Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วิจัย-การพัฒนาความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวัย

วิจัย-การพัฒนาความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวัย

Published by jine77, 2022-11-08 23:56:46

Description: วิจัย-การพัฒนาความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวัย

Search

Read the Text Version

1

2 1. ชอ่ื -นามสกุล นางวณิชชา ประมาณ ตาแหน่ง ครู วทิ ยฐานะ ครูชานาญการพเิ ศษ 2. โรงเรียนเทศบาลแมเ่ มาะ สงั กัด กองการศึกษา ศาสนา และวฒั นธรรม เทศบาลตาบลแมเ่ มาะ 3. ชื่อเร่ืองวิจัย ผลการพัฒนาความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวัย โดยการจัดกิจกรรมเสริม ประสบการณ์ 4. ความเปน็ มาและความสาคัญของปัญหา หลักสูตรการศึกษาปฐมวยั พุทธศกั ราช 2560 ไดก้ ล่าวถงึ ปรัชญาการศกึ ษาไวว้ า่ การศึกษาปฐมวัย เป็นการพัฒนาเด็กต้ังแต่แรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์อย่างเป็นองค์รวม บนพ้ืนฐานการอบรมเล้ียงดูและการ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคนให้เต็มศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยความรัก ความเอ้ืออาทรและความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เกิดคุณค่าต่อตนเองครอบครัว สังคมและประเทศชาติ ตามที่หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 ซึ่งให้ความสาคัญกับ พัฒนาการทางสตปิ ัญญาทเี่ กยี่ วกับทักษะทางภาษา โดยกาหนดไว้ในมาตรฐานท่ี 9 การใช้ภาษาสื่อสารได้ เหมาะสมกับวัย ได้กาหนดสภาพที่พึงประสงค์ไว้ว่า ฟังผู้อื่นพูดจนจบและสนทนาโต้ตอบอย่างต่อเน่ือง เชื่อมโยงกบั เรื่องทฟ่ี ัง (กระทรวงศกึ ษาธิการ, 2560) เด็กปฐมวัยจาเป็นจะต้องเรียนรู้ภาษา เพื่อใช้ในการสื่อความหมาย ความคิด จินตนาการ การ แสดงออก หากเด็กปฐมวัยสามารถเข้าใจภาษา และสื่อสารได้ ก็จะเกิดการเพิ่มพูนการการเรียนรู้ในด้าน ต่าง ๆ รวมไปถึงการเกิดพัฒนาการทางสังคมไปด้วย (รสสุคนธ์ แนวบุตร, 2557) การที่เด็กปฐมวัยจะ พฒั นาภาษาและความสามารถในการสอ่ื สารไดน้ ั้น ทกั ษะการฟัง และการพดู ถือเปน็ ทกั ษะพนื้ ฐานท่ีสาคัญ ท้ังน้ีเน่ืองจากเด็กวัยนี้เป็นวัยที่เรียนรู้ภาษาตามลาดับข้ัน โดยเร่ิมจากความคุ้นเคยจากการได้ยิน ได้ฟัง ไปสู่การพูดและการสนทนา (กุลยา ตันติผลาชีวะ, 2551) กล่าวอีกนัยหน่ึง การฟังเป็นทักษะพื้นฐานสุด ของการเรียนรแู้ ละพฒั นาภาษา ขอ้ มลู ทางภาษาจะถกู เก็บในความจาของเด็ก เพ่อื จะนาไปใช้ในการพูด การอา่ นและการเขียนตอ่ ไป ดงั ทน่ี ิตยา ประพฤติกิจ (2556) ได้เสนอแนะว่า การฝึกให้เด็กรู้จักฟังจะช่วย ใหเ้ ดก็ เพิ่มพนู คาศัพท์ เรียนรู้เกย่ี วกบั ประสบการณโ์ ครงสร้างของภาษาพูดและเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ มาก ขึน้ ซ่ึงจะช่วยให้เด็กใชภ้ าษาพดู ถกู ต้องยิ่งขึน้ รู้จักพดู คุยกับเพือ่ นฝงู ท้งั ยงั กระตุ้นใหเ้ ดก็ ใช้จนิ ตนาการ การสอนภาษาสาหรบั เด็กปฐมวัยมหี ลกั การสาคญั คือต้องสามารถสร้างความสุขขณะท่ีเรียนและ สามารถเพม่ิ พนู พฒั นาการทางภาษาของผเู้ รยี นได้ (อารีย์ คาสงั ฆะ, 2554) การนาวรรณกรรม เช่น นิทาน เทพนยิ าย หรือเรือ่ งเลา่ มาใช้ในการจดั กจิ กรรมการเรียนการสอนไม่เพียงแต่จะฝึกทักษะทางภาษา ยังทา ให้เกดิ บรรยากาศสนุกสนานอันส่งผลต่อการเสริมสร้างความจา เกิดจินตนาการและช่วยสร้างพัฒนาการ ทางภาษาแก่เดก็ ท่ีฟังนิทาน เด็กคนใดฟังนิทานมากเด็กคนนั้นจะรู้มีโอกาสได้เรียนรู้คาศัพท์ที่หลากหลาย และนาไปเก็บในคลังคาศัพท์ของตน และเมื่อถึงเวลาจะนาไปใช้ ก็สามารถจะดึงคลังคาที่มีออกมาใช้ได้ (นิตยา ประพฤติกิจ, 2556) และการส่งเสริมความสามารถทางด้านการฟังของเด็กปฐมวัย คือ การจัด ประสบการณ์ เพอื่ ฝกึ ทักษะความสามารถทางภาษาด้านการฟังเช่น ฟังเสยี งธรรมชาติ ฟังเสียงที่เกิดขึ้นใน ชวี ติ ประจาวัน ฟงั เสยี งเคร่อื งดนตรี ฟงั เสียงจากวิทยุโทรทัศน์ วีดิทัศน์ ฟังเร่ืองราวที่เล่าแล้ว สามารถเล่า เรื่องได้ ได้แก่ นทิ าน ขา่ วหรอื เหตกุ ารณต์ า่ งๆ เป็นตน้ (อบุ ล เมืองสมทุ ร,2540)

3 จากท่ีกล่าวมาข้างต้น ความสามารถในการฟังของเด็กปฐมวัยจะเป็นรากฐานสาคัญของการ พฒั นาความสามารถของการพดู อา่ น และเขยี น ดงั น้ันจึงเกิดคาถามวา่ การจดั การเรียนการสอนที่จะช่วย พฒั นาความสามารถทางการฟงั ของผูเ้ รียน ให้มปี ระสิทธิภาพและมีคุณภาพยง่ิ ขึ้นได้อย่างไร จากสภาพปัญหาการจดั การเรยี นรู้ในช้นั อนุบาลปีท่ี 2/7 พบว่าเด็กส่วนใหญ่มีปัญหาเก่ียวกับการ ฟงั ดา้ นการจาแนกความแตกตา่ งของเสยี งต่างๆ การรจู้ ักฟังเสียงตา่ งๆ ที่อยรู่ อบตวั ทงั้ เสียงที่มีความหมาย และไม่มีความหมาย เช่น เสียงสัตว์ร้อง เสียงพูด เสียงปรบมือ เสียงในโทรศัพท์ เสียงลมพัด เสียงจาก ธรรมชาติอื่นๆ เป็นต้น ด้านการฟังเพื่อเข้าใจเร่ืองราว และความหมาย ซ่ึงเด็กส่วนใหญ่ไม่สามารถจับ ประเด็นทีฟ่ ังได้ และไม่เขา้ ใจแก่นของเรอื่ งที่ฟงั ไดว้ ่าเรอื่ งทีฟ่ ังต้องการส่อื เกย่ี วกับเร่อื งอะไร ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจท่ีจะจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อพัฒนา ความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวัย อันเป็นพื้นฐานสาคัญในการพัฒนาเด็กให้เกิดความพร้อม ตลอดจนเป็นการปูพื้นฐานทางภาษา เพื่อการเรียนรู้ในชั้นสูงต่อไปในอนาคต หากเด็กมีทักษะการฟังที่ดี เดก็ กจ็ ะสามารถส่ือสารและจับใจความสาคัญของเรื่องราวตา่ งๆ ได้ 5. วัตถุประสงค์ในการวิจัย 1. เพ่อื ศึกษาความสามารถดา้ นการฟังของเดก็ ปฐมวัยที่ไดร้ ับการจดั กิจกรรมเสรมิ ประสบการณ์ 2. เพอ่ื เปรยี บเทยี บความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริม ประสบการณ์ 6. สมมติฐานของการศึกษา เด็กปฐมวัยท่ีได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยการทายเสียงสัตว์ การเล่านิทาน และ ปริศนาคาทายมคี วามสามารถดา้ นการฟัง หลังจดั กิจกรรมสงู กวา่ กอ่ นจดั กจิ กรรม 7. แนวคดิ และทฤษฎที ่เี กย่ี วขอ้ ง 7.1 แนวคิดและทฤษฎีทเ่ี กย่ี วกับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สาหรบั เดก็ ปฐมวัย ไพเราะ พุ่มมน่ั (2551: 16) กล่าวถึงกจิ กรรมเสริมประสบการณ์ไว้ว่า เป็นกิจกรรมท่ีจัดเพื่อสร้าง ประสบการณ์สาคญั เพือ่ พัฒนาด้านสติปญั ญา ขณะเดียวกันก็บูรณาการกับการสร้างประสบการณ์สาคัญ ด้านสังคม อารมณ์ จิตใจ และด้านร่างกาย กิจกรรมน้ีเป็นกิจกรรมที่สัมพันธ์กับกรอบสาระท่ีควรรู้มาก ทส่ี ดุ แต่ท้ังน้ตี ้องขึน้ อยู่กบั ความสนใจของเด็กด้วย กลุ ยา ตนั ตผิ ลาชีวะ (2557: 52) กล่าวว่า กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมพัฒนาทักษะ การเรยี นรู้ฝกึ การทางานเป็นกลุ่ม รู้จักการพูด การฟัง การสังเกต การคิด และการแก้ปัญหา โดยการจัด กิจกรรมด้วยวิธตี า่ งๆ เช่น สนทนา อภปิ ราย สาธติ เล่านทิ าน เป็นต้น

4 สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สาหรับเด็กปฐมวัย ควรตั้งอยู่บนพ้ืนฐาน และ แนวคิดของนักปรัชญาการศึกษา นักทฤษฎี และนักจิตวิทยาพัฒนาการ เพื่อที่จะทาให้การจัด ประสบการณ์ได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา แต่ท่ีสาคัญคือ บทบาทครูจะต้องเป็นผู้รู้จักกระตุ้นให้เด็กได้พัฒนาตนเองอย่างรอบด้าน โดยการจดั กิจกรรมท่ีเนน้ ใหเ้ ดก็ ไดล้ งมอื ปฏิบัติและการคน้ พบดว้ ยตัวเด็กเอง อันนาไปสู่เป้าหมายของการ จัดการศกึ ษาอย่างแทจ้ ริง 7.2 แนวคดิ และทฤษฎที ี่เกี่ยวกับการฟังสาหรบั เดก็ ปฐมวัย เปลอื้ ง ณ นคร (2545 : 250) ฟัง หมายถึง ตัง้ ใจสดับ คอยรบั เสียงได้ยิน เช่ือ ทาตามถ้อยคาสรุป ได้ว่า การฟังคือการรับเสียง รับรู้เข้าใจ คิดและนาไปใช้ประโยชน์เป็นกระบวนการที่เป็นขั้นตอนและ เป็นไปตามลาดับพัฒนาการของผู้ฟังและสามารถนากระบวนการของการฟังไปสร้างเสริมบรรยากาศใน การฝึกฝนทักษะการฟังให้เกิดผลได้ ความสามารถทางการฟังจึงเป็นส่ิงที่ควรส่งเสริมแก่เด็ก เป็นส่ิงท่ี สาคัญย่ิงกว่าการคดิ ค้นหาเครอื่ งมือใหม่ ๆ มาให้เด็กใช้เสียอีก การพัฒนาให้ดีข้ึนตามวุฒิภาวะ เวลา การ ฟังในเด็กปฐมวัยนั้น ส่วนใหญ่เป็นการฟังเสียงธรรมชาติ จังหวะดนตรี นิทาน เร่ืองราวสั้น ๆ และ เสียงเพลง ซึ่งการฟังของเด็กปฐมวัยในการวิจัยการพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการฟังนี้เป็นการ จาแนกเสยี งทไ่ี ดย้ นิ การเขา้ ใจความหมายของคา และการปฏบิ ัติตามคาสง่ั ไดอ้ ย่างถูกตอ้ ง กลุ ยา ตนั ตพิ ลาชีวะ (2551) ได้กล่าวว่า การฟังของเด็กเป็นการรับรู้เรื่องราวด้วยประสาทสัมผัส ทางหทู ีเ่ ด็กสะสมและนาไปสรา้ งเสริมพัฒนาการทางภาษา มากกว่าการใช้ เพื่อพัฒนาปัญญา เด็กจะเก็บ คาพูด จงั หวะเรอ่ื งราวจากส่งิ ทฟ่ี ังมาสานต่อเป็นคาศัพท์เป็นประโยคท่ีถ่ายทอดไปสู่การพูด ถ้าเรื่องราวที่ เด็กได้ฟังมีความชัดเจนง่ายต่อการเข้าใจเด็กจะได้คาศัพท์และมีความสามารถเพิ่มข้ึน จากการให้เด็กฟัง จะเหน็ ไดว้ ่าการเปิดโอกาสให้เดก็ พูดในสง่ิ ทีช่ อบดว้ ยหรอื พดู เรอื่ งราวจากประสบการณเ์ ดิมจะช่วยส่งผลให้ เดก็ เล่าเรื่องให้ผูอ้ น่ื เขา้ ใจไดค้ าพูดของเขาเองวา่ ใคร ทาอะไร ทีไ่ หน ดวงกมล พลคร (2553) กล่าววา่ การฟงั หมายถงึ การรบั รู้เสียงผ่านประสาทสัมผัสทางหูโดยการ ได้ยนิ อยา่ งเข้าใจความหมาย สามารถตีความและเช่ือมโยงเสยี งทร่ี ับรูโ้ ดยผ่านสื่อกับประสบการณไ์ ด้ นิตยา ประพฤติกิจ (2556) กล่าวว่า การฝึกให้เด็กรู้จักฟังจะช่วยให้เด็กเพ่ิมพูนคาศัพท์เรียนรู้ เก่ยี วกบั ประสบการณ์ โครงสรา้ งของภาษาพูด และเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ มากขน้ึ ซึ่งจะช่วยให้เด็กใช้ภาษา พดู ถูกต้องยิ่งขน้ึ รจู้ กั พูดคุยกบั เพอ่ื นฝูง ทงั้ ยังกระตุ้นใหเ้ ด็กใช้จินตนาการ

5 นพดล จันทร์เพญ็ (2557) กล่าวว่า ถ้าฟังเร่ืองราวท่ีส่ือความหมายได้แล้วนาไปคิดหรือปฏิบัติได้ อย่างถูกตอ้ ง เกดิ ความรู้ความเข้าใจจงึ เป็นกระบวนการทีส่ มบูรณ์ สรุปได้วา่ การฟังเปน็ พื้นฐานการเรียนรทู้ างภาษาไทย เกดิ จากการรับรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทาง หู แล้วแปลความหมายโดยใช้ความคดิ และการทาความเข้าใจอย่างลึกซ้ึง เพื่อประเมินคุณค่าว่าเชื่อถือได้ หรือไม่เพียงใด นาไปสู่การแสดงปฏิกิริยาได้ตามท่ีต้องการ และสามารถดึงออกมาใช้ในการสื่อสารต่อไป และความสามารถในการฟังจะมีก่อนความสามารถในการพูด การอ่าน และการเขียน จึงถือได้ว่า ความสามารถในการฟังเป็นพ้นื ฐานของการพฒั นาทางภาษาทส่ี าคญั 7.3 นยิ ามศพั ท์เฉพาะ 1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กชายและหญิง ท่ีกาลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนท่ี 1 ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนเทศบาลแม่เมาะ สังกัด กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เทศบาล ตาบลแม่เมาะ จังหวัดลาปาง 2. การจดั กิจกรรมเสรมิ ประสบการณ์ หมายถงึ การจดั กิจกรรมสง่ เสรมิ ความสามารถทางด้านการ ฟงั ให้เด็กปฐมวยั ไดเ้ รียนรู้โดยจัดกิจกรรมการทายเสยี งสตั ว์ การเล่านทิ าน และปริศนาคาทาย 3. ความสามารถด้านการฟัง หมายถึง ความสามารถทางด้านภาษาของเด็กปฐมวัย เป็น ความสามารถในการรับรู้สิ่งที่ได้ยินแล้วสามารถตีความหรือจับใจความส่ิงท่ีรับรู้นั้นสามารถเข้าใจ และ จดจาไวไ้ ด้ ความสามารถด้านการฟังแบง่ ออกเป็น 3 ดา้ น ไดแ้ ก่ 1. ดา้ นการจาแนกความแตกตา่ งของเสียง หมายถงึ เป็นการฟงั เพอื่ แยกเสยี งต่างๆ ให้ทราบ วา่ เสยี งของคน สตั ว์ หรือส่งิ ของประเภทใด 2. ด้านการเขา้ ใจเร่ืองราว หมายถงึ เป็นการฟงั เพือ่ ความรคู้ วามเขา้ ใจเรือ่ งราวทีไ่ ด้รับข้อมูล ข่าวสารมา การฟงั ประเภทนีเ้ ปน็ พืน้ ฐานของการฟังประเภทอื่นๆ เช่น การฟังคาสนทนา การฟังเรื่องเล่า หรือนทิ าน 3. ดา้ นการเขา้ ใจความหมาย หมายถงึ เป็นการฟังเพื่อให้เขา้ ใจและจบั ใจความสาคัญจากสิ่ง ท่ีฟงั ได้

6 8.วิธกี ารดาเนนิ การวิจยั 8.1 ประชากรและกล่มุ ตัวอย่าง ประชากรท่ใี ช้ในการวิจัยครั้งนี้ เด็กปฐมวัยชายและหญิง ท่ีกาลังศึกษาอยู่ช้ันอนุบาลปีท่ี 2 ภาคเรยี นที่ 1 ปีการศกึ ษา 2565 โรงเรียนเทศบาลแม่เมาะ สังกัด กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เทศบาลตาบลแม่เมาะ จังหวัดลาปาง ซ่งึ มีหอ้ งเรยี นทัง้ หมด 7 หอ้ งเรียน มีนกั เรียนทงั้ หมด 172 คน กลุม่ ตัวอย่างท่ีใช้ในการวิจัยคร้ังน้ี เด็กปฐมวัยชายและหญิง ท่ีกาลังศึกษาอยู่ช้ันอนุบาลปีท่ี 2/7 ภาคเรียนท่ี 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเทศบาลแม่เมาะ สังกัด กองการศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม เทศบาลตาบลแม่เมาะ จังหวัดลาปาง จานวน 24 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) 8.2 ตวั แปร ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยการทายเสียงสัตว์ การเล่านิทาน และปริศนาคาทาย ตวั แปรตาม ได้แก่ ความสามารถด้านการฟงั ของเดก็ ปฐมวยั 8.3 เครือ่ งมอื ทใ่ี ช้ในการวจิ ยั 1. แผนการจัดกจิ กรรมการเรยี นรู้ เพอื่ พัฒนาความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวัย 2. แบบทดสอบความสามารถด้านการฟังของเดก็ ปฐมวัย แบง่ ออกเปน็ 3 ดา้ น ดงั น้ี - แบบทดสอบดา้ นการจาแนกความแตกตา่ งของเสยี ง จานวน 5 ขอ้ - แบบทดสอบดา้ นการเข้าใจเรอื่ งราว จานวน 5 ข้อ - แบบทดสอบดา้ นการเขา้ ใจความหมาย จานวน 5 ข้อ 8.4 การสรา้ งเคร่ืองมอื วจิ ยั 1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวัย ผวู้ จิ ัยไดด้ าเนินการตามขน้ั ตอน ดังน้ี 1.1 ศกึ ษาหลักสตู รปฐมวยั พุทธศกั ราช 2560 เพ่ือศึกษาหลักการและจุดมุ่งหมายในการ จดั การศึกษาสาหรับเดก็ ปฐมวัย 1.2 ทาการวเิ คราะหห์ ลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ และวธิ ีการจดั ประสบการณ์ 1.3 ศกึ ษาแนวคดิ ทฤษฎีและหลักการจากเอกสารและงานวจิ ยั ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการ ทางภาษาด้านการฟัง เพอ่ื ให้สามารถจัดประสบการณ์บรรลตุ ามจุดประสงคท์ ต่ี ง้ั ไว้

7 1.4 กาหนดรูปแบบเพื่อเขยี นแผนการจัดกจิ กรรมการเรียนรู้ โดยมอี งค์ประกอบของแผน ดังนี้ สาระสาคัญ จุดประสงคก์ ารเรยี นรู้ สาระการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรยี นรู้ สื่อ/แหลง่ เรียนรู้ และ การวัดและประเมนิ ผล 2. แบบทดสอบความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวัย มีลักษณะเป็นรูปภาพประกอบ คาถาม จานวน 15 ขอ้ มวี ธิ ีการสร้างตามข้ันตอน ดังนี้ 2.1 ศึกษาหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560 คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพ่ือเป็น แนวทางในการสร้างแบบทดสอบ (กระทรวงศึกษาธิการ,2560) 2.2 ศึกษาวิธีการสร้างแบบทดสอบ จากหนังสือการสร้างและพัฒนาแบบทดสอบ ความสามารถและศึกษาการสรา้ งแบบทดสอบความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวัย 2.3 สร้างแบบทดสอบความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวัย จานวน 15 ข้อ โดย ครอบคลุมปัญหา 3 ด้าน ได้แก่ แบบทดสอบด้านการจาแนกความแตกต่างของเสียง (จานวน 5 ข้อ) แบบทดสอบด้านการเขา้ ใจเรอ่ื งราว (จานวน 5 ข้อ) และแบบทดสอบดา้ นการเข้าใจความหมาย (จานวน 5 ข้อ) โดยสร้างเกณฑก์ ารใหค้ ะแนน ดังนี้ ทาถูกให้ 1 คะแนน ทาผดิ หรอื ทาไมไ่ ด้ให้ 0 คะแนน 8.5 วธิ ีดาเนินการทดลอง ในการศึกษาครง้ั น้ี ผู้วิจัยไดด้ าเนนิ การทดลอง ดังนี้ 1. ทดสอบก่อนการจัดกิจกรรมด้วยแบบทดสอบความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวัย จานวน 3 ด้าน 15 ข้อ แล้วบนั ทกึ ผลการทดสอบไวเ้ ป็นคะแนนกอ่ นจดั กจิ กรรม 2. ดาเนนิ การทดลอง โดยจัดกิจกรรมเสรมิ ประสบการณ์ตามแผนการจดั กจิ กรรมการเรียนรู้ ทผ่ี วู้ ิจยั สร้างขน้ึ ดว้ ยตนเอง ในเวลาท้ังสิ้น 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 60 นาที รวมทั้งส้ินจานวน 3 ครงั้ 3. ทดสอบหลังการจัดกิจกรรม เมื่อสิ้นสุดการทดลองแล้ว ผู้วิจัยได้ทดสอบความสามารถ ดา้ นการฟังของเดก็ ปฐมวยั ดว้ ยแบบทดสอบฉบบั เดียวกับทท่ี ดสอบกอ่ นจดั กิจกรรม 4. ตรวจผลการทดสอบ นาคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ โดยวิธีการทางสถิติ เพื่อตรวจสอบ สมมตุ ฐิ านและสรปุ ผลการวิจยั

8 8.6 การเกบ็ รวบรวมข้อมูล การศกึ ษาในครั้งน้ี ผู้วิจัยดาเนินการทดลองตามแบบแผนการวจิ ยั แบบ One –Group Pretest - posttest Design (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538 : 249) ตามตารางดงั นี้ กลมุ่ ก่อนทดลอง ทดลอง หลังการทดลอง E T1 X T2 เมอ่ื T1 แทน การทดสอบความสามารถดา้ นการฟงั ของเด็กปฐมวัยก่อนการทดลอง X แทน การดาเนินการจดั กิจกรรมการทดลอง T2 แทน การทดสอบความสามารถด้านการฟงั ของเด็กปฐมวยั หลังการทดลอง 8.7 การวเิ คราะหข์ ้อมลู การศึกษาคร้งั นผ้ี ู้วิจัยทาการวิเคราะหข์ อ้ มูล โดยวเิ คราะห์ขอ้ มูล ดงั นี้ 1. เปรียบเทียบความสามารถด้านการฟงั ของเด็กปฐมวัยกอ่ นและหลังการจัดกจิ กรรม (1) บันทึกคะแนนก่อนจัดกิจกรรมและหลังการจดั กจิ กรรม (2) นาคะแนนความสามารถดา้ นการฟงั ของเดก็ ปฐมวัยมาแยกเปน็ รายดา้ น (3) หาค่าเฉลยี่ และสว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐาน (4) นาคะแนนกอ่ นและหลงั การจัดกจิ กรรมมาทดสอบคา่ ที 2. เกณฑ์ที่ใช้ในการกาหนดความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวัย คะแนนเฉลี่ย 4.51 - 5.00 ดมี าก คะแนนเฉลย่ี 3.51 - 4.50 ดี คะแนนเฉล่ีย 2.51 - 3.50 ปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.51 - 2.50 พอใช้ คะแนนเฉล่ีย 1.00 - 1.50 ปรับปรุง 9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะไดร้ บั 1. ได้แนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการพัฒนาความสามารถด้านการฟังของเด็ก ปฐมวยั 2. ได้แนวทางสาหรับผู้บริหารในการนิเทศส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมส่งเสริม ความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวยั

9 10. ผลการวิเคราะหข์ ้อมลู การศกึ ษาครัง้ นี้ ผวู้ จิ ัยเสนอผลการวเิ คราะห์ขอ้ มูลในแต่ละจุดมุง่ หมายดงั นี้ จดุ มงุ่ หมายที่ 1 เพ่ือศึกษาความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรม เสริมประสบการณ์ ตารางที่ 1 ผลการศึกษาความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวัยแยกเป็นรายด้านก่อนได้รับ การจัดกจิ กรรมเสรมิ ประสบการณ์ ความสามารถดา้ นการฟงั ของเด็กปฐมวยั คะแนนเตม็ X S.D. การแปลความหมาย 1.ด้านการจาแนกความแตกตา่ งของเสยี ง 5 2.38 0.49 พอใช้ 2.ดา้ นการเขา้ ใจเร่ืองราว 5 2.50 0.51 พอใช้ 3.ด้านการเข้าใจความหมาย 5 2.46 0.51 พอใช้ รวม 15 7.33 1.51 พอใช้ จากตาราง 1 พบว่า คะแนนความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวัยก่อน ได้รับ การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับพอใช้ โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 7.33 และมีคะแนน เฉล่ียความสามารถด้านการฟังแยกเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านการจาแนกความแตกต่างของเสียง ด้านการ เข้าใจเร่ืองราว และด้านการเข้าใจความหมาย อยู่ในระดบั พอใช้ โดยมีค่าส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐานท่ี 1.51 ตารางที่ 2 ผลการศึกษาความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวัยแยกเป็นรายด้านหลังได้รับ การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวัย คะแนนเตม็ X S.D. การแปลความหมาย 1.ดา้ นการจาแนกความแตกต่างของเสียง 5 4.92 0.28 ดีมาก 2.ด้านการเข้าใจเรื่องราว 5 4.83 0.38 ดีมาก 3.ดา้ นการเขา้ ใจความหมาย 5 4.79 0.41 ดมี าก รวมเฉลีย่ 15 14.54 1.08 ดมี าก จากตาราง 2 พบว่า หลังจากท่ีเด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์แล้วมี ความสามารถด้านการฟัง โดยเฉล่ียรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉล่ียที่ 14.54 และมีคะแนนเฉลี่ย ความสามารถดา้ นการฟังแยกเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านการจาแนกความแตกต่างของเสียง ด้านการเข้าใจ เรื่องราว และดา้ นการเขา้ ใจความหมาย อยใู่ นระดบั ดีมาก โดยมคี ่าสว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 1.08

10 ตารางที่ 3 แสดงการเปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรม เสรมิ ประสบการณ์ กลมุ่ ตัวอยา่ ง N X S.D. t p ก่อนจัดกิจกรรม 24 7.33 .88 หลังจัดกจิ กรรม 24 14.54 1.04 *33.24 .000 ** มนี ยั สาคัญทางสถิติทร่ี ะดบั .01 จากตารางที่ 3 พบว่า ผลจากการทดสอบ ค่า t ท่ีได้จากการคานวณมีค่าเท่ากับ 33.24 ซึ่ง มากกวา่ คา่ t ที่ได้จากการเปิดตารางท่ีระดับนัยสาคัญท่ี .01 ซ่ึงมีค่าเท่ากับ 1.71 ความสามารถด้านการ ฟงั ของเด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 11. สรุปผลการวจิ ัย จากการทดลองจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อศึกษาความสามารถด้านการฟังของเด็ก ปฐมวยั ผู้วิจัยไดท้ าการทดลองโดยการทดสอบก่อนการกิจกรรม ทดลองจัดกิจกรรมและทดสอบหลังการ จดั กิจกรรมแล้วนาผลท่ีไดไ้ ปวเิ คราะห์ สรปุ ผลไดด้ งั น้ี 1. เด็กปฐมวัยท่ีได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ มีความสามารถด้านการฟังโดยเฉล่ีย รวมอยู่ในระดับดีมาก มคี วามสามารถด้านการฟังแยกเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านการจาแนกความแตกต่าง ของเสียง ดา้ นการเขา้ ใจเรือ่ งราว และด้านการเขา้ ใจความหมาย อยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าส่วนเบ่ียงเบน มาตรฐานที่ 1.08 2.เดก็ ปฐมวยั ทีไ่ ดร้ ับการจดั กิจกรรมเสรมิ ประสบการณ์ มคี วามสามารถด้านการฟังหลังได้รับการ จัดกิจกรรมสงู กวา่ ก่อนไดร้ บั การจดั กิจกรรม อย่างมนี ยั สาคัญทางสถิตทิ ีร่ ะดบั .01 อภปิ รายผล จากการศกึ ษาผลของการจัดกิจกรรมเสรมิ ประสบการณ์ ท่ีมีต่อความสามารถด้านการฟังของเด็ก ปฐมวัยแล้ว พบว่า หลังจากได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เด็กปฐมวัยมีคะแนนความสามารถ ด้านการฟงั สูงกว่าก่อนไดร้ ับการจดั กจิ กรรม ซึ่งมีคะแนนโดยเฉล่ยี รวมอยใู่ นระดับดีมาก และเมื่อวิเคราะห์ คะแนนเฉล่ียความสามารถในการคดิ แก้ปญั หาแยกเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านการจาแนกความแตกต่างของ เสยี ง ดา้ นการเข้าใจเรื่องราว และด้านการเขา้ ใจความหมาย พบว่าอยู่ในระดับดีมาก แสดงใหเ้ ห็นวา่ การ

11 จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ สามารถส่งเสริมความสามารถด้านการฟังให้กับเด็กปฐมวัยให้สูงข้ึน ซึ่ง สอดคลอ้ งกบั กับงานวิจยั ของรสสคุ นธ์ แนวบุตร (2553) ไดศ้ กึ ษาเกยี่ วกับการพัฒนาทักษะการฟังและการ พูดของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานพ้ืนบ้าน ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กจิ กรรมการเล่านิทานพน้ื บ้านมีความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูด โดยภาพรวมหลังการจัด กิจกรรมมีค่าเฉลย่ี เทา่ กบั 16.28 ความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้นิทาน พ้ืนบ้านด้านการฟัง การพูด สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมโดยใช้นิทานพื้นบ้านอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติท่ี ระดับ .01 และกมลรัตน์ พ่วงศิริ (2561) ได้ศึกษาเร่ือง การพัฒนาทักษะความสามารถของทักษะการฟัง และการพูด โดยการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเล่านิทานของนักเรียนช้ัน อนุบาล 2/3 โรงเรียนวัดคู ยาง ผลการวิจัยพบว่า ทักษะด้านการพูดและการฟังที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์ กิจกรรมการเล่านิทาน หลังสอนสูงกว่าก่อนสอนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติท่ีระดับ .01 และรอฮันนี เจะ เลาะ (2561) ได้ศึกษา การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย โดยการจัดกิจกรรมเสริม ประสบการณท์ ่ใี ชน้ ทิ านประกอบภาพ พบว่า การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ท่ีใช้นิทานประกอบภาพ สามารถช่วยพฒั นาทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยได้ สามารถนามาใช้กระตุ้น และแรงจูงใจให้ เด็กเกิดความสนใจในบทเรียน สนุกสนานในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับครูผู้สอน จึงช่วยให้เด็กเกิด พฒั นาการและมที ักษะในการฟังและการพดู สูงข้นึ ข้อเสนอแนะในการนาผลการวจิ ยั ไปใช้ การจดั กจิ กรรมเสริมประสบการณ์ เปน็ การจดั กจิ กรรมให้เดก็ ไดร้ ่วมมือกันเรียนรู้และทากิจกรรม รว่ มกันเป็นกลุ่ม ดงั น้ันในการจัดกลุ่ม ครจู ะตอ้ งคอยกระตุน้ ให้เดก็ ไดช้ ่วยเหลือกนั ภายในกลมุ่ ขอ้ เสนอแนะในการวิจัยครั้งตอ่ ไป 1. ควรมีการศกึ ษาการจัดกจิ กรรมเสริมประสบการณ์ เพอื่ ศกึ ษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของเดก็ ปฐมวัย 2. ควรมีการวิจัยการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา เพ่ือส่งเสริมความสามารถด้านการฟังของเด็ก ปฐมวยั ลงชอ่ื .................................................. (นางวณิชชา ประมาณ) ตาแหนง่ ครู วทิ ยฐานะ ครชู านาญการพิเศษ

12 ความคดิ เหน็ /ข้อเสนอแนะของรองผู้อานวยการสถานศกึ ษา ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ลงชื่อ..........................................ผู้รบั รอง (นายปรญิ ญา รตั นเพญ็ ) ตาแหน่ง รองผอู้ านวยการสถานศกึ ษา รักษาการในตาแหนง่ ผู้อานวยการสถานศึกษา

13 ภาคผนวก

14 เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสตู รการศกึ ษาปฐมวัย พทุ ธศักราช 2560. กรงุ เทพฯ: โรงพิมพ์ครุ ุ สภาลาดพรา้ ว. กุลยา ตันติผลาชีวะ.(2551). การจดั กจิ กรรมการเรียนรสู้ าหรบั เดก็ ปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรนเบสบุ๊คส ดวงกมล พลคร. (2553). การพัฒนาแบบประเมนิ ทักษะทางภาษาสาหรบั เดก็ ปฐมวัย (วิทยานพิ นธ์ ปริญญามหาบณั ฑิต). มหาวิทยาลัยราชภฎั เพชรบูรณ.์ นพดล จนั ทรเ์ พญ็ . (2557). การใช้ภาษาไทย. กรงุ เทพฯ : ต้นออ้ . นติ ยา ประพฤติกิจ. (2556). การพฒั นาเด็กปฐมวัย. พมิ พล์ กั ษณ์. กรุงเทพมหานคร : หนว่ ยศกึ ษานเิ ทศก์ กรมการฝึกหดั คร.ู เปลอื้ ง ณ นคร. (2545). ภาษาวรรณนา วิวฒั น์ และวบิ ัตขิ องภาษาไทย. กรงุ เทพฯ: ข้าวฟ่าง. ไพเราะ พุ่มม่นั . (2551).การพัฒนาคณุ ภาพนกั เรยี นระดับปฐมวยั สู่ผลงานทางวชิ าการ. พิมพลกั ษณ์, กรุงเทพฯ: พี แอนด์ พี. รสสคุ นธ์ แนวบตุ ร,ศรีกัญภัสสร์ รังษบี วรกุล. (2557) : การพัฒนาทักษะการฟังและการพดู ของเด็ก ปฐมวยั โดยใชก้ ิจกรรมการเลา่ นิทานพน้ื บา้ น. ลว้ น สายยศ และองั คณา สายยศ. (2538). เทคนคิ การวจิ ัยทางการศึกษา (พิมพค์ รง้ั ที่ 4).กรุงเทพฯ: สวุ รี ิยาสาสน์

15 แบบทดสอบความสามารถดา้ นการฟังของเด็กก่อนทากิจกรรม ชุดท่ี 1 ดา้ นการจาแนกความแตกต่างของเสียง ชื่อ-สกลุ .................................................................................................เลขท.่ี ..............ช้ัน............. คาส่งั : ใหเ้ ด็กๆ ระบายสีรูปภาพ ตามท่ไี ดย้ นิ เสียงรอ้ งของสัตว์

16 แบบทดสอบความสามารถด้านการฟงั ของเด็กก่อนทากจิ กรรม ชดุ ท่ี 2 ดา้ นการเข้าใจเรือ่ งราว ชื่อ-สกุล....................................................................................................เลขท.ี่ ..............ช้นั ............. คาส่งั : ให้เด็กๆ ทาเครื่องหมาย X ทับรปู ภาพทต่ี รงกับเรอ่ื งราวทไ่ี ด้ฟงั ขอ้ ที่ 1 แมไ่ กช่ อบขนั ปลุกในตอนเช้า หนนู าจะตื่นข้ึนเม่อื ได้ยินเสยี งไกร่ ้อง คาถาม สตั ว์ชนดิ ใดทม่ี ีหนา้ ท่ีขนั ในตอนเชา้ ข้อที่ 2 หมาวง่ิ ไล่แมว แมวว่ิงหนีไปหลบอยูห่ ลงั ตน้ ไม้ บนต้นไม้มนี กหนง่ึ ตวั คาถาม จากเรอ่ื งราวสตั ว์ชนิดใดอยู่บนตน้ ไม้ ข้อที่ 3 แม่เปด็ เดนิ ไป แมไ่ กเ่ ดนิ มา ลูกแมวเดนิ หนา้ ลกู หมาเดนิ ตาม คาถาม สัตว์ชนดิ ใดทอ่ี ย่ขู ้างหลังสุด ข้อที่ 4 นน่ั นกบินมาลบิ ลบิ นกกระจิบ 1 2 3 4 5 อีกฝงู บินลอ่ งลอยมา 6 7 8 9 10 ตัว คาถาม จากบทเพลงที่รอ้ งกล่าวถึงสตั ว์ชนดิ ใด ขอ้ ท่ี 5 ห่งึ ห่งึ หึ่ง ผงึ้ น้อยบนิ หารัง ผ้ึงนอ้ ยจ๋า (จา๋ ) บนิ หาอะไร ผ้ึงตอบเร็วไว ฉันบินหารัง คาถาม จากบทเพลงท่ีร้องกลา่ วถึงสตั ว์ชนิดใด

17 แบบทดสอบความสามารถด้านการฟังของเด็กก่อนทากิจกรรม ชุดท่ี 3 ด้านการเข้าใจความหมาย ชื่อ-สกลุ .................................................................................................เลขที่...............ช้ัน............. คาส่งั : ใหเ้ ด็กๆ ทาเครอ่ื งหมาย X ทับรปู ภาพทตี่ รงกบั ความหมายของคา ขอ้ ท่ี 1 สตั ว์ชนิดใดบนิ ได้ ข้อที่ 2 สัตว์ชนดิ ใดอาศยั อยใู่ นนา้ ข้อที่ 3 สัตว์ชนิดใดชอบกนิ กลว้ ย ข้อท่ี 4 สัตวช์ นดิ ใดเป็นสตั วค์ ร่ึงบกครึ่งนา้ ข้อท่ี 5 สัตว์ชนิดใดเปน็ สัตวเ์ ลย้ี ง

18

19

20

21

22


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook