ความหมายของนาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะการฟ้อนรำ หรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ข้ึน ด้วยความประณีตงดงาม ใหค้ วามบนั เทงิ อันโนม้ น้าวอารมณ์และความรูส้ ึกของผูช้ มใหค้ ลอ้ ยตาม ศลิ ปะประเภทนี้ ต้องอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณค่ายิ่งขึ้น หรือเรียกว่า ศิลปะของ การร้องรำทำเพลง การศึกษานาฏศิลป์ เป็นการศึกษาวัฒนธรรมแขนงหนึ่ง นาฏศิลป์เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะสาขาวจิ ิตรศิลป์ อนั ประกอบด้วย จติ รกรรม สถาปัตยกรรม วรรณคดี ดนตรี และนาฏศิลป์ นาฏศิลป์ นอกจากจะแสดงความเปน็ อารยะของประเทศแล้ว ยงั เปน็ เสมือนแหลง่ รวมศิลปะและการแสดง หลายรปู แบบเข้าด้วยกนั โดยมีมนษุ ยเ์ ปน็ ศูนย์กลาง ในการท่ีจะสรา้ งสรรค์ อนรุ กั ษ์ และถ่ายทอดสบื ตอ่ ไป ความเป็นมาของนาฏศลิ ป์ไทย ประวัตนิ าฏศลิ ป์ไทย นาฏศิลป์ไทย เป็นศิลปะแห่งการฟ้อนรำ ที่มีสมมติฐานมาจากธรรมชาติ แต่ได้รับการตกแต่งและปรับปรงุ ให้ งดงามย่งิ ข้ึน จนก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจแกผ่ ดู้ ูผู้ชม โดยแท้จริงแล้วการฟ้อนรำก็คือ ศลิ ปะของการเคลื่อนไหว อวัยวะต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น แขน ขา เอว ไหล่ หน้าตา ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ธรรมชาติที่เป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการ ฟ้อนรำจึงมาจากอิริยาบทต่าง ๆ ของมนุษย์ ได้แก่ ยืน เดิน นั่ง นอน ฯลฯ ตามปกติการเดินของคนเราจะก้าวเทา้ พร้อมทั้งแกว่งแขนสลับกันไปเช่นเมื่อก้าวเท้าซ้ายก็จะแกว่งแขนขวาออก และเมื่อก้าวเท้าขวาก็จะแกว่งแขนซ้าย ออกสลับกันเพื่อเป็นหลักในการทรงตัว ครั้นเมื่อนำมาตกแต่งเป็นท่ารำขึ้น ก็กลายเป็นท่าเดินที่มีลีลาการก้าวเท้า และแกวง่ แขน ใหไ้ ดส้ ัดสว่ นงดงามถูกตอ้ งตามแบบแผนท่กี ำหนด ตลอดจนท่วงทำนองและจังหวะเพลง
นาฏศิลป์ไทย เกิดมาจากอากัปกิริยาของสามัญชนเป็นพื้นฐาน ซึ่งโดยทั่วไปมนุษย์ทุกคนย่อมมอี ารมณ์ต่าง ๆ ได้แก่ รัก โกรธ โศกเศร้า เสียใจ ดีใจ ร้องไห้ ฯลฯ แตท่ นี่ ่าสังเกตก็คือ เมอื่ มนุษย์มีอารมณ์อย่างหน่ึงอย่างใดเกิดขึ้น นอกจากจะมคี วามรูส้ กึ เกดิ ขึน้ ในจติ ใจแล้วยงั แสดงปฏกิ ิรยิ าตอบโต้ออกมาทางกายในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น รกั - หน้าตากริ ิยาทแ่ี สดงออก ออ่ นโยน รู้จักเล้าโลม เจา้ ชู้ โกรธ - หน้าตาบ้งึ ตงึ กระทบื เทา้ ช้ีหน้าดา่ วา่ ต่าง ๆ โศกเศร้า,เสียใจ - หนา้ ตากริ ยิ าละห้อยละเหี่ย ตดั พอ้ ตอ่ ว่า ร้องไห้ สรุปได้ว่า นาฏศิลป์ไทย เกิดมาจากกริ ิยาท่าทางซึง่ แสดงออกในทางอารมณ์ของมนุษย์ปุถุชน อากัปกิริยาตา่ ง ๆ เหล่านี้เป็นมูลเหตุให้ปรมาจารย์ทางศิลปะนำมาปรับปรุงบัญญัติสัดส่วนและกำหนดวิธีการขึ้น จนกลายเป็นท่า ฟ้อนรำ โดยวางแบบแผนลีลาท่ารำของมือ เท้า ให้งดงาม รู้จักวิธีเยื้อง ยัก และกล่อมตัว ให้สอดคล้องสัมพันธ์กัน จนเกิดเป็นท่ารำขึ้น และมีวิวัฒนาการปรับปรงุ มาตามลำดบั จนดูประณีตงดงาม อ่อนช้อยวิจิตรพิสดาร จนถึงข้ัน เป็นศลิ ปะได้ นอกจากนี้ นาฏศิลป์ไทย ยังได้รับอิทธิพลแบบแผนตามแนวคิดจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานด้วย เช่น วัฒนธรรมอนิ เดียเกี่ยวกับวฒั นธรรมที่เป็นเรื่องของเทพเจ้า และตำนานการฟ้อนรำ โดยผ่านเข้าสู่ประเทศไทย ท้ัง ทางตรงและทางอ้อม คือ ผ่านชนชาติชวาและเขมร กอ่ นทจี่ ะนำมาปรบั ปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย เช่น ตัวอย่างของเทวรูปศิวะปางนาฏราช ที่สร้างเป็นท่าการร่ายรำของ พระอิศวร ซึ่งมี ทั้งหมด 108 ท่า หรือ 108 กรณะ โดยทรงฟอ้ นรำคร้ังแรกในโลก ณ ตำบลจิทรัมพรัม เมืองมทั ราส อนิ เดียใต้ ปัจจุบันอยู่ในรัฐทมิฬนาดู นับเป็นคัมภีร์สำหรับการฟ้อนรำ แต่งโดยพระภรตมุนี เรียกว่า คัมภีร์ภรตนาฏย ศาสตร์ ถอื เป็นอิทธิพลสำคัญต่อแบบแผนการสืบสาน และการถา่ ยทอดนาฏศิลป์ของไทยจนเกิดข้ึนเป็นเอกลักษณ์ ของตนเองทมี่ รี ูปแบบ แบบแผนการเรียน การฝึกหัด จารีต ขนบธรรมเนยี ม มาจนถงึ ปจั จุบนั ความสำคัญของนาฏศลิ ป์ไทย -นาฏศิลป์แสดงถึงความเป็นเอกลักษณป์ ระจำชาติ แสดงถึงอารยประเทศ ความเจริญรุ่งเรืองของ ประเทศไทยต้ังแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาไทย จารีต ประเพณี และ วัฒนธรรมของประเทศไทย ซงึ่ ถือวา่ เปน็ ส่งิ ท่ีน่าภาคภมู ิใจของคนไทยต้ังแต่อดตี จนถึงปจั จุบัน และถือว่าเป็นมรดก ที่สำคัญของชาติ จงึ ควรแก่การอนรุ ักษ์ และสบื ทอดต่อไป -นาฏศิลป์เป็นแหล่งรวมของศิลปะแขนงต่างๆ เช่น การประพันธ์วรรณคดีต่างๆ สถาปัตยกรรม(ในการ สร้างฉาก สถานที่ประกอบฉาก) ประติมากรรม(ศิลปะการทำอุปกรณ์การแสดง รูปปั้น รูปหล่อต่างๆ) จิตรกรรม (ศิลปะในการออกแบบเครื่องแต่งกาย การสรา้ งฉาก) ดรุ ยิ างคศิลป์ (ศิลปะในการขับร้อง บรรเลงดนตร)ี หรือ อ่นื ๆ
-นาฏศิลปช์ ่วยพฒั นาบุคลิกภาพของผู้แสดง ใหผ้ ู้แสดงมีความกลา้ แสดงออก และมีความมั่นใจมากย่ิงขึ้น ทำให้มีท่าทางการเคลื่อนไหวที่ดูสง่างาม ทำให้ความจำและปฏิภาณดี และหากได้ความรู้นาฎศิลป์จนเกิดความ ชำนาญ กจ็ ะสามารถปฏิบัติได้ดมี ีชอ่ื เสยี ง หรือ ยึดเป็นอาชีพตอ่ ไปได้ -นาฏศิลป์ทำให้เกิดความสามัคคีกันในหมู่คณะ นาฏศิลป์ทำให้ผู้แสดงมีความสามัคคีกัน เพราะผู้แสดง ต้องรว่ มกนั แสดงทา่ รำทางนาฏศลิ ป์ เพอื่ ใหก้ ารแสดงนาฏศิลปน์ ้ันออกมาเรียบร้อยและงดงาม นาฏศลิ ปไ์ ทยมกี ำเนดิ มาจาก ๑. การเลียนแบบธรรมชาติ แบง่ เปน็ ๓ ขัน้ คือ ขั้นต้น เกิดแต่วิสัยสัตว์ เมื่อเวทนาเสวยอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็ตาม ถ้าอารมณ์ แรงกล้าไม่กลั้นไว้ได้ ก็แสดงออกมาให้เห็นปรากฏ เช่น เด็กทารกเมื่อพอใจ ก็หัวเราะตบมือ กระโดดโลดเต้น เมื่อ ไม่พอใจก็ร้องไห้ ดิน้ รน ขนั้ ต่อมา เมือ่ คนรู้ความหมายของกิริยาทา่ ทางมากข้ึน กใ็ ช้กริ ิยาเหลา่ น้นั เปน็ ภาษาสือ่ ความหมาย ให้ผูอ้ ื่น ร้คู วามรู้สกึ และความประสงค์ เช่น ต้องการแสดงความเสนห่ าก็ยิม้ แยม้ กร้มุ กรม่ิ ชม้อยชมา้ ยชายตา หรอื โกรธเคือง ก็ทำหนา้ ตาถมึงทงึ กระทบื กระแทก ต่อมาอีกขั้นหนึ่ง มีผู้ฉลาดเลือกเอากิริยาท่าทาง ซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ นั้นมาเรียบเรียงสอดคล้อง ตดิ ตอ่ กนั เปน็ ขบวนฟอ้ นรำให้เหน็ งาม จนเป็นทีต่ อ้ งตาตดิ ใจคน ๒. การเซ่นสรวงบูชา มนุษยแ์ ตโ่ บราณมามีความเช่ือถือในส่ิงศักดิ์สิทธิ์ จงึ มีการบูชา เซ่นสรวง เพื่อขอให้สง่ิ ศักดิ์สิทธิ์ประทานพร ให้ตนสมปรารถนา หรือขอให้ขจัดปัดเป่าสิ่งที่ตนไม่ปรารถนาให้สิน้ ไป การบูชาเซ่นสรวง มักถวายสิ่งท่ีตนเห็นว่าดี หรอื ทีต่ นพอใจ เช่น ขา้ วปลาอาหาร ขนมหวาน ผลไม้ ดอกไม้ จนถึง การขับร้อง ฟอ้ นรำ เพอ่ื ให้สิ่งท่ีตนเคารพบูชา นั้นพอใจ ต่อมามีการฟ้อนรำบำเรอกษัตริย์ด้วย ถือว่าเป็นสมมุติเทพที่ช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ มีการฟ้อนรำ รับขวัญขุนศึกนักรบผู้กล้าหาญ ที่มีชัยในการสงครามปราบข้าศึกศัตรู ต่อมาการฟ้อนรำก็คลายความศักดิ์สิทธิ์ลง มา กลายเป็นการฟอ้ นรำเพอ่ื ความบันเทงิ ของคนท่วั ไป ๓. การรบั อารยธรรมของอินเดีย เม่อื ไทยมาอยใู่ นสวุ รรณภมู ใิ หมๆ่ น้ัน มีชนชาติมอญ และชาตขิ อมเจริญร่งุ เรืองอยู่ก่อนแล้ว ชาติทง้ั สองน้ัน ได้รับอารยธรรมของอินเดียไว้มากมายเป็นเวลานาน เมื่อไทยมาอยู่ในระหว่างชนชาติทั้งสองนี้ ก็มีการติดต่อกัน อย่างใกลช้ ิด ไทยจึงพลอยไดร้ ับอารยธรรมอินเดียไว้หลายด้าน เชน่ ภาษา ประเพณี ตลอดจนศลิ ปการละคร ได้แก่ ระบำ ละครและโขน
ประเภทของนาฏศิลปไ์ ทย นาฏศลิ ปไ์ ทย จำแนกออกไดเ้ ปน็ - การแสดงโขน - การแสดงละคร - การแสดงรำและระบำ
- การละเล่นพ้ืนเมอื ง - มหรสพไทย พธิ ไี หว้ครนู าฎศิลป์ การไหว้ครูนับเป็นวัฒนธรรมไทยแบบหนึ่ง เป็นขนบธรรมเนียมอันดีงามในส่วนที่เกี่ยวกับกิริยามายาท สัมมาคารวะ และมีส่วนทจ่ี ะโน้มนา้ วจิตใจมนุษยใ์ ห้รักษาคณุ ความดี รกั ษาวทิ ยาการสบื เนอื่ งไปด้วยดี ท้งั ยงั จูงใจให้ เป็นผ้มู นี สิ ยั ออ่ นโยนไมแ่ ขง็ กระดา้ ง การไหว้ครู คือ การแสดงถึงความเคารพกตเวทีแด่ท่านบูรพาจารย์และครูบาอาจารย์ ผู้ซึ่งได้ประสิทธ์ิ ประสาทวิชาให้ ศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการ จึงพร้อมใจกันปวารณาตนรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ ด้วยความวิริยะอุตสาหะมานะอดทน เพื่อจะได้เป็นความรูต้ ิดตัวนำไปประกอบอาชีพ เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรือง ใหแ้ กต่ นเองในภายภาคหนา้
ประโยชน์ที่ไดร้ บั จากพิธไี หว้ครูนาฎศลิ ป์ ๑. สามารถทำใหเ้ กิดความสามคั คเี ป็นอนั หน่ึงอันเดยี วกนั ในฐานะท่เี ปน็ ศิษยม์ คี รเู หมือนกัน ๒. สามารถนำวิชาความรู้ท่ีเรยี นมา ไปถา่ ยทอดไดด้ ้วยความมัน่ ใจ โดยไม่ต้องกลวั ว่า \"ผิดครู\" ๓. เป็นการสรา้ งศษิ ยใ์ ห้มคี วามเชอื่ มัน่ ในวิชาความร้ทู ีไ่ ด้เรียนมา กลา้ แสดงออกไม่เกบ็ ตัว ๔. ทำใหม้ คี วามรกู้ วา้ งขวางและเขา้ ใจในพธิ ีกรรมเชน่ นอี้ ยา่ งชัดเจน ๕. เกดิ ความสบายใจหากไดท้ ำสิง่ ใดผิดพลาดไป กจ็ ะได้เปน็ การขอขมาครูไปดว้ ย การระบำ นาฏศิลป์ เป็นการรวมความเป็นเลิศของศิลปะแขนงต่าง ๆ วิวัฒนาการมาพร้อมกับความเจริญของมนษุ ย์ โดยอาศัยพลังและเจตนา เป็นเครื่องผลักดันให้จิตกระตุ้นร่างกายให้แสดงการเคลื่อนไหว มีจังหวะ มีแบบแผน เพือ่ ใหเ้ กิดความสขุ ความเข้าใจ และความงดงามแก่ตนเองและผู้อน่ื นาฏศลิ ปไ์ ทย เปน็ ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ แต่โบราณ เป็นศิลปะชั้นสูง แยกประเภทการแสดงออกเป็นหลายแบบ ใช้ภาษาท่าเหมือนกัน แต่แยกลักษณะและ ประเภทการแสดงแตกต่างกนั ขอบข่ายของนาฏศิลป์ไทย จำแนกเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่ โขน หนัง หุ่น ละครรำ ละครรำ ละครร้อง ละครสงั คตี ละครพดู การละเล่นของหลวง การเลน่ เบกิ โรง การละเล่นพน้ื เมือง นาฏศิลปไ์ ทยประเภทต่างๆ ดังกลา่ วมาน้ี เรียกกันโดยทั่วไปว่า \"มหรสพ\" ซ่ึงหมายถึงการเล่นร่ืนเริง มีโขน ละคร หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ปัจจุบันมหรสพมีความหมายกว้างขวาง รวมไปถึงการเล่นรื่นเริงทุกชนิด มีระบำ รำ ฟ้อน เป็นตน้ ระบำ คือ ศิลปะของการร่ายรำที่แสดงพร้อมกันเป็นหมู่เป็นชุด ความงามของการแสดงระบำ อยู่ที่ความ สอดประสานกลมกลืนกัน ด้วยความพร้อมเพรียงกัน การแสดงมีทั้งเนื้อร้องและไม่มีเนื้อร้อง ใช้เพียงดนตรี ประกอบ คำวา่ \"ระบำ\" รวมเอา \"ฟอ้ น\" และ \"เซ้งิ \" เขา้ ไวด้ ว้ ยกัน เพราะวธิ ีการแสดงไปในรูปเดียวกนั แตกต่างกัน ทวี่ ธิ ีรา่ ยรำ และการแต่งกายตามระเบียบประเพณีตามทอ้ งถิน่ ระบำ แบ่งออกเป็น ๒ ชนดิ คือ ระบำดั้งเดิมหรือระบำมาตรฐาน และระบำปรับปรุงหรือระบำเบด็ เตลด็ ๑. ระบำดั้งเดิมหรือระบำมาตรฐาน หมายถึง การแสดงที่ปรมาจารย์ได้กำหนดเนื้อร้อง ทำนองเพลง ลีลา ท่ารำและการแตง่ กาย ตลอดถงึ กระบวนการแสดงไว้อย่างแนน่ อนตายตัว และได้ส่งั สอน ฝกึ หดั ถ่ายทอด ตอ่ ๆ กัน มาเป็นเวลานาน จนนับถือเป็นแบบฉบับ จัดเป็นระบำมาตรฐาน เป็นแม่บทที่ควรธำรงรักษาไว้ ซึ่งใครจะ เปลีย่ นแปลงลลี าท่ารำไม่ได้ เช่น ระบำดาวดงึ ส์ ระบำกฤดาภินหิ าร ระบำเทพบันเทิง ระบำโบราณคดี
๒. ระบำปรับปรุงหรือระบำเบ็ดเตล็ด หมายถึง การแสดงที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ตามประสงค์ ตามเหตุการณ์ ตามสมยั นยิ ม และตามเนอ้ื เรอื่ งทีผ่ ู้ประพันธต์ อ้ งการ ระบำปรบั ปรุงแยกออกเป็น - ปรับปรุงจากแบบมาตรฐาน หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นโดยยึดแบบและลีลา ตลอดจนความ สวยงามในด้านระบำไว้ ท่าทางลีลาที่สำคัญยังคงไว้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ดูงามขึ้นอีก หรือเปลี่ยนแปลงเพื่อความเหมาะสมกับสถานที่ทีน่ ำไปแสดง เช่น การจัดรูปแถว การนำเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงเข้า ไปสอดแทรก เป็นต้น - ปรับปรุงจากพื้นบ้าน หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ขึ้นจากแนวทางความเป็นอยู่ของคน พื้นบ้าน การทำมาหากิน อุตสาหกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ในแต่ละท้องถิ่นมาแสดงออกเป็นรูประบำ เพื่อ เป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิน่ เชน่ เซิ้งบ้ังไฟ เต้นกำรำเคียว ระบำงอบ ระบำกะลา รองเง็ง ฯลฯ - ปรับปรงุ จากท่าทางของสตั ว์ หมายถึง ระบำทีค่ ดิ ประดษิ ฐ์ข้ึนใหม่ ตามลักษณะลลี าท่าทางของสัตว์ชนิด ต่าง ๆ เชน่ ระบำนกยูง ระบำนกเขา ระบำมฤครำเริง ระบำบันเทงิ กาสร ระบำตั๊กแตน เปน็ ตน้ - ปรับปรุงจากตามเหตุการณ์ หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้ตามโอกาสที่เหมาะสม เช่น ระบำพระ ประทีป ระบำโคมไฟ ระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นรำในวันนักขัตฤกษ์ ลอยกระทงในเดือนสิบสอง ระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อ การต้อนรบั เพ่ือแสดงความยินดี อวยพรวนั เกดิ เปน็ ต้น - ปรบั ปรุงจากส่ือการสอน เป็นระบำประดษิ ฐแ์ ละสร้างสรรค์ขึน้ เพ่อื เป็นแนวทางสอื่ นำส่บู ทเรียน เหมาะ สำหรบั เดก็ ๆ เปน็ ระบำง่าย ๆ เพือ่ เรา้ ความสนใจ ประกอบบทเรยี นตา่ ง ๆ เชน่ ระบำสูตรคูณ ระบำวรรณยุกต์ ระบำประเภทปรับปรุงขึน้ ใหมน่ ี้ ลักษณะท่ารำจะไม่ตายตวั จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ขึ้นอยู่ กบั เหตกุ ารณ์ ตัวบคุ คล ตลอดจนฝีมอื และความสามารถของผสู้ อนและตวั นักเรยี นเอง การรำ รำ หมายถึง การแสดงที่มุ่งความงามของการร่ายรำ เป็นการแสดงท่าทางลีลาของผู้รำ โดยใช้มือแขนเป็น หลกั ประเภทของการรำ ๑. การรำเดย่ี ว คือ การรำทใี่ ช้ผแู้ สดงเพยี งคนเดียว จุดมุ่งหมายคอื ๑.๑ ต้องการอวดฝีมอื ในการรำ ๑.๒ ต้องการแสดงศิลปะรา่ ยรำ ๑.๓ ต้องการสลับฉากเพ่ือรอการจดั ฉาก หรอื ตัวละครแตง่ กายยงั ไม่เสร็จเรียบรอ้ ย การรำเด่ยี ว เช่น การรำฉยุ ฉายตา่ ง ๆ รำมโนราห์บูชายัญ รำพลายชุมพล ฯลฯ
๒. การรำคู่ แบง่ เป็น ๒ ประเภท คอื รำคใู่ นเชิงศิลปะการต่อสู้ ไมม่ บี ทร้อง และรำคูใ่ นชุดสวยงาม ๒.๑ การรำคู่ในเชิงศิลปะการต่อสู้ ได้แก่ กระบี่ กระบอง ดาบสองมือ โล่ ดาบ เขน ดั้ง ทวน และรำกริช เป็นการรำไมม่ ีบทรอ้ ง ใช้สลับฉากในการแสดง ๒.๒ การรำคู่ในชดุ สวยงาม ทา่ รำในการรำจะตอ้ งประดิษฐใ์ ห้สวยงาม ทั้งทา่ รำท่ีมคี ำรอ้ งตลอดชุด หรือมี บางช่วงเพื่ออวดลีลาท่ารำ มีบทร้องและใช้ท่าทางแสดงความหมายในตอนนั้น ๆ ได้แก่ หนุมานจับสุพรรณมัจฉา หนุมานจับนางเบญกาย พระรามตามกวาง พระลอตามไก่ รามสูร เมขลา รจนาเสี่ยงพวงมาลัย ทุษยันต์ตามกวาง รำแมบ่ ท รำประเลง รำดอกไม้เงินทอง รถเสนจบั ม้า ๓. การรำหมู่ เป็นการแสดงมากกว่า ๒ คนขึ้นไป ได้แก่ รำโคม ญวนรำกระถาง รำพัด รำวงมาตรฐาน และรำวง ทวั่ ไป การแสดงพ้ืนเมืองของชาวบา้ น เชน่ เต้นกำรำเคยี ว รำกลองยาว การฟอ้ น ฟอ้ น หมายถงึ ศลิ ปะการแสดงที่เป็นประเพณีของทางภาคเหนือ จะใช้ผู้แสดงเป็นจำนวนมาก มลี ีลาการ ฟอ้ นพร้อมเพรยี งกันดว้ ยจังหวะทค่ี ่อนข้างช้า การพจิ ารณาศลิ ปะการฟ้อนท่ีปรากฏในลานนาปัจจุบนั อาจารย์ทรง ศักดิ์ ปรางคว์ ัฒนากลุ ไดแ้ บง่ การฟ้อนออกเป็น ๕ ประเภท คือ ๑. ฟ้อนที่สืบเนื่องมาจาการนับถือผี เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อและพิธีกรรม เป็นการฟ้อนเก่าแก่ที่มีมาช้า นาน ได้แก่ ฟอ้ นผีมด ผีเมง็ ฟ้อนผบี ้านผีเมือง ฟอ้ นผนี างดัง ๒. ฟ้อนแบบเมือง หมายถึง ศิลปะการฟ้อนที่มีลีลาแสดงลักษณะเป็นแบบฉบบั ของ \"คนเมือง\" หรือ \"ชาว ไทยยวน\" ไดแ้ ก่ ฟอ้ นเล็บ ฟอ้ นเทียน ฟอ้ นเจิง ตบมะผาบ ฟ้อนดาบ ตกี ลองสะบัดไชย ฟอ้ นสาวไหม ๓. ฟ้อนแบบม่าน เป็นการผสมผสานกันระหว่างศลิ ปะการฟ้อนของพม่า กับของไทยลานนา ได้แก่ ฟ้อน ม่านม่ยุ เชียงตา ๔. ฟ้อนแบบเงี้ยวหรือแบบไทยใหญ่ หมายถึง การฟ้อนตลอดจนการแสดงที่รับอิทธิพล หรือมีต้นเค้ามา จากศลิ ปะการแสดงของชาวไทยใหญ่ ได้แก่ เล่นโต กง่ิ กะหร่า(กินนรา) หรือฟอ้ นนางนก กำเบ้อคง มองเซิง ฟอ้ นไต (ไทยใหญ)่ ฟอ้ นเงี้ยว ๕. ฟ้อนทีป่ รากฏในบทละคร เป็นการฟ้อนที่มีผู้คิดสร้างสรรขนึ้ ในการแสดงละครพันทาง ซ่ึงนิยมในสมัย รชั กาลที่ ๕ ได้แก่ ฟอ้ นน้อยใจยา ฟอ้ นลาวแพน ฟอ้ นม่านมงคล
หลกั ในการชมนาฏศิลป์ ๑. ควรศกึ ษาเกย่ี วกบั ท่ารำ \"ท่ารำ\" ของนาฏศลิ ป์ไทยจดั ไดว้ า่ เป็น \"ภาษา\" ชนดิ หนง่ึ ซ่งึ ใช้สือ่ ความหมายให้ผู้ชม เข้าใจถึงกิริยา อาการ และความรู้สึก ตลอดจนอารมณ์ของผู้แสดง มีทั้งท่ารำตามธรรมชาติและท่าที่ประดิษฐ์ให้ วจิ ติ รสวยงามกวา่ ธรรมชาติ ผู้ชมทด่ี จี ะตอ้ งเรียนร้คู วามหมายและลีลาทา่ รำต่างๆ ของนาฏศลิ ปไ์ ทย ให้เช้าใจเปน็ พ้นื ฐานกอ่ น ๒. เข้าใจเกี่ยวกับภาษาหรือคำร้องของเพลงต่างๆ การแสดงนาฏศิลป์จะต้องใช้ดนตรีและเพลงเข้าประกอบ ซ่ึง อาจจะมที ั้งเพลงขับร้องและเพลงบรรเลง ในเร่ืองเพลงร้องนั้นจะต้องมี \"คำรอ้ ง\" หรือ เน้ือร้อง ประกอบด้วย บท รอ้ งเพลงไทยส่วนมากจะเป็นคำประพันธ์ประเภทกลอนแปด หรอื กลอนสุภาพ เปน็ คำร้องท่ีแต่งขึ้นใช้กับเพลงน้ันๆ โดยเฉพาะ หรือนำมาจากวรรณคดีไทยตอนใดตอนหนึ่งก็ได้ ผู้ชมจะต้องฟังภาษาที่ใช้ร้อง ให้เข้าใจควบคู่กับการ ชมการแสดงด้วย จงึ จะเขา้ ใจถึงเรอ่ื งราวนาฏศลิ ปท์ ี่แสดงอยู่ ๓. มีความเขา้ ใจเก่ียวกับดนตรีและเพลงต่างๆ นาฏศิลปจ์ ำเปน็ ต้องมีดนตรีบรรเลงประกอบขณะแสดง ซึ่งอาจจะ เป็นแบบพื้นเมืองหรือแบบสมัยนิยม ผู้ชมจะต้องฟังเพลงให้เข้าใจทั้งลีลา ทำนอง สำเนียงของเพลง ตลอดจน จังหวะอารมณ์ด้วย จึงจะชมนาฏศิลป์ได้เข้าใจและได้รสของการแสดงอย่างสมบูรณ์ เช่น เข้าใจว่าเพลงสำเนียง มอญ พม่า ลาว ฯลฯ สามารถเข้าใจถึงประเพทของเพลงและอารมณ์ของเพลงแต่ละเพลง นอกจากนี้ จะต้องรู้จัก ถึงช่อื ของเคร่อื ง ดนตรแี ละวงดนตรีทใ่ี ชป้ ระกอบการแสดงทกุ ชนดิ ด้วย ๔. เขา้ ใจเกยี่ วกับการแต่งกายและแต่งหน้าของผู้แสดง การแสดงนนั้ แบ่งออกหลายแบบ หลายประเภท ผู้ชมควร ดูให้เข้าใจว่าการแต่งกายเหมาะสมกับบรรยากาศและประเภทของการแสดงหรือไม่ เสื้อผ้า เครื่องประดับ และ อปุ กรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการแสดง ตลอดทัง้ การแต่งหน้าด้วยวา่ เหมาะสมกลมกลืนกนั เพยี งใด เชน่ เหมาะสมกับฐานะ หรือบทของผ้แู สดงหรอื ไม่ ๕. เข้าใจถึงการออกแบบฉากและการใช้แสงและเสียง ผู้ชมที่ดีต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องฉาก สถานที่ และ สถานการณต์ ่างๆ ของการแสดง คอื ต้องดูให้เข้าใจว่าเหมาะสมกบั การแสดงหรือไม่ บรรยากาศ แสง หรือเสียงท่ีใช้ นน้ั เหมาะสมกับลกั ษณะของการแสดงเพียงใด ๖. เข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและฐานะของตัวแสดง คือ การแสดงที่เป็นเรื่องราว มีตัวแสดงหลายบท ซึ่งจะต้องแบ่ง ออกตามฐานะในเรื่องนน้ั ๆ เช่น พระเอก นางเอก ตัวเอก ตวั นายโรง พระรอง นางรอง ตัวตลก ฯลฯ ๗. เขา้ ใจเกย่ี วกับเร่ืองราวของการแสดง ในกรณีทเ่ี ลน่ เปน็ เรื่องราว เชน่ โขน ละคร ผูช้ มต้องตดิ ตามการแสดงให้ ต่อเนื่องกันถงึ จะเข้าใจถงึ เรือ่ งราวต่างๆ ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อยา่ งไร ๘. ควรมีอารมณ์ร่วมกับการแสดง การแสดงนาฏศิลป์ได้บรรจุเอาลีลาท่าทาง หรืออารมณ์ต่างๆ ของผู้แสดงไว้ มากมาย ผู้ชมที่ดีควรมีส่วนร่วมกับผู้แสดงด้วย เช่น สนุกสนาน เฮฮาไปด้วย จะทำให้ได้รสของการแสดงอย่าง เต็มท่ี และผู้แสดงจะสนกุ สนาน มอี ารมณ์และกำลังใจในการแสดงดว้ ย
๙. ควรมีมารยาทในการชมการแสดง คือ ปรบมอื ให้เกียรตกิ ่อนแสดงและหลังจาจบการแสดงแตล่ ะชุด ไมค่ วรส่ง เสียงโห่ร้องเป็นการล้อเลียน หรือเยาะเย้ย ในขณะที่การแสดงนั้นไม่ถูกใจหรืออาจจะผิดพลาด ตลก ขบขัน ซึ่งจะ ทำให้ผู้แสดงเสียกำลังใจ และถือว่าไม่มีมารยาทในการชมการแสดงอย่างมาก อีกทั้งเป็นการรบกวนสมาธิและ อารมณ์ของผูช้ มคนอ่นื ๆ ด้วย ๑๐. ควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อย คือ ต้องให้เหมาะสมกับสถานที่ที่ใช้แสดง เช่นโรงละครแห่งชาติ หอประชุม ขนาดใหญ่ ควรแต่งกายสุภาพแบบสากลนิยม แต่ในกรณีสถานที่สาธารณะหรืองานแบบสวนสนุก ก็อนุโลมแต่ง กายตามสบายได้ ๑๑. ควรศกึ ษาเก่ียวกบั สูจิบตั ร ใหเ้ ขา้ ใจกอ่ นเริม่ ชมการแสดง เพอื่ จะได้ชมการแสดงได้เข้าใจต้ังแตต่ ้นจนจบ แต่ ถา้ ไม่มีสูจบิ ตั ร ก็ควรจะตัง้ ใจฟงั พิธกี ารบรรยายถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เกย่ี วกับการแสดงใหเ้ ขา้ ใจดว้ ย ๑๒. ควรไปถึงสถานที่แสดงก่อนเวลา เพื่อจะได้เตรียมตัวให้พร้อม และได้ชมการแสดงตั้งแต่เริ่มต้น อีกทั้งจะได้ ไม่เดนิ ผา่ นผอู้ ืน่ ซ่ึงชมการแสดงอย่กู ่อนแล้ว จะทำให้เกิดความว่นุ วายเปน็ การทำลายสมาธดิ ้วย
Search
Read the Text Version
- 1 - 10
Pages: