Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วอลเลย์บอล

วอลเลย์บอล

Published by 36 นรภัทร เยาว์นุ่น, 2021-11-19 21:51:48

Description: วอลเลย์บอล

Keywords: กีฬา

Search

Read the Text Version

VOLLEYBALL กี ฬ า ว อ ล เ ล ย์ บ อ ล

ประวัติวอลเลย์บอล ประวัติวอลเลย์บอล กีฬาวอลเลย์บอลถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1895 โดยนายวิลเลียม จี. มอร์แกน และนายเจมส์ ไนท์สมิธ ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. เมืองฮอล โยค รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศอเมริกา ซึ่งได้เกิดขึ้นเพียง 1 ปี ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ ครั้งที่ 1 ณ กรุง เอเธนส์ โดยเขามีความคิดที่ต้องการให้มีกีฬาสำหรับเล่นใน ช่วงฤดูหนาวแทนกีฬากลางแจ้งเพื่อออกกำลังกายพักผ่อน หย่อนใจยามหิมะตก ประวัติวอลเลย์บอล เขาได้เกิดแนวความคิดที่จะนำลักษณะและวิธีการ เล่นของ กีฬาเทนนิสมาดัดแปลงใช้เล่น จึงใช้ตาข่ายเทนนิสซึ่งระหว่าง เสาโรงยิมเนเซียม สูงจากพื้นประมาณ 6 ฟุต 6 นิ้ว และใช้ ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น แล้วใช้มือและแขน ตีโต้ข้ามตาข่ายกันไปมา แต่เนื่องจากยางในของลูก บาสเกตบอลเบาเกินไป ทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าและทิศทางที่ เคลื่อนไปไม่แน่นอน จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกบาสเกตบอล แต่ลูก บาสเกตบอลก็ใหญ่ หนักและแข็งเกินไป ทำให้มือของผู้เล่นได้ รับบาดเจ็บ จนในที่สุดเขาจึงให้บริษัท Ant G. Spalding and Brother Company ผลิตลูกบอลที่หุ้มด้วยหนังและบุด้วยยาง มีเส้น รอบวง 25-27 นิ้ว มีน้ำหนัก 8-12 ออนซ์ หลังจากทดลอง เล่นแล้ว เขาจึงชื่อเกมการเล่นนี้ว่า “มินโทเนตต์” (Mintonette) ค.ศ.1896 ได้มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่ วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) นายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้สาธิตวิธีการเล่นต่อหน้าที่ประชุมหลังจากที่ ประชุมได้ชมการสาธิต ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Alfred T. Helstead) ได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจากมิน โทเนตต์ (Mintonette) เป็น “วอลเลย์บอล” (Volleyball) โดยให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นโต้ลูกบอลให้ลอยข้าม ตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้ลูกบอลตกพื้น ค.ศ. 1928 ดร.จอร์จ เจ ฟิเชอร์ (Dr. George J. Fisher) ได้ ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นวอลเลย์บอล เพื่อใช้ ในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในระดับชาติ และได้เผยแพร่ กีฬาวอลเลย์บอลจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกีฬา วอลเลย์บอล

ทักษะใน การ เล่น วอลเล่ย์ บอล

ทักษะที่1 การอันเดอร์วอลเล่ย์บอล ลักษณะท่าทางเตรียมเล่นบอลของผู้เล่นมีลักษณะดังนี้ 1. หงายมือทั้งสองข้าง 2. เอามือหนึ่งไปวางช้อนทับอีกมือหนึ่ง 3. รวบมือให้นิ้วหัวแม่มือชิดติดกัน มัด 4. ใช้มือใดมือหนึ่งกำหมัด 5. ใช้อีกมือหนึ่งโอบหมัด 6. ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองชิดติดกันกำมือ 7. กำมือทั้งสองข้าง 8. นำมือทั้งสองข้างมาชิดกัน 9. ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างเสมอกัน ท่าการอันเดอร์ 1. ยืนเท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ข้างหน้าห่าง กัน ประมาณ 1 ช่วงไหล่ 2. ย่อเข่าลงให้หัวเข่าเลยปลายเท้า เล็กน้อยก้มลำตัวให้หัวไหล่อยู่ในแนว ระดับของเข่า 3. ยกส้นเท้าขึ้นเล็กน้อย น้ำหนักตัว อยู่ที่ปลายเท้าทั้งสองข้าง ตรง บริเวณโคนหัวแม่เท้า ใต้ฝ่าเท้า 4. จับมือในท่าที่ถูกต้อง แขนทั้งสอง เหยียดตึง ตามองที่ลูกบอล

ทักษะที่ 2 การส่ง ( เซ็ท ) 1. ยกมือทั้งสองขึ้นประมาณหน้าผาก มือทั้งสองห่างจากใบหน้าประมาณ 1 กำมือ ( 10 เซนติเมตร) 2. กางนิ้วออก กางข้อศอกออกเล็กน้อย ข้อศอกอยู่ระดับเสมอไหล่หรือสูง กว่าเล็กน้อย กางนิ้วออก นิ้วงอเป็น 3. เคลื่อนที่ไปที่ลูกบอลจะตกให้ลูกบอลอยู่เหนือศีรษะบริเวณหน้าผาก 4. ย่อเข่า ยกมือให้จุดสั มผัสบอลกับนิ้วมือห่างจากหน้าผาก 20 ซ.ม

ทักษะที่ 3การตบลูกวอลเลย์บอล ท่าการตบ 1. การวิ่งเคลื่อนที่เข้าหาจุด 2. เตรียมกระโดดห่างจากจุดที่ลูกบอลตก ประมาณ 1 ฟุต 3. กระโดดเหวี่ยงแขนทั้งสองไปข้างหลัง น้ำ หนักตัวไปข้างหลัง เข่างอ 4. เหวี่ยงแขนทั้งสองขึ้นข้างหน้า พร้อมกับ ถีบเท้าทั้งสองกระโดดลอยตัว ขึ้นตรง ๆ 5. แขนขวาเงื้อไปข้างหลัง งอแขนเล็กน้อย แบมือ ตามองดูบอลตลอดเวลา 6. จังหวะที่จะตบ ให้กดไหล่ซ้ายลง พร้อม กับตบลูกบอลให้แรงส่งจากข้อมือ ศอก ไหล่ และลำตัว 7. ลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้งสองในลักษณะย่อตัว

ทักษะที่ 4 การสกัดกั้น ( ป้องกันการตบ ) ท่าการสกัดกั้น 1. ยืนแยกเท้าออกประมาณ 1 ช่วงไหล่ 2. มือทั้งสองยกขึ้นกางฝ่ามือออก 3. งอเข่าเล็กน้อย 4. ศีรษะตั้งตรงมองไปข้างหน้า 5. กระโดดขึ้นเพื่อสกัดกั้นลูกตบของฝ่ายตรงข้าม

ทักษะที่ 5 การเสิร์ฟ

การเสิร์ฟในลักษณะต่างๆ 1. เสิร์ฟแบบมือล่าง เป็นเทคนิคการเสิร์ฟที่ง่ายที่สุด เหมาะสำหรับผู้ เล่นที่เริ่มหัดใหม่ และผู้หญิง 2. เสิร์ฟแบบมือบน การเสิร์ฟแบบนี้ทำให้ผู้รับรับได้ยากกว่าการเสิร์ฟ ลูกมือล่างธรรมดาเป็นการเสิร์ฟ ลูกวอลเลย์บอลเหนือศีรษะ มีความ แม่นยำของตำแหน่งที่เรามุ่งที่จะเสิร์ฟ 3. เสิร์ฟแบบฮุคหรือแบบวินมิล ผู้เล่นต้องมีสมรรถภาพ กลไกของ ความแข็งแรงกับความคล่องแคล่วคล่องว่องไวเป็นอย่างดี การ เสิร์ฟลูกวอลเลย์บอลลักษณะนี้มักจะทำให้ลูกวอลเลย์บอลหมุนเหมาะ สำหรับผู้เล่นที่มีลักษณะสูงใหญ่ 4. เสิร์ฟแบบลอยบอล ทักษะการเสิร์ฟ 2 แบบนี้ ลักษณะสำคัญคือ การเสิร์ฟที่ทำให้ลูกวอลเลย์บอล ไม่หมุนเพราะมีการเบี่ยงเบนทิศทาง การไหลผ่านของอากาศต่อลูกวอลเลย์บอล แตกต่างกัน ซึ่งทำให้ ความกดดันของอากาศที่ไหลผ่านผิวของลูกวอลเลย์บอลแตกต่าง กันทำให้การรับเพื่อโต้ตอบยากมากขึ้น 5. เสิร์ฟแบบกระโดดตบ ทำให้สามารถลอยตัวเข้าไปในสนามได้ แต่ คนเสิร์ฟจะต้องโยนลูก วอลเลย์บอลให้สูง และใช้แรงมากในการกระ โดดให้สูงที่สุด เหมือนกับกระโดดตบลูกวอลเลย์บอล มักจะมีความ ผิดพลาดสูง 6. การเสิร์ฟหยอด เป็นการเสิร์ฟที่ทำได้ทั้งมือล่าง และมือบน แต่การ แข่งขันในสนามจริง มักใช้ มือบนในการเสิร์ฟหยอดซึ่งเทคนิคการ เสิร์ฟรูปแบบนี้ที่สำคัญ คือการใช้แรงกระทบลูกที่เบา หรือใช้ความเร็ว ของมือเสิร์ฟให้ช้าเพื่อให้ลูกตกในระยะหน้าต่าข่ายของฝ่ายตรงข้ามให้ ใกล้ที่สุด

การเล่นของทีมวอลเลย์บอล

วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ต้องเล่นเป็นทีมที่ ประกอบด้วยผู้เล่นหลายคน ในการสร้าง ทีมวอลเลย์บอลจึงต้องพิจารณาองค์ ประกอบต่าง ๆ ของการเล่น วอลเลย์บอลเพื่อเตรียมความพร้อมให้ กับทีม โดยองค์ประกอบในการเล่นที่ควร พิจารณาคือ 1. ตำแหน่งการเล่นของผู้เล่นในทีม 2. ตำแหน่งของผู้เล่นที่ลงสนาม 6 คน 3. รูปแบบการรับลูกเสริฟ 4. รูปแบบการรุก 5. รูปแบบการรองบอล 6. รูปแบบการรับตำแหน่งของผู้เล่นใน ทีมกระบวนการเริ่มแรกของการสร้างทีม

การยืนตำแหน่งหลังจากการเสริฟ เมื่อทีมเป็นฝ่ายได้สิทธิ์ในการเสริฟ หลังจากที่ผู้เล่นเสริฟบอลไป แล้วผู้เล่นทุกคนจะต้องยืนประจำตำแหน่งของตนเองเพื่อ เตรียมทำการป้องกันการรุกของคู่ต่อสู้ โดยทั่วไปรูปแบบของ ตำแหน่งหลังจากการเสริฟมีดังนี้ รูปแบบที่ 1 รูปแบบที่ 2

การรับลูกเสริฟ การรับลูกเสริฟเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเล่นเป็นทักษะที่มีผลต่อการรุกข องทีม หากการรับลูกเสริฟของทีมไม่มีประสิทธิภาพ โอกาสในการรุกทำคะแนน ของทีมจะลดน้อยลงทันที หลักการของการรับลูกเสริฟ – เป้าหมายของการรับลูกเสริฟคือการบังคับ ลูกบอลให้ลอยไปยังพื้นที่การเซตของผู้เล่นตัวเซตบริเวณหน้าตาข่าย ซึ่งใน สถานการณ์แข่งขันผู้เล่นตัวเซตจะอยู่บริเวณส่วนใดหน้าตาข่ายอาจขึ้นอยู่กับ แผนการรุก ไม่จำเป็นที่ผู้เล่นตัวเซตจะต้องอยู่ระหว่างตำแหน่ง 2 และ 3 เท่านั้น (ดูภาพประกอบ)

รูปแบบการรับลูกเสริฟ รูปแบบการรับลูกเสริฟมีหลายรูปแบบในการเลือกใช้ รูปแบบใดต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับความสามารถ ในการรับของผู้เล่นในทีม ระบบการรุกที่ทีมเลือกใช้ การรับแบบตัวเอ็ม W การรับแบบตัวเอ็ม M การรับแบบ Roof

การรุก การรุกหรือโจมตีในกีฬาวอลเลย์บอลมี 2 วิธี หลักๆ คือ การตบและการหยอด ซึ่งการตบหรือ หยอดก็จะมีหลากหลายรูปแบบ การใช้วิธีการตบ ลักษณะใดขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่น ประสบการณ์และคู่ต่อสู้

กติกา การเล่น วอล เลย์ บอล

การแข่งขัน ใช้การเสี่ยงเลือกเสิร์ฟหรือเลือกแดน ก่อน แข่งให้วอร์มที่ตาข่าย 3 ถึง 5 นาที ถ้าทั้ง 2 ทีม ตกลงวอร์มพร้อมกันให้วอร์มที่ตาข่าย ได้ 6 - 10 นาที

ตำแหน่งของผู้เล่น การเสิร์ฟ ในขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการ เสิร์ฟ ผู้เล่นแต่ละคน จะเสิร์ฟโดยผู้เล่นที่อยู่ใน ต้องอยู่ในแดนของตน ผู้ ตำแหน่งหลังขวาที่อยู่ในเขต เล่นแถวหน้า 3 คน แถว เสิร์ฟ การกำหนดทีมที่จะ หลังแต่ละคนจะต้องอยู่ เสิร์ฟ ลูกแรกในเซตที่ 1 และ ด้านหลังของคู่ของตนที 5 โดยการเสี่ยง ต้องเสิร์ฟ เป็นผู้เล่นแถวห น้า การ ตามลำดับที่บันทึกไว้ เมื่อโยน เล่นผิดตำแหน่งจะเป็น ออกไปเพื่อเสิร์ฟแล้ว ต้องใช้ ฝ่ายแพ้ในการเล่นลูก มือหรือส่วนใดของแขนข้าง เดียว กระโดดเสิร์ฟได้ ต้อง ครั้งนั้น การหมุน เสิร์ฟลูกภายใน 5 วินาที หลัง ตำแหน่งต้องหมุนตาม จากผู้ตัดสินเป่านกหวีด ถ้า เสิร์ฟพลาดไม่ถูกลูก ผู้ตัดสิน เข็มนาฬิกา จะให้เสิร์ฟใหม่ภายใน 3 นาที การเล่นลูกบอล ผู้เล่นสามารถที่จะนำลูกบอลจาก การเปลี่ยนตัวผู้เล่น นอกเขตสนามกลับเข้ามาเล่นต่อ เปลี่ยนตัวได้มากสุด 6 คน ได้ ทีมหนึ่งสามารถถูกลูกบอลได้ ต่อเซต แต่ละครั้งจะ มากที่สุด 3 ครั้ง ยกเว้นเมื่อ เปลี่ยนกี่คนก็ได้ ผู้ที่เริ่ม ทำการบล็อก (ได้ 4 ครั้ง) ผู้เล่น เล่นในเซตนั้น จะเปลี่ยนตัว หนึ่งคนจะถูกลูกบอล 2 ครั้ง ติด ออกได้ 1 ครั้งและกลับเข้า ต่อกกันไม่ได้ ยกเว้นการบล็อก มาเล่นได้อีก 1 ครั้ง ใน ถ้าผู้เล่นถูกลูกพร้อมกัน 3 คน ก็ ตำแหน่งเดิม ผู้เล่นสำรอง ถือว่าถูก 3 ครั้ง ถ้าถูกพร้อมกัน จะเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นได้ เหนือตาข่ายก็จะไม่นับ ถ้าลูกบอล เพียงครั้งเดียวในแต่ละเ ออกถือว่าฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามทำ ซต และผู้เปลี่ยนเข้ามา ออก ถ้ายึดลูกบอลเหนือตาข่าย ต้องเป็นผู้เล่นคนเดิม จะต้องเล่นใหม่ ลูกบอลที่ชน ตาข่ายยังเล่นต่อไปได้จนครบ 3ครั้ง ตามกำหนดยกเว้นการ เสิร์ฟ

การตบลูกบอล ผู้เล่นในแดนหน้าสามารถตบลูกบอลด้วยวิธีใดก็ได้จากแดนของตน เองใ นความสูงทุกระดับ โดยในขณะที่สัมผัสลูกบอลนั้น ลูกบอลจะ ต้องอยู่ในแดนของตนเองเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด ก็ได้ ส่วน ผู้เล่นในแนวหลังสามารถกระโดดตบลูกได้ แต่จะต้องตบจากเขตแดน หลัง การตบลูกบอลดังกล่าวหากไม่เป็นตามกติกาข้อนี้ถือว่าเสีย การบล็อก ผู้เล่นแถวหน้าเท่านั้นที่บล็อกได้ จะบล็อกเป็นรายบุคคลหรือ กลุ่มก็ได้ เมื่อบล็อกได้แล้วยังถูกลูกได้อีก 3 ครั้งห้ามบล็อกลูก เสิร์ฟ สามารถใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้าถูก ลูกบอลได้ การล้ำแดนผิดระเบียบ ก่อนหรือระหว่างการตบของคู่ต่อสู้ หรือ สัมผัสลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้เข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ขณะที่ลูกบ อล ยังอยู่ในการเล่น และตัวผู้เล่นถูกตาข่ายหรือเสาอากาศถือ เป็นการล้ำแดนที่ผิดกติกา การขอเวลานอก ขอได้ 2 ครั้งต่อเซต ไม่ให้เปลี่ยนตัว 2 ครั้งต่อเนื่องกัน การขอเวลานอกมี เวลา 30 วินาที ในระหว่างการขอเวลานอกผู้เล่นทุกคนต้องออกไปอยู่ บริเวณเขตรอบสน ามใกล้ม้านั่ง การเปลี่ยนตัวมากกว่า 1 คน\\ ให้แจ้งก่อนและเปลี่ยนทีละคู่ตามลำดับ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ถ้ามีเหตุระหว่างเล่นให้หยุด แล้วเล่นลูกนั้นใหม่ถ้ามีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้อง หยุดนานไม่เก ิน 4 ชม.ถ้าทำการแข่งขันใหม่ใช้สนามเดิม เซตที่หยุดการ แข่งขันจะนำมาแข่งขันตามปกติ ถ้าใช้สนามอื่นให้ยกเลิกเซตนั้นแล้วเริ่มต้น ใหม่ ผลของเซตที่ผ่านมามีผลเหมือนเดิม ถ้าหยุดเกิน 4 ชั่วโมงต้องเริ่ม แข่งใหม่ทั้งหมด การหยุดพัก พักระหว่างเซตแต่ละเซตพักได้ไม่เกิน 30 วินาที ส่วน การพักเซตที่ 4 และเซตที่ 5 พักได้ 5 นาที ทั้งสองทีม ต้องตั้งแถวที่แนวเส้นหลังทันทีที่ผู้ตัดสินเรียกลงส นามแข่งขันต่อ และเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในแต่ละเซต ทั้งสองทีมต้องเปลี่ยนแดนกัน นอกจากเซตตัดสิน

การเปลี่ยนแดน เมื่อเสร็จแต่ละเซตทั้ง 2 ทีมจะต้องเปลี่ยน แดนยกเว้นเซตตัดสิน เซตตัดสินทีมใดได้ 8 คะแนนน ให้เปลี่ยนแดนทันทีและ ตำแหน่งของผู้เล่นเป็นตามเดิม ข้อห้ามของผู้เล่น ห้ามมิให้ผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะของแข็งใน ระหว่างการแข่งขันทุกชนิด มารยาทของผู้เล่น ผู้เล่นต้องยอมรับผลการแข่งขัน สุภาพอ่อนโยนต่อผู้ตัดสิน และฝ่ายตรงข้าม ไม่ควรแสดงท่าทางและทัศนะคติที่ใม่ดี ระหว่างแข่งขันหรือแสดงพฤติกรรมอื่ นใดที่ไม่เป็นการสุภาพ ต่อผู้อื่ น a little bit of body text

ประโยชน์ของการเล่น วอลเลย์บอล

1. เบิร์นไขมัน ผลาญแคลอรี วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยลดน้ำหนัก ได้ดีเลยล่ะค่ะ เพราะจากการรายงานของคณะ แพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทำให้เรา ทราบว่า เพียงเล่นวอลเลย์บอลแบบชิล ๆ สัก ครึ่งชั่วโมงหรือในครึ่งแรกของเกม ร่างกายก็ จะเบิร์นแคลอรีได้ประมาณ 90-133 กิโล แคลอรี (แล้วแต่น้ำหนักของแต่ละบุคคล) แต่ หากเล่นวอลเลย์บอลแบบแข่งขันจริงจัง ร่างกายอาจเผาผลาญไขมันได้ประมาณ 120- 178 กิโลแคลอรี ยิ่งถ้าเล่นวอลเลย์บอล ชายหาดจนจบเกม (ราว 1 ชั่วโมงต่อเนื่อง) ก็ จะยิ่งเบิร์นไขมันได้มากขึ้นไปอีก ประมาณ 480 กิโลแคลอรี 2. กระชับกล้ามเนื้อและช่วยเฟิร์มร่างกาย กีฬาวอลเลย์บอลจัดเป็นการออกกำลังกาย แบบแอโรบิกที่ไม่เพียงแต่ช่วยกระตุ้นการทำงาน ของระบบหัวใจและหลอดเลือดเท่านั้น แต่การ เคลื่ อนไหวร่างกายด้วยการเล่นวอลเลย์บอลยัง ช่วยกระชับกล้ามเนื้อส่วนบนตั้งแต่หัวไหล่ แขน ลำตัว รวมไปถึงกล้ามเนื้อส่วนล่างไปพร้อม ๆ

3. ดีต่อใจ แน่นอนค่ะว่าการเคลื่อนไหวร่างกายไม่ว่าจะในรูปแบบไหน ก็ทำให้หัวใจ เต้นแรงขึ้น อัตราการสูบฉีดเลือดดีขึ้น โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวกับกีฬาที่ ต้องใช้ความคล่องตัวค่อนข้างสูงอย่างวอลเลย์บอล ก็ชัวร์อยู่แล้วว่าการไหล เวียนโลหิตในร่างกายจะดีมากขึ้น โดยเฉพาะหากเล่นเป็นประจำ หรือแม้แต่ ออกกำลังกายอย่างอื่นอยู่เสมอ ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายก็จะทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม และเมื่อระบบหัวใจและหลอดเลือดทำงาน ได้ดี สุขภาพโดยรวมก็จะดีตามไปด้วย 4. เพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ต้องใช้ร่างกายทุกส่วน โดยเฉพาะร่างกายส่วนบนที่ต้องอาศัยแรงจาก กล้ามเนื้อหน้าอก แขน ไหล่ ในการตบลูกวอลเลย์ พร้อมกันนั้นกล้ามเนื้อต้นขาตลอดจนข้อเท้าก็ต้องใช้ แรงจากกล้ามเนื้อมากพอ ๆ กัน ดังนั้นนี่จึงเป็นกีฬาอีกชนิดหนึ่งที่เพิ่มโอกาสในการสร้างความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อตั้งแต่ส่วนบนของร่างกาย จรดกล้ามเนื้อส่วนร่างของร่างกายเลยทีเดียว 5. พัฒนาระบบประสาทเชื่อมโยงของร่างกาย การจะเล่นวอลเลย์บอลให้ดีตาต้องว่อง เท้าต้องไว มือก็ต้องเร็ว เพราะทุกอวัยวะของร่างกายจะถูก ใช้งานพร้อม ๆ กัน ฉะนั้นระบบประสาทเชื่อมโยงจะถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น เป็นการพัฒนาความ สามารถของระบบประสาทเชื่อมโยงและระบบประสาทสัมผัส ที่ส่งผลดีต่อการเชื่อมโยงระบบกล้ามเนื้อ ด้วย

6. ช่วยพัฒนาระบบความคิด กีฬาวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่แต้มไหลเร็ว ดังนั้นการวางแผนในการเล่นจึงมีความ จำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้ไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งหากเราฝึกเล่น บ่อย ๆ ไหวพริบในการเดินเกมเพื่อเอาชนะคู่แข่งก็จะถูกพัฒนาไปเรื่อย ๆ ได้ใช้ความคิด ในการตรึกตรองและวางแผนอย่างมีระบบมากขึ้นโดยอัตโนมัติ 7. เพิ่มศักยภาพในการออกกำลังกาย ผลการศึกษาจาก Well Source’s Aerobic Mile Chart เผยข้อมูลว่า แค่เราเล่น วอลเลย์บอลประมาณ 12 นาที โดยที่เคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา ก็จะใช้แรงเทียบ เท่ากับการวิ่งจ๊อกกิ้ง 1 ไมล์ หรือราว ๆ 1.6 กิโลเมตร แต่หากเล่นวอลเลย์บอลแบบขำ ๆ ชิล ๆ สัก 20 นาทีก็ได้ออกแรงเท่ากับวิ่งจ็อกกิ้ง 1.6 กิโลเมตรเหมือนกันค่ะ 8. เพิ่มความคล่องตัว การเล่นวอลเลย์บอลเราแทบจะต้องเคลื่อนไหวร่างกายตลอดทั้งเกม ดังนั้น นอกจากกีฬาชนิดนี้จะช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญได้เป็นอย่างดีแล้ว ก็ยัง ช่วยให้เพิ่มความแอคทีฟให้ระบบการเคลื่อนไหวของร่างกายเราด้วย พร้อมทั้งยังช่วย เพิ่มศักยภาพโดยรวมของร่างกายได้ดีไม่ต่างจากกีฬาชนิดอื่ นหรือการออกกำลังกาย แบบอื่น ๆ

9. ช่วยคลายเครียด การได้ออกแรง ได้เคลื่อนไหวร่างกายจะทำให้สารแห่ง ความสุขหรืออะดรีนาลินหลั่งออกมา การเล่นวอลเลย์บอลหรือ แม้แต่การออกกำลังกายประเภทอื่ นจึงช่วยคลายเครียดให้เราได้ อีกทั้งวอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภททีมที่ต้องเล่นกันหลาย ๆ คน ความสนุกในเกมจึงมีมากกว่าการออกกำลังกายคนเดียว หรือเล่นกีฬาประเภท เดี่ยว และยังทำให้เกิดความเพลิดเพลินใน การเล่นเพิ่มขึ้นด้วย

10. เชื่อมสัมพันธ์กับคนรอบข้าง วอลเลย์บอลจะต้องมีผู้เล่น คนในทีม ดังนั้นการพูดคุย การวางแผนเกมการเล่น และความสามัคคีของทีมจะเกิดขึ้นใน ระหว่างที่เล่นวอลเลย์บอลอย่างแน่นอน ดังนั้นใครที่ไม่ชอบออก กำลังกายคนเดียวเหงา ๆ หรือพออยู่คนเดียวแล้วไม่มีแรง บันดาลใจในการออกกำลังกาย ไปค่ะ...ไป สนามวอลเลย์บอล แล้วฟอร์มทีมมาเล่นวอลเลย์บอลได้เลย !


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook