จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 46 หากยังไม่เขา้ ใจมาดวู ดี ิโอ การงอกของเมล็ดกันดกี ว่าคะ่ กดตรงลิงค์นไ้ี ดเ้ ลย https://www.youtube.com/w atch?v=TE6xptjgNR0 การพกั ตัวของเมลด็ การงอกของเมล็ดเมื่อเมลด็ อยูใ่ นสภาพท่ีเหมาะสมเมล็ดจะงอกและ เจรญิ เปน็ ตน้ พืชใหม่เมลด็ พชื บางชนดิ จะงอกไดท้ ันทเี ม่ือแก่เต็มที่และสภาพ สิ่งแวดล้อมภายนอกเหมาะสม แต่เมล็ดบางชนิด ถึงแม้สภาพแวดล้อม ภายนอกจะเหมาะสมแต่ก็ยังงอกไม่ได้ จะต้องรอระยะเวลาระยะหนึ่งก่อน จึงจะงอกได้ ระยะเวลาที่ต้องรอนี้ เรียกว่า การพักตัวของเมล็ด (seed dormancy) การพักตัวของเมล็ดมีสาเหตหุ ลายประการ ได้แก่ วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 47 ภาพแสดง การพกั ตัวของเมลด็ ที่มา: https://images.app.goo.gl/tWgU2qz5HdRoMi9g6 1. เปลือกหุ้มเมล็ดไม่ยอมให้น้ำซึมผ่าน เข้าไปยังส่วนต่างๆของ เมล็ด เนื่องจากเปลือกหุ้มเมล็ดหนา หรืออาจมีสารบางชนิดหุ้มอยู่ เช่น คิว ติน หรอื ซูเบอริน ในธรรมชาตเิ มลด็ พืชบางชนดิ ท่ีหนาและแขง็ จะอ่อนตัวลง โดยการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในดินหรือการที่เมล็ดผ่านเข้าไปในระบบ ย่อยอาหารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือนก เช่น เมล็ดโพธิ์ เมล็ดไทร เมล็ด ตะขบ หรอื อาจแตกออกดว้ ยแรงขดั ถู หรือถกู ไฟเผา เชน่ เมล็ดพืชวงศ์หญ้า วงศ์ไผ่บางชนดิ เมลด็ ตะเคียน เมล็ดสัก วิธีการแก้การพักตัวของเมล็ดจากสาเหตุนี้อาจทำได้โดยการแช่น้ำ ร้อน หรือแช่ในสารละลายกรดเพราะจะทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนนุ่ม การ ใช้วิธีกลโดยการทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดแตกออกมีหลายวิธี เช่น การปาด เฉือน หรือการกะเทาะ แต่ไม่ให้กระทบกระเทือนถึงเอ็มบริโอ เช่น การ เฉือนเปลือกแขง็ บางสว่ นของเมลด็ มะม่วงหรอื วิธีนำไปใหค้ วามร้อนโดยการ เผา หรือการใช้ความเย็นสลับกับความร้อนซึ่งมักจะเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำ ระยะหนึ่ง แลว้ จงึ นำออกมาเพาะ วิชา ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 48 2. เปลือกหุ้มเมล็ดไม่ยอมให้แก๊สออกซิเจนแพร่ผ่าน การพักตัว แบบนี้มีน้อย ส่วนใหญ่เป็นพืชวงศ์หญ้าเป็นการพักตัวในระยะสั้นๆ เก็บไว้ ระยะหนึง่ กส็ ามารถนำไปเพาะได้ วธิ ีการแก้การพกั ตัวอาจทำได้โดยการเพิ่ม แกส๊ ออกซิเจน หรือใชว้ ิธีกลทำใหเ้ ปลอื กหุม้ เมลด็ แตก 3. เอ็มบริโอของเมล็ดยังเจริญไม่เต็มที่ เมล็ดไม่สามารถจะงอกได้ ต้องรอเวลาช่วงหนึ่ง เพื่อให้เอ็มบริโอมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี รวมไป ถึงการเจริญพัฒนาของเอ็มบริโอให้แก่เต็มที่เมล็ดจึงจะงอกได้ เช่น เมล็ด ของปาล์มนำ้ มันอฟั ริกา 4. สารเคมีบางชนิดยับยั้งการงอกของเมล็ด เช่น สารที่มีลักษณะ เป็นเมือกหุ้มเมล็ดมะเขือเทศทำให้เมล็ดไม่สามารถงอกได้ จนกว่าจะถูกชะ ล้างไปจากเมลด็ การแก้การพักตัวอาจลา้ งเมลด็ ก่อนเพาะหรอื ใช้สารเร่งการ งอก เชน่ จิบเบอเรลลิน (gibberellin) นอกจากนี้เมล็ดพืชในเขตหนาวของโลก เช่น แอปเปิล เชอรี่ ต้องมี การปรับสภาพภายใน โดยการผ่านฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิต่ำและมีความชื้น สงู จงึ จะงอก เพราะอุณหภูมิตำ่ น้ที ำใหป้ ริมาณของกรดแอบไซซกิ (abscisic acid) ที่ยับยั้งการงอกของเมล็ดลดลงได้ ในขณะที่จิบเบอเรลลิน หรือไซโท ไคนนิ (cytokinin) ทสี่ ่งเสรมิ การงอกของเมล็ดจะเพิม่ ขึ้น เมล็ดพชื บางชนิดไมป่ รากฏว่ามีระยะพักตัวเลย บางชนดิ อาจมีระยะ พักตัวสั้นมากจนสังเกตไม่ได้ เมล็ดของพืชเหล่านี้สามารถงอกได้ทันทีที่ตก วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 49 ถึงดนิ บางชนดิ งอกได้ทง้ั ๆ ทีเ่ มลด็ ยังอยใู่ นผลหรืออยู่บนต้น เชน่ เมล็ดขนุน เมล็ดโกงกาง เมล็ดมะละกอ เมลด็ มะขามเทศ เป็นต้น เรามาสรุปกนั เป็นตารางเพอ่ื ให้ เข้าใจงา่ ยๆ กันดีกวา่ ค่ะว่าเมล็ดพชื ใบเล้ียงเดี่ยวและเมล็ดพชื ใบเลีย้ งคู่ เหมือนและแตกต่างกนั อยา่ งไร ตารางเปรียบเทยี บความแตกต่างของเมล็ดพืชใบเลีย้ งเด่ยี วและใบเลย้ี งคู่ ข้อเปรยี บเทียบ เมล็ดพืชใบเล้ียงคู่ เมลด็ พชื ใบเล้ียงเด่ียว (เมล็ดถั่ว) (เมล็ดข้าวโพด) 1. เปน็ สว่ นที่ ออวลุ ออวลุ และรงั ไข่ เปลย่ี นแปลงมาจาก 2. สว่ นทีห่ ่อห้มุ มเี ปลอื กหุ้มเมลด็ มเี ปลือกหุ้มผลและมี เปลอื กหมุ้ เมล็ด 3. เอนโดสเปริ ์ม ไมม่ ี มี 4. จำนวนใบเลี้ยง 2 ใบ 1 ใบ 5. บรเิ วณทสี่ ะสม ใบเลีย้ ง เอนโดสเปิร์ม อาหาร วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 50 การกระจายพนั ธุ์ของผลและเมล็ด การกระจายพนั ธุ์ของผลและเมล็ด (fruit and seed dispersal) จะ ช่วยให้พชื ไม่สญู พนั ธ์ไป มีหลายวธิ ี พชื มกี ารปรับตัวเพอื่ ช่วยให้ตนเอง แพร่กระจายพันธ์ไุ ปได้มากและไกล ดว้ ยวิธีการต่างๆ ดงั นี้ 1. อาศัยลม ผลและเมล็ดทอ่ี าศยั ลมพาไปจะตอ้ งมนี ำ้ หนกั เบา หรอื มีเครอื่ งชว่ ยใหล้ อยตัวได้นานๆ ได้แก่ 1.1 ผลหรอื เมลด็ ท่มี ปี ีก (wing) เป็นเครือ่ งช่วยในการปลวิ ตามกระแสลม ผลมปี ีก เช่น ผลของมนั นก กลอย ประดู่ ยาง สะแก เป็นตน้ และเมลด็ ของตะแบก อินทนินน้ำ ทองอุไร เปน็ ตน้ ภาพแสดง เมล็ดของสะแก ทม่ี า: https://images.app.goo.gl/Vm3fukPkaWoUusAz7 1.2 เมล็ดมีปุย (hair) คลา้ ยรม่ ชูชีพ เป็นเคร่อื งช่วยในการ พยุงลอยตวั ในอากาศได้นานๆ เช่น เมล็ดของขา้ วสารดอกเล็ก รกั ขจร นนุ่ เปน็ ต้น วิชา ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 51 ภาพแสดง เมลด็ นุน่ ที่มา: https://images.app.goo.gl/Rc8SKPx4wqhZZhwh6 1.3 ผลหรือเมลด็ มขี นาดเลก็ และเบามาก เชน่ เมล็ดของ กล้วยไม้ ยาสูบ กะเพรา หญา้ ชนิดต่างๆ เป็นตน้ ภาพแสดง เมล็ดกะเพรา ที่มา: https://images.app.goo.gl/Pi82xt9TMRe2mtZE8 2. อาศยั นำ้ ซง่ึ ส่วนใหญผ่ ลเมล็ดเหลา่ นี้ มักจะเบาลอยน้ำได้ เช่น ผลของบวั สาย มะพรา้ ว และผลของพืชน้ำ เมลด็ ของแมงลกั เปน็ ต้น วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 52 ภาพแสดง ผลมะพรา้ วลอยน้ำ ที่มา: https://images.app.goo.gl/vy9SimyyN5LmRKtr8 3. อาศยั สตั ว์ ผลมกั มีเน้อื ผลทส่ี ัตวก์ ินได้ นกหรอื สัตว์อืน่ ๆ ทีก่ ิน เนอ้ื ผลแลว้ กท็ ้ิงเมล็ดให้งอกตอ่ ไป สตั ว์บางชนดิ อาจจะกินเมลด็ เข้าไปดว้ ย แต่เปลือกหุ้มเมล็ดแขง็ ทนทานตอ่ นำ้ ย่อยกระเพาะ เมือ่ สตั ว์ถ่ายออกมา และตกลงพ้ืนดิน กง็ อกตอ่ ไป หรือเมล็ดมยี างเหนียว ทำให้ตดิ ปากสตั วไ์ ปได้ ไกลๆ เมลด็ บางชนดิ มีหนาม หรอื ยางเหนียวเพอ่ื เกาะตามตัวสตั ว์ เช่น ผล ของไทร หญา้ บ้งุ หนามกระสุน หญ้าเจา้ ชู้ เป็นตน้ ภาพแสดง นกกนิ เมลด็ เขา้ ไปเพอ่ื ช่วยกระจายพันธุพ์ ืช ทมี่ า: https://images.app.goo.gl/vBGXhN1aq2Tvtb1s9 วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 53 ภาพแสดง หนกู ินผลเบอรี่เพอ่ื ชว่ ยกระจายพันธุ์พืช ที่มา: https://images.app.goo.gl/6Fb4cDo23qNjVJdE6 ภาพแสดง เมลด็ พชื ทีม่ ีหนาม (หนามกระสนุ ) https://images.app.goo.gl/59xb91fpkxEUwjnm9 ภาพแสดง เมลด็ พืชที่มหี นาม (หญา้ เจ้าช)ู้ ทีม่ า: https://images.app.goo.gl/93TQZzwNDjx7dozY9 วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 54 4. อาศยั การแตกของผล เมื่อผลแก่ เปลือกจะแตกออกและชว่ ยดีด ให้เมลด็ ปลวิ ไปไดไ้ กลๆ เช่น ผลของเทียน ต้อยต่ิง ไม้แดง เป็นตน้ ภาพแสดงการแตกออกของเมล็ดตอ้ ยติ่ง ทีม่ า: https://images.app.goo.gl/eN7oEE2ePqLW4k4v8 การกระจายของผลและเมล็ดไม่จำเปน็ ต้องกระจายไปไกลจากตน้ เดมิ หากบริเวณต้นเดิมมคี วามเหมาะสมต่อการงอก เมลด็ กส็ ามารถงอกได้ เชน่ ถั่วลิสง ท่ีช่อผลปักลงดนิ ใต้โคนต้นเดมิ และเมลด็ สามารถงอกได้ ภาพแสดง เมล็ดต้นตวั่ ลสิ ง ท่ีมา: https://images.app.goo.gl/dSTGD9ew1G8LKGGH8 วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 55 จากท่เี ราได้เรียนร้กู ัน ทำใหเ้ ราได้รู้วา่ ผลและเมล็ดพชื มีลักษณะทหี่ ลากหลาย พชื จงึ มวี ธิ กี ารกระจายผลและเมลด็ ท่ี ต่างกนั เพ่อื ใหพ้ ชื สามารถดำรงพนั ธ์ุได้ ตอ่ ไป เห็นไหมว่าวิทยาศาสตร์สนกุ กวา่ ที่ คดิ ถ้าเช่นน้นั ไปทดสอบหลังเรียน กนั เลยดีกวา่ คะ่ กดลงิ ค์ตรงนี้เลย https://bit.ly/3fjFQxL วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 56 วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 57 ก่อนจะเร่มิ เรียนเรอ่ื ง การสบื พันธ์ุแบบ ไมอ่ าศยั เพศ ลองทำแบบทดสอบก่อน เรยี นกันนะคะ กดตรงลิงคน์ ี้เลยค่ะ https://bit.ly/3yhuz9A นอกจากการสืบพนั ธ์แุ บบอาศยั เพศแลว้ พืชดอกยังมกี าร สบื พันธแ์ุ บบอ่ืนอีกหรือไม่ เราไป เรียนร้ตู ่อกันเลยนะคะ วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 58 พืชดอกบางชนิดนอกจากจะสืบพันธุ์แบบ อาศัยเพศได้แล้ว ยังพบการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัย เพศ (asexual reproduction) ไดด้ ้วย พืชตน้ ใหม่ ที่เกิดจากการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศนั้นไม่ได้ จากการปฏิสนธิ แต่เกิดจากส่วนต่างๆ ของพืชต้น เดิม เช่น ราก ลำตน้ ใบ เจริญเติบโตและพัฒนาขน้ึ มาเป็นต้นใหม่ การสบื พนั ธแ์ุ บบไมอ่ าศัยเพศของพืช การสบื พันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพชื เป็นการสืบพันธท์ุ ไ่ี มอ่ าศัย ดอกและไมม่ ีการผสมระหวา่ งเซลลส์ ืบพนั ธ์ุเพศผูก้ ับเซลล์สบื พนั ธ์เุ พศเมีย พชื ดอกหลายชนดิ สืบพันธุ์ไดท้ ้ังแบบอาศยั เพศและไม่อาศัยเพศ วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 59 พชื ต้นใหม่ทีเ่ จริญเติบโตมาจากส่วนของต้นพอ่ แม่เรียกวา่ การแพร่ พนั ธุ์โดยใช้สว่ นของพอ่ แม่ (Vegetative propagation) การขยายพันธ์พุ ชื ท่ี มีตน้ แปลกไปจากต้นพชื ทวั่ ๆ ไป (Propagation of Specialized Stem) มี พืชหลายชนดิ ทีต่ น้ (stem) มลี ักษณะผิด ไปจากต้นพืชทีพ่ บเหน็ ทว่ั ๆ ไป และเรามักเรียกส่วนของตน้ ที่แปลกออกไปน้เี ปน็ ช่อื ต่างๆ แลว้ แตช่ นิดของ พชื เช่น เรยี กว่า หัว เหงา้ แงง่ จกุ ตะเกียง ไหล เป็นต้น ภาพแสดง ลำต้นท่ีมีลักษณะต่างๆ ท่มี า: https://images.app.goo.gl/hjFFk7ETzCEaKLDV6 พชื ประเภทหวั คำว่า \"หัว\" หมายถึง ส่วนของต้นพืชที่มีลักษณะกลมหรือค่อนข้าง กลม ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษได้หลายคำ อาจหมายความถึง หัวที่ เกิดจากกาบใบ (bulb) หัวท่เี กดิ จากตน้ (tuber) หวั ที่เกิดจากเหง้า (corm) และหัวทเี่ กิดจากราก (fleshy root) กไ็ ด้ วิชา ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 60 1. หวั ที่เกิดจากกาบใบ (bulb) หัวทีเ่ กิดจากกาบใบ เป็นหัวของพืช ใบเลี้ยงเดี่ยวที่เกิดจากกาบใบห่อหุ้มกันเป็นก้อน มีขนาดเล็กหรือใหญ่ แล้วแต่ชนิด และความอ่อนแก่ของต้นพืช ได้แก่ หอมแดง หอมฝรั่ง ว่านส่ี ทศิ วา่ นแสงอาทิตย์ เป็นตน้ ภาพแสดง ดอกว่านส่ที ิศ ดอกว่านแสงอาทิตย์ ท่มี า: https://www.saranukromthai.or.th 2. หัวที่เกิดจากเหง้า (corm) เหง้า คือ ลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ชนิดหนึ่งที่อัดตัวกันแน่นเป็นก้อนกลม ซึ่งเราเรียกลำต้นในลักษณะนี้ว่า เหง้า (แต่มักจะเรียกทั่วๆ ไปว่า หัวมากกว่าเหง้า) พืชที่มีลักษณะลำต้นเป็น เหง้า ซึ่งสามารถเลี้ยงดูให้เจริญงอกงามได้ มีอยู่ในบ้านเราเพียงชนิดเดียว คือ ซอ่ นกล่นิ ฝร่ัง (gladiolus) วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 61 ภาพแสดง ตน้ ซ่อนกล่ินฝร่ัง (gladiolus) ที่มา: https://images.app.goo.gl/Eprq66s3uZ3iqoDeA 3. หัวที่เกดิ จากต้น (Tuber) หัวที่เกิดจากต้น คือ หัวที่เกิดจากการ ที่ต้น เกิดการสะสมอาหาร และอัดตัวแน่นเป็นก้อน หรือเป็นแท่ง ซึ่งอาจ เป็นหัวที่เกิดขึ้นใต้ผิวดิน เช่น หัวมันฝรั่ง หัวบอนสี และหัวเผือก หรืออาจ เจรญิ อย่เู หนือผิวดิน เช่น ต้นกระดาษ หรือตน้ ดฟิ เฟนบาเกีย เป็นต้น ภาพแสดง หวั ท่ีเกิดจากตน้ (หวั มนั ฝรัง่ ) ทมี่ า: https://images.app.goo.gl/yTkuLeCDiwno4Fob6 วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 62 4. หัวที่เกิดจากราก หัวที่เกิดจากราก คือ การที่รากของพืชไม้ เนื้ออ่อนอายุยืนบางชนิด เกิดการสะสมอาหารขึ้นที่ราก ซึ่งลักษณะรูปร่าง ของรากที่สะสมอาหารนี้ อาจแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของพืช อย่างไรก็ ตาม ก็ยังคงลักษณะทั้งภายใน และภายนอก เช่นเดียวกับราก คือ ไม่มีข้อ และปล้อง แต่อาจมีตาอยู่ตรงส่วนที่เป็นต้นติดกับราก ส่วนรากฝอยจะเกิด อยู่ทางด้านปลายราก หัวท้ายของรากเป็นไปในลักษณะตรงกันข้ามกับหัว ท้ายของต้น หัวที่เกิดจากรากมีอยู่ 3 แบบ คือ หัวมันเทศ หัวรักเร่ และหัว ของตน้ บีโกเนยี ภาพแสดง หัวที่เกดิ จากราก (หวั มนั เทศ) ท่มี า: https://images.app.goo.gl/Z1aHEn851kfBwCnUA ภาพแสดง หวั ท่ีเกดิ จากราก (หวั รกั เร)่ https://images.app.goo.gl/9N1jF9VtaYnXv6cJ7 วิชา ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 63 พืชประเภทกอ พืชประเภทกอ (rhizomes) คอื พชื ทล่ี ำต้นเจรญิ ในระดับ ผวิ ดนิ ซึ่ง เม่ือเจรญิ ไปได้ระยะหนึ่ง ปลายยอดก็เจริญเป็นต้นปลอม แล้วออกดอกและ ติดฝักหรือติดผล และเกิดเมล็ดต่อไป พืชประเภทนี้นับว่าเป็นกลุ่ม พืชที่ ใหญ่ที่สุดในบรรดาพืชที่มีลำต้นแปลกปลอม เพราะมีชนิดพืชที่มีความใหญ่ ขนาดไม้ยืนต้น ดังเช่น กอไผ่ไปจนกระทั่งเล็กเตี้ยติดดิน เช่น หญ้าสนาม ชนดิ ต่างๆ เปน็ ตน้ และนับเปน็ ประเภทของพืชที่มีความสำคญั ทางเศรษฐกิจ มากทีส่ ุด ภาพแสดง ไผ่เปน็ พชื ชนิดกอ ท่ีมา: https://images.app.goo.gl/sxEW4R45cn2DNZJ69 ในบรรดาพืชที่มีต้นแปลกปลอมด้วยกัน เป็นต้นว่า เป็นพืชที่มีคุณ ค่าทางอาหารสูง ดังเช่น กล้วย มีความสวยงาม สะดุดตาสะดุดใจ เช่น กลว้ ยไมป้ ระเภทหวายและแคทลยี า มรี สชาติ และกลิน่ หอม นา่ รบั ประทาน เช่น ขิง หน่อไม้ฝรั่ง หน่อไม้น้ำ ตะไคร้ ตลอดจนมีความงามตามธรรมชาติ วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 64 ในลักษณะไม้ประดับ เช่น ต้นคล้าชนิดต่างๆ และปาล์มชนิดต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นวัชพืชที่ทำลายเศรษฐกิจอย่างร้ายกาจ เช่น หญ้าแห้วหมู หญ้าคา หญ้าชันกาด เป็นต้น จึงนับได้วา่ พืชท่ีอยู่ในประเภทกอนี้ เป็นพืชที่ มคี วามสำคญั การขยายพันธุ์พืชประเภทกอ อาจจะทำได้ง่ายโดยการแบ่งกอ หรือ แบ่งต้น (division of rhizome) ออกเป็นส่วน ซึ่งขนาดของส่วนที่แบ่งจะ มากนอ้ ยแล้วแตช่ นดิ ของพืชและปรมิ าณการสะสม ธาตุอาหารท่มี อี ยู่ในส่วน ของต้นที่ใช้ขยายพันธุ์นั้น โดยปกติมักจะใช้ส่วนของกอหรือต้นแก่ และจะ ขยายพันธุ์ในระยะทตี่ น้ หยดุ หรือชะงักการเจริญใน รอบปกี ่อนทจ่ี ะเริม่ เจริญ ใหม่ในปีต่อไป เพราะอาหารที่เก็บสะสมอยู่จะได้นำไปใช้ในการเริ่มชีวิต ใหม่ ก่อนที่จะใชไ้ ปในการเจริญตามส่วนต่างๆ ของ ต้นพืช การแบ่งกออาจ ทำได้ง่ายโดยการตดั แบ่งหกั หรอื แยกสว่ นของตน้ ออกจากกัน ภาพแสดง ตะไคร้เปน็ พืชชนิดกอ ทีม่ า: https://www.saranukromthai.or.th วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 65 พืชประเภทไหล สโตลอน (Stolon) หรือไหล เป็นลำต้นเหนือดินที่ทอดขนานกับผิว ดิน มีความยาวของปล้องมาก มักมีรากงอกออกมาตามข้อและเกิดต้นใหม่ เมื่อทอดไปแตะกับผวิ ดินหรือน้ำก็งอกรากและตน้ ใหม่ข้ึนมา เช่น บวั บัวบก สตรอเบอร่ี ผักตบชวา ผกั กระเฉด ผักบุง้ เปน็ ตน้ สตรอเบอร่ีมีลำต้นที่แตกออกไปทางด้านข้าง โดยเลื้อยไปบนพื้นดิน เรียกว่า ไหลและจะสร้างตา ตา แตล่ ะอนั จะเจริญเป็นพืชตน้ ใหม่ ภาพแสดง ไหลสตรอเบอร่ี ทมี่ า: https://images.app.goo.gl/2P2T43En3nytWXez8 วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 66 รูห้ รอื ไม่ ตน้ บัวหลวง จัดเปน็ ไม้ลม้ ลุก มอี ายุหลายปี ลำต้นมี ทั้งเปน็ เหงา้ อย่ใู ตด้ นิ และเป็นไหลอยู่เหนอื ดินใตน้ ำ้ ลกั ษณะของเหง้า เป็นท่อนยาว มปี ลอ้ งสีเหลืองอ่อนจนถงึ สเี หลอื ง มคี วามแขง็ เล็กน้อย หากตดั ตามขวางจะเหน็ เป็นรปู กลมๆ อยู่หลายรู โดยส่วนของไหลจะ เป็นส่วนเจริญไปเป็นต้นใหม่ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ในระดับน้ำลึก 30-50 เซนติเมตร และสามารถขยายพันธุ์ด้วย วิธกี ารใชเ้ มลด็ หรอื วิธกี ารแยกไหลก็ได้ ภาพแสดง บัวหลวง ท่มี า : https://images.app.goo.gl/8SY7oq7BZPLeY8Jo8 วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 67 เพื่อนๆ จะสังเกตเห็นว่า พืชที่เกิดจากการ สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ส่วนใหญ่มักจะ เจริญเติบโตอยู่ไม่ไกลจากต้นเดิม เพราะเกิด จากส่วนของต้นเดิมที่แตกหรือทอดยาว ออกไป พืชต้นใหม่จะขยายขนาดโตขึ้นแล้ว จงึ จะแยกออกจากตน้ เดมิ เปน็ ตน้ เดย่ี ว อา่ นจบบทที่ 4 กันแลว้ เห็นไหมว่าวทิ ยาศาสตรส์ นกุ กว่าท่ีคดิ เราไปทดสอบหลงั เรยี นกันเลยดกี วา่ ค่ะ กดลิงค์ตรงน้เี ลย https://bit.ly/3weBK0J วิชา ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 68 วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 69 ก่อนจะเร่ิมเรียนรใู้ นบทเรียนสดุ ท้าย ลอง มาทำแบบทดสอบกอ่ นเรยี นกันดีกวา่ คะ่ กดตรงลิงค์น้ีเลยคะ่ https://bit.ly/3bOQawT มนุษย์นำความรู้เรื่องการสืบพันธุ์ของพืชมาใช้เพิ่ม จำนวนหรือปรับปรุงพันธุ์พืชให้ได้ลักษณะและปริมาณ ตามตอ้ งการ มนษุ ย์ใช้วิธกี ารอย่างไร ไปเรยี นรู้กันเลยคะ่ วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 70 พืชมีประโยชน์ต่อมนุษย์มากเพราะเป็นที่มาของปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค และยังเป็นแหล่งพักผ่อน หย่อนใจ เมื่อประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้น ความต้องการใช้ประโยชน์จากพืชก็ มากขึ้น จึงต้องมีการขยายพันธุ์พืช (Plant propagation) เพื่อให้ได้พืช จำนวนมากเพียงพอตอ่ ความตอ้ งการ นักเรียนคดิ ว่ามนษุ ย์ขยายพันธ์ุพชื ได้โดยวิธใี ดบ้าง และแตล่ ะวธิ เี หมาะ กบั การขยายพนั ธ์ทุ ม่ี ลี ักษณะ อย่างไร เราไปเรยี นรกู้ นั เลยค่ะ การขยายพันธุ์พืชเป็นการที่มนุษย์นำความรู้เรื่องการสืบพันธุ์แบบ อาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศของพืชมาใช้เพื่อเพิ่มจำนวนพืช การ ขยายพันธุ์พืชมีหลายวิธี แต่ละวิธีมีขั้นตอน ข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกัน พืชแต่ละชนิดสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี จึงควรเลือกวิธีการขยายพันธ์ุ ให้เหมาะสมกับชนิดของพืช และสามารถเพิ่มจำนวนพืชได้ตามความ ตอ้ งการ วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 71 การขยายพันธุ์พชื โดยใชเ้ มลด็ การขยายพันธ์ุพืชท่ีเก่ียวข้องกับการสืบพันธ์ุแบบอาศัยเพศ คือ การ เพาะเมลด็ โดยปกตมิ กั จะทำไปพร้อมๆ กบั การปลกู พชื ไปในตวั หรือพูดว่า การปลกู พืชโดยใช้เมล็ดก็คือ การขยายพันธุ์พชื โดยใช้เมล็ดนน่ั เอง เช่น การ ปลูกข้าว ซึ่งเมล็ดข้าว 1 เมล็ด เจริญเป็นต้นข้าวได้ 1 ต้น และต้นข้าว ที่ได้ เม่อื โตข้ึน ก็จะแตกกอเปน็ หลายตน้ แตล่ ะต้นก็จะออกรวงเกิดเป็นเมล็ดข้าว ได้หลายเมล็ด ซึ่งเมื่อนำเมล็ดข้าวเหล่านี้ไปปลูก ก็จะเจริญเป็นต้นข้าวได้ หลายต้น ในทำนองเดียวกัน การปลูกข้าวโพด ถั่วต่างๆ ฝ้าย ละหุ่ง ฯลฯ ก็ เปน็ ไปแบบเดยี วกนั กบั การปลกู ข้าว จงึ เหน็ ได้ว่า การปลูกพชื จากเมล็ดก็คือ การขยายพนั ธพ์ุ ืชโดยใช้เมลด็ นน่ั เอง ภาพแสดง การขยายพนั ธโุ์ ดยการเพาะเมล็ด ที่มา: https://images.app.goo.gl/GjBRuBCBL67YVLC4A วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 72 เมล็ดที่จะนำมาเพาะควรจะเปน็ เมลด็ ที่ได้จากต้นแมท่ ีแ่ ข็งแรง เมลด็ ที่ความสมบรู ณ์ดี คือ เมล็ดเต่งและมีน้ำหนักดี เป็นเมล็ดที่ไม่อยู่ในระยะพัก ตัว งอกได้มาก หรือมีเปอรเ์ ซน็ ต์ความงอกสูง งอกไดเ้ ร็วและสม่ำเสมอ ไม่มี วัตถุอ่ืนเจือปนมากับเมล็ด เป็นเมล็ดที่ปราศจากเชื้อโรค หรือผ่านการคลุก ยาฆ่าเชื้อโรคมาแล้ว พืชที่นิยมขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เช่น พริก มะเขอื ขา้ ว ขา้ วโพด มะละกอ ถว่ั สัก มะพรา้ ว ภาพแสดง เมลด็ ถ่ัวตา่ งๆ ท่มี า: https://images.app.goo.gl/ynWT6fTU8tJ2xqYK6 พืชบางชนิดมีข้อจำกัดในการขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล็ด เช่น สร้างเมล็ดน้อย เมล็ดงอกยาก เมล็ดไม่สมบูรณ์ หรือต้นที่เกิดจากการเพาะ เมล็ดเจรญิ เตบิ โตช้า วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 73 ผมจะสรุปขอ้ ดีของการเพาะเมลด็ ใหท้ ุกคนทราบกันครับ 1. ทำไดง้ า่ ยและได้ปริมาณมาก เพราะสะดวกในการปฏิบตั ิ 2. เสียคา่ ใชจ้ า่ ยนอ้ ยเพราะไม่ต้องใช้เคร่ืองมือหรืออุปกรณ์ตลอดจน ฝีมอื ในการปฏิบตั ิมากนกั 3. สะดวกในการขนส่งระยะทางไกลๆ เพราะทนทานและตายยาก ประกอบกบั มีขนาดเลก็ จึงสะดวกที่จะบรรจุหีบหอ่ หรือหยิบยก 4. เก็บรักษาได้นาน เพราะไม่ต้องการสิ่งแวดล้อมในการดำรงชีวิต มาก เพยี งแต่เกบ็ ใหถ้ กู ตอ้ งเท่าน้ัน 5. ได้ต้นพืชที่มีระบบรากดี เพราะมีรากแก้ว ดังนั้นจึงมีรากหยั่งลึก และการที่ต้นพืชมีรากลึกนี้ ย่อมมีผลทำให้ทนแล้งได้ดี ต้นพืชเจริญเติบโตดี อายุยืน ซึ่งเป็นผลมาจากมีอาหารสมบูรณ์ ฉะนั้นจึง ทนทานต่อแมลงได้ดี ต้นไมท่ รุดโทรมเร็ว และมีอายุการใหผ้ ลยืนนาน 6. ต้นพืชที่ได้ไม่ติดโรคไวรัส (virus) จากต้นแม่ โดยที่เชื้อไวรัสไม่ อาจจะถ่ายทอดจากตน้ แมม่ ายงั ลกู โดยอาศัยเมล็ดเปน็ พาหะได้ ดงั นนั้ ตน้ ลูก ที่ได้จากการเพาะเมล็ดจากต้นที่เป็นโรคไวรัสจึงไม่ติดโรคน้ี แต่ก็อาจติดโรค นีไ้ ดภ้ ายหลังท่ีงอกเปน็ ตน้ พืชแลว้ วิชา ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 74 คราวน้เี รามาดขู ้อเสยี ของการเพาะเมล็ดกันบ้างคะ่ 1. กลายพันธุ์ได้ง่าย เพราะต้นที่ได้เกิดจากการผสมพันธุ์ เว้นแต่ เมล็ดพืชบางชนิดที่งอกได้ หลายต้นใน 1 เมล็ด ซึ่งอาจจะมีต้นที่ไม่กลาย พันธุไ์ ด้ 2. ลำตน้ สงู ใหญ่ ไมส่ ะดวกในการเก็บเกี่ยวและดูแลรักษา 3. ต้นมีโอกาสรับแรงปะทะลมได้มาก ทำให้ดอกและผลร่วงหล่น เสยี หายมาก 4. มักใหผ้ ลชา้ ต้องใช้เวลาในการเลี้ยงดูนาน กว่าจะใหผ้ ลตอบแทน 5. ปลูกได้น้อยต้นในเนื้อที่เท่ากัน ฉะนั้น จึงอาจให้ผลน้อยกว่าการ ขยายพันธโุ์ ดยวิธีอ่นื ทใ่ี หต้ น้ พชื พมุ่ เลก็ กว่า วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 75 มนุษย์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศในการ ขยายพันธุ์พืช โดยขยายพันธุ์จากส่วนอื่น เช่น ลำต้น ใบ ราก รวมถึงเนื้อเยื่อของพืช ซึ่งมีวิธีการขยายพันธุ์หลายวิธี เราไป เรยี นรกู้ ันตอ่ เลยนะคะ การปกั ชำ การปักชำ (cutting) หมายถึง การนำส่วนใดส่วนหน่ึงของต้นพืช ไม่ ว่าจะเป็นลำต้น ราก กิ่ง ใบ และหัว ที่ได้จากต้นแม่หรือต้นเดิมมาปักลงดนิ วัสดุปลูกหรือน้ำที่มีแร่ธาตุหรือสารอาหารสำหรับการแตกราก และแตก ยอดเพื่อเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ ซึ่งจะได้ลักษณะต่างๆเหมือนกับต้นเดิม หรอื ตน้ แมน่ นั่ เอง วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 76 การปักชำส่วนใดๆของพืชนั้น เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชเพื่อให้ไดต้ น้ พชื ใหมท่ ี่รวดเร็วกว่าการขยายพนั ธุ์ดว้ ยการเพาะเมลด็ อกี ทง้ั สามารถทำได้ งา่ ย รวดเรว็ และสามารถขยายพนั ธุ์ได้จำนวนมากในระยะเวลาอันส้ัน การปกั ชำกิง่ การปกั ชำลำต้น การปกั ชำใบ การปักชำยอด ภาพแสดง การปกั แบบตา่ งๆ ทม่ี า: https://siamroommate.com วิชา ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 77 ภาพแสดง วิธีการปักชำ ทีม่ า: https://images.app.goo.gl/NaGuGntkYaevZnwW6 การปักชำต้องคำนึงถึงชนิดพืช อายุและความสมบูรณ์ของส่วนท่ี นำมาปักชำ ถา้ เป็นการปกั ชำกิ่งหรือราก สง่ิ สำคัญคือ ส่วนต่างๆ ต้องมีตาที่ แตกเป็นต้นใหม่ได้ เช่น กุหลาบ วาสนา ฝรั่ง มะนาว โหระพา สะระแหน่ เบญจมาศและการใช้ใบปักชำนิยมทำกบั พชื ที่อวบน้ำ เช่น ล้นิ มงั กร การตอนก่ิง การตอนกิ่ง เป็นการขยายพันธ์ุพืชประเภทใบเลี้ยงคู่ ที่มีเปลือกไม้ และเนื้อไม้แยกออกจากกัน โดยควั่นเปลือกไม้ออก แล้วลอกเนื้อเยื่อ ลำเลียงอาหาร เพื่อตัดเส้นทางลำเลียงอาหารของพืช ทำให้อาหารและ สารต่างๆ มาคั่งอยู่บริเวณเหนือรอยควั่น นำดินที่มีอาหารสมบูรณ์และ กาบมะพร้าวชมุ่ น้ำไปพอกไว้ หุม้ ด้วยพลาสตกิ หรอื ใบตองแห้ง ผูกเชือกให้ แน่น รดน้ำต้นไม้ให้ชุ่มชื้นทุกวัน จะมีรากงอกออกมาบริเวณเหนือรอย วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 78 ควั่น เมื่อสังเกตเห็นว่า มีรากมากและแข็งแรงพอจึงตัดกิ่งออกจากลำตน้ เพื่อนำไปปลูกเป็นพืชต้นใหม่ที่มีลักษณะเหมือนต้นพ่อแม่ แต่จะไม่มีราก แก้ว ภาพแสดง ขน้ั ตอนการตอนกิ่ง ท่มี า: https://images.app.goo.gl/5i62AraSNbphJMuy9 วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 79 หลักการในการตอนต้นพืชแล้วก็คือ การทำให้ต้นหรือกิ่งพืชออก รากขณะท่ียงั ติดอยู่กบั ต้นแม่ หลงั จากตน้ หรอื ก่งิ พชื ออกรากดีแล้ว จึงตัดไป ปลูกภายหลัง ฉะนั้น โอกาสของการที่กิ่งพืชจะมีชีวิตอยู่รอด จึงดีกว่าการ ขยายพันธด์ุ ว้ ยการตัดชำ แต่ก็มขี ้อเสียอยทู่ ่วี า่ ขยายไดช้ า้ กว่า ด้วยเหตนุ ี้ ถ้า ต้องการตน้ พืชจำนวนมากๆ แล้ว มักจะไม่ใช้การขยายพนั ธ์ุด้วยการตอนกิ่ง เว้นแต่ต้นพืชนั้น จะขยายพันธุ์ไม่ได้ด้วยการตัดชำ หรือออกรากยากกว่า การตอนกิ่งเท่านั้น การตอนกิ่งเป็นวิธีที่ใช้ในการตอนกิ่งพืชพวกไม้พุ่ม และ ไม้ยืนต้นเป็นส่วนใหญ่รวมทั้งพืชพวกไม้ผลและไม้ประดับ เช่น ลำไย ลิ้นจี่ ละมุด ส้มเขียวหวาน ส้มโอ กระท้อน กุหลาบ มะลิ ดอนย่า เป็นต้น ชะอม มะนาว จำปี นอกจากนี้ยังสามารถตอนกิ่งพืชที่มีข้อชัดเจน เช่น จันทน์ผา ไผ่ โดยหมุ้ ข้อดว้ ยตุ้มตอนโดยไม่ต้องคว่ันเนื้อเยอ่ื บริเวณข้อของพืชจะสร้าง รากออกมาได้ เรามาดูวิธกี ารตอนกิ่งแบบง่ายๆ เพียง 2 นาที กดตรงลิงค์น้ีได้เลยค่ะ https://youtu.be/R8SscqmBH d0 วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 80 การตดิ ตา การติดตา คือ การเชื่อมประสานส่วนของต้นพืชเข้าด้วยกัน เพื่อให้ เจริญเป็นพืชต้น เดียวกัน โดยการนำแผ่นตาจากกิ่งพันธุ์ดี ไปติดบนต้นตอ การตดิ ตา วธิ นี ี้จะใชต้ ้นไม้ 2 ตน้ ตน้ หน่งึ เป็นตน้ ตอของพันธพ์ุ ้ืนเมือง อีกต้น หนึ่งเป็นต้นตอของพันธุ์พื้นเมือง อีกต้นหนึ่งเป็นต้นพันธุ์ดี จากน้ันเฉือนตา ของต้นพันธุ์ดีมาติด บนต้นตอ พันธุ์เมืองโดยใช้มีดคม ๆ กรีดต้นตอให้เป็น รูปตัวที (T) ใช้ปลายมีดเปิดเปลือกไม้เฉือนตา จาก กิ่งพันธุ์ดนี ำมาเสยี บเข้า ไปในกรีด พันด้วยพลาสติกให้แน่นโดยเปิดส่วนของตาไว้ เมื่อตาติดกับ ต้น พันธ์พุ ้ืนเมอื ง แล้วจะแลว้ จะแตกกิง่ กา้ นออกมา จงึ ตดั ยอดของต้นตอทิง้ ภาพแสดง ตน้ เฟอ่ื งฟ้าท่ใี ช้การติดตา ทีม่ า: https://images.app.goo.gl/NQjiZwgh9yvqWxrX7 วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 81 การติดตา เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชอีกวิธีหนึ่งที่ใช้กิ่งพันธุ์ดีน้อย สะดวกรวดเร็ว และสามารถนำกิ่งพันธุ์ดีจากแหล่งหนึ่งไปทำการติดตาอีก แหล่งหนึ่งได้ ทำให้ได้ต้นทีม่ ีลักษณะแตกต่างไปจากเดิม เช่น มีดอกหลายสี อยู่บนต้นเดียวกัน พืชที่นิยมติดตามักเป็นไม้เนื้ออ่อนจำพวกใบเลี้ยงคู่ เช่น กหุ ลาบ ชบา โกสน เล็บครฑุ เฟอ่ื งฟ้า ภาพแสดง วธิ กี ารติดตา ท่ีมา: https://images.app.goo.gl/8ArT3dVyaXYEZnEx9 วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 82 การทาบกิง่ การทาบกิ่ง เป็นการนำต้นตอทมี่ ีรากแขง็ แรงไปทาบกับกงิ่ ของตน้ พืชที่ต้องการเพมิ่ จำนวน ต้นตอและกิ่งส่วนใหญเ่ ปน็ พืชจำพวกเดียวกันแต่มี ลกั ษณะเด่นแตกตา่ งกัน จึงสามารถนำก่ิงมาทาบกันได้ เมือ่ เนื้อเยื่อตรงรอย ทาบประสานกนั จะได้ตน้ พชื ทีม่ รี ากแข็งแรงและส่วนบนเป็นพชื พันธ์ุท่ี ต้องการ พชื ทีน่ ิยมทาบกง่ิ เช่น นอ้ ยหนา่ มะม่วง มะขาม วิธีการทาบกิ่ง แบ่งออกเป็น 2 แบบ คอื 1. การทาบกงิ่ แบบประกับ (Approach grafting) การทาบกิ่งแบบ น้ที ั้งต้นตอและกิ่งพันธุ์ดตี า่ งกย็ ังมรี ากและยอดอยู่ทงั้ คู่ มักใช้ในการทาบกิ่ง ไม้ผลที่รอยแผลประสานกนั ชา้ เช่น การทาบกง่ิ มะขาม เปน็ ตน้ 2. การทาบกง่ิ แบบเสียบ (Modified approach grafting) เปน็ วธิ ี ทาบกิ่งทีแ่ ปลงมาจากวิธีการทาบกง่ิ แบบประกับ โดยจะทำการตดั ยอดต้น ตอออกใหเ้ หลอื สน้ั ประมาณ 3-5 น้ิว เพื่อลดการคายนำ้ ภาพแสดง ข้ันตอนการทาบก่ิง ทมี่ า: https://images.app.goo.gl/aXt9vdzaTGposqyS8 วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 83 การต่อกิง่ การต่อกิ่งหรือการเสียบยอด คือการนำยอดของชวนชมพันธุ์ดีมา เสียบกับต้นตอที่มีความแข็งแรง เป็นการเปลี่ยนยอดของพันธุ์เดิมให้เป็น พันธุ์ใหม่ตามยอดที่นำมาเสียบ โดยยอดที่นำมาเสียบจะไม่กลายพันธุ์ไป จากต้นแม่ วิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยากแต่ได้ผลเร็วการนำกิ่งพันธุ์ดีมาต่อ บนต้นตอ มักใช้สำหรับการเปลี่ยนพันธุ์พืชมากกว่าการขยายพันธุ์ นิยมใช้ แพร่หลายและได้ผลดีกับทั้งไม้ผลและไม้ประดับ เช่น มะม่วง ขนุน เฟื่องฟ้า ชบา โกศล เป็นต้น ปัจจัยสำคัญที่สดุ ในการต่อกิ่งคือ ต้นตอและ ตน้ พันธด์ุ เี มอื่ ต่อแลว้ เนอ้ื เย่ือเจริญของตน้ ตอและกิง่ พันธ์ุดีต้องเชื่อมต่อกัน ได้ สามารถเจรญิ เตบิ โต ออกดอก และติดผลได้ ภาพแสดง วิธกี ารต่อกงิ่ หรือการเสียบยอด ทม่ี า: https://images.app.goo.gl/XG6pjEZEuqu8yq4EA วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 84 สรุปง่ายๆ ก็คือการติดตา การทาบกิ่ง และการต่อกิ่ง มี หลักการที่สำคัญคือให้เนื้อเยื่อของพืชทั้ง 2 ส่วนเจริญ ประสานกัน เพื่อให้เนื้อเยื่อลำเลียงน้ำ-เกลือแร่และเนื้อเยื่อ ลำเลียงอาหารเชื่อมต่อกันได้สนิท การขยายพันธุ์ทั้ง 3 วิธีนี้ต้อง คำนึงถึงชนิดของพืช ต้องเป็นพืชที่มีเนื้อเยื่อชนิดเดียวกันจึงจะ ได้ผลดี โดยการนำส่วนของพืช ได้แก่ ตาและกิ่งจากต้นพ่อแม่ ไปติด ต่อ หรือทาบกับต้นตอที่มีลักษณะแข็งแรงและทนสภาพ อากาศได้ดี แล้วหุ้มรอยต่อให้แน่น ป้องกันไม่ให้รอยต่อถูกน้ำ จนกว่าเนื้อเยื่อของพืชทั้งสองจะเชื่อมติดกัน จะได้ต้นไม้ต้นใหม่ ที่มีลักษณะเหมือนต้นพ่อแม่ และมีลำต้นแข็งแรงเพราะมีราก แก้วจากตน้ ตอเดมิ วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 85 การเพาะเลี้ยงเน้อื เยื่อ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (plant tissue culture) เป็นวิธีการ ขยายพันธุ์พืชโดยการนำชิ้นส่วนของพืช เช่น ชิ้นส่วนของใบ ราก หรือต้น กลา้ (seeding) มาเลย้ี งบนวนุ้ ทปี่ ระกอบด้วยอาหารสังเคราะห์และฮอร์โมน พืช เช่น ออกซิน (auxin) และไซโทไคนิน (cytokinin) ในปริมาณที่ เหมาะสมจะทำให้เกิดกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า แคลลัส (callus) เกิดขึ้น ถ้านำ แคลลัสเหล่านี้มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์สำหรับเพาะเลี้ยงเซลล์พืช ที่มีปริมาณไซโทไคนินสูงกว่าปริมาณออกซิน จะทำให้เกิดส่วนยอดของพืช ขึ้น และถ้านำส่วนยอดไปเพาะเลีย้ งบนอาหารสังเคราะห์ที่มีปรมิ าณออกซิ นสูงกว่าไซโทไคนิน จะทำให้มีส่วนรากเกิดขึ้น เมื่อทำการเพาะเลี้ยงต่อไป ระยะหนงึ่ ก็จะสามารถนำไปปลกู บนดนิ เพื่อเจรญิ เติบโตเป็นพืชโตเต็มวัยได้ ภาพแสดง การเพาะเลยี้ งเนือ้ เยื่อพชื https://images.app.goo.gl/bF5uEQ6EvDC294Ty8 วิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 86 การเพาะเลีย้ งเน้ือเยอ่ื จงึ นิยมใช้ในการขยายพนั ธพ์ุ ืชเศรษฐกิจ เช่น กลว้ ยไม้ ออ้ ย เบญจมาศ สตรอเบอรี่ หนอ่ ไม้ฝร่งั กลว้ ยกระเจียว ปาลม์ นำ้ มนั ปูเล่ เป็นตน้ ภาพแสดง ขัน้ ตอนการเพาะเลยี้ งเนื้อเยือ่ ที่มา: https://images.app.goo.gl/thcYtfCev3AxRjHZ6 ประโยชนข์ องวธิ ีเพาะเล้ียงเนื้อเยื่อ มดี ังนี้ 1. สามารถผลิตตน้ พนั ธพุ์ ืชปริมาณมาณมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น หากพืชสามารถเพิ่ม ปริมาณได้ 3 เท่า ต่อการย้ายเนื้อเยื่อลง อาหารใหม่ทุกเดือนๆ ละ 1 ครั้ง เมื่อเวลาผ่านไป 6 เดือน จะสามารถผลิต ต้นพนั ธพ์ุ ืชไดถ้ งึ 243 ต้น วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 87 2. ต้นพืชที่ผลิตได้จะปลอดโรค โดยเฉพาะโรคที่มีสาเหตุจากเช้ือ ไวรัส มายโคพลาสมา ด้วยการตัด เนื้อเยื่อเจริญที่อยู่บริเวณปลายยอดของ ลำต้น ซึ่งยังไม่มีท่อน้ำท่ออาหาร อันเป็นทางเคลื่อนย้ายของเชื้อโรค ดังกล่าว 3. ต้นพืชที่ผลิตได้ จะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นแม่ คือ มี ลกั ษณะตรงตามพนั ธ์ุ 4. ต้นพืชที่ผลิตได้จะมีขนาดสม่ำเสมอ ผลผลิตที่ได้มีมาตรฐานและ เกบ็ เกย่ี วได้คราวละมากๆ พรอ้ มกนั หรอื ในเวลาเดียวกนั 5. เพื่อการเก็บรักษาหรือแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชระหว่างประเทศ เช่น การมอบเชื้อพันธุ์กล้วยในสภาพปลอดเชื้อ ขององค์กรกล้วยนานาชาติ (INIBAP) ให้กรมส่งเสริมการเกษตร เมอื่ ปี พ.ศ. 2542 6. เพ่อื ประโยชน์ด้านการสกดั สารจากต้นพชื นำมาใชป้ ระโยชน์ด้าน ตา่ งๆ เชน่ ยาฆา่ แมลง ยารกั ษาโรค เป็นต้น ภาพแสดง การเพาะเล้ยี งเน้ือเยื่อกล้วยไม้ ทม่ี า: https://images.app.goo.gl/13vsHvVhufkLdkBs5 วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 88 เรียนกนั มาจนจบแล้ว เพอื่ นๆ ได้ทง้ั ความรแู้ ละความสนุกกันเลย ใช่ไหมค่ะ ถ้าอย่างนั้นไปทำแบบทดสอบหลังเรียน กดตรงลิงค์น้ี เลยค่ะ https://bit.ly/3tMW9s4 กอ่ นจากกนั ไป อยากจะฝากไว้วา่ “คนทปี่ ระสบความสำเรจ็ จะพยายามอีกคร้งั ...เสมอ..” วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 89 บรรณานุกรม ประดับ นาคแก้ว และดาวัลย์ เสริมบญุ สขุ . (2553). หนงั สือเรียน วิทยาศาสตร์ ชัน้ มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 1. กรงุ เทพฯ: บรษิ ัท สำนักพิมพ์แมค็ จำกัด. ยุพา และคณะ. (2551). หนงั สือเรียน รายวิชาพนื้ ฐาน วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1. กรุงเทพฯ: บรษิ ัทอักษรเจรญิ ทัศน์ อจท. จำกดั . ศรลี ักษณ์ ผลวฒั นะ, รัตนาภรณ์ อทิ ธิไพสิฐพนั ธุ์ และสภุ าภรณ์ หรินทรนิตย์. (2552). ส่อื การเรียนรแู้ ละเสริมสร้างทักษะตามมาตรฐานและตัวชว้ี ัดชั้นปี กลมุ่ สาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ม.1 เล่ม 1. กรงุ เทพฯ : สำนกั พิมพ์นิยม วิทยา. ศรีลกั ษณ์ ผลวัฒนะ และเจยี มจติ กุลมาลา. (2558). หนังสือเรยี นวทิ ยาศาสตร์ ม.1. กรุงเทพฯ: บริษัท แม็ค เอด็ ดูเคชน่ั จำกัด. ศรลี ักษณ์ ผลวฒั นะ และฝ่ายวิชาการ (2562). สอื่ การเรยี นรแู้ ละเสรมิ สร้างทักษะ ตามมาตรฐานและตัวชีว้ ัดชั้นปี กล่มุ สาระการเรียนร้วู ิทยาศาสตร์ ช้ัน มัธยมศึกษาปที ี่ 1 เล่ม 1. กรุงเทพฯ : สำนกั พมิ พน์ ิยมวิทยา. สถาบันส่งเสริมการสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี. (2561). หนังสือเรียนรายวิชา พน้ื ฐาน วทิ ยาศาสตร์ 1 ช้ันมธั ยมศกึ ษาปีท่ี 1 เล่ม 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพรา้ ว. ______. (2561). คมู่ ือครูรายวชิ าพน้ื ฐานวิทยาศาสตร์ ช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 1 เลม่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพรา้ ว วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ ห น ้ า | 90 ประวตั ิผเู้ ขียน ช่อื -สกลุ นางณฐั มน สชุ ัยรัตน์ ปรญิ ญาตร:ี การศึกษาบัณฑิต วิทยาศาสตร์ทวั่ ไป (เกยี รตนิ ยิ มอันดบั 1) มหาวทิ ยาลยั ศรีนครนิ ทรวิโรฒ ปรญิ ญาโท: ศึกษาศาสตรมหาบณั ฑิต วิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปรญิ ญาเอก: ครศุ าสตรดษุ ฎบี ณั ฑิต หลกั สูตรและการสอน จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั การทำงาน ครูชำนาญการ กล่มุ สาระการเรยี นรวู้ ทิ ยาศาสตรแ์ ละ เทคโนโลยี โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย รางวลั ที่ไดร้ บั - ไดร้ ับการคดั เลอื กข้าราชการครแู ละบคุ ลากรทางการ ศกึ ษาดีเด่น ประจำปี 2560 ประเภทครผู สู้ อนดเี ด่น - ได้รับรางวลั เหรยี ญทอง ในการประกวดสื่อและนวัตกรรม ครู ปกี ารศกึ ษา 2562 - ไดร้ บั รางวลั ครูดี ประจำปีพทุ ธศักราช 2563 วชิ า ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
จุ ด เ ร่ิ ม ต้ น ข อ ง พื ช พ ร ร ณ หน้า |2 วชิ า ว21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 NATTAMON SUCHAIRUT
Search