Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 64 E-book จุดเริ่มต้นของพืชพรรณ

64 E-book จุดเริ่มต้นของพืชพรรณ

Published by nattamon.ayw, 2021-05-18 06:25:11

Description: 64 E-book จุดเริ่มต้นของพืชพรรณ

Search

Read the Text Version

1 วิชา ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 BNyATTKAMruONAmSUCpHaArIReUT

2 จัดทำโดย นางณัฐมน สชุ ัยรัตน์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครชู ำนาญการ กล่มุ สาระการเรยี นรู้วิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี โรงเรยี นอยุธยาวิทยาลัย วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

3 คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เรื่อง จุดเริ่มต้นของพืช พรรณ เล่มนี้จัดทำเพื่อประกอบการเรียนการสอนวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยนำเสนอ ในรูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้ ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความร้ดู ว้ ยตนเอง ได้ทุกเวลา ทุกสถานท่ี หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของพืชดอก ซึ่งจะมีทั้งรูปภาพสีสันสวยงาม คลิปวีดิโอ รวมถึงแบบทดสอบ ออนไลน์ในแต่ละบทเรียน ซึ่งผู้อ่านสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และทราบผลการเรียนรู้ของตนเองโดยทันที ผู้เขียนหวังว่าผู้อ่าน จะได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างมีความสุข และได้พัฒนาตนเองใหม้ ี ความรู้ ความเข้าใจ เพื่อนำไปใช้การศึกษาต่อและในการดำเนิน ชีวิตประจำวนั ต่อไป ผู้เขยี น ณัฐมน สุชัยรัตน์ 1 กรกฎาคม 2564 วิชา ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

4 สารบญั Chapter 1 โครงสรา้ งและส่วนประกอบของดอก 1 Chapter 2 การสืบพนั ธ์ขุ องพชื ดอก 17 Chapter 3 ผลและเมล็ด 31 Chapter 4 การสบื พันธ์ุแบบไมอ่ าศัยเพศ 56 Chapter 5 การขยายพันธุ์พืชดอก 68 บรรณานุกรม 89 ประวัตผิ ้เู ขียน 90 วิชา ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

5 ทกุ คนมาสนุกกบั วทิ ยาศาสตรก์ นั เลย วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

6 โครงสรา้ งและ ส่วนประกอบของดอก วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ หน้า |2 สวัสดีค่ะ ก่อนจะเริ่มเรียนบทแรก อยากแนะนำให้นักเรียนได้ลองทำ แบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานของตนเองก่อน นะคะ ซึ่งจะทราบผลในทันที และเมื่ออ่านจบบทนี้ให้นักเรียนทำ แบบทดสอบหลังเรียนเพื่อเปรียบเทียบกัน ถ้าพร้อมทำแบบทดสอบ แล้ว แสกนตรงน้ีไดเ้ ลยคะ่ ทุกคนคดิ วา่ พืชมีจุดเร่ิมต้นในการ ดำรงชวี ิตได้อยา่ งไร และพืชเพิ่ม จำนวนขึ้นได้ด้วยกระบวนการใด กันนะ เราไปเริ่มเรยี นร้กู ันเลยคะ่ วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ หน้า |3 พืชดอก (flowering plant หรือ angiosperm) หมายถึง พืชที่มี วิวัฒนาการสูงที่สุดในอาณาจักรพืช เม่ือเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีดอกให้ เห็นจะมีดอกให้เห็น พืชดอกจัดเป็นพืชชั้นสูงที่มีอวัยวะต่างๆ ครบสมบูรณ์ คอื ราก ลําต้น ใบ ตา ดอก และเมล็ด มไี ว้เพือ่ สําหรบั ขยายพันธุ์ โครงสรา้ งและสว่ นประกอบของดอก ดอก (Flower) เป็นอวัยวะของพืชที่ทำหน้าที่ในการสืบพันธ์ุ มีสว่ นประกอบ ดงั น้ี 1. กลีบเลี้ยง (Sepal) เป็นส่วนของดอกที่อยู่นอกสุด เจริญ เปลี่ยนแปลงมาจากใบ จึงมักมีสีเขียวทําหน้าท่ีห่ออหุ้มป้องกันอันตราย ต่างๆ ให้แก่ส่วนในของดอกในขณะที่ดอกยังอ่อนอยู่ หรือที่ยังเป็นดอกตูม เพื่อป้องกันอันตรายจากแมลง และศัตรูพืช นอกจากนี้จะช่วยในการ สังเคราะห์แสงได้ด้วย วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ หน้า |4 กลีบเล้ียง ภาพแสดง กลบี เลย้ี ง ท่มี า: https://images.app.goo.gl/Cj8yaHZUQgDuTmUW7 2. กลีบดอก (Petal) เป็นส่วนของดอกที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยง เข้าไปข้างใน มักมีสีสันสวยงามบางชนิดมีกลิ่นหอม ซึ่งสีสันที่สดใส และ กลิ่นหอมของดอกไม้จะช่วยล่อแมลงให้มาตอม เพื่อช่วยในการผสมเกสร กลีบดอกมีสีสันต่างๆ สวยงาม เนื่องจากมีรงควัตถุชนิดต่างๆ ทําให้กลีบ ดอกเปน็ สีต่างๆ เช่น สมี ่วง สแี ดง สนี ้ำเงนิ หรอื แสด ส่วนดอกสีขาวและไม่ มีสีเกิดจากไม่มีรงควัตถุอยู่ภายในเซลล์ของกลีบดอก วงของกลีบดอก ทั้งหมดเรียกว่า collora ท้ังกลบี เลี้ยงและกลีบดอกจดั เป็นสว่ นประกอบรอง ห่อห้มุ อยรู่ อบนอกของดอก กลบี ดอก ภาพแสดง กลีบดอก ที่มา: https://images.app.goo.gl/Msmk1EXmEhjBkfkNA วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ หน้า |5 3. เกสรตัวผู้ (Stamen) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้าไป เป็น อวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ มักมีหลายอัน เกสรตัวผู้แต่ละอัน ประกอบด้วย 3.1 กา้ นเกสรตวั ผู้ หรือก้านชูอับเรณู มลี ักษณะ เปน็ ก้านยาวๆ ทำหน้าท่ี ชอู ับเรณู 3.2 อับเรณูมีลักษณะเป็นกระเปาะ เป็นแหล่งสร้างและเก็บ “ละอองเรณ”ู ซึ่งภายในละอองเรณจู ะมี “เซลลส์ ืบพันธเุ์ พศผู้” อยู่ ภาพแสดง เกสรตัวผู้ ทม่ี า: https://images.app.goo.gl/EJU2SvUJtRfisdAo9 4. เกสรตัวเมีย (Pistil or carpel) เป็นส่วนที่อยู่ในสุด คือตรง กลางดอก ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ตัวเมีย ที่ปลายยอดเกสรตัวเมียจะมี ลักษณะเป็นขนและมีน้ำเหนียว ๆ เคลือบอยู่ เพื่อช่วยในการดักจับละออง เรณู และในน้ำเหนียวๆ นี้จะมี “น้ำตาล” เป็นองค์ประกอบอยู่ จะช่วย กระตนุ้ ใหล้ ะอองเรณเู กิดการงอก ซ่ึงเกสรตัวเมปี ระกอบดว้ ย วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ หน้า |6 4.1 ยอดเกสรตัวเมีย อยู่ตรงส่วยบนสุดของเกสรตัวเมีย เป็นส่วน รองรบั ละอองเรณขู องเกสรตัวผู้ 4.2 กา้ นชเู กสรตวั เมยี ทำหน้าท่ชี ูเกสรตัวเมยี 4.3 รังไข่ อยู่ส่วนล่างสุดของเกสรตัวเมีย มีลักษณะเป็นกระเปาะ ภายในมี “ไขอ่ อ่ น” หรือ “ออวุล” ซึ่งมี “เซลลส์ ืบพนั ธ์เุ พศเมยี ” อยู่ ภาพแสดง เกสรตัวเมีย ที่มา: https://images.app.goo.gl/U2UW2zRCL8hr89UB7 หากยังไมเ่ ข้าใจเร่ืองโครงสร้าง และส่วนประกอบของดอก ลองดู วดี ิโอน้กี นั ดูนะครับ https://youtu.be/jJ5K78_TIEY วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ หน้า |7 เกร็ดความรเู้ พม่ิ เติม การที่ดอกไม้มีสีสันสวยงามและมีหลากหลายนั้น เนื่องจากใน เซลล์เนื้อเยื่อพื้นฐานของดอกไม้จะสร้างรงควัตถุสีต่างๆ ได้แก่ แคโรทีนอยด์ จะให้สีเหลืองถึงส้มแดง เช่น ในดอกทานตะวัน ดอก ดาวเรือง ดอกพุทธรักษา เป็นต้น แอนโทไซยนนิ จะให้สีแดงถึงสีนำ้ เงนิ เชน่ ดอกกหุ ลาบ ดอกชบา ดอกอญั ชัน เป็นตน้ ส่วนการทีด่ อกไม้มีกล่ิน นั้น เนื่องจากดอกไม้มีเซลล์สร้างน้ำมันหอมระเหยหลายชนิด ทำให้ ดอกไม้แตล่ ะชนดิ มีกลิ่นแตกต่างกันออกไป ฉนุ บา้ ง หอมบ้าง เหม็นบ้าง เปน็ ตน้ เพอ่ื ใช้ในการหลอกล่อแมลงพวกผ้ึง แมลงภู่ ผีเสอ้ื มาผสมเกสร และเพอื่ ป้องกนั ภยั จากการถูกศัตรโู จมตี และกดั กนิ วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ หน้า |8 ดอกชนิดต่างๆ จะทําหน้าที่ในการสืบพันธุ์ แต่มีโครงสร้างแตกต่าง กันตามแต่ชนิดของพืช ดอกแต่ละดอกประกอบด้วยโครงสร้างหลักที่สําคัญ 4 สว่ นติดอยู่บนฐานดอก (receptacle) ได้แก่ กลบี เล้ียง (sepal) กลีบดอก (petal) เกสรเพศผู้ (stamen) และเกสรเพศเมีย (pistil) โดยกลีบเลี้ยงและ กลีบดอกจะตดิ อยู่เปน็ วงบนฐานดอก ภาพแสดง สว่ นประกอบของดอก ท่มี า: https://images.app.goo.gl/Uru4Qf7durZmZ85N9 วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ หน้า |9 ประเภทของดอก ดอกไม้บางชนิดมีองค์ประกอบครบทัง้ 4 ส่วน แต่ดอกไม้บางชนดิ มี องค์ประกอบไมค่ รบทัง้ 4 สว่ น ทำใหส้ ามารถแบง่ ประเภทของพืชมีดอกได้ โดยใชล้ กั ษณะของดอกเปน็ เกณฑ์ ไดด้ ังนี้ การใชส้ ่วนประกอบของดอกเปน็ เกณฑ์ ไดแ้ ก่ การแบ่งประเภทของดอกโดยใช้ส่วนประกอบของดอกเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 2 ประเภท คอื 1. ดอกครบส่วน (Complete flower) หมายถึง ดอกไม้ที่มี ส่วนประกอบครบทุกส่วนคือมีกลีบเลี้ยงกลีบดอก เกสรตัวผู้ และเกสรตัว เมีย เรียงตามลำดับจากชั้นนอกสุดเข้าไปยังชั้นในสุด เช่น ดอกแพงพวย ดอกการเวก ดอกชงโค ดอกผักบุง้ เปน็ ตน้ ภาพแสดง ดอกครบส่วน (ดอกผกั บ้งุ ) ทีม่ า: https://images.app.goo.gl/nyAY9eMZzcBj3xKHA วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 10 2. ดอกไม่ครบสว่ น (Incomplete flower) หมายถึง ดอกไมท้ มี่ ี ส่วนประกอบไมค่ รบ ทกุ ส่วน ซึง่ อาจจะมสี ่วนประกอบส่วนใดสว่ นหนึง่ ขาด หายไป เชน่ ดอกตำลึง ดอกแตงกวา ดอกบวบ ดอกข้าวโพด เปน็ ตน้ ภาพแสดง ดอกไมค่ รบส่วน (ดอกแตงกวา) ท่มี า: https://images.app.goo.gl/ZkxpQ46z7gwTNcyp6 รู้หรือไม่ ดอกหญ้าและดอกข้าว ไม่มีทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกแต่มี อบั เรณูขนาดใหญ่ห้อยออกมานอกดอก (ภายในอับเรณูมลี ะอองเรณูท่ีเบา มากจำนวนมากมาย) ยอดเกสรเพศเมียที่มีขนฟูขนาดใหญ่สามารถ ดัก จับละอองเรณทู ป่ี ลวิ มาในอากาศได้ วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 11 การใชเ้ กสรตวั ผู้และเกสรตัวเมียเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1. ดอกสมบูรณ์เพศ (Perfect Flower) คือ ดอกที่มีท้ังเกสรตัว ผู้และเกสรตวั เมยี อย่ใู นดอกเดียวกนั เช่น กหุ ลาบ บัว พรู่ ะหง ชงโค ถัว่ มะเขือ พริก กล้วยไม้ มะม่วง ชบา ข้าว หญ้า ต้อยติ่ง จำปา มะลิ เฟ่อื งฟ้า อัญชัน แค ผักบุ้ง แพงพวย เปน็ ตน้ ภาพแสดง ดอกสมบรู ณเ์ พศ (ดอกชงโค) ทม่ี า: https://images.app.goo.gl/9hc2pz53r8hEi1BA9 2. ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (Imperfect Flower) คือ ดอกที่มี เฉพาะเกสรตัวผหู้ รือเกสรตัวเมยี อย่างใดอย่างหน่ึง โดยดอกทีม่ เี ฉพาะเกสร ตัวผู้ เรียกว่า ดอกตัวผู้ (Staminate Flower) ส่วนดอกที่มีเฉพาะเกสรตัว เมีย เรียกว่า ดอกตัวเมีย (Pistillate Flower) เช่น ข้าวโพด มะละกอ มะพร้าว ตาล เงาะ ฟักทอง บวบแตงกวา มะยม มะระ ตำลึง ละหุ่ง หน้าววั มะเดื่อ ขนนุ เปน็ ตน้ วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 12 ภาพแสดง ดอกไมส่ มบูรณเ์ พศ (ดอกฟักทอง) ที่มา: https://images.app.goo.gl/Vq1T2zbjbW7VB9xb8 เพื่อนๆ รู้หรือไม่ ว่าดอกไม้บางชนิดมีลักษณะพิเศษ ก็ดอกพุทธรักษาไงครับ ที่มีเกสรเพศผู้เป็น หมันเกสรที่ ใชส้ ืบพันธุ์เปน็ เพยี งอบั เรณยู าวๆ เท่านน้ั นะครับ ภาพแสดง ดอกพุทธรกั ษา ทีม่ า: https://images.app.goo.gl/Rc3zmX3DJUaXLRWq7 วิชา ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 13 นกั เรยี นรหู้ รอื ไม่ วา่ ส่วนประกอบของดอกนอกจากท่ีเรา รูจ้ กั กนั แล้ว ยงั มีองคป์ ระกอบอีกหลายอยา่ ง เรามาเรียนรู้ เพ่ิมเติมกนั นะคะ องคป์ ระกอบอน่ื ๆของดอก ดอกโดยทั่วไปจะประกอบด้วยกลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้ และ เกสรเพศเมยี แล้ว ดอกบางชนิดอาจมีองค์ประกอบอ่ืนๆ เช่น 1. ใบประดับ (bract) ซึ่งมีลักษณะสีสันคล้ายกลีบดอก เช่น ใบ ประดบั ของเฟอ่ื งฟา้ 2. วงใบประดับ (involucres bract) เป็นใบประดับที่เปลี่ยนแปลง ไปมีลักษณะคล้ายเกล็ดปลาหรือหนาม เช่น ใบประดับของบานช่ืน ดาวกระจาย ทานตะวัน วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 14 3. วงกลีบเลี้ยงที่คล้ายกลีบดอก (petaloid calyx) เป็นวงที่มีสีสัน คล้ายกลีบดอก เช่น กลีบเลย้ี งดอกดอนย่า 4. ใบประดับที่เป็นกาบหุ้มช่อดอก (spathe) ซึ่งมีขนาดใหญ่รองรับ ช่อดอกและมีสสี ันต่างๆ เช่น กาบหมุ้ ชอ่ ดอกของปลีกล้วย ดอกหน้าววั 5. ริ้วประดับ (epicalyx) ใบประดับที่ลดรูปเป็นริ้วเล็กๆ เช่น ใบ ประดบั ของชบา พู่ระหง ภาพแสดง องคป์ ระกอบอนื่ ๆของดอก ก. ใบประดับ ข. วงใบประดบั ค. วงกลีบเลยี้ งทีค่ ล้ายกลบี ดอก ง. ใบประดับทีเ่ ป็นกาบหมุ้ ช่อดอก จ. รว้ิ ประดับ ทีม่ า : เมทินี กาญจนสมจิตต์ (ออนไลน์) วิชา ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 15 รู้จักดอกไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกกันไหมครับ ดอกนั้นคือ Titan Arum ดอกซากศพ หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ “ดอกบุก ยักษ์” เปน็ พชื ในเขตปา่ ร้อนช้นื ในพชื ตระกลู “บวั ผดุ ” (Rafflesia) พบขึ้นอยู่บนเกาะสุมาตราประเทศอินโดนีเซีย ลำพังตัวช่อดอก แทงยอดตัง้ ขึน้ ไปกวา่ 3 เมตร ภาพแสดง ดอกซากศพ (Titan Arum) ทีม่ า: https://images.app.goo.gl/YayYrwdcvRCmVawU9 วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 16 ขอ้ สงั เกต 1. ดอกครบส่วนจะเป็นดอกสมบูรณเ์ พศเสมอแตด่ อกสมบรู ณเ์ พศอาจจะ เปน็ หรอื ไม่เป็นดอกครบส่วนก็ได้ 2. ดอกไม่สมบรู ณ์เพศจะเป็นดอกไมค่ รบส่วนเสมอแตด่ อกไม่ครบสว่ น อาจจะเป็นหรือไมเ่ ป็นดอกสมบรู ณ์เพศก็ได้ จบบทแรกแลว้ ไมย่ ากเลยใชไ่ หมค่ะ ถา้ อย่างนนั้ เราไปทำแบบทดสอบหลงั เรียนกันค่ะ กดลิงค์ดา้ นลา้ งนน้ี ะคะ https://bit.ly/2R8Ru6B วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 17 วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 18 กอ่ นจะเรียนรเู้ ร่อื งตอ่ ไป ลองมาทำแบบทดสอบกอ่ นเรียน เร่ือง การสบื พันธ์ขุ องพืชดอก กันกอ่ นนะคะ กดท่ลี ิงคด์ ้านล่างน้เี ลยค่ะ https://bit.ly/3htGY4t ในการดำรงชีวิตของพืช การสืบพันธุ์เป็น กระบวนการสำคัญที่ทำให้พืชสามารถ ดำรงพนั ธุ์ไว้ได้ ซง่ึ การสบื พันธขุ์ องพืชดอก จะเป็นยังไงกันนะ เราไปทำความเข้าใจ กันเลยค่ะ วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 19 การสบื พนั ธุข์ องพชื ดอกมีกระบวนการทเ่ี กย่ี วข้อง คือ การถ่าย ละอองเรณู การงอกของละอองเรณู และการปฏิสนธิ การถ่ายละอองเรณู (Pollination) การถ่ายละอองเรณู หมายถึง การที่ละอองเรณูไปตกบนยอดเกสร เพศเมีย เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่ออับเรณูที่แก่จัดแตกออก ทำให้ ละอองเรณูกระจายออกไปตกบนยอดเกสรเพศเมีย ซึ่งมีสารเหนียวๆ คอย ดกั จบั ละอองเรณู ภาพแสดง ลกั ษณะการเกิดการถา่ ยละอองเรณู ท่มี า : https://images.app.goo.gl/4vPKCvS5NaexsDgo6 วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 20 การถา่ ยละอองเรณู (Pollination) เกิดได้ 2 แบบ คอื 1. การถ่ายละอองเรณูภายในดอกเดียวกัน (Self Pollination) เกิด กับดอกที่มีเกสรเพศผู้อยู่สูงกว่าเกสรเพศเมียในดอกเดียวกันละอองเรณู สามารถร่วงหรอื ปลวิ มาตกบนยอดเกสรเพศเมียได้ 2. การถ่ายละอองเรณูต่างดอกหรือข้ามดอกกัน ( Cross Pollination) การถ่ายละอองเรณูข้ามดอกภายในต้นเดียวกัน เป็นการที่ ละอองเรณูตกบนยอดเกสรเพศเมียของอกี ดอกหน่ึงในต้นเดียวกนั ส่วนการ ถ่ายละอองเรณูข้ามดอกคนละต้นกัน เกิดกับดอกที่มีเกสรเพศผู้อยู่ต่ำกว่า เกสรเพศเมียและเกดิ กบั ดอกไมส่ มบูรณ์เพศทม่ี ีเกสรเพศผูแ้ ละเกสรเพศเมีย คนละตน้ กนั ภาพแสดง การถ่ายละอองเรณแู บบเกดิ ภายในดอกเดียวกันและข้ามดอก ทม่ี า: https://images.app.goo.gl/fUoSLimkj1pLNW8MA วิชา ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 21 ปจั จยั ในการถ่ายละอองเรณู การถา่ ยละอองเรณูเกิดขน้ึ ได้ทัง้ ในเวลากลางวนั และกลางคืน ละอองเรณูถูกพดั พาไปยงั ที่ต่างๆไดโ้ ดยอาศัยปัจจัยท่สี ำคัญ ดงั นี้ อาศัยลม ลกั ษณะของดอกไมท้ อี่ าศยั ลมช่วยในการถา่ ยละอองเรณู จะมลี ะอองเรณูที่เรยี บ แห้ง และเบา เกสรเพศผู้จะอยู่สูงกวา่ เกสรเพศเมยี หรือห้อยอยู่นอกดอกไมส้ ว่ นยอดเกสรเพศเมียจะมีขนาดใหญ่หรอื มขี นฟู และสว่ นใหญจ่ ะไม่มกี ลบี ดอก เชน่ ดอกหญ้า ภาพแสดง ลกั ษณะของดอกท่ีถ่ายละอองเรณูโดยปลิวไปกบั ลม ทมี่ า: https://images.app.goo.gl/gZDttxryvcN6FRbV9 อาศัยแมลง ลกั ษณะของดอกไม้ทอ่ี าศยั แมลงช่วยในการถ่าย ละอองเรณูจะมสี สี นั สวยงาม มีกลิน่ หอม และมีต่อมน้ำหวานเพอื่ ลอ่ แมลง ละอองทเี่ หนียวจะตดิ ไปกบั ปีก ปาก และขาของแมลง จนไปตกบนยอดของ เกสรเพศเมยี เช่น ดอกกหุ ลาบ ดอกชบา ดอกบัว ดอกมะเขือ ดอกกล้วยไม้ ดอกเขม็ ดอกหางนกยูง ดอกพทุ ธรักษา วิชา ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 22 ภาพแสดง ลักษณะของดอกที่ถ่ายละอองเรณูโดยแมลง ที่มา : https://images.app.goo.gl/cf5LbM1wW7TvbdCa9 อาศยั น้ำ ดอกไม้ของพชื น้ำอาศัยนำ้ ช่วยในการถ่ายละอองเรณู เช่น สาหร่าย ผักสันตะวา ภาพแสดง ลกั ษณะของดอกทีถ่ า่ ยละอองเรณูโดยอาศัยนำ้ ของสาหร่าย ทีม่ า: https://images.app.goo.gl/1m4W43v4GotiuUc97 อาศัยสตั วช์ นิดต่างๆ สตั ว์หลายชนิดนอกเหนือจากแมลง บางครงั้ ก็ ชว่ ยในการถ่ายละอองเรณู เชน่ นก ค้างคาว มนษุ ย์ วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 23 ภาพแสดง ลักษณะของดอกทถี่ ่ายละอองเรณโู ดยนก ท่ีมา: https://images.app.goo.gl/PpHmQxn42LCHA95G6 ภาพแสดง ลักษณะของดอกท่ถี า่ ยละอองเรณูโดยคา้ งคาว ที่มา: https://images.app.goo.gl/G8yK766nk7bh9sebA การงอกของละอองเรณู การงอกของละอองเรณู เมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรเพศเมยี ซึ่งมีสารเหนียวๆสำหรับดักจับละอองเรณู นิวเคลียสในละอองเรณูจะ แบ่งเปน็ 2 นวิ เคลียส คอื ทวิ บน์ วิ เคลยี ส (Tube nucleus) และเจเนอเรทีฟ นวิ เคลียส (Generative nucleus) ทวิ บ์นวิ เคลยี สจะงอกหลอดลงไปในก้าน เกสรเพศเมียจนไปถึงออวุล ทิวบ์นิวเคลียสจะสลายไปส่วนเจเนอเรทีฟ นวิ เคลียสจะแบง่ ตัวใหส้ เปิร์มนิวเคลยี ส 2 นิวเคลยี ส วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 24 ภาพแสดงการงอกของละอองเรณู ท่ีมา: https://images.app.goo.gl/22FaNJyxM9V1eppF8 เรามาดูวดี ิโอการงอกของละอองเรณูกันดกี วา่ ค่ะ กดตรงลงิ ค์น้ีไดเ้ ลยค่ะ https://www.youtube.com/watch?v=SiFaN2xQg5g วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 25 การปฏิสนธิ (fertilization) การปฏิสนธิ คือ การที่เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (Sperm cell) ผสมกับ เซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (Egg cell) ในออวุลเป็นไซโกต (Zygote) และ เจรญิ เตบิ โตไปเป็นเอมบริโอ (Embryo) ต่อไป การสรา้ งเซลล์สบื พนั ธ์ขุ องพืชดอก เซลลใ์ นอบั เรณูจะสร้างละออง เรณู และเซลลใ์ นออวลุ จะสร้างไข่ ดังภาพ ภาพแสดง การสร้างละอองเรณู ที่มา: https://images.app.goo.gl/S4gkrVn27Ra2UuVLA วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 26 ภาพแสดงเซลล์ไข่ในออวลุ ที่มา: https://images.app.goo.gl/jVhPDYMjcUzxdgpU9 ลำดบั ข้ันตอนในการผสมพันธุพ์ ืชดอก 1) เกิดการถา่ ยละอองเรณู (การท่ีละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรเพศ เมีย) โดยนิวเคลียสในละอองเรณูที่แก่แลว้จะแบ่งเป็น 2 นิวเคลียส คือ เจเนอเรทีฟนิวเคลียส (Generative Nucleus) และทิวบ์นิวเคลียส (Tube Nucleus) 2) ทิวบ์นิวเคลียส (Tube Nucleus) ในละอองเรณูจะสร้างหลอด ละอองเรณู (Pollen Tube) แทงลงไปในก้านชูเกสรเพศเมียผ่านรูไมโคร ไพล์(Micropyle) ของออวุลเข้าไปในระยะนี้ทิวบ์นิวเคลียส ( Tube Nucleus) อาจจะสลายไป ส่วนเจเนอเรทีฟนิวเคลียส( Generative Nucleus) จะแบง่ ตวั ให้สเปิร์มนิวเคลียส 2 อัน วิชา ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 27 3) สเปริ ม์ นิวเคลยี สอนั หน่ึงจะเขา้ ไปผสมกบั นิวเคลียสของเซลล์ไข่ ไดเ้ ป็นไซโกต (Zygote) ซง่ึ ไซโกต จะเจริญต่อไปเปน็ ตน้ออ่ น (Embryo) ส่วนสเปิรม์ นวิ เคลียสอีกอันหนงึ่ จะเขา้ผสมกับเซลลโ์ พลาร์นวิ คลไี อ (Polar Nuclei) ไดเ้ ปน็ เอนโดสเปิรม์ (Endosperm) เนอื่ งจากในกระบวนน้ีมีการ ปฏิสนธิ 2 ทีจ่ งึ เรียกว่า “การปฏสิ นธิซอ้ น (Double fertilization)”ซึ่งเปน็ ปรากฏการณท์ ่ีไมพ่ บในสง่ิ มชี วี ตอิ นื่ ๆ สรปุ ได้ว่า การปฏสิ นธซิ ้อนเกิดขน้ึ เมื่อเจเนอเรทีฟ นิวเคลยี สแบ่งตัวใหส้ เปริ ์มนวิ เคลียส 2 อันและเกิดการผสม ดงั น้ี  สเปิร์มตัวที่ 1 + เซลล์ไข่ (Egg cell) ไดไ้ ซโกต (Zygote) เจรญิ ไปเป็นเอ็มบรโิ อ (Embryo)  สเปิร์มตวั ที่ 2 + เซลลโ์ พลานวิ เคลียส (Polar nucleus) ได้ เอนโดสเปริ ์ม (Endosperm) ซึ่งเป็นอาหารสำหรับเลีย้ ง เอ็มบรโิ อ (Embryo) วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 28 ภาพแสดง การปฏสิ นธขิ องพืช การปฏิสนธิซ้อน (Double fertilization) หมายถึง การปฏิสนธิ ที่เกิดขึ้นจาก สเปิร์มตัวที่ 1 ผสมกับเซลล์ไข่ได้ไซโกต และสเปิร์มตัวที่ 2 ผสมหลงั จากการปฏิสนธมิ ีการเปล่ียนแปลงเกดิ ขน้ึ ดังนี้ 1. ไข่ (Egg) จะเจริญไปเปน็ ตนอ้ ่อน (Embryo) อยภู่ ายในเมล็ด 2. รังไข่ (Ovary) จะเจริญไปเป็นผล (Fruit) แต่ก็มีผลบางชนิดเกิด จากฐานรองดอก เชน่ ชมพู่ แอปเปิล้ 3. ผนังรงั ไข่ (Ovary Wall) จะเจรญิ ไปเปน็ เปลือกและเนื้อของผล 4. โพลารน์ ิวคลไี อ (Polar nuclei) จะเจริญไปเปน็ เอนโดสเปิร์ม (Endosperm) อยภู่ ายในเมล็ด 5. ออวลุ (Ovule) จะเจริญไปเป็นเมล็ด (Seed) 6. เยื่อหุ้มออวุล (Integument) จะเจริญไปเป็นเปลือกหุ้มเมล็ด (Seed Coat) วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 29 7. แอนติโพดัล (Antipodal) และซินเนอร์จิด (Synergid) จะสลาย ไป 8. กลบี เล้ยี งกลบี ดอกเกสรเพศผู้ยอดเกสรเพศเมยี และก้านเกสรเพศ เมีย จะเหี่ยวแหง้ร่วงไป แต่ในดอกบางชนิดก็ยังมีกลีบเลี้ยงและเกสรเพศผู้ ติด อยเู่ ช่น มะเขือ มงั คุด กลีบเลีย้ งมังคดุ ภาพแสดง กลีบเลยี้ งของมังคุด ทม่ี า: https://images.app.goo.gl/5QEfpWC7oxpa62rm6 หากยงั ไมเ่ ข้าใจการปฏิสนธซิ ้อน เรามาดวู ดี โี อ เพอ่ื ให้เข้าใจ กนั มากข้ึนดกี ว่าค่ะ กดตรงลงิ คน์ ีไ้ ด้เลยคะ่ https://www.youtube.com/watch?v=bUjVHUf4d1 I วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 30 เราเรยี นรูเ้ รอ่ื งการสืบพันธุ์ของพืชดอกจบ กนั แล้ว ถ้าเช่นนน้ั ไปทดสอบหลังเรยี นกนั เลยดกี วา่ คะ่ กดลงิ ค์ด้านลา่ งนเ้ี ลย https://bit.ly/3eNwk6X ไม่ยากกนั เลยใชไ่ หมค่ะ เราไปเรยี นรู้เร่อื งตอ่ ไป กันดีกวา่ ค่ะ วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 31 วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 32 รู้หรือไม่ว่า ผลและเมลด็ มสี ่วนประกอบอะไรบ้าง และเมลด็ พืชงอกได้อยา่ งไร เราไปทำความเข้าใจ ในบทเรียนนก้ี ันเลยค่ะ ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้ในบทต่อไป ลองทำแบบทดสอบ ก่อนเรยี นเรื่อง ผลและเมลด็ กันก่อนนะคะ กดตรงลงิ ค์ นไี้ ด้เลยค่ะ https://bit.ly/3fnrJY1 วิชา ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 33 ผล (Fruit) ผลส่วนใหญ่เกดิ จากการเจริญเติบโตของรังไข่หลังจากมีการปฏิสนธิ แลว้ แต่ผลบางชนดิ อาจเกิดโดยไม่มีการปฏิสนธิก็ไดซ้ ่ึงอาจเกดิ จากการได้รับ การกระตุ้นจากละอองเรณูหรือฮอร์โมน พืชบางชนิดทำให้ผลชนิดนี้ไม่มี เมลด็ หรอื มีเมล็ดลีบ เช่น กล้วยหอม สบั ปะรด ภาพแสดง ผลท่ีมเี มล็ดลีบ (กล้วยหอม) ที่มา: https://images.app.goo.gl/ZVv2BYWjvzXrtdY76 ภาพแสดง ผลทไ่ี ม่มเี มลด็ (สับปะรด) ที่มา: https://images.app.goo.gl/8skRjo72cuhvErND7 วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 34 โครงสร้างของผล โครงสร้างของผล (Structure of Fruit) ส่วนมากประกอบดว้ ย ผนงั ผล (pericarp) และเมล็ด (seed) ผนังผล คอื สว่ นทเี่ จริญเปลีย่ นแปลงมา จากรงั ไข่ มี 3 ชน้ั ไดแ้ ก่ ผนังผลช้นั ใน ผนังผลชั้นกลาง ผนงั ผลชนั้ นอก ผนังชั้นใน (Endocarp) ผนังชั้นใน มีทั้งอ่อนนุ่ม เช่น ส้ม และมี ลกั ษณะแข็ง เชน่ มะม่วง มะพรา้ ว ผนังชนั้ กลาง (Mesocarp) ผนงั ชน้ั นมี้ กั นุม่ เชน่ มะมว่ ง มะละกอ ผลบางชนดิ มีผนงั ช้ันกลางเป็นเส้นใยเหนียว เช่น มะพร้าว จาก ตาล ผนังชั้นนอก (Exocarp) ชั้นผิวนอกสุดของผล ชั้นนี้ในผลบางชนิด มผี วิ ช้ันนอกบางหรืออ่อน เชน่ ผลองุ่น ชมพู่ มะมว่ ง ผลบางชนิดผิวช้ันนอก แขง็ และเหนียว เช่น มะพรา้ ว ฟกั ทอง ภาพแสดง โครงสรา้ งของผล https://images.app.goo.gl/2U5v5KwqjHjymJjU7 วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 35 ประเภทของผล ประเภทของผล (Classification of Fruits) สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ไดแ้ ก่ 1. ผลเดี่ยว (Simple Fruit) คือผลที่เกิดจากรังไข่ดันเดียวที่อยู่ ภายในดอกเดยี ว ซง่ึ ภายในรงั ไขอ่ าจจะมีออวลุอนั เดียวหรอื หลายออวลุ ก็ได้ มี 2 แบบ คือ 1.1 ถ้าภายในรังไข่มีออวุลอันเดียวจะเจริญไปเป็นผลเดี่ยวที่มีเมล็ด เดยี ว เชน่ มะยม มะปราง มะมว่ ง พุทรา เงาะ มะพรา้ ว มะกอก ลำไย เปน็ ต้น ภาพแสดง ตัวอยา่ งผลเดย่ี วที่มีเมล็ดเดยี ว (มะปราง) https://images.app.goo.gl/KLs3MoekM1SCNWYf9 1.2 ถ้าภายในรังไข่มีหลายออวุลจะเจริญไปเป็นผลเดี่ยวที่มีหลาย เมล็ด เช่น แตงโม องุ่น ละมุด แตงกวา มะเขือ มะละกอ ส้ม ถั่ว มะนาว ทุเรยี น มงั คดุ มะขาม เปน็ ตน้ วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 36 ภาพแสดง ตวั อยา่ งผลเดยี่ วท่ีมหี ลายเมลด็ (มะละกอ) https://images.app.goo.gl/Y9LrUfZw7KjbUc4N7 2. ผลกลมุ่ (Aggregate Fruit) คอื ผลทเ่ี กดิ จากรังไขห่ ลายอนั ทอ่ี ยู่ ภายในดอกเดียวรงั ไขแ่ ตล่ ะอนั เม่ือไดร้ บั การผสมแล้วจะเจรญิ เป็นผลหนึ่งผล มี 2 แบบ คอื 2.1 รังไข่แต่ละอันจะเจริญแยกกนั เปน็ ผลย่อย 1 ผล ทำใหม้ ี ลักษณะเหมอื นผลหลายๆ ผลอยรู่ วมกนั เปน็ กลุ่มบนฐานรองดอกเดียวกัน เช่น กระดงั งา ลูกจาก จำปา จำปี นมแมว การเวก เปน็ ต้น ภาพแสดง ตวั อยา่ งผลกลุ่ม (ลกู จาก) ทม่ี า: https://images.app.goo.gl/NkrkgCZexfutFuwA7 วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 37 2.2 รังไข่แตล่ ะอันจะอยอู่ ดั กนั แนน่ บนฐานรองดอกเดียวกันจนทำ ใหด้ ูเหมอื นผลเดย่ี ว เช่น น้อยหนา่ ฝกั บัว สตรอเบอร์ร่ี เป็นตน้ ภาพแสดง ตวั อย่างผลกลุ่ม (นอ้ ยหน่า) ทม่ี า: https://images.app.goo.gl/JkaJnwdkStLZNnth8 3. ผลรวม (Multiple Fruit) คอื ผลที่เกิดจากรังไขข่ องดอกช่อโดย แต่ละดอกมีรังไข่อันเดียวรังไข่ของแต่ละดอกเมื่อเจริญเป็นผลจะเชื่อม รวมกันเป็นเนื้อเดียวกันจนดูคล้ายเป็นผลเดี่ยว เช่น สับปะรด ขนุน สาเก ลูกยอ ลูกหม่อน เป็นต้น (ดอกช่อ คือ กลุ่มของดอกที่อยู่บนก้านดอก เดียวกนั ) ภาพแสดง ตวั อย่างผลรวม (ขนนุ ) ทีม่ า: https://images.app.goo.gl/aHrDDxShm3teUePF6 วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 38 เมล็ดของพชื ดอก เปน็ เมล็ดที่มผี ลหอ่ หุ้ม ซงึ่ เป็นลกั ษณะเฉพาะของพชื ดอก รูห้ รอื ไมว่ า่ เมลด็ พืชมสี ว่ นประกอบ อะไรบา้ ง ส่วนประกอบของเมลด็ เมลด็ (Seed) คอื ออวลุ ทไ่ี ด้รับการปฏสิ นธิและเจริญเตบิ โตเตม็ ที่ ประกอบดว้ ย เปลือกเมล็ด มี 2 ชน้ั คือ ชน้ั นอก และชัน้ ใน เอนโดสเปิรม์ และเอม็ บรโิ อ วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 39 ภาพแสดง ส่วนประกอบของเมลด็ ทีม่ า: https://images.app.goo.gl/HayjNWY7y4LQVnXeA เมล็ดประกอบด้วยสว่ นตา่ งๆ ดังน้ี 1. เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดมีลักษณะ หนาและเหนียวหรือแข็ง เพื่อป้องกันอันตรายให้แก่ส่วนต่างๆ ที่อยู่ภายใน นอกจากน้ยี ังช่วยไมใ่ ห้เกิดการสญู เสียน้ำภายในเมล็ดออกไปดว้ ย เปลือกหุ้ม เมล็ดมี 2 ชั้น เปลือกชั้นนอกมักหนาและแข็ง ส่วนเปลือกชั้นในเป็นเยื่อ บางๆที่ผิวของเปลือกมักมีรอยแผลเป็นเล็กๆ ซึ่งเกิดจากก้านเมล็ดหลุด ออกไปเรียกรอยแผลนี้ว่าไฮลัม (hilum) ใกล้ๆ ไฮลัมมีรูเล็กๆ เรียกว่า ไม โครไพล์ (micropyle) ซ่ึงเป็นทางเข้าของหลอดละอองเรณนู ่นั เอง 2. เอ็มบริโอ (embryo) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่จะเจริญไป เป็นต้นพชื ประกอบดว้ ยส่วนต่างๆ ดังน้ี วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 40 2.1 ใบเลี้ยง (cotyledon) พืชใบเลี้ยงคู่มีใบเลี้ยงสองใบ ส่วนพืช ใบเลี้ยงเดี่ยวมีใบเลี้ยงใบเดียว ใบเลี้ยงมีหน้าที่ สะสมอาหาร มีในเมล็ดถั่ว ชนิดต่างๆ มะขาม บัว ใบเลี้ยงมีขนาดหนาและใหญ่ และไม่มีเอนโดสเปิร์ม แตใ่ นพืชบางชนดิ อาหารถูกสะสมอยู่ในเอนโดสเปิร์ม เน่อื งจากใบเลี้ยงไม่ได้ เก็บสะสมอาหารไว้ ใบเลี้ยงจึงมีลักษณะแบนบาง ใบเลี้ยงนอกจากจะช่วย ในการสะสมและให้อาหารแก่เอ็มบริโอแล้ว ใบเลี้ยงยังช่วยป้องกันไม่ให้ เอม็ บรโิ อทอ่ี ยู่ข้างในบุบสลาย เม่ือมีการงอกของเมล็ดเกดิ ขน้ึ 2.2 เอพิคอทิล (epicotyl) เป็นส่วนของเอ็มบริโอที่อยู่เหนือ ตำแหน่งทต่ี ิดกบั ใบเลีย้ ง สว่ นนจี้ ะเจรญิ เตบิ โตไปเป็นลำต้น ใบและดอกของ พชื 2.3 ไฮโพคอทิล (hypocotyls) เป็นส่วนเอ็มบริโอที่อยู่ใต้ตำแหน่ง ที่ติดกับใบเลี้ยง ในระหว่างการงอกของเมล็ดพืชใบเลี้ยงคู่หลายชนิด ไฮโพคอทิลจะเจริญดึงใบเลยี้ งให้โผลข่ ึน้ เหนือดนิ 2.4 แรดเิ คลิ (radicle) เปน็ ส่วนลา่ งสุดของเอ็มบริโออยู่ตอ่ จากไฮโพ คอทลิ ลงมา ตอ่ ไปจะเจริญเป็นราก 3. เอนโดสเปิร์ม (endosperm) เกิดจากการผสมของสเปิร์ม นิวเคลียสกับโพลาร์นิวคลีไอ ทำหน้าที่สะสมอาหารพวกแป้ง น้ำตาล โปรตีน ไขมนั ใหแ้ ก่เอ็มบริโอ ในเมล็ดละหงุ่ เมลด็ ละมดุ มีเอนโดสเปิร์มหนา มาก ใบเลี้ยงมีลักษณะแบนบางมี 2 ใบ สำหรับพืชพวกข้าว หญ้า จะมีใบ เลีย้ งใบเดียว อาหารจะสะสมอยู่ในเอนโดสเปริ ์ม บางชนดิ ไมม่ ีเอนโดสเปิร์ม วิชา ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 41 เนือ่ งจากสะสมอาหารไวท้ ี่ใบเล้ียง เมล็ดพืชบางชนิด เช่น ถั่วแขก ถั่วลันเตา นุ่น ไม่พบเอนโดสเปิร์มเลย เนื่องจากใบเลี้ยงย่อยและดูดอาหารจากเอนโด สเปิร์มไปเก็บไว้ทำให้ใบเลี้ยงหนามาก ในพืชบางชนิด เช่น มะพร้าว ตาล จะมเี อนโดสเปิรม์ ที่เป็นน้ำและเปน็ เนือ้ มะพร้าวสว่ นที่เป็นสีขาว เมล็ดถ่วั เมลด็ ขา้ วโพด ภาพแสดง ส่วนประกอบของเมล็ดถว่ั และเมลด็ ข้าวโพด ทม่ี า: https://images.app.goo.gl/QXkN8mHjQYni5m3JA การงอกของเมลด็ การงอกของเมล็ด (seed germination) หมายถึง การเจริญเติบโต ของเอมบริโอซึ่งอยู่ภายในเมล็ดงอกออกจากเมล็ดเป็นต้นใหม่ โดย วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 42 ส่วนประกอบของเมล็ดที่โผล่พ้นเมล็ดเป็นอันดับแรกคือ รากแรกเกิด (radicle) ซึ่งการงอกของเมล็ดนี้มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ และรปู รา่ งภายในเมล็ดดงั น้ี 1) การดูดน้ำของเมล็ด (imbibition) เมื่อเมล็ดที่แก่เต็มที่ได้รับ ความชื้นจากภายนอกเมล็ดจำนวนมากพอ เมล็ดจะดูดน้ำโดยการดูดอุ้ม (imbibition) มีผลทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัวลง เมล็ดพองขยายขนาด และน้ำหนักเพิ่มขึ้น มีผลให้เปลือกเมล็ดแตกออกทำให้น้ำและแก๊ส ออกซเิ จนเข้าไปในเมล็ดได้ 2) การเกิดเมแทบอลิซึม เมื่อเมล็ดรับน้ำเข้าไปจะกระตุ้นให้มีการ สร้างเอนไซม์ ภายในเมล็ดพืชจะเกิดการย่อยสลายสารอาหารที่มีอยู่เอนโด สเปิร์มหรือใบเลี้ยง ซึ่งเป็นสารอาหารที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ให้เป็น สารอาหารที่มีอณูเลก็ ลงและละลายนำ้ ได้ 3) การลำเลียงอาหาร อาหารจากเอนโดสเปิร์มหรือใบเลี้ยงที่ถูก ย่อยจนเป็นโมเลกุลเล็กๆ แล้วจะถูกลำเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของเอมบริโอ โดยการแพร่ 4) การเจริญเติบโตของเอมบริโอ เมื่อส่วนต่าง ๆ ของเอมบริโอ ได้รบั สารอาหารน้ำและแกส๊ ออกซเิ จนอย่างเพียงพอ จะเกดิ การหายใจทำให้ เกิดพลังงานนำไปใช้ในการแบ่งเซลล์ เพิ่มจำนวนเซลล์ เพิ่มขนาดของเอมบ ริโอ จนกระทง่ั รากอ่อนแทงทะลเุ ปลอื กหมุ้ เมล็ดออกมาพ้น อันดบั แรกและ ส่วนปลายยอดก็จะแทงเปลือกหุ้มเมล็ดออกมาเป็นอันดับต่อไป วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 43 ชนดิ ของการงอกของเมลด็ จำแนกโดยใช้ตำแหนง่ ที่อยู่ของใบเลย้ี งเดยี่ วขณะงอกเปน็ เกณฑ์ สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ 1) การงอกทใ่ี บเลยี้ งอยู่เหนอื ตน้ (epigeal germination) เปน็ การ งอกที่ต้นอ่อนใต้ใบเลี้ยง (hypocotyl) มีการยืดตัวเร็วมากถึงเอาใบเลี้ยง (cotyledon) และตน้ ส่วนเหนือใบเล้ียง (epicotyl) ออกจากเปลือกโผล่พ้น เหนือต้น และเมื่อต้นส่วนใต้ใบเลี้ยงตั้งตรงมีผลให้ยอดแรกเกิด (plumule) และตน้ ออ่ นเหนอื ใบเลย้ี ง(epidermis) ยืดตวั ใบเล้ียงกางออก เม่อื อาหารใน ใบเลี้ยงถูกใช้ไปหมดใบเลี้ยงจะหลุดล่วงไปในที่สุด พืชที่มีการงอกแบบน้ี ได้แก่ พืชใบเล้ยี งเช่น ละหงุ่ มะขาม ทานตะวัน ถัว่ เขียว ถั่วดำ ภาพแสดง การงอกทใี่ บเลี้ยงอยูเ่ หนอื ต้น ท่ีมา: https://images.app.goo.gl/ojFAXKtzkatANcB97 2) การงอกทีใ่ บเลี้ยงอยู่ใตด้ นิ (hypogeal germination) เป็นการ งอกทต่ี น้ อ่อนใต้ใบเลย้ี ง (hypocotyl) เจริญเตบิ โตและมีการยืดตัวช้าๆจึงมี ผลให้ยอดแรกเกิด (plumule) งอกขึ้นบนดินได้ แต่ต้นอ่อนใต้ใบเลี้ยง วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 44 (hypocotyl) และใบเลย้ี ง (cotyledon) ยังอยใู่ ตด้ นิ พืชทงี่ อกแบบน้ีมักเป็น พชื ใบเลี้ยงเด่ยี ว เช่น ขา้ ว ขา้ วโพด มะพร้าว หญา้ เป็นตน้ พชื ใบเล้ียงคู่บาง ชนดิ ได้แก่ พืชพวกถั่วเมลด็ กลม เช่น ถวั่ ลนั เตา และพืชพวกสม้ ภาพแสดง การงอกทใี่ บเลี้ยงอยูใ่ ต้ดนิ ทีม่ า: https://images.app.goo.gl/JP9EihvYrBebF2c87 ปจั จยั ที่มีผลตอ่ การงอกของเมล็ด เมลด็ พืชจะงอกได้ตอ้ งอาศยั ปจั จัยหลายอย่าง ไดแ้ ก่ 1. เมล็ดตอ้ งมชี วี ติ หมายความวา่ เมลด็ น้นั ยงั มชี วี ิตอยู่และสามารถ ที่จะงอกได้ในการเก็บเมล็ดพืชไว้นานๆ เมล็ดพืชจะหมดอายุทำให้เพาะไม่ งอกหรอื มอี ัตราการงอกตำ่ 2. นำ้ และความชน้ื เปน็ ปจั จยั ท่มี คี วามสำคญั มากเพราะน้ำมหี นา้ ท่ี 2.1 นำ้ ชว่ ยให้เปลอื กห้มุ เมล็ดยุ่ยทำให้แรดเิ คลิ และยอดออ่ นของ เอ็มบริโอโผลอ่ อกมาได้ วิชา ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT

จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 45 2.2 นำ้ ทำให้เมล็ดขยายขนาดข้ึน ทำใหโ้ พรโทพลาสซมึ เจือจางลง แต่มีปฏิกิริยาตา่ งๆ มากขึ้น 2.3 น้ำช่วยใหแ้ ก๊สออกซิเจนผา่ นเข้าสู่เซลลข์ องเอม็ บรโิ อได้งา่ ยข้นึ 2.4 น้ำช่วยในการละลายอาหารที่สะสมอยู่ในเอนโดสเปิร์มหรือใบ เลี้ยง เพื่อนำอาหารไปเลี้ยงเอ็มบริโอทำให้เอ็มบริโอแบ่งเซลล์และ เจริญเตบิ โตขึ้น 3. ออกซเิ จน ออกซิเจนมคี วามสำคัญต่อการสรา้ งพลังงานของ เอ็มบรโิ อในขณะท่ีเมล็ดงอกจะเปน็ ต้องใชอ้ อกซเิ จนจำนวนมาก เพราะการ หายใจกอ่ ให้เกดิ พลงั งาน ซงึ่ นำไปใช้ในการแบ่งเซลล์ ลำเลียงสาร สร้าง ส่วนตา่ งๆ ทีจ่ ำเปน็ 4. อุณหภูมิที่พอเหมาะ เมล็ดพืชโดยทั่วไปจะงอกได้ดีที่อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส พืชเมืองหนาวงอกได้ดีที่อุณหภูมิ 10-20 องศา เซลเซียส แต่ก็มีพืชอีกหลายชนิดที่ต้องการอุณหภูมิสูงหรือต่ำกว่านี้ เช่น ข้าวบาร์เลย์จะงอกได้เมื่ออุณหภูมิต่ำใกล้จุดน้ำแข็ง บวบเหลี่ยมถ้าให้ อณุ หภมู ิ 20 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 16 ช่วั โมงสลับกับอุณหภมู ิ 30 องศา เซลเซยี ส เปน็ เวลา 8 ช่ัวโมง เมล็ดจึงจะงอกไดด้ ี 5. แสง แสงจะเป็นสำหรับพืชบางชนิดเท่านั้น เช่น วัชพืชต่างๆ หญ้า ยาสูบ กาฝาก ไทร ผักกาดหอม สาบเสือ ปอต่างๆ จำเป็นต้องได้รับ แสงจึงจะงอกได้ แต่ในเมล็ดพืชอีกหลายชนิดไม่ต้องการแสงในขณะที่งอก เชน่ กระเจี๊ยบ แตงกวา ผกั บุ้งจีน ฝ้าย ขา้ วโพด วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook