Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทที่3 ระบบสื่อสารข้อมูล

บทที่3 ระบบสื่อสารข้อมูล

Published by puttipong.pu, 2021-02-09 03:46:17

Description: บทที่3 ระบบสื่อสารข้อมูล

Search

Read the Text Version

บทที่ 2 ระบบสื่อสารข้อมูล สาหรบั เครือขา่ ยคอมพิวเตอร์ เนือ้ หา  ความหมายของการสื่อสารข้อมลู  รปู แบบสัญญาณ  สอ่ื กลางในการสอื่ สารข้อมลู  อปุ กรณ์เครือขา่ ยที่พบเห็นในชวี ิตประจาวนั  โปรโตคอลและไอพีแอดเดรส จุดประสงค์การเรียนรู้  อธิบายความหมายของการสอ่ื สารขอ้ มูลได้  อธบิ ายลักษณะของส่อื กลางแต่ละชนิดท่ีใช้ ในการส่งสัญญาณได้  อธบิ ายหน้าที่ของอปุ กรณ์เครือข่าย คอมพิวเตอร์ได้  อธิบายโปรโตคอลทีใ่ ช้ในปจั จบุ นั ได้  อธิบายลกั ษณะของไอพีแอดเดรสได้

ความหมายของการสือ่ สารข้อมูล เม่ือกล่าวถึงการติดต่อสื่อสารในอดีตอาจหมายถึงการพูดคุยกันของมนุษย์ซึ่งอาจเป็นการแสดงออกด้วย ท่าทางการใช้ภาษาพูดหรือผา่ นทางตวั อักษรโดยเป็นการส่อื สารในระยะใกล้ ๆ ต่อมาเทคโนโลยีก้าวหน้าไดม้ ีการ พัฒนาการสื่อสารเข้ากับการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทาให้สามารถสื่อสารได้ในระยะไกลข้ึนและสะดวก รวดเร็วมากข้ึนเช่นการใช้โทรเลขโทรศัพท์โทรสาร เป็นต้น อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารก็ได้รับการพัฒนา ความสามารถขึ้นเป็นลาดบั และเขา้ มามีบทบาทเป็นอย่างมาก ระบบส่ือสารข้อมูลจึงหมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับซ่ึงอาจอยู่ในรูปของ ตัวอักษรตัวเลขรูปภาพเสียงหรือวีดีทัศน์ระหว่างอุปกรณ์ส่ือสารโดยผ่านทางส่ือกลางในการสื่อสารซึ่งอาจเป็น สื่อกลางประเภททมี่ สี ายหรือไรส้ ายกไ็ ดแ้ ละมีกฎเกณฑ์หรือขอ้ กาหนดที่แน่นอนในการควบคุมการสื่อสาร องคป์ ระกอบของระบบสือ่ สารข้อมูล องค์ประกอบหลกั ของระบบสื่อสารขอ้ มลู มีอยู่ 5 อยา่ งไดแ้ ก่ 1. ข้อมูล/ข่าวสาร (data/message) คือข้อมลู หรอื สารสนเทศต่าง ๆ ท่ีต้องการสง่ ไปยังผู้รบั โดย ข้อมลู /ขา่ วสารอาจประกอบด้วยขอ้ ความ ตวั เลข รปู ภาพ เสียง วีดีทัศน์ หรอื สือ่ ประสม 2. ผู้ส่ง (sender) คือ คนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สาหรับส่งข้อมูล/ข่าวสาร ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ กล้องวดี ีทศั น์ เปน็ ตน้ 3. ผู้รับ (receiver) คือ คนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สาหรับรับข้อมูล/ข่าวสารท่ีทางผู้ส่งข้อมูลส่งให้ซ่ึงอาจเป็น เครอื่ งคอมพิวเตอร์ โทรศพั ท์ เปน็ ต้น 4. ส่ือกลางในการส่ง ข้อมูล (transmission media) คือ สิ่งที่ทาหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลข่าวสารไป ยังจุดหมายปลายทาง โดยส่ือกลางในการส่งข้อมูลจะมีท้ังแบบมีสาย เช่น สายเคเบิล สายยูทีพี สายไฟเบอร์ ออพตกิ และส่อื กลางในการสง่ ข้อมลู แบบไรส้ าย เช่น คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ และดาวเทยี ม 5. โพรโทคอล (protocol) คือ กฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่กาหนดข้ึนมาเพ่ือเป็น ข้อตกลงในการสอื่ สารข้อมลู ระหว่างผรู้ บั และผสู้ ง่ ภาพ องค์ประกอบของระบบสอื่ สารขอ้ มูล 2

รปู แบบของสัญญาณ สัญญาณทีใ่ ชใ้ นระบบส่ือสารแบง่ ออกได้เป็น 2 ประเภทคือ 1) สัญญาณอนาลอ็ ก(Analog Signal) เปน็ สัญญาณทมี่ ีขนาดแอมพลจิ ดู (amplitude) ที่ เปลี่ยนแปลงตามเวลาและเป็นคา่ ตอ่ เน่ือง เช่น เสียงพดู และเสียงดนตรี 2) สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal) เป็นสัญญาณท่ีถูกแทนด้วยระดับแรงดันไฟฟ้าสองระดับเท่าน้ัน โดยแสดงสถานะ เป็น “0” และ “1” ซึ่งตรงกับรหัสตัวเลขฐานสองและเป็นค่าแบบไม่ต่อเนื่อง อาจกระโดดไป มาระหวา่ งคา่ สองคา่ คอื สญั ญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับตา่ สุด ภาพ สัญญาณอนาล็อกและสัญญาณดจิ ิทัล สื่อกลางในการสือ่ สารข้อมูล ส่ือกลางในการสอ่ื สารขอ้ มูล สื่อกลางหรือตัวกลางเป็นส่วนท่ีทาให้เกิดการเช่ือมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันและอุปกรณ์นี้ ยอมให้ข่าวสารข้อมูลเดินทางผ่านจากผู้ส่งไปสู่ผู้รับส่ือกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีอยู่หลายประเภทแต่ละ ประเภทมีความแตกต่างกันในด้านของปริมาณข้อมูลท่ีสื่อกลางนั้นสามารถนาผ่านไปได้ในเวลาขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งข้ึนอยูก่ ับแบนด์วิดท์ (Bandwidth) ของส่อื ประเภทนัน้ ๆ สอื่ กลาง ในการสอ่ื สารข้อมูล มี 2 ประเภท ดงั น้ี 1). สื่อกลางประเภทมีสาย คือ สอื่ กลางทีเ่ ป็นสายซ่งึ ใช้ในการเชอื่ มโยงโดยอปุ กรณต์ ่าง ๆ เพ่ือใชใ้ นการ ส่งผ่านขอ้ มลู ระหวา่ งอปุ กรณ์ เชน่ - สายคู่บิดเกลียว (Twisted pair Cable) ประกอบด้วยสายทองแดง 2 เส้นแต่ละเส้นมีฉนวน หุ้มพันกันเป็นเกลียวสามารถลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้แต่ไม่สามารถป้องกันการสูญเสียพลังงาน จากการแผ่รังสีความร้อนในขณะท่ีมีสัญญาณส่งผ่านสายสายคู่บิดเกลียว 1 คู่จะแทนการส่ือสารได้ 1 ช่องทาง ส่ือสาร (Channel) เช่น สาย UTP นิยมนาไปใช้เช่ือมต่อเครือข่าย LAN เพื่อเชื่อมต่อเข้าเคร่ืองคอมพิวเตอร์ ในหอ้ งเรยี นหรือสานักงาน เป็นตน้ โดยอปุ กรณใ์ นระยะทางท่หี ่างกนั ไมม่ ากนัก ภาพ สอ่ื กลางประเภทมสี าย สายคูบ่ ดิ เกลียว (Twisted pair Cable) 3

- เส้นใยนาแสง (Fiber Optic Cable) มีลักษณะเป็นสาย และมีแกนกลางของสาย ซ่ึงประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือพลาสติกขนาดเล็กหลาย ๆ เส้นอยู่รวมกันเส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็กเท่าเส้นผม และภายในกลวงและเส้นใยเหล่าน้ันได้รับการห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่งก่อนจะหุ้มช้ันนอกสุดด้วยฉนวน ซ่ึงการส่งข้อมูลผ่านทางส่ือกลางชนิดนี้มีข้อแตกต่างจากชนิดอื่น ๆ โดยสื่อกลางชนิดน้ีจะใชแ้ สงความเข้มสูง เช่น แสงเลเซอร์ ส่งผ่านไปในเส้นใยแต่ละเส้นและอาศัยหลักการหักเหของแสง โดยใช้แคล็ดดิงเป็นตัวสะท้อนแสง ทาใหแ้ สงสามารถเดนิ ทางไปจนถึงปลายทางได้โดยไม่ถูกรบกวนโดยคล่ืนแมเ่ หล็กไฟฟ้าใด ๆ และมีความผดิ พลาด ในการส่งข้อมูลต่ามาก ทาให้สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงระดับกิกะบิตต่อวินาที แต่ก็มีข้อเสียคือ เสน้ ใยแกว้ มคี วามเปราะบาง แตกหักง่ายตอ้ งใช้ความระมดั ระวังอยา่ ใหโ้ ค้งงอมากเกินไป ภาพ สื่อกลางประเภทมสี าย เสน้ ใยนาแสง (Fiber Optic Cable) 2). ส่ือกลางประเภทไรส้ าย สื่อกลางท่ีนามาใช้ในการสื่อสารข้อมูลอีกประเภทหนึ่งซ่ึงไม่มีลักษณะทางกายภาพปรากฏให้เห็น แต่อาศัยการแพร่กระจายคล่ืนในรูปแบบต่าง ๆ ในการส่งสัญญาณข้อมูลออกไปเรียกว่า ส่ือกลางประเภท กระจายคลื่น (Radiated Media) หรือส่ือกลางประเภทไร้สาย (Wireless Media) ซ่ึงสามารถส่งสัญญาณข้อมูล ผา่ นอากาศ น้า หรือแมแ้ ต่ในสุญญากาศได้ เช่น - คลื่นวิทยุ (Radio Wave) สามารถส่งในระยะทางได้ท้ังใกล้และไกล โดยมีตัวกระจายสัญญาณ (broadcast) ส่งไปยังตัวรับสัญญาณ และใช้คลื่นวิทยุในช่วงความถ่ีต่าง ๆ กันในการส่งข้อมูล เช่น การสื่อสาร ระยะไกลในการกระจายเสียงวิทยุระบบเอเอ็ม (Amplitude Modulation : AM ) และเอฟเอ็ม (Frequency Modulation : FM) บลูทธู (Bluetooth) เป็นตน้ - ไมโครเวฟ (Microwave) มีความถี่สูงมาก (3-30 GHz) ซ่ึงช่วยให้สามารถส่งข้อมูลออกไปด้วย อัตราความเร็วที่สูงมากด้วยสัญญาณไมโครเวฟเดินทางเป็นแนวเส้นตรง ( Line-of-Sight Transmission) จึงเรียกว่าเป็นสญั ญาณทิศทางเดยี ว (Unidirectional) การวางตาแหน่งและทศิ ทางของเสาอากาศจึงมีผลโดยตรง ต่อคุณภาพสัญญาณที่รับเข้ามานอกจากนี้พายุฝนและพายุหิมะจะเป็นตัวอุปสรรคโดยตรงต่อความชัดเจน ของสญั ญาณไมโครเวฟแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คอื ชนดิ ตง้ั บนพืน้ ดนิ และชนดิ ดาวเทียม เทคโนโลยีการสื่อสารไรส้ าย การส่ือสารข้อมูลไร้สายเป็นองค์ประกอบสาคัญของการประมวลเคลื่อนที่ เทคโนโลยีที่สามารถใช้ได้ มีความหลากหลายแตกต่างกันในแต่ละท้องถ่ิน, ระยะครอบคลุมและประสิทธิภาพ ในบางสถานการณ์ที่หลายๆ ผู้ใช้จะต้องสามารถท่ีจะเช่ือมต่อได้หลายประเภทและหลายเครือข่าย เพ่ือทาให้ง่ายข้ึน ซอฟต์แวร์จัดการ การเชื่อมต่อจะต้องถูกนามาใช้ เพ่ือรับมือกับการเช่ือมต่อหลายประเภทเหมือนกับเป็นเครือข่ายเสมือนเดี่ยว ทมี่ ีการรกั ษาความปลอดภยั อยา่ งดี 4

Wi-Fi Wi-Fi เป็นเทคโนโลยีท่ีได้รับความนิยมท่ีช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการแลกเปล่ียนข้อมูลหรือ การเช่ือมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายโดยใชค้ ลื่นวิทยุ คา ๆ น้ีเป็นเครื่องหมายการค้าของ Wi-Fi Alliance ท่ีได้ให้ คานิยามของไวไฟว่าหมายถึง \"ชุดผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่สามารถทางานได้ตามมาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ ไร้สาย (แลนไร้สาย) ซึ่งอยู่บนมาตรฐาน IEEE 802.11\" อย่างไรก็ตามเน่ืองจากแลนไร้สายที่ทันสมัยส่วนใหญ่ จะขึ้นอยู่กับมาตรฐานเหล่าน้ี คาว่า \"ไวไฟ\" จึงนามาใช้ในภาษาอังกฤษท่ัวไปโดยเป็นคาพ้องสาหรบั \"แลนไร้สาย\" เดิมทีไวไฟออกแบบมาใช้สาหรับอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ และใช้เครือข่าย LAN เท่าน้ัน แต่ปัจจุบันนิยมใช้ไวไฟเพื่อ ต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ เช่นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เคร่ืองเล่นเกมส์ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต กล้องดิจิทัลและเครื่องเสียงดิจิทัล สามารถเช่ือมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า แอคเซสพอยต์ หรือ ฮอตสปอต และบริเวณท่ีระยะทาการของแอคเซสพอยต์ครอบคลุมอยู่ท่ีประมาณ 20 เมตร ในอาคาร แต่ระยะน้ีจะไกลกว่าถา้ เป็นท่โี ลง่ แจง้ ภาพ อุปกรณส์ ่งข้อมูลแบบไร้สายไปยงั อุปกรณ์อ่ืนท้งั ที่เชอ่ื มตอ่ กบั แลนไรส้ าย 5

บลทู ธู Bluetooth บลูทูธ คือ เทคโนโลยีการส่ือสารไร้สายระยะใกล้ แบบเครือข่ายไร้สายระยะบุคคล (wireless personal area networks: WPAN) เป็นมาตรฐานท่ีถูกออกแบบมา เพื่อใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สายขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์เสริม เช่น หูฟัง ลาโพง หรือ อุปกรณ์สื่อสารแบบพกพาหรือเคล่ือนที่รวมไปถึงการ เช่ือมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์ปลายทาง ท่ีให้บริการ ข้อกาหนดบลูทูธ กาหนดช่องทางการสื่อสาร สงู สุด 720 กโิ ลบิต / วินาที กบั ชว่ งทีด่ ที ีส่ ดุ 10 เมตร NFC ( Near Field Communication) NFC ( Near Field Communication) คอื เทคโนโลยีการส่ือสาร ข้อมูลแบบไร้สายด้วยคล่ืนความถี่ในระยะใกล้ แค่ 10 เซนติเมตร ส่งผ่านข้อมูลได้แบบแตะแล้วอ่านเลย กินไฟน้อย และใช้งานกับ อุปกรณ์ท่ีไม่มีไฟฟ้าอยู่ภายในก็ได้ โดยการใช้งาน NFC นั้นเราต้องนา ส่วนที่มีแผงวงจรของ NFC มาอยู่ใกล้กัน โดยตาแหน่งของ NFC มกั จะมีสัญลกั ษณ์ NFC อยู่ 6

อุปกรณเ์ ครอื ข่ายทพ่ี บเหน็ ในชวี ิตประจาวัน เครอื ขา่ ยคอมพวิ เตอร์ หมายถึง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์กคือกลุ่มของคอมพิวเตอร์จานวนตั้งแต่ สองเครื่องขนึ้ ไปและอุปกรณ์ตา่ ง ๆ ทถี่ กู นามาเชื่อมตอ่ กันเพื่อให้ผูใ้ ชใ้ นเครือข่ายสามารถตดิ ตอ่ ส่ือสารแลกเปลี่ยน ข้อมูลและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้เครือข่ายน้ันมีหลายขนาดต้ังแต่ขนาดเล็กท่ีเช่ือมต่อกันด้วย คอมพิวเตอร์เพยี งสองสามเครื่องเพ่ือใช้งานในบา้ นหรือในบริษทั เล็ก ๆ ไปจนถึงเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เช่ือมต่อกัน ทั่วโลกเราเรียกว่า เครอื ขา่ ยอนิ เทอรเ์ นต็ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึงการนาเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์มาเช่ือมต่อกันสิ่งที่เกิด ตามมากค็ ือประโยชนใ์ นการใชค้ อมพิวเตอร์ดา้ นตา่ ง ๆ เชน่ 1) การใช้ทรัพยากรร่วมกัน หมายถึงการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น เคร่ืองพิมพ์ กล่าวคือมี เคร่ืองพิมพ์เพียงเคร่ืองเดียวทุกคนในเครือข่ายสามารถใช้เคร่ืองพิมพ์นี้ได้ทาให้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องลงทุนซ้อื เคร่อื งพมิ พ์หลายเครื่อง (นอกจากจะเปน็ เครื่องพิมพ์คนละประเภท) 2) การแชร์ไฟล์เม่ือคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้วการใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือ การแลกเปล่ยี นไฟล์ทาไดอ้ ย่างสะดวกรวดเรว็ 3) การติดต่อสื่อสารโดยคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเป็นระบบเน็ตเวิร์กสามารถติดต่อพูดคุยกับ เครื่องคอมพิวเตอร์อ่ืนโดยอาศยั โปรแกรมสอ่ื สารท่ีมีความสามารถใช้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ไดเ้ ช่นเดยี วกนั 4) การใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกันคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องท่ีเชื่อมต่อในระบบเน็ตเวิร์กสามารถใช้งาน อนิ เทอร์เนต็ ได้ทุกเครือ่ ง ภาพ ระบบเครือข่ายคอมพวิ เตอร์ 7

อปุ กรณ์เครือขา่ ย อุปกรณ์เครือขา่ ย ทาหน้าท่ีรับและสง่ ข้อมูลจากอปุ กรณส์ ่งและรบั ข้อมลู โดยมกี ารส่งผา่ นทางส่อื กลาง ดังท่ีกล่าวมาแล้ว สญั ญาณท่ีส่งออกไปอาจอยู่ในรูปแบบดจิ ิทัล หรอื แบบแอนะล็อก ขึ้นอยูก่ ับอปุ กรณ์ท่ีใชใ้ นการ ติดต่อส่อื สารกับสอื่ กลางท่ใี ชใ้ นการเชื่อมต่อ การเช่อื มต่อคอมพวิ เตอร์เข้ากบั เครือขา่ ยมีหลายแบบดว้ ยกนั เชน่ การต่อผา่ นผใู้ หบ้ ริการอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบใช้สายและไรส้ าย ซ่งึ จาเปน็ ต้องมีอุปกรณ์สนบั สนุนในการเช่ือมต่อ ในแตล่ ะแบบ อปุ กรณ์การส่ือสารประเภทตา่ ง ๆ ท่ีมีใช้กนั อยู่ในปจั จุบัน เช่น 1. การ์ดเครือข่าย (Network Interface Card) หรือการ์ดแลนหรืออีเธอร์เน็ตการ์ดเป็นอุปกรณ์ที่ เชื่อมระหว่างคอมพวิ เตอรก์ บั สายตัวนาสัญญาณทาให้คอมพิวเตอร์ สามารถรับและสง่ ข้อมลู กบั ระบบเครือข่ายได้ ปัจจุบันมักจะถูกประกอบรวมไปในเมนบอร์ด เนื่องจากความต้องการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายกลายเป็นความ จาเปน็ พืน้ ฐานของ ผูใ้ ชค้ อมพวิ เตอร์ไปแล้วน่ันเอง ตัวอยา่ งการ์ดแลนชนิดต่าง ๆ ภาพ การ์ดแลนชนิดต่าง ๆ 2. สวิตช์ (Switch) คืออุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่าง จากฮับ คือ การรับส่งข้อมูลจากสถานีหรืออุปกรณ์ตัวหน่ึง จะไม่กระจายไปยังทุกสถานีเหมือนฮับ ทั้งน้ีเพราะ สวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูลหรือแพ็กเก็ตมาตรวจสอบก่อน แล้วดูว่าแอดเดรสของสถานีปลายทางไปท่ีใด สวิตช์จะลด ปัญหาการชนกันของข้อมูลเพราะไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานีและยังมีข้อดีในเร่ืองการป้องกันการดักจับ ขอ้ มลู ทกี่ ระจายไปในเครือขา่ ย ภาพ สวิตช์ 3. Router คือ อุปกรณ์ที่ทาหน้าที่เชือ่ มตอ่ ระบบเครือขา่ ยอย่างหนงึ่ ซง่ึ ถ้าแปลความหมายคาว่า Route ก็คือ ถนน น่ันเอง ดังน้ัน การเช่ือมต่อคอมพิวเตอร์ด้วย Router ทาให้เราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้ มากกว่าหน่ึงเครื่องในเวลาเดียวกัน ซ่ึง Router น้ันจะมีซอฟต์แวร์ท่ีใช้ในการควบคุมการทางานเรียกว่า Internetwork Operating System (IOS) และตวั Router จะมีช่องท่ีใชเ้ สยี บตอ่ สายสัญญาณเรยี กว่า Port LAN ซงึ่ โดยทวั่ ไปมกั มี 4 Ports หรือมากกว่า ใน Router 1 ตัว ภาพ การเชอ่ื มตอ่ อุปกรณก์ ับเราเตอร์ (Router) 8

หน้าที่หลักของ Router คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลท่ีดีท่ีสุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อ ข้อมูลไปยังเครือข่ายอ่ืน ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้ส่ือสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไม่ว่า จะเป็น Ethernet, Token Rink หรือ FDDI ทั้ง ๆ ท่ีในแต่ละระบบจะมี packet เป็นรูปแบบของตนเองซึ่ง แตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทางานในระดับบนหรือ Layer 3 ข้ึนไปเช่น IP, IPX หรือ AppleTalk เมื่อมีการส่ง ข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของ Layer 2 คือ Data Link Layer เมื่อ Router ได้รับข้อมูล มาก็จะตรวจดูใน packet เพื่อจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลน้ีไปยังเครือข่ายใดจึงจะต่อไปถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงเป็น Packet ของ Data Link Layer ท่ถี กู ต้องอีกครงั้ เพ่ือส่งตอ่ ไปยังเครอื ขา่ ยปลายทาง 4. Access Point (AP) คืออุปกรณ์ท่ีมีหน้าที่ในการกระจายสัญญาณไวร์เลส เป็นอุปกรณ์พ้ืนฐาน ตัวหน่ึงที่สามารถสร้างเครือข่ายไรส้ ายจากระบบเครือข่ายแลน (Lan) ได้ง่ายท่ีสุด AP ทาหน้าท่ีกระจายสัญญาณ ออกไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในรัศมีการกระจายสัญญาณโดยรอบ ซ่ึงลักษณะของตัวแอคเซสพอยท์นั้นจะมี ลกั ษณะทีแ่ ตกตา่ งกันอยู่กบั ผผู้ ลิตจะดีไซน์ใหม้ ีรปู รา่ งหน้าตาแบบไหน แตท่ ี่เหมือนกันก็คือ AP จะมีชอ่ งเสียบสาย แลนเพียงช่องเดียวเท่าน้ัน ช่องดังกล่าวจะเป็นช่องท่ีรับสัญญาณอินเตอร์เน็ตหรือใช้เชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์คจาก เครือข่ายแลนเข้ากับเคร่ืองลูกข่ายที่เช่ือมต่อแบบไร้สาย การทางานของ AP จะทางานภายใต้มาตรฐาน ของ IEEE802.11 ซงึ่ ทาใหอ้ ปุ กรณท์ ี่มมี าตรฐานน้สี ามารถใชง้ าน AP ได้อยา่ งเต็มประสทิ ธภิ าพ ภาพ Access point โปรโตคอลและไอพแี อดเดรส ในการส่ือสารระหว่างคนหนึ่งคนจะต้องใช้ภาษา ในการส่ือสาร แต่ในโลกเราก็มีอยู่หลายภาษาด้วยกัน ภาษาอังกฤษก็ถอื ไดว้ า่ เป็นภาษากลางและภาษาสากลท่ีสามารถ ส่ือสารได้กับคนท้ังโลก เช่นใดก็เช่นนั้นคอมพิวเตอร์เองก็ต้องมี ภ า ษ า ที่ ใ ช้ ใ น ก า ร ส่ื อ ส า ร แ ล ะ เ ป็ น ภ า ษ า ส า ก ล เ ห มื อ น กั บ ภาษาอังกฤษเช่นกัน ภาษาท่ีคอมพิวเตอร์ใช้ในการสอ่ื สารถึงกัน ก็คอื Protocol 9

โปรโตคอล (Protocol) Protocol คืออะไร? Protocol เปรียบเหมอื นกบั ภาษาสากลของคอมพวิ เตอร์ซึ่ง Protocol นัน้ จะทาให้การสื่อสารและติดต่อ ระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเคร่ืองเชื่อมโยงกันได้อย่างสะดวก ไม่ว่าเคร่ืองคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมถึงกันจะเป็น คอมพิวเตอร์รุ่นเดียวกันหรือเปล่า ในระบบเครือข่าย Protocol มีความสาคัญมากเพราะเป็นเหมือนภาษาและ ส่อื กลางท่ีทาใหค้ อมพิวเตอร์ในเครือขา่ ยสามารถติดต่อถึงกันไดห้ มดไมว่ ่าเครือขา่ ยน้ันจะมลี ูกข่ายมากมายเท่าไรก็ ตาม โปรโตคอลมีความสาคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย หากไมม่ โี ปรโตคอลแลว้ การส่อื สารบนเครือข่ายจะ ไมส่ ามารถเกดิ ขึ้นได้ โปรโทคอล คอื ข้อกาหนดหรือข้อตกลงท่ีใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร ข้อมูลระหว่างเคร่ืองคอมพิวเตอร์หรือระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อ่ืน ๆ เคร่ืองคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ เครอื ข่ายที่ใช้โพรโทคอลชนิดเดยี วกันเท่าน้ันจึงจะสามารถติดต่อและสง่ ข้อมูลระหว่างกนั ได้โพรโทคอลมีลักษณะ เช่นเดียวกับภาษาท่ีใช้ในการส่ือสารของมนุษย์ที่ต้องใช้ภาษาเดียวกันจึงจะสามารถส่ือสารกันได้เข้าใจ สาหรับ โพรโทคอลการสื่อสารข้อมูลในปัจจุบันมีอยู่มากมายแต่ในที่นี้เราจะมาทาความรู้จักกับโพรโทคอลท่ีมีการใช้งาน อยา่ งกวา้ งขวางคอื TCP/IP, FTP, HTTP และ HTTPs Protocol มีกป่ี ระเภท? Protocol มีอยู่หลากหลายประเภทด้วยกันแต่ท่ีเห็นและใช้งานกันบ่อยและมีความสาคัญก็มีอยู่ ไม่กี่ประเภท เชน่ 1. Protocol HTTP หรือ Hypertext Transfer Protocol จะใช้เมื่อเรียกโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser) ซึ่งเราจะพบเห็นได้ทุกครั้งท่ีเราเว็บไซต์ เวลาเราเข้าเว็บไซต์เราจะพิมพ์ http:// ส่วนนี้เองท่ีเรียกว่า Protocol HTTP 2. โพรโตคอล HTTPs หรือ Hypertext Transfer Protocol Security คือ โปรโตคอลที่ระบุถึงการ เช่อื มต่อแบบ Secure http โปรโตคอล https สรา้ งเพอื่ ความปลอดภัยในการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตข้อมูลที่ทา การส่งได้ถูกเข้ารหัสเอาไว้ โดยใช้ Asymmetric Algorithm ซึ่งถ้าถูกดักจับได้ก็ไม่สามารถที่จะอ่านข้อมูลนั้นไดร้ ู้ เร่อื ง โดยขอ้ มูลน้ันจะสามารถอ่านได้เข้าใจเฉพาะ Client กับเครื่อง Server เท่าน้ัน นิยมใชก้ ับเว็บไซต์ท่ตี ้องการ ความปลอดภัยสงู เช่น เวบ็ ไซตข์ องธนาคาร รา้ นค้าออนไลน์ เปน็ ต้น 3. Protocol TCP/IP หรอื Transfer Control Protocol/Internet Protocol คือเครือข่ายโปรโตคอล ทีส่ าคญั มากทสี่ ุด เพราะวา่ เป็น Protocol ที่ใชใ้ นระบบเครอื ขา่ ยอย่างอินเตอรเ์ นต็ ซงึ่ โปรโตคอลน้ีแยกออกได้มา เป็น โปรโตคอลTCPและโปรโตคอล IP 4. Protocol FTP หรือ File Transfer Protocol คือโปรโตคอลท่ีใช้ในการการโอนย้ายแฟม้ ระหว่างกัน จะใช้งานบ่อยในการอัพโหลดไฟล์ข้นึ Server 10

5. Protocol POP3 (Post Office Protocol 3) คือโปรโตคอลที่ใช้ในการรับอีเมลจากเซิร์ฟเวอร์ โดย มงุ่ เนน้ ใหใ้ นการอา่ นอีเมลแ์ บบOffline โดยให้ผู้ใช้โหลดอีเมลมาเกบ็ ไว้ และอ่านได้ในภายหลัง โดยไมต่ ้องเช่อื มต่อ กับอินเทอร์เนต็ 6. Protocol DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol)คือโปรโตคอลท่ีใช้ในเครือข่าย คอมพวิ เตอรท์ ่ีทางานแบบแมข่ า่ ย-ลูกข่าย ไอพีแอดเดรส (IP Address) ไอพีแอดเดรสเป็นหมายเลขประจาเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ต่าง ๆ ท่ีเชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายเพื่อใช้ระบุท่ีอยู่หรือตาแหน่งของ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โดยไม่ซ้ากันทาให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ สามารถติดต่อสื่อสารหรือรับส่งข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ไอพีแอดเดรสก็ เปรียบได้กับเลขที่บ้านซ่ึงบ้านแต่ละหลังจะต้องมีเลขท่ีบ้านไม่ซ้ากัน เพราะถ้าซ้ากันแล้วบุรุษไปรษณีย์จะหาที่อยู่ไม่เจอทาให้ส่งจดหมาย ไม่ได้สาหรับมาตรฐานการกาหนดไอพีแอดเดรสจะหน่วยงานกลาง คือ InterNIC (Inter Network Information Center) ทาหน้าที่จัดสรรไอพีแอดเดรสให้กับผู้ใช้ทั่วโลกไอพีแอดเดรส ในปจั จบุ ันไดน้ าเวอรช์ ั่น 6 มาใช้เรียกวา่ IPv6 ประเภทไอพีแอดเดรส (IP Address) IP Address มี 2 ประเภท ดงั นี้ 1. Public IP address (อาจเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า WAN IP address) คือ IP address จะได้ รับมาตอนที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือ ISP (Internet Service Provider) อยา่ งเช่น True, TOT, 3BB เป็นตน้ จะเป็นผแู้ จก IP Address ใหก้ บั เครอ่ื งเรา ซึ่ง ISP จะเป็นผู้กาหนดหมายเลข ให้ เช่น เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตคร้ังแรก ISP จะส่ง IP มาให้กับเคร่ืองเคร่ืองคอมพิวเตอร์ สมมติคือ 27.145.100.134 แต่หากสัญญาณหลุด (เน็ตล่ม) และเชื่อมต่ออีกคร้ัง IP Address ท่ีได้จะมีตัวเลขที่ เปลย่ี นไป (Dynamic = เปลีย่ นแปลงตลอดเวลา) 2. Private IP address (อาจเรียกว่า LAN IP address) คือ คือ IP Address ของคอมพิวเตอร์แต่ละ เครื่องที่ถูกเชื่อมต่อเป็นเครือข่าย LAN หรือ WiFi เพ่ือใช้ทางานตามบ้านหรือบริษัทต่าง ๆ ซ่ึง IP จะถูกกาหนด โดยผู้ดแู ลระบบของเครอื ข่ายน้ัน ๆ ไอพีแอดเดรสประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ Network ID กับ Host ID สาหรับNetwork ID เป็นตัวบอก ถงึ ขอบเขตของเครือข่ายโดยไอพีแอดเดรสที่มี Network ID เหมือนกันหมายความว่าอยใู่ นเครือข่ายเดยี วกันส่วน Host ID เป็นตัวกาหนดทอี่ ยหู่ รอื ตาแหนง่ ของคอมพวิ เตอรห์ รอื อปุ กรณน์ นั้ ๆ ตวั อย่างเชน่ คอมพวิ เตอรส์ องเคร่ือง 11

ถูกกาหนดไอพีแอดเดรสท่ีอยู่ในคลาส C ซ่ึงเคร่ืองท่ีหนึ่งมีไอพีแอดเดรส 192.168.10.1 ส่วนเคร่ืองที่สองมีไอพี แอดเดรส 192.168.10.2 ทาให้เรามองได้ว่าคอมพิวเตอร์ท้ังสองเคร่ืองน้ีอยู่ในเครือข่ายเดียวกันเพราะมี Network ID เหมือนกันคือ 192.168.10.x แต่ Host ID ต่างกันคือ 1 และ 2 ท่ีระบุว่าเป็นเครื่องที่ 1 และ 2 ตามลาดับส่วนที่เป็น Network ID จะเปล่ียนแปลงไม่ได้สว่ นท่ีเปลย่ี นแปลงได้คือ Host ID ซึ่งนาไปกาหนดให้กบั เครอ่ื งคอมพวิ เตอร์ในเครือข่าย ไอพีแอดเดรสมีการแบ่งขอบข่ายออกหลายระดับหรือท่ีเรยี กว่าคลาส (Class) โดยถูกแบ่งไว้ 5 คลาสคือ คลาส A, B, C, D และ E แต่ท่ีใช้กันในระบบเครือข่ายทั่วไปจะใช้กัน 3 คลาสคือ A, B, C ส่วนคลาส D เอาไว้ใช้ ในเครือข่าย Multicast เช่น Tele-Conference และท่ีเหลือคือคลาส E ถูกสงวนไว้ไม่มีการใช้งานรายละเอียด ตามตารางดงั นี้ ซับเนต็ มาสก์ (Subnet Mask) เปน็ ค่าที่ระบวุ ่าคอมพวิ เตอร์เครอ่ื งน้ีอยใู่ นเครือข่ายใดหรอื เปน็ ค่าทแี่ บ่งกลุม่ เครือขา่ ยโดยตรง สอดคล้องกับคลาสของไอพีแอดเดรสซับเน็ตมาสก์จะเป็นตัวเลข 4 ชุดเช่นเดียวกับไอพีแอดเดรสแต่มีค่าเป็น 0 กับ 255 เท่าน้ัน (แต่บางกรณีก็เป็นค่าอ่ืนได้เม่ือถูกแบ่งซับเน็ต) ซับเน็ตมาสก์มีการแบ่งไว้สาหรับไอพีแอดเดรส ทัง้ 3 คลาสดงั ตาราง 12


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook