Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สื่อการเรียนการสอนสังคมศึกษา ม.1 พระพุทธศาสนา

สื่อการเรียนการสอนสังคมศึกษา ม.1 พระพุทธศาสนา

Published by ธนภรณ์ มาพันชวน, 2021-10-10 13:59:12

Description: สื่อการเรียนการสอนสังคมศึกษา ม.1 พระพุทธศาสนา

Search

Read the Text Version

หนังสอื เรยี น รายวิชาพ้นื ฐาน พระพทุ ธศาสนา ม. 1 ชัน้ มัธยมศกึ ษาปท่ี 1 กลมุ สาระการเรยี นรสู งั คมศกึ ษา ศาสนา และวฒั นธรรม ตามหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพนื้ ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 ผูเรยี บเรยี ง รศ. ดร.จรสั พยัคฆราชศักด์ิ ป.ธ. 6, ศน.บ., M.A., Ph.D. สมพร ออนนอม พธ.บ. (เกียรตนิ ยิ ม), นศ.บ. ประจวบ ตรภี ักด์ิ พธ.บ., สส.ม. ผตู รวจ ธํารง อมโร ป.ธ. 5, ศษ.บ., ค.ม. ผศ. ดร.ธรี ะพงษ มีไธสง ป.ธ. 9, พธ.บ., อ.ม., ปร.ด. ผศ. ดร.บัญญตั ิ สาลี พธ.บ., ศศ.ม., ปร.ด. บรรณาธกิ าร สุระ ดามาพงษ กศ.บ., กศ.ม. บุญรตั น รอดตา ศษ.บ.

หนงั สอื เรียน รายวิชาพน้ื ฐาน พระพุทธศาสนา ม. 1 ช้นั มธั ยมศึกษาปท ี่ 1 กลมุ สาระการเรยี นรูส ังคมศกึ ษา ศาสนา และวฒั นธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาขัน้ พน้ื ฐาน พุทธศกั ราช 2551 B สงวนลขิ สทิ ธต์ิ ามกฎหมาย หามละเมิด ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร สว นหนึ่งสว นใด เวนแตจ ะไดร ับอนุญาต ผเู รียบเรียง รศ. ดร.จรสั พยัคฆราชศกั ดิ์ สมพร ออนนอม ประจวบ ตรีภกั ดิ์ ผตู รวจ ธาํ รง อมโร ผศ. ดร.ธรี ะพงษ มไี ธสง ผศ. ดร.บญั ญตั ิ สาลี บรรณาธิการ สรุ ะ ดามาพงษ บุญรตั น รอดตา ISBN 978-974-18-5882-8 พิมพท ี่ บริษทั โรงพิมพว ัฒนาพานชิ จำ กัด นายเรงิ ชยั จงพพิ ฒั นสุข กรรมการผจู ดั การ

คาํ นํา หนงั สอื เรียน รายวชิ าพ้ืนฐาน พระพุทธศาสนา ม. 1 ช้นั มัธยมศึกษาปท่ี 1 เลมนจ้ี ัดทำ ขึ้น ตามหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 สำ หรบั นกั เรยี นระดบั มธั ยมศกึ ษา ตอนตน โดยมีเปา หมายใหนกั เรยี นและครใู ชเปน ส่ือในการจดั การเรียนรู เพอ่ื พฒั นานักเรียนใหม ี คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรูและตัวชี้วัดที่หลักสูตรกำ หนด พัฒนานักเรียนใหมีสมรรถนะ ตามท่ตี อ งการท้งั ดา นการสอ่ื สาร การคิด การแกป ญหา การใชทกั ษะชวี ิต และการใชเทคโนโลยี ตลอดจนพัฒนานักเรียนใหมีคุณลักษณะอันพึงประสงคเพ่ือใหสามารถอยูรวมกับผูอื่นในสังคม ไทยและสังคมโลกไดอยางมคี วามสขุ ในการจัดทำ หนังสือเรียน รายวิชาพ้ืนฐานเลมน้ี คณะผูจัดทำ ซ่ึงเปนผูเชี่ยวชาญในสาขา วิชาและการพัฒนาสื่อการเรียนรูไดศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 อยางลึกซ้ึง ทั้งดานวิสัยทัศน หลักการ จุดหมาย สมรรถนะสำาคัญของนักเรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค สาระและมาตรฐานการเรียนรู ตัวชี้วัด แนวทางการจัดการเรียนรู การวัดและประเมินผลการเรียนรู แลวจึงนำ องคความรูที่ไดมาออกแบบหนวยการเรียนรู แตละ หนวยการเรียนรูประกอบดวยตัวชี้วัดช้ันป สาระการเรียนรู ประโยชนจากการเรียนรู คำ ถามนำ เน้ือหาสาระแตละเรื่องแตละหัวขอ คำ สำ คัญ เร่ืองนารู แหลงสืบคนความรู กิจกรรมพัฒนา การเรียนร ู บทสรุป กจิ กรรมเสนอแนะ โครงงาน การประยกุ ตใชใ นชวี ิตประจำ วัน คำ ถามทบทวน และทายเลมยังมีบรรณานุกรมและอภิธานศัพท ซึ่งองคประกอบของหนังสือเรียนเหลาน้ีจะชวย สง เสรมิ ใหน ักเรียนเกิดการเรยี นรอู ยา งครบถว นตามหลกั สูตร การเสนอเนอ้ื หา กจิ กรรม และองคประกอบอืน่ ๆ ในหนงั สอื เรยี น รายวิชาพ้ืนฐานเลม นี้ มุงเนนผูเรียนเปนสำาคัญ โดยคำานึงถึงศักยภาพของนักเรียน เนนการเรียนรูแบบองครวม บนพ้ืนฐานของการบูรณาการแนวคิดทางการเรยี นรูอ ยา งหลากหลาย จดั การเรยี นรแู บบบรู ณาการ เนนใหนักเรียนสรางองคความรูดวยตนเอง มุงพัฒนาการคิด และพัฒนาการเรียนรูที่สอดคลอง กับพัฒนาการทางสมองของนักเรียน อันจะชวยใหนักเรียนเกิดการเรียนรูอยางสมบูรณและ สามารถนำ ไปประยกุ ตใ ชในชีวิตประจำ วันได หวงั เปนอยางย่งิ วา หนังสือเรียน รายวชิ าพนื้ ฐาน พระพทุ ธศาสนา ม. 1 ช้นั มธั ยมศกึ ษา ปท ี่ 1 เลมนีจ้ ะชวยใหนกั เรียนไดร บั การพฒั นาการเรียนรดู า นศาสนา ศลี ธรรม จริยธรรม ตามที่ กำ หนดไวใ นหลักสตู รแกนกลางการศึกษาข้นั พืน้ ฐาน พทุ ธศักราช 2551 คณะผจู ดั ทำ

คําช้แี จง หนงั สอื เรยี น รายวชิ าพน้ื ฐาน พระพทุ ธศาสนา ม. 1 ชนั้ มธั ยมศกึ ษาปท ่ี 1 เลม นไี้ ดอ อกแบบ หนวยการเรยี นรใู หแตล ะหนวยการเรียนรปู ระกอบดว ย 1. ตัวชี้วัดชั้นป เปนเปาหมายในการพัฒนานักเรียนแตละชั้นป ซ่ึงสอดคลองกับมาตรฐาน การเรียนรู มีรหัสของมาตรฐานการเรียนรูและตัวช้ีวัดช้ันปกำ กับไวหลังชั้นป เชน ส 1.1 ม. 1/1 (รหัสแตละตัวมีความหมายดังน้ี ส คือ กลุมสาระการเรียนรูสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 1.1 คอื สาระท ่ี 1 มาตรฐานการเรยี นรขู อ ท ่ี 1 ม. 1/1 คอื ตวั ชว้ี ดั ชน้ั มธั ยมศกึ ษาปท ่ี 1 ขอ ท ่ี 1) 2. สาระการเรียนรู เปนการจัดระเบียบและรวบรวมเนื้อหาแตละหนวยการเรียนรู พรอม แสดงความเชอ่ื มโยงของเนอื้ หาในสาระนน้ั ๆ ไวด ว ย เพอื่ สอื่ ใหเ กดิ ความเขา ใจชดั เจนขน้ึ นกั เรยี น เกิดการเรียนรูอยางมีความหมาย โดยในแตละหนวยการเรียนรูจะมีชื่อหนวยการเรียนรู  หัวเร่อื งหลัก หัวเรื่องรอง และหัวเร่ืองยอยของเนอื้ หาในหนว ยการเรยี นรูนั้น ๆ 3. ประโยชนจากการเรียนรู นำ เสนอไวเพื่อกระตุนใหนักเรียนนำ ความรูและทักษะจาก การเรยี นรูไปใชใ นชีวิตประจำ วนั 4. คำ ถามนำ เปนคำ ถามหรือสถานการณเพ่ือกระตุนใหนักเรียนเกิดความสงสัยและสนใจ ที่จะคนหาคำ ตอบ 5. เน้ือหา แบงเปนหัวเรื่องหลัก หัวเรื่องรอง และหัวเร่ืองยอย ตรงตามตัวช้ีวัดชั้นป มกี จิ กรรมพัฒนาการเรยี นรแู ทรกเปนชวง ๆ เนื้อหาบางตอนอาจนำ เสนอดว ยภาพประกอบ ตาราง แผนภมู ิ แผนท่ีความคิด และประกอบดว ยสว นอื่น ๆ ดงั นี้ 5.1 คำ สำ คัญ ระบุคำ สำ คัญที่แทรกอยูในเนื้อหาโดยการเนนสีของคำ ไวตางจากตัวพ้ืน คำ สำ คัญน้จี ะใชต ัวเนนเฉพาะคำ ทปี่ รากฏคำ แรกในเน้ือหา ไมเ นนคำ ทีเ่ ปน หัวขอ 5.2 ภาพประกอบ พรอมคำ บรรยายสอดคลองกับเนื้อหา 5.3 แผนภูม ิ ตาราง แผนที ่ แผนที่ความคิด สอดคลองกับเนื้อหา 5.4 เรื่องนารู เปนความรูเพ่ิมเติมเก่ียวกับเร่ืองที่ไดศึกษาในหนวยการเรียนรูนั้น ๆ โดยคัดสรรเฉพาะเรื่องทีน่ ักเรียนควรรู 5.5 แหลง สบื คน ความร ู เสนอแหลง ความรตู า ง ๆ รวมทง้ั เวบ็ ไซตส ำ หรบั การศกึ ษาคน ควา เนอ้ื หาทีส่ อดคลองกบั เรือ่ งทเี่ รยี น 5.6 กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู เปนกิจกรรมท่ีกำ หนดใหทำ เมื่อจบเนื้อหาท่ีแบงให เหมาะสมสำ หรบั การเรยี นแตล ะครงั้ เปน กจิ กรรมทห่ี ลากหลาย ใชแ นวคดิ ทฤษฎตี า ง ๆ ใหส อดคลอ ง กับเน้ือหา เหมาะสมกับวัย สะดวกในการปฏิบัติ กระตุนใหนักเรียนไดคิด และสงเสริมการศึกษา คนควา เพิม่ เตมิ

6. บทสรปุ ไดจ ดั ทำ�บทสรปุ ไวห ลายรปู แบบ เชน สรปุ เปน แผนทคี่ วามคดิ (Mind Mapping) ความเรียง หรือบรรยาย เปน การทบทวนความรู หรือการเรียนรูกวา ง ๆ อยางรวดเรว็ 7. กิจกรรมเสนอแนะ เปนกิจกรรมบูรณาการทักษะที่รวมหลักการและความคิดรวบยอด ในเร่ืองตา ง ๆ ทน่ี กั เรียนไดเ รยี นรูไ ปแลว มาประยุกตใ นการปฏบิ ัตกิ จิ กรรม 8. โครงงาน เปน ขอ เสนอแนะในการกำ�หนดใหน กั เรยี นปฏบิ ตั โิ ครงงาน โดยเสนอแนะหวั ขอ โครงงานและแนวทางการปฏิบัติโครงงานที่สอดคลองกับมาตรฐานการเรียนรูและตัวช้ีวัดช้ันปของ หนวยการเรียนรนู ัน้ เพ่อื พัฒนาทกั ษะการคิด การวางแผน และการแกป ญหาของนกั เรยี น 9. การประยกุ ตใ ชใ นชวี ติ ประจำ�วนั เปน กจิ กรรมทเ่ี สนอแนะใหน กั เรยี นไดน ำ�ความรู ทกั ษะ ในการประยกุ ตความรูในหนวยการเรยี นรนู ัน้ ไปใชในชีวิตประจำ�วัน 10. คำ�ถามทบทวน เปนคำ�ถามแบบอัตนัยท่ีมุงถามเพ่ือทบทวนผลการเรียนรูของนักเรียน 11. ทา ยเลม ประกอบดวยบรรณานกุ รมและอภธิ านศพั ท 1) บรรณานุกรม เปนรายช่ือหนังสือ เอกสาร หรือเว็บไซตท่ีใชคนควาอางอิงประกอบ การเขยี น 2) อภิธานศัพท เปนการนำ�คำ�สำ�คัญหรือคำ�ท่ีควรรูท่ีแทรกอยูในเน้ือหามาอธิบาย และจดั เรียงตามลำ�ดบั ตวั อักษรเพ่อื ความสะดวกในการคนควา

สารบญั หนว ยการเรียนรูที่ 1 พระพุทธ ............................................................................. 1 1. การสงั คายนา .......................................................................................... 2 2. การเผยแผพระพทุ ธศาสนาเขาสปู ระเทศไทย ................................................... 6 3. ความสำ คญั ของพระพุทธศาสนาตอ สังคมไทย ................................................. 15 4. พทุ ธประวตั ิ........................................................................................... 21 5. ชาดก .................................................................................................. 30 บทสรุป ................................................................................................................... 34 กิจกรรมเสนอแนะ .................................................................................................... 34 โครงงาน ................................................................................................................. 34 การประยกุ ตใชใ นชีวติ ประจำ วนั ................................................................................. 35 คำ ถามทบทวน ......................................................................................................... 35 หนวยการเรยี นรทู ี่ 2 พระธรรม .......................................................................... 36 1. พระรัตนตรัย ......................................................................................... 37 2. หลักธรรมทางพระพทุ ธศาสนา .................................................................... 41 3. พุทธศาสนสภุ าษิต .................................................................................. 75 บทสรุป ................................................................................................................... 81 กิจกรรมเสนอแนะ .................................................................................................... 81 โครงงาน ................................................................................................................. 81 การประยุกตใชใ นชวี ิตประจำ วัน ................................................................................. 82 คำ ถามทบทวน ......................................................................................................... 82 หนวยการเรียนรูท ่ี 3 พระสงฆ ........................................................................... 83 1. พุทธสาวก ............................................................................................. 84 2. พทุ ธสาวิกา ........................................................................................... 92 3. ชาวพุทธตวั อยา ง .................................................................................... 95 บทสรปุ ................................................................................................................. 101 กจิ กรรมเสนอแนะ .................................................................................................. 101 โครงงาน ............................................................................................................... 101 การประยุกตใชใ นชวี ติ ประจำ วนั ............................................................................... 102 คำ ถามทบทวน ....................................................................................................... 102

หนวยการเรยี นรูที่ 4 การปฏิบตั ิตนเปนชาวพุทธท่ดี ี ............................................... 103 1. หนาทช่ี าวพุทธ ..................................................................................... 105 2. มารยาทชาวพทุ ธ .................................................................................. 112 3. ศาสนพธิ ี............................................................................................ 120 4. วนั สำ คญั ทางพระพุทธศาสนา .................................................................. 128 5. การบรหิ ารจิตและการเจรญิ ปญ˜ ญา............................................................. 141 6. การพัฒนาการเรียนรูด วยวิธคี ิดแบบโยนโิ สมนสิการ....................................... 151 บทสรุป ................................................................................................................. 155 กิจกรรมเสนอแนะ .................................................................................................. 155 โครงงาน ............................................................................................................... 156 การประยุกตใชใ นชวี ิตประจำ วัน ............................................................................... 156 คำ ถามทบทวน ....................................................................................................... 156  บรรณานุกรม .......................................................................................... 157  อภิธานศัพท ............................................................................................ 159



1 พระพุทธ ตัวช้วี ัดชัน้ ป 1. อธบิ ายการเผยแผพ ระพุทธศาสนาหรือศาสนาท่ีตนนับถอื สูประเทศไทย (ส 1.1 ม. 1/1) 2. วเิ คราะหค วามสำคญั ของพระพทุ ธศาสนาหรอื ศาสนาทต่ี นนบั ถอื ทม่ี ตี อ สภาพแวดลอ มในสงั คม ไทย รวมทัง้ การพัฒนาตนและครอบครัว (ส 1.1 ม. 1/2) 3. วิเคราะหพทุ ธประวัติตั้งแตประสูติจนถึงบำเพ็ญทกุ กรกิริยา หรือประวตั ศิ าสดาท่ีตนนบั ถอื ตาม ที่กำหนด (ส 1.1 ม. 1/3) 4. วิเคราะหและประพฤติตนตามแบบอยางการดำเนินชีวิตและขอคิดจากประวัติสาวก ชาดก เร่อื งเลา และศาสนกิ ชนตัวอยา งตามที่กำหนด (ส 1.1 ม. 1/4) อมั พชาดก ตติ ตริ ชาดก การสังคายนา พระพุทธศาสนาในประเทศไทย ตง้ั แตส มัยสุโขทัยจนถึงปจ จุบนั ชาดก พระพุทธ การเผยแผพ ระพทุ ธศาสนา เขาสูป ระเทศไทย การประสูติ การเหน็ เทวทูต 4 พระพุทธศาสนา เปนศาสนาประจำชาติ พุทธประวัติ ความสำคญั ของพระพทุ ธศาสนา ตอ สังคมไทย พระพทุ ธศาสนา พระพุทธศาสนาเปน หลัก เปนสถาบันหลกั การบำเพญ็ ทกุ กรกริ ยิ า การแสวงหาความรู ในการพฒั นาตนเอง พระพุทธศาสนาเปน สภาพแวดลอ ม ของสงั คมไทย ท่กี วา งขวางและครอบคลุมสังคมไทย และครอบครวั ประโยชนจ ากการเรียนรู คาํ ถามนํา 1. เห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนาท่ีมีตอ มผี กู ลา ววา “ประวตั ศิ าสตรข องประเทศไทย สงั คมไทยและปฏิบัติตนไดถกู ตองเหมาะสม เปนประวัติศาสตรของคนที่นับถือพระพุทธ- ศาสนา” นักเรียนเห็นดวยกับคำกลาวน้ีหรือไม 2. ประพฤติตนตามแบบอยางการดําเนินชีวิต เพราะอะไร และขอคดิ จากพุทธประวตั ิและชาดก

2 หนงั สือเรยี น รายวิชาพนื้ ฐาน พระพุทธศาสนา ม. 1 พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นทปี่ ระเทศอินเดียกวา 2,500 ปมาแลว ภายหลังจากท่พี ระพุทธเจา เสด็จปรินพิ พาน พระพทุ ธศาสนากไ็ ดรบั การสบื ตอ กนั มาโดยเหลาพทุ ธบริษทั 4 คือ ภิกษุ ภกิ ษณุ ี อบุ าสก และอุบาสิกา เราในฐานะที่เปนชาวพุทธหรอื เปนหนงึ่ ในพทุ ธบรษิ ัท 4 ควรศกึ ษาใหเ ขาใจ อยา งถกู ตอ ง ทง้ั ในเรอ่ื งของการสงั คายนา การเผยแผพ ระพทุ ธศาสนาเขา สปู ระเทศไทย ความสำคญั ของพระพทุ ธศาสนาตอสงั คมไทย พทุ ธประวัติ และชาดก 1. การสังคายนา พระพุทธศาสนาถือกำเนิดขึ้นในดินแดนที่เรียกกันในสมัยน้ันวา ชมพูทวีป ปจจุบัน คือ ประเทศอินเดีย โดยมีพระพุทธเจาเปนศาสดา ในชวงแรก ๆ พระพุทธศาสนามีผูนับถือเพียง แคใ นดนิ แดนชมพทู วปี จนกระทง่ั ในสมยั ของพระเจา อโศกมหาราช พระมหากษตั รยิ ผ ยู ง่ิ ใหญข อง ประเทศอินเดีย พระพุทธศาสนาไดรับการทำนุบำรุงจนมีความเจริญรุงเรืองอยางมากและไดรับ การเผยแผใหก วางขวางออกไปยงั ดนิ แดนตาง ๆ วิธีการบำรุงพระพุทธศาสนาใหเจริญรุงเรืองและแผขยายกวางออกไปท่ีสำคัญวิธีหนึ่ง คือ การสงั คายนาพระธรรมวนิ ยั หรือพระไตรปฎ ก การสังคายนา คือ การรวบรวมและเรียบเรียงคำสั่งสอนของพระพุทธเจาใหเปนระเบียบ เปน หมวดหมู หรือเปนแบบแผนอนั หนึง่ อนั เดยี วกนั บรเิ วณโดยรอบของถ้ำสัตตบรรณในปจ จบุ ัน หลงั จากพระพุทธเจา ปรินิพพานแลว 3 เดอื น พระสงฆจำนวน 500 รปู รว มประชุม ทำสงั คายนาพระธรรมวนิ ยั ที่ถำ้ สัตตบรรณ ขางภูเขาเวภารบรรพต เมอื งราชคฤห อยางไรก็ตาม การสังคายนาพระธรรมวินัยหรือพระไตรปฎกไดกระทำกันมากอนสมัย พระเจาอโศกมหาราช และหลังสมัยของพระองคก็ไดมีการสังคายนาติดตอกันมาอีกหลายครั้ง ท้ังในประเทศอนิ เดียและประเทศอนื่ ๆ ไดแ ก ศรีลงั กาและไทย รวมทั้งส้ิน 11 ครง้ั ดงั นี้

หนังสอื เรยี น รายวิชาพ้นื ฐาน พระพุทธศาสนา ม. 1 3 การสังคายนาพระไตรปฎ ก 11 คร้งั ครงั้ ท่ี 1 ครั้งที่ 2 สาเหตุ: พระภิกษุชื่อสุภัททวุฑฒบรรพชิตกลาว สาเหต:ุ พระภกิ ษชุ าววชั ชีบตุ รไดป ฏิบัติยอ หยอ น จาบจว งพระพทุ ธเจา และแสดงความดใี จเมอ่ื ทราบ ทางวนิ ยั 10 ประการ เชน เกบ็ เกลอื ไวใ นเขาสตั ว ขา ววา พระพทุ ธเจา ปรนิ พิ พานแลว พระมหากสั สป- เพื่อไวฉัน ตะวันบายไปแลวประมาณ 2 นิ้ว เถระเกรงวาจะเปนเหตุใหพระธรรมวินัยเสื่อมสูญ ยงั ฉนั อาหารอยู รบั เงนิ ทองไวใ ช พระยสกากณั ฑก- จึงประชุมสงฆทำสังคายนา บุตรเห็นการปฏิบัติดังกลาวน้ีขัดกับหลักพระวินัย ผกŒู ระทำ: พระมหากสั สปเถระเปน ประธานและเปน จงึ ไดช ักชวนพระเถระรว มกนั วนิ จิ ฉัยความผดิ ผูซ ักถามพระธรรมและพระวนิ ัย โดยมีพระอุบาลี ผูŒกระทํา: พระยสกากัณฑกบุตรเปนประธาน เปน ผตู อบขอ ซกั ถามดา นพระวนิ ยั และพระอานนท พระเรวตะเปนผูซักถามพระธรรมวินัย และ เปน ผตู อบขอซกั ถามดา นพระธรรม การสงั คายนา พระสพั พกามเี ปน ผตู อบขอซักถาม การสังคายนา ครง้ั นม้ี พี ระสงฆเ ขา รว ม 500 รปู ซง่ึ พระสงฆท กุ รปู ครง้ั นม้ี พี ระสงฆเ ขา รว ม 700 รปู ซง่ึ ทกุ รปู ลว นเปน ลว นเปน พระอรหนั ต พระอรหันต สถานที่: ถ้ำสัตตบรรณ ขางภูเขาเวภารบรรพต สถานท่ี: วาลกิ าราม เมอื งเวสาลี (ไพศาลี) แควน เมอื งราชคฤห วัชชี ผŒูอปุ ถมั ภ: พระเจาอชาตศตั รู ผอŒู ุปถัมภ: พระเจากาลาโศกราช ระยะเวลา: เรม่ิ ทำหลงั จากพระพทุ ธเจา ปรนิ พิ พาน ระยะเวลา: เรม่ิ ทำใน พ.ศ. 100 ทำอยู 8 เดือน ได 3 เดอื น ทำอยู 7 เดือน จงึ สำเรจ็ จึงสำเรจ็ อินเดีย ครัง้ ท่ี 3 สาเหต:ุ พวกเดยี รถยี ห รอื นกั บวชในศาสนาอน่ื ปลอมบวชเขา มาในพระพทุ ธศาสนา เพราะเหน็ แกล าภสกั การะ และเพ่ือบอนทำลายพระพุทธศาสนา พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเกรงวาจะทำใหพระพุทธศาสนามัวหมอง จงึ ไดข อความอปุ ถัมภจ ากพระเจา อโศกมหาราชใหมกี ารสอบสวนสะสางพระศาสนาใหบ รสิ ุทธิ์ ผูŒกระทำ: พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเปนประธาน และมีพระสงฆเขารวม 1,000 รูป ซึ่งทุกรูปลวนเปน พระอรหนั ต สถานท่ี: อโศการาม เมอื งปาฏลีบตุ ร ผอูŒ ปุ ถัมภ: พระเจาอโศกมหาราช ระยะเวลา: เรมิ่ ทำใน พ.ศ. 234 ทำอยู 9 เดอื น จงึ สำเรจ็

4 หนงั สือเรยี น รายวชิ าพนื้ ฐาน พระพทุ ธศาสนา ม. 1 ครัง้ ท่ี 4 ครั้งท่ี 5 สาเหตุ: พระมหินทเถระประสงคจะใหพระพุทธ- สาเหตุ: พระสงฆในลังกาตองการท่ีจะบันทึก ศาสนาประดิษฐานมั่นคงในลังกาทวีป (ประเทศ พระไตรปฎกไวเปนลายลักษณอักษร เนื่องจาก ศรลี ังกาในปจ จบุ ัน) เหน็ พอ งตอ งกนั วา พระพทุ ธวจนะทถ่ี า ยทอดกนั มา ผกŒู ระทำ: พระมหนิ ทเถระเปน ประธาน พระอรฏิ ฐ- โดยวิธีทองจำน้ันอาจจะมีขอผิดพลาดบกพรองได เถระเปน ผสู วดทบทวนหรอื ตอบขอ ซกั ถามเกยี่ วกบั เพราะความจำของผบู วชเรยี นเสอ่ื มถอยลง พระสงฆ พระวนิ ยั และพระเถระรปู อน่ื ๆ เปน ผสู วดทบทวน ในลังกาจึงไดประชุมตกลงจารึกพระไตรปฎกเปน พระธรรม มพี ระสงฆเขารวม 6,800 รปู ภาษามคธลงในใบลาน สถานท่ี: ถปู าราม เมอื งอนรุ าธปรุ ะในลงั กาทวีป ผกŒู ระทำ: พระรกั ขติ มหาเถระเปน ประธานและเปน ผูอŒ ุปถมั ภ: พระเจา เทวานมั ปย ตสิ สะ ผูซักถามพระธรรมวินัย พระติสสเถระเปนผูตอบ ระยะเวลา: เร่ิมทำใน พ.ศ. 238 ทำอยู 10 เดอื น ขอ ซักถาม การสังคายนาคร้งั น้ีมีพระสงฆทง้ั ทเ่ี ปน จึงสำเร็จ พระอรหันตและเปน ปุถชุ นเขารว มกวา 1,000 รูป สถานท:ี่ อาโลกเลณสถานมลยั ชนบทในลงั กาทวปี ผŒูอุปถัมภ: พระเจาวัฏฏคามณอี ภัย ระยะเวลา: เรม่ิ ทำใน พ.ศ. 433 (บางแหง วา 450) ทำอยู 1 ป จงึ สำเรจ็ ศรลี ังกา คร้ังที่ 6 ครงั้ ท่ี 7 สาเหตุ: พระพุทธโฆษาจารยซึ่งเปนพระมหาเถระ สาเหต:ุ เนอื่ งจากทางคณะสงฆท มี่ พี ระมหากสั สป- ชาวอินเดียมีความรูแตกฉานในพระไตรปฎก เถระเปน ประธาน และทางราชการบา นเมอื งมพี ระเจา เดินทางมาแปลอรรถกถาพระไตรปฎกจากภาษา ปรากรมพาหมุ หาราชเปน ประมขุ เห็นวา ลงั กาทวีป สงิ หลเปน ภาษาบาลีหรอื ภาษามคธ ท้งั นเี้ พือ่ จะได ยงั ขาดคมั ภรี ฎ กี า (คมั ภรี ท อี่ ธบิ ายอรรถกถา) และ เปนภาษาท่ีมีแบบแผน (ตันติภาษา) และเกิด คมั ภรี อ นฎุ กี า (คมั ภรี ท อ่ี ธบิ ายฎกี า) พระสงฆท ง้ั หลาย ประโยชนก วา งขวางตอไป จึงไดประชุมกันเพื่อแปลและเรียบเรียงคัมภีร ผŒูกระทำ: พระพทุ ธโฆษาจารยเปน ประธาน และมี ดงั กลา วเปน ภาษามคธ เพอ่ื ประโยชนแ กก ารศกึ ษา พระเถระแหง วดั มหาวหิ ารจำนวนหนงึ่ รว มกนั แปล พระพุทธศาสนา และเรียบเรียงคัมภีรอรรถกถาภาษาสิงหลเปน ผูŒกระทํา: พระมหากัสสปเถระเปนประธาน ภาษาบาลี มีพระสงฆจ ำนวน 1,000 รปู เขารวมประชุม สถานท:่ี วดั มหาวหิ าร ลังกาทวีป สถานที่: ลังกาทวีป (สันนิษฐานวาทําที่โลหะ ผŒูอปุ ถมั ภ: พระเจา มหานามะ ปราสาท เมอื งอนุราธปุระ) ระยะเวลา: เริ่มทำใน พ.ศ. 956 ทำอยู 1 ป ผูŒอปุ ถมั ภ: พระเจาปรากรมพาหุมหาราช จึงสำเรจ็ ระยะเวลา: เริ่มทำใน พ.ศ. 1587 ทำอยู 1 ป จงึ สำเรจ็

หนังสือเรียน รายวิชาพนื้ ฐาน พระพุทธศาสนา ม. 1 5 ครั้งท่ี 8 คร้ังที่ 9 สาเหต:ุ เนอื่ งจากคมั ภรี พ ระไตรปฎ ก อรรถกถา ฎกี า สาเหตุ: พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก และอนุฎีกา ยังขาดตกบกพรอง ผิดเพี้ยน และ มหาราชทรงมพี ระราชประสงคจ ะทำนบุ ำรงุ พระพทุ ธ- ไมค รบ เปน เพราะการจำลองหรอื คดั ลอกกนั ตอ ๆ ศาสนาใหเจริญม่ันคงสืบไป อีกท้ังไดทรงทราบ มาเปน เวลานาน พระธรรมทนิ นมหาเถระผแู ตกฉาน จากสมเด็จพระสังฆราชวาพระไตรปฎกยังมีขอ ในพระไตรปฎกเลือกพระสงฆผูเช่ียวชาญใน ผิดเพ้ียนอยูมาก แตพระสงฆไมมีกําลังพอท่ีจะ พระไตรปฎกประชุมรวมกันชําระพระไตรปฎก ตรวจชำระพระไตรปฎกใหสมบูรณได พระองคจึง อรรถกถา ฎกี า และอนฎุ กี าใหส มบูรณย ิ่งขึ้น ทรงอาราธนาสมเดจ็ พระสงั ฆราชพรอ มดว ยพระสงฆ ผูŒกระทํา: พระธรรมทินนมหาเถระเปนประธาน ใหร ับภาระในเร่อื งนี้ มีพระสงฆหลายรอยรูปเขารวมประชุมชําระ ผูŒกระทํา: สมเด็จพระสังฆราชทรงเปนประธาน พระไตรปฎ กแลว จารกึ ลงในใบลานดว ยอกั ษรธรรม มพี ระสงฆเ ขา ประชมุ จำนวน 218 รปู และราชบณั ฑติ ของลานนา คฤหสั ถจ ำนวน 32 คน รว มกนั ชำระพระไตรปฎ ก สถานท่ี: วัดโพธารามหรือวัดเจ็ดยอด ณ เมือง และจารกึ ลงในใบลานดวยอักษรขอม นพสิ กิ ร (เมอื งเชียงใหม) ประเทศไทย สถานที:่ วัดพระศรสี รรเพชญ (วดั มหาธาตุยุวราช- ผูŒอุปถัมภ: พระเจาติโลกราชหรือพระเจาสิริธรรม รงั สฤษฎใ์ิ นปจ จบุ นั ) กรงุ เทพมหานคร ประเทศไทย จกั รวรรดติ ิโลกราช ผูŒอุปถัมภ: พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬา- ระยะเวลา: เริ่มทำใน พ.ศ. 2020 ทำอยู 1 ป โลกมหาราช จึงสำเรจ็ ระยะเวลา: เร่ิมทำใน พ.ศ. 2331 ทำอยู 5 เดอื น จงึ สำเรจ็ ไทย ครั้งที่ 11 ครั้งที่ 10 สาเหต:ุ สมเดจ็ พระสงั ฆราช สกลมหาสงั ฆปรณิ ายก สาเหตุ: เนื่องในโอกาสท่ีพระบาทสมเด็จพระจุล- (วาสนมหาเถระ) ทรงเห็นวาพระไตรปฎกยัง จอมเกลาเจาอยหู วั เสวยราชยไ ด 25 ป ทรงปรารภ ผิดพลาดคลาดเคลื่อน เน่ืองจากความประมาท จะบำเพญ็ พระราชกศุ ล และทรงเหน็ วา พระไตรปฎ ก พลาดพลั้งในการคัดลอกและตีพิมพกันตอ ๆ มา ท่ีจารึกไวใ นใบลานไมมั่นคง มีจำนวนมากยากท่จี ะ จึงไดประชุมพระสงฆรวมกันชําระตรวจสอบให รกั ษา และเปน อกั ษรขอม จงึ โปรดเกลา ฯ ใหก รมหมน่ื สมบรู ณ และตพี มิ พเ พอื่ เฉลมิ พระเกยี รตใิ นวโรกาส วชิรญาณวโรรสและพระเถระทั้งหลายชวยกันชำระ ที่พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวรัชกาลปจจุบันทรง โดยคัดลอกตัวอักษรขอมในใบลานเปนอักษรไทย เจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา ใน พ.ศ. 2530 แลว แกไขและพิมพเ ปนเลม ผูŒกระทํา: สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆ- ผกŒู ระทำ: สมเดจ็ พระมหาสมณเจา กรมพระยาวชริ - ปรณิ ายก (วาสนมหาเถระ) เปน ประธาน มพี ระสงฆ ญาณวโรรส ซ่ึงขณะน้ันดำรงพระยศเปนกรมหม่ืน ท้ังฝายมหานิกายและธรรมยุติกนิกายเขารวม วชริ ญาณวโรรส และสมเด็จพระสงั ฆราช (สา ปสุ ฺส ประชมุ เทโว) ครั้งยังเปนสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย เปน สถานที่: พระตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุยุวราช- ประธาน มีพระสงฆเขารว มประชมุ จำนวน 110 รปู รงั สฤษฎิ์ กรงุ เทพมหานคร ประเทศไทย สถานที่: พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ผูŒอุปถัมภ: รฐั บาลไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระยะเวลา: เร่ิมทำใน พ.ศ. 2528 ทำอยู 2 ป ผูŒอุปถัมภ: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจา จงึ สำเรจ็ อยูหัว ระยะเวลา: เริ่มทำใน พ.ศ. 2431 ทำอยู 6 ป จงึ สำเรจ็

6 หนงั สือเรยี น รายวชิ าพน้ื ฐาน พระพุทธศาสนา ม. 1 จะเห็นไดวา การสงั คายนาในแตละยุคสมัยมสี าเหตแุ ตกตางกันออกไป ซึ่งพอสรปุ ไดด ังน้ี 1. การสงั คายนาในยุคแรก ๆ เชน ครง้ั ที่ 1 ครัง้ ท่ี 2 และครง้ั ท่ี 3 ทำเพราะปรารภสาเหตุ เพื่อความมั่นคงในพระพุทธศาสนา แลวจัดประชุมสงฆรวบรวมและจัดคำส่ังสอนของพระพุทธ- ศาสนาใหเ ปนระเบียบ เปน หมวดหมู หรอื เปน แบบแผนอนั หนงึ่ อันเดยี วกนั 2. ในการสังคายนาในยุคหลงั ๆ เชน คร้งั ท่ี 5 ครงั้ ท่ี 6 และครงั้ ที่ 7 ทำเพอื่ ตอ งการจารกึ พระไตรปฎ ก แหลงสืบคนความรู เปนลายลักษณอักษร หรือเพื่อทบทวนและตรวจสอบ • http://www.larnbuddhism.com ความถกู ตองของพระไตรปฎก • http://www.dhammathai.org กจิ กรรมพฒั นาการเรยี นรู รวมกันแสดงความคิดเห็นวา สาเหตุการสังคายนาพระธรรมวินัยหรือพระไตรปฎกในยุคแรก ๆ กบั ยุคหลัง ๆ ตางกนั หรือไม อยางไร และถามขี อผดิ พลาดเกดิ ข้ึนในพระไตรปฎ กแลว ไมม ีการตรวจสอบ แกไขใหถ ูกตอ งจะมผี ลเปน อยา งไร สรุป แลว เขยี นบนั ทกึ ลงในสมดุ บนั ทกึ 2. การเผยแผพระพทุ ธศาสนาเขา สปู ระเทศไทย ในราว พ.ศ. 234 พระเจาอโศกมหาราชทรงจัดใหมีการสังคายนาพระธรรมวินัยขึ้นเปน คร้ังท่ี 3 ณ อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร โดยมีพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเปนประธานสงฆ มีพระสงฆเขารวมสังคายนา 1,000 รูป หลังจากเสร็จส้ินการสังคายนา พระเจาอโศกมหาราช ไดท รงสงคณะสมณทูตไปเผยแผพ ระพุทธศาสนายงั ดินแดนตา ง ๆ รวม 9 สาย ไดแ ก สายท่ี 1 พระมชั ฌนั ตกิ เถระเปน หวั หนา ไปเผยแผ พระพทุ ธศาสนา ณ แควน แคชเมยี รแ ละคนั ธาระ ซง่ึ ไดแ ก ดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียในปจจุบัน ตดิ ตอ กบั ปากสี ถาน และชายแดนบางสว นของอฟั กานสิ ถาน ในปจจุบัน โดยแควนแคชเมียร ไดแก รัฐชัมมูและ แคชเมียร (กัศมีร) สวนแควนคันธาระ คือ จังหวัด เปศวารและราวัลปนดีในปากสี ถาน สายที่ 2 พระมหาเทวเถระเปนหัวหนาไปเผยแผ พระพทุ ธศาสนา ณ มหสิ สกมณฑล ซง่ึ ไดแ ก ดนิ แดนทาง ตอนใตของแมนำ้ โคทาวรี คือ รัฐกรณาฏกะในปจจุบัน (เดิมช่ือรัฐไมซอร) ภาพแกะสลกั การสง คณะสมณทตู ไปเผยแผ พระพทุ ธศาสนาของพระเจา อโศกมหาราช

หนังสอื เรียน รายวชิ าพืน้ ฐาน พระพทุ ธศาสนา ม. 1 7 สายที่ 3 พระรักขิตเถระเปนหัวหนาไปเผยแผพระพุทธศาสนา ณ วนวาสีประเทศ ซ่ึงอยู ในเขตกะนะระ ไดแ ก ดนิ แดนที่เปน สวนหนงึ่ ของรัฐกรณาฏกะในปจ จบุ ัน สายท่ี 4 พระโยนกธัมมรักขิตเถระเปนหัวหนาไปเผยแผพระพุทธศาสนา ณ อปรันต- ชนบท ซ่ึงไดแก ดินแดนท่ีเปนชายทะเลอาหรับที่อยูทางทิศเหนือของเมืองมุมไบในปจจุบัน (เดมิ ช่ือบอมเบย) สมณทูตสายที่ 1 สมณทตู สายท่ี 7 สมณทตู สายที่ 6 อฟั กานสิ ถาน ชัมมแู ละแคชเมยี ร สมณทูตสายท่ี 8 สมณทูตสายที่ 4 สมณทูตสายท่ี 2 เปศวาร จนี สมณทตู สายที่ 5 สมณทตู สายที่ 9 กันดาฮาร ราวัลปนดี ปญ จาบปหริมะาเจทัลอศตุ ตรนั เจัสทื อ ก อรุณาจัลประเทศ ราชสถาน เดลี ปากีสถาน อุตตรประเทศ อิห ราน (เปอ รเซีย) เ ข เานปหาิ ทลมเิ บาตลั ัฉต ิตสคร ห ย สกิ ขิม ภฏู าน เมฆาลัย อัสสมั นาคาแลนด บงั กลาเทศ พิหาร มณปี รุ ะ คชุ ราต มธั ยประเทศ ฌารขัณฑ ตเบะงวกนั อตลก ตรปิ รุ ะ มโิ ซรมั เทือกเขาวินธัย มหาราษฏระ (มหารัฏฐะ) โอรสิ สา เมียนมา ทะเลอาหรับ มุมไบ น.โคทาวรี (บอมเบย) กรณาฏกะ อานธรประเทศ กัว (ไมเซอร) สมณทูตสายท่ี 3 เกรละ ทมิฬนาฑู ศรีลงั กา Scale km 100 50 0 100 200 300 400 500 km คณะสมณทตู 9 สายที่พระเจาอโศกมหาราช ทรงสง ไปเผยแผพระพุทธศาสนายังดนิ แดนตา ง ๆ สายท่ี 5 พระมหาธมั มรกั ขติ เถระเปน หวั หนา ไปเผยแผพ ระพทุ ธศาสนา ณ มหารฏั ฐประเทศ ซง่ึ ไดแก รัฐมหาราษฏระ ท่อี ยทู างทิศตะวนั ออกของมุมไบ ใตเ ทือกเขาวินธัยในปจจุบัน สายท่ี 6 พระมหารักขิตเถระเปนหัวหนาไปเผยแผพระพุทธศาสนา ณ โยนกประเทศ ซึง่ ไดแก เขตแดนแบกเตรยี ซ่งึ อยทู างทิศตะวนั ออกเฉียงใตของอฟั กานสิ ถาน รวมไปถึงดนิ แดน ทีเ่ ปน อหิ รา น (เปอรเ ซีย) ในปจจบุ ัน สายที่ 7 พระมัชฌิมเถระเปนหัวหนาไปเผยแผพระพุทธศาสนา ณ หิมวันตประเทศ ซง่ึ ไดแก ประเทศในแถบเทอื กเขาหมิ าลัย เชน เนปาลในปจ จุบนั สายท่ี 8 พระโสณเถระและพระอุตตรเถระเปนหัวหนาไปเผยแผพระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ สันนิษฐานกันวานาจะหมายถึง ดินแดนท่ีเปนประเทศในภมู ภิ าคเอเชยี ตะวันออกเฉยี งใตในปจ จุบัน เชน พมา * ไทย ลาว เวียดนาม สายที่ 9 พระมหินทเถระเปนหัวหนาไปเผยแผพระพุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป ซึ่งไดแก ศรลี ังกาในปจ จุบนั *พมา ปจจุบนั ใชชือ่ วา เมยี นมา โดยมีชอื่ เปนทางการวา สาธารณรฐั แหง สหภาพเมียนมา

8 หนงั สอื เรยี น รายวิชาพื้นฐาน พระพุทธศาสนา ม. 1 สําหรับการเดินทางมาเผยแผพระพุทธศาสนาของคณะสมณทูตสายที่ 8 ณ ดินแดน สวุ รรณภมู นิ น้ั จากหลกั ฐานทางโบราณคดแี ละหลกั ฐานทางประวตั ศิ าสตรท คี่ น พบพอจะสนั นษิ ฐาน ไดว า พระพทุ ธศาสนาไดเผยแผเ ขามายงั ดินแดนแหง นี้กอน พ.ศ. 500 (ราว พ.ศ. 274–304) โดยมหี ลกั ฐานทเี่ กย่ี วขอ งกบั พระพทุ ธศาสนาทส่ี รา งขนึ้ ในชว งกอ น พ.ศ. 500 ปรากฏอยหู ลายอยา ง ในดนิ แดนแหง นี้ เชน พระพทุ ธรปู พระสถปู เจดีย ศิลาธรรมจกั รและกวางหมอบ พระพทุ ธศาสนา ที่ไดเผยแผเขา มาในชวงแรกนน้ั เปนนิกายเถรวาท ตอมาจึงเปนนกิ ายอาจริยวาทหรือมหายาน พระปฐมเจดีย ศลิ าธรรมจกั รและกวางหมอบ จังหวดั นครปฐม เปนหลกั ฐานสำคญั ท่ีแสดงวาพระพุทธศาสนาไดเ ผยแผเขามาในดนิ แดนสุวรรณภมู ิกอ น พ.ศ. 500 จากหลักฐานขางตนจะเห็นวา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะท่ีหมายถึงประเทศไทย นน้ั ไดม กี ารนบั ถอื พระพทุ ธศาสนามาเปน เวลาชา นานแลว โดยนบั ถอื มาตง้ั แตส มยั กอ นทช่ี นชาตไิ ทย จะมีประวัติศาสตรอันชัดเจน และนับถือตอเนื่องตลอดมาจนกลาวไดวา ประวัติศาสตรของ ประเทศไทยเปน ประวัติศาสตรข องชนชาตทิ ี่นบั ถือพระพทุ ธศาสนา การนับถอื พระพทุ ธศาสนาของ ชนชาตไิ ทยไดผา นยคุ สมัยตาง ๆ มาดังน้ี

หนังสอื เรยี น รายวชิ าพน้ื ฐาน พระพทุ ธศาสนา ม. 1 9 ยคุ เถรวาท ยุคมหายาน ยุคเถรวาท ยุคเถรวาท สมยั อโศก สมยั อาณาจกั ร แบบพุกาม แบบลงั กาวงศ สมยั สโุ ขทยั ศรวี ชิ ยั พ.ศ. 274 พ.ศ. 620 พ.ศ. 1300 พ.ศ. 1550 พ.ศ. 1600 พ.ศ. 1696 พ.ศ. 1822 ยคุ มหายาน ยุคมหายาน ยุคเถรวาท สมยั อาณาจักร สมัยลพบุรี แบบลงั กาวงศ อายลาว หลักฐานสำคัญท่ีแสดงใหเห็นวา คนไทยนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและนิกาย มหายานมาต้ังแตกอนที่ประเทศไทยจะมีประวัติศาสตรอันชัดเจนหรือกอนการกอต้ังอาณาจักร สโุ ขทยั คอื พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสรุ าษฎรธานี ปราสาทหินพนมรุง จังหวัดบุรรี ัมย พระธาตุ หริภุญชยั จงั หวัดลำพนู และพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรธี รรมราช พระบรมธาตไุ ชยา จงั หวัดสุราษฎรธ านี สรา งขน้ึ ในสมยั อาณาจกั รศรีวิชยั ประมาณ พ.ศ. 1300 ตามความเชอื่ ของพระพุทธศาสนานกิ ายมหายาน ปราสาทหนิ พนมรงุ จงั หวัดบุรรี ัมย สรา งข้ึนในสมัยลพบรุ ี ประมาณ พ.ศ. 1550 เพอื่ เปนพทุ ธสถานในนิกายมหายาน

10 หนังสอื เรยี น รายวชิ าพน้ื ฐาน พระพุทธศาสนา ม. 1 พระธาตุหริภญุ ชยั จังหวดั ลำพนู พระมหาธาตุ จงั หวดั นครศรธี รรมราช สรางขน้ึ ในสมัยอาณาจักรหริภญุ ชัย สรางขึน้ ตามคติมหายานแบบศรีวชิ ัย ประมาณ พ.ศ. 1700 เพ่ือบรรจโุ กศพระบรมธาตุ ประมาณ พ.ศ. 1300 และไดส รา งครอบองคเ ดมิ ปรบั ปรงุ เปน แบบลทั ธลิ งั กาวงศป ระมาณ พ.ศ. 1800 ทไี่ ดมาจากอนิ เดยี พระพทุ ธศาสนาในประเทศไทยต้ังแตส‹ มัยสโุ ขทัยจนถงึ ป˜จจบุ ัน นับตั้งแตประเทศไทยไดสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยเปนตนมา ไดมีการเผยแผและยอมรับ นับถอื พระพุทธศาสนาท้ังนิกายเถรวาทและนิกายมหายานสบื เนอ่ื งตดิ ตอกันมาตามลำดบั ดังนี้ 1. สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพอขุนรามคําแหงมหาราชโปรดเกลาฯ ใหนิมนตสมเด็จ พระมหาเถรสงั ฆราชพรอ มดว ยคณะสงฆน กิ ายลงั กาวงศ จากเมอื งนครศรธี รรมราชขน้ึ มาเทศนาสง่ั สอนประชาชน ทก่ี รงุ สโุ ขทยั โดยใหจ ำพรรษาอยทู ว่ี ดั อรญั ญกิ ปรากฏวา พระสงฆนิกายลังกาวงศน้ีไดเปนท่ีเคารพนับถือของ ชาวเมืองสุโขทัย ทำใหพระพุทธศาสนาเจริญรุงเรือง แผขยายไปทว่ั อาณาจกั รสโุ ขทัยนบั ตัง้ แตนั้นมา ในสมยั พระมหาธรรมราชาท่ี 1 (ลิไทย) แหง กรุงสุโขทยั พระพทุ ธศาสนาเจริญสูงสดุ มกี ารสรางวัดและพระพุทธรปู ตาง ๆ มากมาย เชน พระพทุ ธชนิ ราช ประดิษฐานอยูท่ี วัดพระศรีรตั นมหาธาตุ จังหวดั พษิ ณโุ ลก เปน พระพุทธรปู ทมี่ ีลักษณะงดงามมาก

หนงั สือเรียน รายวิชาพนื้ ฐาน พระพทุ ธศาสนา ม. 1 11 2. สมยั ลŒานนา เม่ือ พ.ศ. 1912 พระเจากือนาแหงอาณาจกั รลานนาไดส งพระราชทตู มายัง กรงุ สุโขทัยทูลอาราธนาพระมหาสุมนเถระจากพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) พระมหาสุมนเถระ เดินทางไปเผยแผพระพุทธศาสนาพรอมทั้งอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปยังลานนาดวย นับเปน การเร่ิมตนพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศในลานนา ดินแดนทางภาคเหนือของไทย นับต้ังแตบ ัดนั้น วดั บปุ ผารามหรอื วดั สวนดอก เปนศนู ยก ลางของพระพทุ ธศาสนา นิกายเถรวาทแบบลงั กาวงศ ซึ่งพระเจา กือนาทรงสราง เพอื่ ใหเปน ท่จี ำพรรษาของ พระมหาสมุ นเถระ และโปรดเกลา ฯ ใหสรางเจดยี บ รรจุ พระบรมสารรี ิกธาตปุ ระดิษฐานไว ณ วดั นี้ และทว่ี ัดพระธาตุดอยสเุ ทพ 3. สมยั อยธุ ยา อาณาจกั รอยธุ ยาไดร บั อทิ ธพิ ลการนบั ถอื พระพทุ ธศาสนานกิ ายเถรวาทแบบ ลังกาวงศมาจากอาณาจักรสุโขทัย พระมหากษัตริยทุกพระองคทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เปนอยางดี เชน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสละราชสมบัติเสด็จออกผนวชเปนเวลา 8 เดือน โปรดเกลา ฯ ใหป ระชมุ กวี แตง หนงั สอื มหาชาตคิ ำหลวง โปรดเกลา ฯ ใหส รา งวดั พระศรสี รรเพชญข นึ้ ในพระบรมมหาราชวัง ฯลฯ สมเด็จพระเจาทรงธรรมทรงศึกษาพระปริยัติธรรมมาตั้งแตยังทรงพระผนวช โปรดเกลาฯ ใหส รา งมณฑปครอบรอยพระพทุ ธบาททส่ี ระบรุ ี โปรดเกลา ฯ ใหร าชบณั ฑติ แตง กาพยม หาชาติ ฯลฯ สมเด็จพระนารายณมหาราชพระราชทานพระบรมราชูปถัมภแกผูบวชเรียนเปนอยางดี และทรงอนุญาตใหไมตองถูกเกณฑเปนทหาร เปนเหตุใหมีคนหลบเล่ียงการเกณฑทหาร ไปบวชกนั เปน จำนวนมาก จนตอ งมกี ารทดสอบความรู และผปู ลอมบวชถกู บงั คบั ใหล าสกิ ขา (สกึ ) เปนจำนวนมาก

12 หนังสอื เรียน รายวิชาพื้นฐาน พระพุทธศาสนา ม. 1 วัดพระศรสี รรเพชญ จังหวัดพระนครศรีอยธุ ยา มณฑปพระพุทธบาท จงั หวัดสระบรุ ี สมเดจ็ พระเจา อยหู วั บรมโกศทรงสง เสรมิ การอปุ สมบท ผทู จ่ี ะเปน ขนุ นางไดต อ งเปน ผทู บี่ วช มาแลว เจานายในพระราชวังก็ทรงผนวชทุกพระองค ในรัชกาลนี้มีวรรณคดีทางพระพุทธศาสนา หลายเร่ือง เชน นันโทปนันทสตู รคำหลวง พระมาลยั คำหลวง ปณุ โณวาทคำฉันท เมอื่ พ.ศ. 2296 พระพุทธศาสนาในประเทศลังกาเส่ือมลงเกือบส้ินสมณวงศ พระเจา กรี ติ สิริราชสิงหแหงลังกาไดสงคณะทูตมายังกรุงศรีอยุธยาเพ่ือขอพระสงฆไทยไปทำการอุปสมบท แกชาวลังกา สมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศจึงไดทรงสงพระอุบาลีกับพระอริยมุนี พรอมดวย คณะสงฆอ ีก 15 รูป เดนิ ทางไปยงั ลงั กา คณะสงฆไทยไดอุปสมบทกุลบตุ รชาวลังกาจำนวนมาก และชว ยกนั วางรากฐานพระพทุ ธศาสนาในลงั กาจนมน่ั คงเปน ปก แผน ตอ มาเกดิ เปน นกิ ายทเ่ี รยี กวา อุบาลวี งศหรอื สยามวงศขนึ้ ในลังกาสืบมาจนทกุ วันน้ี 4. สมยั ธนบรุ ี หลงั จากสถาปนากรงุ ธนบรุ แี ลว สมเดจ็ พระเจา ตากสนิ มหาราชก็ไดทรงฟนฟูพระพุทธศาสนาซึ่งเสื่อมโทรมไปเพราะสงคราม คราวเสียกรุงครั้งท่ี 2 ใหแกพมา โดยทรงรับส่ังใหสืบหาพระสงฆท่ีทรง คุณธรรมจากทั่วทุกแหงใหมาประชุมกันที่วัดบางหวาใหญ (วัดระฆัง- โฆสิตารามในปจจุบัน) เพื่อคัดเลือกพระสงฆท่ีมีคุณสมบัติขึ้นเปน สมเด็จพระสังฆราช ซ่ึงในท่ีประชุมไดพรอมใจกันเลือกพระอาจารยศรี วัดประดู แหงกรุงศรีอยุธยา เปนสมเด็จพระสังฆราชรับผิดชอบในการ ฟนฟูบูรณะพระพุทธศาสนา ต้ังแตนั้นมาพระพุทธศาสนาก็กลับฟน คืนสคู วามรงุ เรืองดงั เดิม พระบรมราชานุสาวรยี  สมเด็จพระเจา ตากสนิ มหาราช

หนังสอื เรียน รายวิชาพ้นื ฐาน พระพุทธศาสนา ม. 1 13 พระมณฑปวัดพระศรรี ัตนศาสดาราม 5. สมัยรัตนโกสินทร พระพุทธศาสนา เปนทป่ี ระดิษฐานพระไตรปฎกฉบบั ทอง ท่ีคนไทยนับถือก็ยังคงเปนนิกายเถรวาทแบบ ลังกาวงศเชนเดียวกับสมัยอยุธยาและสมัย ซึ่งสังคายนาขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ธนบุรี พระมหากษัตริยไทยทุกพระองคก็ทรง เปนพุทธมามกะ และทรงเปนองคเอกอัคร ศาสนูปถัมภกพระพุทธศาสนาดวยดีมาโดย ตลอด ดังเชน รัชกาลท่ี 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธ- ยอดฟาจุฬาโลกมหาราช หลังจากทรงยาย ราชธานีจากกรุงธนบุรีมาที่กรุงเทพมหานคร แลวก็ทรงเริ่มทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เชน โปรดเกลาฯ ใหสรางวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เปนวัดในพระบรมมหาราชวัง ทรงประกาศใช กฎหมายคณะสงฆ โปรดเกลาฯ ใหมีการ สงั คายนาพระไตรปฎก ครง้ั ท่ี 9 แหง พระพทุ ธ- ศาสนา ณ วัดพระศรีสรรเพชญ (วัดมหาธาต-ุ ยวุ ราชรงั สฤษฎใ์ิ นปจ จุบัน) เปน ตน รัชกาลท่ี 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัวโปรดเกลาฯ ใหสรางและปฏิสังขรณ วดั ตาง ๆ มากที่สดุ รวมทง้ั สนิ้ 53 วัด โปรดเกลาฯ ใหช ำระพระไตรปฎ ก ทรงสงสมณทตู ไปลงั กา 2 คร้ัง และในรัชกาลน้ีไดเกิดคณะสงฆคณะใหมขึ้นเรียกวา คณะธรรมยุต ตอมาเรียกวา ธรรมยตุ กิ นกิ าย วดั ราชโอรสาราม (วดั จอมทอง) กรุงเทพมหานคร เปน วัดประจำรัชกาลที่ 3

14 หนงั สอื เรียน รายวิชาพื้นฐาน พระพุทธศาสนา ม. 1 รัชกาลท่ี 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวโปรดเกลาฯ ใหชำระและพิมพ พระไตรปฎ กดวยอักษรไทยเปนคร้งั แรก ทรงสถาปนาสถาบันการศึกษาของคณะสงฆไ ทย 2 แหง คอื มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและมหามกุฏราชวทิ ยาลัย โปรดเกลาฯ ใหต ราพระราชบญั ญัติ คณะสงฆ ร.ศ. 121 นอกจากน้ียังโปรดเกลาฯ ใหสรางวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามและ วัดเบญจมบพติ รดุสิตวนาราม วัดเบญจมบพิตรดสุ ิตวนาราม กรุงเทพมหานคร รชั กาลท่ี 7 พระบาทสมเดจ็ พระปกเกลา เจา อยหู วั โปรดเกลา ฯ ใหจ ดั พมิ พพ ระไตรปฎ กเปน เลม จำนวน 45 เลม เรยี กวา พระไตรปฎ กสยามรฐั นอกจากนย้ี งั โปรดเกลา ฯ ใหม กี ารแตง หนงั สอื สอน พระพทุ ธศาสนาสำหรบั เดก็ เพอื่ แจกจา ยในงานพระราชพิธวี สิ าขบูชาเปน ประจำทุกป รชั กาลท่ี 9 พระบาทสมเดจ็ พระเจา อยหู วั พระบาทสมเดจ็ พระเจา อยหู วั ทรงพระผนวช ภูมิพลอดุลยเดชทรงปฏิบัติพระราชภารกิจ ณ วัดพระศรรี ตั นศาสดาราม เม่ือ พ.ศ. 2499 เกี่ยวกับศาสนาและทรงทํานุบํารุงพระพุทธ- ศาสนาในดา นตา ง ๆ เปนอยางดียง่ิ เชน ทรง พระผนวชเปนพระภิกษุ โปรดเกลา ฯ ใหมีการ สงั คายนาพระไตรปฎ ก โปรดเกลา ฯ ใหป ระกาศ วันอาสาฬหบูชาเปนวันสําคัญทางพระพุทธ- ศาสนา ทรงใหมีการสรางพุทธมณฑลเน่ืองใน โอกาสฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ท่ีจังหวัด นครปฐม

หนงั สอื เรียน รายวชิ าพื้นฐาน พระพทุ ธศาสนา ม. 1 15 กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู 1. รวมกันแสดงความคิดเห็นวา การสงคณะสมณทูตไปเผยแผพระพุทธศาสนา 9 สาย ในสมัย พระเจาอโศกมหาราช สายใดประสบความสำเร็จมากท่สี ุด เพราะอะไร แลว เขยี นบนั ทกึ ลงในสมดุ บนั ทึก 2. เขียนสรุปสาระสำคัญเก่ียวกับพระพุทธศาสนาในประเทศไทยตั้งแตสมัยสุโขทัยจนถึงปจจุบัน แลวผลดั กนั นำเสนอหนา ชัน้ เรียน 3. ศึกษาคนควาพระราชกรณียกิจทางดานพระพุทธศาสนาของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว วา นอกจากทไี่ ดศ กึ ษามาแลวยงั มพี ระราชกรณยี กิจอ่นื ๆ อีกหรอื ไม รวบรวมขอมูลแลวผลัดกนั นำเสนอ หนา ชัน้ เรยี น 3. ความสําคญั ของพระพทุ ธศาสนาตอสงั คมไทย การที่พระพุทธศาสนาไดเขามาเผยแผในประเทศไทยเปนเวลานาน และชาวไทยยอมรับ นับถือพระพุทธศาสนาสืบตอกันมาอยางตอเนื่อง พระพุทธศาสนาจึงมีความสำคัญตอสังคมไทย อยางมาก สำหรับในช้ันนี้นักเรียนจะไดศึกษาความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะตาง ๆ ดังน้ี 3.1 พระพทุ ธศาสนาเปน ศาสนาประจำชาติ ประวัติศาสตรของชาติไทยมีความเกี่ยวเน่ืองผูกพันกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอด พระพุทธศาสนาจงึ เปน ศาสนาประจำชาติของไทย มขี อมูลที่เปน หลกั ฐานยนื ยนั สนับสนุนดงั น้ี 1. นับตั้งแตสมัยท่ีชนชาติไทยมีประวัติศาสตร อันชดั เจน ชาวไทยกน็ บั ถือพระพุทธศาสนาอยูแ ลว 2. พระมหากษัตริยไทยทุกพระองคนับต้ังแต สมัยสุโขทัยเปนตนมาจนถึงปจจุบันทรงนับถือพระพุทธ- ศาสนา รฐั ธรรมนญู ของไทยทกุ ฉบบั ซง่ึ เปน กฎหมายสงู สดุ ในการปกครองประเทศไดม บี ทบญั ญตั วิ า พระมหากษตั รยิ  ทรงเปนพุทธมามกะ และทรงเปนอัครศาสนูปถัมภก ซ่งึ หมายถึง ทรงนบั ถือพระพทุ ธศาสนาและทรงสนบั สนนุ สงเสริมศาสนาอนื่ ๆ 3. เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว ทรงเปล่ียนธงชาติมาใชธงไตรรงคแทนธงชางซึ่งใชกัน มาแตกอน ก็ไดทรงตราความหมายสีธงแตละสีไวเปน สัญลักษณ ดังพระราชนิพนธในหนังสือดุสิตสมิต ศลิ าจารกึ เปน หลักฐานชนิ้ หน่งึ ฉบับพเิ ศษ พ.ศ. 2461 วา ท่ที ำใหเ รารวู าชาวไทยนับถอื พระพทุ ธศาสนามาชา นาน

16 หนงั สือเรยี น รายวิชาพ้ืนฐาน พระพทุ ธศาสนา ม. 1 ขาว คอื บริสุทธศิ์ รสี วัสด์ิ หมายพระไตรรัตน และธรรมะคุมจติ ไทย แดง คือ โลหิตเราไซร ซึ่งยอมสละได เพอ่ื รักษาชาติศาสนา นำ้ เงิน คือ สโี สภา อันจอมประชา ธ โปรด เปนของสวนองค น่นั คือ สีแดง หมายถึง ชาติ สีขาว หมายถึง ศาสนา และสีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย ซึ่งศาสนาในท่ีนี้ทรงหมายถึงพระพุทธศาสนาเปน ธงไตรรงค สำคญั 4. เม่ือคร้ังพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวรัชกาลปจจุบันทรงตอนรับสันตะปาปาจอหน ปอลที่ 2 ประมขุ แหงศาสนจักรคาทอลิก ณ พระท่ีนั่งจกั รมี หาปราสาท เมอื่ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 พระองคม พี ระราชดำรสั ตอนหนง่ึ วา “คนไทยเปน ศาสนกิ ชนทดี่ ที ว่ั กนั สว นใหญน บั ถอื พระพุทธศาสนา อนั เปนศาสนาประจำชาติ” 5. ประเทศไทยเปนประเทศเดียวในโลกท่ีนับศักราชโดยใชพุทธศักราช (พ.ศ.) อยางเปน ทางการ สวนประเทศอื่น ๆ แมจะนับถือพระพุทธศาสนาก็ไมไดใชพุทธศักราชเปนหลักในการ บอกเวลาอยางเปนทางการ และประเทศไทยไดกำหนดใหวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เชน วันมาฆบูชา วันวสิ าขบูชา วนั อาสาฬหบชู า เปนวันหยดุ ราชการ เพ่อื ยกยองเชดิ ชูพระพุทธศาสนา และเพอ่ื เปด โอกาสใหป ระชาชนไดท ำความดโี ดยการลด ละ เลกิ ทำความชว่ั ทำความดี และทำจติ ใจ ใหผ อ งใสบรสิ ุทธ์ิ วิถีชีวิตของคนไทยมีความผูกพันกับพระพุทธศาสนา

หนังสือเรียน รายวิชาพน้ื ฐาน พระพุทธศาสนา ม. 1 17 นอกจากน้ี การที่คนไทยสวนใหญนับถือพระพุทธศาสนา วิถีชีวิตของคนไทยสวนใหญ จงึ ผกู พนั กบั พระพทุ ธศาสนาอยา งมาก หลกั ธรรมและพธิ กี รรมทางพระพทุ ธศาสนาไดซ มึ ซบั หลอ หลอม วถิ ชี วี ติ ของคนไทย จนทำใหม ีลักษณะเฉพาะทเี่ ปนเอกลักษณข องสงั คมไทย เชน มจี ติ ใจเออื้ เฟอ เผื่อแผ ยิ้มแยมแจมใส แสดงความเปนมิตร เหลาน้ีจึงเรียกไดวา พระพุทธศาสนาเปนศาสนา ประจำชาตไิ ทย 3.2 พระพุทธศาสนาเปนสถาบันหลักของสังคมไทย สถาบันหลักของสงั คมไทยมีอยู 3 สถาบัน คอื ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย ศาสนา ชาติ พระมหากษตั ริย สถาบนั หลกั ของสงั คมไทย สถาบันทงั้ สามน้ตี างเก้อื หนนุ คำ้ จุน และดำรงอยูคกู บั สงั คมไทยตลอดมา ทำใหสงั คมไทย ดำรงอยูไดมาจนถึงทุกวันน้ี ดังคำจารึกของสมเด็จพระเจาตากสินมหาราชที่วัดอรุณราชวราราม ตอนหน่ึงวา คดิ ถึงพอ พออยู คูกับเจา ชาติของเรา คงอยู คพู ระศาสนา พทุ ธศาสนา อยูย ง คอู งคกษัตรา พระศาสดา ฝากไว ใหคกู นั จะเหน็ วา สถาบันศาสนาในที่นีก้ ค็ อื สถาบันพระพทุ ธศาสนานน่ั เอง สถาบันพระพุทธศาสนา เปนสถาบันหลักสถาบันหน่ึงของชาติไทยมาต้ังแตโบราณกาล และมีการสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ โดยมีพระมหากษตั รยิ ท รงเปนองคเ อกอคั รศาสนปู ถัมภก

18 หนงั สือเรียน รายวชิ าพื้นฐาน พระพทุ ธศาสนา ม. 1 เมอ่ื พระพทุ ธศาสนาไดเ ขา มาเผยแผแ ละประดษิ ฐานมนั่ คงอยใู นสงั คมไทย พระพทุ ธศาสนา กก็ ลายเปน ศาสนาประจำชาตติ งั้ แตน นั้ มา โดยมวี ดั และพระสงฆเ ปน เสมอื นตวั แทนพระพทุ ธศาสนา ท่ีเขาไปเก่ียวของกับการดำเนินชีวิตของคนไทย วัดเปนศูนยกลางของสังคมอยางท่ีไมสามารถ แยกออกจากกันได เปนศูนยกลางของการอบรมสั่งสอนหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา เปน สถาบันสำคัญทั้งดานการศกึ ษา สังคม และเปนบอเกิดของศิลปะสาขาตา ง ๆ โดยมีพระสงฆ เปนผูนำทางจติ ใจของประชาชน เปน ศูนยกลางความเคารพศรัทธา ความเช่ือถอื และความรวมมอื ตลอดจนเปนทย่ี ดึ เหนี่ยวจติ ใจใหป ระชาชนมคี วามสามัคคีเปนอนั หน่ึงอันเดยี วกนั และรว มมือกัน ทำงานเพอ่ื สาธารณประโยชน ซง่ึ เทา กบั เปน หลกั ประกนั ความมน่ั คงของประเทศชาตไิ ดเ ปน อยา งดยี ง่ิ พระพุทธศาสนาจงึ มคี วามสำคญั สมเปน สถาบนั หลกั ของสงั คมไทย วดั เปน ศนู ยกลางของสงั คม เปนบอเกิดศิลปวัฒนธรรมตา ง ๆ ในขณะทพ่ี ระสงฆเปนผนู ำทางจติ ใจ ของประชาชน เปนศูนยกลาง ความเคารพศรทั ธา ความเชอ่ื ถือ และความรว มมือ 3.3 พระพทุ ธศาสนาเปน สภาพแวดลอŒ มท่กี วาŒ งขวางและครอบคลมุ สงั คมไทย จากการที่สังคมไทยนับถือพระพุทธศาสนาเปนศาสนาประจำชาติสืบเน่ืองติดตอกันมานาน ตั้งแตกอนสมัยสุโขทัย คติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาไดหย่ังรากลึกในชีวิตความเปนอยูของ คนไทยมานานนับพันป จนพระพุทธศาสนากลายเปนสถาบันหลักของสังคมไทยสถาบันหนึ่ง ดังนัน้ เมอ่ื เรามองไปรอบ ๆ ก็จะพบวา สภาพแวดลอมทง้ั ท่เี ปน สภาพแวดลอมทางกายภาพและ สภาพแวดลอมทางสังคมและวัฒนธรรมลวนเก่ียวของกับพระพุทธศาสนาแทบทั้งสิ้น พระพุทธ- ศาสนาจงึ ถอื เปน สภาพแวดลอ มทก่ี วา งขวางและครอบคลมุ สงั คมไทยอยา งแทจ รงิ ความสำคญั ของ พระพุทธศาสนาในขอ นี้ศึกษาไดจ ากเหตุผลตอ ไปน้ี

หนังสือเรียน รายวิชาพนื้ ฐาน พระพทุ ธศาสนา ม. 1 19 สภาพแวดลอมทางกายภาพและสภาพแวดลอ มทางสังคมและวฒั นธรรมของไทย เชน วัด ประเพณี พิธกี รรม จะเกีย่ วของกับพระพทุ ธศาสนาแทบทงั้ ส้นิ 1. คนไทยสว นใหญนบั ถือพระพุทธศาสนา 2. มีวัดและสำนักสงฆหลายหม่ืนแหงต้ังกระจายอยูทั่วประเทศ เกือบทุกหมูบานจะมีวัด เปน ศูนยกลางในการทำกจิ กรรมสำคญั ๆ ของชุมชน 3. มพี ระภกิ ษสุ ามเณรจำพรรษากระจายอยตู ามวดั และสำนกั สงฆต า ง ๆ จำนวนมาก คนไทย นยิ มใหบุตรหลานที่เปนผูชายบวชเรยี นหลกั ธรรมทางพระพทุ ธศาสนาเมื่อมอี ายุครบ 20 ป 4. คนท่ีเล่ือมใสในพระพุทธศาสนานิยมสราง วัดและสิ่งกอสรางตาง ๆ เก่ียวกับพระพุทธศาสนา แหลงสืบคน ความรู อยางประณีตสวยงาม สิ่งเหลานี้ไดเปนมรดกตกทอด • http://www.larnbuddhism.com ใหค นไทยไดช น่ื ชม • http://www.dhammathai.org 5. ลักษณะนิสัย มารยาท ภาษา วรรณกรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีตาง ๆ ของคนไทยลวนมีรากฐานหรือไดรับอิทธิพลมาจาก พระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนามีสภาพแวดลอ มทค่ี รอบคลมุ สังคมไทยและเปน ศูนยกลางในการทำกจิ กรรมตา ง ๆ ของชุมชน

20 หนงั สอื เรยี น รายวชิ าพื้นฐาน พระพุทธศาสนา ม. 1 3.4 พระพุทธศาสนาเปน หลกั ในการพฒั นาตนเองและครอบครัว คนไทยทนี่ บั ถอื พระพทุ ธศาสนาจะนำหลกั ธรรมมาประพฤตปิ ฏบิ ตั ใิ นชวี ติ ประจำวนั เพอื่ พฒั นา ตนเองและครอบครัวใหมีความสุขและความเจริญ โดยพระพุทธศาสนาสอนใหละเวนความชั่ว ทำความดี ทำจติ ใจใหผ องใสบริสุทธ์ิ และพัฒนาตนเองตามแนวทางของไตรสกิ ขา ซงึ่ ไดแ ก ศีล สมาธิ และปญญา เพ่ือใหเปนคนดีและคนเกงไปพรอม ๆ กัน และสามารถอยูรวมกันไดอยาง มีความสขุ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาท่ีสอนใหเราพัฒนาตนเองและครอบครัวนอกจากไตรสิกขา แลว ยงั มหี ลักธรรมอ่นื ๆ อีก เชน 1. อทิ ธิบาท เปน หลกั ธรรมหรือขอปฏิบตั ทิ น่ี ำไปสูค วามสำเร็จตามที่มุงหวงั ไว มี 4 ประการ ไดแก 1) มใี จรักทีจ่ ะทำส่ิงน้ันอยูเสมอและตองการจะทำใหไดผลดยี ิ่ง ๆ ข้นึ ไป (ฉันทะ) 2) เพียรพยายาม เขมแขง็ อดทน ไมทอถอยในการทำส่งิ นั้น ๆ (วริ ยิ ะ) 3) ต้งั ใจแนว แน ไมลงั เล ไมฟุงซานในสิ่งทีท่ ำ (จติ ตะ) 4) คดิ พิจารณาไตรตรอง ตรวจสอบขอบกพรองในสิ่งทที่ ำ มกี ารวางแผน และปรับปรุง แกไข (วมิ งั สา) 2. วุฑฒิธรรม เปนหลักธรรมหรือขอปฏิบัติท่ีมุงสรางความเจริญงอกงามใหแกชีวิต มี 4 ประการ ไดแ ก 1) คบหาสมาคมกบั บัณฑิต ผูรู หรือผทู รงคณุ วฒุ ิ (สัปปุริสสงั เสวะ) 2) เอาใจใสในการศึกษาคน ควา หาความรู (สทั ธัมมัสสวนะ) 3) รจู ักคิดพิจารณาหาเหตผุ ลอยางรอบคอบรอบดา นโดยถูกวธิ ี (โยนิโสมนสิการ) 4) นำสง่ิ ทไ่ี ดศ กึ ษาคน ควา และคดิ พจิ ารณาอยา งรอบคอบรอบดา นแลว ไปปฏบิ ตั ใิ หถ กู ตอ ง ตามความมุงหมายของสง่ิ นน้ั ๆ (ธัมมานุธมั มปฏปิ ตติ) ชวงปด เทอมเดือนเมษายนของทุกปเ ยาวชนชายที่นบั ถอื พระพทุ ธศาสนา นยิ มเขาบรรพชาสามเณรภาคฤดูรอ นตามวดั ตาง ๆ เพื่อพฒั นาตนเองตามหลกั พระพุทธศาสนา

หนงั สือเรยี น รายวชิ าพื้นฐาน พระพทุ ธศาสนา ม. 1 21 3. ฆราวาสธรรม เปน หลักธรรมหรอื ขอปฏิบัติสำหรบั การครองเรือน มี 4 ประการ ไดแก 1) จรงิ ใจและซอื่ สัตยต อกัน (สัจจะ) 2) รจู ักขมใจและหกั หามใจตนเอง รจู ักปรบั ปรงุ ตนเองใหเ ขากบั ผูอ่นื (ทมะ) 3) อดทน อดกลนั้ ตอความยากลำบากและอปุ สรรคนานปั การ (ขันต)ิ 4) มีนำ้ ใจ รจู กั เสยี สละ เออื้ เฟอเผือ่ แผต อ กัน (จาคะ) จากการทค่ี นไทยนำหลกั ธรรมทางพระพทุ ธศาสนามาเปน หลกั ในการดำเนนิ ชวี ติ ทำใหค นไทย ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ถูกตอง เมื่อประสบกับปญหาชีวิตก็รูจักใชเหตุผลหรือปญญาเปนหลัก ในการแกป ญ หาไดอ ยา งเหมาะสม ไดด ำเนนิ ชวี ติ ถกู ตอ งตามหลกั ศลี ธรรม ทำใหส งั คมไทยโดยรวม สงบสขุ และเปน ระเบยี บเรียบรอย กิจกรรมพัฒนาการเรยี นรู รว มกนั ศกึ ษาคน ควา และอภปิ รายในประเดน็ วา นอกจากหลกั ฐานและเหตผุ ลดงั ทไี่ ดศ กึ ษามาแลว ยงั มหี ลกั ฐานและเหตผุ ลอน่ื ๆ อกี หรอื ไมท ส่ี ามารถนำมายนื ยนั ไดว า พระพทุ ธศาสนาเปน ศาสนาประจำชาติ เปนสถาบันหลักของสังคมไทย เปนสภาพแวดลอมท่ีกวางขวางและครอบคลุมสังคมไทย และเปนหลัก ในการพัฒนาตนเองและครอบครวั แลว บนั ทึกลงในสมดุ 4. พุทธประวัติ พุทธประวัติ คือ เรื่องราวท่ีเกี่ยวกับพระพุทธเจา ต้ังแตประสูติ เสด็จออกผนวช ตรัสรู แสดงปฐมเทศนา ประกาศพระศาสนา จนถงึ ปรินิพพาน 4.1 การประสูติ ดินแดนท่ีประสูติของพระพุทธเจาอยูทางภาคเหนือของอินเดีย ปจจุบันอยูในเขตประเทศ เนปาล สมัยพระพุทธเจาประสูติเรียกดินแดนแหงนี้วา แควนสักกะ มีแมนำ้ โรหิณีไหลผาน มเี มอื งสำคญั 2 เมอื งต้ังอยคู นละฝง ของแมน ำ้ สายน้ีคือ เมืองกบิลพสั ดุและเมอื งเทวทหะ เมืองกบลิ พสั ดุมกี ษตั รยิ ศ ากยวงศปกครอง สว นเมอื งเทวทหะมกี ษัตริยโ กลยิ วงศป กครอง ทง้ั สองวงศก ษตั รยิ น เ้ี กย่ี วดองเปน พระญาตกิ นั โดยเจา ชายและเจา หญงิ ทง้ั สองฝา ยทรงอภเิ ษกสมรสกนั พระบดิ าของพระพทุ ธเจา คอื พระเจา สทุ โธทนะ ทรงเปน กษตั รยิ ศ ากยวงศ สายสกลุ โคตมะหรอื โคดม ปกครองเมอื งกบิลพสั ดุ สว นพระมารดาของพระพทุ ธเจา คอื พระนางสริ ิมหามายา เปนเจาหญงิ จาก โกลยิ วงศแ หง เมืองเทวทหะ เมื่อพระเจาสุทโธทนะอภิเษกสมรสกับเจาหญิงสิริมหามายา ราชธิดาของกษัตริยโกลิยวงศ ไมนานเจาหญิงก็ทรงพระครรภและเม่ือพระครรภแกจวนถึงเวลาประสูติ พระนางสิริมหามายา กก็ ราบทลู ลาพระเจา สทุ โธทนะเพอ่ื เดนิ ทางไปประสตู พิ ระโอรสทเ่ี มอื งเทวทหะของกษตั รยิ โ กลยิ วงศ ตามธรรมเนียมอินเดียสมัยกอนท่ีถือกันเครงครัดมากวา สตรีที่แตงงานแลว เมื่อมีครรภจะตอง กลบั ไปคลอดบตุ รที่บา นเรือนบิดามารดาอันเปน บานเกิดของตน

22 หนังสือเรยี น รายวชิ าพ้ืนฐาน พระพุทธศาสนา ม. 1 เม่ือพระนางสิริมหามายาพรอมดวยขาราชบริพารเสด็จถึงระหวางทางซ่ึงเปนพรมแดนของ เมืองกบิลพัสดุกับเมืองเทวทหะก็ประชวรพระครรภ จึงทรงแวะลงขางทางแลวประสูติพระโอรส ทน่ี น่ั ในพระอริ ยิ าบถยนื โดยทรงเหนย่ี วกง่ิ สาละประสตู พิ ระโอรส ขา ราชบรพิ ารทำหนา ทน่ี ำผา มารบั แลว ทำความสะอาดพระโอรส สถานท่ตี รงน้ันเรยี กวา ลมุ พินวี นั ลุมพนิ วี ันเปน สถานที่ประสตู ิของเจาชายสิทธตั ถะ ปจ จบุ นั อยทู ี่ตำบลรุมมนิ เด ประเทศเนปาล หา งจากประเทศอนิ เดียประมาณ 36 กโิ ลเมตร ในขณะประสตู จิ ากพระครรภ เจา ชายสิทธัตถะเสด็จพระราชดำเนินได 7 กา ว โดยมีดอกบวั รองรบั ใตพ ระบาท พรอ มทรงยกพระหตั ถข วาและเปลง อาสภวิ าจาวา เราจะเปน ผเู ลศิ เปน ผยู ง่ิ ใหญ เปนผูประเสริฐท่ีสุด ซ่ึงหาผูใดเสมอเหมือนไมมี ชาติน้ีเปนชาติสุดทายของเรา เราจะไมเกิดอีก ตอ ไปแลว จากเหตุการณเสด็จพระราชดำเนินได 7 กาว อาจวิเคราะหไดเปน 2 นัย คือ ในกาล ตอ ไปเมอื่ เจา ชายสทิ ธตั ถะเสดจ็ ออกผนวชจะบรรลโุ พชฌงค 7 ซง่ึ เปน ธรรมทเ่ี ปน องคแ หง การตรสั รู 7 ประการ ไดแ ก สติ (ความระลกึ ได) ธมั มวจิ ยะ (ความสอดสอ งสบื คน ธรรม) วริ ยิ ะ (ความเพยี ร) ปติ (ความอิ่มใจ) ปสสัทธิ (ความสงบกายสงบใจ) สมาธิ (ความมใี จต้ังมัน่ ) และอเุ บกขา (ความ มีใจเปนกลาง) และหลังจากตรัสรูแลว พระองคจะประกาศพระพุทธศาสนาใหแพรหลายใน 7 แควน ไดแก แควนอังคะกับมคธ แควนกาสีกับโกศล แควนวัชชี แควนมัลละ แควนวังสะ แควน กุรุ และแควนสักกะ จากเหตุการณทรงยกพระหัตถดานขวาพรอม กับทรงเปลงอาสภวิ าจา อาจวเิ คราะหไดว า พระองค ทรงเปน มหาบรุ ษุ เอกของโลก เปน ผทู ำลายสน้ิ ซงึ่ กเิ ลส ท้ังหลายที่เปนตนเหตุของการเวียนวายตายเกิด ทรงมีพระปญญาเปนเลิศ พระธรรมท่ีพระองคทรง คนพบเปนที่ยอมรับของเทวดาและมนุษยท้ังหลาย ส่ิงท่ีพระองคตรัสก็จะเปนจริงอยางน้ัน เปนอยางอ่ืน ไปไมได พระพุทธเจานอ ย

หนังสือเรยี น รายวิชาพืน้ ฐาน พระพทุ ธศาสนา ม. 1 23 ลำดบั เหตกุ ารณส ำคญั หลงั จากเจา ชายสทิ ธตั ถะประสตู แิ ลว ไดเ กดิ เหตกุ ารณต า ง ๆ ทเ่ี กย่ี วขอ ง กบั พระองคมากมาย ซึง่ สรปุ ตามลำดบั ไดดังนี้ หลงั จากประสตู ไิ ด 3 วัน อสิตดาบสเขาเย่ียมชมพระบารมี ไดประนมมือกราบลงแทบพระบาทของ หลังจากประสตู ิได 5 วัน เจาชายสิทธัตถะ จากน้ันไดทํานายวา พระราชกุมารน้ีถาอยูครองราชย จะไดเ ปนพระเจา จักรพรรดิ ถา เสดจ็ ออกผนวชจะไดเ ปน ศาสดาเอกของโลก พระเจาสุทโธทนะโปรดใหประชุมพระญาติและเสนาอำมาตย พรอมเชิญ พราหมณ 108 คน มาประกอบพธิ ีมงคล ทำนายพระลักษณะ และขนาน พระนามเจาชายสิทธัตถะ ในท่ีประชุมพราหมณไดถวายพระนามเจาชายวา สทิ ธตั ถะ ซึง่ แปลวา ผมู ีความตอ งการสำเร็จ และพราหมณ 8 ทาน ซึ่งไดร ับ การคดั เลอื กใหทำนายพระลักษณะ โดยพราหมณ 7 ทาน ทำนายเหมือนกับ ทอ่ี สติ ดาบสไดท ำนายไว สว นพราหมณโ กณฑญั ญะทำนายวา เจา ชายสทิ ธตั ถะ จะเสด็จออกผนวชและไดเ ปนศาสดาเอกของโลกแนนอน พระนางสิริมหามายา พระราชมารดาสวรรคต พระเจาสุทโธทนะจึงโปรดให พระนางปชาบดโี คตมมี าเปนมารดาเลีย้ งดแู ลเจาชายสิทธตั ถะตอมา หลังจากประสูติได 7 วัน พระเจาสุทโธทนะไดทรงสงเจาชายสิทธัตถะเขารับการศึกษาในสำนักของ ครูวศิ วามติ ร ซ่ึงเจา ชายสทิ ธตั ถะกท็ รงศึกษาไดรวดเร็ว และไมนานก็ทรงจบ หลักสตู ร เมื่อพระชนมายุ 7 พรรษา พระเจาสุทโธทนะทรงสูขอเจาหญิงพิมพาหรือยโสธรามาอภิเษกสมรสกับ เจาชายสทิ ธัตถะ เม่ือพระชนมายุ 16 พรรษา

24 หนังสอื เรียน รายวิชาพน้ื ฐาน พระพทุ ธศาสนา ม. 1 4.2 การเหน็ เทวทูต 4 ในขณะท่ีทรงอยูในวัยเยาว พระเจาสุทโธทนะ พระราชบิดาไดทรงพยายามทุกวิถีทางให เจาชายสิทธัตถะอยูครองราชสมบัติสืบตอจากพระองค ดวยการผูกมัดดวยความสุขในทางโลก เปน สำคญั มงุ ใหเ จา ชายสทิ ธตั ถะพบเหน็ แตส ง่ิ สวยงาม เชน การสรา งปราสาท 3 ฤดู ใหเ ปน ทป่ี ระทบั จัดใหอภิเษกสมรส แตดวยเหตุท่ีเจาชายสิทธัตถะทรงเปนนักคิดมาตั้งแตวัยเยาวจึงไมอาจปดกั้น ความคดิ ของพระองคได วนั หนงึ่ เจา ชายสทิ ธตั ถะไดท ลู ขอพระราชานญุ าตเสดจ็ ประพาสพระนคร พระองคไ ดท รงเหน็ คนแก คนเจ็บ คนตาย และสมณะ (นกั บวช) ตามลำดับ สงิ่ ท่ีทรงเห็นนเี้ รียกวา เทวทตู พระองค ทรงรสู กึ สลดหดหใู นพระทัยยิ่งนักเมอื่ ทรงเห็นคนแก คนเจ็บ และคนตาย และทรงเลื่อมใสและ พอพระทยั ในสมณะ ทรงคดิ วา ชวี ติ การครองเรอื นของพระองคแ มจ ะทรงเปน กษตั รยิ ม คี วามสมบรู ณ พรอมทุกอยางแตก็ยังคับแคบ จำกัด ไมมีทางที่จะแกไขใหตนเองและผูอ่ืนพนจากทุกขได คือ พนจากความแก ความเจ็บ และความตาย จึงทรงเห็นวามีทางเดียวเทานั้นท่ีจะคิดคนหาทาง พน ทกุ ขไ ด คอื การออกบวชเปนสมณะ เทวทตู 4 เจา ชายสิทธัตถะเสดจ็ ประพาสพระนครทรงเหน็ เทวทูต 4 ไดแก คนแก คนเจบ็ คนตาย และสมณะ จากเหตุการณตอนนอ้ี าจวเิ คราะหไ ดวา เทวทูต 4 ท่เี จา ชายสิทธัตถะทรงเห็นคอื สญั ญาณ ท่ีเตือนใหระลึกถึงคติธรรมของชีวิตไมใหประมาท จากพุทธประวัติไดกลาวถึงเทวทูต 4 วาเปน เหตกุ ารณท เ่ี กดิ ขน้ึ จากการบนั ดาลหรอื การเนรมติ ของเทวดาใหเ จา ชายสทิ ธตั ถะทรงเหน็ ในแตล ะครง้ั ทเี่ สดจ็ ประพาสพระนครเพอ่ื เตอื นสติ โดยเทวทตู 3 ไดแ ก คนแก คนเจบ็ และคนตาย เมอ่ื พระองค ทรงเหน็ แลว เกดิ ความรสู กึ สลดหดหใู นพระทยั ทำใหค รนุ คดิ วา ทำไมชวี ติ ของมนษุ ยจ งึ ตอ งประสบ กับความแก ความเจ็บ และความตาย มนุษยสามารถจะหลีกหนีสภาพเชนน้ีไปไดหรือไม ตอ มาเมอ่ื ทรงเหน็ เทวทตู ที่ 4 คอื สมณะหรอื นกั บวชกท็ รงพอพระทยั แลว ทรงเปลง อทุ านออกมาวา “บวชทา จะดีแน”

หนงั สอื เรยี น รายวชิ าพนื้ ฐาน พระพุทธศาสนา ม. 1 25 ความจรงิ เทวทตู 4 นี้ เจา ชายสิทธตั ถะทรงไดเหน็ ไดยนิ อยบู างในพระราชวัง โดยเฉพาะ คนแก คนเจบ็ และคนตาย แมพ ระราชบิดาของพระองคเองก็ทรงชราลงทุกวนั เพยี งแตการเหน็ ท่ีผานมาไมไดนํามาคิดพิจารณาใหรู เรื่องนารู ความจริง และที่สำคัญภายในพระราชวัง ทีม่ าของชือ่ ราหุล พระองคก ไ็ ดรับการปรนนบิ ตั อิ ยางดี ทำให พระพทุ ธโฆษาจารยผ แู ตง อรรถกถาธรรมบท การเหน็ คนแก คนเจบ็ และคนตาย เปน เพยี ง การเหน็ ผา น ๆ ทเ่ี รยี กวา การเหน็ ดว ยตาเนอ้ื ไดพรรณนาความไววา เม่ือเจาชายสิทธัตถะ แตเม่ือไดเสด็จประพาสพระนคร ไดเห็น ไดทรงทราบวาพระนางพิมพา พระชายาของ สภาพชีวิตจริง ทำใหเกิดการคิดพิจารณา พระองคประสูติพระโอรสแลว ทรงเกิดความ ที่เรียกวา การเห็นดวยตาแหงปญญา รสู กึ วา รกั ลกู ยงิ่ นกั ความรกั นนั้ เมอ่ื เกดิ ขน้ึ แลว และเม่ือทรงเห็นสมณะหรือนักบวชก็ หนักหนวงในพระทัย ผูกมัดรัดตรึงพระทัย ยง่ิ ตอกย้ำความคดิ ของพระองคว า การบวช ย่ิงกวาส่ิงใดในโลก จนทรงอุทานออกมาวา นาจะเปนหนทางท่ีจะชวยใหมนุษยพนจาก “พันธะนัง ชาตงั ราหลุ ัง ชาตัง” (เครอื่ งผกู มัด สภาพทัง้ 3 คอื ความแก ความเจ็บ และ เกดิ ขึ้นแลว หวงเกิดข้นึ แลว) คำวา “ราหลุ ัง” ความตายได หรือ “ราหุล” ทแ่ี ปลวา หวง จงึ ไดเปนพระนาม ของพระโอรส หลังจากเสด็จกลับจากการประพาส พระนครแลว เจา ชายสทิ ธตั ถะทรงครนุ คดิ ถงึ เรอ่ื งเสดจ็ ออกผนวชอยตู ลอดเวลา การทพ่ี ระองคท รง ครนุ คิดทำใหความคิดนน้ั แกก ลาขึ้นโดยลำดบั จนกระท่ังพระชนมายไุ ด 29 พรรษา เม่ือพระนาง พมิ พาประสูติพระโอรสนามวา ราหลุ พระองคจ ึงตดั สนิ พระทยั เด็ดขาดวา จะตองเสด็จออกผนวช เมอ่ื ทรงตดั สนิ พระทยั แลว จงึ ทรงเตรยี มแตง พระองค ทรงพระขรรค รบั สง่ั เรยี ก นายฉนั นะ ซึ่งเปนมหาดเลก็ คนสนิท ใหเตรียมผูก มา กัณฐกะ ครั้นตรัสส่งั แลว จงึ เสด็จเขา ไปเยย่ี มพระนาง พมิ พากบั ราหลุ กมุ าร ซง่ึ กำลงั บรรทมหลบั สนทิ อยู ทรงดำรจิ ะอมุ พระโอรสขน้ึ ชมเชยเปน ครงั้ สดุ ทา ย ก็เกรงวาพระนางพิมพาจะต่ืนบรรทมเปนอุปสรรคขัดขวางการ เสด็จออกผนวช จึงตัดสินพระทัยระงับความเสนหาในพระโอรส เสดจ็ ออกจากหอ งมาขนึ้ ประทบั มา กัณฑกะออกจากพระนครไป เจาชายสิทธัตถะเสด็จพรอมดวยนายฉันนะเขาเขตแควน โกศลและวัชชี พอสวา งก็ถึงแมน ำ้ สายเล็ก ๆ ชอ่ื อโนมา ซึ่งเปน แมน้ำแบงเขตแดนก้ันระหวางแควนสักกะ แควนโกศล และ แควนวัชชี เจาชายสิทธัตถะเสด็จลงจากหลังมาใชพระขรรค ตัดมุนมวยผมที่เรียกวา พระเมาลี โกนหนวดเคราทิ้ง ทรง อธิษฐานเปนนักบวชแลวสงนายฉันนะและมากัณฐกะกลับ พรอมกับทรงมอบพระขรรคและเครื่องทรงใหนายฉันนะนำกลับ ไปดวย เพ่อื สงขาวใหทางเมืองกบิลพัสดุทราบวาเจาชายสิทธัตถะ ไดต ดั พระเกศาและครองเพศเปน นกั บวชแลว เจา ชายสเสิทดธ็จตั อถอะกทผรนงมวาชกัณฐกะ

26 หนงั สอื เรยี น รายวชิ าพื้นฐาน พระพุทธศาสนา ม. 1 กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู รว มแสดงความคดิ เหน็ ในประเดน็ วา การทเี่ จา ชายสทิ ธตั ถะเสดจ็ ออกผนวชในขณะทพ่ี ระนางพมิ พา ประสตู ิพระโอรสใหม ๆ เปนการไมรับผดิ ชอบตอครอบครวั หรอื ไม เพราะเหตุใด แลวเขยี นบันทกึ ลงใน สมดุ 4.3 การแสวงหาความรŒู นับแตยังทรงพระเยาว เจาชายสิทธัตถะทรงมีลักษณะนิสัยท่ีเปนนักคิดและใฝหาความรู อยูเสมอ ดังตวั อยางเชน เม่ือมีพระชนมายเุ พยี ง 7 พรรษา พระองคก ็แสวงหาความสงบและเขา สมาธิจนเกิดปญญา ครั้นพระชนมายุได 8 พรรษา พระองคก็ไดรับการศึกษาตามแบบของ พระโอรสกษตั รยิ ค อื ไดเ รยี นศลิ ปศาสตร 18 ประการ จากสำนกั ครวู ศิ วามติ ร ทรงเรยี นรวู ชิ าการรบ และหลักการบริหารบานเมืองอยางรวดเร็วและแตกฉานจนหมดส้ินความรูท่ีอาจารยมี ดังนั้น จงึ นบั ไดว า นบั ตง้ั แตว ยั เดก็ จนเตบิ โตเปน หนมุ เจา ชายสทิ ธตั ถะไดท รงมคี วามรแู ละความเชย่ี วชาญ ในวิชาการทางโลกอยางสมบูรณ สทิ ธตั ถะกมุ ารทรงนง่ั สมาธิ ณ ใตต น หวา ในวนั ทม่ี พี ธิ แี รกนาขวญั เม่ือเสด็จออกผนวชแลว พระสทิ ธตั ถะไดแสวงหาความรูด วยวธิ ีเรยี นจากครู จงึ ไดเ สดจ็ ไป ทางใตถึงแควนมคธ และศกึ ษาในสำนกั ของอาจารยท่ีมชี ่ือเสยี งในสมยั นน้ั 2 ทา น คอื อาฬาร- ดาบส กาลามโคตร และอทุ ทกดาบส รามบุตร ไดทรงเรยี นจบความรทู ง้ั หมดทอ่ี าจารยม อี ยู คือ จบฌานสมาบตั ิ 7 จากสำนักอาฬารดาบส และฌานสมาบัติ 8 จากสำนกั อทุ ทกดาบส ฌานสมาบัติ คอื วิธีเขาสมาธิเปน ช้ัน ๆ ตั้งแตชั้นต่ำจนไปถงึ ชน้ั สงู ทล่ี ะเอียด สขุ มุ ลุม ลกึ แตเ มอื่ วิเคราะหแลว

หนังสือเรยี น รายวิชาพน้ื ฐาน พระพทุ ธศาสนา ม. 1 27 ก็ยังทรงเห็นวาไมใ ชทางพน ทกุ ขท ีท่ รงตอ งการ พระสิทธตั ถะทรงศกึ ษาหาความรู เพราะทรงรูวาจิตใจยังมีรัก ชัง และหลงอยู ในสำนกั ของอาฬารดาบส จงึ บอกลาอาจารยอ อกจากสำนกั นน้ั และเดนิ ทาง ตอ ไป การแสวงหาความรูในระยะนี้ทรงใชวิธี ศึกษาจากสำนักอาจารยและเจาลัทธิตาง ๆ ที่มีอยูเกากอน ทรงศึกษาหลักการ วิธีการ ทดลองปฏิบัติ และเลือกเอาประเด็นท่ีเปน สวนดแี ละเปนจุดเดน มารวมกัน เชน การเขา ฌานสมาบัติ การบริหารบังคับสวนตาง ๆ ของรา งกาย การทรมานกายใหล ำบาก การฝก บังคับจิต ซึ่งในขณะนั้นพระองคทรงเห็นวา การทรมานรางกายอาจนําไปสูความรูท่ีทรง ตอ งการได จงึ ไดท ดลองปฏบิ ตั โิ ดยทรงบำเพญ็ ทกุ กรกิริยา๑ 4.4 การบำเพญ็ ทุกกรกริ ิยา พระสิทธัตถะทรงทรมานพระองคอยา งยง่ิ ยวด ทุกกรกิรยิ า คอื การทำความเพยี ร จนพระวรกายผา ยผอมเหลอื แตหนังหุม กระดูก ที่ทำไดโดยยาก เปนการทรมานตนให ลําบากอยางยิ่งยวดท่ีเปนอุดมคติซึ่ง นักทรมานกายคิดขึ้น แตยังไมมีใครทำ สำเรจ็ คอื ทำไดน านพอทจ่ี ะเรยี กวา สำเรจ็ การบำเพญ็ ทกุ กรกิรยิ านม้ี ี 3 วธิ ี ไดแก 1. ควบคุมอวัยวะบางสวนของ รา งกายไวอยา งเขม งวด ไมป ลอ ยใหเปน ไปตามธรรมชาติ เชน ใชฟนบนกับ ฟนลางขบกันใหแนน ใชลิ้นกดเพดาน ปากใหแนนเปนเวลานาน ๆ จนเกิด ความเครยี ดทั่วท้งั รางกาย 2. กล้ันลมหายใจ โดยกล้ันใหถึง ทสี่ ดุ แลวผอ นหายใจทลี ะนอ ย แลวกล้นั ตอสลับกันไปจนเกิดความเรารอน ในรา งกายเปน อยา งยิ่ง ๑ คำวา ทุกกรกิรยิ า เขียนได ๒ แบบ คือ ทุกกรกิรยิ า เขียนตามแบบภาษาบาลแี ละทกุ รกริ ิยา เขียนตามแบบพจนานกุ รม ฉบบั ราชบณั ฑิตยสถาน

28 หนังสือเรียน รายวิชาพ้นื ฐาน พระพุทธศาสนา ม. 1 3. อดอาหาร โดยลดปริมาณอาหารท่ีบริโภคลงวันละเล็กวันละนอยทุกวัน จนกระทั่ง ไมบ ริโภคอะไรเลย การทรมานรางกายเชนนี้ไมใ ชทำเพยี งชวั่ ครูช่วั คราว แตท ำเปน เวลานานนบั ปจนพระวรกาย ซูบผอมเหลือแตหนังหมุ กระดูก พระสทิ ธตั ถะไดท รงบำเพญ็ ทกุ กรกริ ยิ าดว ยวธิ ตี า ง ๆ เหลา นอ้ี ยา งเครง ครดั แตเ มอ่ื ทรงปฏบิ ตั ิ ถึงขั้นสุดทายคืออดอาหาร จนถึงข้ันที่รางกายไมอาจจะทนทานได ในพุทธประวัติเลาวา ขณะที่ พระสิทธัตถะบำเพ็ญทุกกรกิริยาจนถึงขั้นงดเสวยเลย พระองคแทบสิ้นพระชนม มีพระวรกาย ซบู ผอมเหลือแตหนังหมุ กระดกู ไดม ีพระอนิ ทรถอื พณิ สามสายมาดีดใหฟ ง สายพิณสายท่ี 1 ขึง ลวดตึงเกินไป เมอื่ ดีดสายเลยขาด สายที่ 2 ขึงลวดหยอนเกินไปเม่อื ดีดไมด งั สายท่ี 3 ขงึ ลวด ไมห ยอน ไมตึง ขงึ พอดี ๆ เม่ือดีดดงั ไพเราะ จากเหตกุ ารณต อนนี้อาจวิเคราะหไ ดเ ปน 2 นัย คอื 1. อาจมีนักดนตรีมาดีดพิณในบริเวณใกลเคียงกับสถานที่ท่ีพระสิทธัตถะทรงบําเพ็ญ ทุกกรกิริยาอยู เม่ือพระองคไดยินเสียงพิณทำใหทรงฉุกคิดเทียบเคียงกับการปฏิบัติของพระองค และเมอ่ื พระองคไ ดส ดบั เสยี งพณิ สายท่ี 3 ดงั ออกมากเ็ กดิ อปุ มาปรากฏขน้ึ ในพระทยั ของพระองคว า ไมสดแชอยูในน้ำ ทำอยางไรก็สีใหเกิดเปนไฟไมได ถึงจะอยูบนบกแตยังสดก็สีใหเกิดไฟไมได สวนไมแหงและอยูบนบกจึงสีใหเกิดไฟได อยางแรกเปรียบเหมือนคนท่ีมีกิเลสและอยูครองเรือน อยา งทสี่ องเปรยี บเหมอื นคนทอ่ี อกบวชแตใ จยงั มกี เิ ลส และอยา งทส่ี ามเปรยี บเหมอื นคนทอ่ี อกบวช แลว และไดทำใจใหห มดจากกเิ ลส ซ่งึ ทำใหพระองคไ ดคดิ 2. พระสิทธัตถะทรงคิดพิจารณาดวยพระองคเอง เพราะหลังจากทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา มาอยา งหนกั กท็ รงพบวา ไมใ ชห นทางทจ่ี ะนำไปสกู ารพน ทกุ ข แตก ลบั ทำใหม คี วามทกุ ขม ากขน้ึ กวา เดมิ โดยทรงนึกถึงการดีดพิณที่ตองดึงสายลวดใหตึงพอดี เสียงพิณก็จะดังไพเราะ การบำเพ็ญเพียร ของพระองคก ็นาจะทำใหพอดี ๆ พระองคท รงไดค ดิ เชน นก้ี ท็ รงหนั มาทบทวนและตรวจสอบการปฏบิ ตั ขิ องพระองค ทรงเหน็ วา ปญ หาของชวี ติ นนั้ จะตอ งแกไ ขดว ยการบำเพญ็ เพยี ร ทางจิต มิใชทางกาย และจะตองดำเนินสายกลาง เหมือนพิณสายท่สี าม พระสิทธัตถะไดเรียนรูจากการทดลองปฏิบัติ ดวยพระองคเอง มองและคดิ ใครครวญอยางลกึ ซ้งึ จากธรรมชาตแิ วดลอ ม แลว ทรงนำการหลดุ พน จากภาพ ของกายและจิตมาเปรียบเทียบกบั ทอนไมสามทอน พระสทิ ธัตถะไดยนิ เสยี งพณิ ขณะทรงบำเพญ็ ทุกกรกิริยา

หนังสอื เรียน รายวชิ าพื้นฐาน พระพุทธศาสนา ม. 1 29 เมื่อพระสทิ ธตั ถะไดศกึ ษาความรทู ั้งหมดจากทุกสำนักการศกึ ษา และไดทรงทดลองปฏบิ ัติ ตามวิธีตาง ๆ ท่ีเจาลัทธิท้ังหลายไดวางแบบไวในสมัยน้ันจนครบถวนแลวไมทรงเห็นทางสำเร็จ ในการแกป ญ หาชวี ติ แตก ไ็ ดท รงวเิ คราะหพ ระองคเ องและพบวา บดั นพี้ ระองคไ ดฝ ก ตนใหห า งพน จากกามกเิ ลส เครอ่ื งพวั พนั ทางโลก หรอื ความกงั วลทางบา นเรอื นแลว หากจะทรงบำเพญ็ เพยี รทางจติ ตอไปก็จักสามารถบรรลุธรรมที่ประสงคได พระสิทธัตถะจึงทรงต้ังพระทัยแนวแน ทำจิตใหสงบ เปน สมาธิ แลว คดิ คน ควา หาเหตแุ ละผลทเ่ี ชอ่ื มโยงกบั วถิ ชี วี ติ ของมนษุ ย จนไดร ชู ดั แจง ถงึ ความจรงิ อยางยง่ิ 4 ประการ ทเี่ รยี กวา อรยิ สจั 4 ซงึ่ เปน หลักของการหลุดพน จากความทุกขทงั้ สน้ิ พระสิทธัตถะไดทรงศกึ ษาคนควาอยนู านถึง 6 ป จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษาไดต รัสรู เปนพระสัมมาสัมพทุ ธเจา เปน พระบรมศาสดานับแตบ ดั นน้ั หลังจากตรสั รูแลว พระพทุ ธเจา ทรงประกาศพระศาสนามาโดยลำดบั โดยมพี ุทธบรษิ ทั 4 เปนกำลังสำคัญเปนเวลานาน 45 ป รวมพระชนมายุได 80 พรรษา จึงไดเสด็จปรินิพพาน ใตต น สาละ ณ เมอื งกสุ นิ ารา แควน มลั ละ ในวนั ขน้ึ 15 คำ่ เดอื น 6 วันน้ีผทู น่ี ับถอื พระพทุ ธศาสนาจึงไดกำหนดให แหลง สบื คน ความรู เปนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และมีการประกอบ • http://www.dhammathai.org พิธีบูชาท่เี รยี กวา วสิ าขบูชา ซง่ึ ปฏิบตั สิ ืบตอ กนั มาจนถงึ • http://www.learntripitaka.com ทุกวันนี้ ภาพแกะสลักหนิ พระพุทธเจา เสดจ็ ดับขนั ธปรนิ ิพพาน สถานท่ีเสดจ็ ปรินิพพานของพระพทุ ธเจา ใตต นสาละ ณ เมืองกุสนิ ารา แควนมลั ละ ต้งั อยูท่ีกาเซยี หรอื กาสยา จังหวดั เทวรยิ า รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย กจิ กรรมพัฒนาการเรยี นรู รวมกันแสดงความคิดเห็นวา การท่ีเจาชายสิทธัตถะประสูติในตระกูลกษัตริย เสวยสุขอยาง เพียบพรอม แตไดเสด็จออกผนวชดำรงพระองคอยูอยางลำบาก แสดงใหเห็นวาพระองคมีคุณธรรม ทลี่ ้ำเลิศกวา คนทั่ว ๆ ไปอยา งไร แลว เขียนสรปุ ลงในสมุด

30 หนงั สอื เรียน รายวิชาพ้ืนฐาน พระพทุ ธศาสนา ม. 1 5. ชาดก ชาดก คือ เรื่องราวที่เลาถึงอดีตชาติหรือชาติกอน ๆ ของพระพุทธเจาที่ทรงถือกำเนิดใน ชาติตาง ๆ กอนทีจ่ ะประสูติและตรสั รเู ปน พระพทุ ธเจา ในชาตสิ ุดทา ย ในพระไตรปฎกมีชาดกทั้งหมด 550 เร่ือง ปรากฏอยูในพระสุตตันตปฎกเลมที่ 27 และ 28 ในฐานะที่เราเปนชาวพุทธควรศึกษาชาดกใหเขาใจ เพ่ือจะไดนำขอคิดในแงมุมตาง ๆ มาประยกุ ตใ ชในการดำเนนิ ชีวติ ในชัน้ นน้ี ักเรยี นจะไดศกึ ษาชาดกเพยี ง 2 เรอ่ื ง คอื อัมพชาดก และติตตริ ชาดก หากนักเรยี นมโี อกาสควรจะไดศ กึ ษาชาดกเร่อื งอืน่ ๆ เพ่มิ เตมิ 5.1 อมั พชาดก อัมพชาดกเรื่องนี้ พระพุทธเจาทรงแสดงไวโดยปรากฏอยูในหมวดเตรสกนิบาต ขุททก- นิกาย แหง พระสุตตันตปฎก พระไตรปฎกเลมท่ี 27 เหตเุ กดิ ของชาดกเรื่องนมี้ ีอยวู า สมัยหนึ่งพระพุทธเจาประทับอยูในวัดพระเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงทราบเร่ืองที่พระสงฆ สนทนากันในศาลาทป่ี ระชมุ เกี่ยวกบั ความประพฤตขิ องพระเทวทัต เรื่องมีอยวู า พระเทวทัตไดประกาศตนแยกการปกครองสงฆออกจากพระพุทธเจา พระสงฆท้ังหลาย ตักเตอื น แตพระเทวทตั ไมเชอ่ื ฟง อกี ทัง้ ยังปฏิเสธดว ยวาพระพทุ ธเจา ไมใ ชอ ุปช ฌายหรอื อาจารย ของตน ไมจำเปน ตอ งเคารพ การปฏิเสธน้ที ำใหพระเทวทัตเส่ือมจากฌานท่ีตนมีอยทู ันที นอกจาก จะเส่อื มจากฌานแลว ในเวลาตอมาพระเทวทตั ยังถกู แผน ดินสบู ถึงแกมรณภาพอีกดวย พระพุทธเจาจึงไดเสด็จมายังศาลาท่ีประชุมสงฆแลวตรัสกับพระภิกษุสงฆวา “พระเทวทัต เปนคนอกตัญูและเส่ือมเสียจากความดี ไมใชแตปจจุบันน้ีเทาน้ัน แมในอดีตก็เคยเปนอยางน้ี มาแลว ” จากน้นั จงึ ตรัสชาดกเรอื่ งนี้ กาลครั้งหนึ่งนานมาแลว พระโพธิสัตวเกิดในตระกูลของคนจัณฑาลอาศัยอยูในนคร ตักสิลา เปนผูรูมนตรวิเศษ สามารถเสกมะมวงใหมีผลนอกฤดูกาลได และใชมนตรวิเศษน้ีเปน เครอ่ื งมือเล้ยี งชพี มาโดยตลอด วันหนึ่งไดมีชายหนุมคนหน่ึงซึ่งเปนลูกชายของปุโรหิต หลังจากไปเรียนวิชาจบจากสำนัก ของอาจารยท ศิ าปาโมกขแ ลว ไดเ ดนิ ทางกลบั บา น ในระหวา งทางไดแ วะเขา ไปยงั หมบู า นคนจณั ฑาล ไดยินเรื่องราวของพระโพธิสัตวก็สนใจท่ี จะเรยี นมนตรว เิ ศษ จงึ เขา ไปหาพระโพธสิ ตั ว ขอเรียนมนตร แตพระโพธิสัตวไมสอนให เพราะมองเห็นเหตุการณท่ีจะเกิดขึ้นใน อนาคตแลววา ถาสอนใหชายหนุม คนน้ี ก็จะรักษามนตรไวไมได แตชายหนุมต้ังใจ จะเรียนใหไดจึงยอมลดศักด์ิศรีวรรณะ พราหมณม ารบั ใชพ ระโพธสิ ตั วแ ละภรรยาซง่ึ เปนคนจัณฑาล ทำใหพระโพธิสัตวใจออน ชายหนมุ ตามหาพระโพธสิ ตั วเพอ่ื ขอเรยี นมนตร

หนังสือเรยี น รายวิชาพ้นื ฐาน พระพุทธศาสนา ม. 1 31 ยอมสอนมนตรใ หแ ตไ ดก ำชบั ไวว า มนตน เ้ี ปน มนตรว เิ ศษ สามารถทำใหผ มู มี นตรม อี ำนาจวาสนาสงู สง ได แตผ มู ี มนตรจะตองไมลบหลูบุญคุณของผูให มิฉะน้ันแลว มนตรก็จะเส่ือม ชายหนุมผนู น้ั กย็ นื ยันรบั คำ หลงั จากเรียนมนตรจบแลว ชายหนมุ ผนู ัน้ กไ็ ด เดินทางตอไปยังเมืองพาราณสีและไดทดสอบมนตร ปรากฏวา ไดผ ล คนเฝา สวนหลวงเหน็ มะมว งสกุ จงึ ไดซ อ้ื ไปถวายพระเจาพรหมทัตกษัตริยผูครองเมืองพาราณ สี พระเจาพรหมทัตเสวยแลว ทรงพอพระทยั ในรสอนั หวานหอมของมะมว ง ไดต รสั สอบถาม ทรงทราบความ แลวรับสั่งใหนำชายหนุมผูนั้นเขาเฝา หลังจากเขาเฝา แลวชายหนุมก็ไดรบั โปรดเกลา ฯ ใหอ ยใู นราชสำนกั ชายหนุมไดเ รยี นมนตก บั พระโพธิสตั ว อยมู าวนั หนง่ึ พระเจาพรหมทตั มพี ระราชประสงคจะทอดพระเนตรการแสดงวิธีเสกมะมว ง จงึ รบั สงั่ ใหเ ขาไปยงั พระราชอทุ ยาน ไดท อดพระเนตรขน้ั ตอนการรา ยมนตรเ สกมะมว งตง้ั แตเ รมิ่ ตน จนจบพธิ ี พระเจา พรหมทตั ทรงชน่ื ชมในตวั เขามาก จงึ รบั สง่ั ถามถงึ ผปู ระสทิ ธป์ิ ระสาทมนตรว เิ ศษให เขาไมก ลา ทจ่ี ะทลู ความจรงิ วา เรยี นมาจากคนจณั ฑาล เพราะกลวั ความอปั ยศอดสจู งึ ทลู เทจ็ วา เรยี น มาจากอาจารยทศิ าปาโมกขที่นครตักสลิ า ทนั ใดนน้ั เองมนตรของเขากเ็ ส่อื มทนั ที วันตอมา พระเจาพรหมทัตมีพระราชประสงคจะทอดพระเนตรการแสดงวิธีเสกมะมวงอีก จงึ รบั สงั่ ใหเ ขาไปยงั พระราชอทุ ยานเชน เดมิ เขาเรม่ิ รา ยมนตรแ ตก ไ็ มเ ปน ผล จงึ รวู า ตนเองเสอ่ื มจาก มนตรเสียแลว ไดแตยืนหนาซีดตัวสั่นอยู ณ ตรงนั้น พระเจาพรหมทัตทอดพระเนตรเขาแลว ตรสั ถามวา “มอี ะไรเกดิ ขน้ึ หรอื ทำไมผลมะมว งสกุ จงึ ไมป รากฏเหมอื นเมอ่ื กอ น” เขากลวั ความผดิ จึงทูลเท็จวา “ขณะน้ียังไมไดฤกษยาม ผลมะมวงจึงยังไมปรากฏ เมื่อใดไดฤกษยามดีแลว ขา พระพทุ ธเจาจกั นำผลมะมว งมาถวายพระองค” พระเจาพรหมทัตทรงสงสัยในคำตอบของเขาจึงทรงซักไซไลเลียง เมื่อไมมีทางจะทูลเท็จ ตอ ไปได เขาจงึ ทลู ความจรงิ วา “ขา พระพทุ ธเจา เรยี นมนตรม าจากบตุ รของคนจณั ฑาล และเขาไดส ง่ั กำชับขาพระพุทธเจาวา ถามใี ครถามถึงช่ือและโคตรของผูใหมนตร จงบอกความจรงิ อยา ปกปด มิฉะน้ันมนตรจะเส่ือม ครั้นเมื่อพระองคตรัสถามถึง ผูบอกมนตร ขาพระพุทธเจาไดลบหลูและทูลเท็จวา พระเจา พรหมทตั ทรงขบั ไลช ายหนมุ ออกราชสำนกั ไดเรยี นมนตรมาจากอาจารยท ิศาปาโมกข มนตรของ ขาพระพทุ ธเจา จึงเสอ่ื มเสียแลว ” เมื่อทรงสดับเชนนั้น พระเจาพรหมทัตก็ทรง ตำหนิ รับส่งั ใหล งอาญาเฆย่ี นตชี ายหนมุ ผูนั้นและให ขับไลออกไปจากราชสำนัก เขากลายเปนคนอนาถา ซมซานไปยังหมูบานคนจัณฑาลขอเรียนมนตรเสก มะมวงจากพระโพธิสัตวอีกครั้ง แตพระโพธิสัตว ไมยอมใหเขาเรยี น และกลาวส่ังสอนเขาวา

32 หนงั สือเรียน รายวชิ าพ้นื ฐาน พระพทุ ธศาสนา ม. 1 “เราไดใ หท า นเรยี นมนตรด ว ยชอบธรรม ทา นกเ็ รยี นมนตรด ว ยความชอบธรรม หากทา นตง้ั ใจ รกั ษามนตรไ ว มนตรก จ็ ะไมเ สอ่ื มไปจากทา น คนพาลเอย มนตรใ ดทจ่ี ะพงึ ไดใ นโลกมนษุ ย มนตรน น้ั ทานจะไดในวันน้ีโดยลำบาก ทานผูไมมีปญญากลาวคำเท็จ ทำใหมนตรอันมีคาเสมอชีวิตท่ีได มายากเส่ือมเสียแลว เราจะไมใ หมนตรน้ีแกทา นอีก ทา นเปน คนพาล หลงงมงาย อกตญั ู พูดเท็จ ไมม คี วาม สำรวม มนตรจ ักมีแตท ่ีไหน จงไปเสียเถดิ เราไมพ อใจทา นเลย” ชายหนุมผูน้ันไดฟงเชนนั้นก็เสียใจและละอายใจย่ิงนัก จึงเดินทางออกจากบานของ พระโพธสิ ัตวบายหนาเขาปา ตอ มามผี พู บศพเขาอยูในปา นนั้ เม่ือตรัสชาดกเรื่องน้ีจบลงแลวพระพุทธเจาไดตรัสยำ้ วา “ผูไมรูคุณครูอาจารยยอมเปน คนเส่ือม ทำการงานก็เส่ือม สวนคนกตัญูรูคุณคนอื่นยอมเปนคนเจริญในที่ทุกสถานในกาล ทุกเมือ่ ” 5.2 ติตติรชาดก ตติ ตริ ชาดกเรอื่ งน้พี ระพทุ ธเจา ทรงแสดงไว โดยปรากฏอยูในหมวดเอกนบิ าต ขทุ ทกนกิ าย แหงพระสตุ ตันตปฎก พระไตรปฎกเลม ที่ 27 เหตุเกดิ ของชาดกเรอื่ งนม้ี ีอยวู า สมัยหนึ่งพระพุทธเจาประทับอยูในวัดพระเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงทราบเรื่องท่ีพระสงฆ สนทนากนั ในศาลาทปี่ ระชุม คอื เรอื่ งการหามเสนาสนะของพระสารบี ุตร สมัยน้ัน เม่ืออนาถบิณฑิกเศรษฐีสรางวัดพระเชตวันเสร็จ ไดสงคนไปนิมนตพระพุทธเจา พระพุทธองคไดเสด็จจากเมืองราชคฤหพรอมดวยพระสงฆสาวกมารับการถวายพระวิหาร มีพระภิกษุสงฆกลุมหน่ึงเรียกช่ือวา ฉัพพัคคีย ไดเดินทางลวงหนาไปกอน เม่ือถึงเมืองสาวัตถี ไดพ ากนั จบั จองเสนาสนะ (ทอ่ี ย)ู เอาไวใ หพ ระอปุ ช ฌายแ ละอาจารยข องตน ทำใหพ ระสารบี ตุ รเถระ ทมี่ าถึงทหี ลงั ไมไดเสนาสนะ จึงไดร บั ความลำบาก พระพทุ ธเจา จงึ ไดเ สดจ็ มายงั ศาลาทป่ี ระชมุ สงฆแ ลว ตรสั วา “ภกิ ษทุ ง้ั หลายควรกระทำอภวิ าท การลุกรบั อัญชลีกรรมและสามจี ิกรรมตอผอู าวุโส (แก) กวา ภกิ ษคุ วรไดร ับอาสนะ น้ำ และขาว ที่ดีตามลำดับอาวุโส ภิกษุท้ังหลายเร่ืองนี้ไมใชมีแตปจจุบันน้ีเทานั้น ในอดีตก็เคยมีมาแลว” จากน้นั จึงตรสั ชาดกเร่ืองนี้ กาลครง้ั หนง่ึ นานมาแลว เมอ่ื พระเจา พรหมทตั ครองราชสมบตั อิ ยใู นเมอื งพาราณสี พระโพธสิ ตั ว เกิดเปนนกกระทาอาศัยอยูท่ีตนไทรใหญตนหน่ึง ในปา หมิ พานต พรอมสัตว 2 สหายคอื ลงิ และชา ง สตั ว 3 สหายอาศยั อยรู ว มกนั บรเิ วณตน ไทรใหญ อยมู าวนั หนง่ึ สตั วส ามสหายกเ็ ถยี งกนั เกย่ี วกบั อายุของพวกเขาวาระหวางเราทงั้ สามใครเปนพ่ี ใคร เปนนอ ง หากใครเกิดกอ นกจ็ ะนับถือเปนพ่ีเปนนอง ตามลำดบั นกกระทาและลงิ ไดถ ามชา งวา “ทา นจำได ไหมวา ตอนทที่ า นเกดิ มานัน้ ตน ไทรนีใ้ หญแ คไ หน” ชา งตอบวา “ฉันจำได ตอนเปน ชา งตวั เล็ก ๆ ฉนั ยัง เคยเอาทองไปเสยี ดสีกับยอดตน ไทรเลย”

หนงั สอื เรยี น รายวิชาพ้นื ฐาน พระพุทธศาสนา ม. 1 33 ครน้ั แลว ลงิ ไดพูดบา งวา “เมอ่ื ฉันเปนลิงตวั เลก็ ๆ กเ็ คยน่งั ลงตรวจดูตน ไทรท่กี ำลงั งอก จากเมล็ด บางครั้งฉันยงั เคยโนม ยอดไทรมาแทะเลน เลย” ตอมาลิงและชางไดถามนกกระทาวา “ตอนท่ีทานเกิด จำไดไหมวาตนไทรนี้ใหญแคไหน” นกกระทาวา “เมอ่ื ตอนฉนั เปน หนมุ ๆ นน้ั ฉนั เทย่ี วหาอาหารใกล ๆ ปา น้ี และในปา นก้ี ม็ ตี น ไทรใหญ ตนหนึ่ง ซ่ึงมีผลสุกเต็มตน ฉันไดกิน และวันตอมาก็ไดถายลงไป เมล็ดไทรท่ีฉันถายก็งอก เจรญิ เตบิ โตเปน ตน ไทรทพี่ วกเราไดอ าศยั อยนู แ่ี หละ ดงั นนั้ ฉนั จงึ รจู กั ตน ไทรนตี้ งั้ แตม นั ยงั ไมเ กดิ เพราะฉะน้นั ฉันจงึ แกกวาทานท้ังสองโดยกำเนดิ ” สตั ว 3 สหายใหค วามเคารพนบั ถอื กนั ตามลำดบั อาวโุ ส เมอื่ นกกระทากลา วอยา งนน้ั ท้ังลิงและชางจึงพูดวา “เพ่ือนรัก ทานแกก วา เราทง้ั หมด ต้งั แตบ ัดนี้ เปนตนไปพวกเราทั้งสองจะให ความเคารพนับถือและเชื่อฟงทาน ในฐานะท่ที านเปนพใี่ หญ โปรดได ตักเตือนเราท้ังสองดวยหากเรา ทั้งสองไดกระทําความผิดหรือ ลวงเกนิ ทา นโดยไมเจตนา” นกกระทาตอบวา “ขอขอบคณุ ในไมตรีจิตของพวกทาน และเรา ขอใหส ญั ญาวา จะรกั ษาเกยี รตอิ นั น้ี จนกวา ชวี ิตจะหาไม” ต้ังแตน้นั มา สตั วท ง้ั สามกใ็ หค วามเคารพยำเกรง ซ่ึงกันและกันตามลําดับอาวุโส จนกระทง่ั ตาย พระพุทธเจาเม่ือตรัสชาดกเรื่องนี้จบลงแลวได แหลงสบื คน ความรู ตรสั ย้ำวา “นรชนเหลา ใดฉลาดในธรรม มคี วามนอบนอ ม • http://www.dhammathai.org ถอ มตนตอ ผใู หญ นรชนเหลา นนั้ ยอ มไดร บั การสรรเสรญิ ในปจจบุ นั นแี้ ละในอนาคตตอ ๆ ไป” กจิ กรรมพฒั นาการเรียนรู เขยี นเรยี งความสน้ั ๆ วา หลงั จากเรยี นเรอ่ื ง อมั พชาดกและตติ ตริ ชาดกจบแลว นกั เรยี นไดข อ คดิ หรือคติธรรมอะไรบา ง แลว จะนำขอคดิ หรือคติธรรมนน้ั ไปประยุกตใ ชในชีวิตประจำวนั อยา งไร

34 หนังสือเรยี น รายวิชาพน้ื ฐาน พระพทุ ธศาสนา ม. 1 บทสรุป การสังคายนาเปนการรวบรวมและเรียบเรียงคำส่ังสอนของพระพุทธเจาใหเปนระเบียบ เปนหมวดหมู และเปนแบบแผนอนั เดียวกนั หลงั จากพระพทุ ธเจาปรนิ ิพพานแลว มีการสังคายนา ท้ังในประเทศอนิ เดยี และประเทศอืน่ ๆ ไดแก ศรีลงั กาและไทย รวมทง้ั ส้นิ 11 ครง้ั พระพุทธศาสนาไดเผยแผเขา สูป ระเทศไทยหลังจากการสงั คายนาคร้งั ที่ 3 ซง่ึ กระทำข้ึนใน สมัยของพระเจาอโศกมหาราช ณ อโศการาม เมอื งปาฏลบี ตุ ร ประเทศอินเดยี ตั้งแตน ้ันมาคนไทย กไ็ ดย อมรบั นบั ถอื พระพทุ ธศาสนามาโดยตลอด การทค่ี นไทยนบั ถอื พระพทุ ธศาสนาทำใหพ ระพทุ ธ- ศาสนามีความสำคัญตอสังคมไทยทั้งในฐานะเปนศาสนาประจำชาติ เปนสถาบันหลัก เปนสภาพ แวดลอมที่กวา งขวางและครอบคลมุ สังคมไทย และเปน หลักในการพัฒนาตนเองและครอบครวั พุทธประวัติเปนเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจา การศึกษาและวิเคราะหพุทธประวัติในเรื่อง การประสูติ การเห็นเทวทูต การแสวงหาความรู และการบำเพ็ญทุกกรกิริยา ทำใหมีความรู ความเขาใจและเกิดความซาบซึ้งในคุณความดีของพระองค แลวพยายามนำมาเปนแบบอยาง ในการดำเนินชีวติ ชาดกเปน เรื่องราวท่ีเลา ถงึ อดตี ชาติของพระพุทธเจา ในชาตติ าง ๆ เม่อื ครง้ั เปนพระโพธสิ ัตว การศึกษาอัมพชาดกและติตติรชาดกทำใหมีความรูความเขาใจและไดขอคิดหรือคติธรรมในเรื่อง ความกตญั ูกตเวทีและความเคารพนับถือกันตามฐานะ ซึ่งเราสามารถนำขอคิดหรือคติธรรมจาก ชาดกเรอ่ื งนนั้ ๆ มาปฏบิ ัติหรือประยกุ ตใชในการดำเนินชวี ติ ได กิจกรรมเสนอแนะ 1. เขียนเรียงความเก่ียวกับความสำคัญของพระพุทธศาสนาท่ีมีตอสังคมไทย ที่นักเรียนสนใจ 1 เร่อื ง สงใหค รูตรวจ จากนัน้ รวมกนั คัดเลือกเรียงความเพอ่ื จดั ปายนิเทศ 2. นักเรียนแตละคนศึกษาคนควาเพิ่มเติมเกี่ยวกับพุทธประวัติต้ังแตประสูติจนถึงตรัสรู อริยสัจ 4 จากน้ันรวมกลุมกัน 5 คน เลาพุทธประวัติท่ีตนไดศึกษาคนความาใหสมาชิก ในกลมุ ฟง เลขานุการกลุมจดบนั ทึกสรุป แลวสงตัวแทนกลุมนำเสนอผลงานหนาชน้ั เรียน 3. เลือกขอคิดหรือคติธรรมจากอัมพชาดกและติตติรชาดก เขียนเรียงความเพ่ือรณรงคและ สงเสริมใหเพื่อนนักเรียนนำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ครูและนักเรียนรวมกันแสดง ผลงานของนกั เรียนโดยจัดปายนเิ ทศหนาชน้ั เรียน โครงงาน ทำโครงงานเก่ียวกับการเผยแผพระพุทธศาสนาเขาสูประเทศไทย เชน ศึกษาการเดินทาง มาเผยแผพระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิของคณะสมณทูตสายที่ 8 หรืออาจเลือกทำ โครงงานอ่ืนตามความสนใจ โดยใหเก่ียวของกับเนื้อหาในบทเรียน และเสนอช่ือโครงงานใหครู พจิ ารณากอน

หนังสือเรยี น รายวชิ าพ้นื ฐาน พระพทุ ธศาสนา ม. 1 35 การประยกุ ต ใช ในชวี ติ ประจาํ วนั 1. เราควรที่จะปฏิบัติตนตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาในเร่ืองอะไรบาง จึงจะสอดคลอง กับคำกลา วทวี่ า “พระพุทธศาสนาเปนหลักในการพฒั นาตนเองและครอบครวั ” 2. นกั เรยี นเคยมพี ฤตกิ รรมดงั ตอ ไปนบี้ า งหรอื ไม ถา มจี ะทำใหก ารดำเนนิ ชวี ติ อยรู ว มกบั บคุ คลอน่ื ในสงั คมเปนอยางไร 1) มเี มตตากรุณา พากเพียรพยายาม ใฝเรยี นใฝร ู และแกป ญ หาตาง ๆ ดว ยปญญา 2) เสียสละประโยชนสวนตัวเพื่อประโยชนสวนรวม โดยถือประโยชนสวนรวมสำคัญกวา ประโยชนส ว นตวั คาํ ถามทบทวน 1. พระมหากษัตริยอินเดียพระองคใดที่ทำใหพระพุทธศาสนาแผขยายกวางขวางออกไปนอกเขต ดินแดนชมพูทวปี และพระองคท รงใชว ิธีการใด 2. การสง คณะสมณทูตไปเผยแผพ ระพทุ ธศาสนา 9 สาย ในสมัยพระเจา อโศกมหาราช สายใด ประสบผลสำเรจ็ มากทีส่ ดุ เพราะอะไร 3. “ขาว คือ บรสิ ุทธศ์ิ รีสวัสด์ิ หมายพระไตรรตั น และธรรมะคมุ จติ ไทย แดง คอื โลหติ เราไซร ซ่ึงยอมสละได เพ่ือรกั ษาชาตศิ าสนา นำ้ เงนิ คอื สีโสภา อนั จอมประชา ธ โปรดเปนของสวนองค” ขอความนีแ้ สดงใหเ ห็นวา พระพทุ ธศาสนามคี วามสำคญั ตอ สังคมไทยในดา นใด 4. นกั เรียนไดขอ คิดอะไรบางจากการศกึ ษาพุทธประวัตแิ ละชาดก และจะนำขอ คิดน้นั ไปประยกุ ต ใชใ นชวี ิตประจำวนั อยา งไร 5. ชาดก พระโพธิสตั ว และพระพทุ ธเจาเกย่ี วขอ งกนั อยา งไร

2 พระธรรม ตัวชี้วัดช้ันป 1. อธบิ ายพทุ ธคุณและขอ ธรรมสำคญั ในกรอบอริยสจั 4 หรือหลักธรรมของศาสนาทตี่ นนบั ถือ ตามทก่ี ำหนด เหน็ คณุ คา และนำไปพฒั นา แกป ญ หาของตนเองและครอบครวั (ส 1.1 ม. 1/5) 2. วิเคราะหและปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนาท่ีตนนับถือในการดำรงชีวิตแบบพอเพียง และดแู ลรักษาส่งิ แวดลอ มเพอื่ การอยูรว มกนั ไดอยา งสนั ตสิ ขุ (ส 1.1 ม. 1/8) พุทธคณุ 9 ยํ เว เสวติ ตาทโิ ส อตฺตนา โจทยตตฺ านํ พระรตั นตรยั การปฏิบตั ิตน (คบคนเชน ใด เปนคนเชน น้ัน) (จงเตือนตนดว ยตน) อริยสัจ 4 ตามหลกั ธรรม พทุ ธศาสนสภุ าษิต พระธรรม หลกั ธรรมทาง พระพทุ ธศาสนา ทุราวาสา ฆรา ทุกขฺ า นิสมฺม กรณํ เสยฺโย (เรือนที่ครองไมดี นำทกุ ขมาให) (ใครค รวญกอ นแลวจงึ ทำดกี วา ) ประโยชนจากการเรยี นรู คําถามนํา ประพฤติปฏิบัติตนตามหลักธรรมทาง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามีจำนวนมาก พระพทุ ธศาสนาในโอกาสตา ง ๆ ไดอ ยา งถกู ตอ ง ในฐานะที่นักเรียนเปนชาวพุทธจะนำหลักธรรม เหมาะสม ดังกลาวมาประพฤติปฏิบัติใหเกิดผลดีในชีวิต ประจำวนั ไดอ ยา งไร