Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore bus_management

bus_management

Published by soraya_1111, 2016-06-28 04:29:41

Description: bus_management

Keywords: management

Search

Read the Text Version

1 บทท่ี ๑ ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการวตั ถปุ ระสงค์ประจาบท เม่อื นิสิตศึกษาแล้วสามารถ ๑. อธิบายแนวคดิ เกี่ยวกบั การบริหารจัดการได้ ๒. อธบิ ายถงึ แนวคดิ การบรหิ ารทเ่ี ปน็ หลักเกณฑแ์ ละมนุษยสมั พนั ธ์เปรยี บเทียบได้ ๓. วเิ คราะหแ์ นวคิดการบริหารแบบเดมิ กบั แบบสมยั ใหม่ได้ ๓. สังเคราะหท์ ฤษฎีองค์การทมี่ อี ยวู่ า่ ทฤษฎใี ดเหมาะสาหรับสถานศึกษาเน้อื หาประจาบท ๑. ทฤษฎี แนวความคิดการบริหารจัดการ ๒. แนวความคิดการบรหิ ารที่เปน็ หลกั เกณฑแ์ ละมนษุ ยส์ ัมพันธเ์ ปรยี บเทยี บ ๓. แนวคดิ เก่ียวกับการบริหารสมัยใหม่ ๔. ทฤษฎีองค์การสาหรบั สถานศกึ ษาความนา ทกุ องคก์ ารไม่วา่ จะมขี นาด ประเภท หรอื สถานที่ตง้ั อย่างไร จาเป็นต้องมีการจัดการท่ีดี ซึ่งการจัดการที่ดีเป็นจุดเร่ิมต้นของการดาเนินงานขององค์การ การเติบโตและการดารงอยู่ต่อไปของ องค์การ โดยเฉพาะอย่างยง่ิ องค์การในยุคศตวรรษท2ี่ 1 ซง่ึ ตอ้ งเผชญิ กบั ปัจจัยแวดล้อมท่มี กี ารเปลีย่ นแปลงอยา่ งรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ โลกาภิวัตน์ และเทคโนโลยี ทาให้องค์การต้องมีแนวทางในการจัดการที่ทันสมัยเพื่อรับมือกับการเปล่ียนแปลงท่ีรวดเร็วนี้ เพื่อให้เข้าใจแนวคิดเก่ียวกับการจัดการสมัยใหม่ ในบทนี้จะได้นาเสนอหัวข้อเกย่ี วกับเร่อื ง องคก์ ารสมัยใหม่ ความหมายของการจัดการ ขบวนการจัดการ บทบาทของการจัดการ คุณสมบัติของนกั บริหารท่ปี ระสบความสาเร็จทฤษฎี แนวคดิ การบริหารจัดการ แนวคิดทางการบรหิ ารการจัดการ ในอดีตที่ผ่านมาระบบการจัดการของการผลิต และกิจกรรมต่าง ๆ ก็ดี ทางเศรษฐกิจ ทางการตลาดมิได้มีความสลับซับซ้อนมากนัก และไม่ต้องอาศัยระบบของการจัดการเช่นในปัจจุบันนี้ กระทั่งเมื่อมีการปฏิวัติอตุ สาหกรรมเกดิ ขน้ึ ในโลก (ประมาณ ปี ค.ศ 1880 เป็นต้นมา) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก อันมีผลทาให้เศรษฐกิจ สังคม การเมือง มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ตลอดจนมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และแนวคดิ เกยี่ วกบั การจัดการเรม่ิ เป็นทีย่ อมรบั และขยายตัวมากขึ้น มีการพฒั นามากข้นึ เปน็ ลาดับ ขอบเขต และความหมายของการบริหารการจดั การ บริบทท่สี าคญั ประการหนึง่ ของนกั บริหาร คือการจดั การ หรือการบริหารองค์การ ให้สามารถอยู่ได้อยา่ งมีเสถยี รภาพ ภายใต้สภาพแวดล้อมท่เี ปลีย่ นแปลง โดยรวบรวมเอากลมุ่ กจิ กรรมตา่ ง ๆ ขององค์การ นาไปสกู่ าร

2ปฏิบตั เิ พื่อความสาเร็จในเป้าหมาย โดยคานึงถึงความมปี ระสิทธภิ าพ ประสิทธิผล และความประหยัด ความหมายขององคก์ าร Chester I. Barnard กล่าวว่า องคก์ ารคือ ระบบทบ่ี ุคคลสองคนหรือมากกว่ารว่ มแรงรว่ มใจกนัทางานอย่างมจี ติ สานึก Herbert G. Hicks กล่าววา่ องค์การคือ กระบวนการจัดโครงสร้างให้บคุ คลเกิดปฏสิ มั พนั ธ์ ในการทางานให้บรรลวุ ตั ถุประสงคข์ ององคก์ าร องค์การคือ กลุ่มบุคคลตั้งแต่ 2 คนข้ึนไป รวมกันขึ้นเพื่อที่จะดาเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่กาหนดไว้โดยท่ีบุคคลคนเดียวไม่สามารถดาเนินการให้สาเร็จได้โดยลาพัง ซึ่งเราจะพบว่าองค์การจะเกิดข้ึนและมีอยู่ในสังคมมนุษย์ทุกหนทุกแห่ง และองค์การก็เป็นเครื่องมือสาหรับการดาเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายและความสาเรจ็ ดังนั้นการจัดการ (Management) หรือการบริหาร (Administration) 2 คาน้ีจึงเป็นคาท่ีคนส่วนใหญ่คุ้นเคยและใชก้ นั อยเู่ สมออย่างกวา้ งขวาง จึงมีความหมายคล้ายคลึงกันและใช้ทดแทนกันอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นการจดั การ (Management) คือ การจัดการภารกิจภายในองค์การให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป็นไปตามนโยบายแผนงานที่ได้กาหนดไว้หรือการจัดการหมายถึง ภารกิจของบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือหลายคนท่ีเข้ามาทาหน้าที่ประสานให้การทางานของแต่ละบุคคลท่ีต่างฝ่ายต่างทาไม่สามารถบรรลุผลสาเร็จได้ ส่วนการบริหาร(Administration) หมายถึง การบริหารที่เก่ียวข้องกับการดาเนินการในระดับและแผนงาน ซ่ึงส่วนใหญ่ใช้กับการบริหรในภาครัฐหรือองค์การขนาดใหญ่ จากความเห็นของนักวิชาการต่อคาทั้ง 2 จะเห็นได้ว่ามีความแตกตา่ งกัน ข้นึ อยู่กับเจตนารมณ์ของผ้ใู ชว้ า่ จะมีความเหมาะสมไปในทางใด ซง่ึ อาจใช้คาทงั้ 2 แทนกนั ได้ องค์ประกอบขององค์การ (Elements of Organization ) ที่สาคญั 5 ประการ 1. คน องค์การจะประกอบด้วยคนต้ังแต่ 2 คนข้ึนไป ซึ่งส่วนใหญ่องค์การจะมีคนเป็นจานวนมากปฏิบัติงานร่วมกัน หรือแบ่งงานกันทา เพ่ือให้บรรลุเป้าหมายท่ีกาหนด โดยที่คนจะปฏิบัติงานร่วมกันได้จาเป็นตอ้ งอาศยั “ ความร้ทู างพฤติกรรมศาสตร์ ” เพ่ือทาความเข้าใจซงึ่ กันและกนั 2. เทคนิค การบริหารองค์การต้องอาศัยเทคนิควิทยาการ หรือที่เรียกว่า เทคโนโลยี เพื่อการแก้ไขปัญหาหรือติดสินใจ หรืออาจกล่าวได้ว่าในปัจจุบันน้ีองค์การไม่สามารถจะบริหารงานได้โดยอาศัยแต่เฉพาะประสบการณ์ ความเฉลียวฉลาดของนักบริหารเท่าน้ัน ในหลายกรณีผู้บริหารต้องอาศัย เทคนิคทางการบริหารเพื่อการแกไ้ ขปัญหาหรอื การตดั สินใจ และในขณะเดยี วกันก็เป็นการลดความเสีย่ งอีกด้วย 3. ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร หรือท่ีเรียกว่า สารสนเทศ ในการปฏิบัติงานและการแก้ไขปัญหา การอาศัยเทคนิคทางการบริหาร ยังไม่เพียงพอสาหรับการบริหารองค์การ นักบริหารยังต้องอาศัยความรู้ ข้อมูลข่าวสาร เพื่อความเข้าใจ เพื่อการวิเคราะห์ ตลอดจนการคาดคะเนแนวโน้มในอนาคตอีกด้วย ดังน้ันเทคนิคเพอื่ การบริหารจึงควบคู่ไปกับ ความรู้ ขอ้ มลู ข่าวสาร 4. โครงสร้าง เป็นองค์ประกอบท่ีสาคัญไม่น้อยขององค์การ ซ่ึงนักบริหารจะต้องจัดโครงสร้างให้สอดคล้องกับงาน เพื่อกาหนดอานาจหน้าท่ีและความรับผิดชอบที่เหมาะสม เพื่อให้งานขององค์การบรรลุเปา้ หมายได้อย่างมปี ระสิทธิภาพ 5. เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ มนุษย์จัดตั้งองค์การข้ึนมาก็เพ่ือบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ท่ีมนษุ ยต์ ้อง ดงั น้นั องค์การจงึ ต้องมเี ปา้ หมาย หรือวตั ถปุ ระสงค์ทีช่ ัดเจน

3 สารสนเทศ สิง่ แวดล้อม โครงสรา้ ง เป้าหมาย / วตั ถุประสงค์สงิ่ แวดลอ้ ม สิ่งแวดล้อม คน เทคนิค สง่ิ แวดล้อม รปู ที่ 1 องค์ประกอบขององค์การ ความหมายของการบริหารจดั การ มีนักวิชาการได้ใหค้ วามหมายกนั ไวม้ ากมาย ตามแนวทางท่ีแต่ละท่านได้ศึกษามา เชน่ Mary Parker Follett “ การบริหารการจดั การเป็นเทคนิคการทางานให้สาเร็จโดยอาศยั ผูอ้ ่ืน ” George R.Terry “ การบริหารการจัดการ เป็นกระบวนการของการวางแผนการจัดองค์การ การกระต้นุ และการควบคมุ ให้บรรลุจดุ ม่งุ หมายรว่ มกนั โดยใชท้ รพั ยากรบคุ คลและอืน่ ๆ ” James A.F.Stoner “ การจัดการคือ กระบวนการ (Process) ของการวางแผน (Planning) การจดั องค์การ (Organization) การสั่งการ (Leading) และการควบคมุ (Controlling) ความพยายามของสมาชิกในองคก์ ารและการใชท้ รพั ย์กรตา่ ง ๆ เพื่อบรรลวุ ตั ถุประสงค์ทอี่ งคก์ ารกาหนดไว้ ” การจดั การ การวางแผน การจัดองค์การ การส่งั การ การควบคุม วตั ถปุ ระสงค์ ขององคก์ าร รปู ท่ี 1.2 ความหมายของการจัดการ

4 หนา้ ท่ีในการจดั การ (The Function of Management) นกั วชิ าและนักบรหิ ารไดม้ ีการวิเคราะหว์ า่ การจัดการเปน็ ความรู้ที่มปี ระโยชน์ ดังนน้ั จึงไดจ้ ัดการศกึ ษาหนา้ ท่ีของการจดั การ โดยแบง่ ออกเป็น 5 ประเภท ดงั น้คี ือ 1. การวางแผน (Planning) 2. การจัดองค์การ (Organization) 3. การจัดหาคนเขา้ ทางาน (Staffing) 4. ภาวะผู้นา (Leading) 5. การควบคุม (Controlling)การวางแผน การจดั องคก์ าร การจัดคนเข้าทางาน ภาวะผ้นู า การควบคุม ความสาเรจ็ ขององค์การ กาหนด ออกแบบ สรรหา คดั เลือก การจูงใจ การวัด เป้าหมาย โครงสรา้ ง อบรมพฒั นาบคุ ลากร การชกั นา ผลการ และ ขององค์การ ประเมนิวัตถุประสงค์ รูปที่ 1.3 หนา้ ทขี่ องการจัดการสาหรับ Luther Gulick และ Lymdall Urwick ได้กาหนดหน้าที่ของผู้บริหารในการจัดการไว้ 7ประการดว้ ยกันคอืP = Planning การวางแผนO = Organizing การจัดองค์การS = Staffing การจดั การคนเขา้ ทางานD = Directing การอานวยการCO = Co-ordinating การประสานงานR = Reporting การรายงานB = Budgeting งบประมาณ หนา้ ทขี่ องการจัดการและทักษะในแต่ละระดับขององค์การ ผู้บริหารคือ บุคคลท่ีทาหน้าที่ประสานงานระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การเพ่ือให้ดาเนินไปสู่วัตถุประสงคท์ ีก่ าหนดไว้ ผู้บริหารขององค์การจะสามารถจัดการตามกระบวนการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพมากน้อย เพียงไรขน้ึ อยู่ความสามารถทางการจัดการ 3 ชนดิ คือ 1. ความสามารถด้านความคิด (Conceptual Skill) เป็นความสามารถในการมองภาพรวมท่ัวทั้งองค์การ และความสามารถที่จะรวบรวมเอากิจกรรมและสถานะการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างองคป์ ระกอบต่าง ๆ ในองค์การ

5 2. ความสามารถด้านคน (Human Skill) ความสามารถในการทางานร่วมกับผู้อ่ืน การทางานเป็นทีมการสร้างบรรยากาศในการทางาน และการยอมรับความคิดเหน็ ของผรู้ ่วมงาน 3. ความสามารถด้านงาน (เทคนิค) (Technical Skill) มีความรู้ ความชานาญ กระบวนการ วิธีการขน้ั ตอนต่าง ๆ ในการทางาน และความสามารถในการประยกุ ต์ให้งานประสบความสาเร็จไดด้ ี ระดับของผบู้ ริหารแบง่ ออกเป็น 3 ระดับด้วยคือ 1. ผู้บริหารระดับสูง (Top Manager) ทาหน้าที่นาองค์การไปสู่ความสาเร็จ โดยกาหนดนโยบายต่าง ๆขององคก์ าร ภายใต้สภาพแวดลอ้ มทีเ่ ปล่ยี นแปลง ซงึ่ มีทัง้ ปัจจยั ภายในและปจั จยั ภายนอก 2. ผู้บริหารระดับกลาง ( Middle Manager ) ทาหน้าท่ีควบคุมประสานงานกับผู้บริหารระดับต้นให้ดาเนินงานตามนโยบายและแผนงานทไ่ี ด้กาหนดไว้ และนาผลสาเร็จรายงานต่อผู้บรหิ ารระดับสงู 3. ผบู้ รหิ ารระดบั ต้น ( First – Line Manager ) เป็นผู้บรหิ ารทใี่ กล้ชิดกับผูป้ ฏบิ ตั กิ ารและมโี อกาสรบั รปู้ ญั หาทจี่ ริง ความคิด การตัดสนิ ใจ เก่งคน เกงง่ าน สูง คิด กลาง คน ต้น งานปฏิบตั ิการ วชิ าชีพ รปู ที่ 1.4 ความสามารถทางการบริหารตามระดับการบรหิ าร ทรัพยากรในการบรหิ ารการจัดการ ทรพั ยากรหรือปัจจยั ท่ีนักบริหารต้องให้ความสนใจ เพื่อให้การดาเนินการตามวัตถุประสงค์ขององค์การประสบความสาเร็จ ซึ่งประกอบด้วยปจั จยั ดังตอ่ ไปน้คี อื คน (Man) คือทรัพยากรบุคคลทเี่ ปน็ หัวใจขององคก์ าร ซ่ึงมีผลต่อความสาเร็จในการจัดการ เงิน (Money) คือปัจจัยสาคัญท่ีจะช่วยสนับสนนุ ให้กิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การดาเนินการตอ่ ไปได้ วสั ดุ (Materials) คอื วตั ถดุ บิ ซึ่งเปน็ ปจั จยั ทส่ี าคญั ไมแ่ พป้ ัจจยั อนื่ จาเป็นต้องมีคุณภาพและมีต้นทุนที่ต่าเพราะมผี ลกระทบตอ่ ต้นทนุ การผลติ

6 เครื่องจักร (Machine) เครื่องจักรอุปกรณ์ ที่มีศักยภาพท่ีดีจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการผลิตเชน่ กัน วิธีการบริหารหรือวิธีการปฏิบัติ (Managementor Method )การจัดการหรือการบริหารในองค์กรธุรกจิ ประกอบดว้ ยระบบการผลิตหรือระบบการให้บริการต่างๆ หากมีระบบท่ีชัดเจนตลอดจนมีระเบียบข้ันตอนวธิ ีการตา่ ง ๆ ในการทางาน ย่อมส่งผลใหอ้ งคก์ ารประสบความสาเรจ็ ได้ดีแนวความคิดการบรหิ ารท่ีเป็นหลักเกณฑแ์ ละมนษุ ยส์ ัมพันธเ์ ปรยี บเทยี บ สาหรับแนวคิดทางการบริหารการจัดการไดว้ ิวฒั นาการเรอื่ ยมาเปน็ ลาดับ ซึ่งสามารถแบง่ ออกไดด้ ังนี้ 1. แนวคิดก่อนยุคการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ( Pre– Scientific Management ) ในยุคน้ีเป็นยุคกอ่ นปี ค.ศ. 1880 ซ่ึงการบริหารในยุคน้ีอาศัยอานาจหรือการบังคับให้คนงานทางาน ซึ่งวิธีการบังคับอาจใช้ การลงโทษ การใชแ้ ส้ การทางานในยุคน้เี ปรยี บเสมือนทาส คนในยุคนีจ้ ึงตอ้ งทางานเพราะกลวั การลงโทษ 2. แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ( Scientific Management ) แนวคิดนี้เริ่มในช่วงของการปฏิวัติอุตสาหกรรม คือประมาณปี ค.ศ 188 เป็นต้นมาจนถึงปี 1930 ในยุคน้ีได้ใช้หลักวิธีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์มาช่วยในการบริหารการจัดการ ทาให้ระบบบริหารการจัดการแบบโบราณได้เปลี่ยนแปลงไปมากซึ่งบคุ คลที่มีชอื่ เสียงในการบริหารในยคุ นมี้ ี 2 ท่าน คือ Frederich W. Taylor และ Henri J. Fayol Frederich W.Taylor ได้รับการยอกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการแบบวิทยาศาสตร์หรือบิดาของวิธีการจัดการที่มีหลักเกณฑ์ โดยได้ศึกษาหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทางานของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมโดย Taylor ได้เข้าทางานครั้งแรกในโรงงานท่ีเพนซิลวาเนีย เม่ือปี ค.ศ.1878 ซึ่งเป็นช่วงท่ีเศรษฐกิจตกต่ามากการบริหารงานขาดประสทิ ธภิ าพ ไมม่ ีมาตรฐานในการประเมินผลงานของคนงาน การแบ่งงานไม่เหมาะสม การตดั สนิ ใจขาดหลักการและเหตผุ ล Taylor ไดค้ ดั ค้านการบริหารงานแบบเกา่ ท่ีใชอ้ านาจ (Power) วา่ เปน็ การบริหารท่ีใชไ้ ม่ได้และมีความเชือ่ ว่า การบริหารท่ีดีต้องมีหลักเกณฑ์ การทางานไม่ได้เป็นไปตามยะถากรรม Taylor จึงได้ศึกษาและวิเคราะห์เวลาการเคลื่อนไหวในขณะทางาน ( Time and Motion ) เพ่ือดูการทางานและการเคล่ือนไหวของคนงานในขณะทางาน โดยได้คิดค้นและกาหนด วิธีการทางานท่ีดีที่สุด (One Best Way) สาหรับงานแต่ละอย่างท่ีได้มอบหมายใหค้ นงานทา ดังนัน้ ผู้บรหิ ารการจัดการ จงึ ตอ้ งเนน้ และปฏิบัตดิ ังนี้ 1.กาหนดวธิ กี ารทางานด้วยหลกั เกณฑท์ ่ีได้มีการทดลองแล้วว่าเปน็ วธิ ที ด่ี ีท่สี ดุ 2. การคดั เลอื กบคุ ลากรและการบริหารบคุ ลากร ต้องทาอย่างเป็นระบบเพ่อื ใหไ้ ดบ้ ุคลากรทีเ่ หมาะสม 3. ต้องมกี ารประสานร่วมมือระหวา่ งผู้บรหิ ารกับคนงาน 4. ผู้บริหารต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ในด้านการวางแผน และมีการมอบหมายงานตามความถนัดดว้ ย สาหรับการศึกษาท่ีใช้หลักวิทยาศาสตร์ ( The Scientific Approach ) มีส่วนประกอบสาคัญ 3ลักษณะคอื 1. มีแนวคิดท่ีชัดเจน ( Clear Concept ) แนวความคดิ ต้องชดั เจนแนน่ อนในสงิ่ ทีจ่ ะวเิ คราะห์ 2. วิธีทางวิทยาศาสตร์ ( Scientific ) สาขาพิจารณาข้อเท็จจริงได้ทางวิทยาศาสตร์หรือสังเกตได้ แล้วนาขอ้ มูลดังกลา่ วมาทาการทดสอบความถูกต้อง ถา้ เปน็ จรงิ ก็คอื หลักเกณฑ์(Principles) 3.ทฤษฎี ( Theory ) หมายถงึ การจัดระบบความคดิ และหลักเกณฑม์ ารวมกนั เพอ่ื ได้ความรู้เรื่องใดเรื่องหน่งึ

7 ทฤษฎีหลักการ หลักการ หลักการ วธิ วี ทิ ยาศาตร์ SCIENTIFIC METHOD แนวคิด แนวความคิด รายละเอียด รายละเอียด รายละเอียด เฉพาะอยา่ ง เฉพาะอยา่ ง เฉพาะอยา่ ง รูปท่ี 2.1 แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ Henri J. Fayol เปน็ วิศวกรเหมอื งแร่ชาวฝรง่ั เศส ได้สร้างผลงานทางแนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารซ่ึงมุ่งท่ีผู้บริหารระดับสูง โดยศึกษากฎเกณฑ์ท่ีเป็นสากลและได้เขียนหนังสือ Industrial GeneralManagement โดย Henri J. Fayol ได้เสนอแนวคิดและกาหนดหลักเกณฑ์ในการบริหารของผู้บริหารดังน้ี 1. หนา้ ท่ีของนกั บรหิ าร (Management Functions) มีดงั นี้ 1.1 การวางแผน (Planning) หมายถึงการที่ผู้บริหารจะต้องเตรียมการวางแผนการทางานขององค์การไวล้ ่วงหนา้ 1.2 การจดั องคก์ าร (Organizing) หมายถงึ การทีผ่ บู้ ริหารจะต้องเตรียมจัดโครงสรา้ งขององคก์ ารให้เหมาะสมกบั ทรพั ยากรทางการบริหาร 1.3 การสั่งการ (Directing) หมายถงึ การที่ผ้บู รหิ ารจะต้องมีการวินจิ ฉัยสั่งการทดี่ ี เพื่อใหก้ ารดาเนินงานขององคก์ ารดาเนนิ การไปตามเปา้ หมาย 1.4 การประสานงาน (Co-ordinating) หมายถึงการที่มีผู้บริหารมีหน้าที่เช่ือมโยงต่าง ๆ ขององค์การให้ดาเนินไปอยา่ งสอดคลอ้ งต้องกัน 1.5 การควบคมุ (Controlling) หมายถึงการทผี่ ู้บรหิ ารคอยควบคุมและกากบั กิจกรรมต่าง ๆภายในองค์การให้ดาเนนิ ไปตามแผนทว่ี างไว้ 2. หลกั การบริหาร (Management Principle) Fayol ไดว้ างหลักพืน้ ฐานทางการบรหิ ารไว้ 14 ประการ ดังนี้

8 2.1 การแบง่ งานกนั ทา (Division of work) การแบ่งงานกันทาจะทาให้คนเกดิ ความชานาญเฉพาะอยา่ ง (Specialization) อันเป็นหลักการใช้ประโยชน์ของคนและกลุม่ คน ให้ทางานเกดิ ประโยชน์สูงสุด 2.2 อานาจหนา้ ท่ี (Authority) เป็นเครื่องมือทีจ่ ะทาให้ผ้บู ริหารมสี ทิ ธิทจี่ ะส่งั ให้ผู้อื่นปฏิบตั งิ านท่ตี ้องการไดโ้ ดยจะมีความรบั ผิดชอบ (Responsibility) เกิดขึ้นตามมาด้วย ซึ่งจะมีความสมดลุ ยซ์ งึ่ กันและกนั 2.3 ความมรี ะเบียบวินยั (Discipline) บคุ คลในองค์การจะต้องเคารพเช่ือฟัง และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ กตกิ าและข้อบังคับตา่ ง ๆ ทอ่ี งค์การกาหนดไว้ ความมรี ะเบียบวินัยจะมาจากความเปน็ ผูน้ าทีด่ ี 2.4 เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) ในการทางานใต้บังคับบญั ชาควรไดร้ ับคาสง่ั จากผบู้ ังคับบัญชาเพียงคนเดยี วเท่านน้ั ไมเ่ ช่นนั้นจะเกดิ การโต้แยง้ สบั สน 2.5 เอกภาพในการส่งั การ (Unity of Direction) ควรอยู่ภายใต้การจัดการหรือการส่ังการโดยผบู้ งั คบั บัญชาคนหน่ึงคนใด 2.6 ผลประโยชน์ขององค์การมาก่อนผลประโยชน์ส่วนบุคคล (Subordinatation ofindividual interest to the general interest) คานึงถึงผลประโยชน์ขององคก์ ารเป็นอนั ดับแรก 2.7 ผลตอบแทนท่ีไดร้ บั (Remuneration of Personnel)ต้องยตุ ธิ รรม และเกดิ ความพึงพอใจทง้ั สองฝา่ ย 2.8 การรวมอานาจ (Centralization) ควรรวมอานาจไวท้ ี่ศูนยก์ ลางเพ่ือใหส้ ามารถควบคุมได้ 2.9 สายการบังคับบัญชา (Scalar Chain)การตดิ ตอ่ ส่ือสารควรเป็นไปตามสายงาน 2.10 ความมีระเบยี บเรยี บร้อย (Order) ผู้บรหิ ารต้องกาหนดลกั ษณะและขอบเขตของงานเพือ่ ประสิทธภิ าพในการจดั ระเบียบการทางาน 2.11 ความเสมอภาค (Equity) ยตุ ิธรรม และความเป็นกันเอง เพ่ือใหเ้ กดิ ความจงรกั ภักดี 2.12 ความม่ันคงในการทางาน(Stability of Tenture of Personnel) การหมุนเวียนคนงานตลอดจนการเรียนรู้ และความม่ันคงในการจา้ งงาน 2.13 ความคิดรเิ ร่ิม(Initiative) เปิดโอกาสใหแ้ สดงความคดิ เหน็ ให้แสดงออกถึงความคดิ ริเร่มิ 2.14 ความสามัคคี (Esprit de Corps) หลีกเล่ยี งการแบ่งพรรคแบ่งพวกในองคก์ าร 3. แนวคดิ การจัดการยุคมนษุ ย์สัมพนั ธ์ ( Human Relation ) แนวคิดมนุษย์สัมพันธ์เป็นแนวคิดท่ีขัดแย้งกับแนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ที่เน้นประสิทธิภาพของการทางาน และมองข้ามความสาคัญของคน เห็นว่ามนุษย์ไม่มีชีวิตจิตใจ ไม่มีความต้องการมากนัก มีพฤติกรรมที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดยอาศัยโครงสร้างขององค์การมาเป็นตัวกาหนด และควบคุม ให้มนุษย์ทางานให้บรรลผุ ลสาเรจ็ ซึ่งยคุ มนษุ ย์สมั พนั ธ์นัน้ เป็นแนวคิดทีอ่ ยใู่ นช่วงระหวา่ งปี ค.ศ 1930 – 1950 เน่ืองจากเล็งเห็นว่า การจัดการใด ๆ จะบรรลุผลสาเร็จได้น้ันจะต้องอาศัยคนเป็นหลัก ดังน้ันแนวคิดมนุษย์สัมพันธ์ จึงได้ให้ความสาคัญในเร่ืองราวความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ( Interpersonal Relations ) จึงทาให้เร่ืองราวของมนุษย์สมั พนั ธ์ ( Human Relation ) กลบั มามบี ทบาทสาคัญมากขึน้ นักวิชาการสาคัญท่ีให้การสนับสนุนและศึกษาแนวคิดนี้คือ Greorge Elton Mayo ได้ทาการทดลองวิจัยที่เรียกว่า “ Hawthorne Experiment” เม่ือปี ค.ศ. 1924 –1927 ณ Western ElectricCompany ในเมืองชิคาโก มลรฐั อลิ ลินอยส์ ซ่งึ จดุ ประสงคก์ ็คอื ต้องการเข้าใจพฤตกิ รรมของคนในหน้าท่ีงานท่ีจัดไว้ให้ ปรากฏวา่ คนทางานมิใช่ทางานเพือ่ หวังผลตอบแทนด้วยตัวเงินเพียงอย่างเดียว แต่คนทางานต้องการด้านสังคมภายในกลุ่ม ที่เกิดข้ึนอย่างไม่เป็นทางการ ท่ีเป็นเรื่องของจิตใจ ตลอดจนความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างคนงานดว้ ยกนั การศกึ ษาวจิ ยั ดงั กลา่ วไดศ้ ึกษาทดลองออกเปน็ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

9 1. การศึกษาทดลองภายในห้อง (Room Studies) ได้ทาการทดลองเก่ียวกับการเปลี่ยนแปลงของแสงสว่างภายในหอ้ งทางาน เพอื่ สงั เกตประสทิ ธขิ องการทางานวา่ เปลีย่ นแปลงไปอย่างไร 2. การศึกษาโดยการสมั ภาษณ์ ( Interviewing Studies ) การทดลองนี้ก็เพื่อค้นหาความเปล่ียนแปลงในการทางานเกี่ยวกับสภาวะแวดลอ้ มของการทางานและการบงั คับบัญชา 3. การศึกษาโดยการสังเกต ( Observation Studies ) เป็นการสังเกตการทางานของคนและปัจจัยอ่นื ๆจากการทดลองนีไ้ ด้ประโยชนห์ ลายประการคือ 3.1คนมิใชว่ ตั ถุสง่ิ ของ คนมชี ีวิตจิตใจ จะซือ้ ด้วยเงนิ อย่างเดียวมิได้ 3.2 การแบ่งงานกันทาตามลักษณะเฉพาะตัว มใิ ชม่ ีประสิทธิภาพสูงสุดเสมอ 3.3 เจ้าหน้าที่ระดับสูง การจูงใจด้วยจิตใจมีความสาคัญ และมีความหมายมากกว่าการจูงใจด้วยเงนิ ตรา 3.4 ประสทิ ธภิ าพการทางานหาได้ข้ึนอยู่กบั สภาพแวดล้อมเพยี งอย่างเดยี วไมย่ ังขึน้ อยู่กับความสมั พนั ธภ์ ายในองค์การด้วย จากการศึกษาแนวคิดมนุษย์สัมพันธ์ ทาให้ได้มีการศึกษาพฤติกรรมศาสตร์ทางการจัดการมากข้ึนโดยนาเอาหลกั การจัดการมาผสมผสานกับพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การ ทาให้ได้ความรู้ท่ีหลากหลายมากขึ้นเชน่ นกั วิชาการ Abram Maslow ไดศ้ ึกษาการแสวงหาความต้องการของมนุษย์ ว่ามนุษย์เราแสวงหาอะไร โดยเขาได้เสนอ ทฤษฎีลาดับข้ันของความต้องการ( Hierachy of Need ) ส่วน Frederick Herzberg ได้ศึกษารูปแบบของการจูงใจโดยได้เสนอ ทฤษฎี Two Factor Theory Of Motivation เปน็ ตน้ 4. แนวคดิ การจัดการยคุ การบรหิ ารสมัยใหม่ ( Modern Management ) แนวคดิ ในยคุ นเี้ รมิ่ ตง้ั แต่ปี ค.ศ 1950 – ปัจจุบัน ซ่ึงในขณะนี้เศรษฐกิจ และธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วความสลับซับซ้อนในการบริหารการจัดการก็มากขึ้น เพราะฉะนั้นการจัดการสมัยใหม่ จึงต้องใช้หลักทางคณิตศาสตร์มาช่วยในการตัดสินใจ ตลอดจนการจัดการเชงิ ระบบมาชว่ ย แตอ่ ย่างไรก็ตาม การบริหารการจัดการสมยั ใหมก่ ็ยังมิอได้ทิง้ หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตรแ์ ละแนวคิดในด้านมนษุ ยส์ มั พันธ์เสียทีเดยี ว การจัดการเชงิ ระบบ ( System Approach ) ความหมายของระบบ (System) “ a setof interdependent, interaction element “ ตัวอย่างเช่น คนเป็นระบบ เพราะในร่างกายของคนเราน้ันประกอบด้วย อวัยวะ ซ่ึงมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างอัตโนมัติ ระบบจึงถือเป็น Grand Theory เป็นทฤษฎีขนาดใหญ่ เพราะมีระบบย่อยหรือสิ่งต่าง ๆ มากมาย เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ขององค์การไม่ว่าภายในหรือภายนอก ล้วนแต่มีความสัมพันธ์ เก่ียวเน่ืองเป็นอันหน่ึงอันเดียวกัน ดังนั้นการบริหารการจัดการจึงต้องปรับตัวให้มีความสมดุลอย่างเป็นระบบ เพ่ือให้เกิดความสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ ท่ีกล่าว จึงจะทาให้องค์การเตบิ โต อยูร่ อด และสมั ฤทธิผลตามเป้าหมาย การจัดการโดยใช้คณิตศาสตร์ หรือเชิงปริมาณมาช่วยในการตัดสินใจ ( Quantitative or DecisionMaking Approach ) การศึกษาในแนวน้ีจะใช้ เคร่ืองมือสมัยใหม่มาช่วยในการตัดสินใจ เช่นการวิเคราะห์เชิงปรมิ าณ การวิจัย การใช้คอมพวิ เตอร์ เป็นตน้ ทาให้ตอ้ งมหี ลักการและเหตุผลมีหลักมีเกณฑ์ และเป็นการบริหารการจัดการทีส่ ามารถลดความเสี่ยงขององคก์ ารได้ในระดับหน่ึงทฤษฎอี งค์การสาหรบั สถานศกึ ษา ทฤษฎีองค์การเชิงรูปแบบ 5 รูปแบบ ของ Richard H. Hall รปู แบบทีจ่ ะนามาประยกุ ตใ์ ช้พฒั นาสถานศกึ ษาได้ดี รูปแบบทฤษฎีองค์การ 2 รปู แบบใหญ่ ประกอบดว้ ย ๕ รูปแบบย่อย ได้แก่

10 1. รูปแบบทรพั ยากรเชงิ ระบบ มี 2 รปู แบบย่อย คือ 1.1 รูปแบบนิเวศวิทยาประชากร (population ecology) เป็นรูปแบบขององค์การท่ีมีความพยายามหาขอบเขตของความตอ้ งการและทรัพยากรเฉพาะตามสภาพแวดล้อมเพอ่ื ทาให้องค์การอยู่รอด รูปแบบนมี้ ีองคป์ ระกอบ คือ เทคโนโลยีโครงสร้าง ผลิตผล และเจ้าหน้าที่ โดยไม่ให้ความสาคัญกับอานาจ ความขัดแย้งและชนชน้ั ทางสังคม นกั ทฤษฎีกลุ่มนิเวศวทิ ยาประชากร นี้ ให้ความสาคัญกับรูปแบบขององค์การมากกว่าความเป็นองคก์ ร 1.2 รูปแบบการพึ่งพาทรัพยากร (resource dependence) เป็นรูปแบบองค์การเชิงเศรษฐกิจการเมือง อานาจการตัดสินใจข้ึนอยู่กับปัจจัยภายในขององค์การ ซึ่งจะมีมากหรือน้อยข้ึนอยู่กับทรัพยากรน้ันมีความต้องการจาเป็นมากน้อยเพียงใดและทรัพยากรนั้นอยู่ในลักษณะอานาจผูกขาดหรือไม่ เช่น วัตถุดิบ เงินบุคลากร หรือบริการ การพ่ึงพาเป็นการกระทาเพื่อการอยู่รอดเพ่ือการเติบโตโดยอาศัยสภาพแวดล้อม ซ่ึงAldrich และ Pfeffer แย้งว่า สภาพแวดล้อมที่องค์การต้องเผชิญโดยตรง ได้แก่ความรู้สึก ความไม่แน่นอน ซึ่งหนว่ ยงานย่อยในองค์การเป็นผู้เผชิญโดยตรงโดยใช้กลยทุ ธ์ดา้ นอานาจในการตัดสินใจ คือ 1. กาหนดทางเลือกในการตดั สินใจอยา่ งมีอิสระ 2. กาหนดทางเลือกในการตัดสินใจตามสภาพแวดลอ้ ม 3. กาหนดทางเลือกในการตัดสินใจบนพ้ืนฐานความแตกต่างทางเงื่อนไขของสภาพแวดล้อม 2. รปู แบบท่ีมุ่งเนน้ เป้าหมายการกระทา (The goal model) มี 3 รูปแบบคือ 2.1 รูปแบบเชิงสถานการณ์และเหตุผล (rational contingency model) รูปแบบน้ีจะยึดเป้าหมายขององค์การเป็นฐาน เพราะเป้าหมายคือพื้นฐานของเหตุผลที่มีความสาคัญในการนาองค์การไปสู่ทิศทางท่ีกาหนด มีความคาดหวังต่อองค์การท่ีแตกต่างกัน โดยมีความสอดคล้องกันระหว่างประสิทธิภาพขององค์การ หรือระหว่างสมาชิกของ องค์การด้วยกัน เป็นระหว่าส่วนแบ่งการตลาด กับความพึงพอใจของลูกค้าการวจิ ัยกบั การพัฒนาการสอนกบั การวิจัย หรือ การดูแลคนไข้กับการวิจัยด้านการแพทย์ ทฤษฎีเชิงสถานการณ์พัฒนามาจากความคิดที่ว่าองค์การเหมาะสมที่สุด ควรจะเป็นองค์การที่มีโครงสร้างและระบบที่สอดคล้องกับส่ิงแวดล้อม และสภาพความเป็นจริงขององค์การ ต้ังอยู่บนพื้นฐานการศึกษาสภาพแวดล้อมท่ีแตกต่างกันของมนษุ ย์ (Humanistic Enveronment) โดยมีธรรมชาติ (Natural) เปน็ ตัวแปรและเปน็ ปัจจัยสาคัญในการกาหนดรูปแบบ กฎเกณฑ์ และระเบียบแบบแผน ซ่ึง Longston ให้ความเห็นว่าการอาศัยสถานการณ์เป็นกลยุทธ์หน่ึงของการควบคมุ คนตามแนวคดิ ของ Marxist 2.2 รูปแบบแลกเปล่ียนต้นทุน (transaction-cost model) เป็นการใช้แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์โดยมีฐานคิดในเร่ืองของเหตุผลและการแสวงหาโอกาสขององค์การ หาวิธีลดต้นทุนในการเปล่ียนแปลงสินค้นและบรกิ าร รวมทัง้ ทรัพยากร แรงงาน ต้องมกี ารควบคมุ ตรวจสอบ 2.3 รูปแบบสถาบนั (institution model) องค์การต้องได้รบั การยอมรับทางสังคม นาเทคนิคการบรหิ ารมาใช้เน่ืองจากมีการวิจารณ์วา่ ทฤษฎสี ถาบนั เน้นเฉพาะการสรา้ งความเปน็ สถาบัน (institutionalization)เป็นอนรุ กั ษน์ ิยมต่อตา้ นการเปลี่ยนแปลง จาก 5 รูปแบบท่กี ล่าวมา รปู แบบทเี่ หมาะสมสามารถนามาประยกุ ต์ใชใ้ นการพัฒนาสถานศึกษาไดด้ ี คือ 1. รูปแบบนิเวศวิทยาประชากร ซ่ึงเป็นการพึ่งพาทรัพยากร เป็นรูปแบบเชิงเศรษฐกิจการเมือง ซ่ึงให้อานาจในการตัดสินใจขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในองค์การซ่ึงจะมากจะน้อยข้ึนอยู่กับทรัพยากรท่ีมีอยู่ มีความต้องการจาเป็นมากน้อยเพียงใดโดยให้ความสาคัญกบั วัตถดุ ิบ เงนิ บคุ ลากร และการบรหิ ารจัดการ หมายความวา่ ทกุ องคป์ ระกอบในองค์การต้องพ่ึงพาซึง่ กันและกนั เพือ่ ความอยรู่ อดขององค์การ มีความสมั พันธก์ ัน ให้อานาจในการตัดสนิ ใจในการกาหนดทางเลอื ก

11โดยคานึงถึงการรับรู้ การตคี วาม และการประเมินคา่ โรงเรียนหรือสถานศึกษาส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานหรือองค์การของทางราชการ จึงมีการสืบสานรักษาข้อปฏิบัติส่งต่อจากอดีตสู่ปัจจุบันทั้งด้านนโยบาย บทบาทหน้าที่ของบุคลากร เช่นครูบรรจุใหม่ต้องได้รับการปฐมนิเทศ ได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมในการทางานจากผู้มีประสบการณ์ ถือเป็นวัฒนธรรมขององค์การท่ีส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น หรือแม้แต่ผู้นาก็ถูกส่งต่อรุ่นต่อรุ่นเช่นกันหากเรามีรูปแบบการบริหารจัดการองค์การตามรูปแบบนิเวศวิทยาประชากร ซึ่งเป็นการพึ่งพาทรัพยากร ก็จะทาให้สถานศึกษา ผู้บริหาร บุคลากร ชุมชน ทรัพยากร ส่ิงแวดล้อม สามารถอยู่ร่วมกันพ่ึงพาอาศัยกัน ร่วมมือกันพัฒนาสถานศึกษาให้เจรญิ ก้าวหน้าอยา่ งมีประสทิ ธิภาพเกิดประสิทธิผลตอ่ การศกึ ษาของชาติต่อไป 2. รปู แบบเชิงสถานการณ์ ถือเป็นอีกรูปแบบหน่ึงที่มีความเหมาะสมและสามารถนามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาได้ดีเพราะหากองค์การมีเป้าหมายในการพัฒนาที่ชัดเจนบนพื้นบานของความมีเหตุผลเป็นสาคัญก็จะสามารถนาพาองค์การไปสูท่ ิศทางทีก่ าหนดได้ ดังนั้น สถานศึกษาถือเป็นองค์การที่มีบุคคลหลายฝ่ายทั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน เจ้าหน้าท่ี บุคลากรทางการศกึ ษา ชมุ ชนและหนว่ ยงานอนื่ ท่ีเกี่ยวขอ้ งซ่งึ เป็นผมู้ ีส่วนได้ส่วนเสียมีความคาดหวังต่อองค์การที่แตกต่างกัน แต่ต้องคานึงถึงประสิทธิภาพของสถานศึกษา ความพึงพอใจของผู้รับบริการอันได้แก่นักเรียน ผู้ปกครองชุมชน และประเทศชาติ เพราะนักเรียนมีความคาดหวังได้รับความรู้ ประสบการณ์ที่ดีๆ จากสถานศึกษา พ่อแม่ผู้ปกครองคาดหวังให้บุตรหลานของตนเป็นคนดีมีความรู้อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข ส่วนชุมชนก็คาดหวังจะได้สมาชกิ ทเ่ี ป็นคนดีมีความรู้ มจี ิตสาธารณะมาชว่ ยพัฒนาท้องถนิ่ และประเทศชาติก็คาดหวังจะได้ผลิตภาพเป็นไปตามนโยบาย เช่น เป็นคนดี มคี วามรู้ อยเู่ ปน็ สุข มจี ิตสาธารณะ เปน็ ต้น กลา่ วโดยสรุป หากนาเอารูปแบบองค์การทั้ง 2 รูปแบบดังกล่าวข้างต้นมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมแล้วนา่ จะทาให้สถานศกึ ษาสามารถพัฒนาไดอ้ ย่างเตม็ ศักยภาพ เกิดประสิทธภิ าพได้ผลติ ภาพอยา่ งสมดุลคาถามทา้ ยบทท่ี ๑ ๑. จากที่ได้ศึกษาร่วมกันในชวั่ โมงน้ี นสิ ิตมีความเขา้ ใจวา่ “การบรหิ ารจดั การ” ต้องบริหารจัดการอะไร จงอธบิ ายใหไ้ ด้ใจความ ? (๑ คะแนน) ๒. นิสิตจงวเิ คราะห์ถงึ หน้าทขี่ องผบู้ ริหารวา่ การบรหิ ารจะมีประสทิ ธภิ าพมากนอ้ ยเพยี งไรน้ันขึน้ อยู่กับ อะไรเป็นหลัก ให้แยกตอบเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน ? (๒ คะแนน) ๓. จากการท่ีนสิ ติ ต่างได้รว่ มพิธีรับมอบอาคารศาลากลางจังหวดั เชียงรายหลงั เกา่ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ท่ผี า่ นมา นิสิตเหน็ วา่ เปน็ กระบวนการบริหารจัดการแบบใดของพระเดชพระคุณ เจา้ คณะภาค ๖ จงอธบิ ายให้ได้ใจความ ? (๒ คะแนน) -----------------------------------------------


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook