บทพากย์เอราวัณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดทำโดย นางสาวดวงชีวัน แก้วเรียบ ที่มา : https://blog.startdee.com
ที่มา : https://blog.startdee.com
คำนำ สื่อการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่ง ของรายวิชาการออกแบบสื่อและผลิตสื่อการสอนภาษาไทย การศึกษา ภายในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะกล่าวถึงเนื้อหาในบทพากย์เอราวัณซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งในวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้จัดทำ เพื่อประกอบการเรียนการสอน ตลอดจนผู้สนใจ ผู้จัดทำหวังว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ ต่อผู้สนใจเรื่องบทพากย์เอราวัณ ไม่มากก็น้อยหากมีความผิดพลาด ประการ ปู้จัดทำขอน้อมรับและขออภัยไว้ ณ ทีนี้ด้วย ดวงชีวัน แก้วเรียบ ผู้จัดทำ
สารบัญ หน้าที่ คำนำ ก สารบัญ ข ความเป็นมา 1-2 ลักษณะคำประพันธ์ 3 เรื่องย่อและสาระสำคัญ 4 ถอดคำประพันธ์ 5 -12 ตัวละคร 13 - 19 คุณค่าของเรื่อง 20 - 22 ข้อคิดจากเรื่อง 23 คำศัพท์น่ารู้ 24 - 25 ความรู้เพิ่มเติม 26 แบบทดสอบ 27-30 อ้างอิง 31
1 ความเป็นมา ที่มาของเรื่อง บทพากย์เอราวัณ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อใช้ในการแสดงมหรสพประเภทหนังใหญ่และโขนโดยนำเนื้อเรื่อง ในตอนศึกอินทรชิต จากวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ ซึ่งมีเค้าโครงเรื่อง มาจาก วรรณคดีเรื่อง รามายณะ ของอินเดีย ที่มา : https://blog.startdee.com
2 ประวัติผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอิศรสุนทร ฯ พระพุทธเลิศหล้า นภาลัย (พ.ศ.๒๓๑o-พ.ศ.๒๓๖๗ ครองราชย์ พ.ศ.๒๓๕๒-พ.ศ.๒๓๖๗) รัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ทรงมี พระนามเดิมว่า ฉิม พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๑ ณ ตำบล อัมพวา เมืองสมุทรสาคร เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา พระราชบิดาได้ ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ พระนามว่า \"พระบาทสมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าจุฬาโลก\" จึงได้รับการสถาปนาพระยศขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรม หลวงอิสรสุนทร เมื่อพระชนมายุครบ ๒๒ พรรษา ทรงผนวช ณ วัดพระ- ศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวังและเสด็จไปจำพรรษาที่วัดสมอราย (วัด ราชาธิวาส) ทรงจำพรรษาอยู่นาน ๓ เดือน (๑พรรษา) จึงทรงลาผนวช ต่อมาทรง ได้รับการสถาปนาเลื่อนยศขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๙ หลังจากนั้นอีกเพียง ๒ ปี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอด-ฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จสวรรคต กรมพระราชวังบวรสถานมงคลซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุได้ ๔๒ พรรษา จึงได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรี ที่มา : https://blog.startdee.com
3 ลักษณะคำประพันธ์ บทพากย์เอราวัณแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทกาพย์ฉบัง ๑๖ สาเหตุที่เป็น ๑๖ ก็เพราะหนึ่งบทจะมี ๑๖ คำ/พยางค์ โดย ๑ บท มี ๓ วรรค มีสัมผัสบังคับอยู่ที่คำสุดท้ายของวรรคแรกและ วรรคที่สอง ส่วนคำสุดท้ายของวรรคที่สามใช้ส่งเข้าบทถัดไป กาพย์ฉบัง ๑๖ มีฉันทลักษณ์และตัวอย่างดังนี้ ตัวอย่างบทประพันธ์ เหมือนองค์อมรินทร์ เผือกผ่องผิวพรรณ ๏ อินทรชิตบิดเบือนกายิน เศียรหนึ่งเจ็ดงา ทรงคชเอราวัณ ๏ ช้างนิมิตฤทธิแรงแข็งขัน สีสังข์สะอาดโอฬาร์ ๏ สามสิบสามเศียรโสภา ดั่งเพชรรัตน์รูจี ที่มา : https://blog.startdee.com
4 เรื่องย่อและสาระสำคัญ บทพากย์เอราวัณมีที่มาจากรามเกียรติ์ ตอน ศึกอินทรชิต ซึ่งศึก อินทรชิตก็เป็นตอนหนึ่งจากรามเกียรติ์ทั้งหมดกว่า ๑๗๘ ตอน (อ้างอิงจาก หนังสือชุดวรรณคดีอมตะของไทย โดยเปรมเสรี) อินทรชิตเป็นบุตรของทศ กัณฐ์กับนางมณโฑ เดิมทีชื่อ “รณพักตร์” แต่เปลี่ยนชื่อเป็น “อินทรชิต” เนื่องจากเป็นผู้รบชนะพระอินทร์ อินทรชิตบำเพ็ญตบะมายาวนานจึงเป็น ยักษ์ที่มีฤทธิ์แก่กล้ามาก แถมยังมีอาวุธวิเศษ ๓ อย่างที่ได้มาจากการทำพิธี ขออาวุธจากมหาเทพทั้งสามอีก หนึ่งในนั้นคือศรพรหมาสตร์ และพรที่ทำให้ แปลงร่างเป็นพระอินทร์ได้ (อาวุธและพรนี้อินทรชิตได้มาจากพระอิศวร) ซึ่ง พรข้อนี้มีบทบาทอย่างมากในรามเกียรติ์ ตอน ศึกอินทรชิต จากพรข้อนี้ ในตอนที่อินทรชิตจัดทัพออกไปรบกับฝ่ายพระราม อินทรชิตจึงใช้อุบายแปลงกายเป็นพระอินทร์ และให้การุณราชแปลงเป็น ช้างเอราวัณ เพื่อให้พระรามและกองทัพหลงใหลในความงดงามอลังการ เนื้อหาส่วนใหญ่จึงพรรณนาถึงความยิ่งใหญ่สวยงามของช้างเอราวัณ (ปลอม ๆ) และกองทัพเหล่าผู้วิเศษ (ปลอม ๆ อีกเช่นกัน) และมีส่วนที่ กล่าวถึงการเคลื่อนทัพของพระรามไปยังสนามรบ ซึ่งระหว่างที่เคลื่อนพลก็ เกิดปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติต่าง ๆ มากมาย โดยจุดมุ่งหมายของอินทรชิตในศึกครั้งนี้คือยิงศรพรหมาสตร์ใส่พระ ลักษมณ์ ศรพรหมาสตร์เป็นอาวุธวิเศษที่อินทรชิตได้มาจากพระอิศวร เป็น อาวุธที่ทรงพลังมาก และทำให้กองทัพของพระรามพ่ายแพ้ไปในศึกครั้งนี้ ที่มา : https://blog.startdee.com
5 ถอดคำประพันธ์ อินทรชิตบิดเบือนกายิน เหมือนองค์อมรินทร์ ทรงคชเอราวัณ เผือกผ่องผิวพรรณ เศียรหนึ่งเจ็ดงา ช้างนิรมิตฤทธิแรงแข็งขัน สีสังข์สะอาดโอฬาร์ สามสิบสามเศียรโสภา ดังเพชรรัตน์รูจี บทแรกนั้นเล่าว่าอินทรชิตได้ “บิดเบือน” หรือ “แปลง” กายเป็น พระอินทร์ (ด้วยการใช้พรที่ได้มาจากพระอิศวร) พร้อมกับทรงช้างเอราวัณ ที่เป็นช้างทรงของพระอินทร์ ส่วนช้างเอราวัณที่ถูกเนรมิตขึ้นมานั้นก็ แข็งแกร่งสวยงาม ผิวของช้างเอราวัณนั้นสีขาวสะอาดเหมือนหอยสังข์ มี เศียรงดงาม ๓๓ เศียร แต่ละเศียรมีงา ๗ กิ่ง สวยงามราวกับเพชร งาแต่ละ กิ่งมีสระบัว ๗ สระ แต่ละสระมีกอบัว ๗ กอ แต่ละกอมีดอกบัว ๗ ดอก แต่ละดอกมีกลีบบัวบาน ๗ กลีบ แต่ละกลีบมีนางฟ้ารูปงาม ๗ องค์ เรียกได้ ว่าวิจิตรอลังการ ที่มา : https://blog.startdee.com
6 ถอดคำประพันธ์ นางหนึ่งย่อมมีบริวาร อีกเจ็ดเยาวมาลย์ ล้วนรูปนิรมิตมารยา จับระบำรำร่ายส่ายหา ชำเลืองหางตา ทำทีดังเทพอัปสร มีวิมานแก้วงามบวร ทุกเกศกุญชร ดังเวไชยันต์อมรินทร์ เครื่องประดับเก้าแก้วโกมิน ซองหางกระวิน สร้อยสายชนักถักทอง ตาข่ายเพชรรัตน์ร้อยกรอง ผ้าทิพย์ปกตระพอง ห้อยพู่ทุกหูคชสาร นางฟ้าแต่ละองค์ยังมีบริวารที่เป็นหญิงงามอีกตั้ง ๗ นาง แถม แต่ละนางก็กำลังร่ายรำด้วยท่าทางสวยงามอย่างนางฟ้า นอกจากนี้ที่เศียร แต่ละเศียรของช้างเอราวัณยังมีวิมานแก้วที่สวยงามราวกับวิมานเวไชยันต์ของ พระอินทร์ ประดับตกแต่งอย่างสวยงามด้วยแก้วเก้าประการ ได้แก่ เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย และไพฑูรย์ ซองหาง และ กระวินของช้างเอราวัณถูกถักร้อยด้วยสร้อยทอง และมีผ้าทิพย์ปกตระพองซึ่ง ร้อยประดับด้วยเพชร มีสายสร้อยห้อยเป็นพู่ลงทั่วทุกหูช้าง ที่มา : https://blog.startdee.com
7 ถอดคำประพันธ์ โลทันสารถีขุนมาร เป็นเทพบุตรควาญ ขับท้ายที่นั่งช้างทรง เปลี่ยนแปลงกายคง รีบเร่งรี้พล บรรดาโยธาจัตุรงค์ เป็นเทพไทเทวัญ ลอยฟ้ามาในเวหน มาถึงสมรภูมิชัย ขุนมารโลทัน (สารถี (คนขับรถ) ของอินทรชิต) แปลงกายเป็นเทพบุตร นั่งบังคับช้างอยู่ท้ายช้าง ทัพทั้ง ๔ เหล่าต่างแปลงกายเป็นเทพและอมนุษย์ผู้มีฤทธิ์ ทัพหน้าอารักขไพรสัณฑ์ ทัพหลังสุบรรณ กินนรนาคนาคา คนธรรพ์ปีกขวา โตมรศรชัย ปีกซ้ายฤาษิตวิทยา รีบเร่งรี้พล ตั้งตามตำรับทัพชัย ผ้าทิพย์ปกตระพอง ล้วนถืออาวุธเกรียงไกร พระขรรค์คทาถ้วนตน ลอยฟ้ามาในเวหน มาถึงสมรภูมิชัย ตาข่ายเพชรรัตน์ร้อยกรอง ห้อยพู่ทุกหูคชสาร ทัพหน้าคือเทพารักษ์ ทัพหลังคือครุฑ กินนร และนาค ปีกซ้ายคือฤๅษีและ วิทยาธร ปีกขวาคือคนธรรพ์ การจัดกระบวนทัพเป็นไปตามตำราสงคราม ทหารทั้ง ๔ เหล่าทัพต่างถืออาวุธครบครัน ได้แก่ หอก ธนู ดาบ กระบอง เหาะเหินบนฟ้า เคลื่อนทัพมาถึงสนามรบ
8 ถอดคำประพันธ์ เมื่อนั้นจึงพระจักรี พอพระสุริย์ศรี อรุณเรืองเมฆา เฟื่องฟุ้งวนา ร่อนราถาลง ลมหวนอวลกลิ่นมาลา ไก่ขันปีกตี นิวาสแถวแนวดง ผึ้งภู่หมู่คณาเหมหงส์ แทรกไซ้ในสร้อยสุมาลี ดุเหว่าเร้าเร่งพระสุริย์ศรี กู่ก้องในท้องดงดาน ครั้นรุ่งเช้ามีลมพัดโชยกลิ่นหอมของดอกไม้ฟุ้งไปทั่วป่า ผึ้ง แมลงภู่ และ หมู่หงส์ทองก็บินร่อนถลาแทรกตัวลงในดอกไม้เพื่อหาอาหาร นกดุเหว่าและไก่ขัน ร้องตีปีกไปทั่วเป็นสัญญาณว่าเช้าแล้ว ปักษาตื่นตาขันขาน หาคู่เคียงประสาน สำเนียงเสนาะในไพร สร่างแสงอโณทัย ธิบดินทร์เธอบรรเทือง เดือนดาวดับเศร้าแสงใส ก็ผ่านพยับรองเรือง จับฟ้าอากาศแลเหลือง บรรทมฟื้นจากไสยา นกตื่นนอนร้องขับขานหาคู่ประสานเสียงไพเราะอยู่ในป่า ส่วนเดือนและ ดาวก็อับแสงลง ท้องฟ้าสว่างไสวเป็นสีเหลือง พระรามตื่นขึ้นจากที่บรรทมแล้วจึง เตรียมกองทัพ
9 ถอดคำประพันธ์ เมื่อนั้นจึงพระจักรีเสด็จทรงรถแก้วโกสีย์ ไพโรจน์รูจี จะแข่งซึ่งแสงสุริย์ใส เทียมสินธพอาชาไนย เริงร้องถวายชัย ชันหูระเหิดหฤหรรษ์ มาตลีสารถีเทวัญ กรกุมพระขรรค์ ขับรถมากลางจัตุรงค์ เพลารอยพลอยประดับดุมวง กึกก้องกำกง กระทบกระทั่งธรณี พระรามขึ้นรถทรงอันงดงามที่พระอินทร์ประทานให้ รถม้าส่งเสียงร้อง ม้า ชันหูสูงส่งสัญญาณพร้อมที่จะออกรบ มาตลีเป็นสารถีขับรถทรงมากลางกองทัพทั้ง ๔ เหล่า มือถือพระขรรค์ รถทรงประดับพลอยตามเพลาและดุม เสียงรถวิ่งดัง กึกก้องทั้งแผ่นดิน มยุรฉัตรชุมสายพรายศรี พัดโบกพัชนี กบี่ระบายโบกลม อึงอินทเภรีตีระงม แตรสังข์เสียงประสม ประสานเสนาะในไพร เสียงพลโห่ร้องเอาชัย เลื่อนลั่นสนั่นใน พิภพเพียงทำลาย สัตภัณฑ์บรรพตทั้งหลาย อ่อนเอียงเพียงปลาย ประนอมประนมชมชัย ลิงคอยโบกมยุรฉัตร ชุมสาย พัดโบก พัชนี เสียงกลองที่ใช้ตีให้สัญญาณ ออกรบดังไปทั่ว เสียงแตรสังข์ประสานเสียงกันอย่างไพเราะในป่า เสียงพลทหารโห่ร้องเอาชัยสนั่นหวั่นไหวราวกับจะพื้นถล่มก่อนออกรบ สัตภัณฑ์ บรรพต (ชื่อหมู่เขา ๗ ชั้นที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ) ต่างโน้มเอียงลงมาเพื่อทำความ เคารพ
10 ถอดคำประพันธ์ พสุธาอากาศหวาดไหว เนื้อนกตกใจ ซุกซ่อนประหวั่นขวัญหนี ลูกครุฑพลัดตกฉิมพลี หัสดินอินทรี คาบช้างก็วางไอยรา วานรสำแดงเดชา หักถอนพฤกษา ถือต่างอาวุธยุทธยง ไม้ไหล้ยูงยางกลางดง แหลกลู่ล้มลง ละเอียดด้วยฤทธิโยธี แผ่นดินและอากาศสะเทือนเลื่อนลั่น สัตว์ต่าง ๆ ตกใจหาที่ซุกซ่อนตัว แม้แต่ ลูกครุฑเมื่อได้ยินเสียงของฝ่ายกองทัพพระรามก็ตกใจพลัดตกจากต้นงิ้ว นกหัสดีที่คาบ ช้างมาก็ตกใจปล่อยช้างหลุดจากปาก ฝ่ายลิงต่างแสดงฤทธิ์เดชหักถอนต้นไม้มาถือแทน อาวุธ ป่าไม้ล้มลงอย่างราบเรียบด้วยฤทธิ์ของกองทัพพระราม อากาศบดบังสุริย์ศรี เทวัญจันทรี ทุกชั้นอำนวยอวยชัย บ้างเปิดแกลแก้วแววไว โปรยทิพมาลัย ซ้องสาธุการบูชา ชักรถรี่เรื่อยเฉื่อยมา พุ่มบุษปมาลา กงรถไม่จดธรณินทร์ เร่งพลโยธาพานรินทร์ เร่งรัดหัสดิน วานรให้เร่งรีบมา ทันใดนั้นอากาศบดบังพระอาทิตย์ เหล่าเทวดาบนสวรรค์ทุกชั้นต่างอำนวย อวยชัย บ้างเปิดประตู หน้าต่างแล้วก็โปรยดอกไม้ทิพย์เพื่อสักการะบูชาและยกย่อง สรรเสริญ บนพื้นเต็มไปด้วยดอกไม้จนทำให้กงรถไม่สัมผัสพื้น นอกจากนี้ยังเร่งกองทัพ ลิง กองทัพช้างให้รีบมาถึงสนามรบ
11 ถอดคำประพันธ์ จากนั้นจึงเป็นเหตุการณ์ที่พระลักษมณ์พบกับกองทัพพระอินทร์ (ตัวปลอม) ของอินทรชิต เมื่อนั้นพระศรีอนุชา เอื้อนอรรถวัจนา ตรัสถามสุครีพขุนพล เหตุไฉนสหัสนัยน์เสด็จดล สมรภูมิไพรสณฑ์ เธอมาด้วยกลอันใด สุครีพทูลทัดเฉลยไข ทุกทีสหัสนัยน์ เสด็จด้วยหมู่เทวา อวยชัยถวายทิพมาลา บัดนี้เธอมา เห็นวิปริตดูฉงน ทรงเครื่องศัสตราแย่งยล ฤๅจะกลับเป็นกล ไปเข้าด้วยราพณ์อาธรรม์ พระลักษมณ์ (น้องของพระราม) ถามสุครีพว่าเพราะเหตุใด พระอินทร์เสด็จมาที่สนามรบนี้ สุครีพจึงทูลบอกพระลักษมณ์ว่า ปกติ พระอินทร์จะเสด็จมาพร้อมกับเหล่าเทวดาเพื่ออวยชัยและถวายดอกไม้ แต่ คราวนี้ดูผิดปกติและน่าสงสัยแปลก ๆ เพราะพระอินทร์แต่งกายมาพร้อมกับ อาวุธดูงดงาม หรือว่าพระอินทร์จะเข้าข้างฝ่ายทศกัณฐ์
12 ถอดคำประพันธ์ พระผู้เรืองฤทธิแข็งขัน คอยดูสำคัญ อย่าไว้พระทัยไพรี เมื่อนั้นอินทรชิตยักษ์ ตรัสสั่งเสนี ให้จับระบำรำถวาย ให้องค์อนุชานารายณ์ เคลิบเคลิ้มวรกาย จะแผลงซึ่งศัสตรศรพล สุครีพเตือนพระรามว่าอย่าได้ไว้วางใจข้าศึกเด็ดขาด ฝ่ายอินทรชิตก็สั่งให้ยักษ์ (ที่ แปลงร่างแล้วอย่างสวยงาม) ฟ้อนรำถวายพระลักษมณ์ เพื่อให้พระลักษมณ์เคลิบเคลิ้ม และจะได้แผลงศรฆ่าให้ตาย อินทรชิตสถิตเหนือเอรา วัณทอดทัศนา เห็นองค์พระลักษณ์ฤทธิรงค์ เคลิบเคลิ้มหฤทัยใหลหลง จึงจับศรทรง พรหมาสตร์อันเรืองเดชา ทูนเหนือเศียรเกล้ายักษา หมายองค์พระอนุชา ก็แผลงสำแดงฤทธิรณ อากาศก้องโกลาหล โลกลั่นอึงอล อำนาจสะท้านธรณี ศรเต็มไปทั่วราศี ต้ององค์อินทรีย์ พระลักษณ์ก็กลิ้งกลางพล อินทรชิตนั่งอยู่บนช้างเอราวัณ เห็นพระลักษมณ์ผู้เก่งกาจในการรบ กำลัง หลงใหลเคลิบเคลิ้มในสิ่งงดงามที่ได้เห็น เมื่อได้โอกาส อินทรชิตจึงจับศรพรหมาสตร์ขึ้น เหนือหัว เล็งใส่พระลักษมณ์ แล้วก็แผลงศรออกไปหมายจะให้ถูกพระลักษมณ์ ทันใดนั้น อากาศก็แปรปรวนเสียงดังกึกก้องสะท้านแผ่นดิน ศรพรหมาสตร์ที่อินทรชิตแผลงไปนั้น กระจายไปทั่วท้องฟ้า พระลักษมณ์ถูกศรของอินทรชิตแล้วล้มลงกลางไพร่พลในสนามรบ
13 ตัวละคร อินทรชิต อินทรชิต เป็นยักษ์มีกายสีเขียว เป็นโอรสของทศกัณฑ์กับนางมณโฑ เดิมชื่อรณพักตร์ เมื่อสามารถรบชนะพระอินทรืได้ ทศกัณฑ์พอใจมากจึง เปลี่ยนชื่อให้ว่า “อินทรชิต” อินทรชิตมีชายาชื่อสุวรรณกันยุมา มีโอรส 2 องค์ คือ ยามลิวัน และกันยุเวก มีศรนาคบาศ พรหมาสตร์ และศรวิษณุปาณั มเป็นอาวุธ ทั้งยังสามารถแปลงกายเป็นพระอินทร์ได้อีกด้วย พระพรหมเคยประทานพรให้ว่า เวลาจะตายต้องตายบนอากาศ และอย่าให้ศีรษะขาดตกถึงพื้น มิฉะนั้นกลายเป็นไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลก ต้อง ใช้พานแว่นฟ้าของพระพรหมมารองรับ โลกจึงจะปลอดภัย ดังนั้นเมื่อพระ ลักษณ์แผลงศรไปตัดคออินทรชิต จึงตรัสสั่งให้องคตเอาพานแว่นฟ้ามาคอย รับ ที่มา : https://blog.startdee.com
14 ตัวละคร พระราม พระราม คือ พระนารายณ์อวตาร (แบ่งภาค) ลงมา ถือกำเนิดเป็นพระราชโอรสของท้าว ทศรถ กับ นางเกาสุริยา เพื่อจะปราบทศกัณฐ์ พระรามมีพระอนุชาต่างพระมารดา ๓ พระองค์ คือ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตรุต ซึ่งต่างก็มีความรักใคร่กันอย่างมาก พระมเหสีของพระราม คือ นางสีดา พระรามมีกายสีเขียว สามารถปรากฏร่างเป็นพระนารายณ์มีสี่กรได้ อาวุธประจำพระองค์ คือ ศรซึ่งเป็นอาวุธ วิเศษ ที่ได้ประทานมาจากพระอิศวร บทบาทที่สำคัญในเรื่องรามเกียรติ์ ได้แก่ - เมื่อเยาว์วัยพระรามได้รับการศึกษาศิลปศาสตร์ กับสำนักฤาษีสวามิตร หรือวิศวามิตร มีความเก่งกล้า ถึงกับฆ่ากากนาสูร และสวาหุ ซึ่งมารบกวนเหล่า ฤาษีชีไพร - ท้าวชนกจักรวรรดิ์ ได้ให้หมู่กษัตริย์มาประลองยกศรรัตนธนู เพื่ออภิเษกกับนางสีดา พระรามก็สามารถยกรัตนธนูได้สำเร็จ และได้อภิเษกกับนางสีดา ระหว่างเดินทางกลับกรุงอโยธยา สามารถปราบรามสูร(ยักษ์ผู้ถือขวาน) และได้รับศรจากรามสูร - ได้ฆ่าพระยาขร และพระยาทูษณ์ พี่ชายของนางสำมนักขา - ระหว่างออกเดินป่า ได้ปราบพิราบยักษ์ - ได้ช่วยสุครีพปราบพาลี - ไปรบกับทศกัณฐ์ และได้ฆ่าทศกัณฐ์ได้สำเร็จ - สถาปนาพิเภกให้ครองกรุงลงกา ที่มา : https://blog.startdee.com
15 ตัวละคร ช้างเอราวัณ เป็นช้างเผือกพาหนะของพระอินทร์ เชื่อกันว่าช้างเชือกนี้เป็นเทพบุตรองค์ หนึ่ง เมื่อพระอินทร์ต้องการจะเสด็จไปไหน เอราวัณเทพบุตร ก็จะแปลงกายเป็น ช้างเผือก 33 เศียร แต่ละเศียรมีงา 7 งา งาแต่ละงายาวถึง 4 ล้านวา งาแต่ละงามี สระบัว 7 สระ แต่ละสระมีดอกบัว 7 ดอก แต่ละดอกมีกลีบ 7 กลีบ มี 7 เกสร แต่ละ เกสรมีปราสาทอยู่ 7 หลัง ปราสาทแต่ละหลังมี 7 ชั้น แต่ละชั้นมี 7 ห้อง แต่ละห้องมี 7 บัลลังก์ แต่ละบัลลังก์มีเทพธิดาสถิต 7 องค์ เทพธิดาแต่ละองค์มีบริวาร องค์ละ 7 นาง เทพธิดาบริวารแต่ ละนางมีนางทาสีนางละ 7 ทาสี รวมทั้งนางเทพอัปสรทั้งหมด ประ มาณ 190,248,432 นาง เทพธิดา บริวารรวมกันทั้งหมดประมาณ 13,331,669,031 นาง เศียรทั้ง 33 ของช้างเอราวัณมีอุเปนทเทพยดาสถิตเศียรละ 1 องค์ โดยปกติศิลปินไทยมักจะทำช้าง เอราวัณ เป็นช้าง 3 เศียร ที่มา : https://blog.startdee.com
16 ตัวละคร พระลักษณ์ พระลักษมณ์ คือ พญาอนันตนาคราชที่ประทับของพระนารายณ์มา เกิด มีกายสีทอง เป็นพระโอรสของท้าวทศรถ กับนางสมุทรเทวี มีพระอนุชา ร่วมพระมารดา คือ พระสัตรุต พระลักษมณ์มีความจงรักภักดีต่อพระรามมาก เมื่อพระรามต้องออกเดินป่าถึง ๑๔ ปี พระลักษมณ์ก็ได้ติดตามไปด้วย และยัง ช่วยออกรบกับกองทัพของกรุงลงกา อย่างกล้าหาญ ที่มา : https://blog.startdee.com
17 ตัวละคร ทศกัณฐ์ ทศกัณฐ์ เป็นกษัตริย์แห่งกรุงลงกา นับว่าเป็นตัวเอกของเรื่อง รามเกียรติ์ มีกายสีเขียว มี ๑๐ พักตร์ ๒๐ กร ทรงมงกุฏชัย ลักษณะปาก แสยะ ตาโพลง ทศกัณฐ์ เดิมเป็นยักษ์นนทกกลับชาติมาเกิด เพื่อรบกับพระ นารายณ์ ซึ่งอวตารมาเกิดเป็นมนุษย์ ไม่มีใครฆ่าให้ตายได้ เพราะทศกัณฐ์ถอดดวงใจ ใส่กล่องฝากไว้กับ พระฤาษีโบุตรผู้เป็นอาจารย์ ทศกัณฐ์มีนิสัยเจ้าชู้ มีชายาและนางสนมมากมาย แต่ถึงกระนั้นเมื่อรู้ว่านางสีดาเป็นหญิงที่มีความงดงามมาก แม้นางจะมีพระ สวามีอยู่แล้ว ก็ยังลักพาตัวไป จึงเป็นสาเหตุให้ต้องทำศึกกับพระราม จน ญาติมิตรล้มตายไปเป็นจำนวนมาก และในที่สุดตนเองก็ถูกพระรามฆ่าตาย ที่มา : https://blog.startdee.com
18 ตัวละคร พิเภก พิเภก คือ เทพบุตรเวสสุญาณ จุติลงมาเกิดเพื่อช่วยพระรามปราบทศ กัณฐ์ มีกายสีเขียว เป็นน้องของทศกัณฐ์ มีความรู้ทางโหราศาสตร์อย่างยอดเยี่ยม สามารถทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ เมื่อทศกัณฐ์ลักพานางสีดามา พิเภกได้ทูลตักเตือน และแนะนำให้ส่งนางสีดาคืนไปทำให้ทศกัณฐ์โกรธมาก จนขับไล่พิเภกออกไปจากเมืองพิเภกจึงไปสวามิภักดิ์กับพระราม ให้ คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ จนกระทั่งพระรามชนะสงคราม หลังจากเสร็จศึกแล้ว พระรามได้สถาปนาให้พิเภกเป็นกษัตริย์ครองกรุงลงกา มีพระนามว่า ท้าวทศคีรี วงศ์ ที่มา : https://blog.startdee.com
19 ตัวละคร หนุมาน หนุมาน เป็นลิงเผือก (กายสีขาว) มีลักษณะพิเศษ คืืือมีเขี้ยวแก้วอยู่ กลางเพดานปาก มีกุณฑลขนเพชร สามารถแผลงฤทธิ์ให้มีสี่หน้าแปดมือ แลหาว เป็นดาวเป็นเดือนได้ ใช้ตรีเพชร (สามง่าม) เป็นอาวุธประจำตัว (จะใช้เมื่อรบกับ ยักษ์ตัวสำคัญๆ) มีความเก่งกล้ามากสามารถแปลงกาย หายตัวได้ ทั้งยังอยู่ยง คงกระพัน แม้ถูกอาวุธของศัตรูจนตาย เมื่อมีลมพัดมาก็จะฟื้นขึ้นได้อีก เมื่อนาง สวาหะถูกมารดาสาปให้ไปยืนตีนเดียว เหนี่ยวกินลม พระอิศวรจึงบัญชา ให้พระพายนำเทพอาวุธของพระองค์ไปซัดเข้าปากของนาง นางจึงตั้งครรภ์และคลอดบุตรเป็นลิงเผือก เหาะออกมาจากปาก ได้ชื่อว่าหนุมาน หนุมาน จึงถือว่าพระพายเป็นพ่อของตน หนุมานได้ถวายตัว เป็นทหารเอกของ พระราม ช่วยทำการรบจนสิ้นสงคราม ที่มา : https://blog.startdee.com
20 คุณค่าของเรื่อง คุณค่าด้านสังคม 1. อาวุธในการทำสงคราม อาวุธในการทำสงครามที่ปรากฏในบทพากย์เอราวัณ ส่วนใหญ่เป็นอาวุธของฝ่ายทัพอินทรชิต เช่น โตมร (หอกด้ามสั้น) ศร พระขรรค์ คทา 2. ช้างเอราวัณ บทพากย์เอราวัณกล่าวถึงลักษณะของช้างเอราวัณที่อินทรชิต ได้สร้างขึ้น ซึ่งสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เล่มที่ ๑๕ กล่าวถึงช้างเอราวัณว่า คือ ช้างของพระอินทร์อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บางทีเรียกว่า ไอยรา หรือ ไอยราพรต ในไตรภูมิ พระร่วงบรรยายว่าช้างนี้ไม่ใช่สัตว์เดรัจฉาน เพราะในเมืองสวรรค์มีแต่ เทวดา ดังนั้น เมื่อพระอินทร์จะไปที่ใดและปรารถนาจะขี่ช้าง เทวดาองค์หนึ่งชื่อ “ไอราวัณเทพบุตร” ก็จะนิมิตกายเป็นช้างเผือกขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือช้างเอราวัณนั่นเอง 3. สัตว์ป่าในหิมพานต์ เมื่อกล่าวถึงการเคลื่อนทัพของพระราม กวีได้พรรณนา ความถึงแสนยานุภาพที่ยิ่งใหญ่ แม้แต่สัตว์ต่างๆ ในป่าหิมพานต์ก็ตื่นตกใจในอำนาจ ของกองทัพสัตว์ที่กล่าวถึง เช่น ลูกครุฑที่อาศัยอยู่ในรัง ไม้งิ้ว และนกหัสดีลิงค์ 4. ฤๅษีและอมนุษย์ บทพากย์เอราวัณได้กล่าวถึงเหล่าบริวารของ อินทรชิตที่ แปลงกายเป็นฤาษีและอมนุษย์ต่างๆ ได้แก่ - วิทยาธร มีลักษณะเป็นครึ่งคนครึ่งเทพ สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ มีพระ ขรรค์วิเศษประจำตน ชอบนำนารีผลซึ่งเป็นผลของต้นไม้ในป่าหิมพานต์มาสมสู่ - คนธรรพ์ ตามตำนานกล่าวว่า เป็นบริวารของท้าวธตรฐซึ่งเป็น เจ้าโลกบาลผู้ รักษาทิศตะวันออก ลักษณะเด่นของคนธรรพ์ คือ มีความชำนาญด้านการดนตรีและ การขับร้อง มีเวทมนตร์และอิทธิฤทธิ์มาก - กินนร มีลักษณะครึ่งคนครึ่งนก หากเป็นหญิงจะเรียกว่า “กินรี” กล่าวกันว่ากินนร หรือกินรีอาศัยอยู่บริเวณเขาไกรลาส และมีสระอโนดาตไว้สำหรับอาบน้ำ
21 คุณค่าของเรื่อง คุณค่าด้านวรรณศิลป์ 1. กลวิธีการประพันธ์ ได้แก่ - สัมผัสสระ เช่น ผึ้งภู่หมู่คณาเหมหงส์ ร่อนราถาลง แทรกไซ้ในสร้อยสุมาลี - สัมผัสอักษร เช่น เดือนดาวดับเศร้าแสงใส สร่างแสงอโณทัย ก็ผ่านพยับเรืองรอง - ดุลของเสียง (การซ้ำคำหรือพยางค์อย่างเป็นจังหวะ) เช่น จับฟ้าอากาศแลเหลือง ธิบดินทร์เธอบรรเทือง บรรทมฟื้นจากไสยา 2. การใช้ภาพพจน์ ได้แก่ ทุกเกศกุญชร - อุปมา เช่น เลื่อนลั่นสนั่นใน มีวิมานแก้วงามบวร อ่อนเอียงเพียงปลาย ดังเวไชยันต์อัมรินทร์ - อติพจน์ เช่น เสียงพลโห่ร้องเอาชัย พิภพเพียงทำลาย - บุคคลวัต เช่น สัตภัณฑ์บรรพตทั้งหลาย ประนอมประนมชมชัย
22 คุณค่าของเรื่อง คุณค่าด้านเนื้อหา คุณค่าด้านเนื้อหา สาระสำคัญที่ปรากฏคือ “ความประมาท เพราะลุ่มหลงเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียและพ่ายแพ้” ดังที่ปรากฏใน เรื่อง เหตุที่พระลักษมณ์ต้องศรพรหมาสตร์เพราะหลงมองความงามของ ขบวนทัพพระอินทร์ ทั้งที่สุครีพได้กล่าวเตือนแต่เพราะประมาทจึงต้อง พ่ายแพ้ในศึกครั้งนี้ ที่มา : https://blog.startdee.com
23 ข้อคิดของเรื่อง นอกจากใช้เล่นโขนละครในเพื่อความบันเทิง บทพากย์รามเกียรติ์แต่ละ ตอนก็มีคติสอนใจให้ผู้อ่านผู้ชมได้คิดตามด้วย บทพากย์เอราวัณเองก็มีข้อคิดที่น่า สนใจหลายข้อ ได้แก่ 1. ความลุ่มหลงเป็นบ่อเกิดของหายนะ เช่น พระลักษมณ์ที่หลงใหลในความงดงามของกองทัพยักษ์จำแลง จนประมาทและ ถูกศรพรหมาสตร์ของอินทรชิต 2. การใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกไม่ควร เช่น อินทรชิตที่มีทั้งพรและอาวุธจากมหาเทพ แต่ก็เลือกใช้อำนาจไปในทางที่ผิด ทั้ง ออกมารบกับพระรามและผู้อื่น (จริง ๆ ก่อนนี้อินทรชิตมีชื่อว่ารณพักตร์ เป็นผู้ บำเพ็ญเพียรจนมีฤทธิ์แก่กล้า เมื่อได้พรและอาวุธจากมหาเทพมาก็ไปท้ารบกับ พระอินทร์ และได้ชัยชนะกลับมาด้วย จึงเป็นที่มาของชื่ออินทรชิต ซึ่งแปลว่า “ผู้ ชนะพระอินทร์”) 3. การใช้สติปัญญาพิจารณาสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น สุครีพที่ช่างสังเกต ใช้สติปัญญาประเมินสถานการณ์ในสนามรบ และเตือนให้ พระลักษมณ์อย่าไว้ใจข้าศึก ที่มา : https://blog.startdee.com
24 คำศัพท์น่ารู้ คำศัพท์ ความหมาย กง วงรอบของล้อรถ กบี่ ลิง กระวิน ห่วงที่เกี่ยวกันสำหรับโยงสัปคับช้าง กายิน ร่างกาย กำ ซี่ล้อรถหรือเกวียน กินนร อมนุษย์ที่มีรูปร่างครึ่งคนครึ่งนก เก้าแก้ว แก้วเก้าประการ, นพรัตน์ แกล หน้าต่าง โกมิน โกเมน, พลอยสีแดงเข้ม โกลาหล เสียงกึกก้อง ขวัญ หนีตกใจ ไข บอก คนธรรพ์ ชาวสวรรค์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านดนตรี จันทรี พระจันทร์
25 คำศัพท์ คำศัพท์น่ารู้ความหมาย ถา ถลา ทัศนา เทพไท เห็น เทพอัปสร เทียม เทวดา ธรณินทร์ ธรณี นางฟ้า ธิบดินทร์ นงพาล เอาสัตว์ผูกกับยานพาหนะ นาค แน่งน้อย แผ่นดิน บรรเทือง บรรพต แผ่นดิน บิดเบือน บุษปมาลา พระราม โบกขรณี ปักษา นางรุ่นสาว งูใหญ่มีหงอน งดงาม ตื่นขึ้น ภูเขา แปลง (กาย) ดอกไม้ สระบัว นก
ความรู้เพิ่มเติม 26 บทพากย์เอราวัณ ฉบับกาตูน การอ่านทำนอง เสนาะบทพากย์ เอราวัณ
27 แบบทดสอบ คำชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว ๑. บทพากย์เอราวัณแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด ก. กาพย์ยานี ๑๑ ข. กาพย์ฉบัง ๑๖ ค. กาพย์ห่อโคลง ง. โคลงสี่สุภาพ ๒. ข้อใดคือชื่อศรของพระอินทร์ที่แผลงไปฆ่าพระลักษณ์ ก. ศรอักนิวาต ข. ศรพรหมมาสตร์ ค. ศรพลายวาต ง. ศรนาคบาศ ๓. ช้างเอราวัณมีกี่เศียร ก. มี ๓ เศียร ข. มี ๗ เศียร ค. มี ๓๐ เศียร ง. มี ๓๓ เศียร
28 แบบทดสอบ ๔. ข้อใดกล่าวถึงช้างเอราวัณ ไม่ถูกต้อง ก. ช้างเอราวัณมีกายสีขาว ข. เศียรช้างเอราวัณทุกเศียรมีวิมานแก้ว ค. แต่ละเศียรมีงา ๒ กิ่ง ง. งาแต่ละกิ่งมีสระบัว ๗ สระ ๕. ควาญช้างของอินทรชิตชื่ออะไร ก. โลทัน ข. มาลัน ค. มาตุลี ง. เทพบุตร ๖. \"จับระบำรำร่ายส่ายหา ชำเลืองสายตาทำทีดังเทพอัปสร\" คำประพันธ์ดังกล่าว หมายถึงใคร ก. อินทรชิต ข. บริวารของเทพธิดา ค. ช้างเอราวัณ ง. พระลักษณ์ ๗.\"เอราวัณ\" เป็นชื่อของอะไร ก. วิมาน ข. พาหนะ ค. เครื่องใช้ ง. อวัยวะ
แบบทดสอบ 29 ๘. อินทรชิตมีชื่อเดิมว่าอะไร ก. สุขาจาร ข. รณพักตร์ ค. สหัสเดชะ ง. มูลพลัม ๙. \"ล้วนถืออาวุธเกรียงไกร โตมรศรชัยพระขรรค์คทาถ้วนตน\" คำประพันธ์ข้างต้นนี้กล่าวถึงอาวุธทั้งหมดกี่ชนิด ก. ๓ ชนิด ข. ๔ ชนิด ค. ๕ ชนิด ง. ๖ ชนิด ๑๐. ในการรบครั้งนี้อินทรชิตแปลงกายเป็นเทพองค์ใด ก. พระพรหม ข. พระอิศวร ค. พระอินทร์ ง. พระนารายณ์
30 เฉลยแบบทดสอบ 1. ข. กาพย์ฉบัง ๑๖ 2. ข. ศรพรหมมาสตร์ 3. ง. มี ๓๓ เศียร 4. ค. แต่ละเศียรมีงา ๒ กิ่ง 5. ก. โลทัน 6. ข. บริวารของเทพธิดา 7. ข. พาหนะ 8. ข. รณพักตร์ 9. ข. ๔ ชนิด 10. ค พระอินทร์
31 อ้างอิง https://www.baanjomyut.com/บทพากย์เอราวัณ -ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 http://ramayana9.blogspot.com บทพากย์เอราวัณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 https://blog.startdee.com บทพากย์เอราวัณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิชาภาษาไทย
อินทรชิตบิดเบือนกายิน เหมือนองค์อมรินทร์ ทรงคชเอราวัณ เผือกผ่องผิวพรรณ เศี ยรหนึ่งเจ็ดงา ช้างนิมิตฤทธิแรงแข็งขัน สระหนึ่งย่อมมี สี สั งข์สะอาดโอฬาร์ ดอกหนึ่งแบ่งบาน เจ็ดองค์โสภา สามสิ บสามเศี ยรโสภา อีกเจ็ดเยาวมาลย์ ดั่งเพชรรัตน์รูจี ชำเลืองหางตา ทุกเกศกุญชร งาหนึ่งเจ็ดโบกขรณี เจ็ดกออุบลบันดาล กอหนึ่งเจ็ดดอกดวงมาลย์ มีกลีบได้เจ็ดกลีบผกา กลีบหนึ่งมีเทพธิดา แน่งน้อยลำเพานงพาล นางหนึ่งย่อมมีบริวาร ล้วนรูปนิรมิตมายา จับระบำรำร่ายส่ ายหา ทำทีดังเทพอัปสร มีวิมานแก้วงามบวร ดังเวไชยันต์อมรินทร์
Search
Read the Text Version
- 1 - 36
Pages: