TAO BIN Business Analysis Report ( บทวิเคราะห์ธุรกิจ )
รายงาน วิชา Marketing (MK 101) เสนอ ดร.กิตติภูมิ ศุภมนตรี จัดทำโดย กลุ่ม J รายชื่อสมาชิกกลุ่ม นาย ธนกฤต ธนพงศ์พนิช รหัส 1650215013 เลขที่ 93 นาย พฤทธิ์ ยศราโม รหัส 1650215377 เลขที่ 108 นางสาว อริศรา สนมศรี รหัส 1650216045 เลขที่ 121 นาย สุวิชาญ เหมือนบุญชากร รหัส 1650216060 เลขที่ 123 นางสาว วันวิสา วิชัยดิษฐ รหัส 1650216094 เลขที่ 126 นางสาว นูรอัฟนานล์ หมานเส็น รหัส 1650216102 เลขที่ 127 นางสาว ณัฐฐา บำรุงไทย รหัส 1650216276 เลขที่ 133 นางสาว ปิยธิดา หมวกหลำ รหัส 1650216185 เลขที่ 134 นางสาว อรุณลักษณ์ กลิ่นหอม รหัส 1650216698 เลขที่ 143 นางสาว ธิดารัตน์ ชมจินดา รหัส 1650216888 เลขที่ 149 นาย กฤติน วรมณีจินดา รหัส 1650217878 เลขที่ 162 A
คำนำ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการ การตลาด รหัสวิชาMK101 ได้ จัดทำขึ้นมาตามหลักสูตรระดับปริญญาตรีของกระทรวงอุดมศึกษาจากเดิม กระทรวงศึกษาธิการโดยมุ่งหวังให้นักศึกษาเกิดความรู้ และมีวัตถุ ประสงค์เพื่อนำความรู้ทางการตลาด(Marketing)ไปใช้ในอาชีพได้ใน เรื่อง ส่วนประสมทางการตลาดเป้าหมาย Marketing Mix หรือ (4Ps) และการวิเคราะห์ผลกระทบการดำเนินธุรกิจผ่านเครื่องมือ (SWOT Analysis) กับการกำหนดตลาดเป้าหมายหลักและตลาดเป้าหมาย รอง ของ แบรนด์ Tao Bin(เต่าบิน) คณะผู้จัดทำได้เลือกธุรกิจTao Bin นี้เนื่องจาก เป็นธุรกิจที่น่าสนใจและเป็นการนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียน มาประยุกต์ใช้ในการจัดรายงานเล่มนี้ขึ้นมา คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ ต้องการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ Tao Bin ทำให้ได้รับความรู้และสามารถ นำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้สืบไป คณะผู้จัดขอขอบพระคุณอย่างยิ่งต่อผู้เบื้องหลังความสำเร็จในครั้งนี้ คือ ดร.กิตติภูมิ ศุภมนตรี และขอขอบคุณเจ้าของเอกสารข้อมูลอ้างอิง ทุกแห่งที่นำมาเป็นแนวทางในการจัดทำรายงานฉบับนี้ หากเกิดข้อผิดพลาดประการไดทางคณะผู้จัดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ คณะผู้จัดทำ B
สารบัญ รายชื่อสมาชิก............................................................................... A คำนำ.............................................................................................. B สารบัญ.......................................................................................... C สารบัญ(หน้าที่2).........................................................................C2 ประวัติความเป็นมาของเต่าบิน................................................... 1 MARKET MIX(4Ps).................................................................. 2 Product(สินค้าและบริการ)........................................................ 3 Price(ราคาสินค้า)....................................................................... 4 Place(ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า)..................................... 7 Promotion(การส่งเสริมการขาย)............................................. 8 SWOT Analysis(การวิเคราะห์ SWOT).................................. 9 Strength(จุดแข็ง)....................................................................... 10 Weaknesses(จุดอ่อน)............................................................... 11 Opportunities(โอกาส)............................................................... 11 Treast(อุปสรรค์)......................................................................... 12 C
B2B , B2C................................................................................ 13 B2B(Business to Business)................................................. 14 B2C(Business to Customer)................................................ 16 STPv............................................................................................ 17 Segmentation(แบ่งส่วนตลาด)............................................... 18 Targeting(กลุ่มเป้าหมาย)......................................................... 18 Positioning(การวางตำแหน่งของแบรนด์)............................ 19 Value(คุณค่า)............................................................................. 19 ข้อแนะนำ สำหรับธุรกิจTAO BIN....................................... 20 แหล่งข้อมูลอ้างอิง............................................................ 22 C2
ที่มาของตู้เต่าบิน \"เต่าบิน\" เป็นชื่อที่เลือกเป็นชื่อที่เลือกจาก การระดมความคิดกับพนักงาน โดยชื่อนี้ มาจากชื่อเล่น \"เต่า\" ของคุณพ่อ พงษ์ชัย อมตานนท์ ประธานกรรมการ บริหาร FORTH และ เป็นความแปลก มหัศจรรย์ที่เต่าสามารถบินได้ เหมือนกับ ตู้นี้ \"เต่าบิน\" เปิดตัวเมื่อเดือนมีนาคม 2564 (ค.ศ 2021) \"เต่าบิน\" เกิดจากการทดลอง ตลาดมาระยะนึงจนแน่ใจ พวกเขาจึงเริ่มจากการเป็นตู้ขายน้ำกระป๋องที่รับของมา มาขาย และเมื่อหักลบกับ ต้นทุน และ ค่าแรงแล้วไม่คุ้มกัน และถ้าจะต้องมาผลิตน้ำ กระป๋องเอง กว่าจะถึงจุดที่ประสบความสำเร็จ พวกเขาจะต้องมีตู้ขายน้ำกี่ตู้กันถึง จะคุ้มกับต้นทุนพัฒนาและผลิตน้ำสักกระป๋องหนึ่ง พวกเขาก็เลยลองนำเข้าเครื่องทำ กาแฟอัตโนมัติจากต่างประเทศเข้ามาทดลองขายดู เมื่อเห็นว่าธุรกิจพอจะเป็นไปได้ บริษัทก็ตัดสินใจลงทุน R&D กับโปรเจกต์เต่าบินจริงจัง โดยพวกเขากลับมาทำเต่า บินช่วงที่บริษัท ฟอร์ท เวนดิ้ง จำกัด เริ่มทำตู้น้ำกระป๋องได้ประมาณ 4 ปี 1
Marketing Mix ( กลยุทธ์การตลาด4P ) 2
Product(สินค้าหรือบริการ) สินค้าของเต่าบินนั้นจะเป็นสินค้าเครื่องดื่มประเภทต่างๆ กว่า170เมนู และมีเมนูใหม่ๆเพิ่มเข้ามาเรื่อยๆ โดยจะมีประเภทสินค้าดังนี้: • กาแฟ • ชา • นม โกโก้ และคาราเมล • โปรตีนเชค • น้ำโชดา และ อื่นๆ • เมนูแนะนำ และยังสามารถเลือกได้อีกว่าแต่ล่ะเมนูนั้น จะเป็นเครื่องดื่มร้อน หรือ เครื่องดื่มเย็น , หวานมากหรือหวานน้อย , ปั่น หรือ จะใส่อะไรเพิ่มเติม บ้าง(บางเมนูเท่านั้น) ซึ่งเป็นทางเลือกที่หลากหลายให้กับกลุ่มผู้บริโภค เปรียนเสมือนการชงเองในระยะเวลาอันสั้น โดยระยะเวลาในการจำหน่าย เครื่องดื่ม ขึ้นอยู่กับแต่ล่ะเมนูนั่นเอง 3
Price(ราคา) การตั้งราคาสินค้าของเต่าบินนั้นมีตั้งแต่ ราคา 15-65 บาท ซึ่งเป็นราคาค่อนข้างเหมาะสมกับสินค้าที่ให้บริการและราคา เข้าถึงง่าย และด้วยราคาที่สวนทางกับคุณภาพที่ได้รับ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้คนจะไปรอต่อคิวเพื่อสัมผัสกับรสชาติ และประสบการณ์ใหม่ๆจากตู้กดน้ำอัตโนมัติ โดยตัวอย่างของราคาสินค้าดังต่อไปนี้: ดับเบิ้ลเอสเพรสโซ่(Double Espresso) ร้อน 35฿ กาแฟดำร้อน(Hot Americano) ร้อน 30฿ เย็น 35฿ 4
อเมริกาโนลิ้นจี่ร้อน(Hot Lychee Americano) ร้อน 30฿ เย็น 35฿ ชานมใต้หวันร้อน(Hot Taiwanese Tea) ร้อน 35฿ เย็น 40฿ ปั่น 45฿ มัทฉะลาเต้ร้อน(Hot Matcha Latte) ร้อน 40฿ เย็น 45฿ ปั่น 50฿ 5
โปรตีนเปล่า(Plain Protein Shake) เย็น 60฿ บ๊วยโซดา(Iced Plum Soda) เย็น 25฿ ปั่น 30฿ น้ำแดงสละโซดา(Iced Sala Soda) เย็น 25฿ ปั่น 30฿ 6
Place(ช่องทางการจัดจำหน่าย , ช่องทางการติดต่อ) current distribution channel management(ช่องทางการจำหน่ายในปัจุบัน) ด้วยความที่เต่าบินนั้นเป็นแบรนด์ที่ขายสินค้าในรูปแบบของตู้กดอัตโนมัติ ทำให้สามารถ วางขายที่ไหนก็ได้ที่มีพื้นที่มากพอและมีที่จ่ายไฟ เพื่อให้ตู้สามารถทำงานได้ โดยถ้านำไป ติดตั้งใน บริษัท , โรงงาน โรงพยาบาล , โรงแรม , คอนโด , มหาวิทยาลัย ฯจะสามารถติด ตั้งได้ฟรีไม่มีค่าจ่ายใดๆ แต่ต้องทำตามเงื่อนไขของทางผู้ให้บริการ คือ ต้องขายให้ได้ 65 แก้วใน 1 วัน ขนาดของตู้ โดยขนาดของตูันั้นมีขนาดประมาณ 1 ตรางเมตร น้ำหนักประมาณ 225กิโลกรัม ทำให้สามารถใช้พื้นที่ในการวางไม่มากเกินจำเป็น แต่ตู้ยังคงทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่องทางการติดต่อ ในส่วนของช่องทางการติดต่อ เราสามารถดูตรงข้างหน้าของตู้ได้เลย หรือ สามารถ เข้าไปดูทางเว็บไซต์ของทางเต่าบินได้โดยตรง โดยจะมีช่องทางการติดต่อ 5 ช่องทาง หลักๆ ได้แก่ Facebook , Instagram , Line , เบอร์โทรศัพท์ , และ อีเมล 7
Promotion(การส่งเสริมการขาย) เต่าบินไม่เพียงแต่จะหาเจอง่ายและราคาถูกเท่านั้นแต่ ยังคงคอนเซปต์ความเป็นคาเฟ่อีกด้วย โดยที่จะมีระบบสมาชิก เข้ามาช่วยส่งเสริมการขาย โดยเต่าบินจะมีระบบสมาชิกทั้งหมด4ระดับดังนี้: เต่าขี้อาย เต่าเตาะแตะ เต่าติดปีก เต่าผู้เฒ่าเต่า โดยจะมีการเก็บข้อมูลสมาชิกด้วยเบอร์โทรศัพท์เพื่อความ สะดวกและไม่ต้องลงทะเบียนให้ยุ่งยากแต่อย่างใด นอกจากนี้ การสมัครสมาชิกครั้งแรกนั้นยังมีส่นลดให้อีก50%อีกด้วย 8
SWOT Analysis (Strengths , Weaknesses , Opportunities , Threats) ( การวิเคราะห์SWOT ) 9
Strength (จุดแข็ง) ระบบMembership ทำให้ผู้ใช้บริการสนุกสนานกับการสะสม แสตมป์กระดองเต่าหลังจากมีการสั่งเครื่องดื่ม เพื่อสะสม แต้มนำไปแลกเครื่องดื่มฟรีได้ หรือ รับสิทธิ์พิเศษบางอย่าง เครื่องดื่มบางเมนูหากชงทิ้งไว้นานๆเพื่อให้พร้อมเสิร์ฟจะมี ผลทำให้ตัวรสชาติดีน้อยลง หรือ อาจเข้าขั้นแย่เลยก็ได้ แต่ เครื่องดื่มของเต่าบินจะมีชงใหม่ทุกครั้งเพื่อเสิร์ฟเครื่องดื่ม ที่รสชาติดีที่สุดให้ลูกค้า ใช้เวลาในการจำหน่ายเครื่องไม่นานมากนัก โดยเฉลี่ยแล้ว จะอยู่ที่ประมาณ 1 - 3 นาทีโดยประมาณ มีเมนูให้เลือกมากกว่า170เมนู รวมอยู่ในตู้เดียว มีวิธีจ่ายเงินที่หลากหลาย เข้าถึงได้ง่าย ผลิตตู้ได้ด้วยตัวเอง 10
Weaknesses(จุดอ่อน) ตู้เต่าบินเป็นตู้จำหน่ายอัตโนมัติทำให้มีการผิดพลาดด้าน เทคนิคอยู่บ่อยๆ และตู้เต่าบินได้นำจุดอ่อนนี่ไปปรับปรุง และทำให้ข้อผิดพลาดนี่เห็นได้น้อยที่สุด Opportunities(โอกาส) เมื่อช่วงกลางปี 2565 ได้ส่งตู้เต่าบินออกไปทดสอบตลาดที่ ต่างประเทศ ประเทศแรก คือ อังกฤษ เนื่องจากทีม Generation รุ่นที่ 2 ของฟอร์ท คอร์ปอเรชั่นมี Connection ที่นั่น ส่วนในภูมิภาคอาเซียน มองโอกาสความเป็นไปได้ใน การขยายฐานธุรกิจที่เวียดนาม , อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ 11
Treast(อุปสรรค์) เทคโนโลยีในการผลิตตู้มีสูงไม่พอทำให้ต้องมีการนำเข้า ตู้จากต่างประเทศเข้ามา ศักยภาพของตู้ที่มีข้อจำกัดในการวางระบบและการใช้ งาน องค์ความรู้เฉพาะทางที่มีอยู่ในคนกลุ่มน้อย รวมไปถึง สภาพอากาศที่ร้อนและฝุ่นที่มีผลต่อการดูแลรักษาตู้ และอื่นๆอีกมากมาย 12
B2B B2C ( Business to Business ) (Business to Customer) 13
B2B(Business To Business) เต่าบินได้มีการไปรับวัตถุ จำพวก เมล็ดกาแฟ น้ำอัดลม มาจากผู้ประกอบการเจ้าอื่นๆ ได้แก่ Bhavacafe และ P&F ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจร้านกาแฟ และยังเป็นผู้ ผลิตเมล็ดกาแฟอีกด้วย และยังมีน้ำอัดลมที่เต่าบินได้ไปทำการ ร่วมงานกับ Pepsi ซึ่งเป็นแบรน์น้ำอัดลมชื่อดัง และ วัถุดิบอื่นๆ เช่นน้ำผลไม้ ที่ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเต่าบินไปรับวัตถุพวกนี้มาจากที่ไหน 14
และนอกจากนั้นเรื่องของวัสดุอุปกรณ์ในการ ทำตู้นั้น เต่าบินยังมี มีทั้งโรงงานผลิต ทั้งของใน เครือฟอร์ท และผู้ผลิตจากข้างนอกและขณะ เดียวกันก็ทำเทรดดิ้งชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆกว่า7000ชิ้นในการประกอบเป็นตู้เต่าบิน 1 ตู้นั้นเอง 15
B2C(Business To Consumer) B2C ของเต่าบิน การขายผลิตภัณฑ์จากเจ้าของธุรกิจ สู่ผู้บริโภคของเต่าบิน คือ เครื่องดื่มของเต่าบินจะมีการ ชงใหม่ในทุกครั้งเพื่อเสิร์ฟเครื่องดื่มที่รสชาติดีที่สุดให้กับลูกค้า อีกทั้งยังขายเครื่องดื่มในราคาที่จับต้องได้ในราคาตั้งแต่ที่ 15-65 บาทรวมถึงทีการจัดแยกประเภทของเครื่องดื่ม และการ ใช้ภาพและหรือวิดีโอการฟิกที่เข้าใจง่ายในหลายๆส่วน ซึ่งการขายของเต่าบินทำให้คนที่มาใช้บริการตู้เต่าบิน ทำให้คนที่มา ใช้บริการตู้เต่าบินได้รับประสบการณ์ที่ดีและรู้สึกประทับใจในการ ใช้บริการ ตั้งแต่การเลือกสินค้า การชำระเงิน การสะสมแต้ม ที่ดู สนุกสนาน ไปจนถึงการได้รับสินค้าที่ตรงตามความต้องการด้วย รสชาติที่เหมือนเดิมในทุกๆแก้ว แถมราคาที่ยังไม่แพงอีกด้วย 16
STPv Analysis (Segmentation , Targeting, Positioning , Value) (การวิเคราะห์ STPv) 17
Segmentation(การแบ่งส่วนตลาด) การแบ่งส่วนตลาดของเต่าบินนั้น สามารถซื้อได้ทุกเพศทุกวัย ทุกอาชีพและด้วยความเข้าถึงง่าย และ รวดเร็ว ทำให้ เหมาะ มากๆสำหรับ คนที่ต้องการประหยัดเวลาในการซื้อ และ ราคาที่ ถูกทำให้สามารถ รองรับกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ต่ำ-สูงมากได้ นั่นเอง Targeting(กลุ่มเป้าหมาย) ถึงเราจะบอกว่าเต่าบิน สามารถรองกลุ่มลูกค้าได้ทุกเพศทุกวัย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักๆของเต่าบินนั้น จะขึ้นอยู่แต่ละสถานที่ เช่น ถ้านำตู้ไปตั้งที่มหาวิทยาลัย กลุ่มลูกค้าก็จะเป็น บุคลากรของ มหาวิยาลัย หรือ ถ้านำตู้ไปตั้งที่โรงพยาบาล กลุ่มลูกค้าก็จะเป็น บุคลากรในโรงพยาบาลและผู้ป่วยที่มาใช้บริการของโรงพยาบาล 18
Brand Positioning(การวางตำแหน่งของแบรนด์) เต่าบินได้ทำการวางตำแหน่งของแบรนด์ ว่าเป็นแบรนด์ที่ Cheap(ราคาถูก) และ มีคุณภาพที่สูง(High Quality) ซึ่งตามภาพจะเห็นได้ว่า กราฟของเต่าบินนั้นบอกว่าแบรนด์ เต่าบิน นั้นมีคุณภาพเทียบเท่ากับ แบรนด์Starbuck ซึ่งเราก็ ไม่แน่ใจว่ากราฟนั้นเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน เพราะว่ากราฟ นี้ เป็นกราฟของทางเต่าบินเอง Value(คุณค่า) คุณค่าของแบรนด์เต่าบินนั้น จะเป็นในส่วนของ Emotional Values(คุณค่า ทางความรู้สึก) ซึ่งลูกค้าส่วนมากรู้สึกดีที่ได้ ซื้อ ซื้อสินค้าที่ราคาถูก และ ทำให้เกิด Brand Loyalty 19
Advice (ข้อแนะนำ) 20
ข้อแนะนำ ข้อแนะนำที่เราคิดว่าควรแก้ปัญหา คือเรื่องของตู้ที่ ซอฟแวร์ชอบมีปัญหาบ่อย เช่น การสั่งเมนูหนึ่งแล้วได้อีกเมนูหนึ่ง มีบางทีที่ไม่ทอนเงิน หรือ ทอนเงินไม่ครบบ้าง สั่งเครื่องดื่มแบบปั่นแต่ได้เครื่องดื่มแบบร้อนหรือเย็น มาแทน บางทีสั่งเมนูไปแล้วเครื่องไม่ทำงาน บางเมนูอาจไม่เหมาะที่จะมาอยู่ในเครื่องนี้ เพราะมัน เข้าถึงง่ายจนเกินไป จึงอยากให้ทางแบรนด์ออกมาแก้ปัญหาตามข้อที่กล่าวมา ข้างต้น 21
แหล่งอ้างอิงข้อมูล www.tao-bin.com https://www.tao-bin.com/menu https://www.marketthink.co/24867 www.thespidery.co review.co.th/25877 https://mgronline.com/smes/detail/9640000110801 https://positioningmag.com/1366979 https://capitalread.co/taobin/ https://www.everydaymarketing.co/business-and- marketing-case-study/เต่าบิน-vending-machine/ 22
Search
Read the Text Version
- 1 - 28
Pages: