ชั้นมันธยมศึกษาปีที่ 2
ประวัติผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระ ราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการ ปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้าน วรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราช นิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง
ประวัติความเป็นมา สาเหตุในการประพันธ์ซึ่งในระหว่างที่ พระราชวังสนามจันทร์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพักผ่อนที่พระราชวังสนามจันทร์ได้มี การจัดเลี้ยงกัน เจ้าพระยาธรรมาธิบดีทูลขอ ให้พระองค์ทรงคิดการเล่นหนึ่งอย่าง พระองค์จึงคิดผูกระบำสามัคคีเสวก โดยไม่ ต้องใช้การบรรเลงพิณพาทย์
ความเป็นมา
ลักษณะคำประพันธ์ บทเสภาสามัคคีเสวก เป็นบทประพันธ์ประเภท \"กลอนเสภา ซึ่งเป็นกลอนที่แต่งขึ้นเพื่อให้ ㆍ เล่านิทาเป็นทำนอง โดยใช้ \"กรับ\" เป็นเครื่องประกอบจังหวะ ลักษณะกลอนเสภา ๑. เนื้อความตอนหนึ่ง ยาวกี่คำกลอนก็ได้ ๒. จำนวนคำในแต่ละวรรคอาจไม่เท่ากัน มีตั้งแต่ ๖-๙ คำ ๓. การส่งและการรับสัมผัส คือ คำสุดท้ายของวรรคหน้า นิยมสัมผัสกับคำที่ *๕ ของ วรรคหลัง และคำสุดท้ายของวรรคส่งของกลอนบทแรก ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรครับใน กลอนบทต่อไป
แผนผังกลอนเสภา อันชาติใดไร้ศานติสุขสงบ ณ ชาตินั้นนรชนไม่สนใจ แต่ชาติใดรุ่งเรืองเมืองสงบ ต้องมัวรบราญรอนหาผ่อนไม่ ในศิลปะวิไลละวาดงาม ย่อมจำนงศิลปาสง่างาม ว่างการรบอริพลอันล้นหลาม เพื่ออร่ามเรืองระยับประดับประดา
เรื่องย่อ บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา ชาติใดที่มีศึกสงครามไม่มีความสงบสุขในแผ่นดิน ประชาชนย่อมไม่มีจิตใจ จะสร้างสรรค์งานศิลปะ แต่หากชาติใดบ้านเมืองสงบสุขปราศจากสงคราม ประชาชนก็จะทะนุบำรุงการศิลปกรรมทั้งปวงให้เจริญรุ่งเรือง ซึ่งศิลปะนั้น สามารถแสลงได้ถึความมีอารยธรรมบของชาติ
ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง จงมีความรักและภูมิใจในศิลปะของชาติ หากเรามีศิลปะอยู่ ในใจก็เหมือนกับเรามีเครื่องผ่อนคลายความทุกข์อยู่ด้วย ศิลปกรรมเป็นสิ่งที่สวยงามจำเริญตา จำเริญใจเราจึงควรที่จะช่วยกันส่งเสริมและสนับสนุน
จัดทำโดย นางสาวบุษศรา เพชรแดง 6206510039
Search
Read the Text Version
- 1 - 13
Pages: