Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore มารยาททางสังคมไทย E-book

มารยาททางสังคมไทย E-book

Published by ยุทธนา บุญมาก, 2022-01-30 04:41:35

Description: มารยาททางสังคมไทย E-book

Search

Read the Text Version

มารยาททางสังคมไทย Thai social etiquette

สารบัญ หัวข้อ CONTENT หน้า 1 บทนำ 2-4 ความหมายของมารยาทไทยและประเภทของมารยาท 5-7 พลเมืองดีของสังคม 8-9 บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับการทำงาน 10-13 การแต่งกายที่หมาะสมกับรูปร่าง 14 อ้างอิง 15 สมาชิก

1 บทนำ มารยาททางสังคมไทย (Thai social etiquette ) มารยาทเป็นคุณลักษณะประจําตัวของบุคคล ได้แก่ การมี สัมมาคารวะ ความสุภาพ อ่อนน้อม ความมีวินัย และ พฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่นนักธุรกิจที่ดี นอกจากจะมีความสามารถในเชิงธุรกิจแล้ว ยังต้องรู้จัก รักษากิริยามารยาท และจะต้องรู้จักการสมาคมกับผู้อื่น จึงจะเป็นบุคคลที่มีเสน่ห์เพิ่มความสนใจ ให้กับผู้พบเห็นจึง นับได้ว่าเขาผู้นั้นเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสําเร็จ ในการดําเนินธุรกิจในชีวิตประจําวัน

2 มารยาทไทย มารยาท หมายถึงแนวทางในการปฏิบัติ หรือการแสดงวาจา ภาษา ท่าทาง และ พฤติกรรมต่างๆ ออกมาให้ปรากฏแก่ สายตาของผู้อื่นคนทั่วๆไปจะมีมารยาทดี มาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับการฝึกอบรม ของแต่ละครอบครัว บุคลิกภาพของ แต่ละคนจะบอกให้รู้ว่าคนคนนั้นมีความ สุภาพ อ่อนน้อมมีสัมมาคารวะ และมี ระเบียบวินัยเพียงใด

3 มารยาทแบ่งได้ 2 ประเภท มารยาทโดยทั่วไป การมีมารยาทเป็นเรื่องสําคัญของมนุษย์ที่อยู่ร่วมในสังคมเดียวกัน เป็นการแสดงความเคารพให้เกียรติกัน คนไทยปั จจุบันมักเรียกตนเอง ว่า เป็นคนยุคใหม่และชอบทําอะไรแบบง่ายๆถือเอาความสะดวกสบาย เป็นหลักพฤติกรรมที่แสดงออกมาในบางครั้งจึงกลายเป็นคนไร้ มารยาทไปโดยไม่ตั้งใจการให้เรียนรู้มารยาทในสังคมจึงยังเป็นสิ่ง สําคัญต่อเยาวชนไทยเป็นอย่างยิ่ง มารยาทตามกาลเทศะ 1. การแต่งกายให้เรียบร้อยการแต่งกายให้เรียบร้อยเหมาะสมกับเวลาและสถานที่ ถือว่าเป็นผู้มีวัฒนธรรมและจะได้รับความเกรงใจจากผู้พบเห็น 2. การสํารวมกิริยาท่าทางและคําพูดการอยู่ต่อหน้าผู้อื่นต้องสํารวมเรื่องการพูดไม่ พูดคําหยาบคาย ตลกคะนอง เอะอะแสดงกิริยาท่าทางให้สบเสงี่ยมเป็นการเคารพ สถานที่และรักษาบุคลิกของตนให้ดูดีในสายตาของคนอื่น 3. การรู้จักเกรงใจไม่ถือวิสาสะ 4. การให้เกียรติผู้อื่น 5. การกล่าวคําขอโทษ และขอบคุณ ควรใช้คําขอโทษ และขอบคุณให้ติดเป็นนิสัย แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม 6. การไม่พูดเพ้อเจ้อ หรือพูดสั่งพร่ำเพรื่อ พูดเพ้อเจ้อ 7. การทักทายด้วยรอยยิ้มและอัธยาศัยไมตรี 8. การระมัดระวังตัวและอ่อนน้อมถ่อมตน

4 มารยาททางธุรกิจที่ควรรู้ 1. มาก่อนเวลาหรือตรงเวลา ประเทศเราค่อนข้างชิล มีหยวนๆ กันได้บ้าง หรือบางทีก็อนุโลมกันได้ แต่ถ้าคุณทำธุรกิจแล้วนั้น จงอย่าเอานิสัยหยวนๆ มาใช้จนนัดกับลูกค้าล่าช้าเป็นอันขาด 2. มือไม้อ่อน พูดจาแนะนำตัวแบบมีหางเสียง คุณจะต้องไม่พลาดโดยเฉพาะ การเจอลูกค้าที่อาวุโสและมีตำแหน่งใหญ่โต ถ้าอายุน้อยกว่าก็ยังต้องยกมือ ไหว้ในระดับอกตามที่เรียนมา 3. การมอบนามบัตรที่สำคัญมาก มารยาทในการมอบนามบัตรสไตล์คนญี่ปุ่น ถือว่าคุณต้องเอามาใช้เป็นอย่างยิ่ง เพราะมันช่างดูสง่างามและให้เกียรติ ลูกค้าเป็นอย่างมาก 4. ไม่ควรหลับหูหลับตานำเสนออย่างเดียว ตอนนำเสนอให้สังเกตอาการของ ลูกค้าและอย่าติดการนำเสนอแบบขี้โม้หรือเอาแต่พูดเรื่องของตัวเองอย่าง เดียว จงเป็นฝ่ายถามลูกค้ากลับหรือเปิดโอกาสให้ลูกค้าเป็นฝ่ายพูดบ้าง 5. อย่าพูดแทรกลูกค้า เป็นทักษะการฟังที่ยอดเยี่ยมและควรฝึกตัวเองให้ได้ ทุกครั้ง จงพยายามฟังลูกค้าให้จบซึ่งสังเกตง่ายๆ ตอนที่ลูกค้าเงียบไป ประมาณ 2-3 วินาที จากนั้นค่อยถามหรือเสริมด้วยคำพูดที่คุณอยากจะบอก พวกเขา 6. รับปากแล้วต้องทำให้ได้ ผลลัพธ์ที่ทำให้เกิดการค้าขายก็คือการสร้างข้อ ตกลงร่วมกัน เมื่อตกลงกันแล้วก็ต้องทำให้ได้ตามข้อกำหนด 7. ทำผิดต้องขอโทษทันทีพร้อมกับวิธีแก้ไข ตัวแทนของบริษัท ถ้าอะไรก็ตาม มีปั ญหา แสดงว่าต้องรับผิดชอบร่วมกัน มืออาชีพจะต้องรีบหาสาเหตุของ ปั ญหาให้เจอพร้อมกับรีบแจ้งวิธีแก้ไขว่าจะเสร็จตามเวลาที่กำหนดได้จริง

5 พลเมืองที่ดีของสังคม พลเมืองดี คือ ประชาชนที่ดำเนินชีวิตในสังคม โดยมี ความคิดดี จิตใจดี และปฏิบัติดี มีความเอื้ออาทรเห็น คุณค่า และช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในสังคม โดยไม่หวังผล ตอบแทน

6 ลักษณะของพลเมืองดีในสังคม 1. ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของสังคม การอยู่ร่วมกันสังคม สมาชิกทุกคน จะต้อง ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของชุมชน รวมถึงต้องมีความรับผิดชอบ ในหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ซึ่งทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข 2. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น บางครั้งอาจจะต้องมีการปรึกษาหารือ มีการ ระดมความคิด ซึ่งย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ดังนั้นสมาชิกในสังคมจะต้อง เป็นคนที่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีเหตุผลดีกว่า 3. เป็นคนมีเหตุผล ในการตัดสินใจทำกิจกรรมการงานใดๆ ก็ตาม จะต้องรู้จักใช้ ความคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล 4. ยอมรับมติของเสียงส่วนใหญ่ เมื่อมีความขัดแย้งกันในการดำเนินกิจกรรมอัน เกิด จากความคิดเห็นแตกต่างกันและจำเป็นต้องตัดสินปั ญหาด้วยเสียงข้างมาก 5. มีส่วนร่วมในกิจกรรมส่วนรวม ในสังคมประชาธิปไตยนั้นจะมีการรวมกลุ่มกัน ทำ กิจกรรมต่างๆ ซึ่งมีทั้งกลุ่มเล็กๆ จนกระทั่งสังคมใหญ่ๆ ระดับประเทศ 6. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม การอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยนั้น ในบางครั้ง ส7.มเาคชิากรใพนใสันงสคิทมธติ้แอลงะเเสีสยรีสภลาะพผสลมปารชะิกโยในชนส ์ัสง่ควนมตปนระเพชื่าอธผิปลไปตรยะคโยวรชจน์ะส่ตว้อนงรศวึมกษาถึง ขอบเขตของสิทธิและเสรีภาพของตนเองตามกฎหมาย และควรรู้จักเคารพใน สิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น 8. ปฏิบัติตามหลักศีลธรรม การอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยนั้น ทุกคนจะ ต้องมี หลักศีลธรรมประจำใจเป็นบรรทัดฐาน ไม่ล่วงละเมิดศีลธรรม 9. ยึดมั่นในวัฒนธรรม วัฒนธรรมเป็นวิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคม เป็นการควบคุมให้สังคมเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สมาชิกในสังคม ประชาธิปไตยทุกคนจึงควรยึดมั่นในวัฒนธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ดีงาม

คุณธรรมและจริยธรรม 7 ของการเป็นพลเมืองดี 1. ยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตย อุดมการณ์ประชาธิปไตย หมายถึง ระบบ ความคิด ทางการเมืองที่มีความเชื่อ ความศรัทธาในแนวทาประชาธิ ปไตย โดย ยึดหลักการที่สำคัญ คือ 1.1 ความมีเหตุผลในสังคมประชาธิปไตย 1.2 การมีสิทธิและเสรีภาพ 1.3 ความเสมอภาคของโอกาส 1.4 ภราดรภาพ 2. การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ผู้นำในสังคมประชาธิปไตยควรเป็นผู้มีวิถีชีวิตใน แนวทาง ประชาธิปไตย คือ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว มีความ กล้าเพื่อปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของคนส่วนใหญ่โดยไม่หวั่นไหวในสถานการณ์ ต่างๆ 3. การเคารพซึ่งกันและกัน การเคารพและให้เกียรติกันมีความสำคัญต่อศักดิ์ศรี เมื่อเราให้เกียรติผู้อื่น ผู้อื่นย่อมให้เกียรติเรา ดังนั้นคนเราควรเคารพกันในความ เป็นมนุษย์และความสามารถซึ่งกันและกัน ดังนี้ 3.1 เคารพในการเป็นมนุษย์ 3.2 เคารพในความสามารถ 4. การตกลงกันอย่างมีสันติวิธี การอยู่ร่วมกันในสังคมหมู่มากย่อมมีความขัด แย้งกันและมีความเห็นไม่ตรงกันซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่ปรัชญา ประชาธิปไตยจะไม่ปรารถนาให้มีการใช้กำลังและเอาชนะกันด้วยวิธีการที่รุนแรง ควรตกลงกันอย่างสันติวิธี มีการประนีประนอม 5. การดำเนินชีวิตอย่างเสรีภาพ โดนอยู่ภายใต้กฎหมายและไม่ถูกแทรกแซง จากรัฐ ในสังคมประชาธิปไตยบุคคลย่อมมีอิสรภาพในการดำเนินชีวิตตามที่ตน ต้องการ โดยไม่ไปล่วงละเมิดสิทธิของคนอื่นไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่คน อื่น

8 บุคลิกภาพที่เหมาะสม กับการท ำงาน 1. ถูกต้องตามกาลเทศะ 2. มีความสะอาด 3. มีความสุภาพเรียบร้อย 4. มีความเหมาะสมกับวัย 5. มีความเหมาะสมกับรูปร่าง 6. มีความเหมาะสมกับฐานะ 7. มีความประหยัด และความเป็นอยู่

9 การแต่งกายให้สุภาพเหมาะสมกับสถานที่ 1.แต่งกายไปงานสังคม คือแต่งกายไปในที่ที่ไม่ใช่ที่ทำงานให้ดูลักษณะงานว่า เป็นงานกลางวันหรือกลางคืนเป็นงานอะไร ใครเป็นเจ้าภาพ 2.แต่งกายไปงานราตรี เป็นลักษณะที่จัดขึ้นในตอนกลางคืน การแต่งกายควร เป็นสีสดใสและแวววาวได้ 3.แต่งกายไปงานเทศกาล และวันสำคัญทางศาสนา ควรสุภาพสตรีควรสวม ชุดไทยเรือนต้น หรือไทยจิตรลดา หรือไทยอมรินทร์หรือชุดสุภาพไม่ควรสวม กางเกง ส่วนสุภาพบุรุษก็ควรแต่งกายด้วยเสื้อแบบพระราชทาน 4.การแต่งกายไปงานแต่งงาน ควรเลือกแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสดใส หลีก เลี่ยงสีเทา สีดำ สีกรมท่า สีม่วง บางงานไม่ชอบให้ผู้ร่วมงานสวมชุดขาวทั้งชุด แล้วแต่เจ้าภาพว่าต้องการจัดงานออกมาในลักษณะใด 5.การแต่งกายไปงานศพ ต้องแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สีแสดงถึงความ เสียใจ โศกเศร้า สูญเสีย สีที่ใช้ควรตรงข้ามกับงานแต่งงาน โดยใช้สีดำตามความ นิยม 6.การแต่งกายอยู่บ้าน ควรแต่งกายให้สะอาดสะอ้าน ทั้งร่างกายและเสื้อผ้า ปลอดกลิ่นที่น่ารักเกียจ แม้ไม่ได้พบปะผู้คนไม่แต่งหน้าเยอะเกินไปเหมือนไป ข้างนอกหวีผม ให้เรียบร้อย ดูสุภาพสำหรับครอบครัว

10 การแต่งกายที่เหมาะสม กับรูปร่าง 1.แต่งตัวสำหรับหุ่นแอปเปิ้ ล สำหรับหุ่นแอปเปิลที่ต้องการแต่งตัวให้ดูดีจะต้อง สนใจออกจากช่วงกลางลำตัวและใส่เสื้อผ้าที่เน้นส่วนอื่นแทน -ใส่เสื้อผ้าตามเส้นรูปร่างของคุณและให้รายละเอียดของเสื้อผ้าอยู่บริเวณลำตัว ด้านบนและช่วงต้นขา -สนใจออกจากช่วงเอวและไหล่/แขน (ใส่เสื้อแขนยาว) -เลือกกางเกงขาบานแทนที่จะใส่กางเกงขาตรงหรือขาเดฟเพื่อให้ดูสมดุลกับ ช่วงไหล่ที่กว้าง หรือช่วงบนที่ใหญ่ -หลีกเลี่ยงเดรสและเข็มขัดที่รัดช่วงเอว -เน้นส่วนที่อยู่ห่างกลางลำตัวหรือจะปกปิดด้วยเสื้อผ้าสีเข้มก็ได้

11 2.แต่งตัวสำหรับหุ่นลูกแพร์ เคล็ดลับการแต่งตัวของหุ่นแบบนี้คือ ใส่อะไร ก็ได้ที่เสริมบริเวณไหล่และหน้าอก สามารถดึงความสนใจมาที่ช่วงบนของลำ ตัวได้ด้วยการไม่เน้นช่วงล่าง -สามารถทำให้สะโพกและก้นของคุณดูกระชับขึ้นได้ หากคุณอยากให้ก้นใหญ่ ขึ้น! -เพื่อให้ช่วงบนสมดุลกับช่วงล่าง พยายามใส่เสื้อที่เน้นช่วงไหล่มากขึ้นเล็ก น้อย -เลี่ยงกางเกงหรือถุงน่องที่ทำให้ขาของคุณดูเล็ก -ใส่กางเกงขาตรงหรือขาบานเล็กน้อยกับรองเท้าส้นสูง

12 3.แต่งตัวสำหรับหุ่นทรงตรงหรือทรงกระบอก ด้วยหุ่นแบบนี้ คุณ อาจจะมีช่วงตัวที่ยาวและผอม ต้องใส่เสื้อผ้าที่เสริมทรวดทรง แบบบาง แบ่งลำตัวออกเป็นส่วนๆ และสร้างส่วนเว้าส่วนโค้งเหนือ และใต้ช่วงเอว -เลือกเสื้อผ้าที่มีจีบและระบายเพื่อเพิ่มรายละเอียด ขนาด และความ เป็นผู้หญิงให้กับทรวดทรง -งดใส่เสื้อผ้าผู้ชายโดย -ใส่ชุดกระชับสัดส่วน ชุดชั้นในกระชับสัดส่วนมีประโยชน์ต่อหุ่นทรง กระบอก

13 4.แต่งตัวสำหรับหุ่นทรงนาฬิกาทราย อย่าใส่อะไรที่ทำให้คุณดู \"เป็นเหลี่ยมๆ\" -เวลาแต่งตัวให้ใช้ช่วงเอวเป็นจุดโฟกัส -แต่งกายเพื่อเสริมส่วนเว้าส่วนโค้งที่สวยงามด้วยการแต่งกายตาม เส้นรูปร่าง -ให้ลำตัวช่วงบนและล่างดูสมส่วนกันแต่ในขณะเดียวกันก็เน้นช่วง เอวด้วย -สวมเดรสคอวีหรือเสื้อคอวี แม้ว่าคอเสื้อส่วนใหญ่จะเหมาะกับผู้ หญิงที่มีหน้าอกใหญ่อยู่แล้ว แต่โดยทั่วไปเสื้อคอวีจะดูสวยกว่า แค่ ระวังอย่าให้เห็นร่องอกมากเกินไปในบางสถานการณ์ก็พอ

14 อ้างอิง แหล่งข้อมูล : http://management.aru.ac.th/mnge/images/pdf/e- book/wanthanee/eb_chapter10.pdf https://th.insterne.com https://www.sales100million.com/single-post/The-Good-Business-Manner-You-Need- To-Do/ http://119.46.166.126/self_all/selfaccess10/m4/social4_1/lesson4/lesson4_2.html https://th.wikihow.com https://www.smartsme.co.th/content/16265 ******************ที่มาของรูปภาพหรือข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์**************************

15 คณะผู้จัดทำ หัวหน้ากลุ่ม 64709892 รินนรี กลิ่นบุญ 64709474 อรวรรณ ยิงรัมย์ 64705912 ณิรัฐชา เดือนสว่าง 64701063 ยุทธนา บุญมาก 64700602 ชไมพร ปาวัน สาขาการจัดการสมัยใหม่


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook