Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 245129-ไฟล์บทความ-888590-2-10-20210611

245129-ไฟล์บทความ-888590-2-10-20210611

Published by nuttiyaporn.pat, 2022-05-14 03:19:06

Description: 245129-ไฟล์บทความ-888590-2-10-20210611

Search

Read the Text Version

ปที ่ี 11 ฉบบั ท่ี 1 มกราคม – เมษายน 2564 การพฒั นาความสามารถในการคดิ แกป้ ญั หาของเด็กปฐมวัย ดว้ ยการจดั กิจกรรมศลิ ปะสรา้ งสรรค์แบบรว่ มมอื จากนิทาน The Development of Problem Solving Ability of the Early Childhood Student by Cooperative Art Activities Feature though the Story Telling จงจิต เค้าสมิ *1 วิราณี สุขทรัพย์ *2 อัญชลี ชยั รัชตกลุ *3 เพ็ญจนั ทร์ บุพศริ ิ*4 สรุ ิยาภรณ์ ทพิ มงคล*5 Jongjit Kaosim*1 wiranee suksup *2 Anchalee Chairattakal*3 Penchan Boopasiri*4 Suriyaporn Thipmongkol*5 คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ อเี มล: [email protected] วันท่ีรับบทความ (Received) 28 สิงหาคม 2563 วันที่ได้รับบทความฉบับแก้ไข (Revised) 29 ธันวาคม 2563 วันที่ตอบรับบทความ (Accepted) 14 มกราคม 2564 บทคัดยอ่ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการทากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบร่วมมือจากนิทาน 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิด แก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบร่วมมือจากนิทาน กลุ่มตัวอย่างท่ี ใช้ในการศึกษาครั้งน้ี เป็นเดก็ ปฐมวยั ชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ท่กี าลังศกึ ษาอยู่ในช้ันอนบุ าลปีที่ 3 ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา 2561 จานวน 42 คน ของโรงเรียนอนุบาลขอนแก่น สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย เพื่อนามาเป็นกลุ่มตัวอย่าง ในการดาเนินการจัด กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบร่วมมือจากนิทาน ผู้วิจัยดาเนินการทดลองด้วยตนเอง ใช้ระยะเวลา 12 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ 45 นาที รวมทั้งสิ้น 36 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์ร่วมมือจากนิทาน และแบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยเป็น แบบทดสอบสถานการณ์ปัญหาที่มีตัวเลือกเป็นภาพวาดการ์ตูน 3 ตัวเลือก ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีค่าความ เชื่อมั่นเท่ากับ 0.71 แบบแผนการวิจัยเป็น The One – Group Pretest – Posttest Design สถิติที่ใช้ใน การวเิ คราะห์ข้อมูล คือ t – test แบบ Dependent Samples ผลการวจิ ัยพบวา่ หลังการทดลองเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสรา้ งสรรค์แบบร่วมมือจากนทิ าน มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสูงกวา่ ก่อน การทดลองอยา่ งมีนัยสาคญั ทางสถิติทร่ี ะดับ .01 และหลังการทดลอง เด็กปฐมวัยท่ีได้รับการจัดกจิ กรรมศิลปะ สรา้ งสรรคแ์ บบรว่ มมือจากนทิ านมคี ่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการคิดแก้ปญั หาเหมาะสมมากขึ้น คาสาคัญ: ศลิ ปะสร้างสรรคแ์ บบรว่ มมอื , ความสามารถในการคดิ แก้ปัญหา วารสารวิชาการและวจิ ัย มหาวิทยาลยั ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื 1

ปที ่ี 11 ฉบบั ที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564 ABSTRACT The purpose of this research was to study the effect of creative art activities on young children’s problem solving ability. The subjects consisted of 42 preschool children: 5 – 6 years old boys and girls who were in Kindergarten 3 during second semester in 2018 academic year at Anubankhonkaen School. The sample group was taken from eight classrooms by simple random sampling. The 42 kindergarteners experienced creative art activities feature through story telling for 12 consecutive weeks, 3 days a week, and each activity lasted around 45 minutes. The research instruments were36 lesson plans for creative art activities feature through story telling and the test for problem - solving abilities by a problem scenario quiz with 3 choices of cartoons. The test was created by the researcher and had been proved with reliability at 0.71. One Group Pretest – Posttest quasi - experimental design was adopted for this research and the data were analyzed by t – test for dependent samples.The result showed that, after the experiment, the experimental group had higher mean score of the problem - solving abilities than before the experiment with statistical significance at .01 level. Keywords: Cooperative Art Activities, Problem Solving Ability บทนา “ทรัพยากรมนุษย์นับเป็นทรัพยากรที่สาคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศ ประเทศที่คนในชาติมีความรู้ ประเทศนั้นย่อมมีความเจริญรุ่งเรือง ดังนั้นประเทศต่างๆ จึงให้ความสาคัญต่อการพัฒนาคนในชาติของตน โดยการให้ความสาคัญต่อการให้การศึกษาแก่คนในชาติ เพราะการศึกษาคือการพัฒนาให้ คนมีความรู้ท่ี สามารถสร้างตนให้มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูงขึ้น สร้างชาติให้อยู่มีความสุขและรุ่งเรืองได้”...(สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี, 2542. อ้างอิงในกุลยา ตันติพลาชีวะ, 2550) การศึกษาปฐมวัย เป็นสว่ นหนึ่งของระบบการจดั การศึกษาของประเทศไทยที่มีความสาคญั ย่ิงต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็น การจดั การศกึ ษาท่ีมุ่งเน้นให้เดก็ มพี ัฒนาการทัง้ ด้านรา่ งกาย สังคม อารมณ์ จติ ใจ และสติปัญญา ทั้งนี้เนือ่ งจาก เด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นของพัฒนาการทุกๆ ด้านของชีวิตมนุษย์ เป็นวัยที่พัฒนาการทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา กาลังเจริญเติบโตและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การส่งเสริมพัฒนาการและสร้าง ประสบการณ์ให้กบั เด็กดว้ ยวิธีการท่ีถูกต้องตามหลักวชิ าการ จงึ เป็นการส่งเสริมใหเ้ ด็กได้พัฒนาความสามารถ ในดา้ นต่างๆ ไดเ้ ตม็ ศกั ยภาพ อนั เป็นรากฐานทีส่ าคัญของการเรยี นรู้ และการพฒั นาตลอดชวี ิต ส่งผลให้เติบโต เปน็ เด็กฉลาดและประสบความสาเรจ็ ในชวี ติ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหานับเปน็ ความสามารถที่สาคัญของมนุษย์ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันท่ี มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของข้อมูลข่าวสารและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ ส่งผลใหส้ งั คมปจั จุบันมีความซับซ้อนมากขน้ึ และเต็มไปดว้ ยปัญหา บคุ คลที่มคี วามสามารถในการคิดแก้ปัญหา วารสารวชิ าการและวิจัย มหาวิทยาลยั ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื 2

ปีที่ 11 ฉบบั ที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564 ได้ดี จะสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จากการศึกษาของ บลูม พบว่า ในช่วง 4 ปีแรกของ ชีวติ เดก็ จะมกี ารพฒั นาทางสติปัญญาถงึ รอ้ ยละ 50 และจะเพม่ิ เปน็ ร้อยละ 80 เม่ือเดก็ อายไุ ด้ 8 ปี ส่วนที่เหลอื อีกร้อยละ 20 จะพัฒนาในช่วงที่เด็กมีอายุ 8 ปีขึ้นไป (Bloom. 1964. อ้างอิงใน ดวงพร ผกามาศ. 2554) ซึ่ง สอดคล้องกับการศึกษาของ UNESCO ที่พบว่า เด็กปฐมวัยนี้มีพัฒนาการด้านสติปัญญาอย่างรวดเร็ว สมอง ของเด็กเติบโต ถึงร้อยละ 80 ของสมองผู้ใหญ่ (UNESCO, 1983) ดังนั้นการส่งเสริมความสามารถในการคิด แก้ปัญหาจึงเป็นสิ่งจาเป็นและสาคัญอย่างยิ่งที่ควรเริ่มตั้งแตร่ ะดับปฐมวัย ซึ่งการจัดประสบการณ์สาหรับเดก็ ปฐมวยั ทส่ี ง่ เสริมพัฒนาการทางสติปญั ญาด้านความสามารถในการคิดแก้ปญั หานน้ั ครคู วรให้ความสาคัญและ คานึงถึงธรรมชาติของเด็ก ทั้งในด้านพัฒนาการเรียนรู้ และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยจัดกิจกรรมที่ หลากหลายผา่ นรูปแบบกิจกรรมที่เด็กไดล้ งมือกระทาและปฏบิ ัติจริงด้วยตนเอง กิจกรรมควรมีลักษณะไม่เป็น ทางการ เนน้ ท่ีการเปิดโอกาสให้เด็กไดส้ ารวจ ค้นคว้า ทดลอง สงั เกต ตดั สินใจแกป้ ัญหาและคิดอย่างมีเหตุผล (บุญเลิศ สัมมณากุล และคณะ. 2553) นิทานก็เป็นสื่อสาคัญที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย เพราะเด็ก ปฐมวัยเป็นวัยที่ชอบฟังนิทานเป็นชีวิตจิตใจ นิทานคือโลกของเด็ก เมื่อเด็กฟังนิทาน นอกจากจะได้รับความ สนุกสนาน เพลดิ เพลนิ แล้ว เดก็ ยังสามารถสร้างจนิ ตนาการเรื่องราวของนิทานจากตัวละครหรือจากภาพท่ีเห็น ได้เป็นอย่างดี การเล่านิทานให้เด็กฟังจึงมีความสาคัญและเป็นประโยชน์ต่อเด็กอย่างยิ่ง นอกจากนี้กิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ก็เป็นกิจกรรมสาคัญที่มีผลโดยตรงต่อการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย เพราะเป็น กจิ กรรมที่เดก็ ไดม้ โี อกาสคิดวางแผน ออกแบบ ตดั สนิ ใจเลอื กและสรา้ งผลงานศิลปะจากส่ือ วสั ดุ ทีห่ ลากหลาย ตามความต้องการของเด็ก ผลของการทางานศิลปะจะช่วยขยายการรับรู้ของประสาทสัมผัส ศิลปะช่วยพัฒนา สติปัญญาในด้านการรับรู้ ความเข้าใจต่อโลกในด้านการสร้างความหมายและสัญลักษณ์ตา่ งๆ การสื่อสารด้วย ภาษาภาพ การพัฒนาภาษา การฝึกฝนการคิดแบบหยั่งรู้ และกิจกรรมทางศิลปะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของ เด็กผ่านการลงมือกระทา ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ในการสารวจ ค้นคว้า ทดลอง สร้างสรรค์ แก้ปัญหากับงาน และวัสดุต่างๆ (วาทินี บรรจง. 2557) การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมกลุ่มย่อย เพื่อ ส่งเสริมให้ผู้เรียนซึ่งมีความแตกต่างกัน ได้มีส่วนร่วมกันอย่างแท้จริงในการร่วมกันคิด การแลกเปลี่ยน ความคดิ เหน็ และชว่ ยเหลอื กันเพื่อใหเ้ กดิ การเรียนรูร้ ว่ มกนั (วีรวิชญ์ เลศิ รัตน์ธารงกุล. 2563) การจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์แบบร่วมมือเป็นวิธีการจัดกิจกรรมรูปแบบหน่ึงที่จัดให้เด็กทากิจกรรมร่วมกันในกลุ่ม เพื่อให้ เด็กได้เรียนรู้การทางานร่วมกับผู้อื่น เปิดโอกาสให้เด็กได้คิด ออกแบบ วางแผน ได้เผชิญปัญหา และตัดสินใจ แก้ปญั หารว่ มกับเพื่อน เพือ่ จะทางานใหส้ าเรจ็ ดังน้ันการใชก้ ิจกรรมศิลปะสร้างสรรคแ์ บบร่วมมือจากนิทานจึง เปน็ แนวทางทเ่ี หมาะสมอยา่ งยงิ่ ในการพัฒนาความสามารถในการคดิ แกป้ ัญหาของเด็กปฐมวยั วตั ถุประสงคข์ องการวิจยั 1. เพอ่ื ศึกษาความสามารถในการคดิ แก้ปญั หาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังไดร้ ับการจัดกิจกรรม ศิลปะสรา้ งสรรค์แบบร่วมมอื จากนิทาน 2. เพ่ือศึกษาความสามารถในการคดิ แก้ปญั หาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทากจิ กรรมศิลปะ สรา้ งสรรคแ์ บบร่วมมือจากนิทาน วารสารวชิ าการและวิจยั มหาวทิ ยาลัยภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ 3

