ลิลิตพระลอ
โครงงานภาษาไทย การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ส่งเสริมการอ่านวรรณคดีไทย ชื่อหนังสือ\"ลิลิตพระลอ\" ผู้้จัดทำ ๑.นาย ศรัณย์ บุญครอง เลขที่๗ ๒.นาย เกียรติภูมิ ตรีผลพันธุ์ เลขที่๑๑ ๓.นาย ปาณัสม์ ปัญญาสาย เลขที่๑๒ ๔.นาย ปัณณวัฒน์ ฉายแม้น เลขที่๑๘ ๕.น.ส.จิรชยา ไหลหลั่ง เลขที่๓๔ ครูที่ปรึกษาโครงงาน นาง กรรณิการ์ พลพวก โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อำเภอเมืออุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี รายงานนี้เป็นส่วนประก่อบโครงงานวิชา ท๓๑๑๐๒ ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-BOOK) ฉบับนี้ เป็นส่วน หนึ่งรายวิชาภาษาไทย ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อศึกษาวรรณคดี สมัยอยุธยาตอนต้น เรื่องลิลิตพระลอ ลิลิตพระลอ ถูก ย่องให้เป็นยอดของวรรณคดีประเภทลิลิต เนื่องจากมี การให้อรรถรสที่ครบถ้วน และส่งเสริมให้อนุรักษ์ วรรณคดีไทยให้คงอยู่กับคนไทย เพื่อให้ได้ศึกษาต่อไป คณะผู้จัดทำจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์(E-BOOK) ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับ ผู้ที่ต้องการศึกษา เรื่อง ลิลิตพระลอ หากมีข้อผิพลาด ประการให้ คณะผู้จัดทำต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้
สารบัญ หน้า ๑ ลิลิตพระลอ ๒ ความหมายของลิลิต ๓ ความเป็นมาของลิลิตพระลอ ๓ ผู้แต่งลิลิตพระลอ ๔ ลักษณะคำประพันธ์และวัตถุประสงค์ที่แต่ง ๕ สาระสำคัญ ๖ ตัวละครในลิลิตพระลอ ๗ เนื้อเรื่องย่อ ๙ สรุปเนื้อเรื่อง ๑๐ ข้อคิดที่ได้ ๑๐ วิเคราะห์เนื้อหา ๑๒ คุณค่าด้านภาษา ๑๓ คุณค่าด้านความรู้ ๑๔ คุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรม ๑๕ คุณค่าที่มีต่อวรรณคดีอื่น ๑๖ บรรณานุกรม
๑ ลิลิตพระลอ ลิลิตพระลอเป็นยอดของลิลิต เพราะลิลิตพระลอมี อรรถรสที่มีความสมบูรณ์ครบทุกด้าน ทั้งความบันเทิง ปรัชญาที่สะท้อนวิถีชีวิต ซึ่งมีลักษณะเด่น แสดงออกถึง ความมีอำนาจ ความมีฤทธิ์ ความรัก ความหลง ความ กตัญญู ความจงรักภักดี ความพยาบาท ผูกอาฆาต ความเศร้าโศก และความตาย อันเป็นกฎอนิจจัง
๒ ความหมายของลิลิต เป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองชนิดหนึ่งแต่งเป็น เรื่องยาวโดยใช้โคลง และร่ายต่อสัมผัสกัน.
๓ ความเป็นมาของลิลิตพระลอ ลิตพระลอได้เค้าเรื่องมาจากนิทานพื้นเมือง แสดงถึงสภาพความเป็นไปของสังคม ในเวลานั้นอย่างเด่นหลายประการในด้านการปกครองแสดงให้เห็นการปกครอง แบบนครัฐ คือ เมือง เล็ก ๆ ตั้งเป็นอิสระแก่กัน อันเป็นลักษณะที่ปรากฏทั่วไป ก่อนสมัยสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ผู้แต่งลิลิตพระลอ สันนิษฐานว่า ผู้แต่งน่าจะเป็น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐา) และผู้เขียน คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระอาทิตยวงศ์) WOW!
๔ ลักษณะคำประพันธ์ลิลิตพระลอ และจุดหมายที่แต่ง ทำนองแต่ง เป็นคำประพันธ์ประเภทลิลิตสุภาพ ประกอบด้วยร่ายสุภาพและโคลงสุภาพ เป็นส่วนใหญ่ บางโคลงมีลักษณะคล้ายโคลงดั้นและโคลงโบราณ และร่ายบางบทเป็นร่าย โบราณและร่ายดั้น ความมุ่งหมาย แต่งถวายพระเจ้าแผ่นดิน เพื่อให้เป็นที่สำราญหฤทัย
๕ สาระสำคัญของลิลิตพระลอ ลิลิตพระลอเป็นเรื่องรักโศก บรรยายถึงความรักระหว่างพระเอก คือ พระ ลอ และนางเอกสองคน คือ พระเพื่อน และพระแพง นอกจากนี้ยังกล่าวถึง ความรักของหญิงชายอีกสองคู่ คือ นางรื่น นางโรย และนายแก้ว นายขวัญ พี่ เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง และพระลอ ตามลำดับ
๖ ตัวละครทั้งหมดในลิลิตพระลอ พระลอ ปู่เจ้า นายแก้ว เพื่อน นางบุญเหลือ นายขวัญ แพง ท้าวพิชัยพิษณุกร ขุดด่าน นางรื่น นายศรีเกศ นางโรย นางดาราวดี พราหมณ์ เมืองแมนรวง เจ้าย่า ท้าวพิมพิศาคร นางลักษณาวดี เมืองสรอง
๗ เนื้อเรื่องย่อของลิลิตพระลอ เมืองสรวงและเมืองสรองเป็นศัตรูกัน พระลอ กษัตริย์เมืองสรวงทรงพระสิริโฉมยิ่งนัก จนเป็นที่ ต้องพระทัยของพระเพื่อนพระแพงราชธิดาของท้าวพิชัยพิษณุกร กษัตริย์แห่งเมืองสรอง นางรื่นนาง โรย พระพี่เลี้ยงได้ขอให้ปู่เจ้าสมิงพรายช่วยทำเสน่ห์ให้พระลอเสด็จ มาเมืองสรวง เมื่อพระลอต้อง เสน่ห์ได้ตรัสลาพระนางบุญเหลือพระราชมารดา และนางลักษณวดีมเหสี เสด็จไปเมืองสรองพร้อมกับ นายแก้วนายขวัญพระพี่เลี้ยง พระลอทรงเสี่ยงทายน้ำที่แม่น้ำกาหลง ถึงแม้จะปรากฏรางร้ายก็ทรง ฝืนพระทัยเสด็จต่อไป ไก่ผีของปู่เจ้าสมิงพรายล่อพระลอกับนายแก้วนายขวัญไปจนถึงสวนหล วง นางรื่นนางโรยพี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง ออกอุบายลอบนำพระลอกับนายแก้วนายขวัญไปไว้ใน ตำหนักของพระเพื่อน พระแพง ท้าวพิชัยพิษณุกรทรงทราบเรื่องก็ทรงพระเมตตารับสั่งจะจัดการ อภิเษกพระลอกับพระเพื่อนและพระแพงให้ แต่พระเจ้าย่าเลี้ยงของพระเพื่อนพระแพงยังทรงพยาบาท พระลอ อ้างรับสั่งท้าวพิชัยพิษณุกรตรัสสั่งใช้ให้ทหารไปรุมจับพระลอ พระเพื่อนพระแพงและพี่เลี้ยง พระลอ พระเพื่อน พระแพง และพี่เลี้ยงทั้งสี่ช่วยกันต่อสู้จนสิ้นชีวิตทั้งหมด ท้าวพิชัยพิษณุกรพิโรธ พระเจ้าย่าและทหาร รับสั่งให้ประหารชีวิตทุกคน พระนางบุญเหลือทรงส่งทูตมาร่วมงานพระศพ กษัตริย์ทั้งสาม ในที่สุดเมืองสรวงและเมืองสรองก็กลับมาเป็นไมตรีต่อกัน
เรื่องย่อ--ต่อ ๘ เมืองสรอง เมืองนี้ปกครองโดยกษัตริย์พิชัยพิษณุกรกษัตริย์พิชัยพิษณุกรทีพระราชธิดาอยู่ 2 พระองค์ พระองค์พี่ พระนาม ว่า พระเพื่อน พระองค์น้องพระนามว่า พระแพง พระราชธิดาทั้งสองพระองค์ทรงต้องพระทัยในพระลอยิ่งนัก ทั้ง ๆ ที่ยังไม่เคยเห็น นางรื่นกับนางโรย สองพระพี่เลี้ยงรู้ ความจริง ด้วยความสงสารจึงทูลอาสาเข้าช่วยเหลือให้สมกับพระประสงค์ ส่งคนไปสีซอให้พระลอฟัง เป็นการพรรณนา ความงามของพระเพื่อนกับพระแพง ไปหาหญิงแม่มดให้ช่วยทำเสน่ห์ แต่แม่มดปฏิเสธเพราะมนตร์เสน่ห์ของตนหมดฤทธิ์ ขลังเสียแล้ว แม่มดจึงพาไปหาปู่เจ้าสมิงพราย ปู่เจ้าสมิงพรายให้ความช่วยเหลือ จนพระลอต้องเสด็จมาเองสรองพระลอต้อง มนตร์เสน่ห์เข้าก็ทรงเกิดความอยากทอดพระเนตรดูพระเพื่อนกับพระแพงขึ้นมาทันที จึงอำลาพระนางบุญเหลือพระราช มารดา และพระนางลักษณวดีพระมเหสี เสด็จโดยด่วนไปยังเมืองสรองพร้อมด้วยนายแก้วนายขวัญสองพระพี่เลี้ยงเมื่อเสด็จ ถึงแม่น้ำกาหลง พระลอก็ทรงเสี่ยงน้ำ ปรากฏเป็นลางร้ายไม่ต้องำพระทัยเลย แต่ก็ต้องเสด็จต่อไป เพราะต้องมนตร์เสน่ห์ ของเจ้าปู่สมิงพรายเข้าแล้ว ปรากฏมีไก่ผีของเจ้าปู่สมิงพรายคอยวิ่งล่อพระลอ กับพระพี่เลี้ยงให้ต้องไปจนถึงเมืองสรองจนได้ เมื่อไปถึงสวนหลวง นางรื่นกับนางโรยออกมาที่สวนหลวงก็ทราบข่าวว่าพระลอเสด็จมาถึงแล้ว จึงออกอุบายที่สำคัญคือ ให้ พระเพื่อนและพระแพงเสด็จออกไปพบพระลอ จากนั้นก็พาพระลอเข้าไปอยู่ในตำหนักพระเพื่อนพระแพง ส่วนนายแก้วให้อยู่กับนางรื่น นายขวัญให้อยู่กับนางโรย ทุกอย่างลงตัวหมดเวลาล่วงเลยไปถึงครึ่งเดือน กษัตริย์พิชัยพิษณุกรจึงทรงทราบเมื่อเสด็จมาพระตำหนักพระราชธิดา ทรงเห็นพระลอแล้วก็สงสาร ทรงเมตตารับสั่งให้จัดพิธีอภิเษกสมรสให้ แต่พระเจ้าย่าของพระเพื่อนพระแพง ไม่ทรงชอบ พระลอจึงทรงขัดขวางทุกวิถีทาง ทรงอ้างรับสั่งของกษัตริย์พิชัยพิษณุกรว่าให้ทรงสั่งจับพระลอ ทหารจึงพากันจับพระลอไว้ ฝ่ายพระเพื่อนพระแพง และพระพี่เลี้ยงของทั้งสองฝ่ายรวม 4 คนก็ได้ช่วยขัดขวางจนถงที่สุด จนสิ้นพระชนม์และสิ้นชีวิต กันทั้งหมด กษัตริย์พิชัยพิษณุกร เมื่อทรงทราบเรื่องราวก็ทรงให้มีรับสั่งให้จับพระเจ้าย่าและพรรคพวกประหารชีวิตเสียให้ ตายตกไปตามกัน เพราะทรงพระพิโรธยิ่งนักจากนั้นกษัตริย์พิชัยพิษณุกรได้โปรดให้จัดพิธีพระศพอย่างยิ่งใหญ่ นางบุญ เหลือพระราชมารดาของพระลอส่งทูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์(คือ พระลอ พระเพื่อน และพระแพง) แล้วทรงขอแบ่งพระอัฐิธาตุ ไปส่วนหนึ่งตั้งแต่นั้นมา เมืองสรองและเมืองสรวงก็มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน
๙ สรุปเนื้อเรื่องลิลิตพระลอ เป็นยอดวรรณคดีประเภทลิลิตเข้าใจกันว่าเป็นเรื่องจริงเล่ากันเรื่อยมาจนเป็นนิยามชื่อดัง ของท้องถิ่นไทยภาคเหนือ แถว ๆ จังหวัดแพร่และลำปาง คือเมืองสรองคงจะอยู่ที่อำเภอ ร้องกวาง จังหวัดแพร่ เมืองสรวงน่าจะอยู่ที่อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง นิยายเรื่องจริงเรื่องนี้น่าจะเกิดในช่วง พ.ศ. 1616-1693 จะแต่งในสมัย พระบรมไตรโลกนาถสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐา) หรือในสมเด็จพระนารายณ์ก็ไม่ ทราบแน่ชัด ผู้แต่ง :ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่คงจะเป็นกวีชั้นนักปราชญ์ทีเดียวแต่งได้เลิศเลอนักยัง หาผู้เทียบทานไม่ได้ ทำนองแต่ง :แต่งเป็นลิลิตสุภาพ ซึ่งประกอบด้วยร่ายสุภาพ และโครงสุภาพ อีกทั้งมี บางตอนก็เป็นร่านดั้นและร่ายโบราณ วัตถุประสงค์ในการแต่ง :เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงอ่านเป็นที่สำราญพระทัย เรื่องย่อ :เนื่องจากเมืองเหนือสองเมืองเป็นศัตรูคู่อริไม่ถูกกัน กษัตริย์เมืองสรวงพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระลอ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระสิริวรกายงดงามหล่อเหลายิ่ง จนเป็นที่ ปรากฏของหญิงทั้งหลาย และยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อว่า
๑๐ ข้อคิดที่ได้จากลิลิตพระลอ อย่าชิงสุกก่อนห่าม อย่าล่ามม้าสองฝั่ง จะทำอะไรก็อย่ารีบทำโดยไม่คิดเพราะก่อผล เสีย อย่าล่ามม้าสองปาก คืออย่ากดหัวพลเมืองให้โงหัวไม่ขึ้น อย่าใช้อำนาจที่ไม่เป็น ธรรมแก่ราษฎร อย่ารากผิดไว้ข้างหลัง คือ อะไรที่ผิดอย่าทิ้งไว้ข้างหลัง ให้จัดการให้ เรียบร้อย แก้ไข อย่าทำตนให้คนเกลียด จงทำตนให้คนรัก วิเคราะห์วิเคราะห์เนื้อหาของลิลิตพระลอ ลิลิตพระลอ เน้นความดีเด่นในแง่โครงเรื่อง เนื้อหา ฉันทลักษณ์ และสํานวน
๑๑ คุณค่าด้านต่างๆ ของลิลิตพระลอ
๑๒ ๑.คุณค่าด้านภาษา ด้านภาษาและสำนวนโวหาร วรรณคดีเรื่องนี้มีสำนวนโวหารไพเราะ เนื้อเรื่องดี การใช้ถ้อยคำ ปลุกอารมณ์ผู้อ่านได้ดีทั้งอารมณ์โศก อารมณ์เคียดแค้น อารมณ์รักและอารมณ์กล้าหาญ **ผู้แต่งถือหลักว่ามนุษย์มีทั้งรัก โลภ โกรธ หลง อยู่เป็นประจำตามวิสัยของมนุษย์ปุถุชนทั่วไป** ตัวละครจึงมีชีวิตเลือดเนื้อเจือด้วยความรัก ความโลภ ความโกรธ และความหลง ดังเช่น พระนางบุญเหลือมีความรักลูก ท้าวพิชัยพิษณุกรมีใจนักเลงไม่อาฆาตพยาบาท พระเจ้าย่ามีความ เคียดแค้น เป็นต้น หนังสือลิลิตพระลอเป็นหนังสือที่มีคุณค่า ใช้ถ้อยคำไพเราะกินใจดี มีความ เปรียบเทียบ ที่คมคายจับใจผู้อ่าน สมดังที่กล่าวไว้ในตอนต้นเรื่องว่า “ใครฟังย่อมใหลหลง ฤาอิ่ม ฟังนา” โคลงบางบทได้รับการยกย่องว่าเป็นโคลงครูมาแต่โบราณ ได้แก่โคลง “เสียงฤาเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย” การใช้ภาษามีถ้อยคำรุ่นเก่าปะปนอยู่มาก เช่นเดียวกับมหาชาติคำหลวงและลิลิตยวนพ่าย ทำให้สามารถใช้ศึกษาการใช้คำในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นได้
๑๓ ๒.คุณค่าด้านความรู้ ด้านความรู้ ลิลิตพระลอให้ความรู้ด้านต่าง ๆ หลายประการ ได้แก่ ๒.๑ ความรู้ด้านตำนานพื้นเมือง ลิลิตพระลอเป็นตำนานพื้นเมืองของไทยภาคเหนือ ฉะนั้นจึง ให้ความรู้เกี่ยวกับตำนานหรือนิยายพื้นเมืองแก่ผู้อ่า น ๒.๒ ความรู้ด้านโบราณคดี ลิลิตพระลอเป็นตำนานพื้นเมืองที่เกิดขึ้นในจังหวัดแพร่และจังหว ดั ลำปาง ฉะนั้น สถานที่ของตำนานเรื่องนี้จึงอยู่ที่จังหวัดทั้งสอง สันนิษฐานกันว่าเมืองสรองคง อยู่ทางตอนเหนือของอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ส่วนเมืองสรวงคงเป็นเมืองในเขตอำเภอ แจ้ห่ม จังหวัดลำปาง และยังให้ความรู้เกี่ยวกับชื่อสถานที่ แม่น้ำ ตลอดจนมีเจดีย์ ซึ่ง สันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์บรรจุอัฐิพระลอและพระเพื่อนพระแพง ๒.๓ ความรู้ด้านการรบ วรรณคดีเรื่องนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับการรบและการต่อสู้สมัยโบรา ณ มี การใช้อาวุธต่าง ๆ ดังร่ายว่า “ผันเข้าคลุกรุกรบ หลบหลีกปืนบได้ดอก หลบหลีกหอกบ่ได้ต้อง เขาเร่งซ้องเป็นยะยุ่ง ซ้องหอกพุ่งยะย้าย ข้างซ้ายเร่งมาหนา เข้าทุกปลากรุกโรม สองนายโจม ฟั่นเฟื่อง เครื่องพลัดตัวหัวขาด เขาก็สาดศรยึง ตรึงนายแก้วยะยัน”
๑๔ ๓.ด้านสังคมและวัฒนธรรม ๓.๑ การปกครอง ลิลิตพระลอแสดงให้เห็นถึงลักษณะการปกครองสมัยโบราณ เมืองทั้งหลาย ต่างก็เป็นอิสระต่อกัน มีเจ้าผู้ครองนคร ดังเช่นเมืองสรองและเมืองสรวง ๓.๒ ชีวิตความเป็นอยู่ ลิลิตพระลอสะท้อนให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่และสภาพสังคมสมัยนั้น เช่น การตั้งครรภ์และเลี้ยงลูก นอกจากจะกล่าวถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่แล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงสภาพของสังคม เช่น การ นับถือผี เชื่อไสยศาสตร์ มีการทำเสน่ห์ เป็นต้น ดังร่ายว่า “ผีบันดาลไฟคละคลุ้ม ให้ควันกลุ้ม เวหา ด้วยแรงยาแรงมนต์” ๓.๓ ความเชื่อในศาสนา ลิลิตพระลอ ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อในพุทธศาสนา เช่น ความเชื่อในกฎ แห่งกรรม ๓.๔ ขนบธรรมเนียมประเพณี วรรณคดีเรื่องนี้เป็นเรื่องทางภาคเหนือ จึงมีวัฒนธรรมประเพณี ทางภาคเหนืออยู่มาก เช่น การขับซอยอยศและยังมีประเพณีการทำศพในสมัยโบราณ ดังเช่น การทำศพของพระลอ พระเพื่อนพระแพง เป็นต้น ๓.๕ คติธรรม ลิลิตพระลอให้คติธรรมในการดำเนินชีวิตหลายประการ เช่น กล่าวถึงธรรมะของ ผู้ใหญ่ ดังเช่นในร่ายว่า “อย่าให้ยากแก่ใจไพร่ ไต่ความเมืองจึงตรง ดำรงพิภพให้เย็น ดับเข็ญ นอกเข็ญใน”
๑๕ ๔.ด้านอิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น ๔.๑ ลิลิตพระลอเป็นตัวอย่างของการแต่งคำประพันธ์ในยุคหลัง กวียุคหลังถือโคลงในลิลิตพระลอ เป็นแบบอย่างของการแต่งคำประพันธ ์ที่ถูกต้องตามหลักฉันทลักษณ์ เช่น พระโหรา ธิบดี ได้นำโคลงไปไว้ในหนังสือจินดามณี ได้แก่ โคลง “เสียงฤาเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย” โคลง บางบทดีเด่นในเรื่องการเล่นสัมผัสอักษร การเดินทางของพระลอมีลีลาแบบนิราศ เช่นเดียวกับ การเดินทางของพระมหาอุปราชในลิลิตตะเลงพ่าย มีลีลาเป็นนิราศเช่นเดียวกับลิลิตพระลอ และ โคลงบางบทถือเป็นครูของวรรณคดียุคหลัง เช่น บุญเจ้าจอมโลกเลี้ยง โลกา (ลิลิตพระลอ) บุญ เจ้าจอมภพพื้น แผ่นสยาม (ลิลิตตะเลงพ่าย) เล็บมือนางนี้ดั่ง เล็บนาง เรียมนา (ลิลิตพระลอ) เล็บมือนางนี้หนึ่ง นขา นางฤา (ลิลิตตะเลงพ่าย) ๔.๒ การสร้างสรรค์วรรณคดีอื่นและสิ่งบันเทิงใจด้านต่าง ๆ ลิลิตพระลอทำให้มีวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ เช่น บทละครเรื่องพระลอนรลักษณ์ ของสมเด็จพระวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ ในรัชกาลที่ ๓, บทละครเรื่องพระลอ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปพันธ์พงศ์ สำนวนหนึ่ง และ บทละครเรื่องพระลอ ของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) อีกสำนวนหนึ่ง ใน สมัยรัชกาลที่ ๕ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ทรงแปลพระลอเป็นบทละครภาษา อังกฤษ ชื่อ The Magic Lotus ส่วนทางภาคเหนือมีโคลงพระลอสอนโลก และซอเรื่องพระลอ (คำว่า “ซอ” เป็นบทลำนำของไทยภาคเหนือ) นอกจากนั้นยังมีภาพเขียน บทเพลง ภาพยนตร์ เกี่ยวกับเรื่องพระลออีกด้วย
บรรณานุกรม ๑๖ จอมมารบู. (2559). ลิลิตพระลอ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.sts.ac.th/0131/2016/09/22/%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0% B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%A D/. (15 ธันวาคม 2565). นางพันทิพย์ โขมะนาม. (2555). เรื่องวรรณคดีไทยน่าอ่าน เรื่องลิลิต. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://thaistudym5.wordpress.com/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8 %A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%A3% E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C- 2/%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95/. (15 ธันวาคม 2565). ลิลิตพระลอ. (2561). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :https://human.yru.ac.th/thai_ba/page/250/%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A5% E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B 8%AD.html. (15 ธันวาคม 2565). ลิลิตพระลอ. (2556). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :https://guru.sanook.com/7432/. (15 ธันวาคม 2565). ลิลิตพระลอ. (2560). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :http://wannacadeethai.blogspot.com/2017/10/blog-post_51.html?m=1. (15 ธันวาคม 2565).
Search
Read the Text Version
- 1 - 22
Pages: