Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บอนสี - Caladium bicolor

บอนสี - Caladium bicolor

Description: By ณัฐกิตติ์ มณีเจริญ เลขที่ 4 ม.1/6

Search

Read the Text Version

บอนสี บอนสี

คำนำ หนังสื่อเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ว 21246 การนำเสนอสื่อผสม จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจใน เรื่อง บอนสี ส่งเสริมให้นักเรียนหาความรู้ข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้การเรียนรู้ ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น และผู้เรียนมีความสนใจกับการเรียนรู้ ด้วยตนเองมากขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนสามารกเรียนรู้และศึกษา ค้นคว้าได้ด้วยตนเอง และได้นำเสนอความรู้ที่ตนเองศึกษา ให้ผู้อื่นสามารถเรียนรู้ และทำความเข้าใจกับเนื้อหาได้ เปรียบเสมือนร่วมกันแบ่งปันความรู้ให้กันและกัน และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ในชีวิตประจำวัน จัดทำโดย ด.ช.ณัฐกิตติ์ มณีเจริญ ม.1/6 เลขที่ 4

สารบัญ เรื่อง หน้า บอนสีคืออะไร 1 ประวัติของบอนสี 2 ประเภทของบอนสี 3 5 อันดับบอนสีที่มีความนิยมสูงสุด 1 บอนสีที่มีราคาแพงที่สุด 17 การดูแลรักษาบอนสี 18

บอนสี คือ อะไร บอนสี เป็นสายพันธุ์ในสกุลบอนจากลาตินอเมริกา มักถูกปลูกเป็นต้นไม้ประดับ เนื่องจากใบขนาดใหญ่ รูปหัวใจหรือรูปหอกที่มีสีเขียว สีขาว สีชมพู หรือสีแดงที่โดดเด่น บอนสีมีมากกว่าร้อยสายพันธุ์ ทุกส่วนของบอนสีมีพิษ

ประวัติของ บอนสี บอนสี มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบทวีปอเมริกาใต้ และ เริ่มเข้ามาในทวีปยุโรป อินเดีย และอินโดนีเซีย ตามลำดับ แล้วเชื่อกันว่าบอนสีเข้ามาในประเทศไทยตอนสมัยสุโขทัย และในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป และได้ทรงนำบอนสีเข้ามา ปลูกในประเทศไทยไว้หลายสายพันธุ์

ประเภทของ บอนสี บอนสี จำแนกตามรูปใบเป็น 5 ประเภท ดังนี้ บอนใบไทย บอนใบไทย ใบรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ก้านใบกลมออก จากกึ่งกลางใบ หูใบฉีกไม่ถึงสะดือ ได้แก่ สาวน้อยประ แป้ง ม่านนางพิม ไก่ราชาวดี พญามนต์ พญาเศวต(ตัน แพลง) สร้อยแสงจันทร์ ปาเต๊ะ เป็นต้น

ประเภทของ บอนสี บอนสี จำแนกตามรูปใบเป็น 5 ประเภท ดังนี้ บอนใบยาว บอนใบยาว ใบรูปหัวใจคล้ายบอนใบไทย แต่ใบเรียว กว่า ปลายใบเรียวแหลม ก้านใบกลมออกจากโคนใบหู ใบยาวฉีกถึงก้านใบ ได้แก่ กรวยทอง คุณหญิง จักรราศี ไชยปราการ หงส์เหิน กวนอิม ฮกหลง เป็นต้น

ประเภทของ บอนสี บอนสี จำแนกตามรูปใบเป็น 5 ประเภท ดังนี้ บอนใบกลม บอนใบกลม ใบค่อนข้างกลม ปลายใบมนหรือมน มีติ่งแหลม ก้านใบกลมอยู่กึ่งกลางใบ จัดว่าเป็นบอนสี กลุ่มที่เลี้ยงค่อนข้างยาก นิยมเลี้ยงในกระโจมหรือตู้อบ ได้แก่ บางกอก เมืองสยาม ยูเรนัส เมืองพัทยา เมืองชล เมืองสุวรรณภูมิ เป็นต้น

ประเภทของ บอนสี บอนสี จำแนกตามรูปใบเป็น 5 ประเภท ดังนี้ บอนใบกาบ บอนใบกาบ ใบคล้ายรูปหัวใจ ก้านใบแผ่แบนตั้งแต่ โคนใบถึงแข้ง ลักษณะคล้ายใบผักกาด เป็นหนึ่งในกลุ่ม บอนสีที่ปลูกยาก นิยมปลูกในกระโจมหรือตู้อบตลอดเวลา ได้แก่ ทุ่งบางพลี ขันธกุมาร เทพลีลา เรือนแก้ว อังศุมาลิน รัชมงคล เป็นต้น

ประเภทของ บอนสี บอนสี จำแนกตามรูปใบเป็น 5 ประเภท ดังนี้ บอนใบไผ่ บอนใบไผ่ ใบรูปแถบ รูปใบหอกแคบ หรือเป็นเส้น ปลายใบเรียวแหลมคล้ายใบไผ่ หูใบสั้นมาก (หูรูด) ความกว้างของใบไม่เกิน 2 นิ้ว เช่น ไผ่กรุงเทพฯ ไผ่จุฬา ไผ่ธารทิพย์ ไผ่ธารมรกต ไผ่ศรศิลป์ ไผ่สวนหลวง เป็นต้น

ประเภทของ บอนสี บอนสี จำแนกตามสีสันบนใบได้ดังนี้ บอนไม่กัดสี คือบอนสีที่มีสีคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ยัง เล็กจนโตเต็มที่ หรืออาจมีสีเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย แต่ยังคงสีเดิมให้เห็น เช่น นายจันหนวดเขี้ยว บอนสีตับวีรชน เป็นต้น เป็นบอนใบไทยที่มีสีแดงตั้งแต่ต้นเล็กจนโตเต็มที่ บอนกัดสี คือบอนสีที่มีการเปลี่ยนแปลงของสีสัน เมื่อยัง เล็กใบเป็นสีเขียว พอโตเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือสี แดง และอาจมีจุดหรือแต้มสีเกิดบนใบ ส่วนใหญ่เป็นบอน ลูกผสมใหม่ เช่น กัลยา นายดอกรัก จังหวัดนราธิวาส พระยามุจลินท์ หยกประกายแสง ไผ่ธารมรกต ศรีลำดวน รัตนาธิเบศร์ เป็นต้น

ประเภทของ บอนสี บอนสี จำแนกตามสีสันบนใบได้ดังนี้ บอนป้าย บอนป้าย คือบอนสีที่มีแถบด่างสีแดงพาดทับบนแผ่น ใบสีเขียว ซึ่งเริ่มแสดงลักษณะตั้งแต่ใบที่ 1 หรือ 2 เช่น อัปสรสวรรค์ เทพเทวฤทธิ์ เพชรจรัสแสง ศรีกาญจนา ภิเศก ชายชล เป็นต้น

ประเภทของ บอนสี บอนสี จำแนกตามสีสันบนใบได้ดังนี้ บอนด่าง บอนด่าง คือบอนสีที่มีพื้นด่างสีขาวอมเขียวอ่อนหรือ หรือขาวอมแดงบนพื้นใบสีเขียวหรือใบด่างเหลือง เช่น บัว สวรรค์ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ โชคอำนวย เป็นต้น

5 อันดับ บอนสี มาแรง อันดับที่ 1 บอนสีบอนแดง อันดับที่ 2 บอนสีลูกไม้ป่าก้านดำ อันดับที่ 3 บอนสีอิเหนา อันดับที่ 4 บอนสีสายชล อันดับที่ 5 บอนสีฮกหลง

5 อันดับ บอนสี มาแรง บอนสีบอนแดง บอนสีบอนแดง เป็นบอลสีที่แผ่นใบหรือพื้นใบมีสีแดง มีสีสันที่สวยงามซึ่งการที่มีสีแดงนั้นทำให้บอนสีชนิดนี้มี ความแตกต่างไปจากไม้ใบทั่ว ๆ ไป อีกทั้งแผ่นใบยังมี ลักษณะเงางามอีกด้วย จึงทำให้บอลสีบอนแดงมี เอกลักษณ์ที่โดดเด่นกว่าบอนสีชนิดอื่น ๆ

5 อันดับ บอนสี มาแรง บอนสีลูกไม้ป่าก้านดำ บอนสีลูกไม้ป่าก้านดำ มีลักษณะคล้าย กับ บอลสี อิเหนา คือ พื้นใบมีสีเขียวปนสีขาว แต่ส่วนใหญ่เป็นสีขาว อาจมีสีเขียวด่างประปรายหรือเส้นรอบ ๆ ใบเป็นสีเขียว ส่วนเส้นกลางใบหรือเส้นใบนั้นมีสีแดงหรือสีชมพูสวยซึ่ง ทำให้มีลักษณะลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ ลักษณะรูปทรง ของใบเป็นรูปหัวใจ

5 อันดับ บอนสี มาแรง บอนสีอิเหนา บอนสีอิเหนา พื้นใบมีสีขาวและสีเขียวที่โดดเด่น สีของ แผ่นใบมีสีขาวเป็นหลัก ส่วนบริเวณเส้นใบหรือเส้นกลางใบ มีสีเขียว บอลสีอิเหนาเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมเป็น อย่างมากเนื่องจากใบมีลักษณะที่โดดเด่น

5 อันดับ บอนสี มาแรง บอนสีสายชล บอนสีสายชล แผ่นใบประกอบไปด้วย 3 สี คือสีเขียว สีขาวและสีชมพู หรือ สีแดงพื้น ใบจะเป็นสีเขียวและสีขาว ด่าง จัดเป็นบอนสีประเภทบอนป้าย เนื่องจากเราจะเห็น พื้นใบเป็นสีเขียวและมีสีขาวด่างบริเวณตรงเส้นใบ ส่วนตรงปลายใบนั้นจะมีสีแดงที่มีลักษณะเหมือนโดนป้าย เป็นแถบสี

5 อันดับ บอนสี มาแรง บอนสีฮกหลง บอนสีฮกหลง เป็นบอนสีสายพันธุ์เก่าแก่และได้รับ ความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากสีของใบที่มีสีแดงและจัด เป็นประเภทบอนกัดสี โดยเริ่มแรกจะเป็นบอนสีจะมีเขียว ก่อนและเมื่อเริ่มมีการเจริญเติบโตที่มากขึ้นก็จะมีสีชมพูรวม ถึงจะเห็นลวดลายที่เด่นชัดขึ้น

บอนสี ที่ มีราคา แพงที่ สุ ด สำหรับบอนสีราคาแพงที่สุด ต้องยกให้กับสายพันธุ์ สยามนฤมิตร ต้นโตเต็มวัยหรือต้นแม่พันธุ์ ราคาต่อต้น โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ 180,000 บาท ลักษณะจะออกเป็น ต้นบอนใบกลมและมีขอบใบหยักเล็กน้อย จะเด่นตรงที่ ใบจะมีสีด่าง ที่เป็นการผสมกันระหว่างสีแดงและสีเขียว มีเส้นสายสีเขียวกับแดงที่ให้ความสวยโดดเด่น ทั้งยังให้ สีที่คล้ายกับกระเบื้องแบบโมเสค ถูกจัดให้เป็นไม้ประดับ หายากที่สุดและถือว่าเป็นตัว Top สูงสุดของบอนสี โดยเฉลี่ยแล้วต้นเล็กประมาณ 3-4 ใบ จะถูกแบ่งขาย อยู่ที่กระถางละ 30,000 บาท

การดูแลรักษา บอนสี การเลี้ยงบอนสีไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย โรคแมลงก็แทบ ไม่มี จึงเป็นต้นไม้ใบที่น่าสนใจ เพียงดูแลให้ได้รับแสง ให้เหมาะสม มีความชื้นในอากาศสูงหล่อน้ำในจานรอง ไม่จำเป็นต้องรดน้ำทุกวัน และในฤดูหนาวมักพักตัว เท่านั้น การเลี้ยงนอกกระโจมควรเช็ดใบให้สะอาดเป็น ประจำ

บรรณานุกรม 1. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%AD% E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B5 2. https://www.baanlaesuan.com/229299/plant- scoop/caladium-2 3. https://board.postjung.com/1348184 4. https://shorturl.asia/oPydO 5. https://www.baanlaesuan.com/233022/plant- scoop/caladium-5

ชื่อ ด.ช.ณัฐกิตติ์ มณีเจริญ เลขที่ 4 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551 น้ำหนัก 55 กิโลกรัม ส่วนสูง 170 เซนติเมตร สัตว์ที่ชอบ คือ สุนัข แมว สัตว์ที่ไม่ชอบ คือ งู อาชีพที่ใฝ่ฝัน คือ สาธารณสุข คำคม ความจริงจังตั้งใจคือกุญแจไขสู่ความสำเร็จ ประวัติส่วนตัว เอม ณัฐกิตติ์ เบอร์ติดต่อ 096 - 9167899