Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การปลูกพืชหลังนา

การปลูกพืชหลังนา

Published by nongbualumphulibrary, 2018-12-09 12:59:07

Description: การปลูกพืชหลังนา

Search

Read the Text Version

เอกสารค�ำแนะน�ำที่ 4/2560การปลกู พชื หลังนาพิมพค์ ร้ังท่ี 1 : จ�ำนวน 5,000 เล่ม กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560จัดพิมพ์ : กรมสง่ เสรมิ การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิมพ์ท ่ี : บรษิ ทั นวิ ธรรมดาการพมิ พ์ (ประเทศไทย) จำ� กัด





คำ� นำ� การผลิตข้าวของประเทศไทยปัจจุบัน เกินความต้องการใช้ในประเทศจ�ำนวนมาก ประกอบกับการส่งออกข้าวของไทยมกี ารแขง่ ขนั เพมิ่ ขนึ้ จากประเทศเพอ่ื นบา้ นทมี่ รี าคาตำ่� กวา่ ท�ำให้ปริมาณผลผลิตข้าวคงคลังในโกดังกลางของรัฐบาลมีจ�ำนวนมากและส่งผลต่อราคาข้าวในฤดูกาลผลิตใหม่ รัฐบาลได้เห็นความส�ำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้แต่งต้ังคณะท�ำงานวางแผนการผลิตข้าวครบวงจร เพ่ือพิจารณาวางแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร โดยใช้หลัก “ตลาดน�ำการผลิต”ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้บริหารจัดการพ้ืนที่เพาะปลูกข้าว โดยการลดรอบพ้ืนที่เพาะปลูกข้าวฤดูนาปรังและหากิจกรรมทางเลือกพืชที่เหมาะสมเข้าไปทดแทน ซึ่งในอดีตพ้ืนท่ีนาเหล่านี้ มีการท�ำนาเชิงระบบ กล่าวคือ ปลูกข้าวร่วมกับพืชอ่ืน โดยผลผลิตพืชที่ปลูกสลับการท�ำนา ใช้เป็นวัตถุดิบปอ้ นโรงงานอาหารสตั ว์ และแปรรปู อาหาร ซงึ่ ในแตล่ ะปี มคี วามต้องการจ�ำนวนมาก ในสภาวการณ์ปัจจุบันการเข้าไปสนับสนุนให้ชาวนาลดรอบการท�ำนาไปปลูกพืชอื่น ที่มีความเหมาะสมจึงช่วยลดความเส่ียง เรื่องราคาผลผลิตข้าวตกต่�ำ ท�ำให้ชาวนามีรายได้จากการเพาะปลูกพืชอื่น ท่ีมีผลตอบแทนท่ีดี ส่งผลให้เกดิ ความยง่ั ยนื ในอาชีพท�ำนาตอ่ ไป กรมส่งเสรมิ การเกษตร 2560

สารบญั หนา้ บทนำ� 1 ลักษณะพันธพุ์ ชื ทเ่ี หมาะสมสำ� หรับปลูกหลงั นา 4 ประโยชนข์ องการปลูกพืชหลังนา 6 ข้อควรระวังในการปลูกพชื หลงั นา 8 ปัจจยั เก่ยี วกับสภาพแวดลอ้ มในชว่ งการปลกู พชื หลงั นา 9 การปรบั พ้นื ที่นาเพอ่ื ปลูกพชื ไร่ พืชผัก และไม้ดอก 12 เอกสารอา้ งองิ 20 ภาคผนวก 21 คำ� แนะน�ำการปลูกพชื ไร่หลังนา 22

บทนำ� ในปจั จบุ นั รัฐบาลไดม้ นี โยบายลดพื้นทก่ี ารทำ� นาปรัง โดยเฉพาะอย่างยง่ิพ้ืนที่นาในเขตชลประทาน เน่ืองจากประสบปัญหาขาดแคลนน�้ำในช่วงฤดูแล้งราคาขา้ วตกต่�ำ ต้นทุนการผลติ สูง ผลตอบแทนต�่ำ ดงั นน้ั ทางราชการจงึ สง่ เสรมิ ให้เกษตรกรหนั มาปลกู พชื ทใ่ี ชน้ ำ�้ นอ้ ย ไดแ้ ก่ พชื ไร่ และพชื ผกั ตา่ งๆ นอกจากจะใชพ้ นื้ ทนี่ าไดอ้ ยา่ งมปี ระสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยเพิ่มรายไดใ้ ห้แกค่ รอบครัวอกี ทางหนึง่ พชื ทีเ่ หมาะสมสำ� หรบั ปลกู ในนาข้าว ควรเปน็ พืชอายสุ ้นั ใชน้ ำ�้ น้อย และทนแลง้ ได้ดี มอี ยดู่ ้วยกันหลายชนดิ ได้แก่ พชื ไร่ เชน่ ถัว่ เขียว ถ่ัวเหลืองฝกั สด ถั่วพุ่ม ถ่วั ลสิ ง ข้าวโพดเลย้ี งสัตว์ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวโพดเทียน ข้าวฟ่าง งา มันเทศ และทานตะวันถวั่ เขียว ถ่วั เหลืองฝกั สด ถ่วั พมุ่ถ่วั ลิสง ขา้ วโพดเล้ยี งสตั ว์ ข้าวโพดหวาน ขา้ วโพดฝักอ่อน การปลูกพืชหลังนา 1

พืชผัก เช่น คะน้า กะเพรา โหระพา แมงลัก ผักกาดหอม ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักกาดหัว ผักกาดเขียวปลี ผักกาดขาวปลีกะหล�่ำปลี ผักชี มะเขือเทศ มะเขอื เทศเชอร์ร่ี มะเขอื เปราะ มะเขือยาว/มะเขือม่วงมะระจนี ถัว่ ฝักยาว บวบเหลยี่ ม แตงโม แตงกวา/แตงร้าน แคนตาลปู พรกิ ขีห้ นู/พริกมัน/พริกหนุ่ม และผกั บุง้ จีนคะน้า กะเพรา โหระพาแมงลกั ผกั กาดหอม ผักกาดหวัผักกาดเขยี วกวางต้งุ ผักกาดเขียวปลี ผกั กาดขาวปลี กะหล�่ำปลี ผกั ชี มะเขอื เทศ2 กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

ไม้ดอก เชน่ แอสเตอร์ บานไมร่ โู้ รย ดาวเรืองตัดดอก ทานตะวนั ตดั ดอก และบานชนื่แอสเตอร์ บานไมร่ ้โู รย ดาวเรืองตดั ดอก ทานตะวนั ตดั ดอก บานช่นื พืชปรบั ปรงุ ดิน เชน่ โสนอฟั ริกนั ถั่วพมุ่ และถวั่ พร้าโสนอฟั รกิ นั ถั่วพุม่ ถ่ัวพรา้ การปลูกพืชในสภาพหลังการท�ำนา จ�ำเป็นต้องมีการให้น้�ำชลประทานหรืออาศัยความช้ืนในดินท่ีหลงเหลืออยู่หลังเก็บเก่ียวข้าว ซึ่งข้อจ�ำกัดทางด้านสภาพแวดล้อมส�ำหรับการปลูกพืชไร่ในสภาพหลังการท�ำนา คือ ช่วงแสงวันส้ันอุณหภูมิต�่ำในระยะแรก อุณหภูมิสูงในระยะหลัง กระทบแล้งในช่วงออกติดฝักและสภาพดนิ อดั ตวั แน่น การปลกู พชื หลงั นา 3

ลักษณะพันธพุ์ ืชท่ีเหมาะสมสำ�หรับปลูกหลงั นา 1. อายสุ น้ั ในชว่ งหลงั การทำ� นามชี ว่ งเวลาทคี่ อ่ นขา้ งจำ� กดั การปลกู พชื หลังนาโดยอาศัยความช้ืนท่ีเหลืออยู่ พืชท่ีมีอายุสั้นจะได้เปรียบพืชที่มีอายยุ าว เน่อื งจากช่วงอายุเกบ็ เก่ยี วสนั้ กวา่ สามารถหลกี เล่ยี งผลกระทบแลง้ ในชว่ งติดดอกออกฝักได้ 2. ทนแลง้ เนอ่ื งจากความชนื้ ทหี่ ลงเหลอื อยหู่ ลงั เกบ็ เกย่ี วขา้ ว มคี วามชน้ื เพยี งพอส�ำหรบั การปลกู พชื ในระยะแรกประมาณ 1 เดอื น 3. ความแข็งแรงของต้นกล้า ในระยะแรกของการเจริญเติบโต พืชควรมีความสามารถในการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในสภาพท่ีต้องแข่งขันกับวัชพืช และความช้ืนในดินที่จ�ำกัด ตลอดจนผลกระทบอื่นๆในสภาพแวดล้อมนนั้ เชน่ โรคและแมลง เปน็ ต้น4 กรมส่งเสริมการเกษตร

4. ไม่ไวแสง ชว่ งหลงั การท�ำนาในฤดูแลง้ เปน็ ชว่ งวันสั้น หากปลกู พชื ทีต่ อบสนองต่อชว่ งแสง เช่น ถัว่ เหลอื งบางพนั ธุ์ และงา ทำ� ใหอ้ อกดอกเร็วเกนิ ไป ดงั นนั้ พนั ธุพ์ ชื ทเี่ หมาะสมตอ้ งไม่ตอบสนองต่อชว่ งแสง 5. ทนทานต่อน�้ำขัง ช่วงหลังเก็บเกี่ยวข้าวมักประสบปัญหาน้�ำท่วมขัง ในระยะแรก เนอื่ งจากการจดั การนำ�้ ทไี่ มเ่ หมาะสม นอกจากน้ี ระยะออกดอกถึงเก็บเกี่ยว มักประสบปัญหาฝนตก โดยเฉพาะพืชที่เก็บเก่ียวฝักแก่ จะได้รับความเสียหายอย่างมาก ดังน้ัน พันธุ์พืชที่เหมาะสม จึงควรทนทานต่อการท�ำลายของน้�ำฝน และควรมีความสามารถในการให้ผลผลิตได้ แม้ว่าจะใช้ปัจจัยการผลิตต�่ำเชน่ ใช้ปุย๋ และสารป้องกนั ก�ำจัดแมลงนอ้ ย 6. ลักษณะอ่ืนๆ คือ ต้านทานโรคและแมลง ฝักไม่แตก มีการพักตัว ของเมล็ด ล�ำตน้ ไม่หักลม้ เปน็ ต้น การปลูกพืชหลงั นา 5

ประโยชน์ของการปลูกพชื หลังนา 1. ใช้น�้ำน้อย การปลูกข้าวนาปรังใช้น้�ำสูงถึง 1,200 มิลลิเมตร (1,920 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่) ในขณะที่พืชไร่อายุสั้น เช่น ข้าวโพดถัว่ เหลือง และถั่วเขียว ใชน้ �ำ้ น้อยกว่าการท�ำนาประมาณ 3-5 เท่า ทั้งน้ี ขนึ้ อยูก่ บัชนิดของดินและสภาพภมู ิอากาศ 2. ลดการระบาดของแมลง การเปลี่ยนพื้นทปี่ ลกู ขา้ วนาปรงั เปน็ พืชไร่ ที่ใช้น�้ำน้อย ช่วยตัดวงจรของเพล้ียกระโดดสีน�้ำตาล และช่วยลดการระบาดของหอยเชอรใี่ นแปลงนาได้ 3. เพ่ิมปริมาณการผลิต การขยายพื้นที่ปลูกพืชไร่ (ข้าวโพดและ ถั่วเหลอื ง) ในพน้ื ที่นาทีม่ ีศักยภาพเพอื่ ทดแทนนาปรงั เปน็ แนวทางทจี่ ะเพม่ิ ปริมาณการผลิตใหเ้ พียงพอต่อความตอ้ งการใชภ้ ายในประเทศ 4. คุณภาพดีและราคาดี การปลูกพืชไร่ทดแทนการท�ำนาปรังในช่วง ฤดแู ลง้ ทำ� ใหไ้ ดผ้ ลผลติ ทม่ี คี ณุ ภาพดตี ามความตอ้ งการของตลาด เนอื่ งจากในช่วงเก็บเก่ียวเป็นช่วงที่มีแสงแดดและอุณหภูมิสูง ท�ำให้สามารถลดความชื้นลงได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชในฤดูแล้ง นับว่าเป็นฤดูการผลิตท่ีดที ่สี ดุ เนอื่ งจากไดผ้ ลผลิตสูงและเมลด็ ที่มคี ุณภาพดี สง่ ผลให้ไดร้ าคาดี6 กรมส่งเสรมิ การเกษตร

5. ผลผลติ สงู สภาพแวดลอ้ มในชว่ งฤดแู ลง้ หลงั เกบ็ เกย่ี วขา้ ว เหมาะสำ� หรบั การเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตของพืชไร่บางชนิดที่มีประสิทธิภาพในการใช้แสงมาก เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (การปลูกในช่วงฤดูแล้งให้ผลผลติ สงู กว่าการปลกู ในชว่ งฤดฝู น ประมาณ 15-20 เปอรเ์ ซน็ ต์ ภายใตส้ ภาพการจดั การทเ่ี หมอื นกนั )และถั่วเหลือง (การปลูกในฤดูแล้งให้ผลผลิตสูงกว่าในฤดูฝน ประมาณ 20-30เปอรเ์ ซน็ ต์ เนอื่ งจากสามารถควบคมุ ความชนื้ ในดนิ ทเ่ี หมาะสม ประกอบกบั มแี สงแดดเพยี งพอ ในขณะเดียวกันโรคและแมลงจะพบน้อยกวา่ การปลูกโดยอาศยั น�้ำฝน) 6. ผลตอบแทนสงู ถวั่ เขยี วเป็นพืชทม่ี ีอัตราสว่ นตอบแทนตอ่ เงินลงทุน มากทส่ี ดุ คอื 75 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คอื ขา้ วนาปรัง (62 เปอร์เซน็ ต์)ข้าวโพดเลย้ี งสัตว์ (56 เปอร์เซน็ ต)์ และถั่วเหลือง (47 เปอรเ์ ซน็ ต)์ 7. เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน การปลูกพืชไร่ทดแทนนาปรัง ชว่ ยปรบั ปรงุ ความอดุ มสมบูรณข์ องดินได้ เศษซากพชื ทเี่ หลืออยูใ่ นแปลงท�ำให้คุณสมบัติของดินทางเคมีและฟิสิกส์ดีขึ้น ส่งผลให้ข้าวซึ่งเป็นพืชหลักมผี ลผลิตเพมิ่ สูงขนึ้ ดว้ ย นอกจากนี้ ในถั่วเหลืองท่ีมีปมที่ราก สามารถสลายตัวปล่อยสารประกอบไนโตรเจนใหแ้ กด่ นิ ซงึ่ จะเปน็ ประโยชนส์ ำ� หรบั พชื ทป่ี ลกู ตามอยา่ งมากโดยท่ัวไปในพน้ื ท่ี 1 ไร่ จะมีธาตุไนโตรเจนตกคา้ งอยใู่ นดินหลังจากปลกู ถว่ั 10-15กโิ ลกรัม หรือเทยี บเท่ากบั ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 50-100 กโิ ลกรมั ซง่ึ เพยี งพอที่จะใหพ้ ืชอืน่ ๆ ที่ปลกู ตามถ่ัว ใชใ้ นการเจรญิ เตบิ โตไดเ้ ตม็ ที่ การปลูกพืชหลังนา 7

ขอ้ ควรระวงั ในการปลกู พืชหลังนา 1. ชนดิ ของพืชทจี่ ะปลกู ควรเลือกชนดิ ของพชื ดงั นี้ • ตลาดตอ้ งการ • ผลผลติ มรี าคาดี • มแี หล่งรับซอื้ • เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในเขตท่ปี ลกู 2. ลกั ษณะพนื้ ที่ เลอื กพน้ื ทที่ ร่ี าบเรยี บ จะตอ้ งปรบั พน้ื ทกี่ อ่ นการทำ� นา และให้มคี วามลาดเท เพอ่ื การสง่ น�้ำและระบายน้�ำ 3. การเตรียมดิน ควรไถเตรียมดินเมื่อความชื้นพอเหมาะ โดยเฉพาะ ดินเหนียว หากไถในสภาพที่ดิน มีความชื้นสูง จะท�ำให้ดินเป็นก้อนโตหากไถในสภาพทด่ี นิ แหง้ เกนิ ไป จะทำ� ใหไ้ ถเตรยี มดนิ ยาก และไถไดไ้ ม่ลึก 4. ชว่ งเวลาปลกู พชื ไรแ่ ตล่ ะชนดิ มอี ายเุ กบ็ เกยี่ วแตกตา่ งกนั จะตอ้ งปลกู ในช่วงที่เหมาะสม โดยไม่ให้ระยะออกดอกและติดฝัก ตรงกับช่วงที่อณุ หภมู สิ งู เพราะจะทำ� ใหก้ ารผสมเกสรไมส่ มบรู ณ์ นอกจากน้ี พชื ไรบ่ างชนดิ ไมช่ อบอากาศหนาวเยน็ เชน่ ถว่ั เขยี ว ไมค่ วรปลกู ในชว่ งทอ่ี ณุ หภมู ติ ำ�่ กวา่ 15 องศาเซลเซยี ส PNK 5. การให้ปุ๋ย ไม่จ�ำเป็นต้องให้ปุ๋ย โดยอาศัยปุ๋ยตกค้างจากการท�ำนา ยกเวน้ ขา้ วโพด ซงึ่ ตอ้ งการปยุ๋ ไนโตรเจนสำ� หรบั การเจรญิ เตบิ โตและสรา้ งผลผลิต 6. การใหน้ ำ�้ อยา่ ใหข้ าดนำ้� ในระยะออกดอก ซง่ึ เปน็ ระยะวกิ ฤตของพชื จะทำ� ใหผ้ ลผลติ ลดลงอยา่ งมาก หรอื ใหน้ ำ้� มากเกนิ ไปในระยะแรก จะทำ� ให้เกิดภาวะน�ำ้ ทว่ มขงั สง่ ผลให้พืชตายได้8 กรมสง่ เสริมการเกษตร

ปัจจยั เกยี่ วกบั สภาพแวดล้อมในช่วงการปลกู พืชหลงั นา 1. ความยาวช่วงแสง มผี ลต่อการควบคุมพัฒนาการไปสกู่ ารออกดอก ประเทศไทยตง้ั อยใู่ กลเ้ สน้ ศนู ยส์ ตู ร จงึ มกี ารเปลยี่ นแปลงของชว่ งแสงไมม่ ากระหวา่ งกลางวนั กบั กลางคนื ดงั นน้ั พชื ทตี่ อบสนองตอ่ ชว่ งแสง เชน่ ถว่ั เขยี ว จะมกี ารพฒั นาเปน็ ดอก เมอ่ื ไดร้ บั แสงวนั สนั้ ลงกวา่ ชว่ งวกิ ฤตของพนั ธน์ุ น้ั ๆ แตค่ วามยาวชว่ งแสงในประเทศไทยไมท่ ำ� ใหอ้ ายกุ ารออกดอกแตกตา่ งกนั สว่ นถว่ั เขยี วผวิ ดำ� จะแสดงการตอบสนองต่อช่วงแสง เมื่อปลูกในสภาพท่ีมีช่วงแสงวันสั้น จะท�ำให้ถ่ัวเขียวผิวด�ำออกดอกเร็วขึ้น และเม่ือปลูกในช่วงแสงวันยาวก็จะท�ำให้ออกดอกช้าลง การปลูกถ่ัวเขียวและถ่ัวเขียวผิวด�ำสามารถปลูกได้ดี ถึงแม้ว่าจะออกดอกเร็ว ซึ่งท�ำให้การเจริญเติบโตทางล�ำต้นน้อย ผลผลิตจึงต�่ำกว่าการปลูกในสภาพปกติ (ปลายฤดูฝน)แนวทางหน่งึ ที่จะใหผ้ ลผลิตถัว่ เขียวเพมิ่ ขนึ้ คอื การเพ่ิมอตั ราปลูกใหส้ ูงข้ึน 2. อณุ หภมู ิ ชว่ งฤดแู ลง้ หลงั เกบ็ เกยี่ วขา้ ว จะมอี ณุ หภมู คิ อ่ นขา้ งตำ�่ ในชว่ ง เดอื นธนั วาคม – มกราคม ถว่ั เขยี วเปน็ พชื ทม่ี กี ารตอบสนองตอ่ อณุ หภมู ติ ำ�่จะท�ำให้การเจรญิ เตบิ โตหยดุ ชะงักหรอื ชะลอลง และอาจถึงตายไดเ้ มือ่ มนี �ำ้ คา้ งแข็งสำ� หรบั อณุ หภมู วิ กิ ฤตขิ องถว่ั เขยี วอยทู่ ่ี 15 องศาเซลเซยี ส นบั วา่ เปน็ อณุ หภมู ิตำ�่ สดุ ที่ถ่วั เขียวสามารถจะใหผ้ ลผลิตไดต้ ามปกติ (อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 28–30 องศาเซลเซียส) ดงั นน้ั การปลูกถั่วเขียว ควรหลีกเล่ยี งอุณหภูมิต�่ำในช่วงที่ต้นอ่อนโผล่พ้นพ้ืนดิน อุณหภูมิต่�ำสุดท่ีเมล็ดจะงอกโผล่พ้นจากดินได้จะอยู่ ประมาณ 9.5 องศาเซลเซียสในพชื วงศถ์ วั่ ตา่ งๆ จะมกี ารงอกชา้ ลง เมอ่ื อณุ หภมู ลิ ดลง นอกจากน้ีอุณหภูมิท่ีสูงในระยะหลัง โดยเฉพาะเดือนมีนาคม – เมษายนจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตของข้าวโพดซ่ึงอุณหภูมิที่สูงในระยะออกดอกเป็นอันตรายต่อการผสมเกสรของข้าวโพด ท�ำให้ผลผลติ คอ่ นข้างต่ำ� การปลูกพชื หลังนา 9

3. ความชนื้ และนำ้� การปลกู พชื หลงั การทำ� นาในสภาพทอ่ี าศยั ความชน้ื ในดนิ ทหี่ ลงเหลอื อยหู่ ลงั เกบ็ เกยี่ วขา้ ว มกั ประสบปญั หาขาดนำ�้ ในระยะหลงั หรอื ระยะเจรญิ พันธุ์ ผลกระทบของน�้ำท่วมขังและการขาดน้�ำต่อการเจริญเติบโตและ สรา้ งผลผลิตของพชื ไร่ชนดิ ตา่ งๆ ที่ปลกู ในสภาพนา มีดงั นี้ • น�้ำท่วมขัง เนื่องจากในสภาพแปลงนาข้าว เป็นลักษณะดินที่ อัดตัวกันแน่น ระบายน้�ำยาก มักจะเกิดปัญหาน�้ำท่วมขัง โดยเฉพาะในระยะแรก ของการเจริญเตบิ โต จะท�ำใหก้ ารเจรญิ เติบโตไม่ดี เตี้ย แคระแกรน็ ถ่ัวเขยี ว และ ขา้ วโพด เปน็ พชื ทไ่ี มช่ อบนำ�้ ทว่ มขงั โดยเฉพาะในระยะแรก ชว่ งงอกและระยะตน้ กลา้ น�้ำท่วมขังเป็นอุปสรรคต่อการงอก เนื่องจากเมล็ดและต้นอ่อนเน่าเสียหายได้ง่าย หลังเมล็ดงอกแล้ว นอกจากนี้ ในพืชวงศ์ถั่วเม่ือประสบปัญหาน้�ำท่วมขังเป็นระยะ เวลานาน จะทำ� ใหป้ มทรี่ ากถวั่ รว่ งได้ มผี ลทำ� ใหต้ น้ ถว่ั ขาดไนโตรเจนและ มกี ารเจรญิ เติบโตลดลง การปลกู ขา้ วโพดในสภาพน�้ำท่วมขงั ทำ� ให้นำ�้ หนักเมล็ดแหง้ ลดลง โดย เฉล่ีย 18 เปอร์เซน็ ต์ เม่ือเปรียบเทียบกบั สภาพแปลงทใี่ หน้ ้ำ� ตามปกติ • การขาดน้�ำ ผลผลิตจะลดลงมากหรอื น้อยข้นึ อยู่กบั ชนดิ ของพชื ระดบั ความรนุ แรง ความยาวนาน และชว่ งเวลาการขาดนำ้� ถวั่ เขยี วจดั เปน็ พชื ทมี่ กี าร ตอบสนองตอ่ การขาดนำ�้ อยา่ งมาก เมอ่ื เปรยี บเทยี บกับถัว่ ลสิ ง ถ่ัวพุ่ม และถว่ั เหลือง ถว่ั เขียวเม่อื ขาดน้ำ� ในระยะต่างๆ ใหผ้ ลผลติ ลดลงตา่ งกัน ตงั้ แต่ 28–45 เปอรเ์ ซน็ ต์ โดยเฉพาะการขาดน้�ำในระยะเจริญพันธุ์ จัดว่าเป็นช่วงวิกฤตที่มีผลกระทบต่อการ สรา้ งผลผลติ มากทส่ี ดุ10 กรมส่งเสริมการเกษตร

ผลเสียหายต่อผลผลติ เมื่อพชื ไรบ่ างชนดิ ขาดนำ้� ในแตล่ ะระยะการเจรญิ เตบิ โต มดี งั นี้ชนดิ พชื ระยะการเจรญิ เตบิ โตทข่ี าดน�ำ้ ผลผลิตลดลง (%)ข้าวโพด • การเจรญิ ทางล�ำตน้ และใบ 25 • ออกดอกตวั ผู้ – ออกไหม – เร่ิมสร้างเมล็ด 50 • หลงั สรา้ งเมล็ด 21ถวั่ เหลอื ง • การเจริญทางลำ� ต้นและใบ 12 • เริม่ ออกดอก – ออกดอกเตม็ ที่ 24 • ช่วงทา้ ย ของการออกดอก – เรม่ิ ติดฝกั 35 • ช่วงท้าย ของการติดฝกั – ฝักแก่เต็มท่ี 13ถ่วั ลิสง • การเจรญิ ทางล�ำต้นและใบ – ออกดอกและเร่ิมลงฝัก 36 • ช่วงลงฝกั เต็มที่ – เรมิ่ สรา้ งเมล็ด 24 • ช่วงทา้ ย ของการสร้างเมลด็ – ฝักแกเ่ ต็มที่ 12 4. ลักษณะของดิน สภาพแปลงนาหลังเก็บเก่ียวขา้ ว เปน็ ลักษณะดินที่ อดั ตวั กนั แนน่ และระบายนำ�้ ยาก ในขณะท่ี พชื ไรจ่ ะชอบลกั ษณะดนิ โปรง่และระบายน�้ำดี การปลูกพืชไร่ มักมีการไถพรวนดินเพื่อให้ดินโปร่งร่วนซุยก�ำจัดวัชพืช กลบทับตอซัง เพ่ือให้สลายตัวให้ธาตุอาหารแก่พืช และสามารถช่วยปรับปรุงการถ่ายเทอากาศในดินได้ดีขึ้น ช่วยให้ดินมีลักษณะทางกายภาพท่ีดีเหมาะส�ำหรับการงอกและการเจริญเติบโต แต่การไถพรวนมีข้อเสีย คือ ท�ำให้ดิน สญู เสยี ความชน้ื เรว็ ขน้ึ และทำ� ลายโครงสรา้ งของดนิ ทำ� ใหด้ นิ อดั ตวั กนั แนน่ เนอื่ งจากการใชเ้ ครอื่ งมอื หนกั ในการไถพรวน ในขณะทก่ี ารไมไ่ ถพรวน มีข้อเสีย คือ มีการสูญเสียไนโตรเจน ลงสรู่ ะดบั ลกึ สงู และการควบคมุ วชั พชื ต้องมีประสิทธิภาพ ดังนั้น วิธีการ จัดการดินในสภาพนาเป็นปัจจัยท่ี สำ� คญั มาก การปลูกพืชหลังนา 11

การปรบั พนื้ ที่นาเพอ่ื ปลกู พชื ไร่ พชื ผัก และไมด้ อก ควรมีการปรับระดับความลาดชันของพื้นที่ก่อนการเตรียมดิน เพ่ือให้ สามารถระบายน�้ำได้ดีขึ้น โดยให้ทางหัวแปลงและท้ายแปลงมีความสูงต่างกัน คือ พ้ืนท่ียาว 100 เมตร หัวแปลงและท้ายแปลงควรมีความสูงต่างกัน 1–1.15 เมตร และหวั แปลงควรจะมรี อ่ งสง่ น้�ำ สว่ นท้ายแปลงควรมรี อ่ งระบายนำ้� เพอื่ ให้สามารถ ควบคมุ การให้นำ้� พืชได้ การเตรยี มดินปลกู พชื หลังนา เช่น พืชไร่ พชื ผกั ไม้ดอก มีดังน้ี 1. ระบายน้ำ� ออกจากแปลงนา เพือ่ ใหพ้ นื้ ที่นาแห้ง 2. ไถเตรียมดิน โดยใชผ้ าน 3 หรือไถหัวหมู และตากดินอยา่ งนอ้ ย 1 วนั 3. ใช้สารปรับสภาพดิน เช่น ปูนมาร์ล ยิปซ่ัม ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ตามความจำ� เป็น โดยใช้เครื่องหว่านปยุ๋ หรอื ใชค้ นหว่าน 4. พรวนยอ่ ยดินและคลกุ ปุย๋ โดยใชผ้ าน 7 5. ไถยกร่องเพอ่ื ปลกู พชื ดงั น้ี • พืชไร่ ระยะห่างระหว่างร่อง 75 เซนติเมตร ยกแปลงเป็น ร่องตื้น ส�ำหรบั ใหน้ �ำ้ ทางร่อง • พืชผัก ระยะห่างระหว่างร่องตามความเหมาะสมของพืช ยกแปลงเปน็ ร่องสำ� หรับใหน้ ำ้� สูง 10–12 เซนติเมตร • ไม้ดอก ระยะห่างระหว่างร่อง 25–30 เซนติเมตร ยกแปลง เปน็ ร่องส�ำหรับให้นำ้� สงู 20–30 เซนติเมตร 6. พรวนย่อยดินอีกครั้ง ก่อนการปลูกพืช เพ่ือย่อยดินให้ละเอียด เหมาะส�ำหรับการเจรญิ เติบโตของพืชและเพ่ือเกบ็ ความช้นื ไว้ในดนิ12 กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

การเตรียมดินปลกู พชื ในนาข้าว ปรมิ าณนำ�้ ทพ่ี ชื ต้องการตลอดฤดขู องพชื คอื • พชื ผักตา่ งๆ ใช้น้ำ� ประมาณ 300–450 ลกู บาศก์เมตรตอ่ ไร่ • พืชไร่ เช่น ข้าวโพดเล้ียงสัตว์ ใช้น�้ำประมาณ 450-500 มิลลิเมตร(720-800 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่) ถ่ัวเหลือง ใช้น�้ำประมาณ 300-350 มิลลิเมตร(480-560 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่) และถ่ัวเขียว ใช้น้�ำประมาณ 200-250 มิลลิเมตร(320-400 ลูกบาศก์เมตรตอ่ ไร่) ระบบการให้น�ำ้ พืช ทีเ่ กษตรกรปฏิบตั ทิ ่วั ไป คอื 1. การให้น�้ำแบบร่องคู โดยยกร่องเป็นลูกฟกู เหมาะสำ� หรบั พืชไร่ 2. การลากสายยางรด โดยใช้แรงงานคน เหมาะสำ� หรับพืชผกั ต่าง ๆ การปลกู พืชหลังนา 13

เกษตรกรควรเลือกใช้ระบบน้ำ� ท่ีมปี ระสทิ ธิภาพตามความเหมาะสมของพชื ดังน้ี • ระบบนำ�้ หยด เหมาะสำ� หรบั พืชผักบางชนิดท่ีไม่ต้องการให้น�้ำสัมผัสใบ ล�ำตน้ และส่วนอน่ื ๆ ของต้นพืช เป็นระบบ ทม่ี ปี ระสทิ ธภิ าพสงู ประหยดั นำ�้ และควบคมุ วัชพืชได้ง่าย แต่มีราคาแพง และต้องการ การดูแลรักษาอย่างพิถีพถิ นั • ระบบมินิสปริงเกลอร์ รัศมี การเหว่ียงน้�ำ 3–6 เมตร อัตราการปล่อย น้�ำหัวละ 40–300 ลิตรต่อชั่วโมง เม็ดน้�ำ มีขนาดไม่ใหญ่มาก เหมาะส�ำหรับการปลูก ผักในพื้นทีท่ ี่ไมใ่ หญ่มาก • ระบบสปรงิ เกลอร์ ชนดิ ทอี่ อกแบบสำ� หรบั ใชก้ บั การปลกู พชื ผกั รศั มี การเหวี่ยงน้�ำ 10–13 เมตร อัตราการปล่อยน�้ำหัวละ 300–1,500 ลิตรต่อช่ัวโมง เหมาะส�ำหรบั การปลูกผักเปน็ แปลงใหญ่ หวั สปรงิ เกลอร์ที่มีรศั มกี ารเหวี่ยงน้ำ� ต้ังแต่ 13 เมตร จะใหล้ ะอองน�ำ้ ขนาดใหญ่ และมนี �้ำหนกั มาก เหมาะส�ำหรบั การปลกู พืชไร่ ระบบมินิสปริงเกลอร์ และระบบสปริงเกลอร์ เป็นการให้น้�ำครอบคลุม เต็มพืน้ ท่ี จึงอาจมวี ัชพชื เกิดขึน้ มาก14 กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

การระบายนำ้� ควรท�ำทางระบายน้�ำ เนือ่ งจากพชื ผกั และพืชไรเ่ ปน็ พืชท่ีต้องการระบายน�ำ้ ที่ดี ส�ำหรับพชื ผัก ควรทำ� รอ่ งระบายน�้ำกว้าง 20–30 เซนตเิ มตร รอบพน้ื ทที่ กุ ๆครงึ่ งานหรือ 200 ตารางเมตร สำ� หรบั พชื ไร่ ควรท�ำร่องระบายนำ้� ทุกๆ พื้นที่ 3 งานหรือ 1 ไร่ การปรบั ปรุงบำ�รุงดนิ กอ่ นการปลูกพืช การปรับสภาพพ้ืนท่ีนาเพื่อปลูกพืชชนิดอื่น โดยเฉพาะการปลูกพืชท่ีมีลักษณะแตกตา่ งกนั เปน็ อยา่ งมาก เช่น ท�ำนาแลว้ มาปลกู พชื ไร่ พชื ผัก หรอื ไมด้ อกไมป้ ระดบั เกษตรกรควรตรวจวเิ คราะหด์ นิ กอ่ นปลกู พชื เปน็ อนั ดบั แรก เพอื่ จะไดร้ ถู้ งึคณุ สมบตั ทิ างเคมแี ละกายภาพของดนิ ตลอดจนสภาวะธาตุอาหารที่เปน็ ประโยชน์ต่อพชื รวมไปถึงการประเมินระดับความอุดมสมบรู ณ์ของดิน การให้คำ� แนะนำ� การจัดการดนิ การใช้ปยุ๋ และค�ำแนะน�ำอื่นๆ ทจ่ี ำ� เป็น 1. การใช้ปุ๋ยคอก ควรใช้ในอัตรา 1–3 ตนั ตอ่ ไร่ โดยใส่ขณะเตรียมดนิกรณีที่ใช้มูลสัตว์ที่ยังไม่ได้ผ่านการหมัก ควรไถกลบทิ้งไว้ประมาณ 15–30 วันกอ่ นการปลกู พชื ส�ำหรบั พนื้ ทป่ี ลกู พชื ไปแล้ว ควรใชม้ ลู สตั วแ์ หง้ เกา่ ๆ โรยเป็นแถบแลว้ จึงพรวนดินกลบ การปลกู พืชหลังนา 15

2. การใช้ปุ๋ยหมัก • พืชไร่ ใชใ้ นอตั รา 2–3 ตันตอ่ ไร่ โดยใส่เป็นแถวตามแนวปลูกพืชแล้วคลกุ เคลา้ กบั ดิน • พืชผกั และไมด้ อกไม้ประดบั ใชอ้ ัตรา 3–4 ตันต่อไร่ โดยหวา่ นใหท้ ว่ั พนื้ ทีแ่ ลว้ ไถกลบกอ่ นการปลกู พืช 7–14 วนั 3. การใช้ปุ๋ยพืชสด ไถกลบส่วนต่างๆ ของพืชที่ยังสดอยู่ลงในดินเพอ่ื ใหเ้ นา่ เปอ่ื ยเปน็ ปยุ๋ สว่ นใหญจ่ ะใชพ้ ชื ตระกลู ถวั่ เพราะใหธ้ าตไุ นโตรเจนสงู และย่อยสลายง่าย โดยเฉพาะในระยะออกดอก พืชท่ีนิยมน�ำไปใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่โสนอฟั ริกนั โสนอินเดยี ปอเทอื ง ถว่ั เขยี ว ถ่ัวพรา้ ถั่วพมุ่ เป็นต้น คณุ สมบัติของพชื ปุ๋ยสดทีใ่ ชใ้ นการปรับปรุงบำ�รงุ ดินชนิดของ ลักษณะของพน้ื ที่ ฤดูปลกู ท่ี จ�ำนวน วัน วนัพืชปยุ๋ สด ที่เหมาะสม เหมาะสม เมลด็ พันธ์ทุ ่ี ออกดอก ไถกลบ ใช้หวา่ นปอเทือง ชอบทด่ี อนทมี่ ี ก่อนหรือ (กก./ไร)่ (วัน) (วัน) การระบายน�ำ้ ดี ปลายฤดฝู น 50 45-50 5โสนอนิ เดีย ชอบดนิ เหนยี ว ก่อนฤดฝู น 60 60 ทนเคม็ 5 45 45โสนอฟั รกิ นั ดินท่ีดอนและลุ่ม กอ่ นฤดฝู น 5 45 40 ทนเค็ม 8 45–50 60 10ถัว่ พมุ่ ท่ดี อน ทนแลง้ ก่อนฤดูฝน 34-60 40 ชอบดินเหนียวและ กอ่ นหรอื 7ถ่วั พรา้ ดินกรด ทนแล้ง ปลายฤดูฝนถ่วั เขยี ว ชอบดินทดี่ อน กอ่ นฤดูฝน ทนแลง้16 กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

ไถกลบปอเทอื ง ไถกลบพชื ตระกูลถ่ัว 4. การคลมุ ดนิ นยิ มใชเ้ ศษพชื คลมุ ดนิ เพอ่ื รกั ษาความชน้ื ในดนิ ปอ้ งกนัวัชพืชข้นึ และเมอ่ื เศษพชื เหล่านีส้ ลายตวั กจ็ ะกลายเป็นป๋ยุ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แกด่ ิน เศษพชื ทน่ี ยิ มใชค้ ลุมดิน ได้แก่ ฟางข้าว เปลือกถั่ว เป็นต้น 5. ใช้เศษเหลือของพืช หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ส่วนของต้นพืชเศษพชื ทเี่ หลอื เชน่ ตน้ และเปลอื ก แกลบ ตอซงั หรอื วสั ดอุ นื่ ๆ ถา้ ไมม่ กี ารใชป้ ระโยชน์ควรไถกลบคืนลงไปในดิน 6. การปลูกพืชหมุนเวียน ควรมีพืชตระกูลถ่ัวซ่ึงมีคุณสมบัติบ�ำรุงดินร่วมอยู่ด้วย เพ่ือให้การใช้ธาตุอาหารจากดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนใหช้ ้ันดนิ มีเวลาพกั ตวั ในกรณีพชื ท่ีปลกู มรี ะบบรากลึกแตกตา่ งกัน การปรับปรุงบ�ำรุงดิน ควรใช้หลายๆ วิธีดังกล่าวข้างต้นร่วมกัน เช่นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆ หากใช้เพียงชนิดเดียวต้องใช้ในปริมาณมาก ควรพิจารณาปรมิ าณการใชต้ ามกำ� ลังความสามารถที่มี หากใช้หลายชนดิ รว่ มกัน ปรมิ าณการใช้ในแต่ละชนิดก็ลดลง และควรมีการปฏิบัติบ�ำรุงดินอย่างต่อเนื่องทุกปี เพ่ือรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินให้สูงอยู่เสมอ เพื่อประโยชน์ต่อการผลิตพืชผลทางการเกษตรในระยะยาวตอ่ ไป HP ใกนาพร้ืนปทลี่ทกู ี่มพีปชื ัญในหพาดน้ื ินทเีด่ปรนิ ้ียเปวรเ้ียกวษตรกรจะต้องมีการปรับปรุงดินโดยใช้ปูนขาว, ปูนมาร์ล, หินฝุ่น หรือโดโลไมท์ ในทางปฏิบัติเกษตรกรจะใช้ปูนมาร์ลเพราะราคาถูก และสามารถแก้ความเป็นกรดได้นานประมาณ 3–5 ปี โดยถ้าเป็นดินเปร้ียวน้อย ใช้อัตรา 0.5 ตันต่อไร่ ดินเปรี้ยวปานกลาง ใช้อัตรา 1 ตันต่อไร่และดนิ เปรยี้ วจดั ใช้อตั รา 2 ตันต่อไร่ การปลกู พืชหลังนา 17

HP การปลูกพืชในพ้นื ที่ดินเค็ม ในพนื้ ทนี่ าขา้ วทม่ี ปี ญั หาเรอ่ื งของดนิ เคม็ เนอื่ งจากในระยะทเ่ี ปน็ ชว่ งแลง้ หรือฝนทิ้งช่วง ผิวดินแห้ง ท�ำให้น�้ำใต้ดินท่ีมีเกลือละลายอยู่ด้วยระเหยข้ึนสู่ผิวดิน เม่ือน�้ำระเหยออกไปแล้วจะเหลือแต่ขุยหรือคราบขาวบนผิวหน้าดิน เม่ือสะสม ปรมิ าณมากขน้ึ และมคี วามเขม้ ขน้ ของเกลอื สงู จะทำ� ใหพ้ ชื ทป่ี ลกู ตายหรอื ไดผ้ ลผลติ นอ้ ย การแกป้ ญั หาทำ� ไดโ้ ดยการใชว้ ธิ ปี รบั ปรงุ บำ� รงุ ดนิ และการจดั การใชป้ ระโยชน์ จากท่ดี ินเค็ม ดงั ตอ่ ไปน้ี 1. การลา้ งดนิ เคม็ โดยอาศยั นำ้� ฝน ปลอ่ ยใหน้ ำ้� ฝนชะคราบเกลอื ระบาย ออกไปก่อน แล้วจึงขังน�้ำท้ิงไว้ในนา ให้ซึมลงใต้ดินจนกระท่ังดินอ่ิมตัว น้�ำก็จะ เร่ิมเค็ม สังเกตได้จากการเปล่ียนสีของน้�ำเป็นสีน�้ำตาลอ่อนๆ แล้วจึงระบายน�้ำทิ้ง ท�ำ 2–3 ครัง้ แล้วจงึ ไถพรวน 2. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ พื้นท่ีดินเค็มมักจะขาดอินทรียวัตถุมาก ควรปรับปรุงโดยใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดไถกลบ เพ่ือให้ปุ๋ยคลุกเคล้า กับดนิ เสยี ก่อน ซ่งึ จะท�ำให้โครงสรา้ งและคณุ สมบัตขิ องดินดีขน้ึ 3. การใช้แกลบ ใส่ในนาข้าวและไถกลบ จะช่วยท�ำให้ดินโปร่ง รว่ นซยุ ความแนน่ ของดนิ ลดลง มกี ารถา่ ยเทอากาศ และน้�ำดีข้ึน ท�ำการปักด�ำกล้าได้ง่าย นอกจากน้ี แกลบยังมีธาตุซลิ ิกา้ เมอ่ื แกลบสลายตวั แล้วจะเป็น ประโยชนต์ ่อตน้ ขา้ ว ท�ำใหต้ น้ ข้าวแข็งแรง ไมห่ ักลม้ งา่ ย สามารถต้านทานโรคและแมลงไดด้ ี 4. การใช้ปูน ได้แก่ ปูนขาว หินปูนบด ปูนมาร์ล สามารถใช้ปรับปรุงดินในกรณีท่ีดินเค็มนั้น เปน็ กรด 5. การใชย้ ปิ ซม่ั ในกรณที ด่ี นิ เคม็ เปน็ ดนิ ดา่ ง เช่น ดินชุดทุ่งกุลาร้องไห้ ส่วนใหญ่เป็นดินที่แน่น การใสย่ ปิ ซมั่ จะชว่ ยใหด้ นิ นน้ั ระบายนำ้� ไดด้ ขี นึ้ และเปน็ ประโยชน์ในการล้างเกลอื หรอื ลดความเค็มออกจากดิน18 กรมส่งเสริมการเกษตร

เกษตรกรสามารถเลือกชนิดของพชื ทป่ี ลกู ซ่ึงมคี วามทนต่อความเค็มของดนิ ดงั น้ี1. การน�ำไฟฟ้า (มลิ ลโิ มลท/์ เซนตเิ มตร) 2 4 8 12-16หรอื เดซิชีเมน/เมตร2. เปอรเ์ ซ็นต์เกลอื(โดยประมาณ) 0.12 0.25 0.5 0.75–1.03. ช้ันคณุ ภาพของดนิ เคม็ น้อย เค็มปานกลาง เค็มมาก4. อาการของพืช บางชนดิ พืชทว่ั ไปมอี าการ พืชทนเค็มบางชนิดและพืชชอบ แสดงอาการ เกลอื เทา่ นน้ั ทเี่ ตบิ โตใหผ้ ลผลติ ได้ เคม็ นอ้ ย เค็มปานกลาง เค็มมาก ถั่วฝักยาว บวบ, กะหล�่ำดอก ผักโขม, หน่อไม้ฝรั่ง, ผักกาดหัว ผกั กาด พรกิ ยกั ษ,์ กะหลำ�่ ปลี คะน้า, มะเขือเทศ, กะเพรา, ขน้ึ ฉ่าย ถ่ัวลนั เตา, มนั ฝรงั่ ถวั่ พุ่ม, ผักบ้งุ จนี , ชะอมพชื ผัก พริกไทย น้ำ� เต้า, กระเทยี ม แตงร้าน หอมใหญ,่ หอมแดง แตงไทย แตงโม, ผกั กาดหอม องนุ่ , แคนตาลปู , ผกั ชี เค็มน้อย เค็มปานกลาง เคม็ มากไม้ดอก เยอบรี า่ กุหลาบ บานบุรี, คุณนายตน่ื สาย, บานไม่รู้โรย เข็ม, เล็บมือนาง, เขียวหม่ืนปี ชบา, แพรเซ่ยี งไฮ้, เฟือ่ งฟ้า เคม็ นอ้ ย เค็มปานกลาง เคม็ มาก ถั่วเขยี ว ข้าว, โสนอินเดยี หญา้ นวลนอ้ ย, ฝ้าย, โสนคางคก ถั่วเหลอื ง ป่าน, โสนพน้ื เมือง หญา้ แพรก, ขา้ วทนเค็ม ถว่ั ลิสง ทานตะวนั , ปอแกว้ หญา้ ไฮบรดิ เนเบียร,์ คำ� ฝอย ถั่วแดง ข้าวโพดเล้ียงสัตว์, หญา้ ชนั อากาศ, โสนอฟั รกิ ันพชื ไรแ่ ละพชื อาหารสตั ว์ ถัว่ แขก หมอ่ น, ข้าวฟ่าง, หญ้าแหว้ หมู, มนั เทศ ถั่วปากอ้า หญา้ เจา้ ช,ู้ ถวั่ อญั ชนั ปา่ นศรนารายณ์ งา ข้าวโพดหวาน สับปะรด มันสำ� ปะหลัง ถวั่ พุ่ม, ถ่วั พรา้หมายเหต ุ ชอ่ งทล่ี งพชื ตรงกบั คา่ ของความเคม็ ขา้ งบน แสดงวา่ พชื นนั้ สามารถเจรญิ เตบิ โตไดใ้ น ช่วงความเค็มนัน้ และใหผ้ ลผลิตลดลงไมเ่ กิน 50 เปอร์เซ็นต์ การปลูกพืชหลังนา 19

เอกสารอา้ งอิง กรมวิชาการเกษตร. 2556. เอกสารวิชาการ เร่ือง การผลิตพืชไร่ในระบบ การปลูกข้าว. สถาบันวิจัยพืชไร่ และพืชทดแทนพลังงาน กรมวชิ าการเกษตร ภายใตโ้ ครงการจดั ระบบการปลูกขา้ ว. 130 หน้า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2556. คู่มือโครงการจัดระบบการปลูกข้าว ปี 2556. 75 หนา้ กรมส่งเสริมการเกษตร. 2543. เอกสารการปลูกพืชในนา เนื่องในวโรกาส สมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าชฯ สยามมกฎุ ราชกมุ าร เสดจ็ พระราชดำ� เนนิ ในพิธีเกี่ยวข้าว ณ แปลงนา ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดสุพรรณบรุ ี. 133 หน้า20 กรมส่งเสรมิ การเกษตร

ภาคผนวกคำ�แนะนำ�การปลูกพชื ไรห่ ลังนา

ถว่ั เหลือง พันธุ์ ศรสี ำ� โรง 1 เชียงใหม่ 2 สจ.5 เชียงใหม่ 60 และเชียงใหม่ 6 ฤดูปลกู ช่วงเวลาปลกู ที่เหมาะสม คอื กลางเดอื นพฤศจกิ ายน–ปลายเดือนมกราคม อตั ราปลกู ใช้เมลด็ พันธุ์ ประมาณ 12–15 กโิ ลกรมั ต่อไร่KPN ระยะปลกู ระยะระหว่างแถว 50 เซนตเิ มตร ระยะระหวา่ งตน้ 20 เซนตเิ มตร ปลูกหลมุ ละ 3–4 เมล็ด การใสป่ ุ๋ย ควรคลุกเมล็ดด้วยเชื้อไรโซเบียมทุกคร้ัง และใส่ปุ๋ยสูตร 12–24–12 หรือ 15–15–15 อตั รา 20–30 กโิ ลกรมั ต่อไร่ การดูแลรกั ษา • ใช้สารกำ� จดั วัชพืชพ่นกอ่ นวชั พชื งอก หรอื ก�ำจดั วัชพืช ดว้ ยมอื 1–2ครงั้ ครง้ั แรก15–20วนั หลงั งอกและครง้ั ท่ี2 เมอื่ วชั พชื ขน้ึ หนาแนน่ มาก (หลงั จากครง้ั แรกประมาณ 15 วนั ) • พน่ สารเคมีเพือ่ ป้องกันหนอนแมลงวันเจาะล�ำตน้ 7–10 วนั หลงั ปลูก และหมนั่ ตรวจแปลงสม�ำ่ เสมอ • ใหน้ ำ้� อยา่ งสมำ่� เสมอทกุ 10–14 วนั และไมค่ วรปลอ่ ย ให้ขาดนำ�้ ในชว่ งหลังออกดอก–สรา้ งเมล็ด การเกบ็ เกี่ยว เกบ็ เกย่ี วเมอื่ ใบรว่ งและฝกั แกเ่ ปลย่ี นสี 95 เปอรเ์ ซน็ ต์ แลว้ วาง เรยี งเปน็ แถวตากไวใ้ นแปลงหรอื เกบ็ ไวใ้ นโรงเรอื นยกพน้ื ทมี่ กี าร ถา่ ยเทอากาศดี แลว้ นำ� ออกตากจนแหง้ นวดดว้ ยเครอ่ื งนวด ถัว่ เหลอื ง ขณะท่มี คี วามชนื้ ของเมล็ดประมาณ 14 เปอรเ์ ซน็ ต์22 กรมส่งเสรมิ การเกษตร

ถวั่ เหลืองฝกั สด พันธ์ุ เชียงใหม่ 1 และเอจเี อส 292 ฤดูปลูก ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม คอื เดอื นพฤศจกิ ายน–ตน้ เดอื นมกราคม อัตราปลูก ใชเ้ มลด็ พันธ์ุ ประมาณ 12–15 กโิ ลกรมั ตอ่ ไร่ ระยะปลกู เตรยี มแปลงปลกู และยกรอ่ งปลกู 2 แถว บนสันร่องระยะ ระหว่างแถว 50 เซนตเิ มตร ระยะระหวา่ งต้น 20 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 2–3 เมลด็ ไม่ตอ้ งถอนแยก การใสป่ ุ๋ย คลกุ เมล็ดดว้ ยเชอ้ื ไรโซเบียม และใสป่ ุ๋ย 4 ครัง้ คอืKPN • ครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยรองพ้ืนก่อนปลูก ปุ๋ยสูตร 15–15–15 หรือ 16–16–16 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ • ครง้ั ท่ี 2 ใสป่ ยุ๋ สตู ร 15–15–15 อตั รา 30 กโิ ลกรมั ตอ่ ไร่ และให้ ปยุ๋ ทางใบ สูตร 30–20-10 เมอ่ื ถ่วั เหลือง อายุ 14–20 วัน • ครงั้ ท่ี 3 ใสป่ ุ๋ย สูตร 13–13–21 หรือ 14–14-21 อัตรา 25 กิโลกรมั ต่อไร่ เมอื่ ถัว่ เหลือง อายุ 40–46 วนั • คร้ังที่ 4 ใสป่ ุ๋ย สตู ร 46–0–0 อัตรา 10 กโิ ลกรัมต่อไร่ และให้ปุ๋ยทางใบสูตร 30–20–10 เมื่อถ่ัวเหลือง อายุ 45–50 วนั เพ่อื ช่วยให้ฝักถั่วเตง่ และสมบูรณ์ การดแู ลรักษา • ใช้สารก�ำจัดวัชพชื พ่นก่อนวชั พืชงอก หรือกำ� จัดวชั พืช ดว้ ยมอื 1–2 ครั้ง ที่อายุ 15 วนั และ 25–30 วันหลงั ปลกู • พ่นสารเคมีเพื่อป้องกันหนอนแมลงวันเจาะล�ำต้น 7–10 วันหลังปลกู และหมนั่ ตรวจแปลงสม�ำ่ เสมอ • ให้นำ�้ อยา่ งสมำ่� เสมอทุก 7–10 วัน และไมค่ วรปล่อยให้ ขาดน้�ำในชว่ งหลังออกดอก–สร้างเมลด็ การเก็บเก่ยี ว เมอ่ื ถว่ั เหลอื งอายุ62–65วนั ในพนั ธเ์ุ อจเี อส292และ80วนั ในพนั ธเุ์ ชยี งใหม่ 1 การปลูกพชื หลงั นา 23

ถั่วเขยี ว พนั ธ์ุ ชัยนาท 72 ชยั นาท 36 ก�ำแพงแสน 1 และกำ� แพงแสน 2 ฤดปู ลูก ชว่ งเวลาปลกู ท่ีเหมาะสม คือ เดอื นธันวาคม–เดอื นกุมภาพนั ธ์ อัตราปลูก ใชเ้ มลด็ พนั ธ์ุ ประมาณ 3–4 กิโลกรมั ต่อไร่ ในกรณปี ลกู เป็นแถว และประมาณ 5–6 กิโลกรมั ตอ่ ไร่ กรณปี ลูกแบบหวา่ น ระยะปลกู ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 20 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 3–4 เมล็ด และถอนแยก ให้เหลือ 3 ต้นต่อหลุม ประมาณ 10–15 วันหลังปลูก หรือโรยเป็นแถวแล้วถอนแยกให้เหลือ 15–20 ต้น ตอ่ ความยาวแถว 1 เมตรKPN การใสป่ ุย๋ ใสป่ ๋ยุ สตู ร 12–24–12 อตั รา 20-30 กโิ ลกรัมตอ่ ไร่ การดแู ลรกั ษา • ใชส้ ารกำ� จดั วชั พชื พน่ กอ่ นวชั พชื งอก หรอื กำ� จดั วชั พชื ดว้ ยมอื 1–2ครง้ั ครงั้ แรก15–20วนั หลงั งอกและครงั้ ท่ี2 เมอื่ วชั พชื ขน้ึ หนาแนน่ มาก หลงั จากครงั้ แรกประมาณ 15 วนั • พ่นสารเคมีเพื่อป้องกันหนอนแมลงวันเจาะล�ำต้น 7–10 วนั และหมน่ั ตรวจแปลงสมำ�่ เสมอ • ควรใหน้ ำ้� ทกุ 10–14 วนั และไมค่ วรปลอ่ ยให้ขาดน้�ำ ในช่วงหลังออกดอก–สรา้ งเมล็ด การเกบ็ เกย่ี ว ใชว้ ธิ กี ารปลิดฝกั แกท่ ี่เปลี่ยนสีเปน็ สดี �ำ เกบ็ เกย่ี ว 2 ครง้ั เม่ือถ่ัวเขยี วอายุประมาณ 65 วัน และ 75 วัน24 กรมส่งเสรมิ การเกษตร

ข้าวโพดเล้ยี งสตั ว์ พนั ธ ์ุ นครสวรรค์ 3 และพนั ธล์ุ กู ผสม ภาคเอกชน ฤดปู ลกู ช่วงเวลาปลูกท่เี หมาะสม คอื เดือนพฤศจกิ ายน–เดือนธันวาคม อตั ราปลกู ใชเ้ มล็ดพนั ธุ์ ประมาณ 3.0–3.5 กโิ ลกรมั ตอ่ ไร่ ระยะปลกู ระยะระหวา่ งแถว 70-75 เซนตเิ มตร ระยะระหว่างหลมุ 20 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 1–2 เมล็ด และถอนแยก ใหเ้ หลือ 1 ตน้ ต่อหลุม ประมาณ 10–15 วัน หลงั ปลกู หรอื ปลูกโดยยกแปลงแถวเดยี่ ว หรอื แถวคู่ก็ได้ การใส่ป๋ยุ รองพนื้ ดว้ ยปยุ๋ สูตร 16–16–8 หรอื 15–15–15 อตั รา KPN 25 กโิ ลกรมั ตอ่ ไร่ เมอื่ ขา้ วโพดอายไุ ด้ 20–30 วนั หลงั ปลกู ใส่ปุ๋ยสูตร 46–0–0 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับ ปยุ๋ เคมสี ตู ร 16–16–8 หรอื 15–15–15 อตั รา 25 กโิ ลกรมั ตอ่ ไร่ และใส่ปยุ๋ สูตร 46–0–0 อัตรา 10 กิโลกรมั ตอ่ ไร่ ในระยะออกดอก การดูแลรกั ษา • ใช้สารก�ำจัดวัชพืชพ่นก่อนวัชพืชงอก หรือท�ำรุ่น ในแปลงปลกู • ใหน้ ำ้� ครงั้ แรกหลงั ทำ� รนุ่ และใหน้ ำ�้ อกี ประมาณ2–3ครง้ั และไม่ควรปล่อยให้ข้าวโพดขาดน้�ำ ในช่วงออกไหม และสรา้ งเมล็ด การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวข้าวโพดเมื่อฝักแก่จัดและแห้งสนิท โดยปล่อย ใหต้ น้ แหง้ สนทิ เมลด็ จะมคี วามชนื้ ประมาณ20–25เปอรเ์ ซน็ ต์ หลงั จากเกบ็ เกยี่ วควรนำ� ฝกั มาตากแดดประมาณ1–2แดด เพอ่ื ลดความชนื้ จากนัน้ น�ำไปกะเทาะเมลด็ การปลกู พืชหลังนา 25

ขอ้ จำ�กัดของการปลกู ข้าวโพดเลย้ี งสตั ว์ในสภาพนา 1. หลีกเล่ยี งพน้ื ทต่ี ่ำ� ราบลมุ่ และน�ำ้ ท่วมขงั 2. หลกี เลยี่ งดินเหนียวถงึ เหนยี วจดั ระบายนำ�้ ไมด่ ี 3. หลกี เล่ยี งดนิ กรดถึงกรดจดั (pH ต่�ำกว่า 5.0) 4. ไมค่ วรปลูกหลังเดอื นธันวาคม จะท�ำให้ผลผลติ ต�่ำ 5. ตอ้ งไถเตรยี มดนิ อยา่ งดี และยกแปลงปลกู ในกรณปี ลกู โดยไถพรวนดนิ 6. ตอ้ งใชส้ ารกำ� จดั วชั พชื กอ่ นปลกู อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ โดยเฉพาะในกรณี ปลกู โดยไม่ไถพรวนดนิ 7. เมลด็ พันธจ์ุ ะตอ้ งมีความงอกมากกวา่ 90 เปอรเ์ ซน็ ต์ 8. ตอ้ งควบคมุ ประชากรข้าวโพดให้ไดต้ ามก�ำหนด 9. ต้องการปยุ๋ ไนโตรเจนในอัตราสงู กว่าการปลกู ในฤดูฝน 10. อยา่ ให้ขาดน้�ำในระยะออกดอกและผสมเกสร 11. ต้องควบคุมแมลงศัตรูพืชไดอ้ ย่างมีประสิทธิภาพ26 กรมสง่ เสริมการเกษตร

ขา้ วโพดหวาน พนั ธ ์ุ เอ ที เอส-5 ซูการ์ 75 ไฮบรกิ ซ์ 3 และอนิ ทรี 2 ฤดูปลกู ชว่ งเวลาปลกู ทีเ่ หมาะสม คือ เดือนพฤศจกิ ายน–เดอื นมกราคม อัตราปลกู ใช้เมลด็ พันธุ์ ประมาณ 1–1.5 กโิ ลกรมั ตอ่ ไร่ ระยะปลูก ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 25 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 1–2 เมล็ดและถอนแยก ให้เหลือ 1 ตน้ ต่อหลุม ประมาณ 10–14 วันหลงั ปลูก การใส่ปยุ๋ รองพ้ืนด้วยปยุ๋ สตู ร 16–20–0 หรือ 15–15–15 อตั รา KPN 50 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อข้าวโพดอายุได้ 20–30 วัน หลังปลกู ใสป่ ุย๋ สตู ร 46–0–0 อตั รา 25-50 กิโลกรมั ตอ่ ไร่ การดแู ลรักษา • คลุกเมล็ดก่อนปลูก ด้วยสารเคมีเอพรอน 65 เอสดี อัตรา 7 กรัมต่อขา้ วโพด 1 กโิ ลกรัม เพอื่ ปอ้ งกนั โรค ราน�้ำคา้ ง • ใชส้ ารกำ� จดั วชั พชื พน่ กอ่ นวชั พชื งอก หรอื ทำ� รนุ่ ในแปลงปลกู • ใหน้ ำ�้ ทกุ 10–14วนั และไมค่ วรปลอ่ ยใหข้ า้ วโพดขาดนำ้� ในชว่ งออกไหมและสรา้ งเมลด็ การเก็บเกย่ี ว เก็บเก่ียวข้าวโพดหวานหลังจากออกไหม 18–20 วัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาท่ีข้าวโพดหวานฝักสดมีความหวานสูง และเปลือกเมล็ดบาง เหมาะส�ำหรับการบริโภคฝักสด และแปรรูป การปลูกพชื หลงั นา 27

ข้าวโพดฝกั ออ่ น พนั ธ ุ์ เกษตรศาสตร์ 2 KBSC605 แปซฟิ ิค 271 ซ.ี พี.B.468 SG17 SG20 ฤดปู ลูก ชว่ งเวลาปลกู ทเ่ี หมาะสม คอื เดอื นพฤศจิกายน–เดอื นมกราคม อัตราปลกู ใช้เมลด็ พนั ธ์ุ ประมาณ 2.5–3 กโิ ลกรมั ตอ่ ไร่ ระยะปลกู ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 25 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 2–3 เมล็ดและถอนแยก ใหเ้ หลอื 2 ตน้ ต่อหลุม ประมาณ 10–14 วนั หลังปลกูKPN การใส่ปยุ๋ รองพืน้ ดว้ ยป๋ยุ สูตร 16–20–0 หรอื 15–15–15 อตั รา 50 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อข้าวโพดอายุได้ 20 –30 วัน หลงั ปลกู ใสป่ ยุ๋ สูตร 46–0–0 อตั รา 25-50 กโิ ลกรมั ต่อไร่ การดูแลรักษา • ใชส้ ารกำ� จดั วชั พชื พน่ กอ่ นวชั พชื งอก หรอื ทำ� รนุ่ ในแปลงปลกู • ใหน้ ำ�้ ทกุ 10–14 วนั และไมค่ วรปลอ่ ยใหข้ า้ วโพดขาดนำ้� • เมือ่ ข้าวโพดอายุ 40–45 วนั หลงั ปลกู ควรดึงชอ่ ดอก ตวั ผ้ทู ้งิ เสียกอ่ นทด่ี อกตัวผบู้ าน การเกบ็ เกี่ยว เร่ิมเก็บเก่ียวหลังจากถอดดอกตัวผู้ 2–3 วัน โดยท่ัวไป จะเกบ็ เกยี่ วเมื่อไหมยาวประมาณ 3–5 เซนติเมตร28 กรมส่งเสรมิ การเกษตร

เอกสารคำ�แนะนำ�ท่ี 4/2560การปลกู พืชหลังนาทปี่ รกึ ษา อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร www.doae.go.th รองอธิบดีกรมสง่ เสริมการเกษตร ฝา่ ยบริหารนายสมชาย ชาญณรงคก์ ลุ รองอธิบดีกรมสง่ เสริมการเกษตร ฝา่ ยวชิ าการนายสงกรานต์ ภักดคี ง รองอธบิ ดีกรมสง่ เสริมการเกษตร ฝ่ายสง่ เสริมและฝึกอบรมนายประสงค์ ประไพตระกูล ผ้อู �ำนวยการสำ� นกั พัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีนายสดุ สาคร ภทั รกุลนิษฐ ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนกั สง่ เสรมิ และจัดการสนิ คา้ เกษตรนางอญั ชลี สุวจติ ตานนท์ นายสำ� ราญ สาราบรรณ์ เรยี บเรยี ง ผู้อำ� นวยการกลุม่ ส่งเสรมิ ระบบการผลิตข้าวนายวิโรจน์ จันทรข์ าว นางสาวปรนิ ดา ศรรี ตั นะ นกั วชิ าการเกษตรชำ� นาญการกลุม่ สง่ เสริมระบบการผลติ ข้าวสำ� นักสง่ เสรมิ และจดั การสนิ คา้ เกษตรกรมส่งเสรมิ การเกษตรจัดทำ�นางอมรทพิ ย์ ภริ มยบ์ รู ณ ์ ผอู้ �ำนวยการกลุ่มพัฒนาสื่อส่งเสรมิ การเกษตรนางสาวอำ� ไพพงษ์ เกาะเทียน นกั วิชาการเผยแพรช่ �ำนาญการกลุ่มพฒั นาสื่อสง่ เสรมิ การเกษตรส�ำนักพฒั นาการถา่ ยทอดเทคโนโลยีกรมสง่ เสรมิ การเกษตร


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook