Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore test

test

Published by mook270839, 2018-04-02 23:27:26

Description: test

Search

Read the Text Version

แผ่นดนิ ไหว (Earthquake) เปน็ ปรากฏารณ์ธรรมชาตซิ งึ่ เกีย่ วเนอ่ื งกับกระบวนธรณีแปรสณั ฐาน (Plate Tectionics) ซง่ึ เกดิ ขน้ึ เมื่อหินเปลอื กโลกเคลอื่ นทีห่ รอืสน่ั สะเทอื นและคายพลังงานออกมา ซง่ึ สามารถอปุ มาอปุ มยั ได้เหมอื นกบั การดัดไมบ้ รรทดั เมือ่ เราใชม้ ือจบั ปลายไม้บรรทดั ทั้งสองข้างแล้วดัดใหโ้ คง้ งออยา่ งชา้ ๆจนเกิดความเค้น (Stress) ไมบ้ รรทัดจะเกดิ ความเครียด (Strain) ภายใน แมว้ า่ จะอ่อนตัวใหโ้ ค้งตามแรงที่เราดัด แต่ก็จะคนื ตัวทันทที เ่ี ราปลอ่ ยมือ และถ้าหากเราออกแรงดดั มากเกินไป พลังงานซ่งึ สะสมอยภู่ ายในจะเคน้ ให้ไมบ้ รรทดั นน้ั หกั และปลดปล่อยพลังงานอย่างฉบั พลนั ทาใหเ้ กิดแรงสัน่ สะเทือนและเสียง หนิ ในเปลือกโลกก็มีคณุ สมบตั ิดังเชน่ ไม้บรรทดั เมื่อแผ่นธรณกี ระทบกัน แรงกดดันหรือแรงเสยี ดทานจะทาใหห้ นิ ท่ีบรเิ วณขอบของแผน่ ธรณีเกิดความเค้นและความเครียด สะสมพลงั งานไวภ้ ายใน เม่ือหนิ แตกหรือหักกจ็ ะปลดปล่อยพลังงานออกมา ทาใหเ้ กดิ การส่ันสะเทอื นเป็นแผน่ ดินไหว

ภาพที่ 1 แผ่นดนิ ไหวที่เมืองซานฟรานซิสโก ปี พ.ศ.2449 แผน่ ดนิ ไหวมักเกิดขึ้นในบริเวณรอยต่อของแผน่ ธรณี เน่อื งจากเปน็ บรเิ วณท่ีเกิดกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน 3 ลกั ษณะ 1.แผน่ ธรณเี คล่อื นทีอ่ อกจากกัน (Divergent boundaries) แมกมาจากชัน้ฐานธรณีภาคดนั ให้แผ่นธรณโี ก่งตวั อยา่ งชา้ ๆ จนแตกเป็นหบุ เขาทรุด (Rift valley)หรือสันเขาใตส้ มทุ ร (Oceanic Ridge) ทาใหเ้ กิดแผน่ ดินไหวขนาดเบาทร่ี ะดับตื้น (ลกึจากพ้ืนผิวนอ้ ยกวา่ 70 กโิ ลเมตร) เชน่ บรเิ วณกลางมหาสมุทรแอตแลนตกิ 2.แผน่ ธรณีเคลือ่ นท่เี ขา้ หากนั (Convergent boundaries) การชนกันของแผน่ ธรณีสองแผน่ ในแนวมดุ ตัว (Subduction zone) ทาใหแ้ ผ่นท่ีมีความหนาแน่นมากกว่าจมตัวลงตวั สูช่ นั้ ฐานธรณภี าค การปะทะกันเชน่ น้ีทาให้เกดิ แผ่นดินไหวอยา่ งรุนแรงทีร่ ะดบั ลึก (300 – 700 กโิ ลเมตร) และหากเกิดขึน้ ในมหาสมุทรกจ็ ะทาให้เกดิ คล่นื สึนามิ เชน่ สันเขาใตส้ มทุ รใกล้เกาะสมุ าตรา และ เกาะฮอนชู ประเทศญ่ปี นุ่ 3.แผน่ ธรณเี คลือ่ นท่ีผ่านกัน (Transform fault) ทาใหเ้ กดิ แรงเสียดทานของหนิ เปลอื กโลก แม้ว่าแผ่นธรณีจะเคล่ือนท่ีผา่ นกนั ด้วยความเร็วเพียงปลี ะประมาณ3 - 6 เซนตเิ มตร แตเ่ มื่อเวลาผา่ นไป 100 ปี กจ็ ะเคล่อื นทไี่ ด้ระยะทาง 3 - 6 เมตรซงึ่ ถ้าหากหินคนื ตวั ก็จะสามารถปลดปล่อยพลังงานมหาศาลได้ ดังเชน่ รอยเล่อื นซานแอนเดรยี สก์ ็เคยทาลายเมอื งซานฟรานซิสโก ประเทศสหรฐั อเมรกิ า จนประสบความเสยี หายหนกั เม่ือปี พ.ศ.2449 ดังภาพที่ 1

คล่ืนสึนามิ (Tsunami) เป็นคลืน่ ท่เี กิดข้นึ จากแผ่นดินไหว แต่คลื่นผิวน้าท่ีเรารจู้ กั กนั ทวั่ ไปเกิดจากแรงลมพดั พลงั งานจลนจ์ ากอากาศถกู ถา่ ยทอดสผู่ วิ น้าทาให้เกดิ คล่ืน ขนาดของคลื่นจงึ ข้ึนอยูก่ บั ความเรว็ ลม หากสภาพอากาศไมด่ ีมีลมพายุพดั คลืน่ ก็จะมขี นาดใหญต่ ามไปด้วย ในสภาพปกติคล่นื ในมหาสมุทรจะมคี วามสูงประมาณ 1 - 3 เมตร แต่คลืน่ สนึ ามเิ ป็นคลื่นยักษม์ ขี นาดใหญก่ วา่ คลนื่ ผวิ น้าหลายสบิ เท่า พลังงานจลน์จากแผ่นดินไหวใตม้ หาสมทุ รถกู ถา่ ยทอดจากใตเ้ ปลือกโลกถูกถ่ายทอดข้ึนสผู่ ิวนา้ แลว้ ขยายตัวทกุ ทิศทกุ ทางเขา้ สู่ชายฝัง่ คาว่า “ส”ึ เป็นภาษาญีป่ ุ่นแปลว่าท่าเรือ \"นามิ\" แปลว่าคล่นื ที่เรียกเชน่ น้ีเปน็ เพราะ ชาวประมงญีป่ นุ่ ออกไปหาปลา พอกลบั มาก็เห็นคล่ืนขนาดยักษ์พัดทาลายชายฝ่งั พงัพนิ าศ

ภาพที่ 4 จุดกาเนิดคล่นื สึนามิ เมอ่ื วนั ที่ 26 ธ.ค.47จดุ กำเนิดคล่ืนสนึ ำมิ คลื่นสึนามิมจี ุดกาเนิดจากศนู ย์เกิดแผ่นดนิ ไหวบริเวณเขตมุดตัว (Subductionzone) ซ่งึ อยบู่ รเิ วณรอยต่อของแผน่ ธรณเี คลือ่ นท่เี ข้าหากัน (Convergent plateboundary) เมื่อแผน่ ธรณีมหาสมุทรเคล่อื นปะทะกัน หรือชนเข้ากับแผ่นธรณีทวปี แผน่ มหาสมุทรซ่ึงมคี วามหนาแนน่ จะจมตวั ลงสชู่ นั้ ฐานธรณีภาค ทาใหเ้ กดิแผน่ ดนิ ไหวอย่างรนุ แรงท่ีระดบั ลกึ เมื่อเปลอื กโลกใตม้ หาสมุทร ยุบตัวลงเปน็ รอ่ งลึกก้นสมทุ ร (Oceanic trench)น้าทะเลทีอ่ ยู่ด้านบนก็จะไหลยุบตามลงไปด้วยดังภาพท่ี 2 น้าทะเลในบรเิ วณข้างเคียงมรี ะดบั สูงกว่า จะไหลเข้ามาแทนทแี่ ลว้ ปะทะกัน ทาให้เกดิ คลื่นสะทอ้ นกลับในทกุ ทศิ ทุกทาง (เหมือนกบั การทเ่ี ราขว้างกอ้ นหินลงน้า)

ระบบแจง้ เตือนคล่นื สนึ ำมิ การตรวจจบั คลื่นสนึ ามไิ ม่ใชเ่ ร่อื งงา่ ย เนือ่ งจากขณะทเี่ กดิ ข้นึ กลางมหาสมทุ รคลน่ื สนึ ามมิ ีฐานกวา้ งถึง 100 กิโลเมตร แตส่ งู เพยี ง 1 เมตร อกี ทง้ั ยังมคี ล่ืนผวิ นา้ ซง่ึเกิดจากกระแสลมวางซอ้ นอยู่ด้านบนอกี ดังนัน้ การสงั เกตการณ์จากเครื่องบนิ หรอืดาวเทียมจึงไม่สามาถพสิ จู น์ทราบได้ การตรวจจับคลน่ื สึนามิทาได้ด้วยการตรวจจับสญั ญาณจากทนุ่ ลอยและเคร่ืองวดั คล่นื ไหวสะเทอื นเท่านั้น ระบบแจง้ เตอื นคลื่นสึนามริ ะบบแรกของโลกถูกจัดตั้งขึ้นหลงั จากอุบตั ิภัยทห่ี มู่เกาะฮาวาย ในปี พ.ศ.2489 ประเทศสหรัฐอเมริกาจัดต้งั “ศนู ย์แจ้งเตือนคลนื่ สนึ ามิแปซิฟกิ ” (Pacific Tsunami Warning Center) หรอื PTWC โดยมตี ิดต้ังสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวจานวน 50 แหง่ รอบมหาสมุทรแปซฟิ ิก ระบบทางาน โดยการตรวจจับคล่ืนไหวสัน่ สะเทอื น ซง่ึ เดินทางรวดเรว็ กว่าคล่นื สนึ ามิ 15 เทา่ ข้อมลู ท่ีตรวจวัดไดจ้ ากทกุ สถานถี กู นารวมกนั เพ่ือพยากรณ์หาตาแหน่งท่มี คี วามเป็นไปไดท้ ่ีจะเกดิ คล่ืนสึนามิ เม่ือคลื่นสึนามถิ กู ตรวจพบ ระบบจะแจง้ เตอื นเมอื งทีอ่ ยชู่ ายฝ่ังรวมท้ังประมาณเวลาสถานการณ์ทคี่ ลื่นจะเขา้ ถึงชายฝ่ัง เพือ่ ทจ่ี ะอพยพประชาชนไปอยู่ท่สี งู และให้เรอื ท่จี อดอยชู่ ายฝัง่ เดนิ ทางส่ทู อ้ งทะเลลึก ณ ที่ซ่ึงคลืน่ สึนามิสง่ ไม่ส่งผลกระทบอันใด อย่างไรกต็ ามระบบเตอื นภัยนสี้ ามารถทาการแจ้งเตอื นล่วงหนา้เพียงไมก่ ีช่ ่ัวโมงเท่านน้ั การอพยพผคู้ นมกั ทาได้ไมท่ ันท่วงทเี นอื่ งจากคล่นื สนึ ามิเดนิ ทางรวดเรว็ มาก ระบบเตือนภัยยุคใหม่ซ่ึงพัฒนาโดย องคก์ ารบริหารบรรยากาศและมหาสมทุ ร(NOAA) ประเทศสหรฐั อเมรกิ า ชอ่ื DART (ย่อมาจาก Deep-ocean Assessmentand Reporting of Tsunamis) ตดิ ตัง้ เซนเซอร์วดั แรงสั่นสะเทือนไวท้ ที่ อ้ งมหาสมทุ รเซนเซอร์เก็บขอ้ มูลแผน่ ดินไหวและสง่ สญั ญานไปยงั ทุ่นลอยซงึ่ อยบู่ นผวิ น้า เพอ่ื รีเลย์สญั ญาณไปยงั ดาวเทียม GOES และสง่ กลบั ลงบนสถานภี าคพน้ื อีกทีหนง่ึ (ภาพที่ 5)นักวทิ ยาศาสตร์จะนาข้อมูลทีไ่ ดม้ าสรา้ งแบบจาลองดว้ ยเคร่อื งคอมพิวเตอร์ เพ่อืพยากรณแ์ นวโนม้ การเกิดคลนื่ สึนามิ หากผลการจาลองและวเิ คราะห์วา่ มีโอกาสความเปน็ ไปได้จะเกดิ คล่นื ยักษ์ ก็จะแจ้งเตอื นไปยงั ศนู ยช์ ายฝงั่ เพอ่ื ใหป้ ระชาชนและชาวประมงในพืน้ ทีใ่ หร้ บี อพยพออกจากบริเวณท่ีอนั ตราย

ภูเขำไฟระเบดิ ภเู ขาเกิดจากการเปล่ียนแปลงลักษณะของเปลือกโลก ซึ่งแผ่นธรณีทวปี ดันกนั ทาใหช้ นั้ หินคดโค้ง (Fold) เปน็ รปู ประทุนควา่ และประทนุ หงายสลบั กัน ภเู ขาทีม่ ียอดแบนราบอาจเกิดจากการยกตัวของเปลือกโลกตามบรเิ วณรอยเล่ือน (Fault) แต่ภูเขาไฟ (Volcano) มีกาเนดิ แตกต่างจากภูเขาทั่วไป ภูเขาไฟเกิดจากการยกตวั ของแมกมาใต้เปลือกโลก ภาพท่ี 1 โครงสร้างของภูเขาไฟ

แมกมำ มือ่ แผน่ ธรณมี หาสมทุ รเคล่อื นทเี่ ข้าหากนั หรือปะทะกบั แผน่ ธรณที วปี แผน่ ธรณีมหาสมุทรซึง่ มคี วามหนาแน่นกว่าจะจมลงสูช่ ้ันฐานธรณภี าค และหลอมละลายกลายเป็นหนิ หนืดหรอื แมกมา (Magma) โดยมปี ัจจยั ทเี่ รง่ ให้เกดิ การหลอมละลาย ได้แก่ 1.ความรอ้ น: เมื่อแผ่นธรณีปะทะกันและจมลงส่ชู ้ันฐานธรณภี าค แรงเสียดทานซ่ึงเกิดจากการท่ีแผน่ ธรณที ้ังสองเสียดสกี นั จะทาให้เกดิ ความร้อน เร่งให้ผวิ ชัน้ บนของเปลอื กโลกมหาสมุทรทีจ่ มตวั ลง หลอมละลายกลายเป็นแมกมาได้ง่ายขน้ึ 2.นา้ ในช้นั ฐานธรณีภาค: หินเปียก (Wet rock) มีจุดหลอมเหลวต่ากวา่ หนิ แห้ง (Dryrock) เม่ือหนิ ในเปลือกแผน่ มหาสมุทรจมลงสู่ชน้ั ฐานธรณีภาค โมเลกุลของนา้ ซึง่ เปล่ยี นสถานะเปน็ ไอนา้ จะชว่ ยเรง่ ปฏกิ รยิ าใหห้ ินเกดิ การหลอมเหลวได้ง่ายขึ้น 3.การลดความกดดนั : ตามปกติหินใต้เปลอื กโลกจะหลอมละลายยากกว่าหนิ บนเปลอื กโลก เนือ่ งจากความกดดนั สงู ป้องกันหนิ ไมใ่ หเ้ ปล่ยี นสถานะเป็นของเหลว อย่างไรกต็ ามอุณหภูมิสูงของชน้ั ฐานธรณีภาค ทาให้หินหลอมละลาย ขยายตัวออก แล้วยกตวัลอยตวั สงู ขึ้น เม่ือหนิ หนืดรอ้ นขยายตวั ความกดดนั จะลดลง ทาให้หนิ ที่อยูใ่ นหน้าสมั ผัสบริเวณรอบข้างหลอมละลายได้ง่ายข้ึนแหล่งกำเนดิ ของแมกมำ แมกมาไม่ได้กาเนดิ ข้นึ ทว่ั ไปทกุ หนแหง่ ของโลก หากมอี ยแู่ ต่บรเิ วณท่ีรอยต่อของแผน่ ธรณบี างชนิด และบรเิ วณจุดร้อนของโลก 1.รอยตอ่ ของแผ่นธรณเี คลื่อนทอ่ี อกจากกัน: แมกมาจากชน้ั ฐานธรณภี าคลอยตวัข้นึ สู่พื้นผวิ โลก แรงดันท่ลี ดลงช่วยทาใหเ้ ปลือกโลกที่อย่ดู า้ นบนหลอมละลายเกิดเป็นสันเขาใตส้ มุทร และดันตวั ออกทางดา้ นข้าง กลายเป็นแผ่นธรณีมหาสมทุ รซ่ึงกาเนิดมาจากแมกมาหินบะซอลต์ ดังภาพที่ 2 ตัวอย่างเช่น สันเขาใต้มหาสมุทรแอตแลนติก อยา่ งไรก็ตามในบางแหง่ แมกมากย็ กตวั ข้นึ สแู่ ผน่ ธรณที วปี เช่น ทะเลสาบมาลาวี ในทวปี แอฟรกิ า ภาพที่ 2 แหลง่ กาเนิดแมกมาบริเวณสนั เขาใตม้ หาสมทุ ร

2.รอยต่อของแผ่นธรณีเคลอ่ื นทเ่ี ขำ้ หำกนั : การชนกนั ของแผน่ ธรณสี องแผน่ ในแนวมดุ ตวั (ubduction zone) ทาใหแ้ ผน่ ทีม่ ีความหนาแนน่ มากกวา่ จมตวั ลงตัวสชู่ นั้ ฐานธรณีภาค แรงเสยี ดทานซ่ึงเกิดจากการทแ่ี ผน่ ธรณีทง้ั สองเสยี ดสกี นั จะทาให้เกดิ ความร้อน นา้ ในแผน่ หินซึ่งระเหยกลายเปน็ ไอ ประกอบกับแรงกดดันที่ลดลง ช่วยใหห้ นิ หลอมละลายกลายเปน็ แมกมาได้เร็วขึน้ และแทรกตัวออกจากผิวโลกทางปลอ่ งภูเขาไฟ ดังภาพท่ี 3 ยกตัวอยา่ งเช่น ภูเขาไฟฟูจิ ในประเทศญป่ี ุ่น ภาพที่ 3 แหลง่ กาเนดิ แมกมาในเขตมดุ ตวั 3.จุดรอ้ น (Hotspot): แกน่ โลกชัน้ นอกมคี วามร้อนไมเ่ ท่ากนั ในบางจุดของแกน่ โลกมคี วามรอ้ นสูง จึงทาใหเ้ น้ือโลกชนั้ ล่างเหนอื บรเิ วณน้ันหลอมละลาย และแทรกตวั ลอยข้ึนมาตามช่องแมกมา (Magma plume) จดุ รอ้ นจะอยู่ ณ ตาแหน่งเดิมของแกน่ โลก แต่เปลอื กโลกจะเปล่ยี นทิศทางการเคลื่อนท่ผี า่ นจดุ ร้อน แมกมาท่ีโผล่ข้นึ สู่พืน้ ผวิ โลก จึงทาใหเ้ กดิ หมู่เกาะเรยี งตวั กันเปน็ แนว ดงั เชน่ หมู่เกาะฮาวาย โดยท่ีเกาะท่ีมอี ายมุ ากจะอยูห่ า่ งจากจุดรอ้ น เกาะทเ่ี กิดขึ้นมาใหมจ่ ะอยู่บนจุดร้อนพอดี ทิศทางการเรยี งตัวของหมูเ่ กาะจะขน้ึ อยูก่ ับทศิ ทางการเคล่อื นท่ีของแผ่นธรณี 4.แมกมาแกรนติ และ แมกมาบะซอลต์: ปกตแิ มกมาทเ่ี กิดจากชั้นหินใน เปลือกโลกมหาสมุทรหลอมละลายในชัน้ ฐานธรณีภาคจะเป็นแมกมาบะซอตล์ (Basaltic magma) แต่เมื่อแมกมาบะซอลต์ลอยตวั สงู ขึน้ ดันเปลอื กโลกทวปี ซงึ่ มี องคป์ ระกอบหลกั เป็นหินแกรนติ ก็จะหลอมละลายกลายเป็นแมกมาแกรนิต (Granitic magma) แต่เนือ่ งจากหินแกรนติ ซ่ึงมอี งค์ประกอบหลักเปน็ ซลิ กิ าซึง่ มีจุดหลอมเหลว ต่ากวา่ หนิ บะซอลต์ เราจึงมักพบว่า แมกมาแกรนติ มักเปลี่ยนสถานะเปน็ ของแข็ง ภายในเปลอื กโลก (Pluton) กลายเปน็ หินอคั นีแทรกซอน ส่วนแมกมาบะซอลต์มัก เย็นตัวบนพน้ื ผวิ โลกเรียกวา่ ลาวา (Lava) และกลายเปน็ หินอัคนีพุในที่สุด

ประเภทของภูเขำไฟ ภูเขาไฟมีรูปร่างสัณฐานต่างๆ กัน เน่ืองจากเกิดขึ้นจากแมกมาซ่ึงมีแหล่งกาเนิดแตกต่างกัน และมีองค์ประกอบของแร่แตกต่างกัน เราจาแนกชนิดของภูเขาไฟตามลักษณะทางกายภาพได้ 4 ประเภท ดังน้ี 1.ที่ราบสูงลาวา (Basalt Plateau): เกิดจากแมกมาบะซอลต์แทรกตัวขึน้ มาตามรอยแตกของเปลือกโลกแล้วกลายเป็นลาวาไหลท่วมบนพ้ืนผิว ในลักษณะเช่นเดียวกับน้าท่วม เมื่อลาวาเย็นตัวลงก็จะกลายเป็นที่ราบสูงลาวาขนาดใหญ่ประมาณ 100,000 ถึง 1,000,000 ตารางกิโลเมตร เช่น เกาะสกาย ประเทศอังกฤษ ภาพท่ี 5 ที่ราบสงู ลาวา (เกาะสกาย) 2.ภูเขาไฟรูปโล่ (Shield volcano): เกดิ ขน้ึ จากแมกมาบะซอลต์ที่มีความหนดื สูงไหลออกมาฟอร์มตัวเปน็ ทรี่ าบสูงลาวา แตค่ วามหนดื ทาใหแ้ มกมาก่อตัวเป็นภูเขาไฟขนาดใหญ่และอาจสงู ไดถ้ ึง 9,000 เมตร แตม่ ีลาดชนั เพยี ง 6 - 12 องศา ภูเขาไฟรปู โล่มกั เกดิ ขึ้นจากแมกมาซง่ึ ยกตัวขน้ึ จากจดุ ร้อน (Hotspot) ในเนอื้ โลกช้นั ล่าง(Lower mantle) ตวั อยา่ งเช่น ภเู ขาไฟมอนาคบี นเกาะฮาวาย ทก่ี ลางมหาสมทุ รแปซิฟกิ ภาพท่ี 6 ภูเขาไฟรปู โล่ (มอนาคี)

3.กรวยกรวดภเู ขาไฟ (Cinder cone): เป็นภูเขาไฟขนาดเล็กมาก สูงประมาณ100 - 400 เมตร ความลาดชนั ปานกลาง เกิดจากการสะสมตัวของแกส๊ รอ้ นในแมกมาที่ยกตัวข้ึนมา เมื่อมคี วามดันสูงเพียงพอ ก็จะระเบิดทาลายพ้ืนผวิ โลกดา้ นบนเกิดเปน็ ปล่องภเู ขาไฟ กรวดและเถา้ ภเู ขาไฟ กระเด็นข้ึนสูอ่ ากาศแล้วตกลงมากองทบั ถมกันบริเวณปากปลอ่ งเกิดเป็นเนินเขารูปกรวย (ภาพท่ี 7) ข้อสังเกตคือ ภเู ขาไฟแบบนี้ไมม่ ีธารลาวาซ่ึงเกดิ ข้นึ จากแมกมาไหล แต่จะมลี ักษณะเปน็ กรวดกลมๆ พุ่งออกมาจากปากปลอ่ ง แลว้ กองสะสมกันทาใหเ้ กดิ ความลาดชนั ประมาณ 30 - 40 องศา เช่นกรวยภูเขาไฟในรฐั โอรกี อน ประเทศสหรัฐอเมรกิ า ภาพที่ 7 กรวยกรวดภเู ขาไฟ 4.ภูเขาไฟกรวยสลับช้ัน (Composite cone volcano): เป็นภูเขาไฟขนาดปานกลาง ที่มีรูปทรงสวยงามเป็นรูปกรวยคว่า สูงประมาณ 100 เมตร ถึง 3,500 เมตรเรียงตัวอยู่บริเวณเขตมุดตัว (Subduction zone) เกิดขึ้นจากแผ่นธรณีมหาสมุทรที่หลอมละลายเป็นแมกมา แล้วยกตัวขึ้นดันเปลือกโลกข้ึนมาเป็นแนวภูเขาไฟรูปโค้ง(Volcanic arc) ส่ิงที่ภูเขาไฟพน่ ออกมามีทงั้ ธารลาวา และกรวดเถ้าภูเขาไฟ สลับช้ันกันไป เน่ืองจากในบางคร้ังแมกมาแข็งตัวปิดปากปล่องภูเขาไฟ ทาให้เกิดแรงดันจากแก๊สรอ้ น ดันให้ภูเขาไฟระเบิดและเปลี่ยนรูปทรง ตัวอย่างเช่น ภูเขาไฟฟูจิ ประเทศญ่ีปุ่น(ภาพที่ 8), ภูเขาไฟพินาตูโบ ประเทศฟิลิปปินส์, ภูเขาไฟเซนต์เฮเลน รัฐวอชิงตันประเทศสหรัฐอเมริกา ภูเขาไฟรูปกรวยเป็นแนวภูเขาไฟรูปโค้ง (Volcano arc) ซึ่งเกิดข้ึนจากแมกมาในบริเวณเขตมุดตัวของเปลือกโลกมหาสมุทรท่ีหลอมละลายประเภทนี้ระเบิด จะมคี วามรุนแรงสงู และกอ่ ให้เกิดความเสียหายเป็นอยา่ งมาก ภาพท่ี 8 ภเู ขาไฟกรวยสลบั ช้ัน (ฟจู ิ)

https://read.bookcreator.com/Sa8vv8ZY2lYYEGJifpPRaKRLiBk1/A4UwX5WkRfS5L8EyyQW-Xwhttps://read.bookcreator.com/qhp4KTqQkTcxv3s2cDs8V7RoEvt1/RWTk3-PeRqeKZEYFRpImaQ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook