่ท่านก็มิได้ ย่อท้อ ผู้ที่ต่อต้านท่านพยายามหาทางกำจัดท่าน จนในที่สุดท่านและเหล่า สาวกต้องหนี ไปเมืองเมดินะฮ์ ต่อมา 8 ปีหลังจากนั้ นท่านได้รวบรวมผู้คน กลับไปยึดเมกกะได้ ทำลายรูปเคารพต่าง ๆ และประกาศนิ รโทษกรรมผู้ หลงผิดทั้งหลาย หลังจากนั้ นศาสนาอิสลามจึงได้เริ่มเผยแผ่ออกสู่ที่อื่น ๆ ตั้งแต่บัดนั้ น คัมภีร์ศาสนาอิสลาม \"คัมภีร์อัลกุรอาน\" เป็นคัมภีร์ที่พระอัลเลาะห์ประทานให้กับ ท่านนบีมูฮมัด โดยผ่านทางเทวทูต คัมภีร์อัลกุรอานจึงเป็นพระ วจนะของพระอัลเลาะห์ที่ตรัสแก่มนุษย์ เป็นพระประสงค์ของ พระองค์และเป็นธรรมนูญของชีวิต ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 11

นิ กายที่สำคัญ ในศาสนาอิสลาม 1) นิกายซุนนี เคร่งครัดในแนวทาง ปฏิบัติตามคัมภีร์อัลกุรอาน และตาม วจนะของท่านศาสดา รวมทั้งให้ความ เคารพเชื่อถือต่อกาหลิบ หรือผู้สืบ ตำแหน่ งต่อจากท่านศาสดา 2) นิกายชีอะห์ เป็นกลุ่มที่แยกตัวออก มาเป็นกลุ่มแรก เพราะมีความเห็นว่า ผู้นำทางศาสนาควรเป็นทายาทของ ท่านนบีมูฮมัด หลักคำสอนของศาสนาอิสลาม หลักศรัทธา ซึ่งชาวมุสลิมจะต้องเชื่อมั่นโดยปราศจากความระแวง สงสัยหรือโต้แย้งใด ๆ คือ \"หลักศรัทธา 6 ประการ\" ได้แก่ 1) ศรัทธาในเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า ศรัทธาในพระอัลเลาะห์แต่เพียง พระองค์เดียว 2) ศรัทธาในเทวทูตของพระเจ้า เชื่อว่าเทวทูต (มาลาอิกะฮ์) เป็น คนกลาง ระหว่างพระเจ้ากับศาสดา เป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า 3) ศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอาน เชื่อว่าเป็นพระวจนะของพระเจ้าที่ทรง มอบให้แก่มนุษย์ โดยผ่านทางพระศาสดามูฮำมัด 4) ศรัทธาต่อศาสนทูตหรือบรรดาศาสดาต่าง ๆ เชื่อว่าก่อนที่พระเจ้าจะ ประทานคัมภีร์อัลกุรอานให้มูฮำมัด พระองค์ได้สถาปนาศาสดาต่าง ๆ อีก หลายองค์ให้แก่มนุษยชาติตามเวลาต่าง ๆ เช่น นูห์ อิบรอฮีม 5) ศรัทธาต่อวันพิพากษา เชื่อว่ามนุษย์มีดวงวิญญาณเป็นอมตะ เมื่อ ร่างกายดับสูญวิญญาณจะยังอยู่และรับผลกรรมดีกรรมชั่วของตนที่ทำ เมื่อมีชีวิตอยู่ ชาวมุสลิมเชื่อว่าโลกนี้ มีการดับสูญ และเมื่อถึงวันนั้ น พระ อัลเลาะห์จะทรงพิพากษามนุษย์ตามกรรมดีและกรรมชั่ว 6) ศรัทธาในกฎกำหนดสภาวการณ์ เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้กำหนดทุกสิ่ง ทุกอย่างสำหรับโลกและมนุษย์ ไม่มีใครสามารถฝ่าฝืนหรือเปลี่ยนแปลง ได้ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 12

หลักปฏิบัติศาสนาอิสลาม หลักปฏิบัติศาสนาอิสลาม เป็นศาสนกิจที่ชาวมุสลิมจะต้องปฏิบัติทั้ง ทางกาย วาจา ใจ มี 5 ประการ ได้แก่ 1) การปฏิญาณตน โดยเปล่งวาจารับพระอัลเลาะห์เป็นพระเจ้าแต่เพียง พระองค์เดียว 2) การละหมาด เป็นการนมัสการพระเจ้า เพื่อขอบคุณ ขอขมา และ สรรเสริญพระองค์ โดยชาวมุสลิมจะต้องละหมาดวันละ 5 เวลา คือ เช้าตรู่ บ่าย เย็น ค่ำ กลางคืน 3) การถือศี ลอด เพื่อให้เกิดความอดทนทางร่างกายและความเข้มแข็ง ทางจิตใจ ให้ระลึกถึงคนยากจนอดอาหารและจะได้ช่วยเหลือผู้ที่ขัดสน ในระหว่างถือศีลอดหนึ่ งเดือนจะต้องงดเว้นการกินอาหาร ดื่มน้ำ กลืน น้ำลาย ร่วมสังวาส ตั้งแต่รุ่งอรุณจนกระทั่งพระอาทิตย์ตกดิน 4) การบริจาคซะกาต ชาวมุสลิมมีหน้ าที่จะต้องบริจาคทรัพย์ของตนใน อัตราร้อยละ 2.5 แบ่งปันให้กับผู้อื่น เพื่อช่วยเหลือคนอนาถา เด็กกำพร้า คนที่ขัดสน ผู้มีหนี้ สิน ผู้เผยแพร่ศาสนา ผู้เดินทางที่ขัดสน 5) การประกอบพิธีฮัจญ์ เป็นการเดินทางไปประกอบศาสนกิจที่เมือง เมกกะ ศาสนาอิสลามบัญญัติให้มุสลิมทั้งปวงที่มีความสามารถ คือ เป็นผู้ บรรลุนิ ติภาวะ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีสุขภาพดี มีการคมนาคมที่ ปลอดภัย และมีทุนทรัพย์เพียงพอ ให้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ สำหรับ ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในวิสัยที่จะเดินทางได้นั้ นก็ไม่ได้บังคับ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 13

ข้อห้ามในศาสนาอิสลาม นอกจากหลักศรัทธาและหลักปฏิบัติแล้ว ยังมีกฎเกณฑ์อื่น ๆ ที่ชาว มุสลิมจะต้องปฏิบัติอีกมากมาย ดังนี้ ห้ามยึดถือหรือนำสิ่งอื่นมาเทียบเคียงอัลเลาะห์ เช่น เงินตรา ชื่อเสียง วงศ์ตระกูล ฯลฯ ห้ามกราบไหว้บูชารูปปั้ น วัตถุ ดวงดาว ผีสาง เทวดา ห้ามเซ่นไหว้สิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น ห้ามเชื่อในเรื่องดวง ห้ามดูชะตาราศี ห้ามถือโชคลาง ห้ามเล่น เครื่องรางของขลัง ห้ามเล่นการพนั นทุกชนิ ด เช่น เสี่ยงทาย แทงม้า ลอตเตอรี่ ห้ามกินสัตว์ที่ตายเอง สัตว์ที่มีโรค ห้ามกินหมู ห้ามกินสัตว์ที่ถูกนำไป เซ่นไหว้ ห้ามเสพสิ่งมึนเมาทุกชนิ ด เช่น เหล้า เบียร์ ยาเสพติด ห้ามผิดประเวณีกับหญิงใด ๆ ไม่ว่าจะด้วยความยินยอมสมัครใจของทั้ง สองฝ่ายก็ตาม ห้ามกักตุนสินค้าจนราคาขึ้นสูงแล้วนำสินค้านั้ นไปขาย ห้ามกินดอกเบี้ย อื่น ๆ วันสำคัญของศาสนาอิสลาม 1) วันอีดิ้ลอัฎฮา หรือวันรายอเป็นวันเฉลิมฉลอง เป็นวันแห่ง การให้อภัยซึ่งกันและกัน จะมีการละหมาดละหมาดอีด 2) วันปีใหม่อิสลาม วันปีใหม่อิสลามจะนั บตั้งแต่วันที่ท่าน ศาสดาได้อพยพจากมักกะห์ไปสู่ มาดีนะห์ 3) วันศุกร์ วันศุกร์จะเป็นวันที่มีการละหมาดร่วมกันมาก เพราะเป็นสิ่ งที่ผู้ชายทุกคนจะต้องไปละหมาดวันศุกร์กันที่ มัสยิด 4) เดือนรอมฎอน หรือ เดือนบวช จะเป็นเดือนของการลดการ ดื่มการกิน เพราะชาวมุสลิมที่สามารถถือศีลอดได้จะต้องตื่น กลางคืนมาทานข้าว “คนโง่ย่อมตกเป็นเหยื่อของคนฉลาด คนที่ไม่ละหมาดมักตกเป็นทาสของชัยฏอน” ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 14

ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู BRAHMANISM - HINDUISM ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนาพรามหณ์ - ฮินดู ศาสนาพรามหณ์ - ฮินดู เกิดขึ้นในอินเดีย มีอายุเก่าแก่กว่า พระพุทธศาสนาประมาณ 900 ถึง 1,000 ปี จึงจัดเป็นศาสนาที่เก่าแก่กว่า บรรดาศาสนาทั้งหลายที่มีผู้นั บถืออยู่ในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นศาสนา พหุเทวนิ ยม ประวัติพอสั งเขป ศาสนาพราหมณ์ เริ่มต้นจากลัทธิประจำเผ่าพัฒนามาเป็นศาสนา ประจำเผ่าอารยันซึ่งอพยพมารบชนะชาวเผ่าพื้นเมืองที่เรียกว่า ทราวิฑ หรือทัสยุได้ขับไล่พวกชนเผ่าเจ้าของดินแดนเดิมออกไปแล้วตั้งถิ่นฐานที่ อยู่ครอบครองลุ่มน้ำสิ นธุ และคงคาได้ผสมผสานความเชื่อของท้องถิ่นให้ เข้ากับความเชื่อของตน ทำให้เกิดแนวความคิดเรื่องวรรณะ ต่อมาในยุคพระเวทเป็นยุคที่มีพัฒนาการการนั บถือพระเจ้าให้มีระเบียบ แบบแผนมากยิ่งขึ้นจนกระทั่งเกิดการรวบรวมบทสวดอ้อนวอนพระเจ้า ต่างๆ เรียกว่าคัมภีร์พระเวท ในยุคพราหมณะเป็นยุคที่วรรณะพราหมณ์มี อำนาจสูงสุดเพราะปูนผู้ผูกขาดการทำพิธีกรรมต่างๆมีการแต่งคัมภีร์ พระเวทขึ้นอีกหนึ่ งคัมภีร์คือ อาถรรพเวท และคัมภีร์อุปนิ ษัทซึ้งเป็น รากฐานของแนวคิดทางปรัชญามีความสุขุมลุ่มลึกยิ่งขึ้นมากกว่าเดิม เป็น ยุคที่มีการแข่งขันกันระหว่างศาสนา คือเกิดศาสนาใหม่ คือ ศาสนาเซน และพุทธศาสนา จนทำให้ศาสนาพราหมณ์ต้องปรับกระบวนการในการ สอนศาสนาใหม่จนต้องเรียกตนเองใหม่ว่า ศาสนาฮินดู คัมภีร์ ในศาสนาพรามหณ์ - ฮินดู คัมภีร์พระเวท มีทั้งหมด 4 คัมภีร์ ได้แก่ 1) ฤคเวท 2) ยชุรเวท 3) สามเวท 4) อถรรพเวท ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 15

นิ กายที่สำคัญ ในศาสนาพรามหณ์ - ฮินดู 1) นิกายไวษณพ นั บถือพระวิษณุ พระ นารายณ์ 2) นิกายไศวะ นั บถือพระศิวะ เป็นเทพเจ้า สูงสุด 3) นิกายพรหม นั บถือพระพรหม เป็น เทพเจ้าสูงสุด 4) นิกายศั กติ นั บถือบูชาพระเทวีของพระ เป็นเจ้า ระบบวรรณของศาสนาพรามหณ์ - ฮินดู ในคัมภีร์พระเวทแบ่งคนในสั งคมออก เป็น 4 วรรณะ ได้แก่ 1) วรรณะพราหมณ์ เกิดจากปากของพระ พรหม ทำหน้ าที่ศึกษาคัมภีร์พระเวทและ ประกอบพิธีทางศาสนา 2) วรรณะกษัตริย์ เกิดจากแขนของพระ พรหม ทำหน้ าที่ปกครองและปกป้องบ้าน เมือง 3) วรรณะแพศย์ เกิดจากส่วนขาของพระ พรหม เป็นบุคคลส่วนใหญ่ของสังคม มี อาชีพค้าขาย และอาชีพอื่น ๆ เช่น เกษตรกรรม สถาปัตยกรรม หัตถกรรม ฯลฯ 4) วรรณะศูทร เกิดจากเท้าของพระ พรหม มีหน้ าที่ใช้แรงกายรับจ้างทำงานให้ คนในวรรณะอื่น เทพเจ้าของศาสนาพรามหณ์ - ฮินดู เทพเจ้าองค์สำคัญมี 3 องค์ ที่เรียกรวมกันว่า “ตรีมูรติ” คือ พระศิ วะ เทพเจ้าผู้ทำลายโลก พระวิษณุ เทพเจ้าผู้พิทักษ์คุ้มครองโลก พระพรหม เทพเจ้าผู้สร้างโลก ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 16

หลักอาศรม 4 ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ได้แบ่งขั้นตอนของชีวิตออกเป็น 4 ช่วง เรียก ว่า “อาศรม 4” ได้แก่ 1) พรหมจารี เป็นขั้นตอนที่เด็กชายทุกคนที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ต้องศึกษาเล่าเรียน ต้องเข้าพิธีมอบตนเป็นนั กศึกษา และ จะต้องปรนนิ บัติรับใช้อาจารย์พร้อมกับศึกษาเล่าเรียน 2) คฤหัสถ์ เป็นวัยแห่งการครองเรือน เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วกลับไปใช้ ชีวิตทางโลก แต่งงานและมีบุตรเพื่อสืบสกุล โดยยึดหลักธรรมเป็น แนวทางในการดำเนิ นชีวิต 3) วานปรัสถ์ เป็นขั้นที่แสวงหาธรรม โดยการออกบวชสู่ป่า เพื่อฝึกจิตใจ ให้บริสุทธิ์และเตรียมปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ ต่อสังคม 4) สันยาสี เป็นขั้นสุดท้ายแห่งชีวิต โดยสละชีวิตทางโลกออกบวช บำเพ็ญ เพียรตามหลักศาสนา เพื่อความหลุดพ้น จุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนาพรามหณ์ - ฮินดู “โมกษะ” อันเป็นการหลุดพ้น จากความทุกข์ทั้งปวง การไปสู่โมก ษะทำได้ 3 ทาง คือ 1) กรรมโยคะ คือ การกระทำกิจ ต่าง ๆ ด้วยความรู้สึกปล่อยวาง ทำ ด้วยความรู้สึกว่าเป็นหน้ าที่ 2) ภักโยคะ คือ การมีจิตใจภักดี ต่อพระเป็นเจ้าอย่างไม่ คลอนแคลน 3) ชญานโยคะ คือ การปฏิบัติเพื่อ มุ่งให้เกิดความรู้แจ้งเกี่ยวกับ ธรรมชาติที่แท้จริงของชีวาตมัน และปรมาตมัน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 17

หลักธรรม ๑๐ ประการ 1) ธฤติ ได้แก่ ความพอใจ ความกล้า ความมั่นคง ซึ่งหมายถึง การ พากเพียรจนได้รับความสำเร็จ 2) กษมา ได้แก่ ความอดทน นั่ นคือพากเพียรและอดทน โดยยึดความ เมตตากรุณาเป็นที่ตั้ง 3) ทมะ ได้แก่ การข่มจิตใจของตนด้วยเมตตา และมีสติอยู่เสมอ 4) อัสเตยะ ได้แก่ การไม่ลักขโมย ไม่กระทำโจรกรรม 5) เศาจะ ได้แก่ การกระทำตนให้บริสุทธิ์ทั้งกายและใจ 6) อินทรียนิครหะ ได้แก่ การหมั่นตรวจสอบอินทรีย์ ๑๐ ประการ ให้ได้ รับการตอบสนองที่ถูกต้อง 7) ธี ได้แก่ ปัญญา สติ มติ ความคิด ความมั่นคงยืนนาน นั่ นคือมีปํญญา และรู้จักระเบียบวิธีต่าง ๆ 8) วิทยา ได้แก่ ความรู้ทางปรัชญา 9) สัตยา ได้แก่ ความจริง คือ ซื่อสัตย์ต่อกันและกัน 10) อโกธะ ได้แก่ ความไม่โกรธ “การเวียนว่ายตายเกิดถือว่าเป็นทุกข์ การจะพ้นจากความทุกข์ อาตมันต้องกลับไปรวมเป็นอันหนึ่ งอันเดียวกับปรมาตมัน” ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 18

แบบทดสอบหลังการเรียนรู้ เรื่อง ความรู้ทั่วไปของศาสนา 1) ข้อใดมีความหมายตรงกับคำว่า “ศาสนา” ก. ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ ข. ลัทธิความเชื่อถือของคนส่วนใหญ่ ค. ลัทธิความเชื่อถือเกี่ยวกับความคิดเห็น ง. ลัทธิความเชื่อถือเกี่ยวกับเทพเจ้า 2) จุดมุ่งหมายสำคัญของทุกศาสนาคืออะไร ก. เน้ นพิธีกรรมทางศาสนา ข. ให้ยึดมั่นในองค์พระศาสดา ค. สอนให้ทุกคนเป็นคนดี ง. เน้ นการทรมานร่างกาย 3) องค์ประกอบที่มีปรากฏอยู่ในศาสนาสำคัญในปัจจุบันคือ ข้อใด ก. ศาสนาและนั กบวช ข. รูปเคารพและศาสนสถาน ค. นั กบวชและศาสนพิธี ง. ศาสนพิธีและหลักคำสอน 4) ข้อใดเรียงลำดับการเกิดศาสนาได้อย่างถูกต้อง ก. พุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ – ฮินดู ข. พราหมณ์ – ฮินดู พุทธ คริศต์ อิสลาม ค. คริสต์ พราหมณ์ – ฮินดู พุทธ อิสลาม ง. อิสลาม พราหมณ์ – ฮินดู พุทธ คริสต์ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 19

5) หลักคำสอนของแต่ละศาสนาแม้จะมีรายละเอียดแตกต่างกัน แต่มีลักษณะสำคัญบางประการร่วมกัน ลักษณะดังกล่าวคืออะไร ก. ความเข้าใจชีวิตและพัฒนาชีวิต ข. ความยึดมั่นศรัทธาในองค์ศาสดา ค. ความยึดมั่นในความศักดิ์สิทธิ์ของศาสนา ง. ความเห็นว่าชีวิตเป็นสิ่งที่ปราศจากคุณค่า 6) เจ้าชายสิทธัตถะทรงประสูติตรงกับวันสำคัญใดในพระพุทธ ศาสนา ก. วันเข้าพรรษา ข. วันมาฆบูชา ค. วันอาสาฬหบูชา ง. วันวิสาขบูชา 7) หลักธรรมแรกที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรมที่ประเสริฐ คือ หลักธรรมใด ก. หลักโอวาท 3 ข. หลักเบญจศีล ค. หลักอริยสัจ 4 ง. หลักไตรสิกขา 8) ข้อใดคือนิกายที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ก. นิ กายเถรวาท ข. นิ กายมหายาน ค. นิ กายโรมันคาทอลิก ง. ข้อ ก. และ ข. ถูกต้อง 9) จุดมุ่งหมายสูงสุดของพุทธพระพุทธศาสนาคือข้อใด ก. พ้นทุกข์ ข. การได้ขึ้นสวรรค์ ค. นิ พพาน ง. โมกษะ 10) ธรรมสำหรับผู้เป็นใหญ่ ผู้ปกครอง พ่อแม่ จำเป็นต้องมีไว้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ ยวสำหรับดำเนินชีวิต คือหลักธรรมใด ก. ฆราวาสธรรม 4 ข. สังคหวัตถุ 4 ค. หลักอริยสัจ 4 ง. พรหมวิหาร 4 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 20

11) ศาสดาของศาสนาคริสต์คือใคร ก. พระเยซู ข. พระนางมารีย์ ค. พระพุทธเจ้า ง. โจเซฟ 12) ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ ก. นิ พพานคือจุดมุ่งหมายสูงสุด ข. ศาสนาแห่งความรัก ค. ศาสนาแห่งเหตุผล ง. ศาสนาแห่งปัญญา 13) การรับศี ลใดเพื่อเป็นการยืนยันยอมรับว่านับถือศาสนา คริสต์ ก. ศีลแก้บาป ข. ศีลมหาสนิ ท ค. ศีลล้างบาป ง. ศีลกำลัง 14) ศาสนาคริสต์ ถือกำเนิดที่ประเทศใด ก. อิหร่าน ข. อิรัก ค. อิสราเอล ง. ซาอุดิอารเบีย 15) ข้อใดเป็นคัมภีร์ของศาสนาคริสต์ ก. คัมภีร์พระเวท ข. คัมภีร์ไบเบิล ค. คัมภีร์อัลกุรอาน ง. คัมภีร์พระไตรปิฏก 16) ข้อใดคือนิกายที่สำคัญในศาสนาคริสต์ ก. นิ กายโรมันคาทอลิก ข. นิ กายออร์ธอดอกซัน ค. นิ กายโปรแตสแตนท์ ง. ถูกทุกข้อ 17) วันประสูติของพระเยซูตรงกับข้อใด ก. วันคริสต์มาส ข. วิสาขบูชา ค. วันสะบาโต ง. วันอีสเตอร์ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 21

18) ข้อใดไม่ใช่บทบัญญัติ 10 ประการในศาสนาคริสต์ ก. จงนมัสการพระเจ้าแต่เพียงพระองค์เดียว ข. ศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอาน ค. จงนั บถือวันสะบาโตเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ ง. อย่ามีความโลภในสิ่งของผู้อื่น 19) วันสะบาโต คือวันอะไร ก. เป็นวันบริสุทธิ์ หยุดเพื่อพักผ่อนและร่วมทำกิกรรมที่โบสถ์ ข. เป็นวันเฉลิมฉลองที่สำคัญที่สุดของชาวคริสต์ เป็นการฟื้ น คืนพระชนม์ของพระเยซู ค. เป็นวันเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู ง. เป็นวันแห่งการให้อภัยซึ่งกันและกัน 20) ความรัก ความเมตตาระหว่างเพื่อนมนุษย์ เป็นหลักธรรม สำคัญของศาสนาใด ก. ศาสนาอิสลาม ข. ศาสนาคริสต์ ค. ศาสนาฮินดู ง. พระพุทธศาสนา 21) ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประเภทใด ก. เอกเทวนิ ยม ข. อเทวนิ ยม ค. พหุเทวนิ ยม ง. เทวนิ ยม 22) พระเจ้าสูงสุดของศาสนาอิสลามคือข้อใด ก. พระเยซู ข. พระพุทธเจ้า ค. บีมูฮมัด ง. พระอัลเลาะห์ 23) ศาสดาของศาสนาอิสลามคือข้อใด ก. พระเยซู ข. พระพุทธเจ้า ค. บีมูฮมัด ง. พระอัลเลาะห์ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 22

24) คัมภีร์ศาสนาอิสลามคือข้อใด ก. คัมภีร์พระเวท ข. คัมภีร์อัลกุรอาน ค. คัมภีร์พระไตรปิฎก ง. คัมภีร์ไบเบิล 25) นิกายใดในศาสนาอิสลามที่เคร่งครัดในแนวทางปฏิบัติตาม คัมภีร์อัลกุรอาน ก. นิ กายซุนนี ข. นิ กายชีอะห์ ค. นิ กายโรมันคาทอลิก ง. นิ กายเถรวาท 26) หลักศรัทธา 6 ประการของศาสนาอิสลาม ข้อใดถูกต้อง ก. จงนมัสการพระเจ้าแต่เพียงพระองค์เดียว ข. อย่ามีความโลภในสิ่งของผู้อื่น ค. จงนั บถือบิดามารดา ง. ศรัทธาในเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า 27) การละหมาด คืออะไร ก. เป็นการนมัสการพระเจ้า ข. การบริจาคทรัพย์ของตน ค. การถือศีลอด ง. การล้างบาป 28) จุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนาอิสลาม ก. นิ พพาน ข. การไปอยู่กับพระเจ้าชั่วนิ รันดร์ ค. การหลุดพ้นจากกิเลส ง. การขึ้นสวรรค์ 29. ข้อห้ามในศาสนาอิสลามคือข้อใด ก. ห้ามยึดถือหรือนำสิ่งอื่นมาเทียบเคียงอัลเลาะห์ ข. ห้ามกราบไหว้บูชารูปปั้ น วัตถุ ดวงดาว ผีสาง เทวดา ค. ห้ามผิดประเวณีกับหญิงใด ๆ ไม่ว่าจะด้วยความยินยอม สมัครใจของทั้งสองฝ่ายก็ตาม ง. ถูกทุกข้อ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 23

30) วันอีดิ้ลอัฎฮา คือวันอะไร ก. วันประสูติของพระเจ้า ข. เป็นวันเฉลิมฉลอง วันแห่งการให้อภัยซึ่งกันและกัน ค. เป็นวันของการลดการดื่มการกิน ง. เป็นวันถวายพระเพลิงของพระเจ้า 31) ศาสนาพรามหณ์ – ฮินดูเป็นศาสนาประเภทใด ก. เอกเทวนิ ยม ข. อเทวนิ ยม ค. พหุเทวนิ ยม ง. เทวนิ ยม 32) ศาสดาของศาสนาพรามหณ์ – ฮินดูคือข้อใด ก. พระเยซู ข. พระพุทธเจ้า ค. บีมูฮมัด ง. ไม่มีศาสดา 33) เทพเจ้าของศาสดาของศาสนาพรามหณ์ – ฮินดูคือข้อใด ก. พระศิวะ ข. พระนาราย ค. พระพรหม ง. ถูกทุกข้อ 34) จุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนาพรามหณ์ – ฮินดูคือข้อใด ก. นิ พพาน ข. การไปอยู่กับพระเจ้าชั่วนิ รันดร์ ค. การหลุดพ้นจากกิเลส ง. โมกษะ 35) คัมภีร์พระเวทมีทั้งหมด 4 คัมภีร์ ยกเว้นข้อใด ก. สี่เวท ข. ฤคเวท ค. ยชุรเวท ง. สามเวท 36) ระบบวรรณของศาสนาพรามหณ์ – ฮินดู มีอะไรบ้าง ก. วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ ข. วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ ค. วรรณะแพศย์ วรรณะศูทร ง. วรรณะจัณฑาล ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 24

37) พรหมจารี ในหลักอาศรม 4 คืออะไร ก. เป็นขั้นสุดท้ายแห่งชีวิตโดยสละชีวิตทางโลกออกบวช ข. เป็นขั้นตอนที่เด็กชายทุกคนที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ต้องศึกษาเล่าเรียน ต้องเข้าพิธีมอบตนเป็น นั กศึกษา ค. เป็นขั้นที่แสวงหาธรรม โดยการออกบวชสู่ป่า ง. เป็นวัยแห่งการครองเรือน เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วกลับไป ใช้ชีวิตทางโลก แต่งงานและมีบุตรเพื่อสืบสกุล 38) ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “โมกษะ” ก. กรรมโยคะ คือ การกระทำกิจต่าง ๆ ด้วยความรู้สึกปล่อย วาง ข. ธฤติ คือ ความพอใจ ความกล้า ความมั่นคง ค. กษมา คือ ความอดทน นั่ นคือพากเพียรและอดทน ง. อัสเตยะ คือ การไม่ลักขโมย ไม่กระทำโจรกรรม 39) ข้อใดคือหลักธรรม ๑๐ ประการของศาสนา พรามหณ์ – ฮินดู ก. ภักโยคะ ข. ชญานโยคะ ค. อินทรียนิ ครหะ ง. ถูกทุกข้อ 40) ทำไมมนุษย์ถึงต้องนับถือศาสนา ก. เพื่อรอดพ้นจากความทุกข์ ข. เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ค. เพื่อให้มีความสงบสุข ง. ถูกทุกข้อ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 25

เฉลย แบบทดสอบหลังการเรียนรู้ เรื่อง ความรู้ทั่วไปของศาสนา 1. ก 11. ก 21. ก 31. ค 2. ค 12. ข 22. ง 32. ง 3. ง 13. ง 23. ค 33. ง 4. ข 14. ค 24. ข 34. ง 5. ก 15. ข 25. ก 35. ก 6. ง 16. ง 26. ง 36. ง 7. ค 17. ก 27. ก 37. ข 8. ง 18. ข 28. ข 38. ก 9. ค 19. ก 29. ง 39. ค 10. ง 20. ข 30. ข 40. ง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 26

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 27

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 28

รายการอ้างอิง เดือน คำดี. (2545). ศาสนศาสตร์. กรุงเทพ ฯ: สำนั กพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พุทธรักษ์ ปราบนอก. (2558). ศาสนาโลก WORLD’S RELIGION. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ฟื้ น ดอกบัว. (2522). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: บูรพาสาส์น จำกัด. ภัทรพร สิริกาญจน. (2546). ความรู้พื้นฐานทางศาสนา. กรุงเทพ ฯ: สำนั กพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2532). ประวัติศาสตร์ศาสนา. กรุงเทพฯ: บำรุงสาส์น จำกัด. แสง จันทร์งาม. (2545). ศาสนศาสตร์. กรุงเทพ ฯ : ไทวัฒนาพานิ ช. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา หน้ า 29

ผู้จัดทำ นายทรงเผ่า อามาตสมบัติ รหัสนักศึ กษา 6180110106 นายพัชรพล ปราบพาล รหัสนักศึ กษา 6180110116 นางสาวรุจิรดา มีมา รหัสนักศึ กษา 6180110120 นางสาวเจนจิรา พันธ์เดช รหัสนักศึ กษา 6180110130 นักศึ กษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสังคมศึ กษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดเลย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook