Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พุทธธรรม ฉบับเดิม

พุทธธรรม ฉบับเดิม

Published by Piyaphon Khatipphatee, 2021-10-29 12:51:01

Description: พุทธธรรม ฉบับเดิม

Search

Read the Text Version

๓๓๖ พทุ ธธรรม ปจั จยั ใหเ้ กดิ สมั มาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์ประกอบสําคัญของมรรค ในฐานะที่เป็น จุดเริ่มตน้ ในการปฏบิ ตั ธิ รรม หรือพูดตามแนวไตรสิกขาว่า เป็นขั้นเริ่มแรก ในระบบการศึกษาแบบพุทธ และเป็นธรรมท่ีต้องพัฒนาให้บริสุทธิ์ แจ้งชัด เป็นอิสระมากขึ้นตามลําดับ จนกลายเป็นการตรัสรู้ในที่สุด ดังกล่าว มาแล้ว ดังน้นั การสรา้ งเสรมิ สมั มาทฏิ ฐิจึงเปน็ ส่งิ สําคญั ย่งิ มีพทุ ธพจนแ์ สดงหลกั การสรา้ งเสรมิ สัมมาทิฏฐิไว้ดงั น้ี ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดข้ึนแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ อย่างดังน้ี คอื ปรโตโฆสะ และ โยนิโสมนสิการ๑ ๑. ปรโตโฆสะ = “เสียงจากผู้อ่ืน” คําบอกเล่า ข่าวสาร คําชี้แจง อธิบาย การแนะนําชักจูง การสั่งสอน การถ่ายทอด การได้เรียนรู้จากผู้อื่น (hearing or learning from others) ๒. โยนิโสมนสิการ = “การทําในใจโดยแยบคาย” การพิจารณา สืบค้นถึงมูลรากต้นตอ การใช้ความคิดสืบสาวตลอดสาย การคิดอย่างมี ระเบยี บ การรูจ้ กั คดิ พิจารณาด้วยอบุ าย การคดิ แยกแยะออกดูตามสภาวะ ของส่ิงน้ันๆ โดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปาทานของตนเข้าจับ (analytical reflection, critical reflection, systematic attention) ปจั จยั ท้งั สองอยา่ งนี้ ยอ่ มสนับสนุนซงึ่ กนั และกนั สําหรับคนสามัญ ซ่ึงมีปัญญาไม่แก่กล้า ย่อมอาศัยการแนะนําชักจูง จากผู้อ่นื และคลอ้ ยไปตามคําแนะนาํ ชักจงู ที่ฉลาดได้ง่าย แต่ก็จะต้องฝึกหัดให้ สามารถใช้ความคดิ อยา่ งถกู วิธีด้วยตนเองได้ดว้ ย จงึ จะกา้ วหนา้ ไปถงึ ทีส่ ุดได้ ส่วนคนที่มีปัญญาแก่กล้า ย่อมรู้จักใช้โยนิโสมนสิการได้ดีกว่า แต่ กระนั้นก็อาจต้องอาศัยคําแนะนําท่ีถูกต้องเป็นเครื่องนําทางในเบ้ืองต้น และเป็นเคร่ืองช่วยส่งเสริมให้ก้าวหน้าไปได้รวดเร็วย่ิงข้ึนในระหว่างการ ฝกึ อบรม ๑ องฺ.ทกุ .๒๐/๓๗๑/๑๑๐; และ ดู ม.มู.๑๒/๔๙๗/๕๓๙

สมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๓๓๗ การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิ ด้วยปัจจัยอย่างที่ ๑ (ปรโตโฆสะ) ก็คือ วิธีการที่เริ่มต้นด้วยศรัทธา และอาศัยศรัทธาเป็นสําคัญ เม่ือนํามาใช้ ปฏิบัติในระบบการศึกษาอบรม จึงต้องพิจารณาท่ีจะให้ได้รับการแนะนํา ชักจูงสั่งสอนอบรมท่ีได้ผลดีที่สุด คือ ต้องมีผู้สั่งสอนอบรมท่ีเพียบพร้อม ดว้ ยคณุ สมบตั ิ มคี วามสามารถ และใชว้ ธิ ีการอบรมสัง่ สอนท่ไี ด้ผล ดังน้ัน ในระบบการศึกษาอบรม จึงจํากัดให้ได้ปรโตโฆสะท่ีมุ่งหมาย ด้วยหลกั ทเี่ รยี กวา่ กลั ยาณมติ ตตา คอื ความมกี ลั ยาณมติ ร ส่วนปัจจัยอย่างที่ ๒ (โยนิโสมนสิการ) เป็นแกนหรือองค์ประกอบ หลักของการพัฒนาปัญญา ซ่ึงจะต้องพิจารณาว่าควรใช้ความคิดให้ถูกต้อง อยา่ งไร เม่ือนําปัจจยั ทัง้ สองมาประกอบกัน นับว่า กลั ยาณมิตตตา (=ปรโตโฆสะท่ดี ี) เป็นปจั จัยภายนอก และ โยนิโสมนสิการ เปน็ ปจั จยั ภายใน ถ้าตรงข้ามจากน้ี คือ ได้ผู้ไม่เป็นกัลยาณมิตร ทําให้ประสบปรโตโฆสะ ท่ีผิดพลาด และใช้ความคิดผิดวิธี เป็นอโยนิโสมนสิการ ก็จะได้รับผลตรง ข้าม คือ เปน็ มจิ ฉาทฏิ ฐไิ ปได้ มีพุทธพจน์แสดงปัจจัยท้ังสองนี้ ในภาคปฏิบัติของการฝึกอบรม พร้อมท้งั ความสาํ คญั ทีค่ วบคกู่ ัน ดังนี้ ๑. สําหรับภิกษุผู้ยังต้องศึกษา (เสขะ)... เรามองไม่เห็นองค์ประกอบ ภายนอกอน่ื ใด มีประโยชนม์ าก เทา่ ความมกี ัลยาณมติ รเลย๑ ๒. สําหรับภิกษุผู้ยังต้องศึกษา (เสขะ)... เรามองไม่เห็นองค์ประกอบ ภายในอ่ืนใด มปี ระโยชน์มาก เทา่ โยนิโสมนสิการเลย๒ ควรทาํ ความเข้าใจเกี่ยวกบั ปัจจัย ๒ อยา่ งนี้ โดยยอ่ ๑ ข.ุ อติ ิ.๒๕/๑๙๕/๒๓๗; เทียบ สํ.ม.๑๙/๕๒๐/๑๔๒ ๒ ข.ุ อติ ิ.๒๕/๑๙๔/๒๓๖; เทยี บ สํ.ม.๑๙/๕๑๘/๑๔๑

๓๓๘ พทุ ธธรรม ๑.ความมีกลั ยาณมติ ร กัลยาณมิตร มิได้หมายถึงเพียงแค่เพ่ือนท่ีดีอย่างในความหมาย สามัญ แต่หมายถึง บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติที่จะสั่งสอน แนะนํา ชี้แจง ชักจูง ช่วยเหลือ บอกช่องทาง ให้ดําเนินไปในมรรคาแห่งการฝึก ศึกษาอย่างถูกต้อง ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ยกตัวอย่างไว้ เช่น พระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก ครู อาจารย์ และท่านผู้เป็นพหูสูตทรงปัญญา สามารถ สง่ั สอนแนะนาํ เปน็ ที่ปรึกษาได้ แมจ้ ะออ่ นวยั กว่า๑ ในกระบวนการพัฒนาปัญญา ความมกี ัลยาณมติ รนี้ จัดว่าเปน็ ระดับ ความเจรญิ ปัญญา ในขนั้ ศรทั ธา ส่วนในระบบการศึกษาอบรม ความมีกัลยาณมิตร มีความหมาย ครอบคลุมถึงตัวบุคคลผู้อบรมสั่งสอน เช่น ครู อาจารย์ เป็นต้น คุณสมบัติ ของผู้สอนน้ัน หลักการ วิธีการ และอุบายต่างๆ ในการสอน ตลอดจนการ จัดดําเนินการต่างๆ ทุกอย่าง ที่ผู้มีหน้าที่เอ้ืออํานวยการศึกษาจะพึงจัดทํา เพ่ื อให้ การศึ กษาได้ ผลดี เท่ าท่ี เป็ นองค์ ประกอบภายนอกใน กระบวนการพัฒนาปัญญาน้ัน ซึ่งนับว่าเป็นเร่ืองใหญ่ ที่อาจนําไปบรรยาย ไดเ้ ปน็ อีกเรื่องหน่ึงต่างหาก ในท่ีนี้ จะยกพุทธพจน์แสดงคุณสมบัติของกัลยาณมิตร มาเป็น ตัวอยา่ งเพียงชดุ หนงึ่ ไดแ้ ก่ กัลยาณมิตรธรรม ๗ ประการ ดงั นี้ ภกิ ษทุ ง้ั หลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นมติ ร ท่คี วรเสวนา ควรคบหา แม้จะถูกขับไล่ ก็ควรเข้าไปน่ังอยู่ใกล้ๆ กล่าวคือ เป็นผู้น่ารักน่า พอใจ ๑ เป็นผู้น่าเคารพ ๑ เป็นผู้น่ายกย่อง ๑ เป็นผู้รู้จักพูด ๑ เป็นผู้ อดทนต่อถ้อยคํา ๑ เป็นผู้กล่าวแถลงถ้อยท่ีลึกซ้ึงได้ ๑ ไม่ชักนําในเรื่องท่ี เหลวไหลไม่สมควร ๑๒ ๑ ดู วสิ ทุ ธฺ .ิ ๑/๑๒๓–๑๒๕ ตรสั สรปุ ไว้เป็นคาถาให้จาํ งา่ ยวา่ ๒ องฺ.สตตฺ ก.๒๓/๓๔/๓๓; ปิโย จ ครุ ภาวนีโย วตฺตา จ วจนกฺขโม คมฺภีรญจฺ กถํ กตฺตา โน จฏฺฐาเน นโิ ยชเย

สมเด็จพระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๓๓๙ จากน้ี จะแสดงเพียงความสําคัญ และคุณประโยชน์ ของการมีกัลยาณมิตร (กัลยาณมิตตตา) ไว้ พอใหเ้ ห็นฐานะของหลักการข้อน้ใี นพทุ ธธรรม ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณข้ึนมาก่อนเป็น บุพนิมิต ฉันใด ความมีกัลยาณมิตร ก็เป็นตัวนํา เป็นบุพนิมิต แห่งการ เกิดข้ึนของอริยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันน้ัน ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร พึง หวงั สิง่ น้ไี ด้ คือ จกั เจรญิ จักทาํ ให้มาก ซึง่ อริยอษั ฎางคิกมรรค๑ ดูกรอานนท์ ความมีกัลยาณมิตร...เท่ากับเป็นพรหมจรรย์ท้ังหมด ทีเดียว เพราะว่า ผู้มีกัลยาณมิตร...พึงหวังสิ่งน้ีได้ คือ เขาจักเจริญ จักทําให้ มาก ซ่ึงอรยิ อัษฎางคิกมรรค อาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร เหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจาก ชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจาก มรณะ ผ้มู โี สกะ ปรเิ ทวะ ทุกข์ โทมนัส และอปุ ายาส เปน็ ธรรมดา ยอ่ มพน้ จาก โสกะ ปริเทวะ ทกุ ข์ โทมนสั และ อุปายาส๒ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงเงินแสงทองเป็น บุพนิมิตมาก่อน ฉันใด ความมีกัลยาณมิตร ก็เป็นตัวนํา เป็นบุพนิมิต แห่ง การเกดิ ข้ึนของโพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ ฉันน้ัน ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร พึงหวังสิ่ง นไี้ ด้ คือ จักเจรญิ จักทําใหม้ าก ซ่ึงโพชฌงค์ ๗๓ เราไม่เล็งเห็นธรรมอ่ืนแม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุยังกุศลธรรมท่ียังไม่ เกิด ให้เกิดข้ึน หรือยังอกุศลธรรมท่ีเกิดข้ึนแล้ว ให้เสื่อมไป เหมือนความมี กัลยาณมิตรเลย เม่ือบุคคลมีกัลยาณมิตร กุศลธรรมท่ียังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมทเ่ี กิดข้นึ แลว้ ยอ่ มเสือ่ มไป๔ เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่าง ท่ีเป็นไปเพื่อประโยชน์ย่ิงใหญ่ เหมอื นความมีกลั ยาณมติ รเลย๕ ๑ ส.ํ ม.๑๙/๑๒๙/๓๖, ฯลฯ ๒ ส.ํ ม.๑๙/๕-๑๑/๒/๕, ฯลฯ ๓ ส.ํ ม.๑๙/๔๑๑/๑๑๒ ๔ อง.ฺ เอก.๒๐/๗๒/๑๖ ๕ อง.ฺ เอก.๒๐/๙๖/๒๐

๓๔๐ พทุ ธธรรม เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่าง ท่ีเป็นไปเพื่อความดํารงม่ัน ไม่เส่ือม สญู ไม่อันตรธานแห่งสทั ธรรม เหมอื นความมกี ัลยาณมติ รเลย๑ โดยกําหนดว่าเป็นองค์ประกอบภายนอก เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบอ่ืน แม้สักข้อหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ย่ิงใหญ่ เหมือนความมีกัลยาณมิตร เลย๒ สําหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาความเกษมจาก โยคะอันยอดเย่ียม เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายนอกอย่างอ่ืนแม้สักอย่าง หนึ่ง ที่มีประโยชน์มาก เหมือนความมีกัลยาณมิตรเลย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร ย่อมกําจดั อกศุ ลได้ และย่อมบําเพ็ญกศุ ลใหเ้ กดิ ขึน้ ๓ ภกิ ษุผูม้ กี ลั ยาณมิตร...พึงหวงั ส่ิงนีไ้ ด้ คือ ๑. จกั เปน็ ผู้มีศลี สํารวมระวังในปาติโมกข์ สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร ฯลฯ ๒. จักเป็นผู้ (มีโอกาสได้ยินได้ฟัง ได้ร่วมสนทนาอย่างสะดวกสบาย) ตามความปรารถนา ในเรื่องต่างๆ ท่ีขัดเกลาอุปนิสัย ชําระจิตใจให้ปลอดโปร่ง คือ เร่ืองความมักน้อย ฯลฯ เรื่องการบําเพ็ญเพียร เร่ืองศีล เรื่องสมาธิ เร่ือง ปัญญา เรอ่ื งวมิ ตุ ติ เร่อื งวิมตุ ติญาณทสั สนะ ๓. จักเป็นผู้ตั้งหน้าทําความเพียร เพื่อกําจัดอกุศลธรรม และเพ่ือ บําเพ็ญกุศลธรรมให้เพียบพร้อม จักเป็นผู้แข็งขัน บากบ่ันม่ันคง ไม่ทอด ธรุ ะในกุศลธรรม ๔. จักเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เป็นอริยะ หย่ังรู้ถึงความ เกดิ ความดับ ชาํ แรกกิเลส นาํ ไปสูค่ วามสูญสิ้นแห่งทุกข์”๔ ๑ องฺ.เอก.๒๐/๑๒๘/๒๕ ๒ องฺ.เอก.๒๐/๑๑๒/๒๒ ๓ ขุ.อติ .ิ ๒๕/๑๙๕/๒๓๗ ๔ อง.ฺ นวก.๒๓/๒๐๕, ๒๐๗/๓๖๕, ๓๗๐; ขุ.อ.ุ ๒๕/๘๘/๑๒๗

สมเด็จพระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๓๔๑ ๒. โยนโิ สมนสิการ โยนิโสมสิการ เป็นการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี ตามความหมายท่ี กลา่ วมาแล้ว เมอ่ื เทยี บในกระบวนการพัฒนาปัญญา โยนิโสมนสิการ อยู่ในระดับ ที่เหนือศรทั ธา เพราะเปน็ ข้นั ทใี่ ชค้ วามคิดของตนเองเปน็ อิสระ ส่วนในระบบการศึกษาอบรม โยนิโสมนสิการเป็นการฝึกการใช้ ความคิด ให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระเบียบ รู้จักคิดวิเคราะห์ ไม่ มองเห็นส่ิงต่างๆ อย่างต้ืนๆ ผิวเผิน เป็นขั้นสําคัญในการสร้างปัญญาท่ี บริสุทธิ์เป็นอิสระ ทําให้ทุกคนช่วยตนเองได้ และนําไปสู่จุดหมายของพุทธ ธรรมอย่างแทจ้ ริง ความสําคัญ และคุณประโยชน์ ของโยนิโสมนสิการ พึงเห็นได้ตาม ตัวอยา่ งพทุ ธพจน์ ตอ่ ไปน้ี ภิกษทุ งั้ หลาย เมือ่ ดวงอาทติ ยอ์ ทุ ยั อยู่ ย่อมมีแสงอรุณข้ึนมาก่อน เป็น บพุ นิมิต ฉนั ใด ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ก็เป็นตัวนํา เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอริยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันน้ัน ภิกษุผู้ถึงพร้อม ด้วยโยนิโสมนสิการ พึงหวังส่ิงน้ีได้ คือ จักเจริญ จักทําให้มาก ซ่ึงอริย อษั ฎางคกิ มรรค๑ ภิกษุท้ังหลาย เม่ือดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงเงินแสงทอง เป็น บุพนิมิตมาก่อน ฉันใด โยนิโสมนสิการก็เป็นตัวนํา เป็นบุพนิมิต แห่งการ เกิดข้ึนของโพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ ฉันน้ัน ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ พึงหวงั สง่ิ นไี้ ด้ คอื จกั เจริญ จักทาํ ให้มาก ซง่ึ โพชฌงค์ ๗๒ ๑ สํ.ม.๑๙/๑๓๖/๓๗ ; ฯลฯ ๒ ส.ํ ม.๑๙/๔๑๓/๑๑๓

๓๔๒ พุทธธรรม เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักอย่างหน่ึง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมท่ียังไม่ เกิด เกิดข้ึน หรือให้อกุศลธรรมที่เกิดข้ึนแล้ว เส่ือมไป เหมือนโยนิโสมนสิการ เลย เมื่อมโี ยนโิ สมนสกิ าร กศุ ลธรรมที่ยังไมเ่ กดิ ย่อมเกิดข้นึ และอกศุ ลธรรมท่ี เกดิ ขึ้นแลว้ ยอ่ มเส่อื มไป๑ เราไมเ่ ล็งเห็นธรรมอืน่ แม้สกั อยา่ ง ท่ีเปน็ ไปเพื่อประโยชน์ย่ิงใหญ่๒... ที่ เป็นไปเพื่อความดํารงมั่น ไม่เส่ือมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม๓ เหมือน โยนิโสมนสิการเลย โดยกําหนดว่าเป็นองค์ประกอบภายใน เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบอ่ืน แม้สักอยา่ งหนง่ึ ที่เป็นไปเพ่ือประโยชน์ย่งิ ใหญ่ เหมอื นโยนโิ สมนสิการเลย๔ สําหรับภิกษุผู้เสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาความเกษมจากโยคะ อันยอดเย่ียม เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายในอย่างอ่ืน แม้สักอย่าง ท่ีมี ประโยชน์มาก เหมือนโยนิโสมนสิการเลย ภิกษุผู้ใช้โยนิโสมนสิการ ย่อมกําจัด อกศุ ลได้ และบาํ เพญ็ กุศลให้เกิดขนึ้ ๕ เราไม่เลง็ เหน็ ธรรมอย่างอ่ืน แม้สกั ขอ้ หนึ่ง ซ่ึงเป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิ ท่ี ยังไม่เกิด ได้เกิดข้ึน หรือให้สัมมาทิฏฐิท่ีเกิดขึ้นแล้ว เจริญย่ิงข้ึน เหมือน โยนิโสมนสิการเลย เม่ือมีโยนิโสมนสิการ สัมมาทิฏฐิท่ียังไม่เกิด ย่อมเกิดข้ึน และสัมมาทฏิ ฐิท่เี กิดขนึ้ แลว้ ยอ่ มเจรญิ ยง่ิ ข้ึน๖ เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหน่ึง ซ่ึงเป็นเหตุให้โพชฌงค์ที่ยังไม่ เกิด ได้เกิดขึ้น หรือให้โพชฌงค์ที่เกิดข้ึนแล้ว ถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย เมื่อมีโยนิโสมนสิการ โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อม เกดิ ข้ึน และโพชฌงคท์ ี่เกิดขึ้นแลว้ ยอ่ มมีความเจริญเต็มบรบิ ูรณ์๗ ๑ อง.ฺ เอก.๒๐/๖๘/๑๕ ๒ อง.ฺ เอก.๒๐/๙๒/๒๐ ๓ อง.ฺ เอก.๒๐/๑๒๔/๒๔ ๔ องฺ.เอก.๒๐/๑๐๘/๒๒ ๕ ข.ุ อิต.ิ ๒๕/๑๙๔/๒๓๖ ๖ องฺ.เอก.๒๐/๑๘๖/๔๑ ๗ องฺ.เอก.๒๐/๗๖/๑๗

สมเด็จพระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๓๔๓ เราไม่เล็งเห็นธรรมอ่ืน แม้สักข้อหนึ่ง ที่จะเป็นเหตุให้ความสงสัยที่ยัง ไม่เกิด ก็ไม่เกิดข้ึน หรือที่เกิดข้ึนแล้ว ก็ถูกกําจัดได้ เหมือนโยนิโสมนสิการ เลย๑ เม่ือโยนิโสมนสิการอสุภนิมิต ราคะท่ียังไม่เกิด ก็ไม่เกิดข้ึน ราคะที่เกิด แล้ว ก็ถูกละได้ เม่ือโยนิโสมนสิการเมตตาเจโตวิมุตติ โทสะท่ียังไม่เกิด ก็ไม่ เกิดข้ึน โทสะที่เกิดแล้ว ก็ถูกละได้ เมื่อโยนิโสมนสิการ (โดยทั่วไป) โมหะท่ียัง ไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น และโมหะที่เกิดแลว้ ก็ถกู ละได้๒ เมอ่ื โยนิโสมนสกิ าร...(นวิ รณ์ ๕)...ทยี่ งั ไม่เกิด ก็ไม่เกิดข้นึ ทีเ่ กิดขึ้นแล้ว ก็ถูกกําจัดได้...(โพชฌงค์ ๗)...ที่ยังไม่เกิด ก็เกิดข้ึน และท่ีเกิดข้ึนแล้ว ก็ถึง ความเจรญิ เตม็ บริบรู ณ๓์ ธรรม ๙ อย่างที่มีอุปการะมาก ได้แก่ ธรรม ๙ อย่าง ซ่ึงมีโยนิโส มนสิการเป็นมูล กล่าวคือ เม่ือโยนิโสมนสิการ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อ ปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจปีติ กายย่อมเรียบรื่นผ่อนคลาย (ปัสสัทธิ) เมื่อกายเรียบร่ืนผ่อนคลาย ย่อมได้เสวยสุข ผู้มีสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ ผู้มีจิต เป็นสมาธิ ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง เม่ือรู้เห็นตามเป็นจริง ย่อมนิพพิทาเอง เมื่อนิพพิทา ก็วริ าคะ เพราะวิราคะ กว็ ิมุตติ๔ ตามนัยพทุ ธพจน์นี้ เขียนให้ดูงา่ ย เป็น โ ย นิ โ ส ม น สิ ก า ร →ป ร า โ ม ท ย์ →ปี ติ →ปั ส สั ท ธิ →สุ ข →ส ม า ธิ →ยถาภตู ญาณทัสสนะ→นพิ พทิ า→วริ าคะ→วมิ ตุ ติ กล่าวโดยสรุป สําหรับคนทั่วไป ผู้มีปัญญายังไม่แก่กล้า ยังต้อง อาศัยการแนะนําชักจูงจากผู้อ่ืน การพัฒนาปัญญา นับว่าเร่ิมต้นจาก องค์ประกอบภายนอก คอื ความมีกัลยาณมติ ร (กัลยาณมิตตตา) สําหรับ ให้เกดิ ศรทั ธา (ความมนั่ ใจดว้ ยเหตุผลทไ่ี ด้พจิ ารณาเห็นจริงแล้ว) ก่อน ๑ องฺ.เอก.๒๐/๒๑/๕ ๒ องฺ.ติก.๒๐/๕๐๘/๒๕๘ ๓ ส.ํ ม.๑๙/๔๔๖-๗/๑๒๒ ๔ ท.ี ปา.๑๑/๔๕๕/๓๒๙

๓๔๔ พุทธธรรม จากนั้น จงึ ก้าวมาถึงข้ัน องค์ประกอบภายใน เริ่มแต่นําความเข้าใจ ตามแนวศรัทธาไปเป็นพื้นฐาน ในการใช้ความคิดอย่างอิสระ ด้วยโยนิโส- มนสิการ ทําให้เกิดสัมมาทิฏฐิ และทําให้ปัญญาเจริญยิ่งข้ึน จนกลายเป็น ญาณทสั สนะ คอื การร้กู ารเห็นประจกั ษใ์ นท่ีสดุ ๑ เมื่อกระจายลําดับขั้นในการพัฒนาปัญญาตอนน้ีออกไป จึงตรงกับ ลําดบั อาหารของวิชชาและวิมุตติ ทก่ี ล่าวมาแล้วขา้ งตน้ ๒ คอื การเสวนาสัตบุรุษ→การสดับเล่าเรียนสัทธรรม→ศรัทธา →โยนโิ สมนสิการ ฯลฯ เม่ือสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ก็จะเจริญเข้าสู่จุดหมายด้วยการอุดหนุน ขององคป์ ระกอบตา่ งๆ อยา่ งพุทธพจนท์ ี่วา่ ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ อันองค์ประกอบ ๕ อย่างคอยหนุน (อนุเคราะห์) ย่อมมเี จโตวิมตุ ติ และปญั ญาวิมุตติ เปน็ ผลานสิ งส์ องค์ประกอบ ๕ อย่างนนั้ คือ ๑. ศลี (ความประพฤตดิ งี าม สจุ รติ ) ๒. สุตะ (ความรู้จากการสดับ เล่าเรียน อ่านตํารา การแนะนําสั่งสอน เพิม่ เติม) ๓. สากัจฉา (การสนทนา ถกเถียง อภิปราย แลกเปล่ียนความคิดเห็น สอบค้นความร)ู้ ๑ พึงสังเกตวา่ การรกู้ ารเห็นประจกั ษ์นนั้ มี ๒ ข้ัน และพระพุทธศาสนายอมรับว่า ทั้ง ๒ ขั้นนั้น เปน็ สจั จะ คือเปน็ ความจรงิ ด้วยกนั ทั้งนั้น แตม่ คี วามหมายและคุณคา่ ทางปัญญาต่างกนั คอื ๑. การรู้การเห็นประจักษ์ เท่าที่เป็นไปทางประสาทท้ัง ๕ คือ ตา หู จมูก ล้ิน กาย เป็น สมมติสจั จะ สาํ หรับการหมายรูร้ ว่ มกันและใช้ประโยชนใ์ นชวี ิตประจําวัน (conventional or relative truth) ๒. การรู้การเห็นประจักษ์ ด้วยปัญญาหยั่งรู้สภาวะของส่ิงเหล่าน้ันว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นต้น เป็น ปรมัตถสัจจะ สําหรับรู้เท่าทันภาวะของสิ่งทั้งหลาย มีชีวิตที่เป็น อิสระ ใช้ประโยชน์จากส่ิงเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องตามความหมายของมันมากที่สุด (ultimate or absolute truth) แต่ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม พุทธศาสนายอมรับความจริง เฉพาะด้วยการรู้การเห็นประจักษ์ ๒ เดทู เา่ รนอ่ื น้ั งอาหารของวิชชาและวิมตุ ติ หน้า ๒๑๖

สมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๓๔๕ ๔. สมถะ (ความสงบ การทําใจให้สงบ การไม่มีความฟุ้งซ่านวุ่นวายใจ การเจริญสมาธิ) ๕. วิปัสสนา (การใช้ปัญญาพิจารณามองเห็นสิ่งต่างๆ ตามสภาวะของ มัน คอื ตามท่ีมนั เปน็ จรงิ )๑ โดยสรุป สมั มาทิฏฐิ ก็คือความเห็นที่ตรงตามสภาวะ คือ เห็นตามที่ สิ่งทั้งหลายเป็นจริง หรอื ตามท่มี นั เปน็ การท่ีสัมมาทิฏฐิจะเจริญข้ึน ย่อมต้องอาศัยโยนิโสมนสิการเรื่อยไป เพราะโยนิโสมนสิการช่วยให้ไม่มองสิ่งต่างๆ อย่างผิวเผิน หรือมองเห็น เฉพาะผลรวมที่ปรากฏ แต่ช่วยให้มองแบบสืบค้นแยกแยะ ท้ังในแง่การ วิเคราะห์ส่วนประกอบที่มาประชุมกันเข้า และในแง่การสืบทอดแห่งเหตุ ปัจจัย ตลอดจนมองให้ครบทุกแง่ด้าน ท่ีจะให้เห็นความจริง และถือเอา ประโยชนไ์ ด้ จากทกุ สง่ิ ทกุ อย่างทีป่ ระสบหรอื เกยี่ วขอ้ ง การมองและคิดพิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการ ทําให้ไม่ถูกลวง ไม่ กลายเป็นหุ่นที่ถูกยั่วยุ ปลุกปั่น และเชิด ด้วยปรากฏการณ์ทางรูป เสียง กล่ิน รส โผฏฐัพพะ และคตินิยมต่างๆ จนเกิดเป็นปัญหาทั้งแก่ตนและ ผ้อู ื่น แตท่ าํ ให้มสี ติสัมปชัญญะ เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง คิดตัดสินและ กระทาํ การตา่ งๆ ด้วยปัญญา เม่ือคิดโดยมีโยนิโสมนสิการ ก็ทําให้สังกัปย้อนกลับมาเป็นปัจจัย แก่ทิฏฐิ เป็นสัมมาสังกัปปะที่ช่วยให้สัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นเจริญข้ึน๒ พูดรวมๆ คลุมความว่า โยนิโสมนสิการช่วยนําช่วยหนุนเสริมเพ่ิมขยายทําให้ สมั มาทิฏฐิเตม็ บรบิ รู ณ์ ๑ แปลรวบความจาก อง.ฺ ปญฺจก.๒๒/๒๕/๒๒ ๒ ตัวอยางคําอธิบายการมีโยนิโสมนสิการ ทําใหสัมมาสังกัปปะชวยใหเกิดสัมมาทิฏฐิ อุ.อ.๒๕๕; เนตตฺ .ิ อ. (ฉบบั อกั ษรพม่า) 146

๒. สัมมาสังกัปปะ คําจาํ กัดความ และความหมายของสัมมาสงั กัปปะ องค์มรรคข้อท่ี ๒ น้ี มีคําจํากัดความตามคัมภีร์ ซ่ึงถือเป็นหลัก ทว่ั ไป ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน? เนกขัมมสังกัปป์ อพยาบาทสงั กปั ป์ อวิหิงสาสังกปั ป์ นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ๑ นอกจากน้ี ยังมีคําจํากัดความแบบแยกออกเป็น ระดับโลกิยะ และ ระดบั โลกตุ ตระ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน? เรากล่าวว่าสัมมาสังกัปปะมี ๒ อย่าง คือ สัมมาสังกัปปะท่ียังมีอาสวะ ซึ่งเป็นฝ่ายบุญ อํานวยวิบากแก่ขันธ์ อย่างหนึ่ง กับสัมมาสังกัปปะท่ีเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ และเป็น องคม์ รรคอยา่ งหน่ึง สัมมาสังกัปปะ ที่ยงั มอี าสวะ...คือ เนกขัมมสังกัปป์ อพยาบาทสังกัปป์ อวหิ ิงสาสังกัปป์... สัมมาสงั กปั ปะ ทเ่ี ปน็ อริยะ ไมม่ อี าสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์มรรค คือ ความระลึก (ตักกะ) ความนึกคิด (วิตักกะ) ความดําริ (สังกัปป์) ความคิดแน่ว แน่ (อัปปนา) ความคิดแน่นแฟ้น (พยัปปนา) ความเอาใจจดจ่อลง วจีสังขาร ของบุคคลผู้มีจิตเป็นอริยะ มีจิตไร้อาสวะ ผู้พร้อมด้วยอริยมรรค ผู้กําลังเจริญ อริยมรรคอยู่...๒ เพ่ือรวบรัด ในที่น้ี จะทําความเข้าใจกันแต่เพียงคําจํากัดความแบบ ทั่วไป ที่เรียกว่าเป็นขั้นโลกิยะ เท่าน้ัน ตามคําจํากัดความแบบนี้ สัมมา- สังกัปปะ คือ ความดําริชอบ หรือความนึกคิดในทางที่ถูกต้อง ตรงข้ามกับ ความดาํ รผิ ดิ ทเี่ รยี กวา่ มจิ ฉาสงั กปั ปะ ซ่ึงมี ๓ อย่าง คือ ๑ ท.ี ม.๑๐/๒๙๙/๓๔๘; ม.อ.ุ ๑๔/๗๐๔/๔๕๓; อภิ.วิ.๓๕/๑๖๔/๑๓๖, ๕๗๑/๓๑๗ ๒ ม.อุ.๑๔/๒๖๑-๓/๑๘๒; อภ.ิ วิ.๓๕/๒๐๖/๑๔๔; ๕๒๘/๓๒๐

สมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๓๔๗ ๑. กามสังกัปป์ หรือ กามวิตก คือ ความดําริที่เก่ียวข้องกับกาม ความนึก คิดในทางท่ีจะแสวงหาส่ิงเสพ ความคิดอยากได้ หรือหมกมุ่นพัวพันติด ขอ้ งอย่กู ับส่งิ สนองความต้องการทางประสาททง้ั ๕ หรือส่ิงสนองตัณหา อุปาทานต่างๆ ความคิดในทางเห็นแก่ตัว เป็นความนึกคิดในฝ่ายราคะ หรือโลภะ ๒. พยาบาทสังกัปป์ หรือ พยาบาทวิตก คือ ความดําริที่ประกอบด้วย ความขัดเคือง ไม่พอใจ เคียดแค้น ชิงชัง คิดเห็นในแง่ร้ายต่างๆ ความ ขาดเมตตา เป็นความนกึ คิดในฝา่ ยโทสะแง่ถูกกระทบ ๓. วิหิงสาสังกัปป์ หรือ วิหิงสาวิตก คือ ความดําริในทางที่จะเบียดเบียน ทําร้าย การคิดท่ีจะข่มเหง รังแก ต้องการก่อทุกข์ ทําให้คนและสัตว์ ทั้งหลายเดือดร้อน ไม่มีความกรุณา เป็นความนึกคิดในฝ่ายโทสะแง่จะ ออกไปกระทบ ความดําริหรือแนวความคิดแบบนี้ เป็นเรื่องปรกติของคนส่วนมาก เพราะตามธรรมดา เมื่อปุถุชนรับรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จะโดยการ เห็น ได้ยิน ได้สัมผัส เป็นต้น ก็ตาม จะเกิดความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งใน สองอย่าง คือ ถ้าถูกใจ ก็ชอบ ติดใจ อยากได้ พัวพัน คล้อยตาม ถ้าไม่ ถูกใจ ก็ไม่ชอบ ขัดใจ ขัดเคือง ชัง ผลัก แย้ง เป็นปฏิปักษ์ จากน้ัน ความ ดําริ นึกคิดต่างๆ ก็จะดําเนินไปตามแนวทางหรือตามแรงผลักดันของ ความชอบและไม่ชอบน้ัน ด้วยเหตุนี้ ความคิดของปุถุชนโดยปกติ จึงเป็นความคิดเห็นท่ีเอน เอียงไปข้างใดข้างหน่ึง มีความพอใจและไม่พอใจของตนเข้าไปเคลือบแฝง ชกั จูง ทําใหไ้ ม่เห็นสิง่ ทั้งหลายตามท่ีมนั เป็นของมนั เองลว้ นๆ ความนึกคิดที่ดําเนินไปจากความถูกใจ ชอบใจ เกิดความติดใคร่ พวั พัน เอียงเขา้ หา ก็กลายเป็นกามวิตก ส่วนท่ดี ําเนินไปจากความไม่ถูกใจ ไมช่ อบใจ เกดิ ความขัดเคอื ง ชิงชัง เป็นปฏิปักษ์ มองในแง่ร้าย ก็กลายเป็น พยาบาทวิตก ท่ีถึงขนาดพุ่งออกมาเป็นความคิดรุกราน คิดเบียดเบียน อยากทําร้าย ก็กลายเป็นวิหิงสาวิตก ทําให้เกิดทัศนคติ (หรือเจตคติ) ต่อ สง่ิ ตา่ งๆ อย่างไม่ถกู ต้อง

๓๔๘ พทุ ธธรรม ความดําริหรือความนึกคิดที่เอนเอียง ทัศนคติที่บิดเบนและถูก เคลือบแฝงเช่นน้ี เกดิ ขน้ึ กเ็ พราะการขาดโยนิโสมนสิการแต่ต้น คือ มองส่ิง ต่างๆ อย่างผิวเผิน รับรู้อารมณ์เข้ามาท้ังดุ้น โดยขาดสติสัมปชัญญะ แล้ว ปล่อยความนึกคิดให้แล่นไปตามความรู้สึก หรือตามเหตุผลท่ีมีความชอบ ใจ ไม่ชอบใจเป็นตัวนํา ไม่ได้ใช้ความคิดวิเคราะห์แยกแยะส่วนประกอบ และความคดิ สบื สาวสอบคน้ เหตปุ ัจจัย ตามหลักโยนโิ สมนสกิ าร โดยนัยน้ี มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเข้าใจผิดพลาด ไม่มองเห็นส่ิง ท้ังหลายตามความเป็นจริง จึงทําให้เกิด มิจฉาสังกัปปะ คือ ดําริ นึกคิด และมีทัศนคติต่อส่ิงทั้งหลายอย่างผิดพลาดบิดเบือน และมิจฉาสังกัปปะนี้ ก็ส่งผลสะท้อนให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ เข้าใจและมองเห็นสิ่งท้ังหลายอย่าง ผิดพลาดบิดเบือนต่อไปหรือย่ิงข้ึนไปอีก องค์ประกอบทั้งสอง คือ มิจฉาทฏิ ฐิ และมจิ ฉาสังกัปปะจึงสง่ เสรมิ สนบั สนุนซงึ่ กนั และกัน ในทางตรงข้าม การท่ีจะมองเห็นส่ิงทั้งหลายถูกต้องตามท่ีมันเป็น ของมันเองได้ ต้องใช้โยนิโสมนสิการ ซ่ึงหมายความว่า ขณะนั้นความนึก คิด ความดําริต่างๆ จะต้องปลอดโปร่ง เป็นอิสระ ไม่มีท้ังความชอบใจ ความยึดติด พัวพัน และความไม่ชอบใจ ผลกั แย้ง เป็นปฏปิ ักษ์ตา่ งๆ ด้วย ข้อนี้มีความหมายว่า จะต้องมีสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ และ องค์ประกอบทั้งสองอย่างนี้ส่งเสริมสนับสนุนซ่ึงกันและกัน เช่นเดียวกับใน ฝ่ายมจิ ฉานั่นเอง โดยนัยน้ี ด้วยการมีโยนิโสมนสิการ ผู้นั้นก็มีสัมมาทิฏฐิ คือ มองเห็น และเข้าใจส่ิงต่างๆ ตามความเป็นจริง เมื่อมองเห็นส่ิงต่างๆ ตามความเป็น จริง จึงมีสัมมาสังกัปปะ คือ ดําริ นึกคิด และต้ังทัศนคติต่อส่ิงเหล่านั้น อย่างถูกต้อง ไม่เอนเอียง ยึดติด ขัด ผลัก หรือเป็นปฏิปักษ์ เม่ือมีความ ดํารินึกคิดที่เป็นอิสระจากความชอบใจ ไม่ชอบใจ เป็นกลางเช่นนี้๑ จึงทํา ให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง คือ เสริมสัมมาทิฏฐิให้เพิ่มพูน ๑ ทยทงิ่่าี่มใทักนขีเกขอาา้ งรใจจใติชกค้ใันจวไอามยม่ า่แคงตดิ น่เอร้ี ยพื่อ่าฒังงนนไี้จดาะ้ผขไล้นึดไอ้หปธาใิบไนดาขย้ม้ันตีคสอ่วูงไาจปมะขหกา้ มลงาหายยนเเปา้ ป็น็นกอาุเรบนกิ่งขเาฉยซ่ึงไเมป่เ็นอาอเงรคื่อ์ปงรเอะากรอาบวสอํายค่าัญง

สมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๓๔๙ ยง่ิ ขึ้น จากนั้นองค์ประกอบทัง้ สองก็สนบั สนนุ กนั และกนั หมนุ เวยี นตอ่ ไป ในภาวะจิตท่ีมีโยนิโสมนสิการ จึงมีความดําริซ่ึงปลอดโปร่ง เป็น อิสระ ปราศจากความเอนเอียง ท้ังในทางติดคล้อยเข้าข้าง และในทางเป็น ปฏปิ ักษ์ ผลักเบอื นหนี ตรงข้ามกับมิจฉาสังกัปปะ เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ มี ๓ อย่างเชน่ เดียวกัน คือ ๑. เนกขัมมสังกัปป์ หรือ เนกขัมมวิตก คือ ความดําริท่ีปลอดโลภะ หรือ ประกอบด้วยอโลภะ ความนึกคิดท่ีปลอดโปร่งจากกาม ไม่หมกมุ่น พัวพันติดใคร่ในสิ่งเสพสนองความอยากต่างๆ ความคิดที่ปราศจาก ความเห็นแก่ตัว ความคิดเสียสละ และความคิดที่เป็นคุณหรือเป็นกุศลทุก อย่าง๑ จัดเปน็ ความนกึ คิดทปี่ ลอดราคะหรอื โลภะ ๒. อพยาบาทสังกัปป์ หรือ อพยาบาทวิตก คือ ความดําริที่ไม่มีความ เคียดแค้น ชิงชัง ขัดเคือง หรือการเพ่งมองในแง่ร้ายต่างๆ โดยเฉพาะ มุ่งเอาธรรมทีต่ รงข้าม คือ เมตตา ซงึ่ หมายถึงความปรารถนาดี ความมี ไมตรี ต้องการใหผ้ ้อู ื่นมคี วามสขุ จัดเป็นความคิดที่ปลอดโทสะ ๓. อวิหิงสาสังกัปป์ หรือ อวิหิงสาวิตก คือ ความดําริท่ีปลอดจากการ เบียดเบียน ปราศจากความคิดท่ีจะก่อทุกข์แก่ผู้อ่ืน โดยเฉพาะมุ่งเอา ธรรมที่ตรงข้ามคือ กรุณา ซ่ึงหมายถึงความคิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจาก ความทุกข์ เป็นความคิดท่ีปลอดโทสะเช่นเดยี วกัน ขอ้ สังเกต และเหตผุ ลในการใช้คาํ เชงิ ปฏเิ สธ มีข้อสังเกตอย่างหน่ึง ท่ีอาจมีผู้ยกขึ้นอ้าง ซ่ึงขอช้ีแจงไว้ ณ ท่ีนี้ด้วย คร้ังหน่ึงก่อน คือเรื่องธรรมฝ่ายดีหรือกุศล ซึ่งตรงข้ามกับฝ่ายช่ัวหรือ อกศุ ล ในพทุ ธธรรมแทนท่จี ะใชศ้ ัพท์ตรงขา้ ม มกั ใชแ้ ตเ่ พียงแคศ่ ัพทป์ ฏิเสธ ทําใหม้ ผี คู้ ดิ เห็นไปวา่ พุทธธรรมเปน็ คําสอนแบบนิเสธ (negative) และเฉย เฉือ่ ย (passive) เพียงแตไ่ ม่ทําความชั่ว อยูเ่ ฉยๆ กเ็ ป็นความดเี สยี แล้ว ๑ เนกขัมมะ = อโลภะ (วภิ งคฺ .อ.๙๗), เนกขัมมธาตุ = กศุ ลธรรมทั้งปวง (ปฏสิ .ํ อ.๗๙)

๓๕๐ พทุ ธธรรม อย่างท่ีน้ี ตรงข้ามกับพยาบาทสังกัปป์ในฝ่ายมิจฉาสังกัปป์ ฝ่าย สัมมาสังกัปป์แทนท่ีจะเป็นเมตตา กลับเป็นเพียงอพยาบาทสังกัปป์ คือ ปฏเิ สธฝา่ ยมิจฉาเท่าน้ัน ความเข้าใจเช่นน้ีผิดพลาดอย่างไร จะได้ชี้แจงต่อๆ ไปตามโอกาส แต่เฉพาะเร่อื งน้ี จะชี้แจงเหตุผลแกค้ วามเข้าใจผดิ เพยี งสั้นๆ กอ่ น การที่ธรรมฝ่ายกุศล (ในกรณีอย่างน้ี) ใช้ถ้อยคําท่ี(เหมือน)เป็นเพียง ปฏิเสธธรรมฝ่ายอกุศลเท่าน้ัน เช่น เปลี่ยนจาก “วิหิงสา” เป็น “อวิหิงสา” มีเหตผุ ลดงั น้ี ๑. โดยธรรมดาแหง่ ระบบการพฒั นาของชวี ิต หรือโดยความเป็น จรงิ แห่งการพฒั นาของชีวติ ท่ีเปน็ ระบบของธรรมชาติ อย่างที่กล่าวแล้วว่า มรรคเป็นทางสายเดียว แต่มีองค์ประกอบ ๘ การท่ีชีวิตเจริญงอกงามก้าวหน้าไปในมรรค ก็หมายถึงการท่ีองค์ทั้ง ๘ ของมรรคนั้น เป็นปัจจัยหนุนกันและพัฒนาพร้อมไปด้วยกัน ถ้าใช้คํานิยม ของยุคสมยั กว็ ่า พัฒนาอย่างบูรณาการเปน็ องคร์ วม ไม่เฉพาะมองเป็นช่วงเวลา แม้แต่ในทุกๆ ขณะ องค์ท้ัง ๘ ของ มรรค ก็ทําหน้าที่ของตนๆ อย่างประสานซึ่งกันและกัน ความเจริญก้าวไป ในมรรค ก็คือ การพัฒนาของชีวิต ท่ีองค์มรรคทั้ง ๘ ก้าวประสานไป ด้วยกันท้งั ระบบครบทุกสว่ น ได้บอกแลว้ ว่า องค์มรรคท้ัง ๘ นน้ั รวมได้เปน็ ๓ หมวด คอื ด้านศีล ท่เี ปน พฤติกรรมการแสดงออกทางกายวาจาและส่อื สารกบั ภายนอก ดา้ นสมาธหิ รอื ดา้ นจิตใจ ท่ีเปนเจตจํานงคณุ ธรรมความรูส กึ และ ด้านปญั ญา ทีเ่ ปนเรอื่ งของความร-ู คดิ -หย่ังเหน็ -เขา ใจ ถา้ พูดในแง่จริยธรรมก็บอกว่า จริยธรรมจะถูกต้อง เป็นพรหมจริยะ ได้ ต้องให้ความถกู ต้องมีอยู่และดําเนินไปในชีวิตท้ัง ๓ ด้านพร้อมกันอย่าง ประสานสอดคล้อง คือ ทั้งด้านพฤติกรรม ท่ีแสดงออกภายนอกทางกาย วาจา ท้งั ดา้ นจติ ใจ และทัง้ ดา้ นปัญญา

สมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๓๕๑ ดังนั้น ขณะท่ีพูดดีทําดี ก็ต้องมีเจตนากอปรด้วยคุณธรรมและ ความรสู้ ึกทด่ี ี พรอ้ มทง้ั มคี วามคดิ ความเขา้ ใจท่ดี ดี ้วย ในทํานองเดียวกัน ในภาวะจิตใจและความรู้สึกท่ีดี ด้านพฤติกรรม กายวาจา ตลอดจนการใช้ตาหูดูฟัง ก็ต้องดีงามสงบสํารวมด้วย ด้าน ปัญญากค็ ิดเหน็ ชอบ และมคี วามรเู้ ข้าใจตระหนักชดั สอดคลอ้ งกัน ด้านปัญญาก็เช่นน้ันเหมือนกัน ขณะที่คิดพิจารณาทําความรู้เข้าใจ ต่างๆ ก็ต้องมีสภาพจิตดีมีความรู้สึกท่ีเป็นกุศล เช่น ไม่ขัดเคือง ไม่ขุ่นมัว เศร้าหมอง และพฤติกรรมกายวาจารวมทั้งการใช้อินทรีย์ทั้งหลาย (เช่น ตา ห)ู กต็ อ้ งสงบสํารวมดีงามด้วยเชน่ เดียวกัน รวมความว่า ในกิจกรรมทุกครั้งทุกขณะของชีวิต ท่ีคนกําลังกระทํา ถา้ เขาทําถูกทําดี องคม์ รรค ทั้ง ๘ ข้อ ท้ัง ๓ ด้าน ก็ดําเนินไป รวมเป็นการ ดําเนินชีวิตถูกต้อง หรือวิถีชีวิตดีงาม ท่ีเรียกว่ามรรค (ถ้าทําไม่ถูกไม่ดี ก็ เปน็ มิจฉา ไม่เปน็ มรรค) กิจกรรมที่ว่านั้น ไม่เฉพาะกิจกรรมท่ีเป็นรูปธรรมทางกายวาจา แต่ รวมทั้งกิจกรรมนามธรรมในใจ และในทางปญั ญาด้วย สงสัยว่า ในเวลาท่ีใจสดชื่นเอิบอ่ิมเบิกบานผ่องใส หรือคิดเหตุผล คิดแก้ปัญหาคิดวางแผนอะไรอยู่ หรือแม้แต่นั่งสมาธิอยู่น่ิงๆ หรือเจริญ วิปัสสนาในข้อตามดูรู้ทันจิตของตนอยู่ บางทีร่างกายไม่ได้เคล่ือนไหวอะไรเลย จะมีพฤติกรรมที่ถูกท่ีดี เป็นพูดชอบทําชอบ (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ) ได้อยา่ งไร ตอบว่า น่ีละคือคําตอบที่ว่า ทําไมองค์มรรคบางข้ออย่างสัมมา สังกัปปะ สมั มาวาจา และสมั มากมั มนั ตะ จึงมีความหมายท่แี สดงไว้เป็นคํา ปฏิเสธ ธรรมทีจ่ ะเป็นองคข์ องมรรค ตอ้ งมีความหมายกว้างขวางครอบคลุม ความเป็นจริงของชีวิต ท่ีทุกส่วนทํางานหรือทําหน้าที่ประสานกันเป็น ระบบหน่ึงเดยี ว ดําเนนิ กา้ วหน้าไปด้วยกนั ทเี่ รียกวา่ มรรคนั้นได้

๓๕๒ พุทธธรรม ขณะที่ทํากิจกรรมทางจิตใจ หรือทํากิจกรรมทางปัญญาอยู่น่ิงๆ ถึงแม้ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ก็พูดชอบ=มีสัมมาวาจา ทําชอบ=มี สัมมากัมมันตะได้ เหมือนอย่างที่พูดด้วยคําง่ายๆ ว่า ไม่ว่าจะอยู่ในภาวะใด แมแ้ ต่เวลาคดิ ก็มศี ลี ในความหมายท่ีว่า ขณะน้ันเว้น ว่าง หรือปราศจากวจี ทุจริตและกายทุจริตทั้งหลาย ไม่มีการพูดเท็จและการทําร้ายเบียดเบียน ต่างๆ ลึกลงไปก็คือไม่มีเจตนาท่ีจะทําการร้ายเหล่าน้ัน หรือไม่มีภาวะทาง จิตหรืออาการทางความคิดใดๆ ท่จี ะโยงไปสกู่ รรมชั่วร้ายเหล่าน้ันเลย ย่ิงในข้อสัมมาสังกัปปะ ที่เป็นด้านปัญญา ก็ย่ิงชัดเจนมาก ท่านให้ ความหมายของสัมมาสังกัปปะ ว่าเป็นความดําริหรือคิดนึกท่ีปลอดจาก ความโลภอยากได้อยากเสพ ไม่มีความพยาบาทขัดเคือง และเป็นอวิหิงสา คอื ไมม่ กี ารเบยี ดเบยี น ความใคร่กามและความโลภ พยาบาท และวิหิงสา ก็ดี ความเผ่ือแผ่ เสียสละ เมตตา และกรุณา ที่ตรงข้ามกับสามอย่างแรกน้ัน ก็ดี เป็นสภาพ จิตหรือคุณสมบัติของจิตใจ แต่ในที่นี้มาเป็นเคร่ืองประกอบของความคิด ในหมวดปญั ญา ต้องเข้าใจว่าสิ่งท่ีต้องการในที่น้ีคือปัญญา คือจะพัฒนาปัญญาให้ แจ่มชัด บริสุทธ์ิ ตรงตามจริง เป็นประโยชน์ และเกื้อหนุนชีวิตให้งอกงาม ไปในมรรคย่ิงข้ึน สภาพจิตหรือคุณสมบัติฝ่ายจิตที่มาประกอบองค์มรรค ข้อนี้ จะต้องเอ้ือต่อการทํางานและการพัฒนาของปัญญา ให้ได้ผลอย่างที่ กล่าวนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงความหมายขององค์มรรคข้อนี้ไว้ในรูป เป็นคําปฏเิ สธ ซึง่ ไดท้ ้งั ความกวา้ งขวาง และความโปรง่ โล่งบรสิ ทุ ธ์ิ สัมมาสังกัปปะมุ่งให้มีภาวะจิตที่ปลอดโปร่งเป็นอิสระ เพื่อให้ ความคดิ เดินตามแนวความเป็นจริงได้คลอ่ งตัว ไม่เอนเอียง ยึดติด หรือปัด เหไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อจะได้ความรู้ท่ีถูกต้องตามความเป็นจริง ไม่ บิดเบือน การใชค้ ําปฏเิ สธจึงเหมาะสมที่สดุ แล้ว

สมเด็จพระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๓๕๓ ด้วยเหตุนี้ สัมมาสังกัปปะ ท่ีทรงแสดงความหมายโดยแยกเป็น เนกขัมมสังกัปป์ (ความดําริปลอดกาม/โลภะ) อพยาบาทสังกัปป์ (ความ ดําริปลอดพยาบาท) และ อวิหิงสาสังกัปป์ (ความดําริปลอดวิหิงสา) จึงได้ ทงั้ ความดี ความกว้างครอบคลมุ และความบรสิ ุทธ์ิ คือ ก) ในแงค่ วามดี (จําเพาะ) คอื ดาํ ริหรือคดิ แตก่ ารท่จี ะเออ้ื เฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ การท่ีจะรักใคร่ไมตรีมีเมตตา และการท่ีจะมีกรุณา ช่วยเหลือผู้อ่นื ให้พน้ ความทกุ ข์ยาก ข) ในแง่ความจริง (ไมมีขอบเขต) คือ จะดําริ คิดการ หรือพิจารณา อะไรอยา่ งไรก็ได้ แต่ต้องไม่มีความเห็นแก่ตัว ความอยากได้กาม อามสิ ความขดั เคอื งไม่พอใจ หรือการที่จะรังแกกลั่นแกล้งข่มเหง ใครๆ เขา้ มาปะปน แอบแฝง ชกั จงู ไป หรอื ทาํ ใหเ้ อนเอียง ธรรมท่ีเป็นองค์ของมรรค ต้องมีความเป็นจริงของธรรมชาติ ที่จะ บูรณาการเข้าไปในระบบการดําเนินชีวิตได้อย่างนี้ พร้อมกันน้ันก็เป็น หลักการใหญ่ ที่ขยายขอบเขตออกไปได้ไม่สิ้นสุด รวมทั้งปฏิบัติได้ทุก สถานการณ์ ไมใ่ ช่ธรรมหรอื ขอ้ ปฏิบตั จิ าํ เพาะเรอื่ ง ดังเชน่ สงั คหวตั ถุ จะเห็นว่า ถ้าเป็นหลักธรรมท่ีตรัสท่ัวๆ ไป หรือสําหรับใช้ประโยชน์ เฉพาะเร่ืองเฉพาะกรณี ก็จะมีลักษณะหนุนย้ํา (positive) และเอาการเอา งาน (active) เชน่ สงั คหวัตถุ ๔ (หลักการสงเคราะห์ หรือสร้างสามัคคี ๔ อย่าง คือ ทาน-ให้ปัน ปิยวาจา-พูดจาน่ารัก อัตถจริยา-บําเพ็ญประโยชน์ สมานัตตตา-เอาตัวเข้าสมาน รว่ มสุขร่วมทกุ ข์) แม้แต่ สัมมาวาจา ซ่ึงเม่ือแสดงความหมายแบบในองค์มรรค ว่า ได้แก่ เว้นจากพูดเทจ็ เวน้ จากพดู คําหยาบ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูด เพอ้ เจ้อ แต่เม่ือนําไปตรัสในชื่อว่า วจีสุจริต ๔ ก็ทรงเปล่ียนเป็นคําฝ่ายดีท่ี ตรงขา้ ม ดังพุทธพจนว์ า่

๓๕๔ พุทธธรรม ภิกษุท้ังหลาย วจีสุจริต ๔ ประการน้ี ๔ ประการเป็นไฉน คือ พูดจริง (สจฺจวาจา) ๑ พูดไม่ส่อเสียด (อปิสุณวาจา) ๑ พูดอ่อนหวาน (สณฺหวาจา) ๑ พูดดว้ ยปญั ญา (มนตฺ าภาสา=พูดด้วยความรู้คิด) ๑ ภิกษุท้ังหลาย วจีสุจริต ๔ ประการดงั นี้แล๑ ท่ีกลา่ วมานเี้ ปน็ เหตุผลหลกั นอกจากน้เี ป็นเหตุผลประกอบ ๒. โดยความกว้างขวางครอบคลุม ซ่ึงเป็นเหตุผลทางหลักภาษา ที่มาหนนุ เหตุผลในข้อก่อน คําบาลีที่มี “อ” ปฏิเสธนําหน้า ในหลายกรณี มิได้หมายความเพียง ไม่ใช่ส่ิงนั้น แต่หมายถึงส่ิงท่ีตรงข้าม เช่น คําว่า อกุศล มิได้หมายถึงมิใช่ กุศล (ซึ่งอาจเป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ใช่ทั้งฝ่ายดีฝ่ายชั่ว) แต่ หมายถงึ ความชว่ั ทต่ี รงข้ามกับกศุ ลทเี ดยี ว คาํ วา่ อมิตร มิได้หมายถึงคนที่ เปน็ กลางๆ ไม่ใชม่ ิตร แต่หมายถึงศัตรทู ีเดยี ว ดังนเี้ ป็นตน้ ยิง่ กว่าน้ัน อาจหมายครอบคลุมหมด ท้ังส่ิงที่ตรงข้ามกับส่ิงนั้น และ ส่งิ ใดก็ตามท่มี ิใช่และไมม่ ีสงิ่ นนั้ ในสัมมาสังกัปปะนี้ “อ” มีความหมายปฏิเสธแบบครอบคลมุ คอื ทั้ง ท่ีตรงข้าม และที่ไม่มี เชน่ อพยาบาทสังกัปป์ ก) หมายถึงความดาํ รกิ อปรด้วยเมตตา ที่ตรงข้ามกบั พยาบาทดว้ ย ข) หมายถึงความดําริที่บริสุทธ์ิ ปลอดโปร่ง ปราศจากพยาบาท เปน็ กลางๆ ด้วย ๓.โดยความเด็ดขาดสิ้นเชิง การใช้คําท่ีมี “อ” ปฏิเสธน้ี นอกจาก มีความหมายกว้างแล้ว ยังมีความหมายหนักแน่นเด็ดขาดยิ่งกว่าคําตรง ข้ามเสียอีก เพราะการใช้คําปฏิเสธในท่ีน้ี มุ่งเจาะจงปฏิเสธส่ิงน้ันไม่ให้มี โดยสิ้นเชิง คือ ไม่ให้มีเชื้อหรือร่องรอยเหลืออยู่ เช่น อพยาบาทสังกัปป์ ในที่นี้ หมายถึงความดําริที่ไม่มีพยาบาท หรือความคิดร้ายแง่ใดส่วนใด เหลืออยู่ในใจเลย เป็นเมตตาโดยสมบูรณ์ ไม่มีขอบเขตจํากัด เป็นการเน้น ข้นั ถงึ ทีส่ ดุ ๑ อง.ฺ จตกุ กฺ .๒๑/๑๔๙/๑๘๙; พูดไมส อเสียด บางแหงทรงใชคําวา วาจาทสี่ รา้ งสามคั คี (สมคคฺ กรณี วาจา)

สมเด็จพระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๓๕๕ ไม่เหมือนคําสอนบางลัทธิที่สอนให้มีเมตตากรุณา แต่เป็นเมตตา กรุณาตามคําจํากัดของผู้ส่ังสอน มิใช่ตามสภาวะของธรรม จึงมีขอบเขต ตามบัญญัติสําหรับใช้แก่กลุ่ม หรือหมู่ชนพวกหนึ่ง หรือสัตวโลกชนิดหรือ ประเภทใดประเภทหน่งึ แลว้ แตต่ กลงกําหนดเอา ศกึ ษาธรรมคอื เข้าใจธรรมชาติ ต้องมองความหมายโดยไมป่ ระมาท มีข้อควรสังเกตอีกอย่างหน่ึงเก่ียวกับความสัมพันธ์ระหว่างสัมมาทิฏฐิ กับสัมมาสังกัปปะ คือ เม่ือเทียบกับกิเลสหลักที่เรียกว่าอกุศลมูล ๓ อย่าง คือ โลภะ โทสะ และโมหะ แล้ว จะเห็นว่า สัมมาทิฏฐิกําจัดกิเลสต้นตอท่ีสุด คือโมหะ ส่วนสัมมาสังกัปปะกําจัดกิเลสท่ีรองหรือต่อเน่ืองออกมา คือ เนกขัมมสังกัปป์ กําจัดราคะหรือโลภะ และอพยาบาทสังกัปป์ กับอวิหิงสา สงั กปั ป์ กาํ จดั โทสะ เป็นความตอ่ เนื่องประสานกลมกลืนกันทกุ ดา้ น อยา่ งไรก็ดี การกา้ วหนา้ มาในองคม์ รรคเพยี ง ๒ ข้อเท่าน้ัน ยังนับว่า เป็นขัน้ ตน้ อยู่ การเจรญิ ปัญญายงั ไมถ่ ึงข้นั สมบูรณ์เต็มท่ีตามจุดหมาย และ แม้การปฏิบัติธรรมแต่ละข้อก็มิใช่จะสมบูรณ์ตามขอบเขตความหมายของ ธรรมขอ้ นนั้ ๆ ทันที แต่ต้องคล่ีคลายเจริญขน้ึ ตามลาํ ดบั ดังน้ัน ในที่นี้จึงควรทําความเข้าใจว่า ในสัมมาสังกัปปะ ๓ ข้อนั้น เนกขัมมสังกัปป์ บางทีก็หมายเอาเพียงขั้นหยาบแบบสัญลักษณ์ คือ การ คิดออกบวช หรือปลีกตัวออกไปจากความเป็นอยู่ของผู้ครองเรือน อพยาบาทสังกัปป์ ก็มุ่งเอาการเจริญเมตตาเป็นหลัก และอวิหิงสาสังกัปป์ ก็มุ่งเอาการเจริญกรณุ าเปน็ สาํ คัญ ปัญญาที่เจริญในขั้นนี้ แม้จะเป็นสัมมาทิฏฐิ มองเห็นตามเป็นจริง แต่ก็ยังไม่บริสุทธ์ิบริบูรณ์ ยังต้องพัฒนาต่อไปอีกให้รู้แจ่มแจ้งประจักษ์ สภาวะกระทั่งปัญญาพ้นจากความเป็นทิฏฐิ ไปเป็นสัมมาญาณ ท่ีจะนําให้ เข้าถึงอิสรภาพและความสุขที่แท้จริง ซึ่งก็ต้องอาศัยการท่ีได้พัฒนาจิตใจ ให้มีสมาธิใจอยู่ตัวเข้าที่ของมันจนถึงข้ันมีจิตลงตัวได้ที่เป็นอุเบกขา มีใจ เปน็ กลางเทีย่ งตรงทปี่ ญั ญาจะมองเหน็ ตามสภาวะได้อย่างแท้จริง

๓๕๖ พุทธธรรม ธรรมท้ังหลายน้ัน เป็นสภาวะของธรรมดา พูดง่ายๆ ว่าเป็น ธรรมชาติ การที่จะเข้าใจความหมายของมันได้ถูกต้องชัดเจนและครบถ้วน มิใช่เพียงแค่มาบอกมาจํากันไป แต่จะต้องรู้จักมันตามที่มีอยู่เป็นไปโดย สัมพันธ์กันกับธรรมหรือสภาวะอ่ืนๆ ทั้งหลายในชีวิตจิตใจท่ีเป็นอยู่จริง และขยายคลี่คลายไปกับการพัฒนาของชีวิตจิตใจน้ัน จึงเป็นเรื่องที่ควร ศกึ ษาโดยไม่ประมาท แม้แต่เมตตา ท่ีรู้จักกันดี ซึ่งเป็นคุณธรรมที่เร่ิมเจริญได้ตั้งแต่ระยะ ต้นของการปฏิบัติธรรม ก็มิใช่ธรรมที่ง่ายนักอย่างท่ีมักเข้าใจกันอย่างผิวเผิน เพราะเมตตาอย่างท่ีพูดถึงกันง่ายๆ ท่ัวๆ ไปน้ัน หายากนักที่จะเป็นเมตตา แท้จริง ดังนั้น เพ่ือช่วยป้องกันความเข้าใจผิดท่ีเป็นผลเสียหายต่อการ ปฏิบัตธิ รรม ในขั้นต้นน้ี ควรทราบหลักเบ้อื งตน้ บางอยา่ งไวเ้ ล็กนอ้ ยกอ่ น เมตตา หมายถึง ไมตรี ความรัก ความหวังดี ความปรารถนาดี ความเข้าใจดีต่อกัน ความเอาใจใส่ ใฝ่ใจ หรือต้องการ ที่จะสร้างเสริม ประโยชนส์ ขุ ให้แก่เพอ่ื นมนษุ ยแ์ ละสตั วท์ งั้ หลาย๑ ว่าโดยสาระ เมตตา คือ ความอยากให้ผู้อ่ืนเป็นสุข และอยากทําให้ เขาเปน็ สุข เมตตาเป็นธรรมกลางๆ กลางทัง้ ในแง่ผคู้ วรมเี มตตา และในแง่ผู้ควร ได้รับเมตตา ทุกคนจึงควรมีต่อกัน ทั้งผู้น้อยต่อผู้ใหญ่ และผู้ใหญ่ต่อผู้น้อย คนจนตอ่ คนมี และคนมีตอ่ คนจน ยาจกตอ่ เศรษฐี และเศรษฐีตอ่ ยาจก คน ฐานะต่ําต่อคนฐานะสูง และคนฐานะสูงต่อคนฐานะต่ํา คฤหัสถ์ต่อพระสงฆ์ และพระสงฆ์ต่อคฤหสั ถ์ เมตตาเป็นธรรมพื้นฐานของใจขั้นแรก ในการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล ซ่ึงทําให้มองกันในแง่ดีและหวังดีต่อกัน พร้อมที่จะรับฟัง และพูดจาเหตุผลของกันและกัน ไม่ยึดเอาความเห็นแก่ตัว หรือความ เกลยี ดชังเป็นท่ีตัง้ ๑ ใอในนนุทขสุ.ุตามฺต.อ๒.อน๙.ุ๑ท/๙า/ย๑๔น๖๔า๑/อ๖จน๐ําุท๐กาัดยจคิตําวตกาฺตัดมํควหว่าิเาตหมสติ วิตส่าาขุ ปูเอมนนตยุกฺตนมากฺตปาิามยตอาาพสเฺยตมาฺเตปตฺตสาาโุ ทเมอตฺพติฺยเามปตชฺตฺโาฌยนอาโทเมโสตฺตกาุสยลิตมตูลฺตํ.ํ

สมเด็จพระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๓๕๗ การท่ีกล่าวว่า เมตตา (รวมท้ังพรหมวิหารข้ออ่ืนๆ ด้วย) เป็นธรรม ของผู้ใหญ่นั้น อันที่จริงความเดิมเป็น “ธรรมของท่านผู้เป็นใหญ่” คือแปล คาํ ว่า “พรหม” ในพรหมวหิ ารวา่ “ท่านผเู้ ป็นใหญ”่ “พรหม” คือ ท่าน(เทพ)ผู้เป็นใหญ่ ของศาสนาพราหมณ์น้ี เมื่อ นาํ มาใชใ้ นพระพทุ ธศาสนา หมายถงึ “ผู้ประเสริฐ” คือ ผูม้ ีจติ ใจกว้างขวาง ยิ่งใหญ่ หรือย่ิงใหญ่ด้วยคุณธรรมความดีงาม มิใช่หมายถึงผู้ใหญ่เพียงใน ความหมายอยา่ งทเ่ี ข้าใจกนั สามญั ทุกคนควรมีพรหมวิหาร ทุกคนควรมีจิตใจกว้างขวางย่ิงใหญ่ ไม่ เฉพาะผูใ้ หญ่เท่านน้ั แต่ในเมื่อปัจจุบันเข้าใจกันแพร่หลายท่ัวไปเสียแล้วว่า พรหมวิหารมีเมตตาเปน็ ต้น เป็นธรรมของผใู้ หญ่ ก็ควรทาํ ความเขา้ ใจในแง่ ที่ว่า ความหมายเช่นนั้นมุ่งเอาความรับผิดชอบเป็นสําคัญ คือ เน้นว่า ใน เมื่อทุกคนควรบําเพ็ญพรหมวิหาร ผู้ใหญ่ ในฐานะท่ีเป็นตัวอย่างและเป็น ผนู้ ํา กค็ วรอยา่ งยงิ่ ทีจ่ ะต้องปฏิบตั ใิ หไ้ ดก้ ่อน ถา้ ไมร่ ีบทําความเข้าใจกันอยา่ งน้ี ปล่อยให้ยึดถือปกั ใจกันว่า เมตตา ก็ดี พรหมวิหารข้ออื่นๆ ก็ดี เป็นธรรมของผู้ใหญ่ ก็จะกลายเป็นความ เขา้ ใจท่เี คล่ือนคลาดไขว้เขว การตีความและทัศนคติของคนท่ัวไปต่อธรรม ข้อนก้ี จ็ ะคับแคบและผิดพลาดไปหมด ข้อควรสังเกตสําคัญอีกอย่างหนึ่งของเมตตา ก็คือ สมบัติ และวิบัติ ของเมตตา สมบตั ิ ได้แก่ ความสมบูรณ์หรือผลสําเร็จที่ต้องการของเมตตา วบิ ตั ิ ไดแ้ ก่ ความลม้ เหลว ความไมส่ าํ เร็จ การปฏบิ ัติทีค่ ลาดเคลือ่ นผิดพลาด เมอื่ วา่ ตามหลัก สมบตั ขิ องเมตตา คอื ระงับพยาบาทได้ (พยฺ าปาทปุ สโม เอตสิ สฺ า สมปฺ ตฺต)ิ ๑ ๑ วสิ ทุ ฺธิ.๒/๑๒๓; ในทีน่ ้ี กลาวถงึ พรหมวิหาร ขอ ๑ คอื เมตตา ไวอยา งเดียว เหน็ วา ควรกลาวครบทัง้ ชุดไวส ้นั ๆ ๑.“พเรมหตมตวาหิ =าอร”ยา=กธใหรรเ้ มขเาคเรป่ือน็งอสยขุ ูข อ(เงมพอ่ืรหเหมน็, ธเขรรามอปยรู่ดะจีเปําใน็จอปนั กปตริ)ะเสริฐ ท่ที าํ ใหม ีชวี ิตเปนอยูหมอื นพระพรหม กสสมสรมมมทุ ณุบบบติ ัตัตตัาา===ิิ=ิ=พอรรระะะยลงงงาอับับบักยควคใชหหิววื่นเ้าาิงขชมมสามรแาพยษิค้นนิ ย้นทดาเคุกีดือข้วงย์ (เ(มเม่อื อ่ืเหเหน็ ็นเขเขวววาติบิบบิามกตััตตั ีสท=ิิ=ิ=ขุกุเเเกกกสขดิดิิดํา์ไรเคคเรสท้วว็จนาา่พี เ่หมมปง่ึ โาส)น็ ศนคกกุนเศสดนรหี า้ารนือทําได้ดยี ง่ิ ขน้ึ ) ๒. ๓.

๓๕๘ พทุ ธธรรม วบิ ัตขิ องเมตตา คือ การเกดิ สิเนหะ (สเิ นหสมฺภโว วิปตฺต)ิ ๑ ในแง่สมบัติไม่มีข้อสังเกตพิเศษ แต่ในแง่วิบัติมีเร่ืองท่ีต้องสังเกต อย่างสําคัญ สิเนหะ หมายถึง เสน่หา ความรักใคร่เยื่อใยเฉพาะบุคคล ความพอใจโปรดปรานส่วนตัว เช่น ปุตตสิเนหะ ความรักอย่างบุตร ภริยา สเิ นหะ ความรกั ใครฐ่ านภรรยา เปน็ ต้น สิเนหะ เป็นเหตุให้เกิดความลําเอียง ทําให้ช่วยเหลือกันในทางท่ีผิด ได้ อย่างท่ีเรียกว่าเกิดฉันทาคติ (ลําเอียงเพราะรัก หรือเพราะชอบกัน) ที่ ได้ยินพูดกันว่า “ทานเมตตาฉันเปนพิเศษ” “นายเมตตาเขามาก” เป็นต้นน้ัน เปน็ เรอื่ งของสเิ นหะ ซึ่งเป็นความวบิ ัตขิ องเมตตามากกว่า หาใชเ่ มตตาไม่ ส่วนเมตตาที่แท้จริงน้ัน เป็นคุณสมบัติที่ช่วยรักษาความเที่ยงธรรม เพราะเป็นธรรมกลางๆ ปรารถนาดีต่อทุกคนสมํ่าเสมอกัน มิใช่เป็นความ รักใคร่ผูกพันส่วนตัว แต่ทําให้มีภาวะจิตท่ีปราศจากความเห็นแก่ตัว ท่ีจะ เอนเอียงเข้าข้าง และไม่มีความเกลียดชังคิดร้ายมุ่งทําลาย มีไมตรี จึง พิจารณาตัดสินและกระทําสิ่งต่างๆ ไปตามเหตุผล มุ่งประโยชน์สุขท่ี แท้จริงแก่คนทัง้ หลายทั่วไป มิใช่มุ่งส่ิงที่เขาหรือตนชอบหรืออยากได้อยาก เป็น เมตตาท่ีแท้จรงิ จะเป็นไปในแบบทว่ี ่า พระผู้มีพระภาคน้นั ทรงมีพระทัยเสมอกัน ท้ังต่อนายขมังธนู (ท่ีรับจ้าง มาลอบสังหารพระองค์) ต่อพระเทวทัต ต่อโจรองคุลิมาล ต่อช้างธนบาล (ท่ี พระเทวทตั ปล่อยมาเพอ่ื ฆ่าพระองค์) และตอ่ พระราหลุ ท่ัวทุกคน๑ ประโยชน์ของเมตตาจะเห็นได้ เช่นในกรณีของการถกเถียง ขัดแย้ง ในทางเหตุผล และการโต้วาทะ ทําให้ต่างฝ่ายยอมพิจารณาเหตุผลของกัน และกัน ช่วยให้คู่โต้บรรลุถึงเหตุผลท่ีถูกต้องได้ เช่น เม่ือนิครนถ์ผู้หนึ่งมา เฝ้าสนทนาใชค้ าํ พดู รุนแรงตาํ หนิพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสนทนาโต้ตอบ ตามเหตุผล จนในท่สี ุดนคิ รนถน์ ัน้ กลา่ ววา่ ๔๑ .ธอส.อเุม.บ๑บก/ัตข๑ิ=า๓=ระว๕าง;งับใฯคจลเวฯปา็นมกยลินาดงยีติน่อทร้ากุ ยคนวบิ (เตัม่อื=ิ รเูตกริดะคหวนากั มคเวฉามยจโงริง่,วเามทินกุ เคฉนยต,อ เงฉรยับเผมิดยชอไบมกร่ รูไ้ รมม่เขออางเตรนื่อเงสมอกนั )

สมเด็จพระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๓๕๙ เม่ือเป็นเช่นนี้ ข้าพเจ้าก็เล่ือมใสต่อท่านพระโคดมผู้เจริญ เป็นความจริง ท่านพระโคดมเป็นผอู้ บรมแลว้ ทั้งกาย อบรมแลว้ ทงั้ จิต” “น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีเลย ท่านพระโคดมถูกข้าพเจ้าพูดกระทบกระแทก แต่งคํามาไลเ่ รยี งตอ้ นเอาถึงอย่างน้ี กย็ ังมผี วิ พรรณสดใส มีสีหน้าเปล่งปล่ัง อยู่ได้ สมเป็นพระอรหันตสัมมาสมั พุทธเจา้ ๑ แกไ้ ขความคดิ ท่ไี มด่ ี ดว้ ยวธิ ีแห่งปญั ญา ในกรณีท่ีมีมิจฉาสังกัปปะเกิดข้ึน เม่ือจะแก้ไข ก็ไม่ควรใช้วิธีดึงดัน กลัดกลุ้ม หรือฟุ้งซ่านต่อไปอย่างไร้จุดหมาย แต่ควรใช้วิธีการแห่งปัญญา โดยใช้โยนโิ สมนสิการ คือ มองดมู นั เรียนรู้จากมัน คิดสืบสาวหาเหตุ และ พิจารณาใหเ้ หน็ คณุ โทษของมัน เชน่ พุทธพจน์ท่วี ่า ภิกษุทั้งหลาย ก่อนสัมโพธิกาล เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ได้ มคี วามคดิ เกิดขนึ้ วา่ : ถ้ากระไร เราพงึ แยกความดําริออกเป็น ๒ ฝ่าย ดังนี้แล้ว จึงได้แยกกามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก ออกเป็นฝ่ายหนึ่ง และแยก เนกขัมมวติ ก อพยาบาทวิตก และอวหิ งิ สาวิตก ออกเป็นอีกฝา่ ยหน่งึ เมอ่ื เราไม่ประมาท มีความเพียร มุ่งมั่นอยู่นั่นเอง เกิดมีกามวิตกขึ้น เราก็รู้ชัดว่ากามวิตกขึ้นแล้วแก่เรา ก็แหละ กามวิตกนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ เบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อ่ืนบ้าง เป็นไปเพื่อ เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อ่ืนสองฝ่ายบ้าง ทําให้ปัญญาดับ จัดเป็นพวก สงิ่ บบี คนั้ ไม่เป็นไปเพ่ือนิพพาน เม่ือเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ก็ดี กามวิตก น้ัน ก็สลายหายไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพ่ือเบียดเบียน ผู้อ่ืน ก็ดี...ว่ามันเป็นไปเพ่ือเบียดเบียนทั้งตนเอง และผู้อ่ืน ท้ังสองฝ่าย ก็ดี ว่ามันทําให้ปัญญาดับ อยู่ข้างทําให้เดือดร้อนก่อทุกข์ ไม่เป็นไปเพ่ือ นิพพาน ก็ดี กามวิตกน้ันก็สลายหายไป เราจึงละ จึงบรรเทากามวิตก ที่ เกิดขึน้ มาๆ ทาํ ให้หมดสิ้นไปได้ทั้งน้นั ๑ ม.มู.๑๒/๔๐๔, ๔๓๒/๔๔๐, ๔๖๒

๓๖๐ พุทธธรรม เม่ือเราไม่ประมาท...เกิดมีพยาบาทวิตกขึ้น...เกิดมีวิหิงสาวิตกขึ้น เราก็รู้ ชัด (ดังกล่าวมาแล้ว) จึงละ...จึงบรรเทาพยาบาทวิตก...วิหิงสาวิตกท่ีเกิด ขึ้นมาๆ ทําใหห้ มดสิน้ ไปไดท้ ั้งนั้น ภิกษุยิ่งตรึก ย่ิงคิดคํานึงถึงความดําริใดๆ มาก ใจของเธอก็ย่ิงน้อมไป ทางความดําริน้ันๆ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งคิดคํานึงถึงกามวิตกมาก เธอก็ละท้ิง เนกขัมมวิตกเสีย ทําแตก่ ามวติ กใหม้ าก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปทางกามวิตก... ฯลฯ...ถา้ ภิกษุย่ิงตรกึ ย่งิ คิดคํานึงถงึ เนกขัมมวิตกมาก เธอกล็ ะท้ิงกามวิตกเสีย ทําแต่เนกขมั มวติ กให้มาก จติ ของเธอนัน้ ก็น้อมไปทางเนกขมั มวติ ก...๑ พึงระลึกทบทวนว่า สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ ท่ีได้บรรยายมา น้เี ปน็ องค์มรรคท้ัง ๒ ในหมวดปญั ญา การปฏิบัติธรรมในช่วงขององค์มรรค ๒ ข้อต้นน้ี สรุปได้ด้วยพุทธ- พจน์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ อย่าง ช่ือว่าเป็นผู้ดําเนิน ปฏิปทาอันไม่ผิดพลาด และเป็นอันได้เร่ิมก่อต้นกําเนิดของความสิ้นอาสวะ แล้ว ธรรม ๔ อย่างน้ัน คือ เนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก สัมมาทฏิ ฐิ๒ ๑ ม.ม.๑๒/๒๕๒/๒๓๒ ๒ อง.ฺ จตุกกฺ .๒๑/๗๒/๙๙

๓. สัมมาวาจา ๔. สมั มากมั มนั ตะ ๕. สัมมาอาชวี ะ คําจํากดั ความ และความหมายพนื้ ฐาน องค์มรรค ๓ ข้อน้ี เป็นขั้นศีลด้วยกัน จึงรวมมากล่าวไว้พร้อมกัน เม่ือพิจารณาความหมายตามหลกั ฐานในคมั ภรี ์ ปรากฏคาํ จํากดั ความดงั น้ี ๑. ภกิ ษทุ ั้งหลาย สัมมาวาจา เปน็ ไฉน? นี้เรียกว่าสมั มาวาจา คือ ๑) มสุ าวาทา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการพดู เท็จ ๒) ปสิ ณุ าย วาจาย เวรมณี ” วาจาส่อเสยี ด ๓) ผรุสาย วาจาย เวรมณี ” วาจาหยาบคาย ๔) สมผฺ ปฺปลาปา เวรมณี ” การพูดเพอ้ เจ้อ ๒. ภกิ ษทุ ัง้ หลาย สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน? น้เี รยี กว่าสัมมากมั มันตะ คือ ๑) ปาณาตปิ าตา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการตัดรอนชวี ติ ๒) อทินนฺ าทานา เวรมณี ” การถอื เอาของทเี่ ขามไิ ด้ให้ ๓) กาเมสุมจิ ฺฉาจารา เวรมณี ” การประพฤตผิ ดิ ในกามทง้ั หลาย” ๓. ภิกษุท้ังหลาย สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน? น้ีเรียกว่าสัมมาอาชีวะ คือ อริย สาวกละมจิ ฉาอาชีวะ๑ หาเล้ยี งชพี ดว้ ยสัมมาอาชวี ะ๒ นอกจากนี้ ยังมีคําจํากัดความแบบแยกเป็น ระดับโลกิยะ และ ระดับโลกุตตระ อีกด้วย เฉพาะระดับโลกิยะ มีคําจํากัดความอย่าง เดยี วกับขา้ งตน้ สว่ นระดบั โลกตุ ตระ มีความหมายดังนี้ ๑ มิจฉาอาชีวะ ได้แก่ “การโกง (หรือหลอกลวง) การประจบสอพลอ การทําเลศนัยใช้เล่ห์ขอ การบบี บงั คบั ขู่เข็ญ การตอ่ ลาภด้วยลาภ,” ม.อ.ุ ๑๔/๒๗๕/๑๘๖ ๒ อภิ.วิ.๓๕/๑๖๕-๗/๑๓๖; ที.ม.๑๐/๒๙๙/๓๔๘; ม.มู.๑๒/๑๔๙/๑๒๓; ม.อุ.๑๔/๗๐๔/๔๕๔; ๕๗๒-๔/๓๑๗

๓๖๒ พุทธธรรม ๑. สัมมาวาจา ที่เป็นโลกตุ ตระ ไดแ้ ก่ ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนางดเว้นจากวจีทุจริตทั้ง ๔ ของ ท่านผู้มีจิตเป็นอริยะ มีจิตไร้อาสวะ ผู้พร้อมด้วยอริยมรรค กําลังเจริญ อรยิ มรรคอยู่ ๒. สมั มากัมมันตะ ท่ีเป็นโลกุตตระ ได้แก่ ความงด ความเว้น ความเวน้ ขาด เจตนางดเว้นจากกายทุจริตท้ัง ๓ ของ ทา่ นผู้มจี ิตเปน็ อรยิ ะ... ๓. สัมมาอาชีวะ ที่เปน็ โลกตุ ตระ ได้แก่ ความงด ความเวน้ ความเว้นขาด เจตนางดเวน้ จากมจิ ฉาอาชีวะของท่าน ผู้มีจิตเป็นอริยะ...๑ ความหมายแบบขยาย ในคาํ สอนทว่ั ไป จากความหมายหลักอันเป็นประดุจแกนกลาง ท่ีนําไปจัดเป็นระบบ การศกึ ษาฝกึ อบรมข้นั ศีลธรรมทเ่ี รยี กว่าอธศิ ลี สกิ ขาน้ี พุทธธรรมก็กระจาย คําสอนออกไป เป็นข้อปฏิบัติและหลักความประพฤติต่างๆ ในส่วน รายละเอียด หรือในรูปประยุกต์อย่างกว้างขวางพิสดาร เพ่ือให้บังเกิดผล ในทางปฏิบัติท้ังแก่บุคคลและสังคม เร่ิมแต่หลักแสดงแนวทางความ ประพฤติที่ตรงกันกับในองค์มรรคน้ีเอง ซึ่งเรียกว่า กรรมบถ และหลัก ความประพฤติอนั เปน็ มนษุ ยธรรม ทเ่ี รยี กวา่ เบญจศลี เป็นตน้ ๒ อย่างไรก็ดี คําสอนในรูปประยุกต์ ย่อมกระจายออกไปเป็น รายละเอยี ดอยา่ งไม่มีท่ีสิ้นสุด เพอ่ื ให้เหมาะสมกบั บุคคล กาละ เทศะ และ ส่ิงแวดล้อมอื่นๆ ในการสอนคร้ังน้ันๆ ในที่นี้ มิใช่โอกาสที่จะมุ่งอธิบายคํา สอนเหล่านั้น จึงไม่อยู่ในฐานะท่ีจะรวบรวมรายละเอียดมาแสดง และใน ๑ ม.อุ.๑๔/๒๖๗–๒๗๘/๑๘๔–๑๘๖; เทียบ อภิ.ว.ิ ๓๕/๑๗๘–๑๘๐/๑๓๙; ๕๘๓–๕๘๕/๓๒๐ ๒ ในอรรถกถาทัว่ ไป ถือวา กุศลกรรมบถ ๑๐ จึงจะเปน มนุษยธรรม (เช่น ม.อ.๑/๓๔๒; องฺ.อ.๑/ ๕๑; บางแหง อยาง วิมาน.อ.๒๓ เพม่ิ หริ ิโอตตปั ปะ เมตตากรุณา และบุญกริ ยิ าวตั ถุ ๓ เปนตนเขา ดวย) ในพุทธพจน ตรัสเรียก กุศลกรรมบถ ๑๐ วาเปน อริยธัมม หรือ อารยธรรม (องฺ.ทสก. ๒๔/๑๖๘/๒๙๖)

สมเด็จพระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๓๖๓ เมื่อพุทธธรรมเป็นคําสอนที่เป็นระบบชัดอยู่แล้ว การแสดงแต่เพียงหลัก ศูนย์กลางให้เกิดความเข้าใจแบบรวบยอด ก็เป็นการเพียงพอ ส่วนคําสอน ในรูปประยุกต์ต่างๆ ก็ปล่อยให้เป็นส่ิงสําหรับผู้ต้องการข้อธรรมที่ เหมาะสมกับอัธยาศัย ระดับการครองชีพ และความประสงค์ของตน จะ พงึ แสวงตอ่ ไป เมอื่ กลา่ วโดยสรุป สําหรับคําสอนในรูปประยุกต์ ถ้ามิใช่ประยุกต์ใน ส่วนรายละเอียดให้เหมาะกับบุคคล กาลเวลา สถานที่ และโอกาสจําเพาะ กรณีแล้ว หลักใหญ่สําหรับการประยุกต์ก็คือ สภาพหรือระดับการครอง ชีวติ โดยนยั น้ี จงึ มศี ีลหรอื ขอ้ บญั ญัติ ระบบความประพฤติต่างๆ ที่แยกกัน ออกไปเปน็ ศีลสาํ หรับคฤหสั ถ์ และศลี สําหรบั บรรพชติ เป็นตน้ ผู้ศึกษาเร่ืองศีล จะต้องเข้าใจหลักการ สาระสําคัญ และที่สําคัญยิ่ง คือ วัตถุประสงค์ของศีลเหล่าน้ัน ท้ังในส่วนรายละเอียดที่ต่างกัน และ ส่วนรวมสูงสุดท่ีเป็นอันหน่ึงอันเดียวกัน จึงจะช่ือว่ามีความเข้าใจถูกต้อง ไมง่ มงาย ปฏิบัตธิ รรมไม่ผดิ พลาด และได้ผลจรงิ ในที่น้ี จะแสดงตัวอย่างการกระจายความหมายขององค์มรรคข้ัน ศลี เหล่าน้ี ออกไปเป็นหลักความประพฤตทิ ่ีบังเกดิ ผลในทางปฏิบัติ หลักความประพฤติท่ีจะนํามาแสดงเป็นตัวอย่างน้ี เป็นหลักที่ กระจายความหมายออกไปโดยตรง มีหัวข้อตรงกบั ในองค์มรรคทุกข้อ เป็น แต่เรียงลําดับฝ่ายกายกรรม (ตรงกับสัมมากัมมันตะ) ก่อนฝ่ายวจีกรรม (ตรงกับสัมมาวาจา) และเรียกชื่อว่า กุศลกรรมบถบ้าง สุจริตบ้าง ความ สะอาดทางกาย วาจา (และใจ) บ้าง สมบัติแห่งกัมมันตะบ้าง ฯลฯ มี เรอื่ งตวั อย่างดงั นี้ เมื่อพระพุทธเจ้าประทับ ณ เมืองปาวา ในป่ามะม่วงของนายจุนทะ กัมมารบุตร นายจุนทะมาเฝ้า ได้สนทนาเรื่องโสไจยกรรม (พิธีชําระตนให้ บริสุทธ์ิ) นายจุนทะทูลว่า เขานับถือบัญญัติพิธีชําระตัวตามแบบของ พราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิ ผู้ถือเต้านํ้า สวมพวงมาลัยสาหร่าย บูชาไฟ ถือการ ลงนํ้าเป็นวัตร

๓๖๔ พุทธธรรม บัญญัติของพราหมณ์พวกนี้มีว่า แต่เช้าตรู่ทุกวัน เมื่อลุกข้ึนจากท่ี นอนจะต้องเอามือลูบแผ่นดิน ถ้าไม่ลูบแผ่นดิน ต้องลูบมูลโคสด หรือลูบ หญ้าเขียว หรือบําเรอไฟ หรือยกมือไหว้พระอาทิตย์ หรือมิฉะนั้นก็ต้อง ลงนา้ํ ใหค้ รบ ๓ ครง้ั ในตอนเยน็ อย่างใดอยา่ งหนง่ึ ๑ พระพุทธเจ้าตรัสว่า บัญญัติเรื่องการชําระตัวให้สะอาดของพวก พราหมณ์นี้ เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนการชําระตัวให้สะอาดในอริยวินัย เป็นอีก อยา่ งหนึ่ง หาเหมอื นกนั ไม่ แล้วตรัสว่า คนท่ีประกอบ อกุศลกรรมบถ ๑๐ (ปาณาติบาต อทินนาทาน ฯลฯ ที่ตรงข้ามกับ กุศลกรรมบถ ๑๐) ช่ือว่ามี ความไม่สะอาด ท้ังทางกาย ทางวาจา ทางใจ คนเช่นนี้ ลุกขึ้นเช้า จะลูบ แผ่นดิน หรือจะไม่ลูบ จะลูบโคมัย หรือจะไม่ลูบ จะบูชาไฟ จะไหว้พระ อาทิตย์ หรือไม่ทํา ก็ไม่สะอาดอยู่น่ันเอง เพราะอกุศลกรรมบถเป็นส่ิงท่ี ท้ังไม่สะอาด ท้ังเป็นตัวการทําให้ไม่สะอาด แล้วตรัส กุศลกรรมบถ ๑๐ ท่ี เปน็ เครือ่ งชาํ ระตัวใหส้ ะอาด คือ ก. เครือ่ งชําระตวั ทางกาย ๓ ได้แก่ การท่ีบคุ คลบางคน ๑. ละปาณาติบาต เวน้ ขาดจากการตดั รอนชวี ติ วางทณั ฑะ วางศัสตรา มี ความละอายใจ กอปรดว้ ยเมตตา ใฝ่ใจชว่ ยเหลือเกือ้ กูลแก่ปวงสตั วโ์ ลก ๒. ละอทินนาทาน เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งที่เขามิได้ให้ ไม่ยึดถือ ทรพั ยส์ นิ อปุ กรณอ์ ย่างใดๆ ของผูอ้ น่ื ไมว่ า่ จะเปน็ ของทีอ่ ยใู่ นบ้าน หรอื ในป่า ซ่งึ เขามิได้ให้ อย่างเป็นขโมย ๑ พึงสังเกตว่า การถือสีลัพพตปรามาสอย่างเหนียวแน่นแบบน้ี มีแพร่หลายในอินเดียแต่ยุค โบราณก่อนพุทธกาล จนถึงปัจจุบันก็มิได้ลดน้อยลงเลย การสอนให้ละเลิกความเช่ือถือ เวพหรรลระณ่ากนพนา่ะาุท้ีจรธเแะปถศลกื็นาอะลสพสก่านีุทวาลารไัธพดดกแว้พึงลิจ่าคตะทนกเปี่เปจาดรราน็่นถกาสชือมปาัดสัญเาหทลี สหตี่สพั เาุสุดหพทําอตลาคยป่งาัญ่าอรนงอาภี้หมยปิกนา่ารลสงึ่งชั ัหอขบญยนอรา่างึงุ่นงพขกแแอรลรรงะบังคงพนมยวุที้เาา่ิองหธมงขเาเึ้จนสคป้าอ่ืือญั พมสเหชน่ิงร่นาท้ัน้อชเ่ีเดมปดีว้วิตียก็นยจวัแบกรลกงิับะาทกรําาเใรสหหื่อ้อักมินลเล้าดงงียเขเรปอ่ือ็นงง สกสใอนังลยาคทเ่า่าหมงวี่ใตทดไใดุส่ีเนปค้อํายว็ีกนคุคาดัอญสม้วยอมเยู่ทสยัยวุก่ือ่าต่าวงม่าหันกงแาๆนนหร้ี่ึง่ทงยแตทึดีผ่ลัวถา่ี่ะทแนือนําทมตใ่าห้จขาิด้ตะอแใก้นอนงลพงป่นม่ารรใวีกนะะตวาพส่อรัตีลุทเไิศัพปปธาพศลไสดี่ายตต้อสนปรีกนแ์อรวาาปา่ามกรลยา็ปกงสธอรารราย(รแถก่ามมือฏงข้ใรสขอนุนีล้ึนงแแัพมเบรมนพบงื่อษุตททนปยี่ม่ีเั้น์รรีเาหียณมตกาุผวสท่าลเี่นกจยั้นาริ่งริกญปแวขลฏ่า้ึนนะิวเนี้)ัตม่าิทเื่อปจใา็นดะง

สมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๓๖๕ ๓. ละกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ไม่ ล่วงละเมิดในสตรี เช่นอย่างผู้ท่ีมารดารักษา ผู้ที่บิดารักษา ผู้ที่พ่ีน้องชาย รักษา ผู้ท่ีพ่ีน้องหญิงรักษา ผู้ที่ญาติรักษา ผู้ที่ธรรมรักษา (เช่น กฎหมาย คุม้ ครอง) หญงิ มสี ามี หญงิ หวงหา้ ม โดยท่ีสุดแม้หญงิ ที่หม้ันแล้ว ข. เคร่ืองชาํ ระตัวทางวาจา ๔ ได้แก่ การท่ีบคุ คลบางคน ๑. ละมุสาวาท เว้นขาดจากการพูดเท็จ เม่ืออยู่ในสภาก็ดี อยู่ในท่ีประชุม ก็ดี อยู่ท่ามกลางญาติก็ดี อยู่ท่ามกลางชุมนุมก็ดี อยู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี ถูก เขาอ้างตัวซกั ถามเปน็ พยานว่า เชญิ เถิดทา่ น ท่านรู้สิ่งใดจงพูดส่ิงน้ัน เม่ือไม่รู้ เขาก็กล่าวว่า ไม่รู้ เม่ือไม่เห็น ก็กล่าวว่า ไม่เห็น เม่ือรู้ ก็กล่าวว่า รู้ เม่ือเห็นก็ กล่าวว่า เห็น ไม่เป็นผู้กล่าวเท็จท้ังท่ีรู้ ไม่ว่าเพราะเหตุแห่งตนเอง หรือเพราะ เหตุแห่งคนอ่นื หรอื เพราะเหตเุ หน็ แกอ่ ามิสใดๆ ๒. ละปิสุณาวาจา เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด ไม่เป็นคนที่ฟังความข้างน้ี แล้วเอาไปบอกข้างโน้น เพื่อทําลายคนฝ่ายน้ี หรือฟังความข้างโน้น แล้วเอา มาบอกข้างน้ี เพ่ือทําลายคนฝ่ายโน้น เป็นผู้สมานคนที่แตกร้าวกัน ส่งเสริม คนที่สมัครสมานกัน ชอบสามัคคี ยินดีในสามัคคี พอใจในความสามัคคี ชอบ กล่าวถ้อยคําทที่ ําให้คนสามัคคกี ัน ๓. ละผรุสวาจา เว้นขาดจากวาจาหยาบ กล่าวแต่ถ้อยคําชนิดท่ีไม่มีโทษ รน่ื หู นา่ รกั จับใจ สภุ าพ เปน็ ท่ีพอใจของพหชู น เปน็ ที่ชน่ื ชมของพหูชน ๔. ละสัมผัปปลาปะ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดคําจริง พูดเป็นอรรถ พูดเป็นธรรม พูดเป็นวินัย กล่าววาจาเป็นหลักฐาน มีท่ีอ้างอิง มีกาํ หนดขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร ค. เคร่ืองชําระตัวทางใจ ๓ ได้แก่ อนภิชฌา (ไมคิดจองเอาของ คนอ่ืน) อพยาบาท และสัมมาทิฏฐิ เฉพาะ ๓ ข้อน้ี เป็นความหมายที่ ขยายจากองค์มรรค ๒ ข้อแรก คือ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ จงึ ไม่คัดมาไวใ้ นทนี่ ้ี บุคคลผู้ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการน้ี ถึงตอนเช้าตรู่ ลุกข้ึน จากที่นอน จะมาลูบแผ่นดิน ก็เป็นผู้สะอาดอยู่น่ันเอง ถึงจะไม่ลูบแผ่นดิน ก็

๓๖๖ พุทธธรรม เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ฯลฯ ถึงจะยกมือไหว้พระอาทิตย์ ก็เป็นผู้สะอาดอยู่ นั่นเอง ถึงจะไม่ยกมือไหว้พระอาทิตย์ ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง...เพราะว่า กศุ ลกรรมบถ ๑๐ ประการน้ี เป็นของสะอาดเองดว้ ย เป็นตัวการที่ทําให้สะอาด ด้วย...”๑ ที่ว่าความหมายซึ่งขยายออกไปในรูปประยุกต์ อาจแตกต่างกันตาม ความเหมาะสมกับกรณีน้นั ขอยกตัวอยา่ ง เชน่ เมื่อกล่าวถึง บุคคลท่ีออกบวชแล้ว นอกจากศีลบางข้อจะเปลี่ยนไป และมีศีลเพิ่มใหม่อีกแล้ว แม้ศีลข้อท่ีคงเดิมบางข้อ ก็มีความหมายส่วนที่ ขยายออกไป ต่างจากเดิม ขอให้สังเกตข้อเว้นอทินนาทาน และเว้น มุสาวาทต่อไปน้ี เทยี บกับความหมายในกศุ ลกรรมบถข้างตน้ ละอทนิ นาทาน เว้นขาดจากการถือเอาส่ิงของท่ีเขามิได้ให้ ถือเอาแต่ของ ทเ่ี ขาให้ หวงั แต่ของทเี่ ขาให้ มตี นไมเ่ ปน็ ขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ ละมุสาวาท เว้นขาดจากการพูดเท็จ กล่าวแต่คําสัตย์ ธํารงสัจจะ ซื่อตรง เช่ือถอื ได้ ไมล่ วงโลก๒ มีขอ้ สงั เกตสําคัญในตอนนอ้ี ย่างหน่ึง คือ ความหมายท่อนขยายของ องค์มรรคข้ันศีลเหล่านี้แต่ละข้อ ตามปรกติจะแยกได้เป็นข้อละ ๒ ตอน ตอนต้นกล่าวถึงการละเว้นไม่ทําความช่ัว ตอนหลังกล่าวถึงการทําความดี ที่ตรงข้ามกับความช่ัวท่ีงดเว้นแล้วน้ัน พูดส้ันๆ ว่า ตอนต้นใช้คํานิเสธ ตอนหลังใช้คําแนะหนุน เรื่องน้ี เป็นลักษณะทั่วไปอย่างหนึ่ง ของคําสอน ในพระพุทธศาสนา ที่มักใช้คําสอนควบคู่ ทั้งคํานิเสธ (negative) และคํา แนะหนนุ (positive) ไปพร้อมๆ กัน ตามหลัก “เว้นชั่ว บําเพญ็ ดี” เม่ือถือการเว้นช่ัวเป็นจุดเริ่มต้นแล้ว ก็ขยายความในภาคบําเพ็ญดี ออกได้เรื่อยไป ซ่ึงไม่จํากัดเฉพาะเท่าท่ีขยายเป็นตัวอย่างในองค์มรรค เหลา่ นเ้ี ทา่ นน้ั ๑ องฺ.ทสก.๒๔/๑๖๕/๒๘๓ ความหมายธรรม ๑๐ อย่างตามคําขยายความอย่างน้ี มีที่มาอีกมาก เช่น ๒๔/๑๘๙/๓๐๕, ๑๙๓/๓๐๙,๑๙๔/๓๑๓,๑๙๕/๓๑๙,๑๙๗/๓๒๓ ๒ ที.สี.๙/๓-๔/๕, ๑๐๓/๘๓, ๑๖๓/๑๒๙, ฯลฯ ม.มู.๑๒/๔๕๕/๔๙๐; ม.ม.๑๓/๑๒/๑๑; อง.ทสก.๒๔/๙๙/๒๑๙ ฯลฯ

สมเด็จพระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๓๖๗ ตัวอย่างเช่นข้อเว้นอทินนาทาน ในท่ีนี้ยังไม่ได้ขยายความในภาค บําเพ็ญดีออกเป็นรายละเอียดการปฏิบัติท่ีเด่นชัด แต่ก็ได้มีคําสอนเรื่อง ทาน เป็นหลักธรรมใหญ่ที่สุดเรื่องหน่ึงในพระพุทธศาสนา ไว้อีกส่วนหนึ่ง ต่างหากแล้ว ดังนีเ้ ป็นตน้ ตะวันตกไมร่ ้จู ักจริยธรรมแบบธรรมชาติและเปน็ ระบบ เคยมีปราชญ์ฝ่ายตะวันตกบางท่าน เขียนข้อความทํานองตําหนิ พระพทุ ธศาสนาไว้ว่ามีคําสอนมุ่งแต่ในทางปฏิเสธ (negative) คือ สอนให้ ละเว้นความชั่วอย่างนั้นอย่างนี้ฝ่ายเดียว ไม่ได้สอนย้ําชักจูงเร่งรัด พุทธศาสนิกชนให้ขวนขวายทําความดี (positive) ไม่ได้แนะนําว่าเมื่อเว้น ช่ัวน้ันๆแล้ว จะพึงทําความดีอย่างไรต่อไป มีคําสอนเป็นสกวิสัย (subjective) เป็นได้เพียงจริยธรรมแห่งความคิด (an ethic of thoughts) เป็นคําสอนแบบถอนตัวและเฉยเฉื่อย (passive) ทําให้พุทธศาสนิกชน พอใจแต่เพียงแค่งดเว้นทําความชั่ว คอยระวังเพียงไม่ให้ตนต้องเข้าไป เก่ียวข้องพัวพันกับบาป ไม่เอาใจใส่ขวนขวายช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ด้วย การลงมือทําการปลดเปล้ืองความทุกข์และสร้างเสริมประโยชน์สุขจริงจัง แมใ้ ห้เมตตากรณุ า ก็เพยี งโดยต้ังความหวังความปรารถนาดีแผ่ออกด้วยใจ อยา่ งเดียว เรื่องนี้ โดยเฉพาะเหตุผลในการแสดงความหมายของหลักธรรม สําคัญด้วยคําหรือข้อความเชิงปฏิเสธ ได้อธิบายแล้วในตอนก่อน ที่ว่าด้วย สัมมาสังกัปปะ (ดู หน้า ๓๔๕–๓๕๑) แต่ยังมีข้อปลีกย่อยบางอย่างที่ควร ทราบเพิ่มเติมอีก ในแง่ท่ีฝรั่งเรียกว่าจริยธรรม (ethic) ซึ่งเป็นเรื่องระดับ ศีล จึงพดู ไว้ ณ ทีน่ ี้ นักปรัชญาและเทววิทยาผู้มีชื่อเสียงคนหน่ึง ที่ชาวตะวันตกรู้จักกัน มาก ได้อ้างข้อความจากพระไตรปิฎก มาสนับสนุนทัศนะของตนที่ว่า คํา สอนในพระพุทธศาสนาเป็นเพียงข้ันปฏิเสธ (negative) โดยยกคําจํากัด ความองค์มรรคข้อสัมมากัมมันตะข้างต้นกํากับไว้ในข้อเขียนของตน (วจนะที่อา้ งเปน็ ของพระสารีบุตร) ว่า

๓๖๘ พุทธธรรม ...สัมมากัมมันตะเป็นไฉน? การเว้นปาณาติบาต การเว้นอทินนาทาน การเวน้ กาเมสมุ ิจฉาจาร น้ีแล ทา่ นผู้มีอายุทง้ั หลาย ชอ่ื ว่าสมั มากมั มนั ตะ๑ ๑ เปนคําจํากัดความอยางเดียวกับขางตน (ม.อุ.๑๔/๗๐๔/๔๕๔) อางใน Albert Schweitzer, oSIpinnuf.dtTG1itah1oon2anvieTlนarhยnnําoมังdmuอาอg(eาBงhาnงlหtotตล,aoอักInmnใธนddรinรilJatมgonstขsaoDeอnอpeU:่ืนvhnIeๆnilvLsoอe.tpีกirtSmsเuuพitettyื่อent,ยoto1ืนn(f9Nย, 6TัeนP2wrทra)oัศ,ibYnนpolienะ.rmขkg3:อsfงHใoทนoerาหfnนPนrPyuังoเชสbHliนือltoiเiclลcหtsมSลaหeักanrลกndvังรdiนcรCeม้ีAo(,pmdหDpmpลe.aักipn2n(โai-yอs8r,tกt)r1mาaP9สte3riใoo6nนnf)t)., การเกิดใหม การถอนตนหรอื หลกี หนีจากเร่ืองราวของโลกและชีวิต เปน ตน สาํ หรบั หลักกรรม แกความเขาใจผดิ ได ดวยหลักกรรมที่ชี้แจงมาแลวขางตน สวนหลักการเกิดใหม ที่วาใหโอกาสคนผัดผอนไมเรงทําความดี (จริยธรรมคริสตวาเกิดครั้งเดียว) ก็ตีกลับไดดวยหลักท่ีวา บาปไมมีโอกาสแกดวยวิธีลางหรือสารภาพบาป นอกจากนั้น พุทธศาสนาถือวา การเกิดเปนมนุษยยาก อยา งยงิ่ เทยี บวา ยากกวา การที่เตาในมหาสมุทรจะโผลศีรษะตรงหวงอันเดียวที่ลอยอยกู ลางมหาสมุทร l๒o๕ve/ส๑วn๗นoเ๖tรhื่อ/iง๒nถg๒อนi๕nต)tัววhไามis“ยตwุงสกoมฺับrาlกdิจหกaิ เาrตรeขสrอขุicงิโโhนลกiวnตี Pjโroสoyกfา.aเnยSdสuํtfปtroิยenํeนfตrอถฺoาิmงกพุหุทpิญธaจฺ พiิnโจล”นเวกซา”่ึงม“าTจhาoกบseาลี w(ขhุ.อoุ. มตเปาานมกปมแคถ๑ญตาาํา.ยตผเหขิขาแูโเากอดนปไงับปย่ือลคเงเPจฉจจนrะพอoาไเลกทคาf.อืะพยําใกSสดรนuไอะว ปสtไยนtมต)เoอมยัรnยปื่อขาเอฎตขงงกรใาเนงเSหปนกcน็ ี้นรhแแคณสwลัมดะียeจภงเiบัชมtีรzัดเตศอeถาตาrงึสไสสปคนูตาแาําเตรสหทสอตี่ใทนหวสุ ี่สนาํทญอคนีแ่ มนญัี้ปแาใลกลห๒สะม(ไภูอโีปเตมายตษกตาีคงาวตตวาทาาะขมรี่ทวอักหาํนังใสมฝตหรารกเ ยรขั่งแพทากลเนัขสวว าทาัตใียจว๑กังผว๐็เเลาดิปยอเน“ทพยมเาพาลา)งตายี นดางมน้ั ไบยปีคาถคํางา(อืสสขนออวนินนย้ีํ แปเมปุตตลฺตต๒วํ อาา .ไ:ามยตมมุสาามาปีรภดเรอะูมากมถหิปนาลุตณอังฺตมใทมนบานสงุตศุรตั รกาวนฺสเทขอน;้ังยาปคแเวอลนงวะเมดแวฺปัฒียมิวฉนสทันพธีเ่ นรกฺพรัน้ดิภม)จูเตาเชขกสาาุต,วอตนามะจาแวจนมันะสดตตมวีคกฺภยรวาจูยาวมกัอเยไแมปตอสใปจลนรระทิยิมชาธาวีงณริตตรไํร”มดงทข ฉ(า่ีเขปมันุ.ขนใกดุ.เ๒ทไ็ ดพว๕โึงอ/เ๑จงกร๐ิญาร/น๑เ้ําป๓ในจ; คําส่ัง หรือเปนขอกําหนดสําเร็จรูป เปนเรื่องๆ ไป เขาไมรูจักจริยธรรมที่เปนระบบการดําเนินชีวิต ซึ่งมฐี านอยใู นความเปนจริงตามธรรมชาติ เขาจงึ มองจริยธรรมแยกเปนสว นๆ ดังน้ัน ถาเขาพบพุทธพจนขางบนครบทั้งสองแหง เขาก็จะตีความหมายผิดอีก เชนเห็นไปวา พุทธศาสนาสอนขัดกันเอง เปน ตน (ตรงน้ีก็เปนเร่อื งยากสาํ หรบั คนไทยดวยเชนกนั ) แตท จ่ี ริง พุทธพจนทั้งสองแหงน้ันไมขัดกันเลย กลับสอดคลองกันเชิงระบบ คือ เปนภาวะทางจิตที่มีการ พัฒนาไปในระดับตา งๆ จนถึงขน้ั มีเมตตาสากลไมมีขอบเขต แตไมม ีความยึดตดิ ใดๆ มีรักแท ท่ีไรท กุ ขไ ด อยางในท่ีน้ี คําวา “love” ของเขาตรงกับ “ปย” หมายถึงรักดวยสิเนหะ ซ่ึงเปนเหตุใหเกิด ความยึดติดสวนตัว แตความตอนนี้ของทาน แสดงคุณสมบัติของผูหลุดพนแลว ซ่ึงความรักแบบ สเิ นหะไมมเี หลอื มแี ตเมตตา ดังน้นั ในกรณีน้จี งึ เปน เร่ืองของผูมีจิตใจเปนอิสระ ซึ่งจะทําการตางๆ ดวยเมตตา ไมมีความยึดติดเอนเอียงท่ีจะเปนเหตุกอความเดือดรอนแกตนและคนอ่ืนเพราะ ความเหน็ แกต ัวหรอื ความยึดติดสวนบุคคล คํากลกาาวรตแิขปอลงควPาrมoหf.มาSยuธtรtรoมnตานงี้ ๆจะยทอํามดไวดยคเจุณตคนาาแหตรกือตเขาางใกจันผไิดปถตูกาอมยภาูมงไิหรลกัง็ตแาลมะมคาวตรรถฐือาไนดทวี่ใาชเปวัดน ประโยชน เพราะอาจใชเปนคําเตือนชาวพุทธใหเอาใจใสศึกษา ใหรูเขาใจความหมายท่ีถูกตองของ หลักธรรมตางๆ และพึงยอมรับความจริงดวยวา ความเช่ือถือและความเขาใจท่ีแพรหลายท่ัวไปใน สงั คมไทยเกย่ี วกับหลักธรรมหลายอยาง มีลักษณะอาการท่ีใหมองเห็นอยางคํากลาวติน้ันได จึงทําให ชาวตะวันตกอยา ง Prof. Sutton เขาใจอยางนี้

สมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๓๖๙ สําหรับผู้ศึกษาที่เข้าใจความหมายเชิงระบบของมรรค และทราบ แนวทางท่ีจะขยายความหมายในทางปฏิบัติขององค์มรรคท้ังหลาย ออก ไปสู่ธรรมปลีกย่อยต่างๆ ท่ีเป็นข้อปฏิบัติเฉพาะเร่ืองเฉพาะกรณีได้ มากมาย ตามท่ีชี้แจงมาแล้ว ย่อมเห็นได้ทันทีว่า หากท่านผู้เขียนคําติน้ี วิจารณ์ไว้ด้วยเจตนาดี ข้อเขียนของท่านน่าจะต้องเกิดจากการได้อ่าน หรอื รบั ทราบพทุ ธธรรมมาแตเ่ พยี งข้อปลกี ยอ่ ยตา่ งส่วนตา่ งตอนไมต่ อ่ เนือ่ ง เป็นสาย และเกิดจากการไม่เขา้ ใจระบบแหง่ พทุ ธธรรมโดยสว่ นรวม จากความเป็นระบบและการกระจายความหมายในทางปฏิบัตินั้น เห็น ได้ชัดอยู่แล้วว่า ระบบศีลธรรมของมรรคไม่มีลักษณะจํากัดด้วยความเป็น negative หรอื passive หรอื subjective หรอื เปน เพียง an ethic of thoughts การท่ีคําจํากัดความขององค์มรรคข้ันศีล ต้องมีรูปลักษณะเป็นคํา ปฏเิ สธเชน่ นัน้ ขอกล่าวถงึ ขอ้ สงั เกตและเหตผุ ลปลีกย่อย เพิ่มเติมจากหลัก ใหญท่ พี่ ดู ไปแลว้ ในตอนกอ่ น คอื ๑. ศีลในฐานะที่เป็นส่วนหน่ึงของพุทธธรรม ย่อมมิใช่เทวโองการ ท่ี กําหนดให้ศาสนิกประพฤติปฏิบัติอย่างน้ันบ้างอย่างนี้บ้าง สุดแต่เทวประสงค์ ด้วยอาศัยศรัทธาลอยๆ แบบภักดี ซึ่งไม่จําเป็นต้องทราบเหตุผลเชื่อมโยง ต่อเน่อื งกนั แตศ่ ีล เป็นส่ิงที่กําหนดขึ้นตามหลักเหตุผลของกฎธรรมชาติ ซ่ึง ผูป้ ฏิบตั ติ ามจะตอ้ งมองเห็นความสมั พันธ์เชื่อมโยงกนั เปน็ ระบบ แม้จะยังไม่มีปัญญารู้แจ่มแจ้งชัดเจน มีเพียงศรัทธา ศรัทธานั้นก็ จะต้องเป็นอาการวตีศรัทธา ซ่ึงอย่างน้อยจะต้องมีพื้นความเข้าใจใน เหตุผลเบอื้ งตน้ พอเปน็ ฐานใหเ้ กิดปญั ญารแู้ จม่ ชัดตอ่ ไป ๒. ในกระบวนการปฏิบัติธรรมหรือการฝึกศึกษาพัฒนาตนนั้น เมื่อ มองในแง่ลําดับส่ิงท่ีจะต้องทําให้ประณีตย่ิงข้ึนไปตามข้ัน ก็เริ่มด้วยละเว้น หรือกําจัดความช่ัว แล้วเสริมสร้างความดีให้บริบูรณ์ จนถึงความบริสุทธิ์ หลุดพ้นในท่ีสุด เหมือนจะปลูกพืชต้องชําระท่ีดิน กําจัดส่ิงเป็นโทษก่อน แล้วจึงหว่านพืชและบํารุงรักษาไปจนได้ผลท่ีหมาย แต่ในทางปฏิบัติก็ต้อง จัดใหส้ อดคล้องกบั สถานการณท์ ี่ปัจจัยอันเกยี่ วขอ้ งจะออกผลไดด้ ี

๓๗๐ พุทธธรรม ในระบบแห่งพุทธธรรมนน้ั เมื่อมองในแง่ที่ว่าน้ี ศีลเป็นข้อปฏิบัติขั้น เริ่มแรกท่ีสุด มุ่งไปที่ความประพฤติพื้นฐาน จึงเน้นที่การละเว้นความช่ัว ต่างๆ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น พูดย้ําให้เห็นสิ่งที่ต้องการกําจัดอย่างชัดเจน เสียก่อน แล้วขยายขอบเขตยกระดับความประพฤติให้สูงข้ึนไปในด้าน ความดี ด้วยอาศัยการปฏิบัติในข้ันสมาธิและปัญญาเข้ามาช่วยมากข้ึนๆ โดยลาํ ดับ อย่างไรก็ดี ที่วา่ นเ้ี ปน็ การพูดตามหลักทั่วไป แต่ในทางปฏิบัติ บางที กลับเร่ิมโดยเน้นฝ่ายดีก่อน เช่น วางทานก่อนศีล หรือควบคู่ผสมผสานกัน ไป ซึ่งเป็นเรื่องของเทคนิค หรือกลวิธีด้วย โดยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่ ปจั จัยอันเก่ยี วข้องจะออกผลได้ดีดังทว่ี า่ แลว้ ๓. ในระบบการฝึกอบรมของไตรสิกขา ศีลยังมิใช่ข้อปฏิบัติให้ถึง จุดหมายสูงสุดโดยตัวของมันเอง แต่เป็นวิธีการเพ่ือก้าวหน้าไปสู่ความ เจริญข้ันต่อไป คือสมาธิ สมาธิจึงเป็นจุดหมายจําเพาะของศีล โดยนัยนี้ คุณค่าในด้านจิตใจของศลี จงึ มคี วามสาํ คัญมาก คุณค่าทางจิตใจในข้ันศีล ก็คือ เจตนาท่ีจะงดเว้น หรือการไม่มี ความดําริในการที่จะทําความช่ัวใดๆ อยู่ในใจ ซึ่งทําให้จิตใจบริสุทธ์ิปลอด โปร่ง ไม่มคี วามคิดวุ่นวายขุ่นมัวหรือกังวลใดๆ มารบกวน จิตใจจึงสงบ ทํา ให้เกิดสมาธิได้ง่าย เม่ือมีจิตใจสงบเป็นสมาธิแล้ว ก็เกิดความคล่องตัวใน การท่ีจะใช้ปัญญา คิดหาเหตุผล และหาทางดําเนินการสร้างสรรค์ความดี ต่างๆ ให้ได้ผลในขนั้ ต่อไป ๔. พุทธธรรมถือว่า จิตใจเป็นสิ่งสําคัญยิ่ง ระบบจริยธรรมจึงต้อง ประสานต่อเนื่องกันโดยตลอด ท้ังด้านจิตใจ และความประพฤติทางกาย วาจาภายนอก ในการกระทําตา่ งๆ นนั้ จติ ใจเป็นจุดเรม่ิ ต้น จงึ กําหนดท่ีตัว เจตนาในใจเป็นหลัก เพื่อให้การกระทําความดีต่างๆ เป็นไปด้วยความ จริงใจอย่างแน่นอน มิใช่แต่เพียงไม่หลอกลวงคนอื่นเท่านั้น แต่หมายถึง การไม่หลอกลวงตนเองด้วย เป็นการกําจัดหนทางไม่ให้เกิดปัญหาทางจิต ในดา้ นความขดั แย้งของความประพฤติ

สมเด็จพระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๓๗๑ ๕. องค์มรรคข้ันศีลสอนว่า ความรับผิดชอบขั้นพื้นฐานท่ีสุดของ บุคคลแต่ละคน ก็คือ ความรับผิดชอบต่อตนเอง ในการท่ีจะไม่ให้มีความคิด ทจี่ ะทําความชั่วด้วยการเบยี ดเบียนหรอื ล่วงละเมิดตอ่ ผ้อู ่ืน อยใู่ นจิตใจของ ตนเลย เมื่อมีความบริสุทธ์ิน้ีรองรับอยู่เป็นเบื้องต้นแล้ว ความรับผิดชอบ น้ัน จึงขยายกว้างออกไปถึงขั้นเป็นการธํารงรักษาและเสริมสร้างความ เจริญก้าวหน้า แห่งคุณธรรมของตน ด้วยการขวนขวายทําความดี บําเพ็ญ ประโยชน์สุขแก่คนอื่นๆ พูดสั้นๆ ว่า มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ในการที่ จะละเว้นความชว่ั และรับผดิ ชอบตอ่ ผ้อู ่ืน ในการท่จี ะทาํ ความดแี ก่เขา ๖. การกําหนดความหมายของศีลในแง่ละเว้นความช่ัว เป็นการ กําหนดข้อปฏิบัติอย่างกว้างขวางที่สุด คือเพ่งเล็งไปท่ีความชั่ว ยํ้าถึง เจตจํานงท่ีไม่มีเช้ือแห่งความชั่วเหลืออยู่เลย ส่วนในฝ่ายความดี เป็นเรื่อง ทจี่ ะพึงขยายออกไปไดอ้ ย่างไม่มีเขตจํากัด จึงไม่ระบไุ ว้ ตามความเป็นจริง ความดีเป็นเรื่องกว้างขวางไม่มีท่ีส้ินสุด มี รายละเอียด แนวทาง และวิธีการ ยักเยื้องไปได้มากมายตามฐานะและ โอกาสต่างๆ ส่วนความช่ัวท่ีจะต้องเว้น เป็นเรื่องแน่นอนตายตัว เช่น ท้ัง พระสงฆ์และคฤหัสถ์ ควรละเว้นการพูดเท็จด้วยกันทั้งสองฝ่าย แต่โอกาส และวิธีการทจี่ ะทําความดีที่ตรงข้ามกับการพูดเท็จนั้นต่างกัน การวางหลัก กลาง จึงระบุแต่ฝ่ายเว้นชั่วไว้เป็นเกณฑ์ ส่วนรายละเอียด และวิธีการ กระทําในข้ันบําเพ็ญความดี เป็นเร่ืองในขั้นประยุกต์ให้เหมาะสมกับฐานะ โอกาส และสภาพชีวติ ของบคุ คลต่อไป๑ ๗. การปฏิบัติตามองค์มรรคทุกข้อ ถือว่าเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับทุก คนในการท่ีจะเข้าถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนา ดังน้ัน องค์มรรคแต่ละ ข้อจะต้องเป็นหลักกลางๆ ท่ีทุกคนปฏิบัติตามได้ ไม่จํากัดด้วยฐานะ กาล สมัย ท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อมจําเพาะอย่าง เช่น การเว้นอทินนาทาน เป็น สิง่ ที่ทุกคนทําได้ แตก่ ารใหท้ านตอ้ งอาศัยปัจจัยอ่ืนประกอบ เช่น ตนมีสิ่งท่ี จะใหม้ ผี ทู้ จี่ ะรบั และเขาควรได้รบั เป็นตน้ ๑ ขอ้ ปฏิบตั ิในขัน้ ประยุกต์ พงึ ดูตัวอยา่ งในมัชฌิมาปฏิปทา ภาคประยกุ ต์

๓๗๒ พุทธธรรม ในกรณีท่ีไม่อยู่ในฐานะและโอกาส เป็นต้น ที่จะให้ เจตนาที่ ปราศจากอทินนาทาน ก็เป็นสิ่งที่ทําให้จิตใจบริสุทธ์ิ เป็นพ้ืนฐานแก่สมาธิ ได้แล้ว แต่ในกรณีท่ีอยู่ในฐานะและโอกาส เป็นต้น ท่ีจะให้ การไม่ใส่ใจ หรือหวงแหน จึงจะเกิดเป็นความเศร้าหมองขุ่นมัวแก่จิตใจ และการให้จึง จะเปน็ เครือ่ งสง่ เสรมิ คณุ ธรรมของตนใหม้ ากยง่ิ ขึ้น โดยนัยน้ี ความหมายหลกั จึงอยู่ในรูปเป็นคําปฏิเสธ คือ การละเว้น หรอื ปราศจากความชัว่ ส่วนความหมายท่ีขยายออกไปในฝ่ายทําความดีจึง เปน็ เร่ืองของการประยกุ ตด์ งั กล่าวแล้ว ๘. ในทางปฏิบัติ เมื่อพิจารณาในช่วงเวลาใดเวลาหน่ึง ผู้ปฏิบัติ ธรรมย่อมกําลังบําเพ็ญคุณธรรมความดีอย่างใดอย่างหน่ึง หรือประเภทใด ประเภทหนึง่ อยเู่ ปน็ พิเศษ ในเวลาเช่นน้ันเขาย่อมจะต้องพุ่งความคิดความ สนใจจําเพาะเจาะจงลงในส่ิงท่ีปฏิบัติน้ัน ในกรณีเช่นนี้ ความรับผิดชอบของ เขาต่อความประพฤติด้านอื่นๆ ย่อมมีเพียงเป็นส่วนประกอบ คือเพียงไม่ให้ เกดิ ความช่ัวอยา่ งใดอยา่ งหน่ึงหรอื ความเสยี หายดา้ นอ่นื ข้นึ มา เปน็ สําคญั ประโยชน์ที่ต้องการจากศีล ในกรณีเช่นนี้ จึงได้แก่การช่วยควบคุม รักษาความประพฤติในด้านอ่ืนๆ ของเขาไว้ ป้องกันไม่ให้เสียหลักพลาดลง ไปในความช่ัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ทําให้มีพ้ืนฐานที่ม่ันคง สามารถบําเพ็ญ ความดีทเ่ี ปน็ เรอ่ื งจําเพาะในขณะน้ันๆ ได้โดยสมบรู ณ์ ความแตกตา่ งระหว่างศีล ในพระพทุ ธศาสนา กบั ศาสนาเทวนิยม อน่ึง มีข้อสังเกตบางอย่างท่ีควรทราบ เกี่ยวกับความแตกต่าง ระหว่างศีลในพระพุทธศาสนา กับศีลในศาสนาเทวนิยม (รวมถึงเร่ืองกรรม ความดี ความชัว่ ) ดังนี้ ๑. ในพุทธธรรม ศีลเป็นหลักความประพฤติท่ีกําหนดขึ้นตามหลัก เหตุผลของกฎธรรมชาติ ส่วนในศาสนาเทวนิยม ศีลเป็นเทวโองการ ที่กําหนดข้ึนโดย เทวประสงค์

สมเด็จพระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๓๗๓ ๒. ในแง่ปฏิเสธ ศีลในความหมายของพุทธธรรม เป็นหลักหน่ึงแห่งสิกขา ในระบบการศึกษาท่ีจะให้คนฝึกตนในการเว้นจากความชั่ว จึงเรียกศีลท่ีกําหนด เปน็ ขอ้ ๆ ว่า สกิ ขาบท (ขอ้ ฝึก −training rule) ส่วนศีลในศาสนาเทวนิยม เป็นข้อห้าม หรือคําส่ังห้ามจากเบ้ืองบน (divine commandment) ๓. แรงจูงใจที่ต้องการในการปฏิบัติตามศีลแบบพุทธธรรม ได้แก่ อาการวตีศรัทธา คือ ความม่ันใจ (confidence) ในกฎแห่งกรรม โดยมี ความเข้าใจพ้ืนฐาน มองเห็นเหตุผลว่าพฤติกรรมและผลของมันจะต้อง เปน็ ไปตามแนวทางแห่งเหตปุ จั จัย ส่วนแรงจูงใจท่ีต้องการในการปฏิบัติตามศีลของศาสนาเทวนิยม ไดแ้ ก่ศรัทธาแบบภักดี (faith) คือ เช่ือ ยอมรับ และทําตามส่ิงใดๆ ก็ตามที่ กําหนดว่าเป็นเทวประสงค์ มอบความไว้วางใจให้โดยส้ินเชิง ไม่ต้องถามหา เหตุผล ๔. ในพุทธธรรม การรักษาศีลตามความหมายท่ีถูกต้อง ก็คือ การ ฝึกตน ในทางความประพฤติ เริ่มแต่เจตนาที่จะละเว้นความช่ัวอย่างนั้นๆ จนถงึ ประพฤติความดงี ามต่างๆ ท่ีตรงขา้ มกับความชวั่ นน้ั ๆ ส่วนในศาสนาเทวนิยม การรักษาศีล ก็คือ การเชื่อฟัง และปฏิบัติ ตามเทวโองการโดยเคร่งครัด ๕. ในพุทธธรรม การประพฤติปฏิบัติในข้ันศีล นอกจากให้เกิดการ อยู่ร่วมสังคมท่ีเก้ือกูลไม่เบียดเบียนกันแล้ว มีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ เพื่อ เป็น บาทฐานของสมาธิ กล่าวคือ เป็นระบบการฝึกอบรมบุคคลให้มี ความพร้อมและความสามารถที่จะใช้กําลังงานของจิตให้เป็นประโยชน์ มากท่ีสุด ในทางท่ีจะก่อให้เกิดปัญญาและนําไปสู่ความหลุดพ้น หรือ อิสรภาพสมบูรณ์ในที่สุด ส่วนการไปสวรรค์เป็นต้น เป็นเพียงผลพลอยได้ ของวถิ แี ห่งความประพฤติโดยทวั่ ไป แต่ในศาสนาเทวนิยม การประพฤติศีลตามเทวโองการ เป็นเหตุให้ ได้รับความโปรดปรานจากเบื้องบน ในการที่ได้ปฏิบัติตามเทวประสงค์ และเป็นเหตใุ หพ้ ระองคท์ รงประทานรางวลั ด้วยการสง่ ไปเกิดในสวรรค์

๓๗๔ พุทธธรรม ๖. ในพุทธธรรม ผลดีหรือผลร้ายของการประพฤติหรือไม่ประพฤติ ศีล เป็นส่ิงท่ีเป็นไปเองโดยธรรมชาติ คือ เป็นเร่ืองการทํางานอย่างเท่ียง ธรรมเป็นกลางของกฎธรรมชาติ ที่เรียกว่า กฎแห่งกรรม การให้ผลน้ี แสดงออกตั้งต้นแต่จิตใจ กว้างออกไปจนถึงบุคลิกภาพ และวิถีชีวิตทั่วไป ของบคุ คลผนู้ ัน้ ไม่วา่ ในชาตินีห้ รอื ชาติหนา้ ส่วนในศาสนาเทวนิยม ผลดีผลร้ายของการประพฤติตามหรือการ ละเมิดศีล (เทวโองการ) เป็นเร่ืองของการให้ผลตอบแทน (retribution) ผลดีคอื การได้ไปเกดิ ในสวรรค์ เปน็ ฝ่ายรางวัล (reward) ส่วนผลร้ายคือไป เกิดในนรก เป็นฝ่ายการลงโทษ (punishment) การจะได้ผลดีหรือผลร้าย น้นั ย่อมสุดแต่การพิพากษา หรอื วนิ ิจฉัยโทษ (judgment) ของเบอื้ งบน ๗. ในแง่ความเข้าใจเก่ียวกับความดีความช่ัว ทางฝ่ายพุทธธรรม สอนว่า ความดี เป็นคุณค่าท่ีรักษาและส่งเสริมคุณภาพของจิต ทําให้จิตใจ สะอาดผ่องใสบริสุทธ์ิหรือยกระดับให้สูงขึ้น จึงเรียกว่าบุญ (good, moral หรือ meritorious) เป็นส่ิงที่ทําให้เกิดความเจริญงอกงามแก่จิตใจ เป็นไป เพ่ือความหลุดพ้นหรืออิสรภาพทั้งทางจิตใจและทางปัญญา เป็นการ กระทําที่ฉลาด ดําเนินตามวิถีแห่งปัญญา เอื้อแก่สุขภาพจิต จึงเรียกว่า กุศล (skilful หรือ wholesome) สว่ นความช่ัว เป็นสภาพท่ีทําให้คุณภาพของจิตเส่ือมเสีย หรือทํา ให้ตกตํ่าลง จึงเรียกว่าบาป (evil) เป็นส่ิงที่ทําให้เกิดความเสื่อมโทรมแก่ ชวี ิตจิตใจ ไมเ่ ปน็ ไปเพอ่ื ความหลดุ พน้ เป็นการกระทําที่ไม่ฉลาด ไม่เอ้ือแก่ สุขภาพจติ จงึ เรยี กว่า อกศุ ล (unskilful หรือ unwholesome) ส่วนในศาสนาเทวนิยม ความดีความช่ัว กําหนดด้วยศรัทธาแบบ ภักดีต่อองค์เทวะเป็นมูลฐาน คือเอาการเช่ือฟังยอมรับและปฏิบัติตาม เทวประสงค์และเทวบัญชาหรือไม่ เป็นหลัก โดยเฉพาะความช่ัว/บาป หมายถึงการผดิ หรือลว่ งละเมดิ ต่อองค์เทวะ (sin) ในรปู ใดรูปหน่งึ ๘. จากพ้ืนฐานท่ีแตกต่างกันนี้ ทําให้เกิดความแตกต่างกันต่อไปอีก อยา่ งน้อย ๒ ประการ คอื

สมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๓๗๕ ก) ศีลในพุทธธรรม จึงต้องเป็นคําสอนท่ีต่อเนื่องกันตามเหตุผล เป็นระบบจริยธรรม เพราะผู้ปฏิบัติจะประพฤติได้ถูกต้องต่อเม่ือมีความ เข้าใจในระบบและเหตผุ ลทเ่ี ก่ียวข้องเป็นพ้ืนฐานอย่ดู ว้ ย ส่วนศีลหรือจริยธรรมท่ัวไปในศาสนาเทวนิยม ย่อมเป็น ประกาศเทวโองการ หรือคําแถลงเทวประสงค์เป็นเรื่องๆ ข้อๆ ต่างๆ กันไป แม้นํามารวบรวมไว้ก็ย่อมเรียกว่า “ประมวล” ไม่ใช่ ระบบ เพราะผู้ปฏิบัติ ต้องการความเข้าใจอย่างมากก็เฉพาะในความหมายของส่ิงท่ีจะต้องปฏิบัติ เท่านั้น ไม่จําเป็นต้องเข้าใจในระบบและเหตุผลที่เกี่ยวข้อง เพราะถือว่า ระบบและเหตุผลต่างๆ ท้งั ปวงอย่ใู นพระปรีชาขององคเ์ ทวะหมดสิ้นแล้ว อนั ผู้ปฏิบัติไม่พึงสงสัย เพียงแต่เช่ือฟัง มอบความไว้วางใจ และปฏิบัติตาม เทวโองการเท่าน้ันเปน็ พอ ข) ศีลหรือระบบจริยธรรมแบบพุทธ เป็นหลักกลางๆ และเป็น สากล กําหนดโดยข้อเท็จจริงตามกฎธรรมชาติ (หมายถึงสารัตถะของศีล ในฝ่ายธรรมอันเกี่ยวด้วยบุญบาป ไม่ใช่ในความหมายฝ่ายวินัย อันเก่ียว ด้วยการลงโทษ) เช่น พิจารณาผลหรือปฏิกิริยาท่ีเกิดข้ึนในกระบวนการ ทํางานของจิต ผลต่อพฤติกรรม นิสัย และบุคลิกภาพ เป็นต้น จึงไม่อาจ วางข้อจํากัดท่ีเป็นการแบ่งแยกเพ่ือผลประโยชน์เฉพาะพวก เฉพาะกลุ่ม หรือเอาความพอใจของตนเป็นเครอื่ งวัดได้ ทั้งนี้ ไม่จํากัดว่า คนศาสนานี้เท่าน้ันมีกรุณาจึงเป็นคนดี คน ศาสนาอื่นมีกรุณาก็เป็นคนดีไม่ได้ ฆ่าคนศาสนานี้เท่าน้ันเป็นบาป ฆ่าคน ศาสนาอ่ืนไม่บาป คนศาสนาน้ีเท่านั้นให้ทานไปสวรรค์ได้ คนศาสนาอ่ืน ประพฤติอย่างไรไม่เช่ือฉันเสียอย่างเดียวตกนรกหมด ฆ่าสัตว์ไม่บาป เพราะสัตว์ (รวมทั้งที่ไม่เป็นอาหาร?) เป็นอาหารของคน (เพราะคนไม่เป็น อาหารของเสอื และสิงโต?) ดงั นเี้ ปน็ ตน้ จะมีการจํากัดแบ่งแยกได้ เช่นว่าบาปมากบาปน้อยเป็นต้น อย่างไร ก็เป็นไปโดยข้อเท็จจริงตามกฎธรรมชาติ เช่น พิจารณาผลและ ปฏกิ ิรยิ าท่เี กดิ ขึ้นในกระบวนการทํางานของจติ เป็นต้น ดังกลา่ วแล้ว

๓๗๖ พทุ ธธรรม ส่วนในศาสนาเทวนิยม หลักเหล่านี้ย่อมกําหนดให้จํากัดหรือขยาย ตามเทวประสงค์อย่างไรก็ได้ ดุจเป็นวินัยบัญญัติ หรือนิติบัญญัติ เพราะ องค์เทวะทรงเป็นทั้งผู้ตรากฎหมายและผพู้ ิพากษาเอง ๙. เนื่องจากศีลเป็นหลักกลางๆ กําหนดด้วยข้อเท็จจริงตามกฎ ธรรมชาติเช่นน้ี ผู้ปฏิบัติตามแนวพุทธธรรม จึงต้องเป็นผู้กล้ายอมรับและ กล้าเผชิญหน้าความจริง ความดี ชั่ว ถูก ผิด มีอยู่ เป็นข้อเท็จจริงอย่างไร ก็ต้องกล้ายอมรับความจริงตามท่ีเป็นเช่นน้ัน ส่วนตนจะปฏิบัติหรือไม่แค่ ไหนเพียงไร ก็เป็นอีกเร่ืองหน่ึง และต้องกล้ายอมรับการท่ีตนปฏิบัติดีไม่ดี ตามข้อเทจ็ จรงิ นัน้ มิใชถ่ อื ว่าไมช่ ั่ว เพราะตวั อยากทําสิ่งนัน้ ข้อเท็จจริงตามธรรมชาติ มิได้ข้ึนต่อการวัดด้วยการอยากทําหรือไม่ ของตน ถ้ามีอันถึงกับจะทํากรรมท่ีให้ตกนรกสักอย่างหน่ึง การที่ยอมรับ พูดกับตนเองว่า กรรมนั้นไม่ดี แต่ตนยอมเสียสละตกนรก ยังดีกว่าหลอก ตัวเองวา่ กรรมนัน้ ไมเ่ ป็นกรรมชั่ว มีส่งิ ทีอ่ าจถือวา่ เปน็ ขอ้ ได้เปรียบ ของศลี แบบเทวโองการ คอื ๑. ตัดการพิจารณาเรื่องถูก-ผิด จริง-ไม่จริง ออกเสีย กล่าวได้ว่า เมอื่ เชื่อเสียแล้ว ศรัทธาลว้ นแบบภักดี ย่อมได้ผลในทางปฏบิ ตั ทิ รี่ วดเร็วเร่ง เร้าและเข้มแขง็ หรอื รุนแรงกว่า แต่จะเกดิ ปัญหาข้ึนตอ่ ไป โดยเฉพาะในยุค แห่งเหตุผลว่า ทําอย่างไรจึงจะให้เชื่อได้ และปัญหาในระยะยาวเก่ียวกับ ความปลอดภัยในการอยู่ร่วมกับผู้อ่ืนที่ไม่ศรัทธาเหมือนตน ปัญหาเร่ือง ความม่ันคงของศรัทธาน้ัน และการไม่มีโอกาสเข้าถึงอิสรภาพทางปัญญา (บางข้ออาจไม่ต้องพิจารณา ถ้ามนุษย์ต้องการมีชีวิตอยู่เพียงเป็นสัตว์ สงั คมทีแ่ ยกกนั อย่เู ปน็ กลมุ่ ๆ) ๒. สําหรับสามัญชนท่ัวไป ย่อมเข้าถึงความหมายของศีลตามแบบ ศรัทธาล้วนได้ง่ายกว่า และศีลแบบนี้ก็ควบคุมความประพฤติของคน สามัญได้เป็นอย่างดี ดังนั้น แม้ในหมู่ชาวพุทธจํานวนไม่น้อย ความเข้าใจ ในเร่ืองบุญบาปจึงยังคงมีส่วนที่คล้ายกับศาสนาเทวนิยมแฝงอยู่ด้วย เช่น เห็นศีล เป็นข้อห้าม (แต่รางเลือนว่าใครเป็นผู้ห้าม) เห็นผลของบุญบาป

สมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๓๗๗ เป็นอย่างผลตอบแทน เป็นรางวัลหรือการลงโทษ เป็นต้น แต่ปัญหาก็คง เปน็ อยา่ งเดยี วกบั ขอ้ ๑ คือ ทาํ อยา่ งไรจะใหเ้ ช่ือกนั อย่ไู ดต้ ลอดไป ๓. การบัญญัติกรรมไม่ดีบางอย่าง ท่ีเห็นว่ายังจําเป็นต้องทํา เพื่อ ผลประโยชน์บางอย่างของตน ให้เป็นกรรมที่ไม่ผิดไปเสีย จัดเป็นวิธีจูงใจ ตัวเองได้อย่างหน่ึง พุทธธรรมยอมรับว่า วิธีจูงใจตนเองน้ัน เป็นส่ิงท่ีได้ผล มากอย่างหน่ึง เพราะเป็นเหตุปัจจัยอีกอย่างหน่ึงท่ีเข้ามาเก่ียวข้องเพิ่มขึ้น ในเร่ืองน้ันๆ เช่น บัญญัติว่าฆ่าสัตว์ไม่บาป ก็ทําให้เบาใจและไม่รู้สึกสะกิด ใจในการฆ่าสตั ว์ แตก่ ารจูงใจแบบนที้ าํ ให้เกดิ ผลร้ายในด้านอื่น และไม่เป็น วถิ ีทางแหง่ ปัญญา พุทธธรรมนิยมให้เป็นอยู่ด้วยการรับรู้ความเป็นจริงจะแจ้งในทุกขั้น ทุกตอน ให้รู้จักเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง พุทธธรรมสอนให้ใช้วิธีจูงใจ ตนเองบ้างเหมือนกัน แต่สอนโดยให้ผู้นั้นรู้เข้าใจในเรื่องที่จะใช้จูงใจนั้น ตามข้อเท็จจริงแล้วให้นําไปใช้ด้วยตนเอง เรื่องท่ีใช้จูงใจนั้นต้องไม่มีแง่ท่ี เสียหาย และให้ใช้เฉพาะในกรณีที่ช่วยเป็นพลังในการทําความดีอย่างอ่ืน ให้ได้ผลยิง่ ขนึ้

๖. สมั มาวายามะ ความหมาย และประเภท องค์มรรคข้อน้ี เปน็ ข้อแรกในหมวดสมาธิ มีคําจํากัดความแบบพระ สูตร ดงั น้ี ภิกษุท้ังหลาย สัมมาวายามะ เป็นไฉน? น้ีเรียกว่าสัมมาวายามะ คือ ภิกษใุ นธรรมวินัยนี้ ๑) ยงั ฉันทะให้เกิด พยายาม ระดมความเพียร คอยเร้าจิตไว้ มุ่งมั่นเพ่ือ (ปอ้ งกนั ) อกุศลธรรมอนั เป็นบาป ทย่ี งั ไมเ่ กดิ มใิ ห้เกิดขึน้ ๒) ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ระดมความเพียร คอยเร้าจิตไว้ มุ่งม่ัน เพือ่ ละอกุศลธรรมอนั เปน็ บาป ทเ่ี กดิ ข้นึ แล้ว ๓) ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ระดมความเพียร คอยเร้าจิตไว้ มุ่งม่ันเพื่อ (สร้าง) กศุ ลธรรม ท่ียังไม่เกิด ให้เกิดขึน้ ๔) ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ระดมความเพียร คอยเร้าจิตไว้ มุ่งม่ัน เพ่ือความดํารงอยู่ ไม่เลือนหาย เพ่ือภิญโญภาพ เพื่อความไพบูลย์ เจริญเต็ม เปี่ยมแหง่ กุศลธรรม ทีเ่ กดิ ข้ึนแลว้ ๑ สวนในอภิธรรม มีคาํ จาํ กดั ความเพม่ิ อีกแบบหนงึ่ ดงั น้ี สัมมาวายามะ เป็นไฉน? การระดมความเพียร (วิริยารัมภะ) ทางใจ ความก้าวหน้า ความบากบั่น ความขะมักเขม้น ความพยายาม ความอุตสาหะ ความอึดสู้ ความเข้มแข็ง ความมั่นคง ความก้าวหน้าไม่ลดละ ความไม่ทอดทิ้ง ฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ การแบกทูนเอาธุระไป วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ ที่เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค น้ีเรียกว่า สัมมาวายามะ๒ ๑ ท.ี ม.๑๐/๒๙๙/๓๔๘; ม.ม.ู ๑๒/๑๔๙/๑๒๔; ม.อ.ุ ๑๔/๗๐๔/๔๕๔; อภ.ิ ว.ิ ๓๕/๑๖๘/๑๓๗; ๕๗๕/๓๑๗ ๒ อภิ.ว.ิ ๓๕/๑๘๑/๑๔๐; ๕๘๖/๓๒๐

สมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๓๗๙ สัมมาวายามะ อย่างที่แยกเป็น ๔ ข้อ ตามคําจํากัดความแบบพระ สูตร น้ัน เรียกช่ืออีกอย่างหนึ่งว่า สัมมัปปธาน๑ หรือ ปธาน ๔๒ และมีช่ือ เรียกเฉพาะสาํ หรับความเพยี รแต่ละขอ้ นน้ั ว่า ๑. สงั วรปธาน เพียรป้องกนั หรือเพียรระวงั (อกศุ ลท่ียงั ไม่เกดิ ) ๒. ปหานปธาน เพียรละ หรอื เพยี รกําจัด (อกุศลทีเ่ กิดขึน้ แลว้ ) ๓. ภาวนาปธาน เพียรเจริญ หรือเพยี รสรา้ ง (กุศลทย่ี งั ไมเ่ กิด) ๔. อนุรักขนาปธาน เพียรอนุรักษ์ หรือเพียรรักษาและส่งเสริม (กุศลทเ่ี กิดขน้ึ แล้ว) บางแหงมีคาํ อธิบายแบบยกตวั อยา งความเพียร ๔ ขอ นี้ เชน๓ ๑. สังวรปธาน ได้แก่ ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต (ไม่คิด เคลิ้มหลงติดในรูปลักษณะท่ัวไป) ไม่ถืออนุพยัญชนะ (ไม่คิดเคล้ิมหลงติด ในลักษณะปลีกย่อย) ย่อมปฏบิ ตั เิ พอื่ สาํ รวมอินทรีย์ ท่เี มือ่ ไม่สาํ รวมแล้วจะ พึงเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรม คืออภิชฌาและโทมนัส (ความติดใคร่และ ความขัดเคือง, ความติดใจ-ขัดใจ) ครอบงําเอาได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึง ความสํารวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยล้ิน ถูกตอ้ งโผฏฐพั พะด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ (ก็เช่นเดยี วกัน) ๒. ปหานปธาน ได้แก่ ภิกษุไม่ยอมให้กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก และบาปอกุศลธรรมท้ังหลายท่ีเกิดข้ึนแล้วตั้งตัวอยู่ได้ ย่อมละ เสีย บรรเทาเสีย กระทาํ ให้หมดสิน้ ไปเสีย ทําใหไ้ มม่ ีเหลอื อยู่เลย ๓. ภาวนาปธาน ได้แก่ ภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ซ่ึงอิงวิเวก อิงวิราคะ อิงนิโรธ โนม้ ไปเพ่ือการสลัดพน้ ๔. อนุรักขนาปธาน ได้แก่ ภิกษุคอยถนอมสมาธินิมิตอันดี คือ สัญญา ๖ ประการทีเ่ กิดข้นึ แล้ว ๑ องฺ.จตุกกฺ .๒๑/๑๓/๑๙ (แปลเป็นไทยอย่างงา่ ยๆ ว่า ความเพียรถกู ต้อง หรือสมบูรณแ์ บบ) ๒ องฺ.จตุกฺก.๒๑/๖๙/๙๖ ๓ ดู อง.ฺ จตุกกฺ .๒๑/๑๔/๒๐

๓๘๐ พุทธธรรม ความสาํ คัญพเิ ศษของความเพียร ความเพียรเป็นคุณธรรมสําคัญยิ่งข้อหน่ึงในพระพุทธศาสนา ดังจะ เห็นได้จากการที่สัมมาวายามะ เป็นองค์มรรคประจํา ๑ ใน ๓ ข้อ (สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ) ซึ่งต้องคอยช่วยหนุนองค์มรรคข้อ อ่ืนๆ ทุกข้อเสมอไป ดังกล่าวแล้วข้างต้น๑ และในหมวดธรรมที่เกี่ยวกับ การปฏิบัติแทบทุกหมวด จะพบความเพียรแทรกอยู่ด้วย ในชื่อใดช่ือหนึ่ง การเนน้ ความสาํ คญั ของธรรมข้อนี้ อาจพจิ ารณาไดจ้ ากพทุ ธพจน์ เช่น ธรรมนี้ เปน็ ของสําหรบั ผูป้ รารภความเพียร มิใชส่ าํ หรบั คนเกียจคร้าน๒ ภิกษทุ ง้ั หลาย เรารชู้ ัดถงึ คุณของธรรม ๒ ประการ คือ ๑) ความเปน็ ผู้ไมส่ นั โดษในกศุ ลธรรมทงั้ หลาย (อสนฺตุฏฺฐติ า กสุ เลสุ ธมฺเมส)ุ ๒) ความเป็นผไู้ มย่ อมถอยหลงั ในการเพียรพยายาม (อปปฺ ฏิวาณติ า ปธานสฺม)ึ ...เพราะฉะน้ันแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาดังนี้ว่า – เราจักต้ังความเพียร อันไม่ถอยหลัง ถึงจะเหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูก เนื้อและเลือดในสรีระจะ แห้งเหือดไปก็ตามที ยังไม่บรรลุผลท่ีบุคคลพึงลุถึงได้ด้วยเร่ียวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว ท่ีจะหยุดย้ังความ เพียรเสีย เป็นอนั ไม่มี − เธอทัง้ หลายพงึ ศกึ ษาฉะนแ้ี ล๓ การที่ต้องเน้นความสําคัญของความเพียรนั้น นอกจากเหตุผลอื่น แล้ว ก็สืบเน่ืองมาจากหลักพื้นฐานของพระพุทธศาสนาท่ีว่า สัจธรรมเป็นกฎ ธรรมชาติ หรือหลักความจริงที่มีอยู่โดยธรรมดา พระพุทธเจ้าหรือศาสดามี ฐานะเป็นผู้ค้นพบหลักความจริงน้ัน แล้วนํามาเปิดเผยแก่ผู้อื่น การได้รับ ๑ ดู ม.อ.ุ ๑๔/๒๕๘-๒๗๘/๑๘๑-๑๘๗ ๒ อง.ฺ อฏฐฺ ก.๒๓/๑๒๐/๒๓๗ ๓ องฺ.ทุก.๒๐/๒๕๑/๖๔ [เรียกใหจํางายวา อุปัญญาตธรรม (ธรรมท่ีพระพุทธเจาทรงเห็นคุณ ประจักษ, ธรรมที่ทรงชื่นชมหรือเชิดชู) ๒ คือ ความไม่สันโดษในกุศลธรรม และ ความเพียร พยายามไมถ่ อยหลงั ]

สมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๓๘๑ ผลจากการปฏิบัติ เป็นเรื่องของความเป็นไปอันเท่ียงธรรมตามเหตุปัจจัย ในธรรมชาติ ศาสดามิใช่ผู้บันดาล เม่ือเป็นเช่นนี้ ทุกคนจึงจําเป็นต้องเพียร พยายามสร้างผลสําเร็จด้วยเร่ียวแรงของตน ไม่ควรคิดหวังและอ้อนวอนขอ ผลท่ีต้องการโดยไมก่ ระทํา หลกั พุทธศาสนาในเรอ่ื งนี้ จงึ มีวา่ ตมุ เฺ หหิ กจิ ฺจํ อาตปฺปํ, อกฺขาตาโร ตถาคตา ความเพยี ร ท่านทงั้ หลายตอ้ งทําเอง ตถาคตทงั้ หลาย เป็นแต่ผ้บู อก(ทาง) ให้๑ ความเพยี รทีพ่ อดี ดว้ ยความสมดลุ แห่งอนิ ทรยี ์ อย่างไรก็ตาม การทําความเพียร ก็เช่นเดียวกับการปฏิบัติธรรมข้อ อื่นๆ จะต้องเร่ิมก่อตัวขึ้นในใจให้พร้อมและถูกต้องก่อน แล้วจึงขยาย ออกไปเป็นการกระทําภายนอก ให้ประสานกลมกลืนกัน มิใช่คิดอยากทํา ความเพียร ก็สักแต่ว่าระดมใช้กําลังกายเอาแรงเข้าทุ่ม ซ่ึงอาจกลายเป็น การทรมานตนเอง ทาํ ใหเ้ กิดผลเสียได้มาก โดยนัยน้ี การทําความเพียรจึงต้องสอดคล้องกลมกลืนกันไปกับธรรม ขอ้ อื่นๆดว้ ย โดยเฉพาะสตสิ มั ปชัญญะ มีความรู้ความเขา้ ใจ ใช้ปญั ญาดําเนิน ความเพียรให้พอเหมาะ อย่างที่เรียกว่าไม่ตึง และไม่หย่อนเกินไป ดังเรื่อง ตอ่ ไปน้ี ครั้งนั้น ท่านพระโสณะพํานักอยู่ในป่าสีตวัน ใกล้เมืองราชคฤห์ ท่านได้ทําความเพียรอย่างแรงกล้า เดินจงกรมจนเท้าแตกทั้งสองข้าง แต่ ไมส่ าํ เร็จผล คราวหน่งึ ขณะอยใู่ นท่สี งัด จงึ เกิดความคดิ ขึ้นว่า “บรรดาสาวกของพระผูมีพระภาค ท่ีเปนผูตั้งหนาทําความเพียร เราก็เปนผูหน่ึง ถึงกระน้ันจิตของเราก็หาหลุดพนจากอาสวะหมด อุปาทานไม ก็แหละ ตระกูลของเราก็มีโภคะ เราจะใชจายโภคสมบัติ และทําความดีตางๆ ไปดวยก็ได อยากระน้ันเลย เราจะลาสิกขา ไปใช จายโภคสมบัติ และบําเพญ็ ความดตี างๆ” ๑ ข.ุ ธ.๒๕/๓๐/๕๑ (“การทําความเพียร” เป็นสํานวนของภาษาบาลี เช่น ปธานกริ ยิ า)

๓๘๒ พทุ ธธรรม พระพุทธเจ้าทรงทราบความคิดของท่านพระโสณะ และได้เสด็จมา สนทนาด้วย พระพุทธเจ้า : โสณะ เธอเกดิ ความคดิ (ดงั กลา่ วแลว้ ) มิใชห่ รอื ? พระโสณะ : ถูกแลว พระเจา ขา พระพุทธเจ้า : เธอคิดเห็นอย่างไร? ครั้งก่อน เมื่อเป็นคฤหัสถ์ เธอเป็นผู้ชํานาญ ในการดีดพิณ มิใชห่ รอื ? พระโสณะ : ถกู แลว พระเจาขา พระพทุ ธเจา้ : เธอคิดเห็นอย่างไร? คราวใดสายพิณของเธอตึงเกินไป คราวนั้น พณิ ของเธอมเี สียงไพเราะ หรอื เหมาะท่ีจะใชก้ าร กระนั้นหรือ? พระโสณะ : หามไิ ด พระเจา ขา พระพุทธเจ้า : เธอคิดเห็นอย่างไร? คราวใด สายพิณของเธอหย่อนเกินไป คราว น้ันพิณของเธอ มเี สียงไพเราะ หรอื เหมาะทจ่ี ะใช้การ กระน้ันหรือ? พระโสณะ : หามไิ ด พระเจา ขา พระพุทธเจา้ : แต่คราวใด สายพิณของเธอ ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป ต้ังอยู่ ในระดับพอดี คราวนนั้ พิณของเธอ จึงจะมีเสียงไพเราะ หรือเหมาะ ทจ่ี ะใชก้ าร ใชไ่ หม? พระโสณะ : ถกู แลว พระเจา ขา พระพทุ ธเจ้า : ฉันน้ันเหมือนกัน โสณะ ความเพียรท่ีระดมมากเกินไป ย่อม เป็นไปเพ่ือความฟุ้งซ่าน ความเพียรที่หย่อนเกินไป ย่อมเป็นไป เพ่ือความเกียจคร้าน เพราะเหตุนั้นแล เธอจงต้ังใจกําหนดความ เพียรให้เสมอพอเหมาะ จงเข้าใจความเสมอพอดีกัน แห่งอินทรีย์ ทง้ั หลาย๑ และจงถือนมิ ติ ในความเสมอพอดกี ันนั้น”๒ ๑ อนิ ทรยี  ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปญ ญา (อินทริยสมตา, ความสมดุลแหง อินทรีย ดู หน้า ๒ เ๓รอื่๐ง๙น)้ีมาใน วนิ ย.๕/๒/๕; อง.ฺ ฉกฺก.๒๒/๓๒๖/๔๑๙

๗. สัมมาสติ คาํ จํากดั ความ สัมมาสติ เป็นองค์มรรคข้อท่ี ๒ ในหมวดสมาธิ มีคําจํากัดความ แบบพระสูตร ดงั นี้ ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติเป็นไฉน? นี้เรียกว่าสัมมาสติ คือ ภิกษุในธรรม วินัยน้ี ๑) พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัด อภชิ ฌาและโทมนัสในโลกเสยี ได้ ๒) พจิ ารณาเหน็ เวทนาในเวทนาท้ังหลาย มคี วามเพียร มสี มั ปชญั ญะ มี สติ กาํ จดั อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสยี ได้ ๓) พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัด อภชิ ฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๔) พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มี สติ กาํ จดั อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได๑้ คาํ จํากดั ความอีกแบบหนงึ่ ที่ปรากฏในคมั ภรี อภธิ รรม วา ดังน้ี สัมมาสติ เป็นไฉน? สติ คือ การคอยระลึกถึงอยู่เนืองๆ การหวนระลึก (ก็ดี) สติ คือ ภาวะท่ีระลึกได้ ภาวะที่ทรงจําไว้ ภาวะที่ไม่เลือนหาย ภาวะที่ไม่ลืม (ก็ดี) สติ คือ สติที่เป็นอินทรีย์ สติที่เป็นพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ ที่เป็นองค์ มรรค นบั เนอื่ งในมรรค น้เี รยี กวา่ สมั มาสต๒ิ ๑ ที.ม.๑๐/๒๙๙/๓๔๙; ม.มู.๑๒/๑๔๙/๑๒๔; ม.อุ.๑๔/๗๐๔/๔๕๔; อภิ.วิ.๓๕/๑๖๙/๑๓๗; ๕๗๖/๓๑๘ ๒ อภ.ิ ว.ิ ๓๕/๑๘๒/๑๔๐; ๕๘๗/๓๒๑

๓๘๔ พทุ ธธรรม สัมมาสติ ตามคําจํากัดความแบบพระสูตรนั้น ก็คือหลักธรรมที่ เรียกว่า สติปัฏฐาน น่ันเอง หัวข้อทั้ง ๔ ของหลักธรรมหมวดน้ี มีชื่อเรียก ส้นั ๆ คือ ๑) กายานปุ สั สนา (การพจิ ารณากาย, การตามดูรูท้ ันกาย) ๒) เวทนานุปสั สนา (การพิจารณาเวทนา, การตามดูรูท้ นั เวทนา) ๓) จติ ตานุปัสสนา (การพิจารณาจติ , การตามดูรทู้ ันจิต) ๔) ธมั มานปุ สั สนา (การพิจารณาธรรมตา่ งๆ,การตามดูรู้ทนั ธรรม) ก่อนจะพิจารณาความหมายของสัมมาสติ ตามหลักสติปัฏฐาน ๔ น้ี เหน็ วา่ ควรทําความเข้าใจทั่วๆ ไปเกี่ยวกบั เรือ่ งสติไวเ้ ป็นพ้ืนฐานก่อน สตใิ นฐานะอปั ปมาทธรรม๑ “สติ” แปลกันง่ายๆ ว่า ความระลึกได้ เมื่อแปลอย่างนี้ ทําให้นึกเพ่ง ความหมายไปในแง่ของความจํา ซึ่งก็เป็นการถูกต้องด้านหนึ่ง แต่อาจไม่เต็ม ตามความหมายหลัก ที่เป็นจุดมุ่งสําคัญก็ได้ เพราะถ้าพูดในแง่ปฏิเสธ สติ นอกจากหมายถึงความไม่ลืม ซ่ึงตรงกับความหมายข้างต้น ที่ว่าความระลึก ได้แล้ว ยังหมายถงึ ความไมเ่ ผลอ ไมเ่ ลินเล่อ ไม่ฟั่นเฟอื นเล่ือนลอยด้วย ความหมายในแง่ปฏิเสธเหล่านี้ เล็งไปถึงความหมายในทางสําทับว่า ความระมัดระวัง ความตื่นตัวต่อหน้าท่ี ภาวะท่ีพร้อมอยู่เสมอในอาการคอย รับรู้ต่อส่ิงต่างๆ ท่ีเข้ามาเก่ียวข้อง และตระหนักว่าควรปฏิบัติต่อสิ่งน้ันๆ อยา่ งไร โดยเฉพาะในแง่จริยธรรม การทําหน้าที่ของสติมักถูกเปรียบเทียบ เหมือนกับนายประตู ที่คอยระวังเฝ้าดูคนเข้าออกอยู่เสมอ และคอยกํากับ การ โดยปล่อยคนท่คี วรเข้าออกให้เข้าออกได้ และคอยกันห้ามคนท่ีไม่ควร เขา้ ไมใ่ ห้เขา้ ไป คนที่ไมค่ วรออก ไมใ่ หอ้ อกไป ๑ hคaขteวอtาeeใมdnหหft้เuiมvทlาenียยneบใesนsคsท,sวาาwงหมปaรฏหtือcิเมสhdาธfuวeยlา่tทnane่ีcนsohิยsne,ม-dnใeeชawg้กrlnaัeนteccใsthนtoninภefgาsm;sษ,iสาn่วอddนัfiงluอiกglัปneฤปenษsมcseาสท,ตะิzeใมชaีค้lก,ําันนcวิยa่มาreใชmfu้หilnลndาeยfsuคslําnหeคsรsืืออ,

สมเด็จพระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๓๘๕ สติจึงเป็นธรรมสําคัญในทางจริยธรรมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นตัว ควบคุมเร้าเตือนการปฏิบัติหน้าท่ี และเป็นตัวคอยป้องกันยับย้ังตนเอง ท้ังที่ จะไม่ให้หลงเพลินไปตามความชั่ว และท่ีจะไม่ให้ความช่ัวเล็ดลอดเข้ามาใน จิตใจได้ พูดง่ายๆ ว่า ที่จะเตือนตนเองในการทําความดี และไม่เปิดโอกาส แก่ความชวั่ พุทธธรรมเน้นความสําคัญของสติเป็นอย่างมาก ในการปฏิบัติจริย- ธรรมทุกข้ัน การดําเนินชีวิต หรือการประพฤติปฏิบัติโดยมีสติกํากับอยู่ เสมอน้นั มชี ือ่ เรยี กโดยเฉพาะวา่ “อปั ปมาท” คอื ความไมป่ ระมาท อัปปมาท น้ี เปน็ หลกั ธรรมสําคญั ย่ิง สาํ หรับความก้าวหน้าในระบบ จริยธรรม มักให้ความหมายว่า การเป็นอยู่โดยไม่ขาดสติ ซ่ึงขยายความได้ ว่าการระมัดระวังอยู่เสมอ ทันกาลทันเวลา ทันต่อสถานการณ์ ทันความ เปลี่ยนแปลงอย่างถึงเหตุถึงปัจจัย ไม่ยอมถลําลงไปในทางเส่ือม และไม่ ยอมพลาดโอกาสสําหรับความเจริญก้าวหน้า ตระหนักดีถึงส่ิงท่ีจะต้องทํา และต้องไม่ทํา ใส่ใจสํานึกอยู่เสมอในหน้าท่ี ไม่ปล่อยปละละเลย กระทํา การดว้ ยความจรงิ จงั และพยายามกา้ วรดุ หน้าอยตู่ ลอดเวลา กล่าวได้ว่า อปั ปมาทธรรมนี้ เป็นหลกั ความสาํ นกึ รับผดิ ชอบ ในแง่ความสําคัญ อัปปมาท จัดเป็นองค์ประกอบภายใน เช่นเดียวกับโยนิโสมนสิการ คู่กับหลักกัลยาณมิตร ที่เป็นองค์ประกอบ ภายนอก พุทธพจน์แสดงความสําคัญของอัปปมาทนี้ บางทีซํ้ากับโยนิโส มนสิการ เหตุผลก็คือธรรมท้ังสองอย่างนี้ มีความสําคัญเท่าเทียมกัน แต่ ต่างแงก่ นั โยนิโสมนสิการ เป็นองค์ประกอบฝ่ายปัญญา เป็นอุปกรณ์สําหรับ ใช้ทําการ (เพ่ือสร้างปัญญา) ส่วนอัปปมาทเป็นองค์ประกอบฝ่ายสมาธิ เป็นตวั ควบคมุ และเรง่ เรา้ ใหม้ กี ารใช้อปุ กรณน์ น้ั และกา้ วหน้าตอ่ ไปไมห่ ยุด ความสาํ คัญและขอบเขตการใชอัปปมาทธรรม ในการปฏิบัติจริย- ธรรมขน้ั ตา่ งๆ จะเหน็ ได้จากพทุ ธพจน์ตวั อย่างตอ่ ไปนี้


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook