รายวิชา รายได้ประชาชาติ (ส30245)
วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่อง... ความหมายของรายได้ประชาชาติ ความเป็นมาของการจัดทำบัญชีรายได้ประชาชาติ ในประเทศไทย ขั้นตอนของการจัดทำบัญชีประชาชาติในประเทศไทย
นักเรียนเคยได้ยินคำว่า \"รายได้ประชาชาติหรือไม่\"
รายได้ หมายถึง ผลตอบแทนที่บุคคลได้รับ ความหมาย ของรายได้ประชาชาติ ในรูปแบบของตัวเงินหรือสิ่งของจากการ มีส่วนร่วมในการผลิตในฐานะเป็นเจ้าของ รายได้ประชาชาติประกอบด้วย คำ 2 คำได้แก่คำว่า \"รายได้\" ปัจจัยการผลิตในระยะเวลาหนึ่ง และคำว่า \"ประชาชาติ\" + ประชาติ หมายถึง พลเมืองของประเทศนั้น ๆ รวมทั้งทรัพยากรที่เป็นของพลเมือง ในประเทศดังกล่าว
มีผู้ให้คำจำกัดความของคำว่า \"รายได้ประชาติ\" อยู่มากมาย ซึ่งสามารถสรุปเป็น 3 นัย ดังนี้ 1) รายได้ประชาชาติ หมายถึง รายได้รวมที่ผู้เป็นเจ้าของปัจจัย การผลิตได้รับในแต่ละปี 2) รายได้ประชาชาติ หมายถึง รายจ่ายรวมที่ประชาชนทั้งประเทศ ใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุน 3) รายได้ประชาชาติ หมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการ ขั้นสุดท้ายของประเทศในแต่ละปี
ความเป็นมาของการจัดทำบัญชีรายได้ประชาชาติ ในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้จัดทำสถิติรายได้ประชาชาติเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2493 วิธีการจัดทำนั้นได้ทำตามแบบวิธีการทำบัญชีประชาชาติ ตามระบบของสหประชาชาติ (United National System of National Accounting หรือ UN SNA)
ความเป็นมาของการจัดทำบัญชีรายได้ประชาชาติ ในประเทศไทย องค์การสหประชาชาติได้จัดทำคู่มือชี้แจงรายละเอียดในการ จัดทำบัญชีประชาชาติเล่มแรกขึ้น เมื่อปีค.ศ.1953 เรียกว่า UN SNA 1953 หรือ Manual 1953 เพราะเหตุว่าคู่มือเล่มนี้มีปกสีฟ้าจึงมักถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า \"BlueBook\" ต่อมาได้มีการปรับปรุงคู่มือขึ้นใหม่ในปีค.ศ. 1968 คู่มือเล่มใหม่นี้ถูก เรียกว่า UN SNA 1968 หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า \"NEW SNA\"
ขั้นตอนการจัดทำบัญชีรายได้ ประชาชาติในประเทศไทย ขั้นที่ 1 ศึกษาแนวคิดและวิธีการจัดทำบัญชีประชาชาติตามระบบ UN SNA ทุกฉบับเพื่อติดตามความก้าวหน้าและการ เปลี่ยนแปลงของวิธีการจัดทำสถิติดังกล่าว ขณะเดียวกันก็จะต้องศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของภาวะ เศรษฐกิจและสังคมของประเทศควบคู่กันไปด้วยเพื่อกำหนดแนวทางและขอบเขตตลอดจนวิธีการที่จะจัดทำบัญชี ประชาชาติให้ตรงกับสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และสอดคล้องกับระบบของ UN SNA ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
ขั้นตอนการจัดทำบัญชีรายได้ ประชาชาติในประเทศไทย ขั้นที่ 2 เป็นขั้นของการเตรียมข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อนำมาคำนวณโดยรวบรวมมาจากทุกแหล่งที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทั้งภาครัฐบาล และภาคเอกชน หรือจะเป็นจากรายงานการสำรวจสำมะโน และเอกสารวิชาการที่จัดทำโดยสถาบันต่าง ๆ หรือแหล่งอื่น ๆ เท่าที่จะหาได้ และถ้าข้อมูลพื้นฐาน ที่รวบรวมตามวิธีดังกล่าวนี้มีไม่เพียงพอแล้ว กองบัญชีประชาชาติจะต้องทำการสำรวจและประมวลผลการ สำรวจเอง
ขั้นตอนการจัดทำบัญชีรายได้ ประชาชาติในประเทศไทย ขั้นที่ 3 เป็นขั้นของการวิเคราะห์หรือกลั่นกรองข้อมูลต่าง ๆ ที่หามาได้จากขั้นที่ 2 เพื่อพิจารณาว่าจะใช้ได้หรือไม่ถ้าใช้ไม่ ได้ก็จะต้องศึกษารายละเอียดเป็นเรื่อง ๆ ไปว่าทำไมจึงใช้ไม่ได้ และจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไรปกติแล้วกอง บัญชีประชาชาติจะดำเนินการ 2 ทางด้วยกันคือ ทางแรกขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถิติที่ต้องการช่วยทำการ สำรวจให้ซึ่งวิธีนี้กว่าจะได้ข้อมูลที่ต้องการต้องใช้เวลานานมากส่วนใหญ่จะนานเป็นปีขึ้นไป ดังนั้น ในระหว่างรอข้อมูล ดังกล่าวกองบัญชีประชาชาติก็อาจจะทำการสำรวจเพิ่มเติม (follow up surver) เอง ถ้าจำเป็นก็จะใช้วิธีการทาง คณิตศาสตร์เข้ามาช่วยในการคำนวณและปรับปรุงสถิติต่าง ๆด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลมีความสอดคล้องกันและตรง หรือใกล้เคียงกับความต้องการ
ขั้นตอนการจัดทำบัญชีรายได้ ประชาชาติในประเทศไทย ขั้นที่ 4 เป็นขั้นของการจัดรายการข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 3 ให้ตรงตามที่กำหนดไว้ใน UN SNA การจัดทำขั้นนี้ มีความยุ่งยากในประเด็นที่ว่าลักษณะของข้อมูล ลักษณะของการประกอบการของประเทศไทยอาจไม่ตรงกับลักษณะ ต่าง ๆ ที่เป็นอยู่ในประเทศของผู้จัดทำบัญชีประชาชาติขององค์การสหประชาชาติ
ขั้นตอนการจัดทำบัญชีรายได้ ประชาชาติในประเทศไทย ขั้นที่ 5 เป็นขั้นของการคำนวณและประมวลผลโดยการนำเอาข้อมูลที่ลงรายการและจัดหมวดหมู่ตามขั้นที่ 4 แล้วนำมา รวมกันให้อยู่ในรูปแบบของตารางสถิติที่กองบัญชีประชาชาติจัดพิมพ์เผยแพร่เป็นประจำทุกปี ในหนังสือรายได้ ประชาชาติของประเทศไทย ปัญหาของการจัดทำในขั้นนี้อยู่ที่ว่าข้อมูลสถิติของประเทศไทยไม่ได้มีการจัดเก็บสมบูรณ์ ต่อเนื่องกันทุกปี บางเรื่องกว่าหน่วยงานเจ้าของข้อมูลจะทำรายงานสถิติของตนออกมาก็ล่าช้ากว่าการจัดทำบัญชี ประชาชาติ 1-2 ปีหรือบางทีก็มากกว่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้กองบัญชีประชาชาติก็ต้องทำการคำนวณสถิติที่ขาดไปเองตาม หลักวิชาการทางสถิติและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ประกอบกับการใช้ประสบการณ์ของผู้จัดทำ
ขั้นตอนการจัดทำบัญชีรายได้ ประชาชาติในประเทศไทย ขั้นที่ 6 เป็นขั้นการวิเคราะห์ผลการคำนวณทั้ง 3 ด้านคือ ด้านการผลิตด้านรายจ่าย (รวมการสะสมทุน) และด้านรายได้โดยผู้รับผิดชอบแต่ละด้านจะต้องจัดทำให้ผลการคำนวณที่มีเป็นร้อย ๆ รายการนั้น มีความสอดคล้อง หรือไม่ขัดกันเองและไม่ขัดกับภาวะการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การเปลี่ยนแปลงของการส่งออกการนำเข้าการผลิต และการใช้จ่ายของประชาชนและรัฐบาลเป็นต้น
ขั้นตอนการจัดทำบัญชีรายได้ ประชาชาติในประเทศไทย ขั้นที่ 7 การคำนวณในขั้นนี้กองบัญชีประชาชาติเรียกว่าขั้นการทำสมดุลหรือการกระทบยอดซึ่งเป็นขั้นที่จะต้องนำตัวเลขที่ คำนวณจากฝ่ายผลิตภัณฑ์ฝ่ายรายจ่ายหรือฝ่ายรายได้มากรอกใส่ตารางการทำสมดุล (balance sheet) ตามวิธีที่ UN SNA แนะนำไว้
ขั้นตอนการจัดทำบัญชีรายได้ ประชาชาติในประเทศไทย ขั้นที่ 8 นำผลการคำนวณที่ผ่านการกระทบยอดเรียบร้อยแล้วเสนอหัวหน้าสายงานหรือผู้บังคับบัญชากองบัญชี ประชาชาติพิจารณาพร้อมทั้งส่งให้ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการด้านเศรษฐกิจของประเทศ และผู้ใช้ตัวเลขบัญชี ประชาชาติมาก ๆ เพื่อให้ข้อคิดเห็นด้วย ถ้าหัวหน้าสายงานและผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ เห็นว่าการคำนวณที่ได้ยังไม่ดีพอ กองบัญชีประชาชาติก็จะต้องปรับปรุงผลการคำนวณใหม่จนกว่าจะได้ผลการคำนวณที่ดี ที่หัวหน้าสายงานเห็น สมควรเสนอผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ เผยแพร่ผลของการคำนวณที่ได้จัดทำขึ้นนี้
ขั้นตอนการจัดทำบัญชีรายได้ ประชาชาติในประเทศไทย ขั้นที่ 9 ผู้บริหารสศช. จะพิจารณาตัวเลขหรือผลการคำนวณที่นำเสนอและซักถามรายละเอียดต่าง ๆ ถ้าเห็นว่าตัวเลขที่จัดทำมีเหตุผลและเหมาะสมดีพอที่จะเผยแพร่ได้ก็จะอนุมัติให้เผยแพร่แต่ถ้าเห็นสมควรให้ปรับปรุง ในประเด็นไหนกองบัญชีประชาชาติก็จะต้องนำไปปรับปรุงแล้วเสนอหัวหน้าสายงานและผู้บริหารสศช. ตามลำดับ จนกว่าจะได้รับอนุมัติให้เผยแพร่ผลการคำนวณได้
Search
Read the Text Version
- 1 - 17
Pages: