Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore นวัตกรรมภาษาไทยSTRONG MODEL

นวัตกรรมภาษาไทยSTRONG MODEL

Published by พนิดา เรนชนะ, 2022-03-23 04:58:26

Description: นวัตกรรมภาษาไทยSTRONG MODEL

Search

Read the Text Version

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ก วิชาภาษาไทยด้วย STRONG MODEL นางสาวพนิดา เรนชนะ ตำแหน่ง ครู คศ.๑ โรงเรียนวดั รางกำหยาด ตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน จงั หวดั นครปฐม นางสาวพนิดา เรนชนะ ครูโรงเรยี นวดั รางกาหยาด นวตั กรรมการจดั การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยดว้ ย STRONG MODEL สำนกั งานเขตพ้นื ทก่ี ารศกึ ษาประถมศกึ ษานครปฐม เขต ๒

ข นวตั กรรมการจดั การเรยี นการสอนวิชาภาษาไทยดว้ ย STRONG MODEL นางสาวพนิดา เรนชนะ ครูโรงเรยี นวดั รางกาหยาด

๑ นวตั กรรม/การปฏบิ ัติที่เปน็ เลิศ(Best practices) ด้านการจัดการเรยี นการสอนกล่มุ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศกึ ษาประถมศกึ ษานครปฐม เขต ๒ ชือ่ ผลงาน : นวัตกรรมการจดั การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยด้วย STRONG MODEL ผ้เู สนอผลงาน : นางสาวพนิดา เรนชนะ ตำแหนง่ ครู คศ.๑ โรงเรียนวดั รางกำหยาด สงั กดั สำนกั งานเขตพนื้ ทก่ี ารศกึ ษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๒ ตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม รหัสไปรษณีย์ ๗๓๑๓๐ โทรศัพท:์ ๐๘๕-๘๘๗๔๘๒๒ E-mail: [email protected] ๑. ความสำคญั ของผลงานหรือนวตั กรรมทีน่ ำเสนอ ก่อนปี พ.ศ.๒๕๖๒ โรงเรียนวัดรางกำหยาดไม่มีครูผู้สอนตรงเอกสาขาวิชาภาษาไทย และ อัตรากำลังของครูมีการโยกย้ายตลอดเวลาจึงส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนไม่ได้เรียน ไปตามตัวชี้วัดทีก่ ำหนดในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และต่อมาในวนั ท่ี ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ ประชากรท่ัวโลก ได้รับรู้ว่ามีโรคปริศนาโดยไดร้ ับการยืนยันจากทางการจีนว่าเกิดโรคระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในเมืองอู่ฮ่ัน ประเทศจีน ต่อมาองค์กรการอนามัยโรค (WHO) ได้ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่ เป็น “การระบาดใหญ่” หรือ “Pandemic” และได้ประกาศชื่อที่เป็นทางการสำหรับใช้เรียกโรคทางเดินหายใจที่ เกดิ จากไวรัสโคโรนาสายพันธใ์ุ หม่วา่ “โควิด-ไนนท์ นี (Covid-19)” (BBC NEWS ไทย,๒๐๒๐) หลงั จากเชื้อลุกลาม ไปอย่างรวดเร็วในทุกภูมิภาคของโลกโดยการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นั้นจึงส่งผลกระทบต่อระบบ การศึกษาเป็นอย่างมากซึ่งประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ระบาดเกิดขึ้นในช่วงปลายภาคเรียนที่ ๒ นักเรียนช้ัน ประถมศึกษากำลังจะทดสอบความรู้ระดับชาติ (O-net) วัดผลสัมฤทธิ์ของภาคเรียนท่ี ๒ และเรียนต่อในระดับชนั้ มัธยมศึกษาปีที่ ๑ แต่ด้วยเชื้อเกิดการลุกลามขึ้นพื้นท่ีของสถานศึกษาได้เป็นพื้นที่ตอ้ งมีการควบคมุ สูงสถานศึกษา จึงต้องปิด เพื่อความปลอดภัยของบุคลากร กระบวนการจัดการเรียนการสอนต้องปรับโดยนำเอาเทคโนโลยีและ บรรดาเคร่อื งมอื ที่จะช่วยในการจดั กจิ กรรมการเรยี นการสอนทางไกล โดยการปรบั วธิ กี ารเรยี น เปล่ยี นสถานทสี่ อน ของครู และเปลี่ยนบ้านเป็นโรงเรียนให้นักเรียนไม่หยุดการเรียนรู้ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้ การเรียนรู้มีความหลากหลายมากขึ้น ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้เพื่อตอบสนอง นวตั กรรมการจดั การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยดว้ ย STRONG MODEL นางสาวพนดิ า เรนชนะ ครูโรงเรยี นวดั รางกาหยาด

๒ ความต้องการและความสนใจของตนเองมากขึ้น เกิดการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ อย่างหลากหลาย สิ่งท้าทายใหม่ของผู้สอน คือ จะทำอย่างไรให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีคุณภาพ ทำให้ ต้องคิดหารูปแบบการจัดการเรียนการสอนทีเ่ หมาะสมกับนักเรียนช้ันประถมศึกษาปที ี่ ๖ โรงเรียนวัดรางกำหยาด เพราะในแต่ละพื้นที่มีการแพร่ระบาดของโรคที่แตกต่างกันตามที่ ศบค.กำหนด ดังนั้น ศธ.จะไม่กำหนดรูปแบบใด รูปแบบหน่ึงเพื่อให้ทุกโรงเรียนจัดการเรียนการสอนเหมือนกันทั้งหมด โดยได้ต่อยอดรูปแบบ การจัดการเรยี นการ สอนเป็น ๕ รูปแบบ เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการรับมือกับการแพร่ระบาดระลอกใหมน่ ี้ คือ ๑.On-site เรียนท่ี โรงเรียน โดยมีมาตรการเฝ้าระวังตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (ศบค.) ๒.On-air เรียนผ่านมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ DLTV ๓.On-demand เรยี นผ่านแอปพลเิ คชนั ตา่ งๆ ๔.On-line เรยี นผ่านอินเตอร์เนต็ และ ๕.On-hand เรียน ท่ีบา้ นดว้ ยเอกสาร เช่น หนังสือ แบบฝึกหัดใบงาน ในรปู แบบผสมผสาน เปน็ ต้น ดงั นั้นทางผู้จดั ทำจงึ คิดคน้ รูปแบบ การสอน STRONG MODEL มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการจัดการศึกษาตาม นโยบายของรัฐ เป้าหมายการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ยกระดับผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทยระดับช้ัน ประถมศกึ ษาปีที่ ๖ โรงเรยี นวดั รางกำหยาด และการพัฒนาการจดั การเรยี นรู้ของผู้เรียน ๓ ด้าน ๒. จดุ ประสงค์ และเปา้ หมายของการดำเนินงาน จดุ ประสงค์ ๑.เพื่อยกระดบั ผลสัมฤทธว์ิ ิชาภาษาไทย โดยใช้ STRONG MODEL ๒.เพื่อให้นกั เรยี นได้รับการพฒั นาการประเมนิ ผลการจัดการเรียนร้ขู องผเู้ รียน ๓ ดา้ น เปา้ หมายของการดำเนนิ งาน เชิงปริมาณ นักเรยี นช้ันประถมศกึ ษาปีที่ ๖ ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๓ จำนวน ๑๖ คน โรงเรียนวดั รางกำหยาด เชงิ คุณภาพ ๑.นักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปีที่ ๖ มีผลสัมฤทธวิ์ ชิ าภาษาไทยสูงขึ้น ระดบั ๓ ข้นึ ไปรอ้ ยละ ๗๕ ๒.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับ ๓ ข้ึนไป รอ้ ยละ ๗๕ นวตั กรรมการจดั การเรยี นการสอนวชิ าภาษาไทยดว้ ย STRONG MODEL นางสาวพนดิ า เรนชนะ ครูโรงเรยี นวดั รางกาหยาด

๓ ๓. กระบวนการพฒั นาผลงาน/นวตั กรรม หรือข้ันตอนการดำเนนิ งาน ๓.๑ กระบวนการพัฒนาผลงาน/นวตั กรรม STRONG MODEL มีจุดประสงค์เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทย และพัฒนาการประเมินผลการ จดั การเรยี นรูข้ องผู้เรียน ๓ ด้าน (ดา้ นความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลกั ษณะอนั พึงประสงค์) ของนักเรียนช้ัน ประถมศึกษาปีที่ ๖ ในช่วงการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ โดยใช้เทคนิคกระบวนการวงจรคุณภาพเดมม่ิง PDCA และทฤษฎรี ะบบ (System Theory) มขี น้ั ตอนการพัฒนา ดงั น้ี ขั้นตอนท่ี ๑ ใช้ทฤษฎีระบบในการสำรวจและวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการเกี่ยวกับ การบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ของโรงเรียนโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทำให้ ทราบถึงสภาพแวดล้อมบรบิ ทและความต้องการจำเปน็ ของโรงเรยี นว่าขณะนี้อยู่ ณ จดุ ใด เพื่อจัดลำดับความสำคัญ และกำหนดกรอบในการพฒั นานวัตกรรมใหไ้ ดผ้ ลลัพธต์ ามวัตถุประสงค์ต่อไป ขั้นตอนท่ี ๒ การวางแผน (Plan) เป็นการออกแบบนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้มีคุณธรรม จริยธรรมตอ่ ตนเอง และส่วนรวม โดยใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนวชิ าภาษาไทยด้วย STRONG MODEL ที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนวัดรางกำหยาด จากผลสรุปของการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรคการพัฒนาโรงเรียน ในขั้นตอนท่ี ๑ โรงเรียนคุณภาพจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายและแนวทาง การดำเนินงานในอนาคตที่ชัดเจน จึงต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ให้มองเห็นภาพแห่งความสำเร็จที่ก่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงไปส่สู ่งิ ใหม่ ๆ ทม่ี คี วามท้าทายตอ่ โรงเรยี นด้วยปัจจยั ท่ีมีอิทธิพลทง้ั ภายในและภายนอก ขั้นตอนท่ี ๓ ปฏิบัติตามแผน (Do) เป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ เพื่อนำนวัตกรรมการจัดการเรียน สอนวิชาภาษาไทยด้วย STRONG MODEL ไปปฏิบัติใช้ในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านการเรียนรู้ โดยการกำหนดแนววิธีดำเนินการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในอนาคต เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีการประเมินผล การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน ๓ ด้าน (ด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์) เพื่อสร้าง คณุ คา่ ให้กบั โรงเรียนผา่ นกระบวนการการจดั การความร้ใู นโรงเรียนอยา่ งเป็นระบบ ขั้นตอนที่ ๔ การตรวจสอบ (Check) โรงเรียนมีระบบนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมิน และรายงานผล การดำเนินงานอย่างเป็นระบบ สะท้อนผลสำเร็จในการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัดแผนงานกิจกรรมที่กำหนดไว้ ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน การตรวจสอบคุณภาพ เป็นการประเมินสภาพแวดล้อม ปัจจัย กระบวนการ และผลผลิต สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในดา้ นต่าง ๆ ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สอบถาม ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อผู้เรียน และโรงเรียน ตามกระบวนการของทฤษฎีระบบ (System theory) จากนั้นจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในระดับปฏิบัติงาน และสร้างเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ ( PLC) ทง้ั โรงเรยี น นวตั กรรมการจดั การเรยี นการสอนวชิ าภาษาไทยดว้ ย STRONG MODEL นางสาวพนดิ า เรนชนะ ครูโรงเรียนวดั รางกาหยาด

๔ ขั้นตอนที่ ๕ การสะท้อนผล (Act) การนำนวัตกรรมการจัดการเรียนสอนวิชาภาษาไทยด้วย STRONG MODEL ไปใช้ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ นั้น เป็นการดำเนินงานตามแบบ P-D-C-A อย่าง ตอ่ เน่อื ง สอดคลอ้ งกบั รูปแบบของนวัตกรรมท่ีกำหนดไว้ โดยมีการประเมนิ ผล นิเทศ กำกับ ตดิ ตาม เพอ่ื นำผลการ ปฏิบัติมาปรับปรุงพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขั้น มีการให้รางวัล ยกย่องเชิดชูคนดี มีคุณธรรม และพัฒนาต่อ ยอดรปู แบบกิจกรรมใหต้ อ่ เนือ่ งและยัง่ ยนื คณุ ลักษณะทดี่ ี ความรู้เลิศ เกิดทกั ษะ ภาพแผนผงั STRONG MODEL จากภาพแผนผัง STRONG MODEL ดงั นี้ นางสาวพนดิ า เรนชนะ ครูโรงเรียนวดั รางกาหยาด นวตั กรรมการจดั การเรยี นการสอนวิชาภาษาไทยดว้ ย STRONG MODEL

๕ ๑. วงจรคุณภาพ (Deming Cycle) หมายถึง การจัดการอย่างมีคุณภาพเป็นกระบวนการที่ดำเนินการ ต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลผลิตและบริการที่มีคุณภาพขึ้น โดยหลักการที่เรียกว่าวงจรคุณภาพ (P-D-C-A) หรือวงจร เดมมิง่ ซง่ึ ประกอบดว้ ย ๔ ขัน้ ตอนคือ การวางแผน (Plan) การปฏบิ ัติตามแผน (Do) การตรวจสอบ (Check) และ การปรับปรงุ แกไ้ ข (Act) ๒. S (Survey & Search) : สำรวจและแสวงหา หมายถึง ครูมีการสำรวจด้านความพร้อมของตนเอง นักเรียน และผู้ปกครองก่อนการจัดการเรียนการสอน ทั้งในด้านของอุปกรณ์ เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ในการเรียนรู้ และเวลาที่พอเหมาะ เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน รวมทั้งนำผลสำรวจที่ได้มาค้นหารูปแบบและ แนวทางการจดั การเรยี นการสอนที่เหมาะสมในการจัดการเรยี นการสอนวิชาภาษาไทยระดบั ชนั้ ประถมศึกษาปีที่ ๖ ๓. T (Technology) : ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี หมายถึง ครูได้ทำการออกแบบการเรียนรู้ โดยดำเนินการ จัดรูปแบบการเรียนการสอนให้มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องโดยเริ่มตั้งแต่วิธีการ (Implement) กำหนดหน่วยการ เรียนรู้ / ตัวชี้วัด และรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ผ่านกิจกรรมการออกแบบการเรียนการสอนของครูผู้สอน และมกี ารนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจดั การเรียนการสอน ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะเนน้ ให้นักเรียนได้ ลงมอื ทำกจิ กรรมตา่ งๆด้วยตนเอง ทง้ั ในชั่วโมงเรียนวิชาภาษาไทยทใี่ หน้ กั เรยี นได้มีสว่ นรว่ มในการเรยี นรู้ การแสดง ความคิดเห็น การทำกิจกรรมเป็นรายบุคคล และการสอดแทรกคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การจัดการเรียน การสอน หรือการเรียนรู้นอกชั่วโมงเรียน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนใช้ทักษะด้านภาษา สื่อสารกับผู้อื่นใน ชีวิตประจำวันให้มากยิ่งขึ้น เลือกใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน เช่น Facebook YouTube line Zoom Google meet และการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนประยุกต์ใช้ในแรงจูงใจผ่านความ พยายามที่จะบรรลุเป้าหมาย โดยครูมีการตั้งคำถามผ่านเกม vonder go , wordwall , blooket และ bamboozle เป็นต้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ทุกรูปแบบการนำเทคโนโลยีมาสร้างสรรค์ทีมที่ พร้อมให้ความร่วมมือในการทำงาน และการเรียนรู้ โดยแบ่งเป็นดังนี้ ทีมโรงเรียน ประกอบไปด้วยผู้อำนวยการ และคณะครู ทีมนกั เรยี นประกอบไปดว้ ย นักเรยี น ผปู้ กครอง และครผู ้สู อน โดยครผู ้สู อนจะเปน็ ผู้ประสานงานหลัก ในแต่ละทีม โดยใช้เทคโนโลยี และแอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อสนับสนุนการทำงานของแต่ละทีมให้มีประสิทธิภาพ เพื่อการบริหารจดั การที่ดี และมีคุณภาพมากย่ิงขึ้น มีการรายงานและติดตามผลการเรยี นการสอนผ่านแอปพลิเค ชัน โดยแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ ๑) ผู้สอนมีการรายงานการจัดการเรียนการสอนให้ผู้อำนวยการโรงเรียนรับทราบ ๒) ผู้ปกครองและนักเรียนมีการวัดผลใบงาน กิจกรรมนั้นๆ เป็นระยะๆ เพื่อสะท้อนผลกลับไปยังนักเรียนในการ ปรับปรุงและพัฒนางานของตนเอง และเมื่อสิ้นสุดภาคเรียนวัดและประเมินผลผ่านการทำชิ้นงานการเรียนรู้ของ นักเรยี น โดยมวี ธิ ีทห่ี ลากหลาย เชน่ ประเมินใบงาน สังเกตพฤติกรรม สมั ภาษณ์ผ้ปู กครอง และแบบทดสอบ เป็น นวตั กรรมการจดั การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยดว้ ย STRONG MODEL นางสาวพนิดา เรนชนะ ครูโรงเรยี นวดั รางกาหยาด

๖ ต้น ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการวัดและประเมินผลให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เน้นในการใช้ทักษะ ภาษาสื่อสาร และการมีส่วนรว่ ม ๔. R (Reinforcement) : เสริมแรงอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง กลวิธีในการส่งเสริมให้นักเรียนเกิด พฤติกรรมที่คาดหวัง เพ่ือให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมนั้นซ้ำ ๆ อีก เช่น การให้รางวัล ยกย่อง ชมเชย เป็นต้น ซึ่งนักเรียนจะเกิดความภาคภูมิใจและสนใจในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ การเสริมแรง แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑) การเสริมแรงบวก เช่น นักเรียนทำใบงานเสรจ็ จะไดร้ บั สติ๊กเกอร์สะสมแต้มในการรับรางวัลจากครู ๒) การเสริมแรงลบ เช่น นักเรียนท่ีไม่ส่งใบงานหรือทำใบงานเสร็จไม่ทนั เวลาจะถูกหักแต้มสะสมสติก๊ เกอร์และใบ งานเพิ่ม การเกิดปฏิกิริยาในการตอบสนองโดยครูและนักเรียนต้องมีการวางเงื่อนไข และตั้งข้อตกลงที่ชัดเจนทุก ครง้ั รว่ มกันในการจดั กิจกรรมการเรียนการสอนของคาบเรียนน้ันๆ ๕. O (Onward) : เป้าหมายสู่ความสำเร็จ หมายถึง ครูผู้สอนมีการตั้งจุดประสงค์ที่ชัดเจน โดยจุดประสงค์นั้นเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทย และพัฒนาการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน ๓ ด้าน (ด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ในช่วงการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ โดยใช้เทคนิคกระบวนการวงจรคุณภาพเดมมิ่ง PDCA และทฤษฎี ระบบ (System Theory) ควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยด้วย STRONG MODEL ในการดำเนินการสามารถประเมินตามจุดประสงค์ได้ ดังนี้ ผลสัมฤทธ์ิวิชาภาษาไทย ผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาตขิ ั้นพื้นฐาน (O-NET) ประเมินสมรรถนะผ้เู รียน ๕ ดา้ น และการประเมินคณุ ลกั ษณะอนั พึงประสงค์ ๖. N (Network) : เครือข่ายสายสัมพันธ์ หมายถึง ครูมีการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่าง โรงเรียนกับโรงเรียน ครูกับครู ครูกับนักเรียน นักเรียนกับผู้ปกครอง ครูกับผู้ปกครอง และครูกับหน่วยงานต้น สังกัด ซึ่งมีระบบการนิเทศ กำกับติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ สะท้อน ผลสำเร็จในการดำเนินงาน เมื่อพบปัญหาจะมีแนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) เพือ่ นำขอ้ เสนอแนะมาแก้ปญั หาอยา่ งสร้างสรรค์และต่อเน่ือง ๗. G (Good adjustment) : ปรับเพื่อเปลี่ยนแปลง หมายถึง ผลลัพธ์ท่ีครูมุ่งหวังจากนักเรียน เพื่อให้ นักเรียนเกิดพฤติกรรมที่คาดหวัง คือ นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการเรียน สามารถอ่านออก เขียนได้ คิดวเิ คราะห์เป็น เกดิ ทักษะคุณภาพผู้เรยี นดา้ นสมรรถนะ และมคี ณุ ลกั ษณะอันพงึ ประสงค์ทีด่ ี สามารถดำเนินชีวิต ในสังคมได้อยา่ งมีความสขุ นวตั กรรมการจดั การเรยี นการสอนวิชาภาษาไทยดว้ ย STRONG MODEL นางสาวพนดิ า เรนชนะ ครูโรงเรียนวดั รางกาหยาด

๗ ๘. ผลลพั ธ์ทม่ี ุง่ หวังส่ผู ู้เรียน ๑.ความรู้เลิศ หมายถึง พฤติกรรมที่คาดหวังให้นักเรียนได้รับเนื้อหาความรู้จากครูผู้สอน สื่อเทคโนโลยี ใบงาน ใบความรู้ แบบฝึกหัด กจิ กรรมต่างๆ และแหล่งข้อมลู ที่นกั เรียนสนใจ โดยมงุ่ หวงั ให้นักเรียนเกิดทักษะตาม เป้าหมายของศรรตวรรษที่ ๒๑ ที่ชื่อว่า “๓R” แต่ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับวิชาภาษาไทย ผู้สอนจึงยกขึ้นมา ดำเนินการ ๒R นั่นคือ R ตัวที่ ๑ Reading ผู้เรียนสามารถอ่านออก และ R ตัวที่ ๒ คือ Riting ผู้เรียนสามารถ เขียนได้ ซึ่งทักษะทั้ง ๒R เป็นส่วนที่สำคัญมาก เพราะการอ่านออกเขียนได้นั้นจะต้องมีการบูรณาการ และพัฒนา ไปสู่รายวชิ าอน่ื ๆ ๒.เกิดทกั ษะ หมายถงึ พฤติกรรมทคี่ าดหวงั ให้นักเรยี นเกิดคณุ ภาพผ้เู รียนด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตามกรอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ที่สอดคล้องในการจัดการเรียนการสอน ดงั น้ี ๑. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ ภาษาถา่ ยทอดความคดิ ความรูค้ วามเขา้ ใจ ความรสู้ กึ และทศั นะของตนเองเพื่อแลกเปลย่ี นข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัด และลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผล และความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธกี ารส่ือสารที่มปี ระสิทธภิ าพโดยคำนึงผลกระทบที่มตี อ่ ตนเองและสงั คม ๒. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือ สารสนเทศเพ่อื การตดั สินใจเกี่ยวกบั ตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม ๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่ เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจ ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ แสวงหาความรู้ ประยุ กต์ความรู้มาใช้ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาและมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อ ตนเอง สังคมและสิง่ แวดล้อม ๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ใน การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกัน ในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ นวตั กรรมการจดั การเรยี นการสอนวชิ าภาษาไทยดว้ ย STRONG MODEL นางสาวพนดิ า เรนชนะ ครูโรงเรียนวดั รางกาหยาด

๘ อยา่ งเหมาะสม การปรบั ตวั ใหท้ ันกบั การเปล่ยี นแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จกั หลกี เลย่ี ง พฤตกิ รรมไมพ่ ึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อืน่ ๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยี ด้านต่างๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสรา้ งสรรค์ ถกู ตอ้ งเหมาะสม ๓.คุณลักษณะท่ีดี หมายถึง พฤติกรรมที่คาดหวังให้เกิดกับนักเรียน โดยที่นักเรียนมีคุณลักษณะ อันพึงประสงคต์ ามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน ๘ ประการ ดงั นี้ ๑. รักชาติ ศาสน์ กษตั ริย์ ๒. ซ่ือสัตย์สุจรติ ๓. มวี นิ ัย ๔. ใฝเ่ รียนรู้ ๕. อยู่อย่างพอเพียง ๖. มุง่ มนั่ ในการทำงาน ๗. รักความเป็นไทย ๘. มีจิตสาธารณะ ครผู ู้สอนคาดหวดั ใหเ้ กดิ จำนวน ๔ ประการ ดงั นี้ ๑. ซื่อสัตย์สุจริต ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อผู้อื่นทั้งทายกาย วาจา ใจ เช่น ไม่ถือเอาสิ่งของหรือ ผลงาน ของผูอ้ น่ื มาเปน็ ของตนเอง ปฏบิ ตั ิตนต่อผูอ้ ่ืนดว้ ยความซ่อื ตรงและไมห่ าประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้อง ๒. มีวินัย ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคม เช่น ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคม ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น และ ตรงตอ่ เวลาในการปฏิบตั กิ ิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันและรับผดิ ชอบในการทำงาน ๓. ใฝ่เรยี นรู้ ต้งั ใจเพียรพยายามในการเรยี น และเข้ารว่ มกิจกรรมการเรียนรู้ เชน่ ตง้ั ใจเรยี น เอาใจใส่ มี ความเพียรพยายามในการเรียนรู้ และสนใจเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆบันทึกความรู้ วิเคราะห์สรุปเป็นองค์ ความรู้ นวตั กรรมการจดั การเรยี นการสอนวิชาภาษาไทยดว้ ย STRONG MODEL นางสาวพนดิ า เรนชนะ ครูโรงเรียนวดั รางกาหยาด

๙ ๔.มุ่งม่ันในการทำงาน มงุ่ มั่นในการทำงาน ต้งั ใจและรับผดิ ชอบในการปฏบิ ตั ิหน้าที่การงาน เช่น เอาใจ ใส่ต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รบั มอบหมาย ตั้งใจ รับผิดชอบในการทำงานให้สำเร็จ ปรับปรุงพัฒนาการทำงานด้วย ตนเอง ทำงานด้วยความเพียรพยายาม อดทน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย แก้ปัญหาอุปสรรคในการทำงานให้ สำเรจ็ และชนื่ ชมผลงาน ด้วยความภาคภมู ิใจ ๔. ผลการดำเนินการ/ผลสมั ฤทธ์ิ/ประโยชน์ท่ไี ดร้ ับ ๑.รอ้ ยละของนกั เรียนที่มีผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียนตามหลกั สูตร สูงกว่าระดับ ๓.๕ ข้นึ ไป ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ผลสัมฤทธ์ทิ างการเรยี นวชิ าภาษาไทย ช้ัน ร้อยละนักเรียนทีไ่ ดร้ ะดับ ๓.๕ ขึ้นไป หมายเหตุ นกั เรยี นมีผลสมั ฤทธทิ์ างการเรียนวชิ า ระดบั ๔ ระดับ ๓.๕ ป.๖ ๗ ๗ ภาษาไทยสงู กวา่ ระดบั ๓.๕ ขึ้นไป ร้อยละ ๘๒.๓๕ ๒.ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ สูงกว่า ปี การศึกษา ๒๕๖๒ เปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดบั ชาติข้ันพ้นื ฐาน (O-NET) ผลต่าง รายวิชา ปี พ.ศ.๒๕๖๒ ปี พ.ศ.๒๕๖๓ ปี พ.ศ.๒๕๖๒ – ๒๕๖๓ ภาษาไทย ๔๖.๐๓ ๖๑.๘๓ +๑๕.๘๐ การทดสอบทางการศึกษาระดบั ชาติขนั้ พื้นฐาน (O-NET) ชนั้ ประถมศึกษาปีท่ี ๖ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ วชิ า ภาษาไทย (๖๑) คะแนนเฉลยี่ ปี ๒๕๖๒ คะแนนการทดสอบ(O-NET) วชิ าภาษาไทย (๖๑) คะแนนเฉล่ียประเทศ ๔๕.๑๓ คะแนนเฉล่ยี ปี ๒๕๖๓ คะแนนเฉล่ีย สพป. ๕๖.๒๐ ๖๑.๘๓ ๕๔.๙๖ นวตั กรรมการจดั การเรยี นการสอนวชิ าภาษาไทยดว้ ย STRONG MODEL นางสาวพนดิ า เรนชนะ ครูโรงเรยี นวดั รางกาหยาด

๑๐ ๓.ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมวี จิ ารณญาณ อภปิ รายแลกเปลยี่ นความคดิ เห็น และ แก้ปญั หาซง่ึ โรงเรยี นได้ทำการประเมนิ ดังนี้ ๓.๑ ประเมนิ สมรรถนะผเู้ รียน ช้ัน ผลการประเมินรายช้นั เรียน หมายเหตุ ดเี ย่ยี ม ดี ผ่าน เกณฑ์ ผู้เรียนมีสมรรถนะสำคัญสูงกว่าเกณฑ์ ผ่าน (ตามเกณฑ์การสรุปผลการประเมนิ ป.๖ ๒๙.๔๑ ๗๐.๕๙ - ดี สมรรถนะสำคัญของผเู้ รยี น) ๓.๒ ประเมินการอา่ น คดิ วเิ คราะห์ และเขยี นส่ือความ ชั้น ผลการประเมินรายชั้นเรียน หมายเหตุ ผเู้ รียนมีการอ่าน คดิ วเิ คราะห์ และ ดเี ย่ยี ม ดี ผา่ น เกณฑ์ ป.๖ ๒๙.๔๑ ๕๘.๘๒ ๑๑.๗๖ ดี เขียนสื่อความสูงกว่าเกณฑ์ดี (ตาม เกณฑ์การสรุปผลกาการอ่าน คิด วเิ คราะห์ และเขียนสอื่ ความ) ๔.ผลการประเมินคุณลักษณะอนั พงึ ประสงค์ในระดบั ดีเยยี่ ม ขึ้นไป ช้นั ผลการประเมินรายช้ันเรยี น หมายเหตุ ผู้เรียนมีคุณลกั ษณะอันพงึ ดีเยย่ี ม ดี ผ่าน ป.๖ ๗๕.๙๔ ๒๔.๐๖ ๐ ประสงค์ในระดบั ดีเยี่ยม ข้นึ ไป ร้อยละ ๗๕ ๕.นักเรียนได้รับทุนการศึกษา กิจกรรมประกวดนิทานเล่มเล็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โครงการ “คลังความรู้ นำสู่ความคิด เพื่อชีวิต สดใสแข็งแรง” โดยมูลนิธิเพื่อเยาวชนไทย สดใสแข็งแรง จำนวน ๓ รางวัล รางวัลชนะเลิศ เดก็ หญิงยุพารตั น์ อปุ เสน รางวลั รองชนะเลิศ เด็กหญงิ สทุ ธดิ า เยน็ ไธสง รางวลั ชมเชย เด็กชายสทิ ธิโชติ ศรแี สงทรัพย์ นวตั กรรมการจดั การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยดว้ ย STRONG MODEL นางสาวพนดิ า เรนชนะ ครูโรงเรียนวดั รางกาหยาด

๑๑ ๕. ปจั จัยความสำเร็จ วางแผนชดั เจนเปน็ ขั้นตอน ปรบั การสอนเรียบงา่ ยทันสมยั เทคโนโลยเี ป็นสอื่ มงุ่ ฝกั ใฝ่ เกิดทักษะสติปญั ญาคณุ ลักษณะทด่ี ี จากข้อความข้างต้น เป็นการดำเนินการวางแผนสร้างจดุ เริ่มต้นที่ดีเปรียบเสมอื น GPS ที่เป็นเส้นทางนำ ทางให้การจัดการเรียนการสอนดำเนินไปตามรูปแบบ (MODEL) ที่เกิดขึ้น เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้ ในทกุ พ้นื ทที่ กุ เวลาเกิดความรู้ มีทกั ษะกระบวนการนำไปสูค่ ณุ ลกั ษณอันพึงประสงค์ ๖. บทเรยี นท่ีไดร้ บั ๖.๑ ผลลพั ธ์ท่ไี ด้รับกบั ผู้บรหิ าร ๖.๑.๑ ผูบ้ ริหารไดข้ บั เคลื่อนการนำเทคโนโลยมี าปรับใช้ในการจดั การเรยี นสอนเพื่อแกป้ ัญหา ภายใตก้ ารบรหิ ารในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรสั โคโรนา ๒๐๑๙ ๖.๑.๒ ผ้บู รหิ ารไดม้ ีการติดตามนเิ ทศการจัดการเรยี นการสอนผ่านเทคโนโลยี ๖.๒ ผลลัพธ์ที่ได้รบั กบั ครู ๖.๒.๑ ครไู ดม้ ีการพัฒนาศักยภาพในการจดั การเรยี นการสอนทางไกลที่มปี ระสทิ ธิภาพขน้ึ ๖.๒.๒ ครูได้ปรับวธิ ีการสอนทีท่ นั สมยั ขึ้นไดส้ ร้างส่ืออเิ ล็กทรอนกิ ส์มาใชใ้ นการจดั การเรียนรู้ ใหก้ บั นักเรยี นเพื่อให้ทนั ต่อยุค ๔.๐ ท่ีมีการเปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็ว ๖.๒.๓ ครูสามารถประเมินผลนักเรยี นได้หลากหลายรปู แบบ ๖.๒.๔ ครูได้พัฒนาตนเองโดยเขา้ อบรมกับหน่วยงานต่างๆ ๖.๒.๕ ครูได้เข้ารว่ มสรา้ งผลงานดา้ นนวตั กรรมการจัดการเรยี นการสอน ๖.๓ ผลลพั ธท์ ี่ได้รบั กบั ผู้เรยี น ๖.๓.๑ นกั เรยี นมชี อ่ งทางในการเรยี นท่หี ลากหลายข้นึ สำหรับนกั เรยี นทมี่ ีความพร้อมทางด้าน อุปกรณ์ ทำใหไ้ ดเ้ รยี นหลกั สตู รได้อย่างต่อเน่ือง ๖.๓.๒ นักเรียนได้พฒั นาการใชเ้ ทคโนโลยีในการเรยี นรูม้ ากข้นึ ๖.๓.๓ นกั เรยี นเรยี นรแู้ ละทบทวนบทเรยี นได้ตลอดเวลา ๖.๔ บทเรยี นท่ไี ดร้ ับกับโรงเรียน ๖.๔.๑ โรงเรยี นมนี วตั กรรมที่นำมาแก้ปัญหาในการจดั การเรยี นการสอนภายใต้สถานการณก์ าร แพรร่ ะบาดของเชอื้ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ นวตั กรรมการจดั การเรยี นการสอนวชิ าภาษาไทยดว้ ย STRONG MODEL นางสาวพนิดา เรนชนะ ครูโรงเรยี นวดั รางกาหยาด

๑๒ ๖.๔.๒ โรงเรียนมสี ่อื เทคโนโลยีทค่ี ดิ คน้ สรา้ งสรรค์ และพัฒนาจากบุคลากรครเู พอ่ื นำมาใช้ในการ จดั การเรียนการสอน ผ่าน นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ๖.๔.๓ โรงเรยี นได้มีคลังสอ่ื บทเรยี นออนไลนท์ ี่สามารถนำไปใชใ้ นการจัดการเรยี นการสอนในช่วง สถานการณ์ปกติได้ ๖.๕ ผลลพั ธ์ท่ไี ดร้ บั กบั ผู้ปกครองและชุมชน ๖.๕.๑ ผู้ปกครองและชุมชนได้เข้ามามีส่วนรว่ มในการติดตามการเรียนของนักเรียนโดยผ่านช่อง ทางการสื่อสารระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน สามารถสร้างความเชื่อมั่นในการจัดการเรียน การสอน ๖.๕.๒ ผู้ปกครองสนับสนุนส่งเสริมทรัพยากรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เกิดประโยชน์ กับนักเรียน ๗. การเผยแพร่/การไดร้ บั การยอมรับ/รางวลั ทไี่ ดร้ ับ การเผยแพร่ ๑. ประชาสัมพันธ์ผา่ นเพจโรงเรียนวดั รางกำหยาด ๒. การแลกเปลีย่ นรูปแบบการสอนให้กบั ครูผสู้ อนในกลุ่มสาระการเรียนรวู้ ชิ าภาษาไทย และตา่ งกลุ่ม สาระการเรยี นรู้อืน่ ๆ ในโรงเรยี น และนำไปทดลองใชก้ ับระดับช้ันอ่ืน ๆ ๓. การแลกเปล่ยี นรปู แบบการสอนใหก้ ับครูกลมุ่ สาระการเรยี นรู้ภาษาไทยและกลมุ่ สาระ การเรยี นรอู้ ืน่ ๆ ตา่ งโรงเรียน รางวลั ที่ได้รับ ๑. ไดร้ ับการคดั เลอื กผลงาน ในระดับดีมาก จากการประกวด สื่อ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เครือขา่ ย ชุมชนวชิ าชีพของสำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศกึ ษาประถมศึกษานครปฐมเขต ๒ ๒. เข้าร่วมการประกวดนวัตกรรมการศึกษา เพอ่ื ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผเู้ รียนสู่การเป็นพลเมืองโลก ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ประเภทนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พน้ื ฐาน นวตั กรรมการจดั การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยดว้ ย STRONG MODEL นางสาวพนิดา เรนชนะ ครูโรงเรียนวดั รางกาหยาด

๑๓ นวตั กรรมการจดั การเรยี นการสอนวิชาภาษาไทยดว้ ย STRONG MODEL นางสาวพนิดา เรนชนะ ครูโรงเรียนวดั รางกาหยาด

๑๔ ภาคผนวก นวตั กรรมการจดั การเรียนการสอนวชิ าภาษาไทยดว้ ย STRONG MODEL นางสาวพนิดา เรนชนะ ครูโรงเรยี นวดั รางกาหยาด

๑๕ นวตั กรรมการจดั การเรยี นการสอนวิชาภาษาไทยดว้ ย STRONG MODEL นางสาวพนิดา เรนชนะ ครูโรงเรียนวดั รางกาหยาด

๑๖ เกียรตบิ ตั รและผลงานครทู สี่ อดคลอ้ งกบั นวตั กรรมการจัดการเรยี นการสอน วิชาภาษาไทยดว้ ย STRONG MODEL นวตั กรรมการจดั การเรยี นการสอนวิชาภาษาไทยดว้ ย STRONG MODEL นางสาวพนิดา เรนชนะ ครูโรงเรียนวดั รางกาหยาด

๑๗ ภาพเอกสารการสง่ ผลงานนักเรยี นกิจกรรมประกวดนทิ านเลม่ เล็ก ระดับชั้นประถมศึกษาปีท่ี ๖ โครงการ “คลังความรู้ นำสู่ความคิด เพ่อื ชีวติ สดใสแข็งแรง” โดยมลู นธิ เิ พื่อเยาวชนไทย สดใสแข็งแรง ซ่งึ สอดคลอ้ งกับการส่งเสริมทกั ษะการอา่ นออกเขยี นได้ และคดิ วิเคราะหเ์ ป็น นวตั กรรมการจดั การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยดว้ ย STRONG MODEL นางสาวพนดิ า เรนชนะ ครูโรงเรยี นวดั รางกาหยาด

๑๘ นวตั กรรมการจดั การเรยี นการสอนวิชาภาษาไทยดว้ ย STRONG MODEL นางสาวพนิดา เรนชนะ ครูโรงเรียนวดั รางกาหยาด


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook