เมืองหลังโรคระบาด อภิวัฒน์ รัตนวราหะ จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างรุนแรงไปท่ัวโลก นักวิเคราะหห์ ลายคนได้พยากรณ์ว่า วิถีชวี ิตคน เมืองในยุคหลังโรคระบาดจะเปลย่ี นแปลงไปอย่างมาก บ้านและโลกออนไลน์จะเพิ่มบทบาทมากขึ้น คนจะหัน กลับมาใช้ชีวิตอยู่กับบ้าน ทั้งการทำงานจากบ้าน การประชุมออนไลน์ การซื้อของกินของใช้ผ่านทางอี คอมเมิร์ซ การทำธุรกรรมการเงินบนอินเทอรเ์ น็ต และการสตรีมม่ิงดหู นังและซีรสี ์ นักออกแบบเริ่มคิดแล้วว่า ท่ีอยอู่ าศยั อาคารสำนักงาน และร้านคา้ จะตอ้ งปรบั เปลยี่ นไปอย่างไรเพอ่ื รองรบั พฤติกรรมใหม่เหลา่ น้ี ในขณะ ที่หน่วยงานสาธารณสุขและธุรกิจประกันชีวิตก็เร่ิมสนใจว่า จะใช้ข้อมูลโทรศัพท์มือถืออย่างไรในการติดตาม และตรวจสอบการมปี ฏิสัมพันธ์ของผู้คนที่อาจเพ่ิมความเสยี่ งในการติดเช้อื นอกจากนย้ี งั คาดกนั วา่ ผ้คู นจะให้ความใส่ใจกับสขุ ภาพและสุขอนามัยของตนเองและครอบครวั มากย่ิงขึ้น การ ใส่หน้ากากอนามัยและการใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือในที่สาธารณะจะกลายเป็นปกติวิสัยเหมือนกับการแปรง ฟันก่อนนอน คนเมืองจะพยายามทำอาหารกินเองมากข้ึนหรือซ้ืออาหารจากร้านประจำท่ีไว้ใจได้ เพ่ือประกัน ความปลอดภัยจากเช้อื โรค ธรุ กิจการรว่ มใช้ประโยชน์ทเี่ ฟอื่ งฟูมากอ่ นหน้าโรคระบาดก็คาดว่าจะลดความนยิ ม ลง ท้ังการสังสรรค์หรือทำงานร่วมกันในรา้ นกาแฟและโคเวริ ์กกิ้งสเปซ การเปิดห้องในบ้านให้นักท่องเที่ยวมา พักแรมรายวนั รวมไปถึงการขับรถยนต์ส่วนตัวรับผู้โดยสารแปลกหน้า โรคระบาดคร้งั น้ที ำให้ความสะอาดหมด จดและการใช้ของส่วนตัวแยกจากของคนอื่นกลายเป็นเงื่อนไขพ้ืนฐานของการใช้ชีวิตในเมือง และทำให้การ รักษาระยะห่างกลายเป็นมารยาททางสังคม การปรับเปลี่ยนวถิ ีการใช้ชีวิตในรูปแบบเหล่าน้ีคาดว่าจะเกิดข้ึนในชว่ งเวลาอยา่ งน้อยอีกสองปีข้างหน้า จนกว่า นักวิทยาศาสตร์จะค้นพบวัคซีนป้องกันไวรัส และประชาชนสามารถเข้าถึงวัคซีนและสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่าง ทั่วถึง จากน้ัน พฤติกรรมเหล่าน้บี างอย่างจะกลายเป็นความปกติใหม่หรือนิวนอร์มอล (new normal) ซึ่งเป็น บรรทดั ฐานของการใช้ชีวิตเมอื งในระยะกลางและระยะยาวต่อไป การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมืองหลังโรคระบาดจึงเป็นโจทย์สำคัญในสำหรับการวางแผน ยุทธศาสตร์ของเอกชน การวางแผนนโยบายสาธารณะของรัฐ รวมถึงการเรียนการสอนด้านการวางออกแบบ และพัฒนาเมือง หลายคนหวังผลไปไกลว่า วิกฤตโรคระบาดครั้งน้ีจะเป็นโอกาสที่ทำให้คนในโลกตระหนักถึง ภยั พบิ ตั จิ ากการเปล่ียนแปลงสภาพภูมอิ ากาศ และหันมาใหค้ วามสำคัญกับการพฒั นาทยี่ งั่ ยืนมากขน้ึ โรคระบาดสร้างความปกตใิ หม่หรือเพียงเรง่ แนวโน้มเกา่ ภาพอนาคตท่ีผู้รู้ได้คาดการณ์และคาดหวังมาเหล่านี้ หลายภาพคงเกิดขึ้นจริง แต่หลายภาพก็อาจจางหายไป เมื่อคนจำนวนมากมีภูมิคุ้มกันและกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิม ภาพอนาคตระยะสั้นท่ีค่อนข้างคมชัดคือ ความ หนาแนน่ ของกจิ กรรมของคนเมืองจะเพ่ิมลดตามการขึ้นลงของระดับความเสี่ยงของการตดิ เช้ือ อีกภาพหน่ึงคือ
เศรษฐกจิ โลกและไทยจะเข้าสู่ภาวะถดถอยอยา่ งน้อยภายในชว่ งปีสองปีนี้ ระดบั การวา่ งงานโดยเฉพาะในธรุ กิจ บริการในเมืองจะอยู่ในระดับสูงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ชีวิตคนเมืองในอีก 2-3 ปีหน้าจะตกอยู่ในสภาพ กลา้ ๆ กลัวๆ ด่ังลกู ต้มุ ที่แกว่งไปมาระหว่างความเส่ียงในการตดิ เชอื้ ไวรัสกบั การตกงาน แต่พฤติกรรมคนเมืองท่ีเปล่ียนไปในช่วงโรคระบาดจะกลายเป็นความปกติใหม่ในระยะยาวหรือไม่น้ัน ก็ต้อง ย้อนกลับไปดูว่า ภาพท่ีเราเรียกกันว่านิวนอร์มอลนั้นเป็นบรรทัดฐานท่ีเกิดขึ้นใหม่จริง หรือเป็นเพียงภาพตาม แนวโน้มท่ีโรคระบาดเป็นตัวเร่งให้แพร่ขยายเร็วขึ้น ก่อนหน้าท่ีโรคระบาดปะทุขึ้นมา คนจำนวนมากก็ใช้ โทรศัพท์มือถือและใช้เวลาบนโลกออนไลน์โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียหลายช่ัวโมงต่อวันอยู่แล้ว การซ้ือของ ออนไลน์และซื้ออาหารผ่านแอปพลิเคชันกไ็ ม่ได้เปน็ เรือ่ งแปลกใหม่อะไร เศรษฐกิจฐานแพลตฟอรม์ กก็ ลายเป็น ส่วนสำคัญของชีวิตคนเมืองมาได้ระยะหนึ่งแล้วเช่นกัน ส่วนแนวโน้มการกินอาหารท่ีเน้นความสะอาดและ สร้างเสริมสุขภาพก็มีมาระยะหนึ่งแล้ว ดังที่เห็นตามเทรนด์การกินอาหารปลอดสารพิษต่างๆ และหน้ากาก อนามัยก็ใส่เปน็ ประจำกนั อยแู่ ลว้ ในช่วงฝุ่น PM 2.5 ปัจจยั หน่วงหลายประการอาจทำให้ภาพปกตใิ หม่ท่คี าดการณ์และคาดหวังกันไว้ไม่เกิดขึ้นจรงิ โรคระบาดไม่ได้ ทำให้โครงสรา้ งและพ้ืนท่ีกายภาพของเมืองเปล่ียนไปเหมือนในกรณีของสงคราม ตึกรามบ้านช่อง ถนน ระบบ รถไฟฟ้า รถเมล์ และโครงสร้างพื้นฐานอ่ืนๆ ก็ยังคงเป็นแบบเดิม ห้างร้านต่างๆ ยังคงกระจุกตัวอยู่ตามย่าน และแหล่งเดมิ เพียงรอเวลาให้ผู้คนในเมืองกลบั มาใชป้ ระโยชน์เหมอื นก่อนหนา้ นี้ ตราบใดท่โี ครงสรา้ งของเมอื ง ไมเ่ ปลี่ยน การเปลีย่ นแปลงบรรทดั ฐานของพฤติกรรมคนเมอื งกเ็ ปล่ยี นไปได้ยาก ในขณะเดียวกัน พลังของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมจะดึงดูดให้คนกลับใช้ชีวิตแบบเดิมหลังจากผู้คนเริ่มมี ภูมิคุ้มกันจากไวรัส หลายคนบอกว่า เศรษฐกิจถดถอยในปี 2551 เป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของ เศรษฐกิจแบบทุนนิยม และความปกติใหม่จะเข้ามาแทนท่ี แต่หลังจากน้ันไม่กี่ปี เศรษฐกิจโลกก็กลับมาเป็น เหมือนเดิม โลกาภิวัตน์และการใช้ทรัพยากรยิ่งทวีความเข้มข้นเรื่อยมาจนเกิดโรคระบาดคร้ังน้ี ดังนั้น ประโยชน์ที่เกิดจากการกระจุกตัวและความหนาแน่นของกิจกรรมในเมืองคงจะดึงดูดผู้คนให้กลับมาเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพนั ธ์กนั อกี ครงั้ หนึ่ง เมื่อฝุ่นหายตลบและไวรัสจางหายไปแล้ว วิถีชีวิตเมืองก็อาจกลับมาเป็นเหมือนเดิม หากเป็นเช่นนั้นจริง ความ ยง่ั ยืนของเมืองที่หลายคนหวังว่าจะเกดิ ข้ึนหลังโรคระบาดจึงเป็นไปได้ยาก หากไม่มีนโยบายสาธารณะเชิงรุกท่ี มุง่ เปล่ยี นแปลงโครงสร้างเมืองทงั้ ในดา้ นภายภาพ เศรษฐกิจและสังคม รวมไปถงึ ระบบเศรษฐกิจโลก ความปกตทิ ่ามกลางความอลวน ในโลกหลังปกติ (postnormal) ท่ีความไม่แน่นอนและความเส่ียงคือพื้นฐานของชีวิต การคาดการณ์ภาพ อนาคตในช่วงหลังโรคระบาดจำเป็นต้องเข้าใจถึงคุณลักษณะเชิงพลวัตระบบ (system dynamics) ของภัย พิบัติแบบนี้ ประการแรกคือโรคระบาดเป็นเหรียญด้านลบของการเช่ือมต่อกันทางกายภาพระหว่างมนุษย์ สงิ่ มีชวี ิตและองค์ประกอบอืน่ ๆ ในโลก กล่าวคือ ยง่ิ ชีวิตเช่ือมตอ่ กนั เทา่ ไหร่ ความเสี่ยงของโรคระบาดก็เพิ่มข้ึน เท่าน้ัน ประการต่อมา โรคระบาดเป็นเหตกุ ารณ์สั่นสะเทือนท่ีเกิดกบั ระบบท่ีองคป์ ระกอบแต่ละส่วนเชื่อมโยง 2
กันอย่างซับซ้อนและแทบแยกกันไม่ออก เม่ือการระบาดก่อตัวผ่านจุดผลิกผันหนึ่งแล้ว ผลกระทบจะแพร่ ขยายตัวไปได้อย่างทวีคูณในระยะเวลาอันส้ัน อีกคุณลักษณะหนึ่งคือ โรคระบาดเป็นระบบแบบอลวนหรือเค ออส (chaos) ซึง่ ความวุ่นวายที่ดเู หมือนไม่มีรูปแบบและไม่เป็นระเบียบน้ัน แท้จริงแล้วเป็นไปตามกฎระเบียบ เชิงโครงสร้างบางอย่าง และพลวัตการเปลี่ยนแปลงจะอ่อนไหวมากต่อสภาพเร่ิมต้น ดังน้ัน การปรับเข้าสู่ดุลย ภาพใหมจ่ งึ ขนึ้ อยกู่ บั ความสามารถในการปรบั เปลย่ี นเง่อื นไขและสภาพเร่ิมตน้ และโครงสร้างของระบบนน้ั ตามความคิดดังกล่าว ระดับความรุนแรงและขอบเขตของผลกระทบจากโรคระบาดจึงข้ึนอยู่กับสภาพและ โครงสร้างทีเ่ ป็นอยู่ในตอนตน้ ก่อนโรคระบาดจะเกิดขึ้น โดยจะเพ่ิมความอ่อนไหวเปราะบางท่ีมีอยู่แต่เดิมอย่าง ทวีคูณ ดังนั้น การคาดการณ์ภาพอนาคตที่เรียกว่านิวนอร์มอลนั้น หากไม่มองลึกลงไปถึงปัจจัยระดับฐานราก ก่อนหน้าโรคระบาด ย่อมไม่สามารถบอกไดว้ ่า อะไรกันแน่ท่ีจะกลายเป็นบรรทัดฐานทีแ่ ทจ้ รงิ ของสงั คมเมื่อโรค ระบาดได้จางหายไป หนึ่งในปัจจัยสำคัญนน้ั คอื ความเหลอ่ื มล้ำทางสงั คม ปกติใหมส่ ำหรับใคร ภัยพิบัติร้ายแรงแต่ละคร้ังมักตอกย้ำรอยร้าวของระบบเศรษฐกิจสังคมที่รู้เห็นจนชินชาและถูกละเลยใน ช่วงเวลาปกติ วิกฤตการณ์โรคระบาดในครั้งนี้ก็เช่นกัน ในขณะที่คนรวยและคนชั้นกลางสามารถทำงาน ออนไลน์จากบา้ น ขับรถส่วนตัวไปซื้อของ สั่งอาหารผ่านแอป และรกั ษาระยะห่างระหวา่ งกนั เพื่อหลีกเลี่ยงการ ติดเช้ือ คนด้อยโอกาสท่ีหาเช้ากินค่ำยังคงต้องออกไปทำงานด้วยระบบขนส่งสาธารณะท่ีสุ่มเส่ียง และคน จำนวนมากต้องตกงานในทันที เมือ่ รัฐบาลประกาศมาตรการจำกัดการรวมตวั ของคนหมู่มาก ไวรัสจึงไม่ใช่เป็นเพียงส่ิงมีชีวิตทางชีววิทยาที่มีพลังทำลายล้างในกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ตามทฤษฎี วิวัฒนาการของดาร์วิน แต่ยังเป็นสิ่งมีชีวิตทางสังคมที่ล่าหา ขยี้ขย้ำ และฉีกแยกรอยเลื่อนสังคมที่มีอยู่เดิมให้ กว้างข้ึนอีก การทำลายล้างทางสังคมของไวรัสจึงไม่ได้เป็นการสุ่มแบบไม่มีทิศทาง แต่เป็นไปตามโครงสร้าง และรปู แบบของสังคมทเี่ ปน็ อยู่เดิม วิกฤตการณ์โรคระบาดครั้งน้ียังแสดงให้เห็นชัดถึงความเหลื่อมล้ำในด้านพื้นที่ทำกิน คนรวยและคนชั้นกลาง จำนวนหน่ึงสามารถสร้างรายได้และความมั่งค่ังได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการเชื่อมต่อและปฏิสัมพันธ์บนพื้นที่ กายภาพเพียงอย่างเดียว แต่ทำได้บนพื้นท่ีดิจิทัลด้วยเช่นกัน ในทางกลับกัน การทำมาหากินและการดำรงชีพ ของคนจำนวนมากยังต้องพ้ืนที่ทางกายภาพและการสัมผัสมนุษย์ในการทำมาหากนิ และดำรงชีวติ อาทิ หาบเร่ แผงลอย มอเตอร์ไซค์รับจ้าง หมอนวด รวมไปถึงพนักงานร้านอาหารและโรงแรม ถึงแม้รัฐบาลจะเพิ่ม สวสั ดิการในการเข้าถึงระบบดิจิทัลให้กับประชาชน คนกลุ่มหลักท่ีได้ประโยชน์ก็ย่อมเป็นกลุ่มที่เข้าถึงพื้นท่ีทำ กินบนโลกดิจิทลั ได้อยู่แลว้ วถิ ีชวี ติ ปกติใหม่ท่ีเกิดข้ึนบนพ้นื ท่ีดิจทิ ัลจึงจะยังคงจำกัดอยเู่ พียงคนบางกลมุ่ เทา่ น้นั ความปกติใหม่ของชีวิตเมืองท่ีพูดกันมากในตอนนี้จึงมักเป็นประเด็นท่ีมองจากชีวิตของคนช้ันกลางเป็นหลัก ห้องคับแคบจนไม่มีพ้ืนที่เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตได้อย่างสุขสบายและมีความเป็นส่วนตัวไม่ใช่เรื่องใหม่ คนในสลัมอยู่กันอย่างแออัดยัดเยียดมานานแล้ว การขาดพ้ืนที่สาธารณะไม่ใช่เป็นเพียงเร่ืองชนชั้นกลางไม่มี 3
สวนสาธารณะไว้ว่ิงออกกำลังกาย แต่เป็นเร่ืองการเข้าถึงพื้นท่ีในการทำมาหากินของคนจน ความลำบากบน รถไฟฟา้ บที ีเอสเทียบไมไ่ ด้กบั บนรถเมล์แดง ความเส่ียงทม่ี าจากพ้นื ทีแ่ ออัดจึงไม่ได้เปน็ โจทย์ใหม่แต่อยา่ งใด ในเมืองหลังโรคระบาด คนรวยและคนช้ันกลางจำนวนหน่ึงจะปรบั พฤติกรรมเข้าสู่นิวนอร์มอลด้วยการใช้ชีวิต ออนไลน์และรักษาระยะห่างทางกายภาพได้ กูรูการตลาดและธุรกิจต่างๆ จะสร้างภาพที่ทำให้เราหลงเชื่อว่า ชีวิตเมืองได้ฟื้นตัวกลับคืนสู่สภาพปกติ และในหลายด้านได้ปรับเข้าสู่สภาพปกติใหม่ที่ดีกว่าเดิม ซ่ึงเป็น แนวทางปกติของการทำธุรกิจ แต่สำหรับคนด้อยโอกาสที่จะยังคงต้องใช้ชีวิตออฟไลน์อย่างแออัดภายใต้ โครงสร้างเศรษฐกิจสังคมแบบเดิม จะไม่มีสิ่งท่ีเรียกว่านิวนอร์มอล จะมีก็แต่เพียงเวิร์สโอลด์นอร์มอล (worse old normal) ซง่ึ เป็นภาพปกตเิ กา่ ที่มสี ภาพแย่ลงอกี ดงั นน้ั ในเชิงนโยบายสาธารณะ ความท้าทายหลกั สำหรบั การออกแบบและพัฒนาเมอื งหลงั โรคระบาด จึงไม่ได้ อยู่และไม่ควรอยู่ที่การตอบรับภาพปกติใหม่ของคนรวยและคนชั้นกลาง แต่อยู่ที่ความกล้าหาญและมุ่งมั่นใน การเปล่ียนกรอบแนวคิดและบรรทัดฐานในการออกแบบและพัฒนาเมืองให้เกิดความยั่งยืน โดยเฉพาะความ ย่ังยืนท่ีให้ความสำคัญกับคนจนและด้อยโอกาสเป็นอันดับแรก มิเช่นน้ัน เมืองหลังโรคระบาดก็จะเป็นเพียง เมอื งปกตเิ ก่าทสี่ วมหน้ากากผา้ สีเขียวลายใหม่เท่านนั้ 4
Search
Read the Text Version
- 1 - 4
Pages: