ไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด
สารบัญ 04 รู้จักไม้รูด 10 สถานที่ท่องเที่ยว 17 กิจกรรมการท่องเที่ยว 22 ผลิตภัณฑ์ชุมชน 27 อาหารและขนมพื้ นถิ่น
สารบัญ (ต่อ) 32 เทศกาลและงานประเพณี 35 โปรแกรมการท่องเที่ยว 41 เส้นทางจักรยาน 44 ปฏิทินการท่องเที่ยว 49 แนะนำที่พักและร้านอาหาร
รู้จักไม้รูด
สาเหตุที่ได้ชื่อว่า \"บ้านไม้รูด\" ? เล่ากันว่า สมัยก่อนมีเรือสำเภาเข้ามาหาน้ำดื่ม และอาหารในบริเวณพื้นที่หมู่ที่ 1 ของตำบลไม้รูด ซึ่งก็ คือบ้านไม้รูดในปัจจุบัน โดยพื้นที่บริเวณนี้มีลักษณะเป็นป่าทึบ และมีเสือชุกชุมมาก ลูกเรือที่เข้ามาได้ ถูกเสือกัดตายเกือบหมด พวกที่เหลือต่างหนีตายกันอลหม่าน บางส่วนปืนหนีขึ้นไปบนต้นขานาง ซึ่ง เป็นต้นไม้ที่มีความลื่นมาก ทำให้เมื่อลูกเรือปีนขึ้นไปบนกิ่งไม้ก็จะรูดตกลงมาจนถูกเสือกัตตาย จนนำ มาสู่การตั้งชื่อสถานที่แห่งนี้ว่า \"บ้านไม้รูด\" และยกสถานะเป็น \"ตำบลไม้รูด\" ในเวลาต่อมา ตำบลไม้รูด เป็นส่วนหนึ่งของตำบลคลองใหญ่ แต่ไม่ปรากฎหลักฐานว่าแยกออกมาเมื่อใด 5
ตำบลไม้รูด เป็นหนึ่งในสามตำบลของอำเภอคลองใหญ่ ประกอบไปด้วยหมู่บ้านจำนวน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านไม้รูด, หมู่ 2 บ้านหนองม่วง, หมู่ 3 บ้านห้วงโสม, หมู่ 4 บ้านคลองมะนาว, หมู่ 5 บ้านห้วงบอน และหมู่ 6 บ้านร่วมสุข ตั้งอยู่ติดกับเขตแดนไทย-กัมพูซา สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ที่ราบเชิงเขา และที่ราบชายฝั่ ง ทะเล ถือเป็นพื้นที่เขตอ่าวไทยตอนบน พื้นที่ส่วนใหญ่ติดทะเล ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพด้าน การประมงชายฝั่ ง และการทำเกษตรกรรม มีพื้นที่รวม 27.25 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 17,000 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ : ติดต่อกับ ตำบลแหลมกลัด อำเภอเมืองตราด ทิศใต้ : ติดต่อกับ ตำบลคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ ทิศตะวันออก : ติดต่อกับ เทือกเขาบรรทัด ซึ่งเป็นแนวพรมแดน ไทย-กัมพูชา ทิศตะวันตก : ติดต่อกับ ทะเลอ่าวไทย 6
ภูมิอากาศ ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแบบร้อนชื้น แบ่งออกเป็น 2 ฤดู โดยฤดูฝนจะมีระยะเวลานานกว่าฤดูร้อน และฤดูหนาว มีเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพล จากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกตลอดปีปริมาณ น้ำฝนเฉลี่ยอยู่ที่ 4,000 มิลลิเมตรต่อปี ภูมิประเทศ อุณหภูมิ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขา ที่ราบเชิงเขา และที่ราบลุ่มชายฝั่ ง ทะเล ลักษณะเรียวยาวทอดลงมาจากทิศใต้ มีแนวเทือกเขาบรรทัดเป็นแนวเขตพรมแดนกั้นระหว่าง ชายแดนประเทศไทยกับชายแดนประเทศกัมพูชา อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดของพื้นที่อยู่ที่ 38 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน และจะมีอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 22 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ประชากร ประชากรของตำบลไม้รูด รวมทั้งสิ้น 5,031 คน จำนวนครัวเรือน 1,542 ครัวเรือน แยกเป็น ชาย 2,559 คน หญิง 2,472 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 183 คน / ตารางกิโลเมตร *ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2559 จากสำนักทะเบียนราษฎร์ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด การประกอบอาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลไม้รูด ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ ง ทำสวนเงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง มะพร้าว และทำนา 7
วิถีชีวิตไม้รูด ‘ที่นี่มีให้เพียงธรรมชาติและวิถีชุมชนประมงพื้ นบ้าน’ ชาวประมงพื้นบ้านของตำบลไม้รูด ส่วนใหญ่เป็นประชาชนที่ อาศัยอยู่ในบริเวณริมน้ำ ดำรงชีวิตด้วยการจับสัตว์น้ำ เพื่อการ บริโภคเป็นอาหารและจำหน่ายเป็นการสร้างอาชีพ ประมงพื้นบ้าน เป็นการทำประมงที่ต้องอาศัยและพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติเป็น หลัก โดยเริ่มจากการต้องเรียนรู้ธรรมชาติ เรียนรู้ปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติ น้ำขึ้นน้ำลง ศึกษาและเรียนรู้ เพราะธรรมชาติทุก สิ่งรอบตัวล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตทั้งสิ้น เนื่องจาก การออกจับปลาต้องมีการศึกษาสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่นสภาพ อากาศเพราะอาชีพประมงพื้นบ้านถือว่าเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยง เวลาออกไปทำการประมงต้องเผชิญกับคลื่ นลมและพายุในการ ทำงานจับสัตว์น้ำโดนไม่มีการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการป้องกัน ‘ ธ น า ค า ร ปู ม้ า ที่ ไ ม้ รู ด ’ ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำประมง ถือว่าเป็นชุมชนที่มีความ เข้มแข็งเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเห็นคุณค่า การทำประมง การอนุรักษ์เริ่มปี 2554 ที่พบสัตว์น้ำลดลง ชาว บ้านจึงรวมตัวกันตั้งกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล และร่วมใจกันอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ โดยมีการจัดตั้ง “ธนาคาร ปูม้า” ขึ้นมา เพื่อฟื้ นฟู ขยายพันธุ์ปูม้าให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ อีกครั้ง ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อธรรมชาติ และยังเป็นการเพิ่ม รายได้ของชุมชนอีกด้วย ถือว่าการมาที่นี่นักท่องเที่ยวจึงจะได้ เป็นส่วนหนึ่งกับถิ่นวิถีไม่ว่าจะเป็นการหัดทำลอบปู (เครื่องมือ จับปูขนาดเล็กที่ต้องใช้เหยื่อล่อมีรูปร่างหลายแบบ) ซึ่งเป็น อุปกรณ์ที่ไม่ทำลายระบบนิเวศน์และทรัพยากรทางทะเล หรือ การนั่งเรือไปจับปู แล้วนำกลับมาปรุงเป็นมื้ออาหารให้อิ่มท้อง ตามแบบฉบับชาวประมงขนานแท้ ซึ่งตำบลไม้รูดถือว่าเป็น แหล่งการเพาะเลี้ยงปูม้าที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดตราดเลยก็ว่าได้ 8
สถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ บ่อญวน เป็นบ่อน้ำจืดขนาดเล็กที่มีความลึกประมาณ 1 เมตร ที่อยู่ติดกับชายหาดทะเล มีมานานนับ 100 ปี หากน้ำทะเล หนุนสูง หรือ มีลมพายุแรงจนทำให้ทะเลมีคลื่นสูง คลื่น ทะเลจะพัดพาน้ำทะเลที่มีความเค็มเข้ามาในบ่อ และถ้า ทำการตักน้ำทะเลออก น้ำในบ่อก็จะจืดและรับประทานได้ เหมือนเดิม วัดวิสิทธิการาม เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ภายในวัดมีพระอุโบสถที่มีรูปทรงพิเศษพบไม่บ่อยนัก คือ อุโบสถทรงจตุรมุข ภายในประดิษฐานองค์ พระพุทธชินราชจำลอง ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เกี่ยวกับสังเวนียสถาน วัดนี้เป็นสถานปฎิบัติธรรม ของฆราวาส และมีการบวชเนกขัมมะราวเดือน เมษายนของทุกปี ศาลเจ้าพ่อไม้รูด สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านไม้รูด และชุมชนใกล้เคียง สักการบูชา โดยมีความเชื่อว่าหากตกทุกข์ได้ยาก มีอุปสรรคในการดำเนินชีวิต จะมาสักการะขอพรเจ้าพ่อ ไม้รูดให้ช่วยเหลือ ปัดเป่าคุ้มครอง ให้พ้นจากปัญหา อุปสรรค และประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิต 11
สถานที่ท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ อนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ หรือ ศาลเสด็จเตี่ย เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เป็นที่ เคารพนับถือ ของชาวบ้านในละแวกนี้ เมื่อออกทะเลครั้งใด ต้องยกมือไหว้ขอพรให้แคล้วคลาดปลอดภัย หลวงพ่อแดง เป็นพระพุทธรูป แบบสุโขทัยปางมารวิชัย จัดสร้างโดยพระวิสุทธิญาณ เถระ แห่งวัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี ได้จัดสร้างขึ้น ตามพระราชดำริของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรม ราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงให้มีพระพุทธรูปไว้สักการ บูชา เพื่อยึดเหนี่ยวและเป็นที่พึ่งทางจิตใจ แก่ผู้อพยพ ชาวกัมพูชา ที่หนีภัยสงครามเข้ามาพึ่งพระบรม โพธิสมภาร เมื่อปี พ.ศ. 2522 ศูนย์ราชการุณย์ สภากาชาดไทย เขาล้าน สิ่งที่น่าสนใจภายในศูนย์ราชการุณย์สภากาชาดไทย ภายในศาลาราชการุณย์ประกอบไปด้วยนิทรรศการพระราช กรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง นอกจากนั้นยังมีหุ่นจำลองชาว กัมพูชาอพยพในขณะทำภารกิจประจำวัน เช่น หุงหาอาหาร เย็บปักถักร้อย เป็นต้น 12
สถานที่ท่องเที่ยว ธรรมชาติ นกแก๊ก แห่งไม้รูด ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ชายฝั่ งทะเล ทำให้บ้านไม้รูดมีความเป็นแหล่งอาหาร ทะเลที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังอุดมสมบูรณ์ ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะนกเงือกขนาด เล็ก หรือที่เรียกกันว่านกแก๊ก (นกเเก๊กแห่งบ้านไม้รูด) หนึ่งในตระกูลของนกเงือก ซึ่งพบในประเทศไทยเพียง 13 ชนิด โดยนกเงือกนั้นจะเป็นเหมือนดัชนีบ่งชี้ความ สมบูรณ์ของป่าดิบเขตต่าง ๆ แต่พบได้ไม่ยากที่ บ้านไม้รูด ลำคลองไม้รูด บ้านไม้รูด มีจุดเด่นตั้งแต่ที่ตั้งซึ่งอยู่ริมปาก อ่าว ซึ่งมีทั้งป่าชายเลน และมีลำคลองทอดยาว ออกไปสู่ทะเล ซึ่งตามลำคลองไม้รูดนี้ทั้งสอง ฝากฝั่ งอุดมสมบูรณ์ด้วยผืนป่าโกงกางเขียว ขจีนับพันไร่ และยังมีผลต้นเตยปาหนันสีแดง สดที่ขึ้นปะปนตลอดระยะทางราว 5 กิโลเมตร ไปจนถึงท้ายคลอง หาดทรายสองสี หาดรูปทรงครึ่งวงกลมยาวหลายร้อยเมตร ความพิเศษ อยู่ตรงจุดสิ้นสุดอีกด้านจะเป็นการบรรจบกันของหาด ทรายสองสีระหว่างทรายสีขาว และทรายสีน้ำตาลอม แดง แม้ลมแรงหรือน้ำขึ้นสูงจนมิดไม่เห็นชายหาด พอ น้ำลงหาดทรายทั้งสองก็ยังคงแยกสีกันอย่างชัดเจน 13
สถานที่ท่องเที่ยว ธรรมชาติ ชมแมงกะพรุนหลากสี ปรากฏการณ์แมงกะพรุนลอยตัวขึ้นบนผิวน้ำ บริเวณ หาดไม้รูด หาดราชการุณย์ และหาดอื่น ๆ บริเวณใกล้ เคียง เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกปี ในช่วง เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน สามารถนั่งเรือชมความ งามที่แฝงด้วยความน่ากลัวของเหล่าแมงกะพรุนถ้วย หลากสีสัน ทั้งสีฟ้า สีน้ำเงิน สีม่วง สีส้ม และสีขาว จำนวนหลายร้อยตัวลอยขึ้นมาอวดโฉมความสวยงาม หาดราชการุณย์ หาดอยู่ในบริเวณศูนย์ราชการุณย์ จุดเด่น ของหาดราชการุณย์ ชายฝั่ งทะเลอ่าวไทย คือ ทรายขาว น้ำทะเลใส สะอาด สามารถลงเล่นน้ำ ได้ เหมาะสำหรับการพักผ่อนชมทิวทัศน์ อยู่ใน ความดูแลของหน่วยพยาบาลสภากาชาดไทย หาดบานชื่น หาดบานชื่น เดิมชื่อ หาดมะโร หาดบานชื่นได้ชื่อว่า เป็นหนึ่งในหาดทรายที่มีทรายละเอียดที่สุด ปัจจุบันมี ที่พักไว้บริการแก่นักท่องเที่ยว อยู่ในความดูแลของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด ถ้าหากโชคดีอาจ จะได้เห็นฝูงปลาโลมาที่พากันมาว่ายน้ำเล่นที่บริเวณ หาดบานชื่นนี้ด้วย 14
ท่องเที่ยวชุมชน สัมผัสวิถีประมงชายฝั่ง ท่ามกลางระบบนิเวศน์อันอุดมสมบูรณ์ของป่าดิบชื้น แห่งเทือกเขาบรรทัด บริเวณทะเลภาคตะวันออกชาย แดนเชื่อมต่อประเทศกัมพูชา ณ หมู่บ้านประมงเล็ก ๆ ในจังหวัดตราด ที่ถูกเรียกขานกันว่า ‘ชุมชนบ้านไม้รูด’ เพราะที่นี่มีให้เพียงธรรมชาติบริสุทธิ์และประมงพื้นบ้าน เป็นต้นแบบแห่งการแบ่งปันพึ่งพาอาศัยกันและกัน ริม ฝั่ งคลองเต็มไปด้วยงานประมงในครัวเรือน แกะปู แกะกุ้ง คนพื้นถิ่น และแรงงานกัมพูชาใช้ชีวิตร่วมกันภายใต้ความ สมบูรณ์ของทะเล และผืนป่า ดังนั้นชาวบ้านไม้รูดทุกครัว เรือน จึงประกาศตนกำหนดจุดยืนกับตัวเองว่าพวกเขาขอ เป็น ‘กรีนซีตี้’ ที่เน้นธุรกิจสีเขียว เพื่อให้บ้านของสิ่งมีชีวิต นานาชนิดทางทะเลเติบโตไปพร้อมกับชุมชนอย่างยั่งยืน และดูเหมือนว่าในปัจจุบันนี้สิ่งที่ชาวบ้านคิด ร่วมมือ ร่วม แรงกาย แรงใจ ลงมือทำอย่างจริงจัง ภายใต้การส่งเสริม และช่วยเหลือจากองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) จะต่อยอดออกผล จนกลายเป็นจุดหมายปลายทางในการมาพักผ่อนท่อง เที่ยวทะเลสวย ลิ้มรสอาหารทะเลสด สัมผัสชีวิตพื้นบ้าน ที่ไม่ใช่แค่คนไทยเท่านั้นแต่กำลังกลายเป็นที่นิยมของชาว ต่างชาติด้วยเช่นเดียวกัน ธนาคารปูม้า ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำประมง ถือว่าเป็นชุมชนที่มี ความเข้มแข็งเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ เห็นคุณค่าการทำประมง การอนุรักษ์เริ่มปี 2554 ที่พบ สัตว์น้ำลดลง ชาวบ้านจึงรวมตัวกันตั้งกลุ่มอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและร่วมใจกันอนุรักษ์พันธุ์ สัตว์น้ำ โดยมีการจัดตั้ง “ธนาคารปูม้า” ขึ้นมา เพื่อฟื้ นฟู ขยายพันธุ์ปูม้าให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ถือได้ว่า เป็นประโยชน์ต่อธรรมชาติ และยังเป็นการเพิ่มรายได้ ของชุมชนอีกด้วย 15
กิจกรรม การท่องเที่ยว
ล่องเรือชมวิถีชีวิตสองฝั่งคลอง งมหอยถ่าน หอยพอก ชมหิ่งห้อยตามแนวชายป่าโกงกาง เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ไม่ควรพลาดหากมาถึงตำบล ไม้รูด คือ การล่องเรือชมธรรมชาติสองฝั่ งคลอง เรือ 1 ลำ สามารถขึ้นได้ 4-5 คน แล้วแต่ขนาดของ เรือ หันหัวเรือเข้าคลองผ่านสะพานคอนกรีตข้าม คลองไม้รูดไป 2 สะพาน พอพ้นเขตชุมชนชาว ประมงไปแล้ว สองฝั่ งคลองก็หนาแน่นไปด้วยป่า โกงกาง ยังถือว่าทั้งสองฝั่ งนั้นยังมีระบบนิเวศน์ที่ ยังคงอุดมสมบูรณ์ กิจกรรมอีกอย่างคือ การงม หอยถ่าน หอยพอก ซึ่งเป็นการงมหอยด้วย มือเปล่า โดยจะมีเรือนำมาให้ยังจุดงมหอยน้ำไม่ลึก มาก นักท่องเที่ยวสามารถเอามืองมลงไปในผืน ทรายไม่กี่ฝามือก็จะได้หอยติดมือขึ้นมา ซึ่งการเก็บ หอยถ่านมาต้องรอ 2-3 วัน เพื่อให้ตัวหอยนั้นคลาย ทรายออกมาถึงจะนำมาปรุงอาหารได้ และในช่วง เวลากลางคืนไม่มีแสงไฟ ก็สามารถล่องเรือชม หิ่งห้อยจำนวนมากได้อีกด้วย เรียนรู้การทำลอบดักปู ลอบดักปู เป็นเครื่องมือที่เกิดจากภูมิปัญญา ของชาวบ้าน เกิดจากการดัดลวดเส้นเล็ก จำนวนหลายเส้นให้เป็นกรงสี่เหลี่ยมที่สามารถ เปิด และปิดได้ การวางลอบในคลองไม้รูดจะ เป็นลอบดักปู ทั้งปูม้า และปูดำ หลังจากที่เรียน รู้การทำลอบดักปูเสร็จเรียบร้อย นักท่องเที่ยว ยังสามารถล่องเรือนำลอบดักปูนี้ไปวางบริเวณ ริมคลอง 18
ปั่นจักรยานน้ำเก็บขยะ กิจกรรมปั่ นจักรยานน้ำเก็บขยะ ต้นแบบนวัตกรรม การบริหารจัดการขยะในแม่น้ำลำคลอง องค์การ บริหารส่วนตำบลไม้รูด สำนักงานพื้นที่พิเศษ 3 หรือ อพท. และชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลไม้รูดโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ประชาชนใน ชุมชน รวมทั้งเยาวชนในพื้นที่มีจิตสำนึกและมีความ ตระหนักในการช่วยกันดูแลรักษาลำคลองให้มีความ สะอาด สวยงาม อีกทั้งยังเป็นกํารส่งเสริมการท่อง เที่ยวให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในชุมชนไม้รูด เรียนรู้ขั้นตอนของ บ่อพักแมงกะพรุน ในช่วงฤดูฝนประมาณ 4 เดือนของทุกปี ที่บริเวณ ทะเลอำเภอคลองใหญ่ ที่มีสภาพแวดล้อม และมี ความเป็นธรรมชาติ รวมทั้งมีเกาะช้างบังคลื่นลม จะมีแมงกะพรุนนานาชนิดทั้งแมงกะพรุนสี (ถ้วย) และแมงกะพรุนลอดช่องขนาดใหญ่ จะลอยเข้ามา บริเวณหน้าทะเล ชาวประมงพื้นบ้านจะนำเรือ ประมงออกมาตักใส่เรือแล้วนำมาขายให้กับผู้ดอง แมงกะพรุน 19
เดินเล่นหาดทรายสองสี ความพิเศษอยู่ตรงจุดสิ้นสุดอีกด้านจะเป็นการบรรจบกัน ของหาดทรายสองสีระหว่างทรายสีขาว และทรายสีน้ำตาล อมแดง จนเป็นที่มาของชื่อ และบนหาดนี้ยังมีต้นเสม็ด แดงที่ยืนต้นมานานกว่า 100 ปี ซึ่งชุมชนตั้งใจอนุรักษ์ไว้ ให้นักท่องเที่ยวชมอีกด้วย ชมพระอาทิตย์ตก หาดไม้รูด กิจกรรมชมพระอาทิตย์ตกที่หาดไม้รูด ถือว่าเป็นจุดชมวิวที่สวยงามอีกหนึ่งที่ เลยก็ว่าได้ เหนื่อยกับกิจกรรมมาทั้งวัน ก็สามารถมาชมพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า ยามเย็นที่หาดไม้รูด สะพานหลากสี สะพานแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์คของชุมชนบ้านไม้รูด เป็นสะพานปูนข้ามลำคลองไม้รูด สีสันสดใส สะดุดตา มอง เห็นบรรยากาศ และวิถีชีวิตของผู้คนชุมชนบ้านไม้รูดที่ เหล่าบรรดาเรือประมงลำน้อยใหญ่ขวักไขว้กันไปมา 20
ผลิตภัณฑ์ชุมชน
น้ำพริกกั้ง/น้ำพริกปู น้ำพริกกั้ง กุ้ง และน้ำพริกปูของตำบลไม้รูด เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ได้รับความสนใจมากจากนักท่องเที่ยว ที่มาเที่ยวเป็นอย่างมาก จากตัวน้ำพริกที่ทำจากเนื้อกั้ง กุ้ง และเนื้อปูล้วน ๆ ส่วนผสมที่มีคุณภาพ รสชาติ และราคาที่ย่อมเยาว์ทำให้เข้าถึงได้ง่าย เคยแห้ง การทำเคยแห้งที่ไม้รูดเป็นการทำแบบธรรมชาติ ทำให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากสารพิษ โดยไม่ใส่สีผสม อาหาร หรือสีย้อมผ้า และสามารถเก็บไว้ได้นานยิ่งขึ้น มีรสชาติหวานจากเคย ใส่เกลือเล็กน้อย ทานเล่นได้เลย หรือใช้เป็นของฝาก ประกอบอาหารต่าง ๆ เช่น ข้าว คลุกกะปิ ผัดไทย ส้มตำ ใช้แทนหมูสับในไข่เจียว โรยหน้าผัดต่าง ๆ หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แป้งท้าวยายม่อม แป้งท้าวยายม่อม ทำมาจากหัวของต้นท้าวยายม่อม เป็นพืชล้มลุก มีหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน คุณสมบัติ ของการทำขนมจากแป้งท้าวยายม่อม คือ มีความ ละเอียดเนียน มีสีขาว ใส และคงรูปไม่เหลวแตกต่าง จากแป้งชนิดอื่น จนสัมผัส และสังเกตุได้ ทางด้าน สรรพคุณ บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย ช่วยทำให้ จิตใจชุ่มชื่นอารมณ์ดี ของที่ระลึก 23
ปุ๋ยกากปู เป็นปุ๋ยออร์แกนิคที่ทำมาจากเปลือกปูบด ซึ่งในเปลือกปูนั้นจะมีโปรตีนชนิดหนึ่งเรียกว่า ไคติน และยังมีไนโตเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่พืชต้องการ ทำให้พืชแข็งแรง และเจริญเติบโตได้ดี อีกทั้งยังลด ปัญหาเรื่องไส้เดือนฝอย และเชื้อราในดิน เส้นพลาสติกสาน เป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน โดยวิสาหกิจชุมชนไม้รูด มีความคิดในการนำเส้นพลาสติกมาสานเพื่อหาราย ได้แก่คนชุมชน จึงรวบรวมคนที่มีความรู้มีฝีมือด้าน งานประดิษฐ์มาสานกระเป๋าในรูปแบบต่าง ๆ และ เกิดความคิดในการนำซองกาแฟที่ใช้แล้วมาสาน เป็นกระเป๋าน่ารัก ๆ และเป็นหนึ่งในกิจกรรมให้แก่ นักท่องเที่ยวที่สนใจในงานฝีมืออีกด้วย กะปิเบญจรงค์ 24 กะปิไม้รูดทำจากเคยแท้ 100 % เคยในชุมชนไม้รูดมีลักษณะพิเศษ คือ มีหนวด สีแดงตามธรรมชาติ ทำให้สีกะปิมีสีชมพูแดง สวยไม่ดำคล้ำ และเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เป็น ทรายแก้ว จึงสะอาด ปลอดภัย น่ารับประทาน พร้อมกับบรรจุในเครื่องเบญจรงค์ สามารถ เก็บใว้ใด้นานถึง 2 ปี โดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น เหมาะแก่การซื้อไปเป็นของฝาก ของที่ระลึก
ลูกสำรอง ลูกสำรอง มีลักษณะคล้ายกับลูกสมอ ผลแก่เป็นสีน้ำตาล เมื่อถูกน้ำ หรือนำมาแช่ในน้ำจะพอง ตัวออก และขยายตัวเป็นวุ้นคล้ายกับเยลลี่สีน้ำตาลใส นำมารับประทานได้ เพราะเชื่อว่าสามารถช่วยลดความอ้วน ล้างไขมันในลำไส้ และช่วยในการขับถ่ายได้ดี สายคล้องแมสลูกปัดกระดาษ ผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่ได้ริเริ่มทำช่วงสถานการณ์ โควิด -19 เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนเล็ก ๆ น้อย ๆ สายคล้องแมสที่ทำขึ้นจากลูกปัดกระดาษหลากสีสัน และลูกปัดขนาดเล็กสลับสีกัน มีความน่ารัก และความคิดสร้างสรรค์ของชาวบ้านชุมชนไม้รูด ปลาแดดเดียว หากพูดถึงปลาแดดเดียวแล้ว ชื่อเสียงของ ปลาแดดเดียวตำบลไม้รูดก็ไม่แพ้ใครที่ไหน โดยกรรมวิธีการทำของชาวบ้านให้มีความอร่อย ความใส่ใจในเรื่องของความสดใหม่ คุณภาพดี เนื้อนุ่ม ไม่เค็มเกินไป เวลาสำหรับการตากใน แต่ละครั้ง ปลาแดดเดียวที่อร่อย จะต้องเป็น ปลาที่สดใหม่อยู่เสมอ ของที่ระลึก 25
อาหารและขนมพื้นถิ่น
อาหารพื้นถิ่น แกงส้มใบสันดาน มีใบสันดานเป็นวัตถุดิบสำคัญ โดยต้นและใบ มีรสชาติเปรี้ยว ใช้ได้ทุกส่วนของต้นในการนำมา ประกอบอาหาร ถือว่าแกงส้มใบสันดานเป็นเมนูหลัก แสนขึ้นชื่อของชุมชนไม้รูด เคยทอด เคยทอด ทำมาจากเคยที่สดใหม่ ที่ชาวบ้านได้มาจากการออกเรืออ้วนช้อนเคย ในช่วงต้นฤดูฝนของทุก ๆ ปี นิยมนำมาชุปแป้งทอด ทานคู่กับนํ้าจิ้มไก่ หรือนํ้าจิ้มบ๊วย ถือเป็นเมนูที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก แมงกะพรุนลอดช่อง ดองฝาด แมงกะพรุนแปรรูปจากกระบวนการแช่ในบ่อพัก เพื่อทำความสะอาดแมงกะพรุนกวนเมือกให้หมด และนำมาดองในน้ำเปลือกต้นอินทรีย์จนเป็นสีแดงฝาด การนำมารับประทานต้องล้างนํ้าฝาดออกให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ นิยมรับประทานคู่กับนํ้าจิ้มถั่ว 28
ก๋วยเตี๋ยวกั้งป้านาลุงปาน ต้องไม่พลาดกับเมนู ก๋วยเตี๋ยวกั้งที่ใส่กั้งทั้งตัว ทานง่าย หรือจะเป็นเมนูก๋วยเตี๋ยวทะเลรวม มีทั้งนํ้าใส และต้มยำรสแซ่บ รวมทั้งเมนูข้าวผัดกั้ง กะเพรากั้ง หากได้ลิ้มลองรสชาติแล้วจะไม่ผิดหวัง น้ำพริกกั้ง นํ้าพริกกั้งที่ปรุงจากพริกแห้ง ตะไคร้ หัวหอม กระเทียมและกะปิ ตำให้ละเอียด ก่อนนำมาปรุงกับ เนื้อกั้งที่แกะไว้ ผัดให้เข้ากัน แล้วตักใส่ถาดที่รองด้วย กระดาษซับมัน และนำมาทานกับข้าวสวยร้อน ๆ มะพร้าวคั่ว มะพร้าวคั่วสูตรโบราณ รสชาติเค็ม ๆ หวาน ๆ และมัน นำมาคลุกข้าวสวย หรือ ข้าวเหนียวร้อน ๆ รับรองกลมกล่อมเข้ากันอย่างดี แกงคั่วหอยถ่าน หอยถ่านเป็นหอยธรรมชาติพื้นถิ่น ของขึ้นชื่อชุมชนตำบลไม้รูดที่ไม่ควรพลาด ใช้สมุนไพรมาตำเป็นพริกแกง กะทิ เครื่องปรุงต่างๆ ปรุงรสให้เข้ากัน จะมีรสชาติหวาน มัน เนื้อหอยกรุบๆ นักท่องเที่ยวที่ได้ลิ้มลองรสชาติก็ติดใจกันเป็นแทบ 29
ขนมพื้นถิ่น ขนมเปียกปูน แป้งท้าวยายม่อม ขนมหวานรสเลิศแสนขึ้นชื่อของชุมชนไม้รูด กรรมวิธีการทำ หลัก ๆ คือ การผสมแป้ง การกวน การทำนํ้ากะทิ เหมาะกับการรับประทานโดยราดนํ้ากะทิเคี่ยว หอม อร่อย กลมกล่อม ถือเป็นขนมหวานที่มาถึงไม้รูดแล้วไม่ควรพลาด มันเทียน มันเทียน มีลักษณะเป็นแท่งคล้ายเทียน นิยมนำไปต้มแล้วขูดเปลือกของมันเทียนออก จะเห็นป็นเนื้อสีขาวเนียน ทานคู่กับนํ้าตาลอ้อย สำหรับคนที่ไม่เคยทาน รับรองได้ว่าจะต้องติดใจ มันเทียนของไม้รูดอย่างแน่นอน ขนมฝักบัว หรือขนมจ๊อกจ๊อ ขนมพื้นถิ่นของชุมชนไม้รูด ส่วนผสมสำคัญมีทั้ง แป้ง นํ้าตาลปี๊ บ และเกลือ ขั้นตอนคือการผสมแป้งให้เข้ากันจนเหลว สูตรของการ แช่แป้งของที่นี่คือต้องหมักไว้สัก 1 ชั่วโมงจะทำให้แป้ง ฟูกรอบและนำลงกะทะไปทอดให้กรอบ เนื้อสัมผัสจะมี ความนุ่มและกรอบโดยรอบ ขอกระซิบว่า .. หาทานได้ง่าย ราคาไม่แพงอีกด้วย 30
เทศกาลและ งานประเพณี
ประเพณี แ ห่ เ จ้ า พ่ อ ไ ม้ รู ด จัดขึ้นทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 กิจกรรมปรเพณีแห่เจ้าพ่อไม้รูด โดยอันเชิญเจ้าพ่อไม้รูด แห่ไปรอบชุมชนให้ ประชาชนได้สักการะ ทั้งนี้เจ้าพ่อไม้รูดถือเป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านไม้รูดและบ้านร่วมสุข สักการะ โดยมีความเชื่อว่าหากตกทุกข์ได้ ยาก มีอุปสรรคในการดำรงชีวิต ก็จะมาสักกา ระขอพรเจ้าพ่อไม้รูดให้ช่วยเหลือ ปัดเป่า คุ้มครอง ให้พ้นจากปัญหา อุปสรรค และ ประสบความสำเร็จในชีวิต ประเพณีแห่เจ้าพ่อไม้รูด เป็นกิจกรรมสืบสาน วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นตามความเชื่อ ของคนในชุมชน และเป็นการสร้างความสา มุัคคีของคนในชุมชนอีกด้วย หลังจากที่แห่ เจ้าพ่อไม้รูดเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีการจัด กิจกรรมแข่งเรือสานสัมพันธ์ 2 ฝั่ งคลอง และสืบสานงานลอยกระทงในวันเดียวกัน 33
โปรแกรม การท่องเที่ยว
โปรแกรมเที่ ยวไม้รูด ครึ่งวัน 36
โปรแกรมเที่ยวไม้รู ด 1 วัน 37
โปรแกรมเที่ยวไม้รูด 2 วัน 1 คืน วันที่หนึ่ง • พักผ่อนตามอัธยาศัย 38
โปรแกรมเที่ยวไม้รูด 2 วัน 1 คืน (ต่อ) วันที่สอง 39
เส้นทางจักรยาน
42
ปฏิทินการท่องเที่ยว
ป ฏิทินการท่องเที่ยว 45 *อาหารทะเล กุ้ง ปู ปลา หมึก หอยถ่าย หอยพอก หอยนางรม มีตลอดทั้งปี (อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพอากาศ คลื่นลม ฝน พายุ และปริมาณน้ำ) **สถานที่ท่องเที่ยวชุมชนไม้รูด วิถีชีวิตริมฝั่ งคลอง ล่องเรือลำคลองไม้รูด สามารถเยี่ยมชมได้ตลอดทั้งปี ***การชมหิ่งห้อย มีให้เห็นตลอดปี โดยหิ่งห้อยมีมากในฤดูฝน ควรไปชมในคืนเดือนมืดหรือคืนข้างแรม และในวันที่น้ำขึ้นจะเห็นหิ่งห้อยชัดเจน
ป ฏิทินการท่องเที่ยว 46 *อาหารทะเล กุ้ง ปู ปลา หมึก หอยถ่าย หอยพอก หอยนางรม มีตลอดทั้งปี (อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพอากาศ คลื่นลม ฝน พายุ และปริมาณน้ำ) **สถานที่ท่องเที่ยวชุมชนไม้รูด วิถีชีวิตริมฝั่ งคลอง ล่องเรือลำคลองไม้รูด สามารถเยี่ยมชมได้ตลอดทั้งปี ***การชมหิ่งห้อย มีให้เห็นตลอดปี โดยหิ่งห้อยมีมากในฤดูฝน ควรไปชมในคืนเดือนมืดหรือคืนข้างแรม และในวันที่น้ำขึ้นจะเห็นหิ่งห้อยชัดเจน
ป ฏิทินการท่องเที่ยว 47 *อาหารทะเล กุ้ง ปู ปลา หมึก หอยถ่าย หอยพอก หอยนางรม มีตลอดทั้งปี (อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพอากาศ คลื่นลม ฝน พายุ และปริมาณน้ำ) **สถานที่ท่องเที่ยวชุมชนไม้รูด วิถีชีวิตริมฝั่ งคลอง ล่องเรือลำคลองไม้รูด สามารถเยี่ยมชมได้ตลอดทั้งปี ***การชมหิ่งห้อย มีให้เห็นตลอดปี โดยหิ่งห้อยมีมากในฤดูฝน ควรไปชมในคืนเดือนมืดหรือคืนข้างแรม และในวันที่น้ำขึ้นจะเห็นหิ่งห้อยชัดเจน
แนะนำที่พัก และร้านอาหาร
Search