ปที ี่ 11 ฉบบั ท่ี 1 มกราคม – เมษายน 2564 สมติฐานการวิจัย เดก็ ปฐมวัยท่ีได้รับการจดั กจิ กรรมศลิ ปะสร้างสรรค์แบบรว่ มมอื จากนิทาน หลงั การทดลองมีความ สามารถในการคิดแก้ปัญหาสูงขน้ึ กวา่ ก่อนได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบร่วมมือจากนิทาน แนวคิด ทฤษฎี และงานวจิ ัยท่เี กย่ี วขอ้ ง การวิจัยครั้งนี้ ได้ทาการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับการวิจัย ดังนี้ จิราภรณ์ แจ่มใส (2559) ศึกษาเรื่อง ผลของการใช้กจิ กรรมศิลปะแบบรว่ มมือประกอบการเลา่ นทิ าน ในการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ ทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย ก่อน การจัดกิจกรรม และระหว่างการจัดกิจกรรมศิลปะแบบร่วมมือประกอบการเล่านิทานแตกต่างกันอย่างมี นัยสาคญั ทางสถิติท่ีระดับ .01 และคะแนนทักษะทางสงั คมโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยท่ีได้รับการจัด กิจกรรมศิลปะแบบร่วมมือประกอบการเล่านิทานมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 วรารัตน์ ธุมาลา (2553) ศึกษาเรื่อง ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์มี ความสามารถในการคิดแกป้ ญั หาเหมาะสมมากขึ้น อย่างมนี ัยสาคัญทางสถติ ิทรี่ ะดับ .01 ชนาธิป บุปผามาศ (2553) ศึกษาเรื่อง การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ เลา่ นทิ านอสี ปประกอบคาถาม ผลการวิจัยสรุปไดว้ ่า หลงั การทดลองเด็กปฐมวยั ท่ีไดร้ บั การจัดกิจกรรมการเล่า นิทานอีสปประกอบคาถามมีคะแนนเฉลี่ยการคิดเชิงเหตุผลสงู กว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 วีรวิชญ์ เลศิ รตั น์ธารงกุล (2563) ศกึ ษาเรื่อง การพฒั นาบทเรียนบนเว็บทีใ่ ช้วธิ ีการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิชากฎหมายเทคโนโลยีสาระสนเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ ผลการวจิ ัยพบวา่ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผูเ้ รียนท่ีเรยี น ด้วยบทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือวิชากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิด อย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้เรียนมีทักษะการคิด อย่างมีวิจารณญาณตามกรอบแนวคิดของ เอนนิส (Ennis, 1990) ในภาพรวมเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทาง สถิตทิ รี่ ะดบั .05 จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้น พบว่า การจัดประสบการณ์กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ และ กิจกรรมการเล่านิทาน ทาให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถและทักษะการคิดด้านต่างๆ สูงขึ้น และสามารถ ประยุกต์ใช้ได้กับหลายๆ กิจกรรมที่ใช้เป็นกิจกรรมหลักสาหรับพัฒนาเด็กปฐมวัย จากเอกสารและงานวิจัยท่ี เก่ียวข้องดังกลา่ วให้ผลสอดคล้องกนั คอื กจิ กรรมศิลปะสรา้ งสรรค์ และกจิ กรรมนทิ านมผี ลต่อพฒั นาทักษะการ วารสารวิชาการและวิจยั มหาวิทยาลยั ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ 4

ปที ี่ 11 ฉบบั ท่ี 1 มกราคม – เมษายน 2564 คิดของเด็กปฐมวัยให้พัฒนาสูงขึ้น ซึ่งการคิดแก้ปัญหาก็เป็นรูปแบบหนึ่งของทักษะการคิด ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึง สนใจท่จี ะนาการจดั กิจกรรมศลิ ปะสรา้ งสรรคแ์ บบรว่ มมอื จากนิทานมาใชใ้ นการศึกษาวิจยั ในคร้งั น้ี วธิ ีดาเนนิ การวจิ ยั 1. ขอบเขตการวิจัย 1.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ได้แก่ นักเรียนชน้ั อนุบาลปีท่ี อายุ 5-6 ปี จานวน 8 หอ้ งเรยี น นกั เรยี นท้งั หมด 360 คน ทก่ี าลงั ศึกษาอยใู่ นช้ันอนบุ าลปีที่ 3 ภาคเรียนท่ี 2 ปกี ารศกึ ษา 2561 ของโรงเรียนอนุบาลขอนแกน่ สงั กัดสานกั งานเขตพื้นทีก่ ารศึกษาประถมศึกษาขอนแกน่ เขต 1 กลมุ่ ตวั อยา่ ง ได้แก่ นักเรยี นชั้นอนบุ าลปที ี่ 3/1 โรงเรยี นอนุบาลขอนแก่น ทศ่ี ึกษาในภาค เรียนท่ี 2 ปกี ารศึกษา 2561 จานวน 42 คน เลือกกลุ่มตวั อยา่ งโดยการสุ่มอย่างงา่ ย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธกี ารจับสลากมา 1 ห้องเรยี น จากนักเรยี นจานวน 8 หอ้ งเรยี น 1.2 ตัวแปรทีศ่ กึ ษา ตัวแปรอสิ ระ ได้แก่ การจดั กจิ กรรมศลิ ปะสรา้ งสรรคแ์ บบรว่ มมือจากนทิ าน ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถในการคิดแกป้ ัญหา 1.3 ระยะเวลา การวจิ ยั ครงั้ น้ีใชเ้ วลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ สปั ดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 45 นาที ดาเนินการทดลอง ในเดือน ธันวาคม 2561 - มีนาคม 2562 ในภาคเรยี นที่ 2 ปกี ารศึกษา 2561 โดยจัด กจิ กรรมในวัน จันทร์ อังคาร พธุ ในชว่ งกจิ กรรมศิลปะสร้างสรรค์ การจัดกจิ กรรมในแต่ละวนั ชว่ งเวลาจะ ยืดหย่นุ ตามความสนใจของเด็ก 2. เครื่องมือท่ใี ชใ้ นการวิจยั เครอื่ งมือท่ีใช้ในการวิจยั ประกอบดว้ ย 2.1 แผนการจัดกจิ กรรมศลิ ปะสรา้ งสรรค์แบบร่วมมือจากนิทานเพื่อสง่ เสรมิ ความสามารถ ในการคดิ แก้ปัญหาของเดก็ ปฐมวัย จานวน 36 แผน ใชเ้ วลาจัดกิจกรรม 12 สปั ดาห์ๆ ละ 3 วนั ๆ ละ 45 นาที ซ่งึ นิทานสาหรบั ท่ีนามาใช้ในการจดั กจิ กรรมในการวิจัยครง้ั นี้ มเี กณฑ์ในการเลอื กนิทาน ดังน้ี - เป็นเรื่องง่ายๆ มีความสมบูรณ์ในตัว เน้นเหตุการณ์เดียวที่จะทาให้เด็กพอจะ คาดคะเนเรื่องได้ สอดแทรกสถานการณ์ปัญหาหรือประเด็นที่ชวนให้เด็กสงสัยว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป ทาให้ เร่ืองต่นื เต้น - เป็นเรื่องทีเ่ ดก็ มีความสนใจ อาจเป็นเรือ่ งเกย่ี วกับชีวติ เดก็ ๆ และสัตว์ตา่ งๆ - มบี ทสนทนามากๆ เพราะเด็กยังไมส่ ามารถฟังเรอ่ื งเปน็ ความเรียงได้ดแี ละภาษา ท่ีใช้ต้องสละสลวยเหมาะสมกับวัยของเดก็ - มีการใช้คา วลี หรอื ประโยค ซา้ ๆ เพ่อื เด็กจะจาไดง้ า่ ยและรวดเร็ว - เปน็ เรอ่ื งทีเ่ กดิ ขนึ้ ภายในครอบครัวและเก่ียวกนั กับชีวติ ประจาวนั ของเดก็ - เนื้อเร่ืองนา่ พึงพอใจ เม่อื เล่าจบเดก็ มีความสขุ - ในเนื้อเรอ่ื งควรมีตวั ละครทเี่ ดก็ สามารถสมมตุ ิเป็นตัวเองได้ และชอื่ ของตวั ละคร วารสารวชิ าการและวิจัย มหาวทิ ยาลยั ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื 5

ปีท่ี 11 ฉบบั ท่ี 1 มกราคม – เมษายน 2564 เป็นภาษาไทย เปน็ ช่อื ง่ายๆ ท่ีเดก็ เข้าใจความหมายได้ - เนือ้ เรอ่ื งควรสอดแทรกคตธิ รรม สอนตวั ละครใหม้ ีมารยาท ให้เปน็ เด็กดี อบรม เด็กใหร้ วู้ ่าทาดไี ดด้ ี ทาช่ัวได้ชว่ั โดยในแตล่ ะแผนการจัดกิจกรรมมีข้นั ตอนการจัดกจิ กรรม ดงั น้ี ขนั้ ที่ 1 สร้างความสนใจและกาหนดปญั หาจากนทิ าน ดงั นี้ 1.1 ครูเล่านทิ านประกอบภาพใหเ้ ดก็ ฟัง 1.2 เดก็ และครูร่วมกนั สนทนาเกีย่ วกับเนื้อเรอ่ื ง/เหตกุ ารณ์และตัวละครในนิทาน 1.3 ครแู ละเด็กร่วมกันเสนอสถานการณ์ปัญหา/คาถามทีอ่ ยากรูเ้ พิ่มเติมเกี่ยวกบั เหตุการณ์/เร่ืองราว หรือตัวละครในนิทาน ขน้ั ที่ 2 ออกแบบร่างผลงานศิลปะสรา้ งสรรค์ ดงั นี้ 2.1 ครูแนะนากิจกรรมศลิ ปะ วสั ดอุ ุปกรณท์ ีเ่ ตรยี มไว้ วันละ 4 กิจกรรม 2.2 แนะนา/ทบทวนขอ้ ตกลงและวิธกี ารทากิจกรรมศิลปะสร้างสรรคแ์ บบร่วมมือให้ เด็กเขา้ ใจ 2.3 แบ่งเดก็ ออกเปน็ กลุ่มๆ ละ 5-6 คน แตล่ ะกลุ่มรว่ มกันทากิจกรรม ดงั นี้ - รว่ มกันรา่ งแบบของผลงานศิลปะท่จี ะสร้างขนึ้ ทส่ี อดคล้องกับคาถาม/ปัญหาที่ กาหนดไว้ - รว่ มกนั ตดั สนิ ใจเลือกอุปกรณ์กจิ กรรมศิลปะสร้างสรรค์ ทจี่ ะใช้สร้างผลงานของ กลมุ่ ตามรา่ งทอี่ อกแบบไว้ ขน้ั ท่ี 3 รว่ มมอื กนั สรา้ งผลงานและคิดแกป้ ญั หา ดงั นี้ - รว่ มมอื กนั สรา้ งผลงานศลิ ปะจากวัสดุอปุ กรณ์ท่ีเลอื ก - ระหวา่ งทากจิ กรรมเมื่อพบปัญหา เชน่ วสั ดุอุปกรณ์ไมเ่ พียงพอ หรอื ผลงานท่ี สร้างข้นึ ไม่เป็นไปตามแบบท่ีร่างไว้ หรอื ปัญหาอ่ืนๆ ให้สมาชกิ กลมุ่ ร่วมกนั คิดแก้ปญั หาน้ันๆ ขน้ั ที่ 4 สะทอ้ นความคดิ และความรู้สกึ เกย่ี วกับผลงาน ดังน้ี - นาเสนอผลงานของกลุ่ม โดยบอกช่ือผลงาน เป็นไปตามแบบทีร่ า่ งไวห้ รอื ไม่ ถา้ ไมเ่ ป็นตามแบบรา่ ง กลุ่มมวี ิธีแก้ปัญหาอย่างไร ระหวา่ งทางานรว่ มกนั พบปัญหาอะไรและแกป้ ัญหาอย่างไร (ตามความสามารถของเดก็ และครคู อยชว่ ยเหลอื แนะนา) และบอกความร้สู ึกท่มี ตี ่อผลงานของกลุม่ เชน่ พอใจ ดีใจ อยากแก้ไขปรับปรุง เพม่ิ เติมจุดใดจุดหน่ึง อย่างไร เป็นต้น - นาผลงานไปจดั แสดงทป่ี ้ายนเิ ทศของห้องเรยี น 2.2 แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย เป็นแบบทดสอบที่ ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีลักษณะเป็นทดสอบสถานการณ์ปัญหาที่มีตัวเลือกเป็นภาพวาดการ์ตูน 3 ตัวเลือก จานวน ทั้งสิ้น 20 ข้อ ใช้วัดความ สามารถในการคิดแก้ปัญหา 4 ด้านๆ ละ 5 ข้อ ได้แก่ ปัญหาของตนเองที่ต้องแก้ไข ทนั ที ปัญหาของตนเองที่ไมต่ อ้ งแก้ไขทนั ที ปญั หาของตนเองทีเ่ กย่ี วขอ้ งกบั ผู้อน่ื และ ปัญหาของผอู้ ื่นแตเ่ ด็กอยู่ ในเหตุการณ์ โดยมีเกณฑ์การตรวจให้คะแนน คือ 1 คะแนน หมายถึง แก้ปัญหาไม่ได้ แสดงความรู้สึกอึดอัด ตอบแบบเดาสุ่ม ร้องไห้ ตอบว่าไม่รู้หรือไม่ยอมพูด 2 คะแนน หมายถึง แก้ปัญหาได้ด้วยตนเองหรือผู้อื่นช่วย วารสารวิชาการและวจิ ยั มหาวิทยาลัยภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื 6

ปที ่ี 11 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564 แต่วิธีการแก้ปัญหานั้นไม่เหมาะสม อาจทา ให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายต่อตนเองและผู้อื่น 3 คะแนน หมายถงึ แก้ปัญหาได้ดว้ ยตนเอง หรอื ผอู้ ่ืนช่วยอย่างเหมาะสมและไม่เกดิ อันตรายหรือความเสียหายต่อตนเอง และผู้อืน่ ไดค้ า่ ดชั นีความสอดคล้องระหว่าง 0.71-1.00 3. วิธดี าเนินการและเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล 3.1 การดาเนนิ การทดลอง ผูว้ ิจยั ดาเนนิ การทดลองกับกล่มุ ตวั อยา่ ง คือ นักเรียนชัน้ อนุบาลปที ี่ 3/1 โดยการส่มุ ตัวอยา่ งแบบสมุ่ อยา่ งง่าย จานวน 42 คน ดงั น้ี 1) ผ้วู ิจยั และผชู้ ว่ ยผ้วู จิ ัยดาเนนิ การทดสอบก่อนเรียน (Pretest) นักเรยี นกลุ่มตวั อยา่ ง ดว้ ย บททดสอบวดั ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 2) ดาเนินการจดั กจิ กรรมตามแผนการจัดกจิ กรรมศิลปะสร้างสรรคแ์ บบร่วมมือจากนิทาน เพอ่ื ส่งเสริมความสามารถในการคดิ แกป้ ัญหาของเด็กปฐมวยั เปน็ เวลา 12 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน ในวันจนั ทร์ องั คาร พุธ วนั ละ 45 นาที 3) ผ้วู ิจยั และผชู้ ว่ ยผูว้ ิจยั ดาเนนิ การทดสอบหลงั เรียน (Posttest) นกั เรยี นกลมุ่ ตัวอย่าง ด้วย บททดสอบวัดความสามารถในการคดิ แกป้ ญั หา 3.2 รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน และจากแบบบันทึกพฤติกรรม ความสามารถ ในการคดิ แก้ปญั หา ของนักเรยี นกลมุ่ ตัวอยา่ ง เพอื่ นาผลทไ่ี ดไ้ ปวเิ คราะห์ข้อมลู ตอ่ ไป 4. การวิเคราะหแ์ ละสถิติทใี่ ชใ้ นการวเิ คราะห์ขอ้ มลู 4.1 สถติ ทิ ีใ่ ช้ในการวิเคราะห์ขอ้ มูล การวิจัยครั้งนี้ได้ใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน 4.2 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของกลุ่มตัวอย่าง ก่อนและหลัง ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบร่วมมือจากนิทาน โดยนาค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการคิด แก้ปัญหามาเปรียบเทียบ ทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent sample t-test) โดย ใชก้ ารคานวณในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลการวจิ ัย ผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการคดิ แกป้ ญั หาของเด็กปฐมวัยโดยใชก้ ารจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์แบบรว่ มมือจากนิทาน สรปุ ได้ ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลัง ไดร้ ับการจดั กจิ กรรมศิลปะสรา้ งสรรคแ์ บบร่วมมือจากนทิ าน ปรากฏดังตาราง 1 วารสารวชิ าการและวิจัย มหาวทิ ยาลยั ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ 7

ปีที่ 11 ฉบบั ท่ี 1 มกราคม – เมษายน 2564 ตาราง 1 เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแกป้ ัญหาของเด็กปฐมวัยกลมุ่ ตัวอย่าง ก่อนและหลงั ได้รบั การจดั กิจกรรมศิลปะสรา้ งสรรค์แบบร่วมมือจากนิทาน การทดสอบ n X ̅ S.D t P ** 2.67** .000 ก่อนการทดลอง (pretest) 42 16.40 7.69 หลังการทดลอง (posttest) 42 35.50 3.39 จากตาราง 1 พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวยั หลังจากท่ไี ด้รับ การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบร่วมมือจากนิทาน สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติท่ี ระดับ .01 โดยหลัง การทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เท่ากับ 35.50 ก่อนการ ทดลองมีค่าเฉล่ียเทา่ กบั 16.40 2. ผลการวิเคราะหร์ ะดบั ความสามารถในการคิดแก้ปญั หาของเด็กปฐมวยั ก่อนและหลงั ได้รับการจดั กจิ กรรมศิลปะสรา้ งสรรค์แบบรว่ มมอื จากนิทาน จาแนกเป็นรายสถานการณป์ ัญหา ตาราง 2 ระดับความสามารถในการคิดแก้ปญั หาของเดก็ ปฐมวยั กอ่ นและหลังการทากิจกรรมศลิ ปะ สร้างสรรคแ์ บบร่วมมือจากนิทาน จาแนกเป็นรายสถานการณ์ปัญหา กอ่ นการทดลอง หลงั การทดลอง สถานการณ์ปัญหา X S.D ระดบั X S.D ระดับ 1. ขณะที่หนกู าลังเล่นกบั เพ่ือนทโ่ี รงเรยี นเกดิ ฝน ความ ความ ตกหนกั หนจู ะทาอย่างไร 2. ขณะทีห่ นูกาลังนงั่ ฟังครูเล่านิทาน เหมาะสม เหมาะสม หนรู ูส้ กึ ปวดฟันมาก หนูจะทาอยา่ งไร 3. ถา้ หนูอุจจาระราดกางเกง หนูจะทาอยา่ งไร 1.21 0.47 ปานกลาง 1.98 0.15 มาก 4. ถา้ หนรู ูส้ กึ หิวขา้ วมาก แต่แมค่ รวั เก็บข้าวไปแล้ว หนจู ะทาอยา่ งไร น้อย 0.93 0.17 1.79 0.42 มาก นอ้ ย 0.69 0.72 1.46 0.51 ปานกลาง น้อย 0.76 0.55 1.86 0.35 มาก วารสารวิชาการและวจิ ัย มหาวิทยาลัยภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื 8

ปที ี่ 11 ฉบบั ที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564 ตาราง 2 ระดับความสามารถในการคิดแก้ปญั หาของเด็กปฐมวัยกอ่ นและหลังการทากจิ กรรมศิลปะ สร้างสรรค์แบบรว่ มมือจากนิทาน จาแนกเป็นรายสถานการณ์ปัญหา (ต่อ) ก่อนการทดลอง หลงั การทดลอง X S.D ระดับ X S.D ระดับ สถานการณ์ปญั หา ความ ความ เหมาะสม เหมาะสม 5. ถ้าหนวู ิ่งเลน่ ท่สี นามเด็กเลน่ แล้วหกล้มข้อศอก 0.93 0.51 นอ้ ย 1.52 0.43 มาก เปน็ แผลและเลือดไหล หนจู ะทาอยา่ งไร 6. ถ้ารองเท้าของหนูทว่ี างอยหู่ นา้ ห้องเรียนหายไป 0.73 0.54 นอ้ ย 1.64 0.75 มาก หนจู ะทาอยา่ งไร 7. ขณะท่ีหนูออกไปเดนิ เล่นนอกบา้ นกบั เพอื่ น มี 1.22 0.53 ปานกลาง 1.79 0.42 มาก สุนัขวิง่ เข้ามาจะกดั หนจู ะทาอยา่ งไร 8. ตอนเย็นเพ่ือนๆกลบั บ้านหมดแลว้ 0.81 0.55 น้อย 1.76 0.37 มาก คุณแม่บอกว่าจะมารบั หนู แต่ยงั ไม่มารบั หนจู ะ ทาอย่างไร 9. ถ้าหนอู ยากกินแตงโม แตย่ ังไมไ่ ด้ผา่ แตงโมหนู 0.86 0.57 น้อย 1.83 0.26 มาก จะทาอยา่ งไร 10. ถา้ หนเู หน็ เพอื่ นกนิ ไอศกรีม หนอู ยากกนิ บ้าง 0.84 0.54 น้อย 1.90 0.30 มาก แต่ไมม่ ีเงนิ หนูจะทาอย่างไร 11. ขณะทกี่ าลังวาดภาพระบายสี หนแู ละเพอ่ื น 1.02 0.38 ปานกลาง 1.93 0.38 มาก ทาขวดสีน้าหก หนจู ะทาอยา่ งไร 12. หนูทาแกว้ นา้ บนโตะ๊ คณุ ครตู กแตก 0.67 0.55 น้อย 1.75 0.25 มาก หนูจะทาอยา่ งไร 13. ถ้าหนวู ่ิงชนเพือ่ น เพอื่ นหกล้ม 0.86 0.61 น้อย 1.19 0.30 มาก หนูจะทาอย่างไร วารสารวชิ าการและวิจยั มหาวิทยาลัยภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื 9

ปที ่ี 11 ฉบบั ท่ี 1 มกราคม – เมษายน 2564 ตาราง 2 ระดับความสามารถในการคิดแก้ปญั หาของเดก็ ปฐมวยั ก่อนและหลงั การทากิจกรรมศลิ ปะ สร้างสรรค์แบบร่วมมือจากนิทาน จาแนกเปน็ รายสถานการณ์ปัญหา (ต่อ) สถานการณ์ปญั หา ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 14. ถ้าหนูเลน่ เตะลูกบอลกบั เพอ่ื น X S.D ระดบั X S.D ระดบั แล้วลกู บอล กลง้ิ ไปทถี่ นน หนูจะทาอยา่ งไร 15. ถา้ หนูเตะลูกบอลไปถกู กระถางตน้ ไม้ของคน ความ ความ อื่นแตก หนจู ะทาอย่างไร เหมาะสม เหมาะสม 16. ถา้ หนูเหน็ เพอ่ื นขโมยขนมแมค่ ้า 0.69 0.62 นอ้ ย 1.74 0.52 มาก หนจู ะทาอยา่ งไร 17. ขณะท่ีเลน่ ทส่ี นามโรงเรยี น ถา้ หนูเห็นกระเปา๋ 0.71 0.60 นอ้ ย 1.93 0.26 มาก สตางคต์ กอยู่ ไม่รวู้ ่าใครเปน็ เจา้ ของ หนจู ะทา อยา่ งไร 0.86 0.61 น้อย 1.90 0.30 มาก 18. ถ้าหนเู ห็นเพื่อนท้งิ ขยะบนพืน้ หนจู ะทา อย่างไร 0.76 0.63 น้อย 1.81 0.48 มาก 19. ถ้าหนูเห็นลูกแมวกาลงั ตกน้า หนจู ะทา อยา่ งไร 0.90 0.66 นอ้ ย 1.95 0.22 มาก 20. ถา้ หนูเดนิ ไปพบกานา้ กาลังเดอื ดอยู่บนเตาไฟ หนูจะทาอยา่ งไร 0.43 0.55 นอ้ ย 1.76 0.43 มาก 0.64 0.62 น้อย 1.55 0.33 มาก ภาพรวม 0.82 0.55 นอ้ ย 1.70 0.36 มาก หมายเหตุ : คะแนน 0.00 - 1.00 หมายถึง ระดบั เหมาะสมน้อย คะแนน 1.01 - 1.50 หมายถึง ระดับเหมาะสมปานกลาง คะแนน 1.51 - 2.00 หมายถึง ระดับเหมาะสมมาก ตาราง 2 พบว่า ก่อนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบร่วมมือจากนิทาน เด็กปฐมวัยมี ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมน้อย และเมื่อพิจารณารายการการแก้ปัญหา แต่ละสถานการณ์ปัญหา พบว่า เดก็ ปฐมวัยทม่ี ีความสามารถในการคดิ แก้ปัญหาอยู่ในระดับเหมาะสมน้อย 17 รายการ เหมาะสมปานกลาง 3 รายการ รายการที่เด็กสามารถคิดแก้ปัญหาเป็นอันดับสุดท้าย คือ เห็นลูกแมว ตกน้า และ พบกาน้าเดือดอยู่บนเตาไฟ ตามลาดับ หลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เด็กปฐมวัยมี วารสารวชิ าการและวิจยั มหาวิทยาลยั ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ 10

ปีที่ 11 ฉบบั ที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564 ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอยู่ในระดับเหมาะสมมาก 19 รายการ เหมาะสมปานกลาง 1 รายการ คือ อุจจาระราดกางเกง อภิปรายผล และสรปุ ผลการวิจัย จากผลการวิจัยที่พบว่า หลังการทดลอง เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบ ร่วมมือจากนิทาน มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในระดับเหมาะสมมากขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติท่ี ระดับ .01 นั่นคือ ก่อนการทดลองเด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอยู่ในระดับเหมาะสมน้อย หลังไดร้ บั การจัดกจิ กรรมศลิ ปะสร้างสรรคแ์ บบร่วมมือจากนทิ าน พบวา่ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของ เด็กปฐมวัยโดยเฉลี่ยรวมและแยกตามรายสถานการณ์ปัญหา อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ซึ่งเป็นไปตาม สมมตฐิ านท่ตี ัง้ ไว้ อภปิ รายผลได้ดงั น้ี กจิ กรรมศลิ ปะสรา้ งสรรค์แบบร่วมมอื ทาให้เด็กปฐมวัยมคี วามสามารถใน การคิดแกป้ ัญหาอยู่ในระดบั เหมาะสมมากข้ึนน้นั เน่อื งจาก ลักษณะของกิจกรรมศลิ ปะสร้างสรรค์แบบร่วมมือ เป็นกิจกรรมที่เอื้อให้เด็กรู้จักการสังเกตเปรียบเทียบรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ จากวัสดุ อุปกรณ์ ได้สารวจ ค้นคว้า ทดลอง และเลือกทากิจกรรมศิลปะตามความสนใจ ตลอดจนได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจากสื่อ ศลิ ปะทม่ี ีลักษณะเป็นส่ือปลายเปิดและมีความหลากหลาย และมีโอกาสได้เผชิญกับปัญหาอย่างหลากหลาย ทั้ง ปัญหาที่เกิดขึ้นตามสภาพจริงทีเ่ กิดขึ้นระหว่างทากิจกรรมร่วมกัน ทั้งในเรื่องการใช้สื่อศิลปะ ผลงานศิลปะไม่ เป็นไปตามที่ออกแบบไว้ และสถานการณ์ปัญหาที่กาหนดขึ้นจากนิทาน จึงทาให้เด็กมีโอกาสได้พูดคุย แลกเปลี่ยนวิธีแก้ปัญหากับเพื่อนๆ เพื่อให้ได้ผลงานที่สาเร็จตามความต้องการ ซึ่งการให้เด็กมีโอกาสพบกับ ปัญหาและแก้ปัญหาบ่อยๆ เป็นสิ่งที่จะช่วยให้เด็กฝึกฝนตนเองในการแก้ปัญหานั้นๆ (May.1970; อ้างอิงใน เปลว ปุริสาร. 2543) ดังนั้นการให้เด็กทากิจกรรมศิลปะแบบร่วมมืออย่างต่อเนื่อง จึงเป็นการฝึกให้เด็กได้คิด แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ดังคากล่าวของ นภเนตร ธรรมบวร (2551) ที่กล่าวว่า ศิลปะถือเป็นการแก้ปัญหา เพราะกิจกรรมศิลปะเปิดโอกาสให้เด็กได้สารวจ และแก้ปัญหาผ่านผลงานต่างๆ ในการค้นหาคาตอบ เด็กจะ ค้นพบวิธีการใหม่ๆ ในการใช้อุปกรณ์ทางศิลปะ และสอดคล้องกับ วิรุณ ตั้งเจริญ (วิรุณ ตั้งเจริญ.2539 อา้ งอิงใน วรารตั น์ ธุมาลา. 2553) ทก่ี ล่าวว่า ขณะทเี่ ดก็ ทากจิ กรรมศิลปะเด็กจะจัดระบบความคิดอยา่ งรวดเร็ว และกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมที่ส่งเสรมิ ประสิทธภิ าพด้านการคิดผ่านกระบวนการทางศิลปะจาก ประสบการณ์ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุ อุปกรณ์ทั้งในด้านรูป กลิ่น เสียง ความรู้สึกจากการได้แยกแยะใน กระบวนการทากิจกรรมศิลปะนั้น เพราะเด็กได้วิเคราะห์ ทดลองสัมผัสด้วยตนเอง นอกจากนี้การทากิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์จากนิทานยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ ซึ่งจะเป็น แรงผลักดันในการสารวจ การเรียนรู้สิ่งต่างๆ และพัฒนาการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ผ่านสื่อวัสดุและ อุปกรณท์ ี่หลากหลาย (Isbell & Raines. 2007) และสถานการณข์ องปัญหาทีเ่ ดก็ สนใจ จะทาใหเ้ ด็กเกดิ แรงจูงใจ ทจี่ ะเรียนรู้หรือแก้ปัญหา ถ้าปญั หานัน้ เปน็ ปัญหาทตี่ ่อเน่ืองหรือคลา้ ยคลึงกับปัญหาท่ีเคยเรียนรู้มาแล้วก็จะทาให้ การแก้ปัญหานั้นง่ายขึ้น ดังนั้นการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบร่วมมือจากนิทาน จึงช่วยส่งเสริมให้เด็ก ปฐมวัยมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาได้เหมาะสมมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเด็กได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การแกป้ ญั หาของตนเองกับเพ่ือน จากการนาประสบการณ์ที่เคยไดร้ ับมาร่วมแลกเปลี่ยนเรยี นรู้ซึ่งกันและกัน จะ ทาให้เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ในที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับ ทฤษฎีทางสติปัญญาของ ไวก๊อตสกี้ (Vygotsky. 1976) วารสารวิชาการและวิจัย มหาวทิ ยาลยั ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื 11

ปีที่ 11 ฉบบั ท่ี 1 มกราคม – เมษายน 2564 ทก่ี ล่าวว่า เด็กจะเกดิ การเรียนรู้และพฒั นาการทางสติปัญญาและทัศนคติ เมอ่ื มปี ฏิสัมพันธ์และทางานร่วมกับ บุคคลอื่น เช่น ผู้ใหญ่ ครู เพื่อน บุคคลเหล่านี้จะให้ข้อมูลสนับสนุนให้เด็กเกิดขึ้นใน Zone of Proximal Development หมายถึง สภาวะที่เด็กเผชิญกับปัญหาที่ท้าทายแต่ไม่สามารถคิดแก้ปัญหาได้โดยลาพัง เมื่อ ได้รับการช่วยเหลือ แนะนาจากผู้ใหญ่หรือจากการทางานร่วมกับเพื่อนที่มีประสบการณ์มากกว่า เด็กจะ สามารถแกป้ ัญหานน้ั ได้และเกดิ การเรียนรู้ ข้อเสนอแนะ 1. ขอ้ เสนอในการนาไปใช้ 1.1 ครูควรเตรียมสื่ออุปกรณ์ให้หลากหลาย น่าสนใจ พร้อมแนะนาสื่ออุปกรณ์และวิธีใช้ท่ี ปลอดภัยใหแ้ กเ่ ด็ก 1.2 ครูควรศึกษาพัฒนาการทางศิลปะของเด็กปฐมวัย และควรมีความรู้ด้านทักษะที่จาเป็นใน การทางานศิลปะของเดก็ ปฐมวัย 1.3 ก่อนให้เดก็ รว่ มกนั ออกแบบสรา้ งผลงานศิลปะ ครูควรอธิบายประเดน็ ปญั หาใหเ้ ด็กเข้าในอยา่ ง ชดั เจน 1.4 ควรจดั บรรยากาศในการเรียนรใู้ หอ้ บอ่นุ เป็นมติ ร ปลอดภยั และมีอสิ ระในการเรียนรู้ 1.5 ครคู วรกระตนุ้ ใหเ้ ด็กคิดแกป้ ญั หาด้วยตนเอง และสร้างผลงานไดส้ าเร็จตามความต้องการ 1.6 ควรเปิดโอกาสให้เด็กตัดสินใจ ออกแบบ วางแผนการทากิจกรรมตามความสนใจอยา่ งอสิ ระ 2. ข้อเสนอแนะสาหรับการทาวิจยั 2.1 ควรนาการจดั กจิ กรรมการเรยี นร้แู บบรว่ มมือจากนิทานไปใช้ศึกษาเปรยี บเทียบผลการวจิ ยั กบั วธิ ีการจัดประสบการณ์รูปแบบอ่ืนๆ 2.2 ควรศกึ ษาตวั แปรตามผลการจัดกจิ กรรมศิลปะสรา้ งสรรค์แบบร่วมมอื จากนทิ าน เพ่ิมเตมิ เชน่ ทกั ษะการคดิ วเิ คราะห์ ทักษะการส่ือสาร ทกั ษะทางสงั คม 2.3 ควรนาการจัดกิจกรรมการเรยี นร้แู บบร่วมมอื จากนิทานไปใช้นักเรยี นในระดับอื่นๆ เชน่ ระดบั ประถมศึกษา มธั ยมศึกษา เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปญั หาของกลุ่มเป้าหมายในชว่ งชั้นน้นั ๆ เอกสารอ้างอิง กุลยา ตนั ติพลาชวี ะ. (2550). การใช้ศลิ ปะเปน็ สื่อการเรยี นรู้. วารสารการศกึ ษาปฐมวยั , 8(1), 31-38. จริ าภรณ์ แจ่มใส. (2559). ผลการใชก้ จิ กรรมศิลปะแบบร่วมมอื ประกอบการเล่านิทานในการพัฒนา ทักษะทางสงั คมของเด็กปฐมวยั .(วทิ ยานิพนธป์ ริญญาการศึกษามหาบณั ฑติ การศกึ ษาปฐมวยั บณั ฑิต วิทยาลยั , มหาวทิ ยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). ชนาธิป บุบผามาศ. (2553).การคดิ เชิงเหตผุ ลของเดก็ ปฐมวัยที่ไดร้ บั การจดั กจิ กรรมการเลา่ นทิ านอสี ป ประกอบคาํ ถาม. (วิทยานิพนธ์ปรญิ ญาศกึ ษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลยั ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมติ ร). วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื 12

ปีท่ี 11 ฉบับท่ี 1 มกราคม – เมษายน 2564 ดวงพร ผกามาศ. (2554). ความสามารถในการแกป้ ญั หาของเดก็ ปฐมวยั ทไี่ ดร้ ับการจัดกิจกรรม ประกอบอาหารประเภทขนมไทย. ปรญิ ญานพิ นธ์กศ.ม. (วทิ ยานพิ นธป์ รญิ ญาการศึกษามหาบัณฑิต การศกึ ษาปฐมวยั บัณฑติ วิทยาลยั , มหาวทิ ยาลัยศรนี ครนิ ทรวิโรฒ). นภเนตร ธรรมบวร. (2551). หลกั สตู รการศึกษาปฐมวยั . กรงุ เทพฯ: สานักพิมพแ์ หง่ จุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลัย. บุญเลศิ สัมมณากุล และคณะ. (2553). การพฒั นาความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวยั โดย ใชเ้ กมฝึกทักษะการคิด. วารสารมหาวทิ ยาลัยราชภัฎมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และ สงั คมศาสตร์),4(2), พฤษภาคม-สิงหาคม 2553. เปลว ปุริสาร. (2543). การศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปญั หาของเด็กปฐมวัยทไี่ ด้รับการจัด ประสบการณ์แบบโครงการ.(วทิ ยานิพนธ์ปรญิ ญาการศึกษามหาบัณฑิตการศึกษาปฐมวัยบัณฑติ วิทยาลยั , มหาวิทยาลยั ศรนี ครินทรวิโรฒ). วรารตั น์ธุมาลา. (2553). ความสามารถในการคิดแกป้ ญั หาของเด็กปฐมวยั ที่ได้รบั การจดั กจิ กรรม ศิลปสร้างสรรค์. (วิทยานิพนธ์ปรญิ ญาการศึกษามหาบณั ฑิตการศึกษาปฐมวยั บัณฑติ วิทยาลยั , มหาวทิ ยาลยั ศรีนครนิ ทรวิโรฒ). วาทินี บรรจง. (2557). ผลการจัดประสบการณ์ศลิ ปะโดยบูรณาการแนวคดิ เชิงออกแบบทีม่ ีตอ่ ความคดิ สรา้ งสรรค์ของเดก็ อนบุ าล.(วทิ ยานพิ นธ์ปริญญาครศุ าสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การศึกษาปฐมวยั , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). วรี วชิ ญ์ เลศิ รตั น์ธารงกุล. (2563). การพัฒนาบทเรยี นบนเว็บทใ่ี ชว้ ิธีการเรยี นแบบรว่ มมือ วชิ ากฎหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศที่สง่ เสริมทกั ษะการคดิ อย่างมวี จิ ารณญาณของนกั ศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื . วารสารวิชาการและวจิ ัย มหาวิทยาลยั ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(2), 22-40. Ennis, H R. (1990). The Extent to Which Critical Thinking Skill. Educational Researcher. 19(4), 13-16. Isbell, R.T. and Raines, S.C. (2007). Creativity and the Arts with Young Children. Canada: Thomson Delmar. Vygotsky, L.S. (1966). Play and Its Role in the Mental Development of the Child. Voprosy Psikhologii, Retrieved 6 June 2020, from http://yuoiea.com/uoiea/assets/files/pdfs/vygotsky-play.pdf. UNESCO. (1983). Study Group Meeting on New Forms of Pre - School Education NewDelhi. Bangkok: UNESCO Region office For Educational in Asia and The Pacific. วารสารวิชาการและวิจยั มหาวิทยาลยั ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื 13


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook