ของเสีย อันตราย จัดทำโดย นางสาวปาณิศา เนินหนู นางสาวจินตนา ปกติ นายณัฐพงศ์ สอนจีน นางสาวกวินทิพย์ จันทมาศ สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ค ว า ม ห ม า ย ข อ ง ข อ ง เ สี ย อั น ต ร า ย ของเสียอันตราย (Hazardous Waste) https://youtu.be/V9dFVjUSR6c ”ของเสียอันตราย” เป็นวัสดุที่ไม่ได้ใช้แล้วที่มีคุณสมบัติเป็นสารไวไฟ กัดกร่อน เกิดปฏิกิริยาได้ง่าย มีสารพิษปะปนหรือมีตัวทำละลาย เสื่อมคุณภาพตามรายชื่อที่ระบุไว้ หรือกากตะกอนที่เกิดจากการผลิต หรือเกิดจากระบบบำบัดน้ำเสีย จากกิจกรรมตามรายชื่อ ที่ระบุ [ประกาศกระทรวงอุตสาหรรมฉบับที่ 25 (พ.ศ.2531)] ของเสียอันตรายจึงเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า “กากของเสียอุตสาหกรรม” กากตะกอนจากการละลายเกลือและกากตะกอนจากโรงผลิตโซดาไฟด้วยวิธีใช้เซลปรอท กากวัตถุมีพิษและกากตะกอนจากโรงงานผลิตและบรรจุยาฆ่าแมลง ฝุ่นจากระบบกำจัดตะกั่วในอากาศและกากตะกอนจากโรงงานหลอมตะกั่ว ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์ที่เสื่อมหรือไม่ได้คุณภาพ น้ำยาเคมีจากถังชุบโลหะกากที่เหลือจากการชุบโลหะรวมทั้งกากตะกอนจากโรงงานชุบโลหะ ของเสียจากโรงงานผลิตวัตถุระเบิด ปลายขั้วหลอดที่ผลิตไม่ได้คุณภาพที่ปนเปื้อนสารปรอทจากโรงงานผลิตหลอดฟูออเรสเซนต์ ถ่านไฟฉายที่ผลิตไม่ได้คุณภาพฝุ่นจากระบบกำจัดอากาศกากตะกอนจากโรงงานผลิตถ่านไฟฉาย กากสีจากห้องพ่นสีของโรงงานที่ประกอบกิจการเกียวกับรถยนต์และจักรยานยนต์ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการของเสียอันตราย มี 3 กลุ่มใหญ่ คือผู้ก่อกำเนิด (Waste Generator) ผู้ขนส่ง (Waste Transporter) ผู้รับบำบัดกำจัด (Waste Processor) ซึ่งแต่ละกลุ่มมีหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อให้การดำเนินการจัดการของเสียอันตรายเป็นไป อย่างถูกต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขอนามัย ความปลอดภัยของประชาชน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การจําแนกของเสียอันตราย 14 ประเภท ในระบบ Wastetrack 1) ประเภทที่ 1 ของเสียพิเศษ (I : Special Waste) หมายถึง ของเสียที่มีปฏิกิริยาต่อน้ําหรือ อากาศ ของเสียที่อาจมีการระเบิด (เช่น azide, peroxides) สารอินทรีย์ ของเสียที่ไม่ทราบที่มา ของเสียที่เป็นชีวพิษ และของเสียที่เป็นสารก่อมะเร็ง เช่น เอธิเดียมโบรไมด์ 2) ประเภทที่ 2 ของเสียที่มีไซยาไนด์ (II : Cyanide Waste) หมายถึง ของเสียที่มีไซยาไนด์เป็น ส่วนประกอบ เช่น โซเดียมไซยาไนด์ โปแตสเซียมไซยาไนด์ หรือเป็นของเสียที่มี สารประกอบ เชิงซ้อนไซยาไนด์ หรือมีไซยาโนคอมเพล็กซ์ เป็นองค์ประกอบ เช่น Ni(CN)42- เป็นต้น 3)ประเภทที่ 3 ของเสียที่มีสารออกซิแดนซ (III : Oxidizing Waste) หมายถึง ของเสียที่มีคุณสมบัติใน การใหอิเล็กตรอน ซึ่งอาจเกิดปฏิกิริยารุนแรงกับสารอื่นทําใหเ กิดระเบิดได เชน โพแทสเซียมเปอรแมงกาเนต โซเดียมคลอเรต โซเดียมเปอรไอออเดต และ โซเดียมเปอรซ ัลเฟต 4) ประเภทที่4 ของเสียที่มีปรอท (IV : Mercury Waste) หมายถึง ของเสียชนิดที่มีปรอทเปน องคป ระกอบ เชน เมอรคิวรี (II) คลอไรด อัลคิลเมอรคิวรี เปนตน 5) ประเภทที่5 ของเสียที่มีสารโครเมต (V : Chromate Waste) หมายถึง ของเสียที่มีโครเมียม (VI) เป็นองค์ประกอบ เช่น สารประกอบ Cr6+ กรดโครมิก ของเสียที่ได้จากการวิเคราะห์ Chemical Oxygen Demand (COD) [ถ้ามีการใส่ปรอทให้จัดเป็นของเสียที่มีปรอท (IV : Mercury Waste)]
การจําแนกของเสียอันตราย 14 ประเภท ในระบบ Wastetrack 6) ประเภทที่ 6 ของเสียที่มีโลหะหนัก (VI : Heavy Metal Waste) หมายถึง ของเสียที่มีไอออน ของโลหะหนักอื่นที่ไมใชปรอทเปนสวนผสม เชน แบเรียม แคดเมียม ตะกั่ว ทองแดง เหล็ก แมงกานีส สังกะสี โคบอล นิเกิล เงิน ดีบุก แอนติโมนี ทังสเตน วาเนเดียม เปนตน 7) ประเภทที่ 7 ของเสียที่เปนกรด (VII : Acid Waste) หมายถึง ของเสียที่มีคา ของpH ต่ํากวา 7 และมีกรดแรป นอยู ในสารมากกวา 5% เชน กรดซัลฟูริก, กรดไนตริก, กรดไฮโดรคลอริก acetic acid และ Bradford’s solution = 85% Phosphoric acid +95% Ethanol เปน ตน 8) ประเภทที่ 8 ของเสียอัลคาไลน (VIII : Alkaline Waste) หมายถึง ของเสียที่มีคา pH สูงกวา 8 และมีดางปนอยูในสารละลาย มากกวา 5% เชน คารบอเนต ไฮดรอกไซดแ อมโมเนีย และ โซเดียมไฮดรอกไซด เปนตน 9) ประเภทที่ 9 ผลิตภัณฑปโตรเลียม (IX : Petroleum Products) หมายถึง ของเสียประเภท น้ํามันปโตรเลียม และผลิตภัณฑท ี่ไดจากน้ํามัน เชน น้ํามันเบนซิน น้ํามันดีเซล น้ํามันกา ด น้ํามันเครื่อง น้ํามันหลอลื่น และ Xylene solution 10) ประเภทที่ 10 Oxygenated (X : Oxygenated) หมายถึง ของเสียที่ประกอบดว ยสารเคมี ที่มีออกซิเจนอยูใ น โครงสราง เชน เอทิลอาซิเตต อะซิโตน เอสเทอร อัลกอฮอล คีโตน อีเทอร Formaldehyde Acetone extraction Butanol เปนตน
การจําแนกของเสียอันตราย 14 ประเภท ในระบบ Wastetrack 11) ประเภทที่ 11 NPS Containing (XI : NPS Containing) หมายถึง ของเสียที่ประกอบดวย สารอินทรียท ี่มีสว นประกอบของ ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, ซัลเฟอร เชน สารเคมีที่มีสวน ประกอบ ของ Dimethyl formamide (DMF), Dimethyl sulfoxide (DMSO), อะซิโตรไนไตรล, เอมีน, เอไมน 12) ประเภทที่ 12 Halogenated (XII : Halogenated) หมายถึง ของเสียที่มีสารประกอบ อินทรียข องธาตุฮาโลเจน เชน คารบ อนเตตราคลอไรด (CCl4) คลอโรเอทิลีน BCIP solution = BCIP C8H4BrClNO4P.2Na Phenol chloroform extraction 13) ประเภทที่ 13 (a) : ของแข็งที่เผาไหมไ ด (XIII (a) : Combustible Solid) (b) : ของแข็งที่ไมสามารถเผาไหมไ ด (XIII (b) : Incombustible Solid) 14) ประเภทที่ 14 ของเสียที่มีน้ําเปนตัวทําละลายอื่น ๆ (XIV : Miscellaneous Aqueous Waste) หมายถึง ของเสียที่มีสารประกอบนอ ยกวา 5% ที่เปนสารอินทรียท ี่ไมม ีพิษ หากเปน สารมีพิษใหพิจารณาเสมือนวาเปนของเสียพิเศษ (I :Special Waste)
การจัดการของเสียที่เป็นอันตราย การปนเปื้อนของของเสียที่เป็นอันตรายในสิ่งแวดล้อม อาจส่งผลกระทบต่อ สุขภาพอนามัย และความปลอดภัยขอมนุษย์ ทั้งโดยทางตรง และ ทางอ้อม สถานการณ์เช่นนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน และมีแนวโน้มจะทวี ความรุนแรงขึ้นในอนาคต จึงควรจัดการของเสียที่เป็นอันตรายอย่างเหมาะสม เริ่มตั้งแต่เมื่อของเสียถูกผลิตออกมาจนกระทั่งของเสียดังกล่าวได้รับการกำจัด ในขั้นสุดท้าย ขั้นตอนในการจัดการควรทำเป็นระบบครบวรจร เริ่มด้วย การลดปริมาณการผลิตของเสีย การเก็บกักของเสียการเก็บขนและการขนส่ง การบำบัดหรือทำลายฤทธิ์ การนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ และการกำจัดของเสียในขั้นตอนสุดท้าย การลดปริมาณการผลิตของเสียที่เป็นอันตราย การลดปริมาณการผลิตของเสียที่เป็นอันตราย นับเป็นการจัดการที่ต้นเหตุ ซึ่งทำให้เกิดปัญหา การทำให้มีปริมาณของเสียที่เป็นอันตรายเกิดขึ้นน้อยลง อาจทำได้หลายวิธี คือเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ ที่ใช้ในการผลิตให้ มีสารอันตรายน้อยที่สุดเปลี่ยนแปลงวัสดุ และขนาดของภาชนะ หีบห่อ เปลี่ยนแปลงขบวนการผลิต ให้มีของเสียจากการผลิตน้อยที่สุด ใช้สารที่ไม่เป็นอันตราย หรือมีอันตรายน้อยกว่า แต่ให้ผลไม่แตกต่างกัน แทนการใช้สารที่เป็นอันตรายในการผลิต แยกของเสียกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ การเก็บกักของเสียที่เป็นอันตราย การเก็บกักของเสียที่เป็นอันตราย หมายถึง การเก็บรวบรวมของเสีย ที่เป็นอันตราย ณ จุดกำเนิด ในระหว่างเวลาที่รอการเก็บขนไปกำจัด หรือทำลาย การเก็บกักของเสียที่เป็นอันตราย นิยมเก็บไว้ในถัง ซึ่งมี ทั้งที่ทำด้วยโลหะ พลาสติก ไฟเบอร์กลาสส์ และแก้ว แต่ถ้ามีปริมาณมากๆ อาจเก็บไว้ในบ่อก็ได้ แต่ต้องทำคันดิน ล้อมรอบ และต้องบุพื้นบ่อและผนังโดยรอบบ่อด้วยวัสดุ กันซึม และมี ท่อสำหรับรวบรวมน้ำเสียที่อาจ เกิดการรั่วไหลออกไปบำบัดด้วย
การจัดการของเสียที่เป็นอันตราย การเก็บขนและการขนส่งของเสียที่เป็นอันตราย การเก็บขน และการขนส่งของเสียที่เป็น อันตราย หมายถึง การเก็บรวบรวมของเสียที่เป็นอันตราย ที่เก็บกักไว้ ณ จุดกำเนิด เพื่อลำเลียง หรือเคลื่อนย้ายไปทำการบำบัด และกำจัดทำลาย การเก็บขน และ ขนส่งของเสียที่เป็นอันตราย สามารถทำได้ทั้งโดยการใช้รถยนต์ เรือ หรือ รถไฟ การบรรทุกของเสียไป กำจัดอาจทำได้ 2 วิธี คือ สูบของเสียใส่ในตัวถังบรรทุกของพาหนะ ซึ่งปกปิดมิดชิดทุกด้าน และใส่ของ เสียในถังที่ มีฝาปิดมิดชิดและตั้งวางเรียงในตัวถังบรรทุก ของพาหนะ พาหนะที่ใช้เก็บขนของเสียที่เป็นอันตราย ควรจะมีลักษณะแตกต่างจากพาหนะทั่วไป เช่น ต้องแข็งแรง สามารถป้องกันการรั่วซึมไหลของของเสีย ในกรณีอุบัติเหตุมีสัญลักษณ์ หรือคำเตือนให้รู้ว่าเป็นของเสียที่เป็นอันตราย ต้องมีระบบควบคุมไม่ให้ของเสียหกหล่น ระหว่างการขนส่ง ในบางประเทศต้องมีใบกำกับการ ขนส่งของเสียที่เป็นอันตรายด้วย ในใบกำกับจะระบุชื่อผู้ผลิตของเสีย ผู้ที่ทำการเก็บขนและ ขนส่ง สถานที่ที่จะนำไปกำจัด รวมทั้งระบุชนิด และปริมาณของของเสีย ลักษณะภาชนะบรรจุ ตลอดจนคำเตือนสำหรับ ของเสียที่ต้องได้รับการ เก็บขนและขนส่งด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ ใบกำกับการขนส่งนี้ ต้องมีสำเนาอย่างน้อย 4 ฉบับให้ผู้ผลิตของเสีย ผู้ขนส่ง ผู้ดูแลสถานที่ กำจัด และเจ้าหน้าที่ ของรัฐ เก็บไว้เป็นหลักฐาน ตรวจสอบเพื่อป้องกันไม่ให้มีการลักลอบนำของเสียไปทิ้งที่อื่น
การบำบัดของเสียที่เป็น อันตราย การบำบัดของเสียที่เป็นอันตราย หมายถึง การเปลี่ยนแปลงลักษณะ ทางกายภาพ หรือทางเคมีของของเสีย หรือสารพิษที่เจือปนอยู่ในของเสีย เช่น ลดปริมาตรให้น้อยหรือหมดความเป็น พิษ หรือมีความเป็นพิษน้อยลง หรืออยู่ใน ลักษณะที่ไม่สามารถแสดงความเป็นพิษออกมาได้ เพื่อสะดวกต่อการกำจัดทำลาย ในขั้นต่อไป การบำบัดของเสียสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ 1) ทำให้เป็นก้อน 2) ทำให้แห้ง โดยนำของเสียมาผสมกับซีเมนต์ โดยการนำมาผึ่ง กรอง ปั่น หรือคอนกรีต ทำให้เป็นก้อน หรือ หรือบีบเอาน้ำออก วิธีนี้ นำมาเก็บในภาชนะ และหุ้มด้วย เป็นการทำให้ปริมาตรของ ซีเมนต์ หรือคอนกรีต ป้องกันไม่ให้ เสียลดลง นิยมใช้สำหรับการ ของเสียถูกชะล้างหลุดออกมาได้ บำบัดของเสียที่มีลักษณะ วิธีนี้ส่วนใหญ่ใช้กับของเสียที่มี กึ่งของแข็งหรือกากตะกอน ลักษณะเป็นของแข็ง หรือกึ่งของแข็ง 3) ทำให้เป็นกลาง ของเสียที่มีฤทธิ์เป็นกรดจะสามารถ กัดกร่อนวัสดุต่างๆ ได้ จึงต้องทำให้มี ฤทธิ์เป็นกลาง โดยการเติมด่างลงไป ในทำนองเดียวกัน ของเสียที่มีฤทธิ์ เป็นด่างจะเติมกรดลงไป เพื่อทำให้ มีฤทธิ์เป็นกลาง
การบำบัดของเสียที่เป็น อันตราย 4) ใช้สารเคมีทำลายฤทธิ์ โดยการเติมสารเคมี เพื่อให้ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับสารพิษ เจือปนอยู่ในของเสีย เพื่อทำให้สารพิษนั้นอยู่ในรูปของ สารประกอบอื่นๆ ซึ่งไม่เป็นพิษ ตัวอย่างเช่น ของเสียจำพวก ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช และยากำจัดเชื้อรา จะใช้สารละลายด่าง เช่น ปูนขาว เพื่อทำลายฤทธิ์ของตัวยา แต่ละชนิด 5) ใช้สารเคมีทำให้ตกตะกอน โดยการเติมสารเคมี เพื่อทำให้สารที่เจือปนอยู่ใน ของเสีย ซึ่งอยู่ในรูปของสารละลายแยกตัว และ ตกตะกอนออกมา สารเคมีที่นิยมใช้ในการตก ตะกอน ได้แก่ ปูนขาว 6) ใช้ขบวนการชีววิทยา เป็นการบำบัดของเสีย เพื่อลดปริมาณของเสีย ที่สามารถกำจัด ได้ด้วยจุลินทรีย์ เช่น สารอินทรีย์ต่างๆ โดยจุลินทรีย์จะ ทำการย่อยสลาย และเปลี่ยนสารอินทรีย์ต่างๆ ไปเป็นก๊าซ และได้เซลล์ของจุลินทรีย์เพิ่มมากขึ้น หรือโดยการใช้เอนไซม์ ที่จุลินทรีย์ผลิตขึ้นในการย่อยสลายสารต่างๆ 7) ใช้เตาเผา เตาเผาที่ใช้เผาของเสียที่เป็นอันตราย จะต้องเป็นเตา เผาที่มีอุณหภูมิการเผาสูง และมีระบบควบคุมสาร มลพิษ ที่เกิดจากการเผาด้วย เช่น ระบบดักฝุ่นและก๊าซ ระบบบำบัดน้ำเสีย วิธีนี้นิยมใช้บำบัดของเสีย จำพวก กากน้ำมัน และของเสียอื่นๆ ที่มีสารอันตรายเจือปนอยู่ ในปริมาณไม่สูงมากนักตลอดจนของเสียที่ผ่านการ ทำลายฤทธิ์มาบ้างแล้ว
อ้างอิง การจัดการของเสียที่เป็นอันตราย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.saranukromthai.or.th/. สืบค้นวันที่ 21 ตุลาคม 2564 การจําแนกของเสียของเสียอันตราย 14 ประเภทในระบบ Wastetrack [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://pcd.go.th/. สืบค้น วันที่ 21 ตุลาคม 2564 ของเสียอันตราย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://bodthai.net/ สืบค้น วันที่ 21 ตุลาคม 2564
ของเสียอันตราย
Search
Read the Text Version
- 1 - 12
Pages: