Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทความวิชาการเรื่อง บทบาทงานสืบทอดพระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทย

บทความวิชาการเรื่อง บทบาทงานสืบทอดพระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทย

Published by Thep Nonnarai, 2022-01-04 12:36:08

Description: บทความเรื่อง บทบาทงานสืบทอดพระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทย
โดย. พระมหาสุเทพ สุวฑฺฒโน (เหลาทอง)

Search

Read the Text Version

บทความวิชาการ เรื่อง บทบาทงานสืบทอดพระพุทธศาสนา ของพระธรรมทูตไทย โดย. พระมหาสุเทพ สุวฑฺฒโน (เหลาทอง) บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสอบวัดคุณสมบัติ บทความวิชาการตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทความวชิ าการ เรือ่ ง “บทบาทงานสบื ทอดพระพทุ ธศาสนาของพระธรรมทตู ไทย” THAI DHAMMADUTA MONKS’ BUDDHISM PROPAGATION ROLE พระมหาสเุ ทพ สุวฑฒฺ โน (เหลาทอง) บทความน้ีเปน สว นหน่ึงของการสอบวดั คณุ สมบตั บิ ทความวิชาการ ตามหลกั สตู รปริญญาพทุ ธศาสตรดุษฎบี ัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวทิ ยาลัย มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย พุทธศักราช ๒๕๖๑ (ลขิ สิทธ์ิเปน ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั )

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อนุมัติใหนับบทความเรื่อง “บทบาทงานสืบทอดพระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทย” เปนสวนหน่ึงของการสอบวัดคุณสมบัติ บทความวชิ าการ ตามหลกั สูตรปรญิ ญาพุทธศาสตรดษุ ฎีบณั ฑติ สาขาวชิ าพระพุทธศาสนา ................................................................ (พระมหาสมบูรณ วุฑฺฒิกโร, ดร.) คณบดีบัณฑิตวทิ ยาลัย คณะกรรมการตรวจสอบบทความวชิ าการ ...................................................... ประธานกรรมการ (พระมหาทวี มหาปโฺ ญ, ผศ.ดร.) ...................................................... กรรมการ (รศ.ดร. สมิทธิพล เนตรนมิ ิตร) อาจารยท่ีปรึกษา ...................................................... กรรมการ ชอ่ื ผูเขยี น (พระมหาอดเิ ดช สตวิ โร, ดร.) พระมหาอดเิ ดช สตวิ โร, ดร. .......................................................... (พระมหาสเุ ทพ สวุ ฑฺฒโน)

ชือ่ บทความ : บทบาทงานสบื ทอดพระพุทธศาสนาของพระธรรมทตู ไทย ผเู ขยี น : พระมหาสเุ ทพ สวุ ฑฺฒโน (เหลาทอง) ปริญญา : พทุ ธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พระพทุ ธศาสนา) อาจารยทป่ี รกึ ษา : พระมหาอดเิ ดช สตวิ โร,(สุขวัฒนวดี) ดร., ป.ธ. ๙, บธ.บ. (การบริหารทรัพยากรมนุษย) , พธ.ม. (พระพุทธศาสนา), พธ.ด. (พระพุทธศาสนา) วนั ท่ีอนุมัติ : ๑๕ กนั ยายน ๒๕๖๑ บทคัดยอ พระธรรมทูตในประเทศไทย มี ๒ ประเภท ไดแ ก ๑) พระธรรมทูตในประเทศ และ ๒) พระธรรมทตู สายตางประเทศ พระธรรมทตู ทั้ง ๒ ประเภท ตอ งผานการอบรมหลักสูตรพระธรรม ทูตเพื่อเผยแผพระศาสนาท้ังในประเทศและตางประทศ พระธรรมทูตเกิดขนึ้ มาพรอมกับการประกาศ พระศาสนาขององคส มเด็จพระศาสดา พระธรรมทูตเปนผทู ี่มีบทบาทสาํ คญั ตอการดํารงอยูของ พระพุทธศาสนา บทบาทของพระธรรมทตู ในปจ จุบัน มี ๖ ดา น ไดแก ดา นการปกครอง ดาน การศาสนศึกษา ดา นการเผยแผ ดา นสาธารณูปการ ดา นการศึกษาสงเคราะห และดา นการสาธารณ สงเคราะห พระธรรมทูตควรมีคณุ สมบตั ิอยางนอย ๘ ขอ ไดแก ๑) รูจกั ฟง ๒) สามารถพูดใหผูอ่ืน ฟง ได ๓) ใฝศกึ ษา ๔) ทรงจําไดด ี ๕) เปนผรู ไู ดเขา ใจชดั ถึงสงิ่ ทเี่ ปน ประโยชนแ ละไมเปนประโยชน ๖) สามารถพดู ใหผ ูอ่ืนเขา ใจได ๗) ฉลาดในสง่ิ ท่ีเปน ประโยชนแ ละไมเ ปน ประโยชน และ ๘) ไมกอ การทะเลาะววิ าท พระธรรมทตู จงึ ตองตระหนกั ถึงบทบาทเหลานไ้ี วเ สมอและมคี วามพรอมใน คุณสมบัตทิ ้ัง ๘ ประการ เพื่อใหสามารถเผยแผพระศาสนาในสภาพแวดลอมที่เปลย่ี นแปลงไปอยางใน ปจ จุบันใหเกิดปญ หานอยท่ีสุดและเกดิ ประโยชนแกคนจาํ นวนมากที่สดุ คําสาํ คญั : บทบาทของพระธรรมทตู งานสบื ทอดพระพุทธศาสนา

Academic Paper Title : Thai Dhammaduta Monk : Buddhism Propagation Role Writer : Phramaha Suthep Suwatthano (Laothong) Degree : Doctor of Philosophy (Buddhist Studies) Academic Paper Supervisory : Phramaha Adidej Sativaro (Sukwattanawadee), Dr., Pali IX, B.B.A. (Human Resource Management), M.A. (Buddhist Studies), Ph.D. (Buddhist Studies) Date of Completion : September 15, 2018 Abstract There are two types of Thai Dhammaduta monks, that are domestic and overseas. Both types are the monks who attended the training program for developing themself to improve their potentiality in order to propagate the dhamma in Thailand and in many countries around the world. Dhammaduta monks were first set at the same time the Buddha propagated the dhamma, he enlightened. The important role of the dhammaduta monks were to maintain the Buddhism. However, dhammaduta monks’ roles now are 6 parts that are the aspect of 1) governing, 2) Buddhism education, 3) propagation, 4) public assistant, 5) welfare education, and 6) public welfare. In order to take the roles for the best, the dhammaduta monks should have the following characteristics which are 1) intently listen 2) efficiently communicate 3) eager to learn 4) good memory 5) clearly understand what are useful and useless, 6) understandably speaking 7) wisely knowing in what are useful and useless, and 8) friendly and not quarrelsome. The dhammaduta monks must keep in mind what are their roles and train themself to fulfill the 8 characteristics for efficient propagating the dhamma in the changing present world, getting the least problems, and being beneficial to all beings. Keywords: Dhammaduta Monks’ Role, Buddhism Propagation

บทความวิชาการ เร่ือง บทบาทงานสืบทอดพระพทุ ธศาสนาของพระธรรมทตู ไทย Thai Dhammaduta Monks’ Buddhism Propagation Role ๑. บทนํา การประกาศพระศาสนาของพระพุทธองคหลังการตรัสรูในชมพูทวีป (ดินแดนอันเปนตน กาํ เนิดของพระพุทธศาสนา) ซ่ึงมีลัทธิความเช่ือหลากหลายกระจายอยูท่ัวไป สถานการณในชวงเวลา น้ันคงเปนชวงท่ีพระพุทธองคและพระสาวกตองประสบกับความยากลําบากในการประกาศพระธรรม คําสอนของพระพุทธองค ทา มกลางลทั ธคิ วามเชื่อทห่ี ลากหลายเหลา น้ัน รวมถงึ ประชาชนที่มีวิถีชีวิตท่ี แตกตางกันโดยเฉพาะเร่ืองวรรณะ แตที่สุดแลว พระพุทธศาสนาสามารถตั้งม่ันไดและมีอายุสืบเนื่อง ตอมาจนถึงปจจุบันเปน เวลากวา ๒,๖๐๐ ป โดยเฉพาะในดินแดนนอกถ่ินกําเนิด ไดแก ศรีลังกา พมา ลาวและไทย0๑ จากการประกาศพระศาสนาในยคุ พุทธกาลสูการสืบตอพระศาสนาในปจจุบัน สวนใหญ จะผานการถายทอดพระธรรมคําสอนของพระพุทธองคจากพระสงฆสาวกเปนหลัก ซึ่งในปจจุบัน เรียกพระสงฆสาวกผูทําหนาที่หลักดังกลาววา พระธรรมทูต1๒ ในบทความนี้จะกลาวถึงพระธรรมทูต และการเผยแผพ ระพทุ ธศาสนาในสมัยพุทธกาลและหลังพุทธกาล งานพระธรรมทูตไทยของคณะสงฆ ไทย และบทบาทของพระธรรมทตู ไทยในการสืบทอดพระพุทธศาสนา ๒. พระธรรมทตู ในสมัยพทุ ธกาล ในสว นน้ี จะกลา วถงึ เหตุการณการเผยแผพระพทุ ธศาสนาทน่ี าสนใจ โดยองคส มเด็จพระ สมั มาสัมพุทธเจา และพระสาวก เพื่อนําเสนอถงึ งานพระธรรมทูตในยคุ เร่ิมประกาศพระศาสนา ๒.๑ สมเด็จพระสัมมาสัมพทุ ธเจา ในฐานะพระธรรมทูตรปู แรก องคส มเด็จพระสมั มาสัมพุทธเจาไดตรัสรูอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในวันพุธ เพ็ญ ๑๕ ค่ํา เดือน ๖ ประกา เวลาใกลรุงตรงกับวันท่ี ๑๐ เมษายน กอนคริสตศักราช ๕๕๒ ป พระชนมายุ ๓๕ ๑ มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย (มหาวิทยาลัย), พระพุทธศาสนาในประเทศไทย, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพม หาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั , ๒๕๔๗), หนา ๖. ๒ พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) อธบิ ายวา ทูตผูนําธรรมไปสื่อสาร, พระภิกษุผูไดรับมอบหมาย หรือแตง ต้งั ใหเดินทางไปเผยแผประกาศธรรมในตางถ่ินตางแดน; พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต), พจนานุกรม พทุ ธศาสน ฉบับประมวลศัพท, พมิ พค รัง้ ที่ ๒๓, (กรุงเทพมหานคร: สาํ นักพมิ พผ ลธิ มั ม, ๒๕๕๘), หนา ๑๔๔-๑๔๖.

๒ พรรษา2๓ ณ ควงตนโพธิ์หรอื ตนอัสสัตถ (อัสสัตถพฤกษ)3๔ ในปาสาละ ริมฝงแมน้ําเนรัญชรา เมืองคยา ประเทศอินเดียในปจจุบัน ดินแดนแหงนี้ในยุคพระพุทธองคเรียกวาชมพูทวีป มีลัทธิความเช่ือตาง ๆ อยูกอนพระพุทธศาสนา เชน ศาสนาพราหมณ ลัทธิครูทั้ง ๖ ศาสนาเชน เปนตน การคนพบทางแหง การพนทกุ ขข ององคส มเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจานับเปนส่ิงท่ีแตกตางจากคําสอนอ่ืน ๆ ในยุคสมัยนั้น และการตดั สินพระทัยประกาศพระศาสนาหลังการเสวยวิมุตติสุข เปนเวลา ๗ สัปดาห โดยมีเรื่องเลา ในพระวินัยไตรปฎกวา ทาวสหัมบดีพรหมไดทูลขอใหพระองคทรงส่ังสอนพระธรรมที่ทรงคนพบแก สรรพสัตวท้ังหลาย เพราะดําริวาธรรมที่ทรงคนพบลึกซึ้งเกินกวาที่จะส่ังสอนแกผูอื่นได4๕ พระพุทธ ทรงดําริถงึ บคุ คลที่จะทรงแสดงธรรมและสามารถเขา ถงึ ธรรมเหลาน้ันไดอยางรวดเร็ว น่ันคือ อาจารย สองทานแรกซึ่งพระองคไดทรงเลาเรียนวิชาหลังการออกบรรพชาในชวงแรก วาเปนผูสมควรรับฟง กอนบคุ คลอื่น ไดแก ทา นอาฬารดาบส กาลามโคตร และทานอทุ ทกดาบส รามบุตร แตทานท้ังสองไม มีชีวิตอยูแลว บุคคลถัดมาซ่ึงพระองคทรงคิดถึง ไดแก ปญจวัคคีย ซึ่งเคยอุปฏฐากพระองคเมื่อครั้ง บําเพ็ญทุกรกิริยา ณ อุรุเวลาเสนานิคม ซึ่งพระองคทรงทราบจากพระญาณวา ปญจวัคคีย อยู ณ ปา อิสิปตนมฤคทายวัน จึงตกลงพระทัยจะแสดงธรรมแกปญจวัคคีย5๖ และเดินทางไปท่ีปาอิสิปตน มฤคทายวนั ไดทรงแสดงปฐมเทศนาธมั มจักกัปปวัตตนสตู รวาดว ยมัชฌิมาปฏิปทา และอริยสัจ (ในวัน เพ็ญ ๑๕ คํ่า เดือน ๘ ปเดียวกันกับที่ตรัสรู6๗) เม่ือการแสดงธรรมจบลง โกญฑัญญะ พราหมณซ่ึงมี อายุมากที่สุดในกลุม ไดดวงตาเห็นธรรมกอนทานอ่ืน และขอบวชเปนภิกษุสาวกองคแรกใน พระพุทธศาสนา และอีก ๔ คนที่เหลือไดขอบวชตาม และในท่ีสุดท้ัง ๕ องคสําเร็จเปนพระอรหันต (พระอัญญาโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ พระอัสสชิ) เมื่อพระพุทธองคทรง แสดงอนัตตลกั ขณสูตรจบลง7๘ อีกเหตกุ ารณหนึง่ พระพุทธองคไ ดทรงแสดงอนุปุพพิกถาธรรมแกยสกุลบุตรผูเปนคฤหัสถ ตามดว ยอรยิ สัจ และยสกลุ บุตรไดฟ ง ธรรมน้ีซา้ํ อกี ครง้ั เม่อื พระพุทธองคเทศนาโปรดทานเศรษฐีผูบิดา ของยสกุลบุตร ครั้งหลังนี้เม่ือพระพุทธองคทรงเทศนาจบ ทานยสกุลบุตรไดดวงตาเห็นธรรม บรรลุ เปนพระอรหันตในขณะท่ีคงอยูในเพศคฤหัสถ สวนทานเศรษฐีเปนอุบาสกผูถึงพระรัตนตรัยเปนทาน แรก เม่ือบรรลุอรหตั ตผลแลว ทานยสกุลบุตรไดทูลขอบวชจากพระพุทธองค จากน้ันสหายของ พระย ๓ ทองเจือ อางแกว, วนั พระพุทธเจา , อางถงึ ใน ส. พลายนอย, ตามรอยพระพุทธประวัติ, พิมพคร้ังที่ ๒, (กรงุ เทพมหานคร: บริษัทสถาพรบุคสจ ํากดั , ๒๕๕๘), หนา ๑๕๔. ๔ ดูรายละเอยี ดใน ข.ุ พุทธฺ . (ไทย) ๓๓/๒๐/๗๒๐. ๕ ดูรายละเอียดใน วิ.ม. (ไทย) ๔/๗-๙/๑๑-๑๕. ๖ ดูรายละเอียดใน วิ.ม. (ไทย) ๔/๑๐-๑๒/๑๕-๒๐. ๗ ส. พลายนอ ย, ตามรอยพระพทุ ธประวัต,ิ หนา ๒๐๖-๒๐๗. ๘ ดูรายละเอียดใน ว.ิ ม. (ไทย) ๔/๑๓-๒๔/๒๐-๓๑.

๓ สะ ๔ ทาน ซ่ึงเปนบุตรของเศรษฐีในเมืองพาราณสี ไดทราบเร่ืองจึงเดินทางมาพบพระยสะ เม่ือทาน พาสหายกลุมนี้ไปเฝาพระพทุ ธองคและไดท รงเทศนาธรรมแกสหายท้ัง ๔ ของพระยสะจบ สหายทั้ง ๔ บรรลเุ ปนพระโสดาบนั และทลู ขอบวช (พระวิมล พระสุพาหุ พระปุณณชิ พระควัมปติ) และเมื่อไดฟง สามุกกังสิกธรรมเทศนาจบไดสําเร็จเปนพระอรหันต จากการสําเร็จเปนพระอรหันตของพระยสะ ทํา ใหเพื่อนของทาน ซ่ึงเปนบุตรของเศรษฐีท่ีอยูตางเมือง อีก ๕๐ ทาน ไดมาทูลขอบวช และสําเร็จเปน พระอรหันตในท่ีสุด ทําใหในเวลานี้ มีพระอรหันตสาวกของพระพุทธองค ๖๐ องค เมื่อนับรวมพระ พุทธองคด วย เปน ๖๑ องค8๙ ชวงเวลาน้ันเปนฤดูฝน พระพุทธองคทรงเห็นวาไมสะดวกตอการเดินทางออกเผยแผพระ ศาสนา จึงใหพระอรหันตทั้ง ๖๐ องค รวมถึงพระองคจําพรรษาอยู ณ ปาอิสิปตนมฤคทายวันกอน ส้ินฤดูฝนพระพุทธองคจ ึงคอ ยสงพระอรหนั ตส าวกออกไป ในชวงเดยี วกันพระองคไดทรงดําเนินไปเพ่ือ ประกาศพระศาสนาเชนกนั โดยเสดจ็ ไปที่อุรเุ วลาเสนานิคม มเี ปาหมายหลักท่ีชฎิล ๓ พ่ีนอง และทรง เลือกอุรุเวลกัสสปผูพี่เปนลําดับแรก พระองคใชเวลาประมาณ ๒ เดือน ในการทําใหอุรุเวลกัสสป ยอมรับและขอบวชจากพระพุทธองค พระพทุ ธองคทรงกลาวตอบคําขอบวชของอุรุเวลกัสสปซึ่งมีศิษย ๕๐๐ คน วาควรแจงใหศิษยของทานทราบกอน เมื่อศิษยของอุรุเวลกัสสปรับทราบตางสาธุการและ ขอบวชตามดวย เม่ือนทีกัสสปนองคนกลาง ซึ่งมีศิษย ๓๐๐ คน และคยากัสสปนองคนที่สาม ซึ่งมี ศษิ ย ๒๐๐ คน ทราบเร่ือง ทั้งสองคนพรอมดวยศิษยทั้งหมด ไดตามมาขอบวชดวย เม่ือพระภิกษุสงฆ กลุมน้ีไดฟงพระธรรมเทศนาอาทิตตปริยายสูตรจบแลว ไดสําเร็จเปนพระอรหันตทั้งหมด9๑๐ เพราะ กลุม ชฎิลบูชาไฟ ทาํ ใหเขาใจพระธรรมท่ีเก่ยี วขอ งกบั ความรอนไดง า ย อีกเหตุการณท่ีนาสนใจ ไดแก การเสด็จไปโปรดโจรองคุลิมาล โดยพระพุทธองคไดทรง แสดงอิทธาภิสังขารแกอหิงสกะหรือองคุลิมาล ซ่ึงไดฆาผูคนในกรุงสาวัตถีเปนจํานวนมาก โจรน้ีเปน คนหยาบชา ชอบฆาคน ไมม คี วามกรุณาในสตั วท ัง้ หลาย กอ กวนชาวบา นชาวชนบทใหเดือดรอนไปทั่ว เขนฆามนุษยแลวตัดเอาน้ิวมือรอยเปนพวงมาลัยสวม (คอ) ไว เม่ือพระพุทธองคเสร็จกิจจากการ บิณฑบาตแลว พระพทุ ธองคเสด็จไปในทิศทางท่ีโจรองคุลิมาลซุมรอเพื่อฆาผูคน เม่ือพบพระพุทธองค ไดเตรยี มอาวธุ และตดิ ตามไปเบื้องหลงั ของพระองค แตว่ิงอยางไรก็ตามพระองคไมทัน จึงหยุดยืนและ กลาวกับพระพุทธองควา “หยุดกอน สมณะ หยุดกอน สมณะ” เมื่อพระพุทธองคตรัสตอบวา “เรา หยุดแลว องคลุ มิ าล ทานตางหาก จงหยุด” ทง้ั สองกลาวตอบกันไปมา จนเม่ือพระผูมีพระภาคตรัสวา “องคลุ ิมาล เราวางอาชญาในสรรพสตั วไดแลว จึงช่ือวาหยุดแลวตลอดกาล สวนทานไมสํารวมในสัตว ท้ังหลาย เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อวาหยุดแลว สวนทานสิช่ือวายังไมหยุด” โจรองคุลิมาล กลาววา ๙ ดูรายละเอยี ดใน ว.ิ ม. (ไทย) ๔/๒๕-๓๑/๓๑-๔๐. ๑๐ ดูรายละเอียดใน วิ.ม. (ไทย) ๔/๓๗-๕๔/๔๗-๖๕.

๔ “สมณะ นานจรงิ หนอ ทานผูท เี่ ทวดาและมนุษยบูชาแลว ผูแสวงหาคุณอันย่ิงใหญ เสด็จมาถึงปาใหญ เพอื่ อนุเคราะหขาพระองค ขา พระองคน ัน้ จกั ละการทําบาป เพราะฟงคาถาอันประกอบดวยธรรมของ พระองค” กลาวจบ โจรองคุลมิ าลทิง้ ดาบและอาวธุ ลงในเหวลึก มหี นา ผาชัน ถวายอภิวาทพระบาททั้ง สองของพระพุทธองค แลวทูลขอบรรพชา ณ ที่นั้นเอง เมื่อเปนภิกษุแลว คร้ังหนึ่ง พระองคุลิมาลได เขาไปเฝาพระผูมีพระภาคและกราบทูลเร่ืองที่พบเห็นสตรีนางหนึ่งมีครรภแกใกลคลอด พระผูมีพระ ภาค จึงตรัสใหพระองคุลมิ าลเขาไปหาสตรนี างน้ัน แลว กลา ววา “นอ งหญงิ ตั้งแตอาตมภาพเกิดมา ไม เคยจงใจปลงชีวิตสัตว ดว ยสัจจวาจาน้ี ขอความสวสั ดีจงมีแกเธอ ขอความสวัสดีจงมีแกทารกในครรภ ของเธอเถิด” พระองคุลิมาลกราบทลู วา การพูดเชน นัน้ จักเปน อันวา ขาพระองคก ลา วเท็จทั้งท่ีรูเปนแน เพราะขาพระองคเคยจงใจปลงชีวิตสัตวมามากตอมากพระพุทธเจาขา พระผูมีพระภาคไดตรัสใหพระ องคุลิมาลกลาวคําใหมวา “นองหญิง ต้ังแตอาตมภาพเกิดมาโดยอริยชาติ ไมเคยจงใจปลงชีวิตสัตว ดวยสัจจวาจาน้ี ขอความสวัสดีจงมีแกเธอ ขอความสวัสดีจงมีแกทารกในครรภของเธอเถิด” ในที่สุด พระองคุลิมาลไดไปหาหญิงนั้นถึงที่อยูและไดกลาวตามท่ีรับสนองพระดํารัสจากพระพุทธองค ตอมา พระองคลุ ิมาลหลกี ออกไปอยรู ปู เดยี ว ไมประมาท มคี วามเพยี รอทุ ศิ กายและใจอยู ไมนานไดทําใหแจง ซงึ่ ประโยชนยอดเย่ียมอนั เปน ทีส่ ุดแหงพรหมจรรย รูชดั วา “ชาติสน้ิ แลว อยูจ บพรหมจรรยแลว ทํากิจ ท่คี วรทาํ เสร็จแลว ไมม กี ิจอื่นเพอ่ื ความเปนอยา งนี้อกี ตอไป”๑๑ ตัวอยางพระสาวกท่ียกมานี้ สําเร็จเปนพระอรหันตหลังจากฟงธรรมของพระพุทธองคใน เวลาไมนาน ซึ่งแสดงใหเห็นวา ทานเหลานี้มีความพรอมเต็มที่ตอพระสัทธรรมของพระพุทธองค ซึ่ง พระองคทรงเลือกธรรมเทศนาท่ีจะแสดงในเบื้องตนแตกตางกันไปตามภูมิหลังและความสามารถใน การเขาใจธรรมท่ีแตละบุคคลจะสามารถรับได เปนการปูพ้ืนฐานกอน แตที่สุดแลวจะจบลงที่อริยสัจ ซ่ึงเปนหัวใจหลักของพระธรรมที่พระองคตรัสรู ซึ่งพระพุทธองคทรงทราบวาควรแสดงธรรมแกใคร ควรแสดงเร่อื งใด ผนู ้ันจงึ สามารถเขา ใจธรรมได นคี่ ือการประกาศพระศาสนาโดยการเผยแผพระธรรม ทพี่ ระองคตรัสรูแ ละเปนตนแบบของการประกาศพระศาสนาโดยพระศาสดา พระพุทธองคไมเพียงต้ังพระทัยในการประกาศพระศาสนาเทานั้น พระพุทธองคตั้ง ปณิธานเพอ่ื ใหพระพุทธศาสนายงั ดาํ รงอยูตอ ไปและสามารถดํารงอยตู ราบถึงปจจุบันน้ี มีเหตุการณซ่ึง มารมากราบทูลใหพระองคปรินิพพาน และพระองคไดตรัสตอบคําทูลขอน้ีวา เราจะยังไมปรินิพพาน ตราบเทา ท่ีภกิ ษุ ภิกษณุ ี อบุ าสกและอุบาสิกา ผสู าวกของเรายังไมเฉียบแหลม ไมไดรับการแนะนํา ไม แกลวกลา ไมเปนพหูสูต ไมรูธรรม ไมปฏิบัติธรรมสมควรแกธรรม ไมปฏิบัติชอบ ไมปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารยของตนแลว แตก็ยังบอก แสดง บัญญัติ กําหนด เปดเผย จําแนก ทําใหงายไมได ยัง ๑๑ ดูรายละเอยี ดใน ม.ม. (ไทย) ๑๓/๓๔๗-๓๕๒/๔๒๑-๔๓๓.

๕ แสดงธรรมมีปาฏิหารยิ  ปราบปรปั วาททีเ่ กดิ ข้นึ ใหเ รยี บรอยโดยชอบธรรมไมได 11๑๒ ซ่ึงคําตรัสตอบมาร นี้แสดงถึงความตั้งพระทัยอยางแนวแนในการประกาศพระศาสนาของพระพุทธองคกอนที่พระพุทธ องคจ ะเสด็จดับขนั ธปรินพิ พาน ๒.๒ พระสาวกในฐานะพระธรรมทตู รุนบกุ เบกิ กอนการสงพระอรหันตสาวกออกจาริกเพื่อเผยแผพระศาสนาน้ัน พระพุทธองคทรงให พระสาวกท้ัง ๖๐ องค มารวมกัน และตรสั แกพระอรหันตส าวก ทั้ง ๖๐ องค วา ภิกษุทั้งหลาย เราไดพนแลวจากบวงทั้งปวง ท้ังท่ีเปนของทิพย ทั้งที่เปนของมนุษย แมทาน ทั้งหลายกเ็ หมือนกนั ทา นท้งั หลายจงเที่ยวไปในชนบท เพอ่ื ประโยชนและความสุขแกมหาชนเปน อันมาก แตอ ยาไปรวมกนั ๒ รปู โดยทางเดยี วกัน จงแสดงธรรมมีคุณเปนเบื้องตน ทามกลาง ที่สุด จงประกาศพรหมจรรยทั้งอรรถและพยัญชนะอันบริสุทธิ์บริบูรณสิ้นเชิง สัตวท้ังหลายท่ีมีกิเลสบัง ปญญา ดจุ ธุลีในจกั ษุนอยเปน ปกตมิ อี ยู เพราะโทษทีไ่ มไดฟ ง ธรรม ยอมเส่ือมจากคุณที่จะพึงไดพึง ถึง ผูรทู ัว่ ถึงธรรมจักมีอยู แมเรากจ็ ักไปยงั ตําบลอุรุเวลาเสนานคิ มเพอ่ื จะแสดงธรรม”12๑๓ ปณิธานของพระศาสดาซ่ึงแสดงแกพระอรหันตสาวก ๖๐ องค ในฐานะผูทําหนาท่ี ประกาศพระศาสนาพรอ ม ๆ กบั พระองค ผซู ่งึ พนจากบวงท้งั ปวงแลว โดยทรงทบทวนใหท้ัง ๖๐ ทาน เขาใจถึงเปาหมายของการประกาศพระศาสนา ทั้งในดานประโยชนและความสุขที่มหาชนซึ่งมีกิเลส เบาบางจะไดร บั ถา มีโอกาสไดฟงธรรม (การประกาศพรหมจรรย) กับดา นการจารกิ ไป ซึ่งใหแตละทาน เดินทางไปในสถานท่ีที่แตกตางกัน และเดินทางไปเพียงองคเดียว เน่ืองจากเปนชวงเริ่มตนของการ ประกาศพระศาสนา จึงไดสงพระสาวกไปใหครอบคลุมพ้ืนที่ไดกวางไกลเทาท่ีจะเปนไปได เพราะใน เวลานั้น ยังไมพบปญหาท่ีเกิดจากการจาริกประกาศพระศาสนา เชน การขอบวช ซ่ึงตองเดินทางมา ขอบวชจากพระพุทธองคเทาน้ัน เปนตน และจากพุทธดํารัสน้ี พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ) ได กลาวไวอยางนา สนใจ ถึงวตั ถุประสงคในการประกาศศาสนาหรือสงั่ สอนธรรมวา ในการแนะนาํ ชแี้ จงสง่ั สอนธรรมะแกบุคคลอ่ืน ควรรักษารูปแบบอันเปนเจตนารมณของพระ พทุ ธองคไว นั่นคอื พยายามแสวงหาคําตอบวา ตนจะใหอะไรแกชาวโลกและแกพระพุทธศาสนา แทนท่ีจะคิดวาชาวโลกจะใหอะไรแกตน ซึ่งพระองคทรงแสดงถึงภาระหนาท่ีของพระสงฆที่ จะตองปฏิบัติตอชาวโลกดวยจิตคิดอนุเคราะห ดวยความเมตตากรุณา และไดทรงวางหลัก ขอบขายในการทํางานไววา ใหพยายามหามชาวบานไมใหทําความชั่ว ช้ีแจงแนะนําอบรม สั่ง สอนเสนอแนะใหชาวบานประพฤติปฏิบัติความดี ในการสงเคราะหชาวบานจะตองทําดวยใจท่ี ๑๒ ดูรายละเอียดใน ท.ี ม. (ไทย) ๑๐/๑๖๘ /๑๑๓-๑๑๖. ๑๓ ว.ิ ม. (ไทย) ๔/๓๒/๔๐.

๖ งดงาม มุงประโยชนเก้ือกูลเพื่อความสุขแกพวกเขา โดยไมคิดวา เราจะไดอะไร แตใหพยายาม คิดวา เราจะใหอะไร ใหชาวบานไดฟงในส่ิงท่ีเขายังไมไดฟง พยายามอธิบายชี้แจงแสดงเหตุผล ใหเขาเกิดความรู ความเขาใจเพ่ิมขึ้นในสิ่งท่ีเขาไดยินไดฟงมาแลว บอกทางแหงความสุขความ เจริญใหแกเขา สรุปคือ การทํางานเผยแผพระศาสนา มุงไปท่ีการบอกกลาวช้ีแจงแสดงในสิ่งท่ี เปน ประโยชนอันมลี ักษณะเก้อื กลู และอํานวยความสขุ ใหแกม หาชน13๑๔ นอกจากการประชุมชี้แจงเปาหมายในการประกาศพระศาสนา อีกเหตุการณหน่ึงที่ นาสนใจและแสดงถึงความสนพระทัยของพระพุทธองคตอการออกจาริกของพระสาวก ไดแก เหตุการณซึ่งพระปณุ ณะเขาเฝา พระพุทธองค กอ นท่ีพระปุณณะจะปลีกตัวจากพระพุทธองคและคณะ สงฆ เพื่อไปเผยแผพระศาสนา พระพุทธองคทรงตรวจสอบความพรอมของพระปุณณะในการออก เดินทางไปเผยแผพระศาสนาท่ีเมืองสุนาปรันตชนบท ทรงพบวาพระปุณณะมีความพรอมตอการ เดนิ ทางไปสเู มอื งสนุ าปรนั ตชนบท ซงึ่ ชาวเมืองนี้ถูกกลาวถึงวามีนิสัยดุรายหยาบคาย การตรวจสอบน้ี สรุปจากบทสนทนาถามตอบระหวางพระพุทธองคกับพระปุณณะ ดังนี้ “ถาพระปุณณะถูกชาวสุนา ปรนั ตชนบทดาบริภาษ พระปุณณะจักคิดวา ดีหนอท่ีไมถูกประหารดวยฝามือ ถาถูกประหารดวย ฝา มือ จักคิดวา ดีหนอ ท่ีไมประหารเราดวยกอนดิน ถาถูกประหารดวยกอนดิน จักคิดวา ดีหนอ ท่ีไม ประหารเราดว ยทอนไม ถาถูกประหารดวยทอ นไม จกั คิดวา ดีหนอ ที่ไมป ระหารเราดว ยศัสตรา ถาถูก ประหารดว ยศสั ตรา จกั คิดวา ดีหนอ ที่ไมปลงชีวิตของเราดวยศัสตราท่ีคม ถาถูกปลงชีวิตดวยศัสตรา ท่ีคม จักคิดวา พระสาวกท้ังหลายของพระผูมีพระภาคพระองคนั้นอึดอัด ระอา รังเกียจอยูดวย รางกายและชีวิต แสวงหาศัสตราเคร่ืองปลงชีวิตก็มีอยู เราไดศัสตราเครื่องปลงชีวิตท่ีไมไดแสวงหา เลย” เมอื่ บทสนทนามาถงึ จดุ น้ี พระพทุ ธองคไ ดตรัสแกพระปุณณะวา สามารถอยูในสุนาปรันตชนบท ได ดว ยมีความขม ใจและความสงบใจ14๑๕ เหตุการณนี้ แสดงใหเ หน็ ถงึ ผทู าํ หนา ทเี่ ผยแผพ ระศาสนาซงึ่ จะตองจาริกไปสูดินแดนอันไม คุนเคยและอาจเปนอันตรายไดน้ัน ตองมีความพรอมท้ังดานพระสัทธรรมและสภาพจิตใจของตนเอง จึงจะสามารถจาริกเขาไปยังสถานที่แหงน้ันได แมจะยังไมไดเปนพระอรหันตก็ตาม แตท่ีสุดแลวพระ ปุณณะไดนพิ พานท่ีสุนาปรันตชนบทในเวลาประมาณ ๑๒ ปตอมา เวลา ๑๒ ปน้ี แสดงใหเห็นถึงการ เผยแผพระศาสนาทีใ่ ชความเพียรพยายามและอดทน เนือ่ งจากเปน ชวงเวลายาวนาน เห็นไดวา กอนท่ี พระองคจะสงพระสาวกไปประกาศพระศาสนา นอกจากแสดงถึงปณิธานที่พระสาวกทุกองคตอง ยดึ ถือไวเ ปน สําคัญแลว ยงั ตรวจสอบความพรอมในการออกประกาศพระศาสนาของพระสาวกดว ย ๑๔ พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ), ประวัติศาสตรพระพุทธศาสนา, พิมพครั้งท่ี ๕, (กรงุ เทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘), หนา ๔๖๘-๔๖๙. ๑๕ ดูรายละเอยี ดใน สํ. สฬา. (ไทย) ๑๘/๘๘/๘๔-๘๘.

๗ การประกาศพระศาสนาของพระสาวกองคหน่ึงที่นาสนใจ ไดแก พระอัสสชิ ซ่ึงครั้งกําลัง บณิ ฑบาตอยูในกรงุ ราชคฤห มกี ริ ิยานา เลอื่ มใส มีจกั ษทุ อดลง ถึงพรอ มดว ยอิริยาบถ เมื่อพระสารีบุตร ครัง้ ยังเปนอปุ ติสสะ เห็นพระอัสสชใิ นอริ ิยาบถเหลานั้น ไดติดตามไป จนเม่ือถึงเวลาอันสมควร ไดเขา ไปหาและสนทนาปราศรัย เม่ือทราบวาพระอัสสชิมีพระพุทธองคเปนพระศาสดา จึงไดขอใหพระอัสส ชิกลา วพระธรรมซ่ึงเปน คําสอนของพระศาสดา ซงึ่ ในตอนแรกพระอสั สชไิ ดกลาววาทานพ่ึงบวชใหมจึง อาจไมทราบธรรมของพระศาสดาอยางลกึ ซ้งึ แตเ มือ่ อุปติสสะขอใหกลาวเฉพาะใจความ พระอัสสชิได แสดงธรรมซ่ึงพระศาสดาทรงส่ังสอนวา “ธรรมเหลาใดเกิดแตเหตุ พระตถาคตตรัสเหตุแหงธรรม เหลาน้นั และความดับแหงธรรมเหลานั้น พระมหาสมณะมีปกติตรัสอยางนี้” เม่ือไดฟงเชนน้ัน อุปติส สะไดธรรมจักษุและกลับไปที่สํานักของตนเพื่อแจงขาวแกโกลิตะ เม่ือฟงเร่ืองราวจบ โกลิตะได ธรรมจักษุ อุปติสสะและโกลิตะจึงไดไปลาสัญชัยปริพาชกผูเปนอาจารยเจาสํานัก เพื่อจะไปสูสํานัก พระผูมีพระภาคพรอมดวยปริพาชกผูติดตามอีก ๒๕๐ คน เม่ือเขาเฝาและทูลขอบวชจากพระพุทธ องค โกลิตะมีชื่อวาพระโมคคัลลานะไดบรรลุอรหัตตผล ในวันที่ ๗ หลังจากบวช สวน อุปติสสะมีช่ือ วาพระสารบี ตุ รไดบ รรลุอรหัตตผลในวันท่ี ๑๕ หลงั การบวช15๑๖ การประกาศพระศาสนาในยุคพุทธกาลของพระศาสดาและพระสาวกโดยเฉพาะในชวง หลังการตรัสรูไมนาน ทําใหมองเห็นประเด็นตาง ๆ ไดแก พระพุทธองคทรงเปนท้ังพระศาสดาและ พระธรรมทูตตนแบบในการประกาศพระศาสนา พระสาวกผูทําหนาที่ประกาศพระศาสนาในชวงตน (๖๐ องค) เปนพระอรหนั ตทงั้ สน้ิ พระพุทธองคทรงแสดงปณิธานในการจาริกประกาศพระศาสนา ให พระสาวกไดตระหนักและยึดถือไวอยางชัดเจน การประกาศพระศาสนาตองใชความเพียรพยายาม อดทน ขมใจ เพราะบางแหงใชร ะยะเวลายาวนาน เปนตน ซึ่งประเด็นเหลานั้น เปนส่ิงท่ีพระธรรมทูต ในยุคตอมา สามารถใชเปน แบบอยา งปฏบิ ัติในการทําหนา ทีท่ ตู ทางธรรม ๓. พระธรรมทูตในยุคหลงั พุทธกาล การดับขันธปรินิพพานของพระพุทธองค หลังการประกาศพระพุทธศาสนา ๔๕ ป พระพุทธศาสนามีความเจริญรุงเรืองมาอยางตอเนื่อง แตเมื่อมีพุทธบริษัทจํานวนมาก ยอมมีปญหา ตามมาเปนเรื่องปกติ โดยเฉพาะพระภิกษุสงฆท่ีเขามาขอบวชนั้นไมไดบรรลุอรหัตตผลทุกองค เหมือนกับสถานการณท่ีเกิดขึ้นในชวงตนของการประกาศพระศาสนา ทําใหเกิดมีการสังคายนา ทบทวนพระธรรมวินัย เพื่อคล่ีคลายปญหาที่เกิดขึ้นในแตละชวงเวลา จนถึงการสังคายนาครั้งที่ ๓ เกิดขึ้นประมาณพุทธศตวรรษท่ี ๓ พระเจาอโศกมหาราช กษัตริยแหงราชวงศเมารยะ ปกครองนคร ปาฏลบี ุตร แควนมคธ พระองคทรงอุปถัมภพระพุทธศาสนาและไดทรงอุปถัมภการสังคายนาคร้ังที่ ๓ ๑๖ ดรู ายละเอียดใน วิ.ม. (ไทย) ๔/๖๐-๖๓/๗๒-๗๗.

๘ ดวย เม่ือการสังคายนาสําเร็จลง พระองคยังไดสงคณะพระสงฆ ๙ คณะ (สาย) ออกจาริกเพื่อเผยแผ พระพุทธศาสนาท้ังในดินแดนตนกําเนิดและนอกดินแดนตนกําเนิดของพระพุทธศาสนา ดวย ขอ เสนอแนะจากพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระซ่ึงพิจารณาวา ในภายภาคหนา พระพุทธศาสนาจะไปต้ัง มั่นนอกชมพูทวปี ดงั รายละเอยี ดตอไปนี้ ๑) พระมหนิ ทเถระ พระราชโอรสของพระเจาอโศกมหาราช เปนหัวหนาคณะ พรอมดวย พระอิฏฏิยเถระ พระอุตติยเถระ พระสัมพลเถระ พระภัททสาลเถระ และสุมนสามเณร จาริกไปที่ เกาะลงั กา ในรชั สมัยของพระเจาเทวานัมปย ติสสะ (ปจ จุบันคอื ประเทศศรลี ังกา) ๒) พระมัชฌันติกเถระ เปนหัวหนาคณะ จาริกไป ณ แควนคันธาระ และกาศมีระ (ปจจบุ ัน ไดแก รฐั ปญ จาป และรฐั แคชเมยี ร ประเทศอินเดยี ตามลําดับ) ๓) พระมหาเทวเถระ เปนหัวหนาคณะ จาริกไป ณ มหิงสกมณฑล แถบตอนใตของลุมน้ํา โคธาวรี (ปจจบุ ันคือรัฐไมซอร ประเทศอนิ เดีย) ๔) พระรกั ขติ เถระ เปนหวั หนา คณะ จาริกไป ณ วนวาสีประเทศ ไดแก แควนกนราเหนือ ดนิ แดนทางตะวนั ตกเฉียงใตข องประเทศอนิ เดยี ๕) พระธรรมรักขิตเถระหรือพระโยนกธรรมรักขิตเถระ เปนหัวหนาคณะ จาริกไป ณ อป รันตกชนบท (ปจจุบันคือแควนทางชายทะเลทางตอนเหนือของเมืองบอมเบยหรือมุมไบ ประเทศ อินเดีย) ๖) พระมหารักขิตเถระ เปน หัวหนา คณะ จาริกไป ณ โยนกประเทศ ดินแดนที่อยูในความ ยึดครองของกรีก ในทวีปเอเชยี ตอนกลาง เหนอื อหิ รา นข้ึนไปจนจรดเตอรกีสถาน ๗) พระมัชฌิมเถระ เปนหัวหนาคณะ พรอมดวยพระเถระ ๔ รูป ไดแก พระกัสสปโคตะ พระมูลกเทวะ พระทุนทภิสสร และพระเทวะ จาริกไป ณ ดินแดนแถบภูเขาหิมาลัย (สันนิษฐานวา ปจ จบุ ันคือ ประเทศเนปาล) ๘) พระโสณเถระกบั พระอตุ ตรเถระ เปนหัวหนาคณะ จาริกไป ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ เชื่อ กันวา ไดแก ประเทศในคาบสมทุ รอินโดจนี เชน ไทย พมา ลาว กัมพชู า เวียดนาม ๙) พระมหาธรรมรักขิต เปนหัวหนาคณะ จาริกไป ณ แควนมหาราษฎร ดินแดนแถบ ๑๗ ตะวนั ออกเฉียงเหนอื 16 ๑๗ วศนิ อนิ ทสระ, ประวตั ศิ าสตรพ ระพุทธศาสนาในประเทศอนิ เดยี และประเทศไทย, พิมพครั้งท่ี ๒, (กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพบ รรณาคาร, ๒๕๓๕), หนา ๗๑-๗๔.

๙ การสงพระสงฆไปประกาศพระศาสนาท้ังในและนอกดินแดนอันเปนตนกําเนิดภายใตการ อุปถัมภของพระเจาอโศกมหาราชทั้งหมด ๙ สาย (บางเลม เรียงลําดับตางกัน17๑๘) นี้ แสดงใหเห็นถึง การมีพระธรรมทูตในการประกาศศาสนาหรือเผยแผพระสัทธรรมในดินแดนอันเปนตนกําเนิดในยุค พุทธกาล และปรากฏพระธรรมทูตเพื่อเผยแผพระศาสนานอกดินแดนอันเปนตนกําเนิดหลังยุค พทุ ธกาล ทมี่ ีหลกั ฐานชดั เจน พระอรหันตสําคัญองคหนึ่งหลังยุคพุทธกาล ราว ๔๐๐ ป ไดแก พระนาคเสน18๑๙ เร่ืองราวของทานปรากฏในมิลินทปญหา เม่ือทานเปนนาคเสนกุมารไดขออนุญาตมารดาบิดาเพื่อจะ บวช เมือ่ ไดบวชเปน สามเณรนาคเสนทว่ี ดั ถาํ้ รกั ขติ โดยมีพระโรหณะเปนอุปชฌาย ซ่ึงใหสามเณรนาค เสนเริ่มเรยี นพระอภธิ รรม ซ่ึงนาคเสนสามารถสวดและทองใหพระอรหันตทั้งหลายฟงไดอยางแมนยํา เม่ืออายุครบ ๒๐ ปบริบูรณ ทานไดรับการอุปสมบทเปนภิกษุ โดยพระโรหณะคงเปนพระอุปชฌาย เมื่อพระนาคเสนออกบิณฑบาตและเดินตามพระอุปชฌาย คิดในใจวา “พระอุปชฌายของเราโงเขลา จริงที่ใหเราเรียนเฉพาะพระอภิธรรม” พระโรหณะทราบความคิดของพระนาคเสนจึงกลาววา “นาค เสนคิดอยางน้ันหาควรไม” พระนาคเสนไดรูวาพระอุปชฌายรูจิตของตน จึงกลาวขออภัยทานในการ คิดลว งเกิน พระโรหณะกลาววา “จะอภยั โทษลวงเกินดวยเหตเุ พียงเทาน้ีหาสมควรไม นาคเสนตองไป ทํากิจพระศาสนาอยางหนึ่งใหสําเร็จ เราจึงจะอภัยโทษให นั่นคือตองไปทําใหพระเจามิลินท ซ่ึง ครองราชสมบตั ใิ นสาคลราชธานี เกิดความเล่ือมใส และเม่ือพระราชาเล่ือมใสในพระพุทธศาสนาแลว น่นั คือการอภัยโทษของเรา” พระนาคเสนตอบรับภาระดวยความยินดีย่ิงและไดถูกสงไปเปนศิษยของ พระอัสสคุตตเถระ ณ วัดนิยเสนาสน ตอมาไดรับนิมนตจากอุปฏฐายิกาของพระเถระใหไปฉันท่ีบาน ของตนในวันรุงขึ้น เม่ือฉันเสร็จแลว พระเถระใหพระนาคเสนกลาวอนุโมทนา เมื่อพระนาคเสนกลาว อนุโมทนาดวยอภธิ รรมกถา มหาอบุ าสกิ าไดบ รรลธุ รรมข้ันโสดาปตติผล (บางเลมระบุวา พระนาคเสน ไดดวงตาเห็นธรรมเชนกัน19๒๐) พระเถระทราบเร่ืองน้ีจึงสาธุการ จากน้ันไดสงพระนาคเสนไปอยูใน สํานักของพระธรรมรักขิตเถระ ณ วัดอโสการาม เมืองปาตลีบุตร เพื่อศึกษาพระพุทธวจนะให ย่ิงข้ึนไป ในสํานักแหงน้ัน พระนาคเสนไดสาธยายและสวดทองและพิจารณาทําความเขาใจในพระ พุทธพจน รวมเวลา ๖ เดือน พระธรรมรักขิตเห็นวา พระนาคเสนเช่ียวชาญในปริยัติย่ิงนัก แตการ ปฏิบัติยังไมถึงที่สุด จึงกลาวเตือนวา “อยาเปนอยางคนเลี้ยงโค รับแตคาจาง แตไมไดดื่มรสแหงนม โค” คร้ังน้ัน พระนาคเสนไดปฏิบัติวิปสสนากรรมฐาน จนไดบรรลุอรหัตปฏิสัมภิทา พระอรหันตท่ีอยู ๑๘ พระพรหมคณุ าภรณ (ป.อ. ปยตุ โฺ ต), กาลานกุ รม พระพทุ ธศาสนาในอารายธรรมโลก, พิมพคร้ังท่ี ๘, (กรุงเทพมหานคร: สาํ นักพมิ พผ ลิธมั ม, ๒๕๕๘), หนา ๓๘. ๑๙ พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศพั ท, หนา ๑๖๐. ๒๐ Bhikkhu Pesala, The Debate of King Milinda, (Delhi: Motilal Banarsidass, 1998), p. 1. ; ม.ป.ช. มิลินทปญหา, พมิ พคร้ังท่ี ๒, (กรงุ เทพมหานคร: สํานกั พมิ พศ ลิ ปาบรรณาคาร, ๒๕๔๙). หนา ๒๑-๔๔.

๑๐ ณ วัดถ้ํารักขิต เมื่อทราบวา พระนาคเสนบรรลุอรหัตตผลแลวจึงสงสารไปนิมนตพระนาคเสน และ แจง ใหทราบวา ถงึ เวลาทจ่ี ะตอ งไปนครสาคละ เพื่อตอบปญหาของพระเจามิลินทแลว เม่ือเดินทางไป ถึงสาคลราชธานี พระนาคเสนทําภารกิจท่ีไดรับมอบหมายจากพระอุปชฌายไดสําเร็จลุลวง สามารถ ปุจฉา-วิสัชนา จนทําใหพระเจามิลินทส้ินสงสัยในพระธรรมขององคสมเด็จพระศาสดา จนเกิดความ เลอื่ มใสในพระพทุ ธศาสนา เร่อื งของพระนาคเสนแสดงใหเ ห็นถึงการศึกษาท้ังปริยัติและปฏิบัติจนสามารถบรรลุเปน พระอรหันต (ปฏิเวธ) และมีความเชี่ยวชาญในพระธรรมจนถึงข้ันท่ีสามารถช้ีแจงแสดงใหผูท่ีมีความ สงสยั ในพระธรรมหรือตองการโตวาทีเก่ยี วกบั พระธรรมท่ตี นรกู บั ผทู ี่ถอื ปฏิบัติในพระธรรมเหลานั้นจน ไมมีขอสงสัยหรือมีประเด็นในการโตแยงไดอีกตอไป ซ่ึงการบรรลุอรหัตตผลของพระนาคเสน น้ัน เกิดขึ้นเม่ือทานไดบําเพ็ญวิปสสนากรรมฐานถายถอนกิเลส ซ่ึงถือเปนจุดเดนในพระพุทธศาสนา เพราะการศึกษาเพียงภาคปริยตั ิไมสามารถทาํ ใหบ รรลอุ รหตั ตผลไดน ั่นเอง20๒๑ ๔. งานพระธรรมทตู ของคณะสงฆไทย เม่ือพระพุทธศาสนาเผยแผเขาไปในดินแดนสุวรรณภูมิตั้งแตยุคของพระเจาอโศกมหาราช ในเวลาตอมาเมื่อประเทศไทยรวบรวมดินแดนเปนอาณาจักร จึงเริ่มรับพระพุทธศาสนาเปนศาสนา ประจําชาติต้ังแตสมัยกรุงสุโขทัยเปนตนมา โดยมีทั้งการสงพระสงฆไทยไปศึกษาพระศาสนานอก ราชอาณาจกั รและนิมนตพระสงฆเขามาเผยแผพระศาสนาในราชอาณาจักร จนมาถึงสมัยอยุธยาเปน ราชธานี ในสมัยสมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกษฐ (บางเลมใช สมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศ) ไดสงพระ ธรรมทตู ไปเผยแผพระพุทธศาสนา ณ เกาะลังกา จนเกิดนิกายสยามวงศหรืออุบาลีวงศข้ึนในประเทศ ศรลี งั กา21๒๒ งานพระธรรมทูตไทยในปจจุบัน เปนงานเผยแผพระพุทธศาสนาทั้งในประเทศและ ตางประเทศ แบง พระธรรมทูตโดยใชสถานทใ่ี นการเผยแผพระพุทธศาสนาเปน ๒ สาย ไดแก ๑) พระ ธรรมทูตในประเทศ และ ๒) พระธรรมทูตสายตางประเทศ ซึ่งพระธรรมทูตท้ังสองสายนี้จัดไดวาเปน พระธรรมทูตอยางเปนทางการ เพราะผานกระบวนการฝกอบรมจากหนวยงานท่ีมีหนาท่ีโดยตรง เกย่ี วกับพระพุทธศาสนาและการเผยแผ ๒๑ พระมหาสายเพชร วชริ เวที (หงษแพงจิตร), “การศึกษาบทบาทและวิธีการเผยแผพระพุทธศาสนา ของพระนาคเสนเถระ”, วทิ ยานิพนธพุทธศาสตรมหาบณั ฑิต, (บณั ฑติ วิทยาลยั : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลยั , ๒๕๔๙), บทคดั ยอ . ๒๒ พระเทพดิลก (ระแบบ ฐติ ญาโณ), ประวัติศาสตรพระพุทธศาสนา, หนา ๔๑๖-๔๑๗.

๑๑ โครงการพระธรรมทูต เริ่มมีข้ึนเมื่อป พ.ศ. ๒๕๐๗ ไดรับการสงเสริมและสนับสนุนจาก กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ไดนํารูปแบบการปฏิบัติงานเผยแผพระพุทธศาสนาในยุค พุทธกาลซ่ึงพระพุทธเจาเร่ิมสงพระสาวกออกเผยแผพระศาสนามาใช และใหเปนงานของพระสงฆ มี การจดั ตั้งหนวยงานเพอ่ื บรหิ ารจดั การ มีเจาคณะรับผิดชอบแตละระดับเต็มรูปแบบ งานพระธรรมทูต ในประเทศและพระธรรมทูตสายตา งประเทศ มรี ายละเอยี ด ดังตอไปนี้ ๔.๑ พระธรรมทตู ในประเทศ พระธรรมทูตในประเทศทเี่ ปนทางการ จะไดร บั การอบรมจากสํานักฝกอบรมพระธรรมทูต กองงานพระธรรมทูต โดยสํานักฝกอบรม มีหนาที่ฝกอบรมพระภิกษุสงฆท่ีจะออกไปปฏิบัติงานใน พ้ืนที่ชนบท ในการประกาศและเผยแผพระพุทธศาสนา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน สงเสริมและสนับสนุนใหพระภิกษุสงฆไดบําเพ็ญสาธารณประโยชนตอสังคมและประเทศชาติมากขึ้น โดยหลักสูตรพระธรรมทูตนี้ มีวัตถุประสงค เพื่อ๑) สงเสริมและสนับสนุนใหพระสงฆใน พระพุทธศาสนาไดมีโอกาสบําเพ็ญประโยชนตอสังคม ประเทศชาติและพระพุทธศาสนาตามสมควร แกสมณวิสัย โดยออกจาริกเพ่ือเผยแผหลักธรรมคําสอนอันเปนการสงเสริมและปลูกฝงศีลธรรมและ วัฒนธรรม ตลอดจนใหค ําแนะนําพัฒนาดานจิตใจแกประชาชนในทองถิ่นน้ัน ๆ ๒) มุงเนนใหผูเขารับ การฝกอบรมเปนพระธรรมทูต ซึ่งทําหนาที่ในการประกาศและเผยแผพระพุทธศาสนาไปสูประชาชน ในพ้ืนทขี่ าดแคลนพระสงฆ ใหดาํ เนินไปดวยความสะดวกและกวางขวางยิ่งข้ึน และ ๓) เพิ่มพูนความรู ความสามารถ และประสทิ ธภิ าพในการปฏิบตั ิงานดา นเผยแผพ ระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตใหมาก ยง่ิ ข้ึน22๒๓ ในสว นการปฏบิ ัตภิ ารกจิ น้นั กองงานพระธรรมทูต แบงพื้นที่การปฏิบัติงานของพระธรรม ทตู ในประเทศ เปน ๙ สาย ครอบคลุมพน้ื ท่ีท่ัวประเทศ ดงั นี้ สายท่ี ๑ จาริกปฏิบัติงานในเขตการปกครองคณะสงฆ ภาค ๑ และ ภาค ๑๔ มี ๗ จงั หวดั ไดแก นนทบุรี ปทมุ ธานี สมุทรปราการ นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และสมุทรสาคร สายท่ี ๒ จาริกปฏิบัติงานในเขตการปกครองคณะสงฆ ภาค ๒ และ ภาค ๓ มี ๗ จังหวดั ไดแก พระนครศรีอยธุ ยา อางทอง สระบุรี ลพบรุ ี สงิ หบรุ ี ชยั นาท และอทุ ยั ธานี สายที่ ๓ จาริกปฏิบัติงานในเขตการปกครองคณะสงฆ ภาค ๔ และ ภาค ๕ มี ๘ จงั หวดั ไดแก กาํ แพงเพชร พจิ ิตร เพชรบรู ณ นครสวรรค พษิ ณโุ ลก สุโขทยั ตาก และอตุ รดติ ถ สายท่ี ๔ จาริกปฏิบัติงานในเขตการปกครองคณะสงฆ ภาค ๖ และ ภาค ๗ มี ๘ จังหวดั ไดแก ลําปาง เชยี งราย พะเยา แพร นาน เชยี งใหม ลาํ พูน และแมฮอ งสอน ๒๓ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มหาวิทยาลยั ), พระพุทธศาสนาในประเทศไทย, หนา ๑๘๘-๑๘๙.

๑๒ สายที่ ๕ จาริกปฏิบัติงานในเขตการปกครองคณะสงฆ ภาค ๘ และ ภาค ๙ มี ๑๐ จังหวัด ไดแก อุดรธานี หนองคาย เลย สกลนคร หนองบัวลําภู บึงกาฬ ขอนแกน มหาสารคาม กาฬสนิ ธุ และรอ ยเอด็ สายที่ ๖ จารกิ ปฏบิ ตั ิงานในเขตการปกครองคณะสงฆ ภาค ๑๐ และ ภาค ๑๑ มี ๑๐ จงั หวัด ไดแ ก อุบลราชธานี ยโสธร มุกดาหาร ศรีสะเกษ นครพนม อํานาจเจริญ นครราชสีมา ชัยภูมิ สรุ นิ ทร และบรุ ีรมั ย สายที่ ๗ จาริกปฏิบัติงานในเขตการปกครองคณะสงฆ ภาค ๑๒ และ ภาค ๑๓ มี ๘ จงั หวัด ไดแ ก ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา สระแกว ชลบรุ ี ระยอง จันทบรุ ี และตราด สายที่ ๘ จาริกปฏิบัติงานในเขตการปกครองคณะสงฆ ภาค ๑๕ และ ภาค ๑๖ มี ๗ จังหวัด ไดแก ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ ชุมพร สุราษฎรธานี และ นครศรีธรรมราช สายท่ี ๙ จารกิ ปฏบิ ตั ิงานในเขตการปกครองคณะสงฆ ภาค ๑๗ และ ภาค ๑๘ มี ๑๑ จังหวัด ไดแ ก ภเู ก็ต ตรงั กระบ่ี พงั งา ระนอง พัทลงุ สงขลา ปต ตานี ยะลา นราธิวาส และสตลู 23๒๔ การดําเนินงานของพระธรรมทูตในประเทศอยางเปนทางการ จะมีเปาหมายไปที่กลุม ประชาชนในทอ งทีห่ า งไกลและทุรกนั ดาร เพอ่ื ใหป ระชาชนกลมุ น้ยี ดึ มั่นในพระพุทธศาสนา มีศีลธรรม ประจาํ ใจ มคี วามรกั ชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย อันจะนํามาสูความสงบรมเย็นในตัวบุคคล และ สนั ตสิ ขุ ในระดบั ชมุ ชน สังคม และประเทศชาติตอไป ๔.๒ พระธรรมทูตสายตา งประเทศ พระธรรมทูตสายตางประเทศมีหนาท่ีไปเผยแผพระพุทธศาสนานอกประเทศไทย ซ่ึงการ สงพระธรรมทูตไทยไปเผยแผพระศาสนาในตางประเทศมีมาต้ังแตสมัยกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานี ใน รัชสมัยสมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกษฐ ไดสงพระธรรมทูตไปที่ประเทศลังกา ๒ คณะ ไดแก คณะของ พระอุบาลีและพระอริยมุนี และคณะของพระวิสุทธาจารยและพระวรญาณมุนี รวมระยะเวลาในการ ฟนฟพู ระพทุ ธศาสนาในประเทศลังกา ประมาณ ๗ ป และในยุคกรงุ รัตนโกสินทรเปนราชธานี รัชสมัย ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย รัชกาลท่ี ๒ ไดสงคณะสงฆไปท่ีประเทศศรีลังกาอีกคร้ัง หน่ึง โดยมรี ะยะเวลาประมาณ ๑ ป ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลท่ี ๙ แหงกรุง รัตนโกสินทร ชวงกอน พ.ศ. ๒๕๐๐ สมเด็จพระพุฒาจารย (อาจ อาสภมหาเถร) ไดรับอาราธนาไป ๒๔ เร่ืองเดยี วกัน, หนา ๑๘๙-๑๙๑.

๑๓ ประเทศพมา อินเดีย ยุโรปและอเมริกา เพื่องานพระธรรมทูต และทานไดสงอาจารยและนิสิตของ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไปศึกษาตอที่ประเทศพมา ศรีลังกาและอินเดีย และเร่ิมมีการสงพระ ธรรมทตู ไทยไปเผยแผพ ระพุทธศาสนาในประเทศตา ง ๆ ดงั รายละเอยี ดตอไปนี้ ประเทศอนิ เดยี โดยทา นศรยี วาหรลาล เนหร ู นายกรัฐมนตรีแหงอินเดีย ไดเชิญใหรัฐบาล ไทยไปสรา งวดั ณ ประเทศอินเดีย วัดไทยพุทธคยาจึงไดถูกสรางข้ึนท่ีตําบลพุทธคยา รัฐพิหาร ในราว พ.ศ. ๒๔๙๘-๒๕๐๐ จัดเปนวัดไทยวัดแรกในประเทศอินเดียและในตางประเทศ และไดสงพระสงฆ ไทยหรือพระธรรมทูต ไปประจําอยู ๕ รูป นําโดยสมเด็จพระธรี ญาณมุนี (ธีร ปุณณฺ กมหาเถร) ประเทศอังกฤษ โดยทานอานันทโพธ์ิ พระชาวแคนาดา ไดเดินทางไปที่ประเทศอังกฤษ และเปดสอนวิปสสนาท่ีกรุงลอนดอน ทานไดอาราธนาพระราชสิทธิมุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) ถึง ๓ ครั้ง โดยครั้งท่ี ๓ ไดอาราธนาผานรัฐบาลไทยและเม่ือไดรับอนุมัติจากรัฐบาลไทยแลว พระราชสิทธิมุนีจึง ไดรับอาราธนาและเดินทางไปประเทศอังกฤษ ใน พ.ศ. ๒๕๐๗ พรอมกับพระมหาวิจิตร ติสฺสทตฺโต และคณะ รวม ๕ รูป พระธรรมทูตคณะนี้ ถือวาไดรับการแตงตั้งเปนพระธรรมทูตชุดแรกและไดรับ มอบหมายจากคณะสงฆไทยใหไปทํางานในประเทศอังกฤษ โดยมีหนาที่ ๓ ประการ คือ ๑) เผยแพร พระพุทธศาสนาในภาคพื้นยุโรป ๒) สงเคราะหคนไทยท่ีอยูในอังกฤษ และ ๓) ดําเนินการสรางวัดใน ประเทศอังกฤษ ในท่ีสุดงานท่ีไดรับมอบหมายประสบความสําเร็จ และวัดไทยแหงแรกในประเทศ อังกฤษ ไดสรางสําเร็จราว พ.ศ. ๒๕๐๙ ในชื่อที่ไดรับพระราชทานวา วัดพุทธปทีป จัดเปนวัดไทยใน ตางประเทศแหง ทส่ี อง ประเทศสหรัฐอเมริกา คณะสงฆไทยเร่ิมเผยแผพระพุทธศาสนาในประเทศสหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. ๒๕๑๒ สมเด็จพระพุฒาจารย (อาจ อาสภมหาเถร) ไดจัดสงพระสงฆไปตางแดนเพ่ือฉลอง ศรทั ธาญาติโยมท่ตี อ งการทีพ่ ึ่งทางใจ และใน พ.ศ. ๒๕๑๕ รัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาไดนิมนต พระสงฆไทย จํานวน ๓ รูป ไปบรรยายธรรมและเผยแผคําสอนขององคสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจา ไดแก พระธรรมคุณาภรณ (สมเด็จพระพุฒาจารย (เก่ียว อุปเสโณ)) พระเทพวรเวที (สมเด็จพระมหา รชั มังคลาจารย (ชว ง วรปุญโฺ)) และพระศรีวสิ ทุ ธโิ มลี (สมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย (ป.อ. ปยุตฺโต))24๒๕ คนไทยในลอสแองเจลิส ซ่ึงถือเปนชุมชนที่ใหญที่สุดในสหรัฐอเมริกาไดสรางวัดไทยลอสแองเจลิสข้ึน เปนวัดแรกในสหรฐั อเมริกา ในชว ง พ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๑๕25๒๖ ๒๕ บิ๊กปว ย ใจไทย, ผเู รียบเรยี ง, 33 พระไทยไปนอกเพอื่ ใหฝรัง่ ไหว, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท เซเวน โมชัน่ เทคโนโลยี จํากดั , ๒๕๕๖), หนา คํานํา. ๒๖ มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั , พระพทุ ธศาสนาในประเทศไทย, หนา ๑๙๒-๑๙๗.

๑๔ หลังจากการสรางวัดไทยข้ึนในประเทศอินเดีย อังกฤษและสหรัฐอเมริกาพรอมกับการสง พระธรรมทูตไปปฏิบัติศาสนกิจ วัดไทยไดถูกสรางข้ึนในเกือบทุกประเทศที่มีชุมชนชาวไทย ท้ังใน เอเชีย ยุโรป อเมรกิ า ออสเตรเลียและนิวซีแลนด และมีการอาราธนาพระสงฆเพื่อไปปฏิบัติศาสนากิจ ในวัดเหลานั้นดวย ซึ่งในยุคตน ๆ พระสงฆหรือพระธรรมทูตมักไดรับการคัดเลือกโดยพระสงฆหรือ ชาวพุทธคฤหัสถในแตละวัดโดยใชความพอใจของแตละชุมชน พระสงฆเหลานั้นไมเคยผานการ ปฐมนิเทศหรือฝกอบรมเกี่ยวกับงานพระธรรมทูต ทําใหการไปทําหนาท่ีพระธรรมทูตไมมีเปาหมาย และทศิ ทางการทํางานท่ีชัดเจน จนเกิดเปนปญ หาอุปสรรคในการเผยแผพ ระพทุ ธศาสนาในเวลาตอมา จากปญ หาและอปุ สรรคทเี่ กิดข้นึ ไดมีการจัดโครงการฝกอบรมพระธรรมทูตเพ่ือไปปฏิบัติ หนาที่ทั้งในประเทศและตางประเทศข้ึนใน พ.ศ. ๒๕๐๗ แตโครงการอบรมพระธรรมทูตสาย ตางประเทศซึ่งเร่ิมข้ึนพรอม ๆ กับพระธรรมทูตในประเทศไดเกิดปญหาบางประการข้ึน จึงหยุดการ ดําเนินโครงการไปช่ัวระยะเวลาหนึ่ง และไดกลับมาดําเนินการอีกคร้ังหน่ึงใน พ.ศ. ๒๕๓๘ จนถึง ปจจุบันรุนท่ี ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๖๑) และเรียกพระสงฆผูเขารับการฝกอบรมและผานการฝกอบรมใน โครงการวา “พระธรรมทูตไปตางประเทศ” หรือ “พระธรรมทูตสายตางประเทศ” พระธรรมทูตที่ ไดร ับการอบรมอยางเปน ทางการ มี ๒ โครงการ ไดแก โครงการซ่ึงดําเนินการโดยสํานึกฝกอบรมพระ ธรรมทตู ไปตางประเทศ (ธรรมยุต) ในความอปุ ถมั ภข องมหาเถรสมาคม รวมกับมหาวิทยาลัยมหามกุฏ ราชวิทยาลัย กับโครงการอบรมพระธรรมทูตสายตางประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย รวมกับสมัชชาสงฆไทยในสหรัฐอเมริกา ทั้งสองโครงการรวมมือกับสํานักงาน พระพุทธศาสนาแหง ชาติ โดยไดรบั ความรว มมือจากหลายหนวยงาน สาํ นึกฝก อบรมพระธรรมทตู ไปตา งประเทศ (ธรรมยุต) มหาวิทยาลยั มหามกฏุ ราชวิทยาลัย มีวตั ถุประสงคใ นการฝก อบรมพระภกิ ษเุ ปนพระธรรมทตู ไปตางประเทศ ดงั น้ี ๑. เพื่อเตรียมพระธรรมทูตที่มีคุณภาพ มีศีลจารวัตรอันดีงาม มีความรูความสามารถ ทัง้ ในทางโลกและทางธรรม สงไปปฏิบตั ศิ าสนากจิ ประจําวดั ตาง ๆ ในตางประเทศ ๒, เพื่อฝกอบรมพระธรรมทูตใหมีความสามัคคี มีความม่ันใจในการปฏิบัติศาสนกิจ ดานการเผยแผใ นตา งประเทศ และใหมีหลักการสอนในทางเดยี วกันใหมากทส่ี ุด ๓. เพอ่ื สนองงานดานการเผยแผข องคณะสงฆแ ละมหาเถรสมาคม ๔. เพอื่ สบื ตอ อายพุ ระพุทธศาสนาและรกั ษาศรัทธาของชาวพุทธท่วั โลก26๒๗ ๒๗ พระมหาอรุณ อรุโณ, บรรณาธิการ, พระธรรมทูตในตางประเทศ (ธรรมยุต) รุนท่ี ๒๐ / ๒๕๕๗, (สมุทรสาคร : หา งหนุ สวนจํากดั ยูไนเต็ดโพรดักช่นั เพรส, ๒๕๕๗), หนา ๕๐.

๑๕ สวนโครงการอบรมพระธรรมทูตสายตางประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลยั มีวัตถุประสงคในการจดั ฝก อบรม ดงั น้ี ๑. เพอ่ื อบรมพระธรรมทูตใหมีความรู ความสามารถ จริยาวตั รงดงาม และความม่นั ใจ ในการปฏิบตั ิศาสนกจิ ในตา งประเทศยิ่งข้ึน ๒, เพ่ือจัดเตรียมพระธรรมทูตผมู ีคุณสมบัติเหมาะสมไวใ หแ กวัดไทยในเครือสมัชชา สงฆไ ทยในสหรัฐอเมรกิ าและวัดไทยในประเทศอน่ื ๆ ๓. เพอื่ สนองงานการเผยแผพระพทุ ธศาสนาในตางประเทศของคณะสงฆไทย27๒๘ การจัดอบรมพระธรรมทูตสายตางประเทศทั้งสองโครงการโดยมหาวิทยาลัยสงฆท้ังสอง แหงของประเทศไทย มีทิศทางและเปาหมายท่ีเปนไปในทิศทางเดียวกันในการพัฒนาพระธรรมทูตผู จะไปปฏิบัติศาสนากิจในตางประเทศ ใหมีความพรอมในดานตาง ๆ ท่ีจําเปนตอการปฏิบัติภารกิจใน ตางประเทศ ไดแก ดานความรูในเชิงปริยัติ ความสามารถในทางปฏิบัติ และผลทางดานปฏิเวธท้ัง จริยาวัตร ความสามารถในการถายทอดพระธรรมท่ีถูกตรงตามคําสอนของพระศาสดา และ ความสามารถในการสอนกมั มัฏฐานอนั เปน จุดเดน ของพระพทุ ธศาสนา เพ่ือสามารถสนองงานการเผย แผพ ระพุทธศาสนาในตา งประเทศใหเปน ไปอยา งมีประสิทธภิ าพ ในปจจุบัน การเผยแผพระธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธองค สวนหน่ึงจะผานพระสงฆที่ ไดรับการมอบหมายอยางเปนทางการจากคณะสงฆไทย ท้ังพระธรรมทูตในประเทศหรือพระธรรมทูต สายตางประเทศ ซ่ึงพระธรรมทูตท้ัง ๒ สายน้ีตองผานการฝกอบรมอยางเปนทางการ เพื่อใหมี หลักการ แนวทางและความพรอมในการปฏิบัติหนาที่พระธรรมทูตที่สอดคลองตามหลักพุทธธรรม และมีทิศทางเดียวกัน ๕. วิเคราะหบทบาทงานสืบทอดพระพุทธศาสนาของพระธรรมทตู ไทย มหาเถรสมาคมกําหนดบทบาทของคณะสงฆไทย โดยแบง เปนภารกจิ ๖ ดาน ดงั นี้ ๑. ดานการปกครอง เปนบทบาทของเจาอาวาสหรือเจาคณะปกครองในการดําเนินการ สอดสอง ดูแล รักษาความเรียบรอยดีงาม เพื่อใหพระภิกษุสามเณรท่ีอยูในวัดหรือในปกครอง ปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัย กฎหมาย กฎ ขอบังคับ ระเบียบ คําส่ัง ประกาศของมหาเถรสมาคม หรือพระ บัญชาของสมเด็จพระสังฆราช ครอบคลุมถึงพระภิกษุผูทําหนาท่ีเปนเจาคณะปกครองทุกระดับ นับตั้งแตผูชวยเจาอาวาส รองเจาอาวาส เจาอาวาส เจาคณะตําบล เจาคณะอําเภอ เจาคณะจังหวัด เจาคณะภาค เจาคณะใหญ (หน) ๒๘ คณะพระธรรมทูตรุนที่ ๑, อนุสรณพระธรรมทูตสายตางประเทศ (รุนท่ี ๑), (กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘), หนา ๑๑๕-๑๑๖.

๑๖ ๒. ดา นการศาสนศึกษา เปนบทบาทในการจดั การศึกษาพระปริยัติธรรมของคณะสงฆ ทั้ง แผนกธรรม-บาลีและแผนกสามัญศึกษา การศึกษาระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆท้ังสองแหง ครอบคลุมถึงการที่พระภิกษุทําหนาที่เปนครูสอน เปนกรรมการตรวจขอสอบธรรมบาลีสนามหลวง เปนเลขานุการสอบธรรม-บาลีสนามหลวง เปนผูอํานวยการหรือเปนประธานจัดสอบธรรม-บาลี สนามหลวง และเปน เจา สาํ นักเรียนในฐานะท่เี ปนเจา อาวาส นอกจากน้ี ยังรวมถงึ การศกึ ษาพระปริยัติ ธรรมทุก ๆ วิธีที่ไมข ดั ตอ พระธรรมวนิ ยั ๓. ดานการเผยแผ เปน บทบาทดานการดําเนินการประกาศพระพุทธศาสนาใหประชาชน ไดรับทราบในทุก ๆ วิธี ที่ไมขัดตอพระธรรมวินัย โดยมุงเนนใหประชาชนไดมีความรูความเขาใจใน หลกั ธรรมคาํ สอนและนอมนําไปปฏบิ ัตใิ นชีวิตประจําวัน ไดแก การเทศนา การปาฐกถาในโอกาสและ สถานท่ีตาง ๆ ทั้งในวัดและนอกวัด การบรรยายธรรมทั้งทางวิทยุและโทรทัศน การเผยแผธรรมดวย ส่ือตางๆ เชน หนังสือ หนังสือพิมพ วีดิทัศน หรือส่ือออนไลน ครอบคลุมถึงการท่ีวัดหรือพระภิกษุจัด กิจกรรมตาง ๆ โดยมีวัตถุประสงคเพื่อการเผยแผธรรมหรือตองการใหประชาชนปฏิบัติธรรม หรือ มุง เนน สืบสานวฒั นธรรมไทยที่ไดรับอิทธิพลจากหลักพระพทุ ธศาสนา เชน การจดั งานในวันสําคัญทาง พระพุทธศาสนา การจัดงานเทศนมหาชาติ การจัดงานในวันสําคัญของไทย การจัดโครงการบรรพชา สามเณรภาคฤดูรอน การจัดโครงการบวชเนกขัมมจาริณี การจัดใหมีการแสดงธรรมในวันธัมมสวนะ หรือการจัดสงพระภิกษุไปสอนศีลธรรมแกนักเรียนตามโรงเรียนตาง ๆ เปนตน ทั้งน้ีการเผยแผดวย กจิ กรรมเหลา นี้ตอ งดาํ เนินงานโดยไมข ดั กับระเบียบมหาเถรสมาคมวาดวยการเผยแผพระพุทธศาสนา นั่นคือ การดําเนินการของพระภิกษุในพระพุทธศาสนาที่เปนไปเพื่อการเผยแผธรรมทาง พระพุทธศาสนาทั้งในวดั และนอกวดั ๔. ดานสาธารณูปการ เปนบทบาทซ่ึงวัดหรือพระภิกษุดําเนินการเก่ียวกับการพัฒนาวัด ดานอาคารสถานที่และสิ่งแวดลอม ดานการกอสราง การซอมแซม การจัดใหมีการบํารุงดูแลรักษา ถาวรวัตถุหรือสาธารณสมบัติของวัด โดยคํานึงถึงการสรางส่ิงท่ีจําเปน รักษาส่ิงท่ีมีอยูแลว และ ซอมแซมส่งิ ทช่ี ํารดุ ทรุดโทรมใหค งสภาพไว เพอื่ ประโยชนแ กชมุ ชนและพระสงฆ ๕. ดานการศึกษาสงเคราะห เปนบทบาทในการดําเนินการจัดการศึกษาท่ีเนนการปลูกฝง คณุ ธรรม จริยธรรมแกเด็กและเยาวชน ใหมีความรูความเขาใจหลักธรรมคําสอนทางพระพุทธศาสนา เพ่ือใหสามารถดํารงตนและดําเนินชีวิตในสังคมไดอยางมีความสุข และเปนพลเมืองท่ีมีความรูคู คุณธรรมของประเทศ นน่ั คือ การดําเนนิ การใด ๆ ของพระภกิ ษุโดยไมขัดตอพระธรรมวินัยเปนไปเพื่อ การสง เสริมการศึกษาแกเดก็ และเยาวชนทีอ่ ยใู นวัยเรยี น ๖. ดานการสาธารณสงเคราะห เปนบทบาทของวัดหรือพระภิกษุสงฆในการดําเนินการ ชวยเหลือสังคมในรูปแบบตาง ๆ ท่ีไมขัดตอพระธรรมวินัย โดยมุงเนนเพื่อประโยชนและความสุขแก

๑๗ ประชาชนเปนสาํ คญั เชน การสงเคราะหพระภิกษุสามเณรและวัดที่ประสบภัยและขาดแคลน การให วัดเปนสถานที่ประกอบการกุศลเก่ียวกับเร่ือง เกิด แก เจ็บ ตาย เชน การสวดศพ การเผาศพ การ ทําบุญอุทิศ การถวายสังฆทาน เปนตน การใหวัดเปนสถานท่ีจัดฝกอบรมประชาชนดานอาชีพตาง ๆ การสงเคราะหผูปวยโรคราย หรือผูปวยยากไร การจัดใหมีโรงทาน การชวยเหลือผูประสบอุทกภัย หรอื การบาํ เพญ็ สาธารณประโยชนต า ง ๆ เปนตน28๒๙ บทบาทท้ัง ๖ ดา นนี้ ใชเ ปน แนวทางปฏบิ ัติในการบรหิ ารจัดการวัดและชุมชนสงฆ ในสวน ของพระธรรมทูตนั้น บางทานมีบทบาทครอบคลุมทั้ง ๖ ดาน ขณะท่ีพระธรรมทูตสวนใหญจะมี บทบาทท่ีไมครอบคลุมท้ัง ๖ ดาน เนื่องจากไมมีตําแหนงทางการปกครอง หรือยังมีคุณสมบัติไม เพียงพอตอบทบาทบางดาน ซึ่งบทบาทและคุณสมบัติของพระธรรมทูตโดยท่ัวไปน้ี จะกลาวถึงใน ทัศนะทีห่ ลากหลาย ดงั นี้ ในทูเตยยสูตร พระพุทธองคกลาวถึงคุณสมบัติของภิกษุผูจะทําหนาท่ีทูตวาควรมีธรรม ๘ ประการ คือ ๑) รูจักฟง ๒) สามารถพูดใหผูอ่ืนฟงได ๓) ใฝศึกษา ๔) ทรงจําไดดี ๕) เปนผูรูไดเขาใจ ชัด (เปนผูรูความหมายของส่ิงท่ีเปนประโยชนและไมเปนประโยชน) ๖) สามารถพูดใหผูอื่นเขาใจได ๗) ฉลาดในส่ิงที่เปนประโยชนและไมเปนประโยชน และ ๘) ไมกอความทะเลาะวิวาท ซึ่งภิกษุที่พระ พุทธองคต รสั ถึงวา มคี ุณสมบัติครบท้ัง ๘ ประการนี้ ไดแก พระสารีบุตร โดยมีคําอธิบายวา ภิกษุผูเขา สูชุมชนที่โตเถียงกันอยางรุนแรง ก็ไมสะทกสะทาน ไมทําคําพูดใหเสียหาย ไมปกปดขาวสาสน ช้ีแจง อยา งไมมขี อ สงสัย ถูกยอ นถาม กไ็ มโ กรธ ภิกษผุ มู ีลักษณะเชนน้ี ควรทําหนาท่ที ตู ได29๓๐ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ไดประทานคติแกพระธรรมทูตสรุปความวา “พระภิกษุทุกรูปที่ไดรับมอบหมายหนาท่ีสําคัญใหเปนทูตเชิญพระพุทธศาสนาไปเผยแผใน ตางประเทศ เปนหนาที่ท่ีมีเกียรติและมีมงคลอยางย่ิงแกผูไดรับมอบที่ปฏิบัติดวยความเทิดทูนรักษา เต็มสติปญญาความสามารถ ขอใหนกึ ถึงความสาํ คญั น้ีทุกลมหายใจ อยาใหอะไรอ่ืนมีอํานาจเหนือกวา เรา จนทําใหคิด พูด ทํา ไปตาง ๆ นา ๆ ท่ีจักพาความเศราหมองใหเกิดขึ้นหอมลอมพระพุทธศาสนา ที่สุดประเสริฐ ขอใหเปนผูศึกษาพระพุทธศาสนา ปฏิบัติพระพุทธศาสนา และมีความตั้งใจท่ีจะเปน พระธรรมทูต นําพระธรรมคําส่ังสอนของพระบรมศาสดาไปเผยแผแกชาวตางประเทศใหไดรับแสง สวา งแหง ธรรมอนั พระบรมศาสดาตรัสไวดแี ลว โดยใหส มควรแกก ารปฏิบตั ”ิ 30๓๑ ๒๙ สํานักงานพระพุทธศาสนาแหงชาติ, คูมือการติดตามประเมินผลการจัดกิจกรรมท่ีเปนมาตรฐาน สําหรบั วดั , (กรงุ เทพมหานคร: โรงพิมพส ํานกั งานพระพุทธศาสนาแหง ชาติ, ๒๕๕๐), หนา ๓-๖. ๓๐ ดรู ายละเอียดใน องฺ.อฏฐก. (ไทย) ๒๓/๑๖/๒๔๒-๒๔๓. ๓๑ กองบรรณาธิการ คณะพระธรรมทูตรุนที่ ๑๑, พระธรรมทูตสายตางประเทศ รุนที่ ๑๑, (กรุงเทพมหานคร : หจก. โมชัน่ พรีเพรส, ๒๕๔๘), ปกใน พระวรธรรมคต.ิ

๑๘ สมเด็จพระพุฒาจารย (เกี่ยว อุปเสโณ) ประทานโอวาทไววา “พระธรรมทูตตองทํางาน รวมกัน อยางชิงดีชิงเดนกัน ใหแขงกันดีแขงกันเดน ชิงดีชิงเดนคือแยงความดีของคนอ่ืนมาเปนของ เรา ใครจะทาํ กช็ า ง แตเ ราเปนพระธรรมทตู เราไมทํา เราจะทําเพียงอยางเดียวคือเราทําดี และเราแขง กันทําดี ใหพระธรรมทูตรูสึกวา ไปทํางานที่ไหนใหเช่ือมโยงประสานกัน ตองสามัคคีกัน เราเปน พระสงฆสาวกของพระพทุ ธเจา ตองรวมกันเปนอันหน่ึงอันเดียวกัน เชื่อมประสานกันใหเปนกลุมกอน มีอะไรใหส่ือสารกันใหเ ขาใจ”31๓๒ ทานพุทธทาสภิกขุ ไดมอบคติธรรม ๓ ประการ ซึ่งพระธรรมทูตสามารถนํามาพิจารณา ไดดังน้ี ๑) พระธรรมทูตจะตองทําตนใหเปนตัวอยางแกผูอ่ืน นั่นคือ ทําใหดู ๒) ดําเนินชีวิตอยางมี ความสุขใหคนอ่ืนเห็นดวยตาหรือเห็นชัดเจนวาทําได น่ันคือ อยูใหเห็น และ ๓) ดํารงตนเปนผูท่ีมี จิตใจเยอื กเยน็ และมีความสงบ ซ่ึงบุคคลรอบ ๆ ตวั สัมผัสได นัน่ คือ เยน็ ใหสมั ผัส32๓๓ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย กลาววา พระธรรมทูตสายตางประเทศตองเปนผูเขมแข็ง อดทนตอสภาพแวดลอมและวัฒนธรรมที่แตกตาง ตองระวังจิตใจมิใหหว่ันไหวตออิฏฐารมณและ อนิฏฐารมณจงึ จะสามารถชว ยกนั สรรคสรางบุญสถานในตา งแดนอนั เปน สือ่ ใหม นุษยเขา ถึงธรรมได33๓๔ พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) กลาวถึง คุณสมบัติและบทบาทของพระธรรมทูตสาย ตางประเทศ ไวดังน้ี คุณสมบัติ ๓ ประการ ไดแก ๑) มั่นใจในคุณคา ความดีงาม ความประเสริฐของ พระพุทธศาสนาหรือพุทธธรรมที่ตนจะนําไปเผยแพร และตองมั่นใจวา พระพุทธศาสนามีอะไรดีที่จะ ใหแกชาวโลก โดยเฉพาะแกแผนดินที่จะไป ๒) มั่นใจในวินัยของพระสงฆ มีระเบียบวินัยแบบแผน ความประพฤติ ยืนหยัดในการประพฤติตามหลักพระวินัย ซ่ึงมีความผสมผสานกับวัฒนธรรมของไทย มีความมน่ั ใจในระเบยี บวนิ ยั ไมหว่นั ไหวงา ย และ ๓) ม่ันคงทางจิตใจ มีคณุ ธรรม มสี ่งิ ดี ๆ ท่ีแสดงใหผู อยูใ นทอ งถิ่นท่ีจะไปไดเหน็ ทางดานจิตใจ34๓๕ ดานบทบาทของพระธรรมทูตสายตางประเทศ กลาวไว ๓ ประการ ไดแก ๑) ทําใหวัดไทยเปนศูนยรวมจิตใจและศูนยกลางของชุมชนไทย หมายรวมถึง วัฒนธรรมไทย และควรมีการสอนภาษาไทยแกเด็กไทยในตางแดนดวย ๒) เผยแพรพุทธธรรมแกผูที่ เปนเจาของดินแดนท่ีเขาไป โดยพิจารณาวา พระพุทธศาสนาจะประดิษฐานมั่นคงในดินแดนใด คน ๓๒ เรอื่ งเดียวกัน, ปกใน. ๓๓ อางถึงใน พระศรีปริยัติโมลี (สมชัย กุศลจิตฺโต), พุทธศาสตรรวมสมัย ๒, พิมพคร้ังท่ี ๒, (กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณร าชวิทยาลยั , ๒๕๔๗), หนา ๒๓๑-๒๓๒. ๓๔ กองบรรณาธิการ คณะพระธรรมทูตรุนที่ ๑๕, พระธรรมทูตสายตางประเทศ รุนที่ ๑๕, (กรงุ เทพมหานคร: บริษัท อมรนิ ทรพ ริ้นตง้ิ แอนดพับลิชช่งิ จาํ กัด (มหาชน), ๒๕๕๒), อนโุ มทนากถา. ๓๕ พระธรรมปฎ ก (ป. อ. ปยุตโฺ ต), พระธรรมทูตไทย เบิกทางสอู ารยธรรมใหม, (มหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ จัดพิมพเปนอนุสรณเน่ืองในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณพอสําราญ อารยางกูร เปนกรณพี ิเศษ), ๒๕๓๙), หนา ๑๗-๒๒.

๑๙ ดินแดนน้ันตองเปนชาวพุทธ และมีการบวชเปนพระ เพ่ือทําหนาที่ในการเผยแผพระพุทธศาสนาใน ดินแดนนั้นตอไป และ ๓) ทําตามหลักการของพระพุทธเจาท่ีวา จาริกไปเพ่ือประโยชนเก้ือกูล เพื่อ ความสขุ ของคนจาํ นวนมาก เพ่อื อนเุ คราะหชาวโลก การทําเพ่ือประโยชนน้ี เปนการทําเพ่ือประโยชน บางอยาง แตไมใชเพื่อไปแยงชิงผลประโยชนจากดินแดนอื่นมาสูตัวพระธรรมทูต แตเปนประโยชน ในทางท่จี ะทําใหเกดิ ความเจริญงอกงามที่ไมไ ดเปนผลเสียแกใคร35๓๖ พระพรหมวชิรญาณ กลาววา พระธรรมทูตเปนผูมีบทบาทสําคัญในการเผยแผ พระพทุ ธศาสนา เพราะเปนผูที่ไดรับมอบหมายจากคณะสงฆใหจาริกไปสูที่ตาง ๆ ท้ังใกลและไกล ท้ัง ในประเทศและตางประเทศ เพื่อนําหลักธรรมคําสั่งสอนของพระผูมีพระภาคเจาเขาไปสูจิตใจของ ประชาชน โดยเฉพาะพระธรรมทูตสายตางประเทศน้ัน เปนพระภิกษุสงฆผูผานการฝกอบรมความรู ความสามารถในงานดานเผยแผพระพุทธศาสนาในตางประเทศอยางเครงครัด เพื่อสามารถประกาศ พระพทุ ธศาสนาใหม ีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจนเปน ทแ่ี พรหลายในนานาอารยประเทศ36๓๗ พระศรีปรยิ ตั โิ มลี (สมชัย กสุ ลจติ ฺโต) ไดสรปุ ไวว า งานพระธรรมทูตเปนหนาท่ีของพวกเรา หรือเปนหนาท่ีของชาวพุทธทุกคน ไมวาจะเปนบรรพชิตหรือคฤหัสถ ดวยเหตุผล อยางนอย ๓ ประการ คือ ๑) เปนการปฏิบัติหนาที่และใหบางส่ิงบางอยางตอบแทนคุณขององคสมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจา ๒) เปนการเผยแผพุทธธรรมคือสรางความมั่นคงและสืบตอพระพุทธศาสนาใหยืน ยาวตอไป ตราบใดที่พระพุทธศาสนายังคงดํารงอยู ตราบนั้นความเมตตาการุณย สันติภาพ ความ บริสุทธ์ิและแสงสวางแหงปญญาก็ยังคงสถิตยสถาพรอยูคูโลก และ ๓) เปนการปลุกจิตสํานึกและ กระตุนเตือนใหผูเกียจครานในการเผยแผคําสอนของพระพุทธเจาหรือละเลยไมเอาธุระในการ ประกาศพระสัทธรรมของพระพุทธเจา (วา) ผูเชนนั้น ชื่อวาทําบาปอันใหญหลวงและจะนําสูการ ทาํ ลายตนเองของพระธรรมทตู 37๓๘ พระธรรมทูตมีบทบาทสําคัญ ทําหนาท่ีในการประกาศพระศาสนาและเผยแผพระ สัทธรรมของพระพุทธองคไปในดินแดนตาง ๆ ที่ยังไมเคยไดยินคําสอนเชนนี้ หรือไดยินแลวแตยังมี ความเขา ใจไมถ ึงแกน เพอื่ ใหช นจาํ นวนมากไดร บั ประโยชนแ ละความสุข ซ่ึงถือเปนบทบาทหลักที่พระ พุทธองคทรงดาํ รัสไว นอกจากน้ี คณะสงฆซึง่ รวมถึงพระธรรมทูตในยคุ ปจ จุบัน ยังมีบทบาทในดานอ่ืน ๆ รวม ๖ ดาน ตามที่มหาเถรสมาคมไดกําหนดไว ไดแก ดานการปกครอง ดานการศาสนศึกษา ดาน การเผยแผ ดานสาธารณูปการ ดานการศึกษาสงเคราะห และดานการสาธารณสงเคราะห และในดาน ๓๖ เร่ืองเดียวกนั , หนา ๒-๑๗. ๓๗ กองบรรณาธิการ คณะพระธรรมทูตรุน ท่ี ๑๕, พระธรรมทูตสายตา งประเทศ รุนท่ี ๑๕, อนุโมทนา กถา. ๓๘ พระศรปี รยิ ตั ิโมลี (สมชยั กุศลจติ โฺ ต), พุทธศาสตรร วมสมัย ๒, หนา ๒๔๑-๒๔๒.

๒๐ คุณสมบัติที่พระธรรมทูตตองมีน้ัน พระพุทธองคระบุไว ๘ ประการ ไดแก ๑) รูจักฟง ๒) สามารถพูด ใหผูอื่นฟงได ๓) ใฝศึกษา ๔) ทรงจําไดดี ๕) เปนผูรูไดเขาใจชัดถึงสิ่งท่ีเปนประโยชนและไมเปน ประโยชน ๖) สามารถพดู ใหผูอ ื่นเขาใจได ๗) ฉลาดในสิ่งทเี่ ปน ประโยชนแ ละไมเ ปน ประโยชน และ ๘) ไมกอการทะเลาะวิวาท ในยุคปจจุบัน การเผยแผพระพุทธศาสนาไปในพื้นที่ตาง ๆ มีความ เปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งสภาพสังคมและวัฒนธรรมท่ีหลากหลายและมีความซับซอนมากขึ้น บทบาท หลักและคุณสมบัติท่ีพึงมีของพระธรรมทูตยังไมเปล่ียนแปลง แตพระธรรมทูตสายตางประเทศตองมี คณุ สมบัติเพิ่มเตมิ บางประการเพอ่ื ใหก ารประกาศพระศาสนามีความราบร่นื เกิดปญ หานอยที่สุด ไดแก ความรูดานภาษาถิ่นของดินแดนที่ตองเดินทางไป และความรูเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีและ กฎหมายของทองถิ่นน้ัน ๆ เพ่ือใหสามารถดํารงสมณเพศและเผยแผพระศาสนาโดยเกิดปญหาและ อปุ สรรคนอยทีส่ ดุ ๖. สรุป สิ่งท่ีองคสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจาตรัสรูและนํามาเปดเผยดวยพระองคเองและเผยแผ โดยพระสงฆสาวกจนทําใหพระพุทธศาสนาสามารถต้ังม่ันมาจนถึงปจจุบันกวา ๒,๖๐๐ ปน้ัน พระ พุทธองคไดทรงมอบปณิธานแกพระอรหันตสาวกหรือพระธรรมทูตรุนแรก ซึ่งปณิธานดังกลาวเปน เสมือนหลักการสําคัญที่พระสงฆสาวกทุกรูปครอบคลุมถึงพระธรรมทูตตองถือปฏิบัติเพ่ือเปนหลักใน การประกาศพระศาสนาใหม เี ปา หมายและเปน ไปในทิศทางเดียวกัน สิ่งที่ทรงเผยแผนั้นปรากฏในพระ สูตรตาง ๆ หลังการตรัสรูจนถึงเวลาเสด็จดับขันธปรินิพพาน ท้ังเพื่อประโยชนในเบื้องตนเพื่อการใช ชีวิต ณ ขณะปจจุบัน ในทามกลางและไปจนถึงประโยชนในที่สุด หรือการบรรลุนิพพาน ซึ่งเปน หลักธรรมสําคัญและโดดเดนที่สุด และถือวาเปนเปาหมายที่สําคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ดังนั้น บทบาทของพระภกิ ษุสงฆไมวาจะไดรบั การแตงต้ังใหท ําหนาที่อยางเปน ทางการที่เรียกวาพระธรรมทูต หรือไมมีการแตงตั้งอยางเปนทางการเพื่อทําหนาท่ีเผยแผพระพุทธศาสนาก็ตาม แตพระสงฆยอมมิ อาจหลีกเลยี่ งหนาที่ดังกลาวได แมวาในยุคพุทธกาลจะมีพระอรหันตจํานวนมาก ทําหนาท่ีในการเผย แผพระศาสนา แตยังคงมีพระภิกษุสงฆท่ียังไมไดดวงตาเห็นธรรมหรือเปนพระอรหันตอยูจํานวนไม นอยที่ยังทําหนาที่เผยแผพระพุทธศาสนาตอมาจนถึงปจจุบัน พระภิกษุสงฆที่ยังตองศึกษาเพื่อให เขาใจธรรมะอยา งลกึ ซึ้งจนอยจู บพรหมจรรย และตอ งพฒั นาตนเองใหมีคุณสมบัติของพระธรรมทูต ๘ ประการ เพ่อื ใหสามารถทําหนาท่ีตอบแทนพระคุณขององคพระศาสดาในการปฏิบัติตามปณิธานของ พระพุทธองคซึ่งทรงประทานแกพระสาวกชุดแรกในการประกาศพระศาสนา และการปฏิบัติตาม บทบาท ๖ ดานของคณะสงฆ เพ่ือใหการทําหนาท่ีเปนอันหน่ึงอันเดียวกันและสรางความม่ันคงแก พระพุทธศาสนาสบื ตอไป

๒๑ บรรณานกุ รม ๑. ภาษาไทย: ก. ขอ มลู ปฐมภูมิ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรงุ เทพมหานคร: โรงพิมพม หาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙. ________. พระไตรปฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปฏก.ํ กรงุ เทพมหานคร: โรงพิมพม หาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย, ๒๕๓๕. ข. ขอ มูลทตุ ยิ ภมู ิ (๑) หนงั สอื : กรมประชาสงเคราะห. ระเบียบคณะพระธรรมจาริกวาดวยการบริหารโครงการพระธรรมจาริก. กรุงเทพมหานคร: นีลนาราการพมิ พ, ๒๕๓๔. คณะพระธรรมทูตรุนท่ี ๑. อนุสรณพระธรรมทูตสายตางประเทศ (รุนท่ี ๑). กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พม หาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘. บ๊ิกปวย ใจไทย, ผูเรียบเรียง. 33 พระไทยไปนอกเพื่อใหฝรั่งไหว. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เซเวน โมชั่น เทคโนโลยี จํากดั , ๒๕๕๖. พระครูธรรมธรสุรสิทธ์ิ สุทฺธจิตฺโต, บรรณาธิการ. พระธรรมทูตสายตางประเทศ รุนท่ี ๑๕. กรุงเทพมหานคร: บริษทั อมรินทรพ ร้ินต้ิงแอนดพ บั ลชิ ชิง่ จาํ กัด (มหาชน), ๒๕๕๒. พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). ประวัติศาสตรพระพุทธศาสนา. พิมพค รงั้ ท่ี ๕. กรุงเทพมหานคร: มหามกฏุ ราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘. พระธรรมกิตตวิ งศ (ทองดี สุรเตโช). พจนานกุ รมเพอื่ การศึกษาพทุ ธศาสน “คําวัด”. พิมพครั้งท่ี ๓. กรงุ เทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบนั ลือธรรม, ๒๕๕๑. พ ร ะ ธ ร ร ม ป ฎ ก ( ป . อ . ป ยุ ตฺ โ ต ) . พ ร ะ ธ ร ร ม ทู ต ไ ท ย เ บิ ก ท า ง สู อ า ร ย ธ ร ร ม ใ ห ม . มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ จัดพิมพเปนอนุสรณเนื่องในงาน พระราชทานเพลงิ ศพ คุณพอสําราญ อารยางกูร เปน กรณพี เิ ศษ, ๒๕๓๙. พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท. พิมพครั้งท่ี ๒๓. กรงุ เทพมหานคร: สํานักพิมพผ ลธิ มั ม, ๒๕๕๘.

๒๒ ________. กาลานุกรม พระพุทธศาสนาในอารายธรรมโลก. พิมพครั้งท่ี ๘. กรุงเทพมหานคร: สํานกั พิมพผลิธัมม, ๒๕๕๘. พระมหาสํารวย ขิปฺปฺโญ, บรรณธิการ. พระธรรมทูตสายตางประเทศ รุนท่ี ๑๑. กรงุ เทพมหานคร: หจก.โมชน่ั พรีเพรส, ๒๕๔๘. พระมหาอรุณ อรุโณ, บรรณาธิการ. พระธรรมทูตไปตางประเทศ (ธรรมยุต) รุนท่ี ๒๐ / ๒๕๕๗. สมทุ รสาคร: หางหนุ สวนจํากดั ยูไนเตด็ โพรดักชั่น เพรส, ๒๕๕๗. พระศรีปริยัติโมลี (สมชัย กุศลจิตฺโต). พุทธศาสตรรวมสมัย ๒. พิมพครั้งท่ี ๒. กรุงเทพมหานคร: มหาจฬุ าลงกรณร าชวิทยาลยั , ๒๕๔๗. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระพุทธศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพม หาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลยั , ๒๕๔๗. วศิน อินทสระ. ประวัติศาสตรพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียและประเทศไทย. พิมพคร้ังท่ี ๒. กรงุ เทพมหานคร: สาํ นักพิมพบ รรณาคาร, ๒๕๓๕. ส. พลายนอย. ตามรอยพระพทุ ธประวตั .ิ พิมพค ร้ังท่ี ๒. กรงุ เทพมหานคร: บรษิ ัทสถาพรบุคสจํากัด, ๒๕๕๘. สํานักงานพระพุทธศาสนาแหงชาติ. คูมือการติดตามประเมินผลการจัดกิจกรรมท่ีเปนมาตรฐาน สําหรับวัด. กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พส ํานักงานพระพุทธศาสนาแหงชาติ, ๒๕๕๐. สงา พมิ พพ งษ. คมู อื พระธรรมทูต. กรงุ เทพมหานคร: สํานกั งานพระพทุ ธศาสนาแหง ชาติ, ๒๕๕๑. ม.ป.ช. พระธรรมทตู ไปตา งประเทศ (ธ) รนุ ที่ ๗ (ธรรมทตู านสุ รณ ๗/๒๕๔๔). ม.ป.พ. ม.ป.ช. มิลินทปญหา. พิมพครั้งท่ี ๒. กรุงเทพมหานคร: สาํ นักพิมพศลิ ปาบรรณาคาร, ๒๕๔๙. (๒) วิทยานิพนธ: พระมหาสายเพชร วชิรเวที (หงษแพงจิตร). “การศึกษาบทบาทและวิธีการเผยแผพระพุทธศาสนา ของพระนาคเสนเถระ”. วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑติ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บณั ฑติ วิทยาลยั : มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย, ๒๕๔๙.

๒๓ ๒. ภาษาอังกฤษ: B. Secondary Sources: (1) Books: Pesala, Bhikkhu. The Debate of King Milinda : an abridgement of The Milinda Panha. Delhi: Motilal Banarsidass, 1998.