Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore จุดประสงค์การเรียนรู้กับการวัดและประเมินผล

จุดประสงค์การเรียนรู้กับการวัดและประเมินผล

Published by กิติศักดิ์ ส., 2019-09-02 05:45:53

Description: จุดประสงค์การเรียนรู้กับการวัดและประเมินผล

Search

Read the Text Version

40 ตวั อยา่ ง: เขยี นโปสเตอรโ์ ดยการใชพ้ ่กู นั แบนได้อย่างคล่องแคลว่ ทาอาหารตามสตู รทีพ่ ัฒนาข้ึนมาเองได้ โยนลูกบาสเกตบอลเข้าหว่ งไดอ้ ยา่ งแม่นยา ราไดอ้ ย่างคล่องแคล่วสวยงาม 5. การตอบสนองท่ีซับซ้อน (Complex overt response) เป็นความสามารถในการปฏิบัติในสิ่งที่ ยงุ่ ยากซบั ซอ้ นมากข้ึน และสามารถกระทาไดอ้ ยา่ งมั่นใจ ไมล่ งั เล และทาไดด้ ีจนเป็นอตั โนมตั ิ ตวั อยา่ ง: ตีลงั กาท่าโลดโผนได้ วาดภาพโดยใชพ้ ู่กันละเลงสีโดยไมม่ กี ารรา่ งกอ่ น ฯลฯ 6. ความสามารถในการดัดแปลง (Adaptation) เป็นข้ันท่ีสามารถปฏิบัติได้จนชานิชานาญแล้ว จึง คิดค้นดัดแปลงหาวิธีการใหม่ๆ มาลองทาให้แตกตา่ งไปจากเดิม เพอ่ื ให้เกิดผลดยี ิ่งขน้ึ ตัวอยา่ ง: ดัดแปลงทา่ เตน้ ราให้สวยงามและแปลก ลองปรุงอาหารตามสูตรทด่ี ัดแปลงขนึ้ 7. ความสามารถในการริเริ่ม(Origination) หลังจากการได้ดัดแปลงวิธีการใหม่ๆ มีการทดลองทาดู แลว้ ก็นาวธิ ีการน้นั มาประยกุ ตท์ าให้เกิดส่งิ ใหมข่ ึน้ มา ตัวอยา่ ง: คดิ ทา่ เตน้ ราตามจงั หวะเพลงใหม่ คิดสตู รอาหารใหม่ คิดเกมเล่นขนึ้ มาใหม่ ฯลฯ 4. ความสมั พันธ์ระหว่างพฤติกรรมด้านพุทธิพสิ ยั จติ พสิ ยั และทักษะพิสยั ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นว่า พฤติกรรมทางด้านพุทธิพิสัย เป็นพฤตกิ รรมทางดา้ นสติปญั ญา จิตพิสัย เป็น พฤติกรรมด้านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจ และทักษะพิสัย เป็นพฤติกรรมทางด้านการปฏิบัติ

41 จดุ มุ่งหมายทางการศึกษามุ่งเน้นพฒั นาบุคคลทั้ง 3 ด้านไปพรอ้ มๆกัน นั่นคือบคุ คลท่ีพงึ ประสงค์ทางการศึกษา จะมีลักษณะเป็นผู้มีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาดมีสุขภาพจิตดี มีคุณธรรม มีเจตคติท่ีดี และเป็นผู้มีความ คล่องแคลว่ ในเชงิ ปฏบิ ัติการ การพัฒนาคุณลักษณะทั้ง 3 ด้าน ให้เกิดข้ึนในตัวบุคคลนน้ั จะต้องทาไปพรอ้ มๆ กัน ไม่สามารถจะแยก ทาทีละด้านได้ โดยโครงสร้างทางพฤตกิ รรมท้ัง 3 ดา้ นจะมีสว่ นสัมพันธ์กนั ท้ังในลักษณะส่งเสรมิ และตัดทอนกัน จะขอกล่าวถึงความสัมพันธ์ของพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย ในแง่ของการเรียนการสอน ดงั นี้ 1. การพัฒนาคน ควรกระทาไปพร้อมกัน 3 ด้าน ในอัตราส่วนที่พอๆกัน ไม่เน้นด้านใดด้านหน่ึงมาก เกนิ ไป การเรยี นการสอนทเ่ี น้นดา้ นใดด้านหนึง่ มากเกินไป ด้านอ่ืนก็จะไดร้ บั การพัฒนานอ้ ยลง สมมตุ วิ ่า มีครู 3 คน มีการสอนท่ีเนน้ แตกต่างกันดังนี้ ครู ก : เนน้ พุทธพิ สิ ยั มาก จติ พสิ ัยและทกั ษะพิสัยไดร้ บั การพฒั นาน้อย ครู ข : เน้นจิตพิสัยมาก พุทธิพิสัยและทกั ษะพสิ ัยไดร้ ับการพัฒนานอ้ ย ครู ค : เนน้ ทักษะพสิ ยั มาก พุทธพิ สิ ยั และจติ พิสยั ได้รบั การพัฒนานอ้ ย จากลักษณะการสอนของครทู งั้ สามพอจะเหน็ ภาพผลผลติ ของครู คอื ลกั ษณะของนกั เรียนจะเปน็ ดังน้ี กลุม่ ครู ก นกั เรียนเฉลยี วฉลาด แตข่ าดคณุ ธรรมอาจมสี ุขภาพจิตและเช่ืองช้าออ่ นแอ กลุ่มครู ข นักเรียนมีสุขภาพจิตดี มีคุณธรรม มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบสูงแต่ไม่ใครเฉลียว ฉลาด เชอ่ื งชา้ ออ่ นแอ กลุ่มครู ค นักเรียนคล่องแคลว่ ว่องไว แข็งแรง แต่ไม่ใครเฉลียวฉลาดออมีปัญหาเรอื่ งคุณธรรมและ สขุ ภาพจิต จะเห็นได้ว่าทั้งสามกลุ่มต่างมีจุดเด่นจุดด้วยแตกต่างกันและมีลักษณะเป็นคนมีปัญหาไปคนละด้าน เพราะสัดส่วนการพัฒนาในแต่ละด้านต่างกัน การเรียนการสอนครูควรพัฒนาผู้เรียนไปทั้งสามด้านพร้อมๆกัน ในอัตราส่วนทพี่ อๆกัน อาจพฒั นาทางด้านพทุ ธพิ ิสยั นาเล็กนอ้ ยในอตั ราสว่ น พทุ ธิพสิ ยั : จิตพสิ ัย : ทักษะพสิ ัย = 4 : 3 : 3 กจ็ ะทาใหน้ กั เรยี นไดพ้ ัฒนาด้าน สติปญั ญาอารมณ์ จิตใจ และทักษะไปพรอ้ มๆ กนั 2. พฤติกรรมด้านจิตพสิ ัย จะพัฒนาไดด้ ตี ้องอาศยั ความรู้ด้านสติปญั ญาเปน็ พ้ืนฐาน เพื่อให้เกดิ ความ เข้าใจในสิ่งท่ีรับรู้น้ัน ส่วนด้านทักษะพิสัยนั้นความเข้าใจในด้านพุทธิพิสัย จะทาให้เกิดความพร้อมในการ แสดงพฤตกิ รรมออกมา ตัวอย่าง แบบทดสอบวัดความสามารถด้านพุทธิพิสัยท่ีสัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านจิตพิสัย ( สมบูรณ์ ชิตพงศ,์ 2533 : 455 ) 1. วดั ความรูค้ วามจา “ ความเสยี สละ ” หมายถงึ อะไร 1. การให้ 2. การจ่าย 3. การยอม 4. การสูญเสยี 5. การพลดั พราก 2. วัดความเข้าใจ

42 ลกั ษณะใดเปน็ การเสยี สละ 1. การทาบญุ 2. การเสยี ภาษี 3. การใช้ของเก่า 4. การคนื เงนิ กู้ยมื 5. การเสียดมู หรสพ 3. การนาไปใชว้ ดั การเสยี สละชีพเพอ่ื อุดมการณ์ ใชไ้ ด้ผลดใี นเรอ่ื งเกยี่ วกับอะไร 1. การกีฬา 2. ความรัก 3. ครอบครัว 4. การเมือง 5. สุขภาพอนามยั 4. วดั การวเิ คราะห์ การเสียสละเพอื่ การใดใหค้ ณุ ค่าสงู สดุ 1. เพ่ือให้มีอยู่มกี ิน 2. เพื่อเอาตวั รอด 3. เพ่ือทางานได้สาเร็จ 4. เพอ่ื ให้สงั คมอยูร่ อดได้ 5. เพ่อื ใหค้ นใกล้ชิดพอใจ 5. คุณลักษณะด้านจิตพิสยั มคี วามสัมพนั ธ์กับการเรยี นรดู้ า้ นพทุ ธพิ สิ ยั มาก ทั้งในแงเ่ หตแุ ละผล ตวั อยา่ ง สมศรี เรยี นคณติ ศาสตรไ์ ม่เขา้ ใจ ทาใหเ้ กดิ เจตคติทีไ่ มด่ ตี ่อการเรียนวิชาคณติ ศาสตร์ มานี สมัครเป็นสมาชิกสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย แสดงถึงความสนใจในวิชา คณติ ศาสตร์ สุภาพ ต้ังใจทาแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์สม่าเสมอ เพ่ือหวังได้เป็นตัวแทนไปแข่งคณิตศาสตร์ โอลิมปิก แสดงว่ามีแรงจงู ใจในการเรยี นคณติ ศาสตร์ ชาติชาย นอนไม่หลบั เพราะเกรงว่าจะถูกลงโทษ เน่ืองจากทาการบ้านคณิตศาสตร์ไม่เสร็จตามที่ ครูกาหนด แสดงว่ามคี วามกังวลใจ อภิชาติ ทาคะแนนขอ้ สอบวิชาคณิตศาสตร์ได้ต่ากว่าครึ่ง แตอ่ ภชิ าติยังคิดว่าตนน่าจะทาคะแนน ได้ดีกวา่ น้ี จึงคิดวา่ ท่ีทาได้คะแนนต่าคงเป็นเพราะข้อสอบยากไป แสดงวา่ อภิชาตประเมินตนเองไม่สอดคล้อง กบั อัตมโนทศั น์ท่ีเปน็ จริง ประยูร มีความคิดคนท่ีเก่งคณิตศาสตร์มักประสบความสาเร็จในการประกอบอาชีพ แสดงว่า ประยูรมีเจตคติทด่ี ีตอ่ วิชาคณิตศาสตร์ จะเหน็ ไดว้ ่าความเจริญงอกงามทางดา้ นพุทธิพิสยั จติ พิสัย และทกั ษะพสิ ัย มสี ว่ นสัมพนั ธก์ นั อยา่ งย่งิ บทสรปุ

43 พฤติกรรมทางการศึกษาที่เป็นจุดมุ่งหมายในการพัฒนาบุคคลให้เจริญงอกงาม มี 3 ด้าน คือ ด้าน พทุ ธพิ สิ ัย จิตพสิ ยั และทักษะพสิ ยั พฤติกรรมการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย มี 6 ระดับได้แก่ 1) ความรู้ความจา 2) ความเข้าใจ 3) การ นาไปใช้ 4) การวเิ คราะห์ 5) การสงั เคราะห์ และ 6) การประเมนิ ผล พฤติกรรมด้านจิตพิสัย มี 5 ระดับได้แก่ 1) การรับรู้ 2) การตอบสนอง 3) การสร้างคุณค่า 4)การ จดั ระบบคณุ ค่า และ 5) การสร้างลกั ษณะนิสัย พฤติกรรมดา้ นทักษะพิสยั มี 7 ระดับคอื 1) การรับรู้ 2) ความพรอ้ ม 3) การตอบสนองตามแนวทาง ท่ีกาหนดให้ 4) ความสามารถด้านกลไก 5) การตอบสนองที่ซับซ้อน 6) ความสามารถในการดัดแปลง และ 7) ความสามารถในการรเิ ริม่ พฤติกรรมการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก ในการเรียนการสอนท่ีดีครูควรมุ่งมั่นให้ ผู้เรียนมพี ัฒนาการท้ังสามด้านไปพร้อมๆ กนั 5. ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งพฤติกรรมทางการเรียนรู้กับการประเมนิ ผล เมื่อครูมีความรู้ความข้าใจเก่ียวกับพฤติกรมทางการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้านแล้วสิ่งแรกที่ครจู ะต้องพิจาณาใน การจัดการเรียนการสอนแต่ละคร้ังก็คือจะสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมอะไร ต้องการพฤติกรรมต้น พุทธิ พิสัยทักษะพิสยั หรือจิตพิสัย หรือบางครงั้ อาจต้องการพฤติกรมทุกด้านรวมกัน นัน่ คือ ครูจะตอ้ งมีจุดประสงค์ท่ี ชดั เจนและเหมาะสมแล้วดาเนินการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนบรรลุจดุ ประสงค์ดังกล่าวอย่างครบถ้วน ครู จึงตอ้ งมีความร้คู วามเขา้ ใจในจดุ ประสงค์ของการเรยี นรู้

44 จุดประสงคก์ ารเรยี นรมู้ ีหลายระดับ ดังน้ี 1. ระดับความม่งุ หมายของการศกึ ษาของชาติ 2. ระดบั การศึกษาแตล่ ะระดับ (ระดบั หลักสตู ร) 3. ระดับกล่มุ วิชา หมวดวชิ า หรือกล่มุ สาระการเรียนรู้ 4. ระดับรายวิชา 5. ระดบั การเรียนรู้ 6. ระดับเชิงพฤติกรรม โดยจดุ ประสงคเ์ ชิงพฤตกิ รรมไดก้ ล่าวไว้แล้วในข้างต้น ลาดับถดั ไปจะกลา่ วถงึ กระบวนการประเมนิ ผล กระบวนการประเมินผล กระบวนการประเมินผลการศึกษามีความเชื่อมโยงกบั จดุ มุ่งหมายการศึกษา กจิ กรรมการเรยี นการ สอน ครู และผเู้ รียน การประเมินผลมีกระบวนการ 6 ข้นั ตอน ดงั แสดงในภาพ กาหนดวตั ถปุ ระสงคร์ ่วมกนั ระหว่างครกู ับผู้เรียน กาหนดจดุ ประสงคเ์ ชงิ พฤติกรรม สร้างเครือ่ งมือวัดผลการเรียนรู้ ทดสอบและเกบ็ รวบรวมข้อมูล จดั กระทาข้อมลู ตดั สนิ ผลการเรียน ภาพท่ี 4 กระบวนการประเมินผล รายละเอียดของกระบวนการประเมินผลแต่ละข้นั ตอนมี ดังนี้ ขน้ั ที่ 1 กาหนดวัตถุประสงค์ประสงคร์ ว่ มกนั ระหวา่ งครูกบั ผ้เู รียน ขัน้ นี้เป็นการวางแผนรวมกัน ระหวา่ งครกู ับผ้เู รียนกอ่ นเร่ิมจดั กิจกรรมการเรยี นการสอนโดยครูจะนาเสนอเอกสารท่ีเป็นสาระและกจิ กรรม ตลอดทง้ั ภาคเรียนซงึ่ เรียกวา่ แนวการเรยี นการสอน (course syllabus) เพ่ือใหผ้ เู้ รยี นร่วมกนั พิจารณาและตก ลงกันต้งั แตต่ น้ ภาคเรียนวา่ จุดประสงค์ของวิชาน้เี ปน็ อย่างไร กจิ กรรมการเรียนการสอนต้องทาอะไรบ้าง เกณฑ์

45 การตัดสินผลการเรยี นมีวธิ ีอย่างไรเพื่อให้ผเู้ รยี นเหน็ ภาพตลอดทง้ั ภาคเรยี น และมีสทิ ธทิ์ จี่ ะขอเพ่ิม หรือลด หรือปรบั สารและกจิ กรรมทค่ี รนู าเสนอได้ ขน้ั ที่ 2 กาหนดจุดประสงคเ์ ชิงพฤติกรรม ข้นั นเี้ ปน็ การแปลงจดุ หมายทัว่ ไปหรือจุดม่งุ หมายของ รายวชิ าเป็นจดุ ประสงค์เชงิ พฤตกิ รรมในแตล่ ะบทหรือหนว่ ยการเรียนเพ่ือใหค้ รูมคี วามชัดเจนในพฤติกรรม และ คุณลักษณะทตี่ ้องกาใหเ้ กิดกับผเู้ รียน และเพื่อใหส้ ามารถวดั ได้ สงั เกตได้ จุดประสงค์เชงิ พฤติกรรม ประกอบดว้ ยเง่อื นไขที่แสดงพฤติกรรม ขั้นท่ี 3 สรา้ งเครื่องมือวัดผลการเรยี นรู้ ขนั้ นีค้ รูต้องรวู้ า่ เครือ่ งมดื วัดผลมกี ่ีประเภท แตล่ ะ ประเภท มีลกั ษณะเฉพาะ ข้อดแี ละข้อจาอยา่ งไรเพ่อื ทจ่ี ะเลอื กใชใ้ ห้เหมาะกบั จุดประสงคเ์ ชิงพฤติกรมท่จี ะวัด เครื่องมือที่ใช้วัดผลกรเรียนของผู้เยนมีหลายประเภท เช่น แบบทดสอบ แบบวดั เจตคติ แบบสังเกต แบบ สมั ภาษณ์ แบบสอบถาม เป็นตน้ ซงึ่ โดยท่วั ไปครมู ักนยิ มใช้แบบทดสอบหรือข้อสอบที่ครูสร้างขึ้น ขนั้ ท่ี 4 ทดสอบและเก็บรวบรวมข้อมลู เม่ือครูสร้างเครื่องมือเสร็จแล้วกอ่ นนาไปรวบรวมขอ้ มูล ควรมีการตรวจสอบหาคุณภพของเครื่องมือ หลังจากน้นั กน็ าไปรวบรวมขอ้ มูล ซงึ่ สามารถดาเนินการได้ 3 ระยะ คือ ระยะก่อนเรียน ระหวา่ งการเรยี นการสอน และเมื่อสิ้นสุดการเรยี นการสอน ขั้นที่ 5 จดั กระทาขอ้ มลู ในข้ันนรี้ จู ะตอ้ งรูว้ า่ จะจดั กระทาข้อมูลเพ่ือจดุ ประสงค์ใดเพื่อบรรยาย เกยี่ วกับนักเรียนเป็นรายบคุ คล หรอื ต้องการบรรยายเป็นกล่มุ หากต้องการบรรยายเปน็ กล่มุ จะบรรยายเฉพาะ กล่มุ หรอื จะสรปุ ององิ ไปยังกลุ่มใหญโ่ ดยอาศยั กลุ่มที่ศกึ ษาน้เี ป็นกลุม่ ตวั อยา่ งและข้อมลู ท่วี ดั มาไดน้ ้ีอยูใ่ นระดบั มาตราใด บอกประเท ลาดบั ที่ หรอื บอกช่วง น่ันคือครตู ้องมคี วามรูเ้ รื่องมาตรกวัดและมีความรู้เรอ่ื งสถติ ิ ทง้ั สถิติบรรยาย (descriptive statistics) และสถติ ิองอิง (inferential statistics) ขั้นที่ 6 ตดั สินผลการเรียน การประเมินผลการเรยี นของผเู้ รียนที่ปฏบิ ัตกิ นั มากในปัจจุบันก็คอื การตัดเกรดหรือการให้ระดบั ผลการเรียนซงึ่ กระทาเมื่อประเมินภายหลงั ส้นิ สุดการเรียนการสอน และอาจจะ กระทาเฉพาะสนิ้ สุดการเรยี นการสอนแต่ละตอนก็ได้ เชน่ ให้เกรดในการสอบยอ่ ยแตล่ ะคร้ัง ให้เกรดผลงาน การให้เกรดตอนท้ายของบทเรียนแตล่ ะบทเรียน เปน็ ต้น ซึ่งครูจาเป็นต้องมคี วามรู้เก่ยี วกับหลักในการตดั เกรด และวธิ กี ารตดั เกรดทดี่ ี กระบวนการประเมินผลจะมีคณุ ภาพเพียงใดขึ้นอยกู่ ับความสามารถของผู้ประเมนิ ดงั นี้ 1. ผปู้ ระเมนิ ต้องมคี วามรอบคอบในการตดั สนิ โดยก่อนตัดสนิ ใจตอ้ งมีขอ้ มลู อย่างครบถ้วน เพียงพอ 2. ผปู้ ระเมินตอ้ งมคี ุณธรรมในการประเมินทีจ่ ะทาให้การประเมนิ ไม่เกดิ ความลาเอยี งในการ ตดั สินใจ มคี วามพยายามที่จะวดั สงิ่ ตา่ งๆใหถ้ ูกต้องและเช่ือถอื ได้มากทีส่ ุด และดว้ ย วธิ ีที่มีประสิทธภิ าพมาก ท่สี ดุ 3. ผู้ประเมนิ ตอ้ งใชเ้ ครื่องมือทีม่ ีคุณภาพดี มีความเทยี่ งตรงและมีความเช่ือมนั่ ได้

46 4. ผู้ประเมนิ ตอ้ งมคี วามรู้ความเขา้ ใจในสง่ิ ทจี่ ะวดั และประเมนิ เปน็ อย่างดี มีความรู้ ความเขา้ ใจ ในตวั ผเู้ รยี น รหู้ ลกั ในการวัดและประเมนิ ผลรวมท้ังมคี วามรู้และคุน้ เคยในเครื่องมือ แต่ละชนดิ อย่างถ่องแท้ สามารถเลอื กเคร่ืองมือมาใชว้ ดั ไดอ้ ย่างถูกตอ้ งและเหมาะสม บรรณานกุ รม กานดา พูนลาภทว.ี (2530). การประเมนิ ผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบนั เทคโนโลยพี ระจอมเกล้า พระนครเหนอื . พชิ ติ ฤทธจิ์ รูญ. (2548). หลกั การวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์คร้ังท่ี 3. กรุงเทพฯ : เฮ้าส์ ออฟ เคอร์ มสี ท.์ ภทั รา ฤทธ์จิ รูญ. (2543). การประเมินผลการเรียน. พิมพ์ครงั้ ท่ี 3. กรงุ เทพฯ : หา้ งหนุ้ สว่ นจากัดทพิ ย วิสทุ ธิ.์

47 เยาวดี วิบลู ย์ศรี. (2545). การวดั ผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธ์ิ. พิมพ์คร้งั ที่ 3. กรงุ เทพฯ : โรงพิมพ์ แห่งจฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั . สมจิตรา เรอื งศรี. (2558). การประเมินผลการเรยี นวิชาภาษาไทย. กรงุ เทพฯ : สานกั พมิ พ์มหาวิทยาลยั รามคาแหง. สุนนั ทา มัน่ เศรษฐวิทย์. (2559). การประเมินผลการเรียนการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ : สานกั พมิ พ์ มหาวทิ ยาลัยรามคาแหง. อนุวตั ิ คณุ แก้ว. (2558). การวดั ผลและประเมนิ ผลการศึกษาแนวใหม.่ กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พแ์ หง่ จุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลยั .